ผู้จัดการรายวัน360-ศาลฎีกาพิพากษายืน จำคุก 8 เดือน ปรับ 2 หมื่น บก.เว็บประชาไท ผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จงใจปล่อยให้ข้อความหมิ่นเบื้องสูงค้างอยู่ในเว็บเป็นเวลานาน แต่ให้รอลงอาญา "แม้ว"ส่งทนายสู้คดีปมถูกยกเลิกพาสปอร์ต พร้อมขอศาลคุ้มครองชั่วคราว "จ่านิว"ร้อง กสม. กระทบสิทธิ หลังถูกกักตัวระหว่างไปตรวจสอบราชภักดิ์ เตรียมฟ้องรถไฟ พ่วงทหาร ตำรวจ ผิด 157 "ตู่"ได้ที ยุนักศึกษาฟ้องเลย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (23 ธ.ค.) ที่ห้องพิจารณาคดี 908 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เมื่อเวลา 10.00 น. ศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีหมายเลขดำ อ.1167/2553 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 8 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.จีรนุช เปรมชัยพร ผู้ดูแลเว็บไซต์ประชาไท เป็นจำเลยในความผิดฐานกระทำผิดพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 และ 15
คดีนี้พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 31 มี.ค.2553 สรุปว่า เมื่อระหว่างวันที่ 15 เม.ย.-3 พ.ย.2551 เวลากลางคืนติดต่อกัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยเป็นผู้ให้บริการเว็บไซต์ โดยเป็นผู้ดูแล (Web master) เว็บไซต์ประชาไทดังกล่าว ได้จงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการดำเนินการนำข้อความอันเป็นข้อมูลมีเนื้อหาดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร จำนวน 10 กระทู้เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในความควบคุมของจำเลย เหตุเกิดที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แขวงจอมพล เขตจตุจักร, แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร (กทม.) และทั่วราชอาณาจักรไทยเกี่ยวพันกัน
โดยศาลชั้นต้น ได้พิพากษาว่า จำเลยมีความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 15 ประกอบมาตรา14 (3) ลงโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 30,000 บาท ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาบ้าง ลดโทษให้ 1ใน 3 คงจำคุก 8 เดือน ปรับ 20,000 บาท แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เพื่อให้โอกาสจำเลยเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ข้อหาอื่นให้ยก
ต่อมาโจทก์และจำเลยยื่นอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น เนื่องจากเห็นว่า จำเลยเป็นผู้ดูแลเว็บไซต์ประชาไทมีหน้าที่เก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์และมีความใกล้ชิดกับเนื้อหาข้อมูล แต่จำเลยกลับยินยอมให้มีการนำข้อความอันไม่เหมาะสมมาเผยแพร่ลงบนเว็บไซต์เป็นเวลานาน จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งเจ้าหน้าที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้เข้าตรวจสอบข้อมูลในเว็บไซต์ประชาไท พบว่ามีเนื้อหาข้อความหมิ่นสถาบันฯ ถึง 4 ครั้ง พร้อมส่งจดหมายถึงจำเลยในฐานะผู้บริหารเว็บไซต์
หลังจากนั้น จำเลยได้ยื่นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งศาลฎีกาตรวจสำนวนปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า พฤติการณ์แห่งคดีแสดงให้เห็นว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้ดูแลให้บริการได้รู้เห็นว่ามีกระทู้ซึ่งเป็นความผิดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในควบคุมของจำเลย แล้วยินยอมให้ข้อมูลดังกล่าวอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 15 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 30,000 บาท แต่ลดโทษให้ 1ใน 3 คงจำคุก 8 เดือน ปรับ 20,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปีนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย พิพากษายืน
วันเดียวกันนี้ องค์คณะตุลาการศาลปกครองกลางได้ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวน คดีหมายเลขดำที่ 2115/2558 ระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ยื่นฟ้องอธิบดีกรมการกงสุล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-2 กรณีขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งกระทรวงการต่างประเทศที่ยกเลิกหนังสือเดินทาง เลขที่ U957411 และ Z530117ของนายทักษิณ ลงวันที่วันที่ 26 พ.ค.2558 โดยฝ่ายผู้ฟ้องคดี มีนายวัฒนา เตียงกูล ทนายความผู้รับอำนาจ เข้าชี้แจงต่อศาล ส่วนฝ่ายผู้ถูกฟ้องคดี มีนายธงชัย ชาสวัสดิ์ อธิบดีกรมการกงสุล และตัวแทนของปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมให้ถ้อยคำ
ทั้งนี้ การไต่สวนสองฝ่ายนัดนี้ เป็นการไต่สวนหลังจากที่องค์คณะได้พิจารณาเบื้องต้นแล้วว่า คำฟ้องดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจที่ศาลจะรับไว้พิจารณามีคำวินิจฉัยได้ และเมื่อผู้ฟ้องคดีได้ยื่นขอให้ศาลกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา คือ ให้ระงับประกาศคำสั่งยกเลิกหนังสือเดินทาง 2 ฉบับดังกล่าวไว้ จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา ศาลจึงได้มีการเรียกคู่กรณีเข้าให้ข้อมูล ก่อนที่ศาลจะได้มีคำสั่งออกไปในคราวเดียวกันว่ารับไว้พิจารณาวินิจฉัยแล้ว จะกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาให้ตามที่ผู้ฟ้องคดีร้องขอหรือไม่
นายวัฒนาให้สัมภาษณ์ภายหลังการไต่สวนว่า ศาลได้รับคำฟ้องคดีดังกล่าวแล้ว โดยในการเข้าไต่สวน ตนได้ขอเพิ่มพยานอีก 1 ปาก คือ นายจุลพงษ์ โนนศรีชัย อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ (สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล) ซึ่งก็พามานำสืบในชั้นไต่สวนด้วย แต่ศาลเห็นว่ายังไม่จำเป็น เพราะยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาว่าจะกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวให้ตามที่ผู้ฟ้องคดีขอหรือไม่ จึงให้นายจุลพงษ์ ยื่นเป็นบันทึกถ้อยคำชี้แจงต่อศาลภายใน 7 วัน โดยประเด็นที่พยานจะชี้แจง คือ วิธีการปฏิบัติในกระทรวงการต่างประเทศ โดยในการต่อสู้คดีเราเห็นว่า คำสั่งยกเลิกหนังสือเดินทางที่ออกมาไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายประเด็น แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ และการที่นายทักษิณ พักอาศัยในต่างประเทศ ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการสู้คดี เพราะในคดีปกครอง ผู้รับมอบอำนาจสามารถดำเนินการในเรื่องคดีได้ เสมือนเป็นผู้ฟ้องคดีอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ ถ้าศาลมีคำสั่งรับฟ้องและคุ้มครองชั่วคราว กระบวนการต่อไปศาลก็จะส่งสำนวนคำฟ้องไปยังผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองราย เพื่อให้ทำคำให้การชี้แจงแก้ข้อกล่าวหายื่นมายังศาลภายใน 30 วัน และศาลก็จะส่งคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของผู้ถูกฟ้องคดีให้กับฝ่ายผู้ฟ้องคดีได้ทำคำคัดค้านยื่นต่อศาลภายใน 30 วันเช่นกัน รวมถึงศาลก็มีกระบวนการในการแสวงหาข้อเท็จจริงเอง จึงไม่สามารถบอกได้ว่า ศาลจะใช้เวลาในการพิจารณานานเท่าไร ซึ่งผลของคดีเราไม่ได้คาดหวังอะไร นายทักษิณ ก็เพียงแต่ใช้สิทธิตามที่มี ซึ่งหากท้ายที่สุดศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งยกเลิกหนังสือเดินทาง 2 ฉบับดังกล่าว ก็เข้าใจว่านายทักษิณ ก็ต้องมายื่นเรื่องการขอทำหนังสือเดินทางใหม่ ตามระเบียบของกรมการกงสุล
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า กลุ่มประชาธิปไตยใหม่ นำโดยนายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว นศ.คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ พร้อมเพื่อนนักศึกษา 2 คน เดินทางมาขอคำปรึกษากับนายวัส ติงสมิตร ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เพื่อยื่นเรื่องร้องเรียน กรณีที่ถูกทหาร ตำรวจ กักตัวระหว่างเดินทางไปตรวจสอบทุจริตโครงการอุทยานราชภักดิ์ เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. ที่ผ่านมา รวมทั้งกรณีที่ถูกออกหมายเรียกในคดีมั่วสุมหรือชุมนุมเกิน 5 คนขึ้นไปโดยไม่ได้รับอนุญาต
นายสิรวิชญ์ กล่าวว่า ทางกลุ่มนศ. ได้ยื่นเรื่องร้องเรียน เพื่อให้ กสม.ดำเนินการตรวจสอบ ใน 4 ประเด็น คือ1.ขอให้ตรวจสอบการทำงานของพนักงานรถไฟสถานีบ้านโป่ง 2.ขอให้ตรวจสอบตำรวจและทหารทุกนายที่ขัดขวาง 3.ขอให้ตรวจสอบกรณีควบคุมตัว นายธเนตร อนันตวงษ์ โดยไม่ชอบ และ 4.ขอให้ตรวจสอบกรณีนายทหารพระธรรมนูญไปแจ้งความดำเนินคดีกับนักศึกษา 11 คนที่เดินทางไปอุทยาราชภักดิ์
ส่วนกรณีตำรวจออกหมายเรียกครั้งที่ 2 กับกลุ่มนักศึกษา นายสิรวิชญ์กล่าวว่า การจะเดินทางไปตามหมายเรียกในวันที่ 29 ธ.ค.หรือไม่นั้น ตอนนี้ยังอยู่ในช่วงการตัดสินใจของแต่ละคน เพราะหลังวันที่ 29 ธ.ค. หากไม่ไป ไม่แน่ใจว่าจะมีการออกหมายจับหรือไม่ ซึ่งทางกลุ่มก็ยืนยันว่าพร้อมที่จะไปพบเจ้าหน้าที่ในวันที่ 9 ม.ค.2559 เพราะช่วงปีใหม่ไม่พร้อมไปจริงๆ ซึ่งยืนยันว่าพวกตนไม่มีพฤติกรรมที่จะหลบหนี แต่ก็เตรียมใจไว้แล้วหากจะมีการออกหมายจับ และทางกลุ่มกำลังเตรียมฟ้องการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กรณีไม่ลำเลียงผู้โดยสารไปถึงปลายทาง และดำเนินคดีอาญาตามมาตรา 157 กับเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ที่ควบคุมตัวนักศึกษา
ด้านนายวัส กล่าวว่า การพิจารณาคำร้องของ กสม. มี 2 ช่องทาง คือ ช่องทางแรกสำนักงานฯ จะส่งให้คณะอนุกรรมการกลั่นกรองพิจารณาว่าคำร้องอยู่ในอำนาจของคณะอนุกรรมการสิทธิ์ในด้านใด อีกช่องทาง คือ วิธีเร่งด่วน ส่งตรงไปยังคณะอนุกรรมการสิทธิฯ ในด้านที่อยู่ในอำนาจพิจารณาเลย
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวในรายการมองไกลผ่านยูทูป ว่า ขอเสนอให้นายสิรวิชญ์ และแกนนำกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ กับพวกรวม 11 คน ฟ้องทหารและตำรวจ ผิดมาตรา 157 เพราะเมื่อไร้น้ำใจ ไม่มีไมตรีต่อกันแล้ว ก็สมควรฟ้อง และยังเห็นว่ามีการเลือกปฏิบัติ เพราะยกเว้นพระพุทธอิสระกับพวก ที่ชุมนุมในสถานที่แตกต่างกัน แต่ไม่ถูกออกหมายเรียก และขณะนี้ยังออกอาการเกเรถึงขั้นออกกฎเลือกสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (23 ธ.ค.) ที่ห้องพิจารณาคดี 908 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เมื่อเวลา 10.00 น. ศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีหมายเลขดำ อ.1167/2553 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 8 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.จีรนุช เปรมชัยพร ผู้ดูแลเว็บไซต์ประชาไท เป็นจำเลยในความผิดฐานกระทำผิดพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 และ 15
คดีนี้พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 31 มี.ค.2553 สรุปว่า เมื่อระหว่างวันที่ 15 เม.ย.-3 พ.ย.2551 เวลากลางคืนติดต่อกัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยเป็นผู้ให้บริการเว็บไซต์ โดยเป็นผู้ดูแล (Web master) เว็บไซต์ประชาไทดังกล่าว ได้จงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการดำเนินการนำข้อความอันเป็นข้อมูลมีเนื้อหาดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร จำนวน 10 กระทู้เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในความควบคุมของจำเลย เหตุเกิดที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แขวงจอมพล เขตจตุจักร, แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร (กทม.) และทั่วราชอาณาจักรไทยเกี่ยวพันกัน
โดยศาลชั้นต้น ได้พิพากษาว่า จำเลยมีความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 15 ประกอบมาตรา14 (3) ลงโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 30,000 บาท ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาบ้าง ลดโทษให้ 1ใน 3 คงจำคุก 8 เดือน ปรับ 20,000 บาท แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เพื่อให้โอกาสจำเลยเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ข้อหาอื่นให้ยก
ต่อมาโจทก์และจำเลยยื่นอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น เนื่องจากเห็นว่า จำเลยเป็นผู้ดูแลเว็บไซต์ประชาไทมีหน้าที่เก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์และมีความใกล้ชิดกับเนื้อหาข้อมูล แต่จำเลยกลับยินยอมให้มีการนำข้อความอันไม่เหมาะสมมาเผยแพร่ลงบนเว็บไซต์เป็นเวลานาน จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งเจ้าหน้าที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้เข้าตรวจสอบข้อมูลในเว็บไซต์ประชาไท พบว่ามีเนื้อหาข้อความหมิ่นสถาบันฯ ถึง 4 ครั้ง พร้อมส่งจดหมายถึงจำเลยในฐานะผู้บริหารเว็บไซต์
หลังจากนั้น จำเลยได้ยื่นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งศาลฎีกาตรวจสำนวนปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า พฤติการณ์แห่งคดีแสดงให้เห็นว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้ดูแลให้บริการได้รู้เห็นว่ามีกระทู้ซึ่งเป็นความผิดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในควบคุมของจำเลย แล้วยินยอมให้ข้อมูลดังกล่าวอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 15 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 30,000 บาท แต่ลดโทษให้ 1ใน 3 คงจำคุก 8 เดือน ปรับ 20,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปีนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย พิพากษายืน
วันเดียวกันนี้ องค์คณะตุลาการศาลปกครองกลางได้ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวน คดีหมายเลขดำที่ 2115/2558 ระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ยื่นฟ้องอธิบดีกรมการกงสุล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-2 กรณีขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งกระทรวงการต่างประเทศที่ยกเลิกหนังสือเดินทาง เลขที่ U957411 และ Z530117ของนายทักษิณ ลงวันที่วันที่ 26 พ.ค.2558 โดยฝ่ายผู้ฟ้องคดี มีนายวัฒนา เตียงกูล ทนายความผู้รับอำนาจ เข้าชี้แจงต่อศาล ส่วนฝ่ายผู้ถูกฟ้องคดี มีนายธงชัย ชาสวัสดิ์ อธิบดีกรมการกงสุล และตัวแทนของปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมให้ถ้อยคำ
ทั้งนี้ การไต่สวนสองฝ่ายนัดนี้ เป็นการไต่สวนหลังจากที่องค์คณะได้พิจารณาเบื้องต้นแล้วว่า คำฟ้องดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจที่ศาลจะรับไว้พิจารณามีคำวินิจฉัยได้ และเมื่อผู้ฟ้องคดีได้ยื่นขอให้ศาลกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา คือ ให้ระงับประกาศคำสั่งยกเลิกหนังสือเดินทาง 2 ฉบับดังกล่าวไว้ จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา ศาลจึงได้มีการเรียกคู่กรณีเข้าให้ข้อมูล ก่อนที่ศาลจะได้มีคำสั่งออกไปในคราวเดียวกันว่ารับไว้พิจารณาวินิจฉัยแล้ว จะกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาให้ตามที่ผู้ฟ้องคดีร้องขอหรือไม่
นายวัฒนาให้สัมภาษณ์ภายหลังการไต่สวนว่า ศาลได้รับคำฟ้องคดีดังกล่าวแล้ว โดยในการเข้าไต่สวน ตนได้ขอเพิ่มพยานอีก 1 ปาก คือ นายจุลพงษ์ โนนศรีชัย อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ (สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล) ซึ่งก็พามานำสืบในชั้นไต่สวนด้วย แต่ศาลเห็นว่ายังไม่จำเป็น เพราะยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาว่าจะกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวให้ตามที่ผู้ฟ้องคดีขอหรือไม่ จึงให้นายจุลพงษ์ ยื่นเป็นบันทึกถ้อยคำชี้แจงต่อศาลภายใน 7 วัน โดยประเด็นที่พยานจะชี้แจง คือ วิธีการปฏิบัติในกระทรวงการต่างประเทศ โดยในการต่อสู้คดีเราเห็นว่า คำสั่งยกเลิกหนังสือเดินทางที่ออกมาไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายประเด็น แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ และการที่นายทักษิณ พักอาศัยในต่างประเทศ ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการสู้คดี เพราะในคดีปกครอง ผู้รับมอบอำนาจสามารถดำเนินการในเรื่องคดีได้ เสมือนเป็นผู้ฟ้องคดีอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ ถ้าศาลมีคำสั่งรับฟ้องและคุ้มครองชั่วคราว กระบวนการต่อไปศาลก็จะส่งสำนวนคำฟ้องไปยังผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองราย เพื่อให้ทำคำให้การชี้แจงแก้ข้อกล่าวหายื่นมายังศาลภายใน 30 วัน และศาลก็จะส่งคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของผู้ถูกฟ้องคดีให้กับฝ่ายผู้ฟ้องคดีได้ทำคำคัดค้านยื่นต่อศาลภายใน 30 วันเช่นกัน รวมถึงศาลก็มีกระบวนการในการแสวงหาข้อเท็จจริงเอง จึงไม่สามารถบอกได้ว่า ศาลจะใช้เวลาในการพิจารณานานเท่าไร ซึ่งผลของคดีเราไม่ได้คาดหวังอะไร นายทักษิณ ก็เพียงแต่ใช้สิทธิตามที่มี ซึ่งหากท้ายที่สุดศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งยกเลิกหนังสือเดินทาง 2 ฉบับดังกล่าว ก็เข้าใจว่านายทักษิณ ก็ต้องมายื่นเรื่องการขอทำหนังสือเดินทางใหม่ ตามระเบียบของกรมการกงสุล
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า กลุ่มประชาธิปไตยใหม่ นำโดยนายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว นศ.คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ พร้อมเพื่อนนักศึกษา 2 คน เดินทางมาขอคำปรึกษากับนายวัส ติงสมิตร ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เพื่อยื่นเรื่องร้องเรียน กรณีที่ถูกทหาร ตำรวจ กักตัวระหว่างเดินทางไปตรวจสอบทุจริตโครงการอุทยานราชภักดิ์ เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. ที่ผ่านมา รวมทั้งกรณีที่ถูกออกหมายเรียกในคดีมั่วสุมหรือชุมนุมเกิน 5 คนขึ้นไปโดยไม่ได้รับอนุญาต
นายสิรวิชญ์ กล่าวว่า ทางกลุ่มนศ. ได้ยื่นเรื่องร้องเรียน เพื่อให้ กสม.ดำเนินการตรวจสอบ ใน 4 ประเด็น คือ1.ขอให้ตรวจสอบการทำงานของพนักงานรถไฟสถานีบ้านโป่ง 2.ขอให้ตรวจสอบตำรวจและทหารทุกนายที่ขัดขวาง 3.ขอให้ตรวจสอบกรณีควบคุมตัว นายธเนตร อนันตวงษ์ โดยไม่ชอบ และ 4.ขอให้ตรวจสอบกรณีนายทหารพระธรรมนูญไปแจ้งความดำเนินคดีกับนักศึกษา 11 คนที่เดินทางไปอุทยาราชภักดิ์
ส่วนกรณีตำรวจออกหมายเรียกครั้งที่ 2 กับกลุ่มนักศึกษา นายสิรวิชญ์กล่าวว่า การจะเดินทางไปตามหมายเรียกในวันที่ 29 ธ.ค.หรือไม่นั้น ตอนนี้ยังอยู่ในช่วงการตัดสินใจของแต่ละคน เพราะหลังวันที่ 29 ธ.ค. หากไม่ไป ไม่แน่ใจว่าจะมีการออกหมายจับหรือไม่ ซึ่งทางกลุ่มก็ยืนยันว่าพร้อมที่จะไปพบเจ้าหน้าที่ในวันที่ 9 ม.ค.2559 เพราะช่วงปีใหม่ไม่พร้อมไปจริงๆ ซึ่งยืนยันว่าพวกตนไม่มีพฤติกรรมที่จะหลบหนี แต่ก็เตรียมใจไว้แล้วหากจะมีการออกหมายจับ และทางกลุ่มกำลังเตรียมฟ้องการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กรณีไม่ลำเลียงผู้โดยสารไปถึงปลายทาง และดำเนินคดีอาญาตามมาตรา 157 กับเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ที่ควบคุมตัวนักศึกษา
ด้านนายวัส กล่าวว่า การพิจารณาคำร้องของ กสม. มี 2 ช่องทาง คือ ช่องทางแรกสำนักงานฯ จะส่งให้คณะอนุกรรมการกลั่นกรองพิจารณาว่าคำร้องอยู่ในอำนาจของคณะอนุกรรมการสิทธิ์ในด้านใด อีกช่องทาง คือ วิธีเร่งด่วน ส่งตรงไปยังคณะอนุกรรมการสิทธิฯ ในด้านที่อยู่ในอำนาจพิจารณาเลย
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวในรายการมองไกลผ่านยูทูป ว่า ขอเสนอให้นายสิรวิชญ์ และแกนนำกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ กับพวกรวม 11 คน ฟ้องทหารและตำรวจ ผิดมาตรา 157 เพราะเมื่อไร้น้ำใจ ไม่มีไมตรีต่อกันแล้ว ก็สมควรฟ้อง และยังเห็นว่ามีการเลือกปฏิบัติ เพราะยกเว้นพระพุทธอิสระกับพวก ที่ชุมนุมในสถานที่แตกต่างกัน แต่ไม่ถูกออกหมายเรียก และขณะนี้ยังออกอาการเกเรถึงขั้นออกกฎเลือกสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่