ผู้จัดการรายวัน360-กกพ.มอบของขวัญคนไทย กดค่าไฟฟ้างวด ม.ค.-เม.ย.59 ลดลง 1.57 สตางค์ต่อหน่วย ย้ำปีหน้า จะเน้นนโยบายดูแลค่าไฟฟ้าไม่ให้ขึ้นหรือขึ้นน้อยที่สุด "คลัง"ร่วมแจก ช้อปสินค้า-บริการก่อนปีใหม่ 25-31 ธ.ค. นำใบเสร็จลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 1.5 หมื่นบาท ด้านท่องเที่ยวเสนอผุดดิวตี้ฟรีกลางเมือง พร้อมชงคืนภาษีนักท่องเที่ยว กระตุ้นใช้จ่าย
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยหลังการประชุม ว่า กกพ. ได้พิจารณาปรับลดค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ที่จะเรียกเก็บในบิลค่าไฟประชาชนในงวดม.ค.-เม.ย.2559 ในอัตราลบ 4.80 สตางค์ต่อหน่วย หรือลดลงจากงวดที่ผ่านมา (ก.ย.-ต.ค.2558) 1.57สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่เรียกเก็บกับผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภท (รวมค่าไฟฐาน) จะอยู่ที่ 3.7076 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่าไฟฟ้างวดนี้ลดลง ได้แก่ ค่าเชื้อเพลิง โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 261.19 บาทต่อล้านบีทียู หรือลดลงจากงวดที่ผ่านมา 15.53 บาทต่อล้านบีทียู ซึ่งสะท้อนจากราคาน้ำมันที่ลดลงต่อเนื่อง ดีเซลอยู่ที่ 19.36 บาทต่อลิตร ลดลง 1.12 บาทต่อลิตร ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากอัตราเดิมที่ใช้อยู่ที่ 35.94 บาทต่อเหรียญสหรัฐ มาอยู่ที่ 34.45 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และความต้องการใช้ไฟฟ้าม.ค.-เม.ย.2559 อยู่ที่ 61,371 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้น 3.94%
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากปัจจัยทั้งหมด ค่าเอฟทีงวดม.ค.-เม.ย.2559 จะลดลงเพียง 0.84 สตางค์ต่อหน่วยเท่านั้น แต่เนื่องจาก กกพ. ได้พิจารณานำเงินจากการคำนวณเอฟทีเดือนก.ย.-ธ.ค.2558 ที่ยังเหลืออยู่สะสม (ค่าAF) จำนวน 2,019 ล้านบาท หรือคิดเป็นค่าเอฟทีที่ลดลง 3.61 สตางค์ต่อหน่วย และยังพิจารณานำเงินชดเชยส่วนลดค่าก๊าซฯ ของโรงไฟฟ้าขนอมเดือนก.ค.2557-ส.ค.2558 จำนวน 269 ล้านบาท และเงินปรับลดแผนการลงทุนปี 2551-2553 ส่วนที่เหลือของ3 การไฟฟ้าจำนวน 137.16 ล้านบาท รวมเป็น 406.18 ล้านบาทมาปรับลดค่าเอฟที 0.73 สตางค์ต่อหน่วย
สำหรับค่าไฟฟ้างวดพ.ค.-ส.ค.2559 ยอมรับว่ามีความกังวลว่าจะไม่สามารถปรับลดลงได้อีก เนื่องจากมีโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน โดยเฉพาะจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนพื้นดินหรือโซลาร์ฟาร์มค้างท่อ 900 เมกะวัตต์ จะทยอยเข้าระบบปลายปี 2558 ซึ่งจะสะท้อนไปยังต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นได้ เพราะมีการอุดหนุนค่าไฟที่แพงเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม จากการหารือของ กกพ. มีนโยบายที่จะพยายามกำกับดูแลค่าไฟฟ้าในปี 2559 ไม่ให้มีการปรับขึ้นหรือหากต้องขึ้นก็จะให้น้อยที่สุด โดยยอมรับว่าแม้ทิศทางราคาก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าจะลดลงต่อเนื่อง เพราะสะท้อนจากราคาน้ำมันย้อนหลัง 6 เดือน แต่อัตราการลดลงก็จะไม่มากนัก โดยงวดพ.ค.-ส.ค.2559 ทาง บมจ.ปตท. แจ้งว่าราคาก๊าซจะลดลงเพียง 6 บาทต่อล้านบีทียูเท่านั้น ขณะที่ปัจจัยอื่นๆ ที่น่ากังวลและต้องติดตาม คือ ค่าเงินบาท หากอ่อนค่าจะกระทบต้นทุนค่อนข้างมาก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.ที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้เสนอมาตรการภาษี เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2558 เป็นมาตรการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในระหว่างวันที่ 25-31 ธ.ค.2558 จากผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยให้ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานการซื้อสินค้าหรือรับบริการเป็นใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบตาม ม.86/4 แห่ง ป.รัษฎากร แต่ไม่รวมถึงการซื้อสุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ น้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ
ทั้งนี้ เมื่อรวมกับมาตรการตามกฎกระทรวงมีผลใช้บังคับก่อนหน้านี้ ตั้งแต่วันที่ 16 ธ.ค.2557 ถึงวันที่ 31 ธ.ค.2558 กรณีเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าโรงแรมภายในประเทศ ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ทำให้กระทรวงการคลังมีมาตรการภาษีเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2558 รวม 2 มาตรการ จำนวน 30,000 บาท
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง จะแถลงรายละเอียดมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายปลายปีในวันที่ 25 ธ.ค.นี้ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้ของขวัญปีใหม่กับประชาชน ซึ่งการออกมาตรการ จะช่วยจูงใจให้ประชาชนจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นใน 4-5 วัน ช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ที่ประชาชนมีความต้องการซื้อสินค้าต่างๆ เป็นจำนวนมาก
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ได้นำตัวแทน 3 สมาคม ได้แก่ สมาคมศูนย์การค้าไทย สมาคมผู้ค้าปลีกไทย และสมาคมร้านค้าปลอดอากรไทย เข้าพบนายอภิศักดิ์ เพื่อหารือถึงแนวทางการกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติให้มากขึ้น โดยมีข้อเสนอกลยุทธ์เชิงยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ 2 มาตรการ คือ 1.มาตรการส่งเสริมให้มีการเพิ่มจำนวนร้านค้าปลอดอากรในเมือง เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว และ 2.มาตรการทางภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยการคืนภาษีให้นักท่องเที่ยว ณ สถานที่ขายสินค้าในทันที หรือให้ใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 0% สำหรับการขายสินค้าให้ต่างชาติ ซึ่งกระทรวงการคลังได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ศึกษาความเป็นไปได้แล้ว
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยหลังการประชุม ว่า กกพ. ได้พิจารณาปรับลดค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ที่จะเรียกเก็บในบิลค่าไฟประชาชนในงวดม.ค.-เม.ย.2559 ในอัตราลบ 4.80 สตางค์ต่อหน่วย หรือลดลงจากงวดที่ผ่านมา (ก.ย.-ต.ค.2558) 1.57สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่เรียกเก็บกับผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภท (รวมค่าไฟฐาน) จะอยู่ที่ 3.7076 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่าไฟฟ้างวดนี้ลดลง ได้แก่ ค่าเชื้อเพลิง โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 261.19 บาทต่อล้านบีทียู หรือลดลงจากงวดที่ผ่านมา 15.53 บาทต่อล้านบีทียู ซึ่งสะท้อนจากราคาน้ำมันที่ลดลงต่อเนื่อง ดีเซลอยู่ที่ 19.36 บาทต่อลิตร ลดลง 1.12 บาทต่อลิตร ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากอัตราเดิมที่ใช้อยู่ที่ 35.94 บาทต่อเหรียญสหรัฐ มาอยู่ที่ 34.45 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และความต้องการใช้ไฟฟ้าม.ค.-เม.ย.2559 อยู่ที่ 61,371 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้น 3.94%
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากปัจจัยทั้งหมด ค่าเอฟทีงวดม.ค.-เม.ย.2559 จะลดลงเพียง 0.84 สตางค์ต่อหน่วยเท่านั้น แต่เนื่องจาก กกพ. ได้พิจารณานำเงินจากการคำนวณเอฟทีเดือนก.ย.-ธ.ค.2558 ที่ยังเหลืออยู่สะสม (ค่าAF) จำนวน 2,019 ล้านบาท หรือคิดเป็นค่าเอฟทีที่ลดลง 3.61 สตางค์ต่อหน่วย และยังพิจารณานำเงินชดเชยส่วนลดค่าก๊าซฯ ของโรงไฟฟ้าขนอมเดือนก.ค.2557-ส.ค.2558 จำนวน 269 ล้านบาท และเงินปรับลดแผนการลงทุนปี 2551-2553 ส่วนที่เหลือของ3 การไฟฟ้าจำนวน 137.16 ล้านบาท รวมเป็น 406.18 ล้านบาทมาปรับลดค่าเอฟที 0.73 สตางค์ต่อหน่วย
สำหรับค่าไฟฟ้างวดพ.ค.-ส.ค.2559 ยอมรับว่ามีความกังวลว่าจะไม่สามารถปรับลดลงได้อีก เนื่องจากมีโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน โดยเฉพาะจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนพื้นดินหรือโซลาร์ฟาร์มค้างท่อ 900 เมกะวัตต์ จะทยอยเข้าระบบปลายปี 2558 ซึ่งจะสะท้อนไปยังต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นได้ เพราะมีการอุดหนุนค่าไฟที่แพงเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม จากการหารือของ กกพ. มีนโยบายที่จะพยายามกำกับดูแลค่าไฟฟ้าในปี 2559 ไม่ให้มีการปรับขึ้นหรือหากต้องขึ้นก็จะให้น้อยที่สุด โดยยอมรับว่าแม้ทิศทางราคาก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าจะลดลงต่อเนื่อง เพราะสะท้อนจากราคาน้ำมันย้อนหลัง 6 เดือน แต่อัตราการลดลงก็จะไม่มากนัก โดยงวดพ.ค.-ส.ค.2559 ทาง บมจ.ปตท. แจ้งว่าราคาก๊าซจะลดลงเพียง 6 บาทต่อล้านบีทียูเท่านั้น ขณะที่ปัจจัยอื่นๆ ที่น่ากังวลและต้องติดตาม คือ ค่าเงินบาท หากอ่อนค่าจะกระทบต้นทุนค่อนข้างมาก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.ที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้เสนอมาตรการภาษี เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2558 เป็นมาตรการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในระหว่างวันที่ 25-31 ธ.ค.2558 จากผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยให้ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานการซื้อสินค้าหรือรับบริการเป็นใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบตาม ม.86/4 แห่ง ป.รัษฎากร แต่ไม่รวมถึงการซื้อสุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ น้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ
ทั้งนี้ เมื่อรวมกับมาตรการตามกฎกระทรวงมีผลใช้บังคับก่อนหน้านี้ ตั้งแต่วันที่ 16 ธ.ค.2557 ถึงวันที่ 31 ธ.ค.2558 กรณีเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าโรงแรมภายในประเทศ ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ทำให้กระทรวงการคลังมีมาตรการภาษีเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2558 รวม 2 มาตรการ จำนวน 30,000 บาท
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง จะแถลงรายละเอียดมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายปลายปีในวันที่ 25 ธ.ค.นี้ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้ของขวัญปีใหม่กับประชาชน ซึ่งการออกมาตรการ จะช่วยจูงใจให้ประชาชนจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นใน 4-5 วัน ช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ที่ประชาชนมีความต้องการซื้อสินค้าต่างๆ เป็นจำนวนมาก
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ได้นำตัวแทน 3 สมาคม ได้แก่ สมาคมศูนย์การค้าไทย สมาคมผู้ค้าปลีกไทย และสมาคมร้านค้าปลอดอากรไทย เข้าพบนายอภิศักดิ์ เพื่อหารือถึงแนวทางการกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติให้มากขึ้น โดยมีข้อเสนอกลยุทธ์เชิงยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ 2 มาตรการ คือ 1.มาตรการส่งเสริมให้มีการเพิ่มจำนวนร้านค้าปลอดอากรในเมือง เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว และ 2.มาตรการทางภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยการคืนภาษีให้นักท่องเที่ยว ณ สถานที่ขายสินค้าในทันที หรือให้ใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 0% สำหรับการขายสินค้าให้ต่างชาติ ซึ่งกระทรวงการคลังได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ศึกษาความเป็นไปได้แล้ว