**การปรับปรุงแก้ไขกฎคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับสารวัตร ถึงจเรตำรวจแห่งชาติ และรอง ผบ.ตร. พ.ศ. 2549 ที่มีการพิจารณาหลักเกณฑ์ใหม่ เตรียมเสนอเข้าวงประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ(ก.ตร.) ครั้งที่ 18/2558 วันที่ 22 ธ.ค.58 เวลา 14.30 น.
อันเป็นผลพวงมาจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ สะบัดปากกาช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เซ็นคำสั่ง คสช. ที่ 44/2558 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจ ที่กำหนดให้ ก.ตร. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจใหม่
เพราะหลักเกณฑ์ใหม่ที่ถูกเคาะออกมา ดูจะเข้าทาง“นายพล”ดาวรุ่งที่อายุน้อยๆ แต่เส้นใหญ่ จะเติบโตก้าวพรวดขึ้นสู่เก้าอี้ “ผู้นำสีกากี”หรือ“ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.)” ในเวลาไม่กี่ปี และเตะตัดขาระดับ“นายพัน”ในการเติบโตไล่หลังให้ไปอย่างเชื่องช้าแบบเต่าวิ่งแข่งกับกระต่าย !!!
โดยมีการเตรียมเสนอ ก.ตร.พิจารณาเห็นชอบการแก้ไขหลักเกณฑ์คุณสมบัติการแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นใหม่ ตั้งแต่ระดับ สารวัตร(สว.) ยศ “พ.ต.ต.” ไปจนถึงระดับ จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ยศ พล.ต.อ. ทั้งหมด
รองสารวัตร(รองสว.) เลื่อนเป็น สารวัตร (สว.) ต้องครองตำแหน่งเดิมมาไม่น้อยกว่า 8 ปี จากเดิมที่กำหนดเพียง 7 ปี บวกเพิ่มขึ้น 1 ปี
สารวัตร (สว.) เลื่อนเป็น รองผู้กำกับการ(รองผกก.) ต้องครองตำแหน่งเดิมมาไม่น้อยกว่า 6 ปี จากเดิมที่กำหนดเพียง 5 ปี บวกเพิ่มขึ้น 1 ปี
รองผู้กำกับการ(รองผกก.) เลื่อนเป็น ผู้กำกับการ(ผกก.) ต้องครองตำแหน่งเดิมมาไม่น้อยกว่า 4 ปี จากเดิมที่กำหนดเพียง 3 ปี บวกเพิ่มขึ้น 1 ปี
ผู้กำกับการ(ผกก.) เลื่อนเป็น รองผู้บังคับการ(รองผบก.) ต้องครองตำแหน่งเดิมมาไม่น้อยกว่า 5 ปี จากเดิมที่กำหนดเพียง 4 ปี บวกเพิ่มขึ้น 1 ปี
รองผู้บังคับการ(รองผบก.) เลื่อนเป็น ผู้บังคับการ(ผบก.) ต้องครองตำแหน่งเดิมมาไม่น้อยกว่า 6 ปี และมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การเลื่อนยศเป็น พล.ต.ต. จากเดิมที่กำหนดเพียง 4 ปี บวกเพิ่มขึ้น 2 ปี
ผู้บังคับการ(ผบก.) เลื่อนเป็น รองผู้บัญชาการ(รองผบช.) ต้องครองตำแหน่งเดิมมาไม่น้อยกว่า 2 ปี จากเดิมที่กำหนดไว้ 3 ปี ลดลง 1 ปี
รองผู้บัญชาการ(รองผบช.) เลื่อนเป็น ผู้บัญชาการ(ผบช.) ต้องครองตำแหน่งเดิมมาไม่น้อยกว่า 1 ปี จากเดิมที่กำหนดไว้ 3 ปี ลดลง 2 ปี
ผู้บัญชาการ(ผบช.) เลื่อนเป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.) ต้องครองตำแหน่งเดิมมาไม่น้อยกว่า 1 ปี จากเดิมที่กำหนดไว้ 2 ปี
ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผู้ช่วย ผบ.ตร.) เลื่อนเป็น จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(รองผบ.ตร.) ต้องครองตำแหน่งเดิมมาไม่น้อยกว่า 1 ปี จากเดิมที่กำหนดไว้ 1 ปี เช่นกัน
ซึ่งหากคิดกันตามหลักเกณฑ์ใหม่ดังกล่าว หากขึ้น สารวัตร ติดยศ พ.ต.ต.แล้วกว่าจะขึ้นเป็น จเรตำรวจแห่งชาติ หรือ รองผบ.ตร. ติดยศ พล.ต.อ. ก็ต้องใช้เวลากว่า 34 ปี และเมื่อนำอายุตั้งแต่จบจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ(นรต.) อายุประมาณ 23-24 ปี บวกกับการไต่เต้าตามหลักเกณฑ์เลื่อนตำแหน่งใหม่ กว่าจะติดยศ พล.ต.อ. อายุก็น่าจะปาเข้าไป 57 ปี เหลือลุ้นอีก 2-3 ปีก่อนเกษียณจะได้ขึ้นเป็น ผู้นำสีกากี หรือ ผบ.ตร. หรือไม่แค่นั้น
ทว่าถ้าขึ้นกันตามสเต็ปคงไม่มีปัญหาอะไร แต่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เก้าอี้มีน้อยกว่าคนอยู่แล้ว โอกาสที่จะพลาดต้องร้องเพลงรอ ไม่ได้ขึ้นตามสเต็ปเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นตามเกณฑ์ก็มีโอกาสสูง ซึ่งนั่นก็จะหมายถึงโอกาสขึ้นเป็น ผู้นำสีกากี ติดยศ พล.ต.อ. หรือแค่ติดยศ พล.ต.ต. และ พล.ต.ท. ก็ลดน้อยถอยลงไปตามลำดับ
ตรงกันข้ามกับ”ตำรวจ”ที่ขึ้นเป็น ผู้บังคับการ(ผบก.) ติดยศ พล.ต.ต. หรือเหล่านายพลแล้วจะได้เปรียบกว่าพวกระดับนายพัน เพราะหลักเกณฑ์การเติบโตลดลง ทำให้นายพลดาวรุ่งที่มีอายุราชการยังเหลืออยู่เยอะๆ ประเภทนายพลหนุ่ม มีโอกาสก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดบนเก้าอี้ “ผบ.ตร.” เพิ่มมากขึ้น
ถามว่า ณ ชั่วโมงนี้ หากพิจารณาถึง “นายพล”หนุ่มรุ่นกระทง ที่ได้ประโยชน์จากหลักเกณฑ์การเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นใหม่ครั้งนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธนายตำรวจที่ชื่อ “โจ๊ก หวานเจี๊ยบ” หรือ พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยว (ผบก.ทท.) นักเรียนนายร้อยตำรวจ (นรต.) รุ่น 47 ซึ่งปัจจุบันมีอายุเพียง 43-44 ปี แถมพกดีกรีน้องเลิฟ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พี่ใหญ่แห่งบูรพาพยัคฆ์
ที่ตอนนี้ “โจ๊ก หวานเจี๊ยบ” เป็น ผู้บังคับการ ด้วยอายุ 43-44 ปี บวกไปอีก 11 ปี ในการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นตามหลักเกณฑ์ใหม่ ติดยศ พล.ต.อ. เป็น จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผบ.ตร. ก็จะมีอายุเพียง 53-54 ปี ยังเหลืออายุราชการก่อนเกษียณ 60 ปี อีกถึง 6-7 ปี โอกาสขึ้นเป็น ผบ.ตร. ผู้นำสีกากี มีความเป็นไปได้สูงลิบลิ่ว
ยิ่งหลักเกณฑ์การเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นใหม่ สกัดเพื่อนร่วมรุ่น นรต.47รวมทั้งรุ่นน้องที่ยังไม่ได้ติดยศ นายพล เป็นแค่ระดับนายพันเสียส่วนใหญ่ ก็ทำให้ไม่มีใครมาเป็นขวากหนาม มาเป็นคู่แข่ง เก้าอี้ “ผู้นำสีกากี” จะไปไหนเสีย
งานนี้ “โจ๊ก หวานเจี๊ยบ”คงต้องไปขอบคุณคนเขียนหลักเกณฑ์ฉบับนี้ หรือจะแค่ไปยืนหน้ากระจกยกมือขอบคุณงามๆก็พอ.
อันเป็นผลพวงมาจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ สะบัดปากกาช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เซ็นคำสั่ง คสช. ที่ 44/2558 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจ ที่กำหนดให้ ก.ตร. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจใหม่
เพราะหลักเกณฑ์ใหม่ที่ถูกเคาะออกมา ดูจะเข้าทาง“นายพล”ดาวรุ่งที่อายุน้อยๆ แต่เส้นใหญ่ จะเติบโตก้าวพรวดขึ้นสู่เก้าอี้ “ผู้นำสีกากี”หรือ“ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.)” ในเวลาไม่กี่ปี และเตะตัดขาระดับ“นายพัน”ในการเติบโตไล่หลังให้ไปอย่างเชื่องช้าแบบเต่าวิ่งแข่งกับกระต่าย !!!
โดยมีการเตรียมเสนอ ก.ตร.พิจารณาเห็นชอบการแก้ไขหลักเกณฑ์คุณสมบัติการแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นใหม่ ตั้งแต่ระดับ สารวัตร(สว.) ยศ “พ.ต.ต.” ไปจนถึงระดับ จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ยศ พล.ต.อ. ทั้งหมด
รองสารวัตร(รองสว.) เลื่อนเป็น สารวัตร (สว.) ต้องครองตำแหน่งเดิมมาไม่น้อยกว่า 8 ปี จากเดิมที่กำหนดเพียง 7 ปี บวกเพิ่มขึ้น 1 ปี
สารวัตร (สว.) เลื่อนเป็น รองผู้กำกับการ(รองผกก.) ต้องครองตำแหน่งเดิมมาไม่น้อยกว่า 6 ปี จากเดิมที่กำหนดเพียง 5 ปี บวกเพิ่มขึ้น 1 ปี
รองผู้กำกับการ(รองผกก.) เลื่อนเป็น ผู้กำกับการ(ผกก.) ต้องครองตำแหน่งเดิมมาไม่น้อยกว่า 4 ปี จากเดิมที่กำหนดเพียง 3 ปี บวกเพิ่มขึ้น 1 ปี
ผู้กำกับการ(ผกก.) เลื่อนเป็น รองผู้บังคับการ(รองผบก.) ต้องครองตำแหน่งเดิมมาไม่น้อยกว่า 5 ปี จากเดิมที่กำหนดเพียง 4 ปี บวกเพิ่มขึ้น 1 ปี
รองผู้บังคับการ(รองผบก.) เลื่อนเป็น ผู้บังคับการ(ผบก.) ต้องครองตำแหน่งเดิมมาไม่น้อยกว่า 6 ปี และมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การเลื่อนยศเป็น พล.ต.ต. จากเดิมที่กำหนดเพียง 4 ปี บวกเพิ่มขึ้น 2 ปี
ผู้บังคับการ(ผบก.) เลื่อนเป็น รองผู้บัญชาการ(รองผบช.) ต้องครองตำแหน่งเดิมมาไม่น้อยกว่า 2 ปี จากเดิมที่กำหนดไว้ 3 ปี ลดลง 1 ปี
รองผู้บัญชาการ(รองผบช.) เลื่อนเป็น ผู้บัญชาการ(ผบช.) ต้องครองตำแหน่งเดิมมาไม่น้อยกว่า 1 ปี จากเดิมที่กำหนดไว้ 3 ปี ลดลง 2 ปี
ผู้บัญชาการ(ผบช.) เลื่อนเป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.) ต้องครองตำแหน่งเดิมมาไม่น้อยกว่า 1 ปี จากเดิมที่กำหนดไว้ 2 ปี
ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผู้ช่วย ผบ.ตร.) เลื่อนเป็น จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(รองผบ.ตร.) ต้องครองตำแหน่งเดิมมาไม่น้อยกว่า 1 ปี จากเดิมที่กำหนดไว้ 1 ปี เช่นกัน
ซึ่งหากคิดกันตามหลักเกณฑ์ใหม่ดังกล่าว หากขึ้น สารวัตร ติดยศ พ.ต.ต.แล้วกว่าจะขึ้นเป็น จเรตำรวจแห่งชาติ หรือ รองผบ.ตร. ติดยศ พล.ต.อ. ก็ต้องใช้เวลากว่า 34 ปี และเมื่อนำอายุตั้งแต่จบจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ(นรต.) อายุประมาณ 23-24 ปี บวกกับการไต่เต้าตามหลักเกณฑ์เลื่อนตำแหน่งใหม่ กว่าจะติดยศ พล.ต.อ. อายุก็น่าจะปาเข้าไป 57 ปี เหลือลุ้นอีก 2-3 ปีก่อนเกษียณจะได้ขึ้นเป็น ผู้นำสีกากี หรือ ผบ.ตร. หรือไม่แค่นั้น
ทว่าถ้าขึ้นกันตามสเต็ปคงไม่มีปัญหาอะไร แต่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เก้าอี้มีน้อยกว่าคนอยู่แล้ว โอกาสที่จะพลาดต้องร้องเพลงรอ ไม่ได้ขึ้นตามสเต็ปเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นตามเกณฑ์ก็มีโอกาสสูง ซึ่งนั่นก็จะหมายถึงโอกาสขึ้นเป็น ผู้นำสีกากี ติดยศ พล.ต.อ. หรือแค่ติดยศ พล.ต.ต. และ พล.ต.ท. ก็ลดน้อยถอยลงไปตามลำดับ
ตรงกันข้ามกับ”ตำรวจ”ที่ขึ้นเป็น ผู้บังคับการ(ผบก.) ติดยศ พล.ต.ต. หรือเหล่านายพลแล้วจะได้เปรียบกว่าพวกระดับนายพัน เพราะหลักเกณฑ์การเติบโตลดลง ทำให้นายพลดาวรุ่งที่มีอายุราชการยังเหลืออยู่เยอะๆ ประเภทนายพลหนุ่ม มีโอกาสก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดบนเก้าอี้ “ผบ.ตร.” เพิ่มมากขึ้น
ถามว่า ณ ชั่วโมงนี้ หากพิจารณาถึง “นายพล”หนุ่มรุ่นกระทง ที่ได้ประโยชน์จากหลักเกณฑ์การเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นใหม่ครั้งนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธนายตำรวจที่ชื่อ “โจ๊ก หวานเจี๊ยบ” หรือ พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยว (ผบก.ทท.) นักเรียนนายร้อยตำรวจ (นรต.) รุ่น 47 ซึ่งปัจจุบันมีอายุเพียง 43-44 ปี แถมพกดีกรีน้องเลิฟ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พี่ใหญ่แห่งบูรพาพยัคฆ์
ที่ตอนนี้ “โจ๊ก หวานเจี๊ยบ” เป็น ผู้บังคับการ ด้วยอายุ 43-44 ปี บวกไปอีก 11 ปี ในการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นตามหลักเกณฑ์ใหม่ ติดยศ พล.ต.อ. เป็น จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผบ.ตร. ก็จะมีอายุเพียง 53-54 ปี ยังเหลืออายุราชการก่อนเกษียณ 60 ปี อีกถึง 6-7 ปี โอกาสขึ้นเป็น ผบ.ตร. ผู้นำสีกากี มีความเป็นไปได้สูงลิบลิ่ว
ยิ่งหลักเกณฑ์การเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นใหม่ สกัดเพื่อนร่วมรุ่น นรต.47รวมทั้งรุ่นน้องที่ยังไม่ได้ติดยศ นายพล เป็นแค่ระดับนายพันเสียส่วนใหญ่ ก็ทำให้ไม่มีใครมาเป็นขวากหนาม มาเป็นคู่แข่ง เก้าอี้ “ผู้นำสีกากี” จะไปไหนเสีย
งานนี้ “โจ๊ก หวานเจี๊ยบ”คงต้องไปขอบคุณคนเขียนหลักเกณฑ์ฉบับนี้ หรือจะแค่ไปยืนหน้ากระจกยกมือขอบคุณงามๆก็พอ.