xs
xsm
sm
md
lg

แผ่นดินของไทย ปัญหาของคนไทย (9) เรื่องที่ 9.4: สงครามในซีเรีย ตอนที่ 2 ยุทธการเอาคืน และบทบาทของรัสเซียในซีเรีย

เผยแพร่:   โดย: วีระศักดิ์ นาทะสิริ

1. กล่าวนำ : กรณี Su-24 ของรัสเซียถูกยิงตก

1.1 ความผิดพลาดในบทความแผ่นดินของไทย ปัญหาของคนไทย (9) เรื่องที่ 9.4 ตอนที่ 1

ก่อนอื่นผู้เขียนต้องขออภัยผู้อ่านทุกท่านที่ได้เกิดความผิดพลาดในบทความดังกล่าวขึ้น คือ ในภาพที่ 2 เครื่องบิน Su-24 ผู้เขียนได้นำรูปภาพของเครื่องบิน F-16s ของตุรกีมาลงแทนเครื่องบิน Su-24 ของรัสเซียซึ่งรูปภาพของเครื่องบิน Su-241 ตัวจริงมีรูปลักษณะดังที่แสดงในภาพที่ 1

ภาพที่ 1 เครื่องบิน Su-24 (ตัวจริง)

1 http://www.military-today.com/aircraft/sukhoi_su24_fencer.htm ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

1.2 การแถลงข่าวของกระทรวงกลาโหมของรัสเซีย: กรณีการขนส่งน้ำมันเถื่อนของตุรกี

รายงานข่าวจาก Manager Online (7 ธันวาคม 2558 02:42 น.) ในหัวข้อข่าว ‘รัสเซีย’ เปิดหลักฐานพิสูจน์ ‘ตุรกี’ พัวพันการค้าน้ำมันเถื่อนของไอเอ ได้ระบุว่า รัฐมนตรีช่วยกลาโหม อนาโตลี อันโตนอฟ (Anatoly Antonov -ในภาพที่ 2)2 และพลโทเซียร์เกย์ รุดสกอย (Sergey Rudskoi) เจ้ากรมใหญ่ยุทธการ

ภาพที่ 2 Russian Deputy Defense Minister Anatoly Antonov

2 http://www.globalresearch.ca/bombshell-russian-military-reveals-details-of-isis-daesh-funding-turkeys-role-in-supporting-the-terrorists-complete-transcript-videos-documents/5493043ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้

(chief of the Main Operations Directorate) แห่งกองเสนาธิการใหญ่กองทัพรัสเซีย (the Russian General Staff-ใช้คำศัพท์ตาม Manager Online)ได้เปิดแถลงข่าวในเรื่องที่ตุรกียุ่งเกี่ยวกับการค้าน้ำมันเถื่อนที่มาจากพื้นที่ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่ม IS หรือ ISIS ซึ่งมีข้อความที่น่าสนใจ3 ดังนี้

อาร์ที (RT) สื่อของรัฐบาลรัสเซีย รายงานการแถลงข่าวของกระทรวงกลาโหมแดนหมีขาว ซึ่งเสนอหลักฐานข้อพิสูจน์ว่า คณะผู้นำของตุรกี รวมถึงตัวประธานาธิบดี เรเจฟ ไตยิป เอร์โดอัน และครอบครัว เกี่ยวข้องพัวพันกับการค้าน้ำมันเถื่อนของกลุ่มไอเอส..........................................

คณะผู้นำของตุรกี ซึ่งรวมถึงตัวประธานาธิบดี เรเจป ไตยิป เอร์โดอัน (RecepTayyip Erdogan) และครอบครัวของเขา มีความเกี่ยวข้องพัวพันกับการค้าน้ำมันเถื่อน ที่ทำกับพวกหัวรุนแรง “รัฐอิสลาม” (ไอเอส) กระทรวงกลาโหมรัสเซียระบุในการแถลงข่าวที่กรุงมอสโกเมื่อวันพุธ (2 ธ.ค.) โดยมีการเน้นย้ำข้อเท็จจริงที่ว่า ตุรกีคือจุดหมายปลายทางสุดท้ายของน้ำมันที่ลักลอบลำเลียงออกมาจากซีเรียและอิรัก ทั้งนี้ตามรายงานของอาร์ที (RT) และตามเอกสารการแถลงข่าวที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของกระทรวงกลาโหมรัสเซีย

ในการแถลงข่าวครั้งสำคัญว่าด้วยเงินทุนของกลุ่มไอเอส (IS หรือ ISIS) คราวนี้ รัฐมนตรีช่วยกลาโหมอนาโตลี อันโตนอฟ (Anatoly Antonov) กล่าวว่า การที่จะยังความปราชัยให้แก่ไอเอสนั้นจำเป็นที่จะต้องทำลายแหล่งที่มาแห่งเงินทุนของกลุ่มก่อการร้ายนี้

“รายได้จากการขายน้ำมัน คือแหล่งสำคัญที่สุดแหล่งหนึ่งในการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของพวกผู้ก่อการร้ายในซีเรีย”..................................………………………………………………………..

ตุรกีคือที่หมายหลักของน้ำมันที่ถูกโจรกรรมมาจากพวกเจ้าของที่ถูกต้องตามกฎหมายซึ่งก็คือ ซีเรีย และอิรัก จากนั้นตุรกีก็ขายต่อน้ำมันเหล่านี้ ส่วนที่น่าตกใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ คณะผู้นำระดับสูงสุดของตุรกีมีการเกี่ยวข้องพัวพันกับธุรกิจผิดกฎหมายนี้ด้วยซึ่งก็คือประธานาธิบดีเอร์โดอันและครอบครัวของเขา” อันโตนอฟ กล่าว

3(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=958000013)

รายงานข่าวข้างต้นยังสอดคล้องกับการรายงานข่าวของสำนักข่าว CNN ในหัวข้อเรื่อง Putin: Turkey will regret warplane downing 'for a long time' เขียนโดย Jason Hanna, AllaEshchenko and Tim Hume เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2015 ได้ระบุว่า เจ้าหน้าที่ทางทหารของรัสเซียได้กล่าวหาว่า ประธานาธิบดี Erdogan ของตุรกีและครอบครัวมีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้าน้ำมันกับกลุ่ม ISIS นี้ด้วย (Erdogan and his family were involved in the business. That means they have been involved in a secret oil trade with ISIS- ความเห็นของผู้เขียน) และได้แสดงหลักฐานเป็นภาพถ่ายดาวเทียมที่มีรถบรรทุกน้ำมันหลายคันจอดอยู่บริเวณชายแดนตุรกีกับซีเรีย (ดูภาพที่ 3 จากรายงานข่าวนี้)

ภาพที่ 3 รถบรรทุกน้ำมันบริเวณชายแดนตุรกีกับซีเรีย4

4ดูภาพถ่ายวิดีโอจาก http://edition.cnn.com/2015/12/03/world/russia-turkey-syria-warplane-tensions/index.html" CLASS="innerlink" TARGET="_blank">http://edition.cnn.com/2015/12/03/world/russia-turkey-syria-warplane-tensions/index.html

2. ยุทธการเอาคืนของรัสเซีย You have to pay back.

เมื่อตุรกีไม่ยอมขอโทษ รัสเซียจึงได้ดำเนินมาตรการต่างๆ ตอบโต้ตุรกี ดังนี้

2.1 มาตรการทางทหาร

(1) รัสเซียได้จัดส่งเรือลาดตระเวนนิวเคลียร์ติดจรวดนำวิถีมาประจำในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนนอกชายฝั่งประเทศตุรกีและซีเรีย เพื่อให้การคุ้มครองป้องกันภัยทางอากาศครอบคลุมพื้นที่การปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียในซีเรีย

(2) รัสเซียประกาศว่า ต่อไปนี้การปฏิบัติการโจมตีภาคพื้นดินของกองกำลังทางอากาศของรัสเซียจะมีเครื่องบินขับไล่โจมตี (Combat Fighter) ให้การคุ้มกันด้วยทุกครั้ง ซึ่งคาดว่า น่าจะเป็นเครื่องบินขับไล่โจมตี MiG-35 หรืออาจจะเป็น Su-34 ในภาพที่ 4

(3) รัสเซียได้ดำเนินการติดตั้งจรวดพื้นดินสู่อากาศรุ่นที่มีความทันสมัยคือ S-400 (ในภาพที่ 5 ซึ่งมีชื่อเล่นเรียกว่า Sam-400) เพื่อต่อสู้กับอากาศยานทุกชนิดที่อาจกระทำการที่เป็นภัยหรือเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียในซีเรีย

ภาพที่ 4 เครื่องบินขับไล่ (Fighter-Bomber) Su-345

5 http://immortaltoday.com/sukhoi-su-34-fullback-best-fighter-bomber-world

ภาพที่ 5 จรวดต่อต้านอากาศยานพื้นสู่อากาศ S-400 หรือ SA-216

6 http://fightersweep.com/3414/how-scary-is-the-russian-s-400-sam-system/

2.2 มาตรการทางเศรษฐกิจ

(สรุปจากhttps://www.rt.com/business/324121-russia-sanctions-against-turkey/" CLASS="innerlink" TARGET="_blank">https://www.rt.com/business/324121-russia-sanctions-against-turkey/)

มาตรการที่นายกรัฐมนตรี Dmitry Medvedev ของรัสเซียได้ลงนามในข้อบังคับโดยสรุปมี ดังนี้

(1) ห้ามนำเข้าสินค้าอาหารจากตุรกีเข้ารัสเซีย

(2) ยกเลิกเที่ยวบินเช่าเหมาลำระหว่างประเทศทั้งสอง

(3) เจ้าของกิจการชาวรัสเซียถูกห้ามไม่ให้จ้างผู้มีสัญชาติตุรกีตั้งแต่มกราคม 2016 เป็นต้นไป

(4) รัสเซียจะยกเลิกวีซ่าท่องเที่ยวปลอดค่าธรรมเนียมสำหรับชาวตุรกีตั้งแต่ มกราคม 2016 เป็นต้นไป

นอกเหนือจากมาตรการต่างๆ ที่กล่าวแล้ว รัสเซียยังได้ดำเนินการอื่นๆ อีก เช่น ได้ยุติการเจรจาสองฝ่ายในโครงการสร้างท่อส่งก๊าซระหว่างรัสเซียกับตุรกี (ซึ่งจะลดค่าขนส่งก๊าซมาให้ตุรกีและประเทศอื่นๆ ในยุโรป) และรวมทั้งยุติการเจรจาโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกของตุรกีอีกด้วย

อย่างไรก็ดี ผลกระทบที่สำคัญอีกประการหนึ่งจะมาจากนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียที่เข้ามาท่องเที่ยวในตุรกีเป็นประจำทุกปีๆ ละประมาณ 3 ล้านคน ซึ่งถ้านักท่องเที่ยวชาวรัสเซียส่วนใหญ่ไม่เข้ามาท่องเที่ยวในตุรกีก็อาจทำให้ตุรกีสูญเสียรายได้ด้านการท่องเที่ยวไปประมาณ 4.5 พันล้านดอลลาร์ และถ้ารวมมาตรการต่างๆ ที่รัสเซียได้ประกาศออกไปแล้วก็คาดว่า จะทำให้ตุรกีต้องสูญเสียรายได้ต่างๆ รวมทั้งหมดเป็นจำนวนประมาณ 20 พันล้านดอลลาร์ (ต่อปีเอา 35 ไปคูณจะเป็นค่าเงินบาท-ผู้เขียน)

2.3 มาตรการทางการเมือง

(1) การเปิดโปงและประณามการกระทำที่ไม่ถูกต้องของตุรกีเพื่อโดดเดี่ยวตุรกี

รัสเซียได้ออกมากล่าวหาว่า ตุรกีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้าน้ำมันในทางลับกับกลุ่ม ISIS ซึ่งเป็นกลุ่มก่อการร้ายที่ยึดพื้นที่บางส่วนของอิรักและซีเรียเพื่อจัดตั้งเป็นรัฐอิสลาม (Islam State) โดยกระทรวงกลาโหมของรัสเซียยังได้เปิดเผยข้อมูลและหลักฐานต่างๆ ต่อผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าวต่างๆ ในวันพุธที่ 3 ธ.ค. ที่ผ่านมา (2015) จากรายงานข่าวของสำนักข่าว RT (2 Dec, 2015 00:20) และจากการรายงานข่าวและภาพจาก Manager Online (7 ธันวาคม 2558 02:42 น.) ซึ่งได้แสดงภาพการขนส่งน้ำมันข้ามชายแดนตุรกี ในภาพที่ 6

ภาพที่ 6 ยานยนต์ที่กำลังลำเลียงน้ำมันบริเวณชายแดนตุรกี-ซีเรีย (ดัดแปลงโดยผู้เขียน)7

7(มาจากhttp://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000134793" CLASS="innerlink" TARGET="_blank">http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000134793)

รายงานข่าวและภาพจาก Manager Online ยังได้ระบุรายละเอียดเพิ่มเติมอีกว่า

“ภาพที่ถ่ายเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2015 ภาพนี้ (ภาพที่ 6) แสดงให้เห็นทางช่วงหนึ่งที่อยู่ใกล้ๆ เมืองอาซัซ (Azaz) ของทางหลวงสายซึ่งเชื่อมระหว่างตุรกีกับซีเรีย พวกท่านสามารถมองเห็นได้ว่ามียานยนต์ที่กำลังลำเลียงผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมชุมนุมรวมศูนย์กันอยู่อย่างหนาแน่น

พื้นที่ “A” ตั้งอยู่ทางฝั่งตุรกี ปรากฏว่ามีรถบรรทุกน้ำมันและรถกึ่งๆ เทรลเลอร์ใช้บรรทุกน้ำมันจำนวน 240 คัน ส่วนในพื้นที่ “B” ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งซีเรีย พวกท่านสามารถมองเห็นรถบรรทุกน้ำมันและรถอื่นๆ ที่ใช้ลำเลียงน้ำมันรวม 46 คันกำลังรอข้ามชายแดนตามข้อมูลตัวเลขที่หามาได้มีรถบรรทุกน้ำมันจำนวนหนึ่งอำพรางตัวเป็นรถบรรทุกหนักธรรมดาๆ...........”

ความคิดเห็นของผู้เขียนต่อมาตรการทางการเมือง (1)

ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า การที่รัสเซียออกมาประณามและเปิดเผยข้อมูลการลักลอบค้าขายน้ำมันกับกลุ่ม ISIS ก็เพื่อมุ่งที่จะแสวงหาแนวร่วมในสังคมโลก โดยโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้สังคมโลกได้รับรู้พฤติกรรมของตุรกีและโดยเฉพาะผู้นำตุรกี เพื่อโดดเดี่ยวตุรกีและผู้นำของตุรกีออกจากสังคมโลก และมุ่งหวังให้สังคมโลกมีความคิดเห็นสอดคล้องกับรัสเซียว่า ตุรกีเป็นผู้กระทำผิดหรือละเมิดกฎระเบียบของสังคมโลก และเป็นตัวการสำคัญที่ให้การสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย ISIS ที่โหดเหี้ยม โดยลักลอบค้าขายน้ำมันกับกลุ่มก่อการร้าย ISIS ดังแสดงในภาพที่ 8

(2) การป้องปรามกลุ่มประเทศที่สามที่อาจดำเนินการเป็นภัยต่อกองกำลังของรัสเซีย

หลังจากที่รัสเซียได้ตระเตรียมและเสริมสร้างกำลังอาวุธต่างๆ แล้ว รัสเซียยังออกมาป้องปรามไม่ให้ประเทศอื่นๆ ที่เคยให้การสนับสนุนตุรกีเข้าแทรกแซงหรือมุ่งที่จะใช้กำลังทหารมาต่อสู้หรือต่อต้านรัสเซีย ในกรณีที่อาจเกิดการปะทะกันระหว่างกองกำลังของรัสเซียกับกองกำลังของตุรกีในอนาคต โดยได้มีการเผยแพร่ข่าวทางสถานีโทรทัศน์และสื่อต่างๆ ในขณะที่ประธานาธิบดีปูตินของรัสเซียได้ออกคำสั่งให้ผู้บัญชาการหน่วยทหารของรัสเซียปฏิบัติการทำลายทุกเป้าหมายที่มีการกระทำที่อาจเป็นภัยต่อกองกำลังและโครงสร้างพื้นฐานทางภาคพื้นดินของรัสเซียในทันที (จากการรายงานข่าวเมื่อวันที่ 11 ธ.ค.ที่ผ่านมาของ DMITRY SOLOVYOV AND JACK STUBBS แห่งสำนักข่าว REUTERS : ประธานาธิบดีปูตินได้สั่งผู้บัญชาการกองกำลังต่างๆ ในที่ประชุมว่า “I order you to act in an extremely tough way. Any targets threatening Russia's (military) group or our land infrastructure must be immediately destroyed,” และภาพที่ 7ได้แสดงบรรยากาศในที่ประชุม)8

ภาพที่ 7 การประชุมผู้บัญชาการกองกำลังต่างๆ ของรัสเซียเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 20158

8 http://www.reuters.com/article/us-mideast-crisis-syria-russia-putin-idUSKBN0TU1B020151211

ความคิดเห็นของผู้เขียนต่อมาตรการทางการเมืองที่ (2)

ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า รัสเซียต้องการแสดงให้สหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นๆ ในกลุ่มนาโต้ได้รับรู้และเข้าใจข้อเท็จจริงที่ว่า ตุรกีได้กระทำผิดกฎระเบียบของสังคมโลก โดยลักลอบค้าขายน้ำมันกับกลุ่มก่อการร้าย ISIS ซึ่งเท่ากับเป็นการสนับสนุนกลุ่ม ISIS ในทางอ้อม โดยมุ่งหวังให้สหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศต่างๆ ไม่ให้ความช่วยเหลือแก่ตุรกีที่ให้การสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย ISIS หรือเข้ามาแทรกแซงหรือใช้กำลังทหารเข้าช่วยเหลือตุรกีในกรณีที่อาจมีการปะทะกันระหว่างกำลังทหารของรัสเซียกับกำลังทหารของตุรกีในอนาคต

นอกจากนี้ รัสเซียยังได้แสดงหลักฐานและข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่อให้สังคมโลกได้รับรู้ความจริงว่า ตุรกีคือ ตัวการที่แท้จริงที่ให้การสนับสนุนกลุ่ม ISIS เนื่องจากน้ำมันที่กลุ่ม ISIS ลักลอบขุดขึ้นมาขายให้กลุ่มผู้ค้าน้ำมันในตุรกีเป็นน้ำมันที่ผิดกฎหมาย (เพราะเจ้าของน้ำมันที่ถูกต้องตามกฎหมายคือ อิรักและซีเรีย) ซึ่งอาจเปรียบได้กับการขโมยน้ำมันของอิรักและซีเรียไปขายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ ดังนั้นกลุ่ม ISIS จึงอาจเปรียบได้กับเป็น “ขโมย หรือโจร” และผู้ซื้อน้ำมันจากกลุ่ม ISIS ก็อาจเปรียบได้กับเป็นผู้รับซื้อน้ำมันที่ผิดกฎหมายหรือเป็น “ผู้รับซื้อของโจร” ในสังคมโลกนั่นเอง (ดูภาพที่ 8)

3. บทบาทของรัสเซียในซีเรีย : ช่วยรัฐบาลซีเรียกำจัด ISIS หรือเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัสเซีย

หลังจากได้รับทราบข้อมูลจากการแถลงข่าวของกระทรวงกลาโหมของรัสเซีย เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2015 และจากการรายงานข่าวของสำนักข่าวต่างๆ โดยเฉพาะจากสำนักข่าว Reuters, BBC และ CNN รวมทั้งจากการตรวจสอบแผนที่ประเทศตุรกี- ซีเรีย-อิรัก แล้ว ผู้เขียนจึงขอสรุปบทบาทของรัสเซียต่อสถานการณ์การสู้รบที่เกิดขึ้นในซีเรีย (ในภาพที่ 8) ดังนี้

ภาพที่ 8 บทบาทของรัสเซียและสหรัฐอเมริกาในซีเรีย

ได้มีหลายท่านตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมรัสเซียต้องส่งกำลังทหารมาช่วยเหลือซีเรีย

แม้ว่ารัสเซียจะประสบกับความล้มเหลวจากสงครามในอัฟกานิสถานในอดีตที่ผ่านมาก็ตาม แต่ในกรณีสงครามกลางเมืองในซีเรีย รัสเซียกลับต้องตัดสินใจส่งกำลังทางอากาศไปให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลซีเรีย ซึ่งกำลังสู้รบกับกลุ่มกบฏต่างๆ (นอกเหนือจากที่ให้การสนับสนุนทางด้านอาวุธและด้านต่างๆ แก่ซีเรียแล้ว) ในกรณีนี้ผู้เขียนเชื่อว่า รัสเซียคงจะมีเหตุผลสำคัญหลายประการที่ทำให้ต้องตัดสินใจส่งกำลังทางอากาศไปช่วยเหลือการปฏิบัติการทางทหารของรัฐบาลซีเรีย ซึ่งคาดว่าเหตุผลที่สำคัญดังกล่าวคือ

ประการแรก รัฐบาลรัสเซียในอดีตและปัจจุบันมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับผู้นำรัฐบาลซีเรียมาตั้งแต่สมัยอดีตประธานาธิบดี Hafez al-Assad (ซึ่งเป็นบิดาของประธานาธิบดี Bashar al-Assad) ต่อเนื่องมาจนถึงในปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่า ซีเรียเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคนี้ที่มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและต่อเนื่องมาอย่างยาวนานกับรัสเซีย จึงอาจเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้รัสเซียต้องให้การสนับสนุนทางทหารแก่รัฐบาลซีเรียปัจจุบัน (Bashar al-Assad) โดยรัสเซียเองก็พยายามที่จะจำกัดการใช้กำลังทางทหารเท่าที่จำเป็นคือ ใช้เฉพาะกองกำลังทางอากาศเพื่อโจมตีกองกำลังต่างๆ ที่ต่อต้านรัฐบาล al - Assad และกองกำลังของกลุ่ม ISIS ในซีเรียเท่านั้น

ประการที่ 2 ประเทศซีเรียมีพื้นที่ติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อรัสเซียเป็นอย่างมาก เนื่องจากซีเรียเป็นเพียงประเทศเดียวในย่านเมดิเตอร์เรเนียนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัสเซีย การดำรงรักษาสถานภาพของรัฐบาล al-Assad หรือรัฐบาลที่เป็นมิตรกับรัสเซียจึงเท่ากับเป็นการรักษาจุดยุทธศาสตร์ที่ทำให้รัสเซียมีพื้นที่ปลอดภัย ในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งอาจเป็นจุดพักของกำลังทางเรือและกองกำลังอื่นๆ เพื่อตอบโต้ภัยคุกคามทางภาคใต้ของรัสเซีย

ภาพที่ 9 แผนที่ประเทศตุรกีและซีเรีย9

9Adapted from http://eaworldview.com/2013/12/turkey-syria-op-ed-caught-cross-fire

คำอธิบายภาพที่ 9 :

ในภาพที่ 9 หมายเลข 1 คือ ทะเลดำ ซึ่งกองทัพเรือรัสเซียต้องใช้เป็นเส้นทางไปสู่ช่องแคบบอสฟอรัส Bosphorus (อยู่ในเขตแดนของประเทศตุรกี) เพื่อที่จะออกไปสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนคือ หมายเลข 3 ส่วนหมายเลข 2 คือ ทะเลแคสเปียนซึ่งเป็นทะเลภายในที่ใหญ่ที่สุดในโลกแต่ไม่มีทางออกสู่มหาสมุทร ดังนั้น ทั้งทะเลดำ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจึงเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อรัสเซียทั้งด้านความมั่นคงและด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก สำหรับเส้นประสีแดง แสดงถึงเส้นทางการบินระหว่างรัสเซียกับซีเรีย โดยไม่ผ่านน่านฟ้าของตุรกี เพื่อเป็นเส้นทางการคมนาคมติดต่อกับที่ตั้งของกำลังทหารรัสเซียที่เมืองท่า Latakia ในซีเรีย

ในเรื่องนี้ ผู้เขียนคิดว่า รัสเซียเองก็คงต้องการที่จะมีฐานทัพหรือพื้นที่ปลอดภัยอย่างน้อยหนึ่งแห่งสำหรับกองกำลังของรัสเซียในตะวันออกกลางเพื่อเป็นการป้องกันหรือถ่วงดุลอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาที่ได้รุกคืบเข้าใกล้ดินแดนทางใต้ของรัสเซีย เพราะสหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งฐานทัพหรือมีที่ตั้งทางทหารหลายแห่งในภูมิภาคนี้ (ในภาพที่ 10) ซึ่งถ้ามีความขัดแย้งใดๆ เกิดขึ้นในอนาคต ฐานทัพเหล่านี้ก็จะกลายเป็นภัยคุกคามที่จะก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อดินแดนทางภาคใต้ของรัสเซียได้ในที่สุด

ภาพที่ 10 ที่ตั้งฐานทัพของสหรัฐอเมริกาในตะวันออกกลาง10

10 http://news.bbc.co.uk/2/shared/spl/hi/middle_east/02/iraq_key_maps/html/default.stm

เหตุผลประการที่ 3 คือ รัสเซียคงต้องการรักษาระบบการค้า และเสถียรภาพของราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันในตลาดโลก เนื่องจากรัสเซียเป็นประเทศผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำมันรายใหญ่ของโลก และผลิตภัณฑ์น้ำมันก็เป็นสินค้าหลักที่ทำรายได้จำนวนมากให้แก่รัสเซีย (ดูภาพที่ 11) ในเรื่องนี้ผู้เขียนเชื่อว่า รัสเซียคงได้ศึกษาปัญหาที่เกี่ยวกับน้ำมันและได้พบว่า สงครามในซีเรีย และอิรัก (ซึ่งมีตุรกี กลุ่มต่อต้านรัฐบาลและกลุ่มก่อการร้ายต่างๆ และกลุ่ม ISIS เป็นผู้แสดงที่สำคัญ) ได้มีส่วนอย่างสำคัญที่ทำให้ราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันในตลาดโลกลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องและลดลงอย่างรวดเร็วในปี 2014- 2015 (ดังในภาพที่ 12) ซึ่งได้ส่งผลทำให้รายได้จากการส่งออกน้ำมันและก๊าซของรัสเซียลดต่ำลง และเป็นผลให้ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของรัสเซียลดต่ำลงตามไปด้วย (ดูในภาพที่ 13)

ภาพที่ 11 สินค้าส่งออกทั้งหมดและสินค้าน้ำมันของรัสเซียในปี 201311

11 ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

คำอธิบายภาพที่ 11

ในภาพที่ 11ในปี 2013 แผนภูมิกราฟได้ชี้ว่า 68% ของสินค้าออกทั้งหมดของรัสเซียเป็นสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันโดยมีมูลค่ารวมเท่ากับ 356 billion U.S. dollars ที่เหลืออีก 32% จะเป็นสินค้าส่งออกอื่นๆ ที่ไม่ใช่น้ำมันซึ่งจะมีมูลค่ารวม 171 billion U.S. dollars หรือประมาณเท่ากับครึ่งหนึ่งของมูลค่าของสินค้าส่งออกที่เป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันโดยสรุปก็คือ ถ้าราคาน้ำมันในตลาดโลกลดต่ำลง ก็ย่อมจะทำให้ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Production) ของรัสเซียลดต่ำลงตามไปด้วยเช่นกัน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะโครงสร้างทางเศรษฐกิจของรัสเซียมีเพียงน้ำมันที่เป็นสินค้าเสาหลักนั่นเอง ซึ่งจะพบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริงได้ในภาพที่ 13 ความคิดเห็นของผู้เขียน

ผู้เขียนเชื่อว่า เหตุผลประการที่ 3 น่าจะมีน้ำหนักเป็นอย่างมากต่อการตัดสินใจของรัสเซียในการส่งทหารมาช่วยซีเรีย เพราะถ้ามีใครที่คิดจะทำลายรัสเซียไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม คนคนนั้นก็คงจะมุ่งทำลายแหล่งที่มาของรายได้ของรัสเซียเป็นอันดับแรกก่อน ซึ่งก็คือ การทำให้รายได้จากผลิตภัณฑ์น้ำมันที่ถูกนำไปใช้เลี้ยงปากเลี้ยงท้องของคนรัสเซียทั้งประเทศลดต่ำลงให้ได้นั่นเอง

ขอให้ดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภาพที่ 12จะพบว่า ในปี 2009 ได้เกิดวิกฤตการณ์การเงินของโลก ซึ่งได้ทำให้ราคาน้ำมันลดต่ำกว่า $ 50/บาร์เรล ต่อมาในปี 2011 หลังจากที่สหรัฐอเมริกาได้ถอนทหารออกจากอิรักก็ได้เกิดเหตุการณ์ Arab Spring คือ มีการประท้วงต่อต้านรัฐบาลอิรักและซีเรีย ซึ่งได้ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองมาจนถึงทุกวันนี้ และได้ทำให้เกิดกลุ่ม ISIS ที่สามารถยึดครองพื้นที่บางส่วนที่เป็นแหล่งชุมชน และที่เป็นแหล่งผลิตน้ำมันทั้งในอิรักและในซีเรีย เหตุการณ์นี้ได้ทำให้ทั้งซีเรียและอิรักไม่สามารถผลิตน้ำมันออกขายได้เช่นปกติเพราะแหล่งผลิตน้ำมันที่สำคัญได้ถูกกลุ่ม ISIS ยึดครองไปเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในเวลาต่อมากลุ่ม ISIS ก็ได้นำน้ำมันจากแหล่งผลิตต่างๆ ออกมาขายในราคาที่ค่อนข้างต่ำผ่านตลาดมืดในตุรกี (จากการแถลงข่าวของฝ่ายรัสเซีย) ซึ่งเท่ากับเป็นการกดดันให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกไม่สามารถปรับตัวสูงขึ้นได้นั่นเอง (ผู้เขียนเชื่อว่า ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่ทำให้ราคาน้ำมันลดต่ำลง)

ภาพที่ 12 กราฟแสดงราคาน้ำมันดิบตั้งแต่ปี 1987 - 201512


12http://www.vox.com/2014/12/16/7401705/oil-prices-falling" CLASS="innerlink" TARGET="_blank">www.vox.com/2014/12/16/7401705/oil-prices-fallingและดัดแปลงโดยผู้เขียน

นอกจากนี้เส้นกราฟในภาพที่ 12 ยังได้บ่งบอกถึงเหตุการณ์ที่อาจมีอิทธิพลในด้านลบต่อราคาน้ำมันคือ (1) เหตุการณ์สงครามกลางเมืองในลิเบีย ซีเรีย และการสู้รบในอิรัก ตั้งแต่ปี 2011- 2014 อาจส่งผลให้ราคาน้ำมันเคลื่อนไหว (มีการปรับตัว) ในช่วงแคบๆ คือ ขึ้นลงไม่มาก และ (2) เหตุการณ์ที่ Abu Bakr al-Baghdadi ได้ประกาศตั้งตนเป็นกาลิบหรือผู้นำรัฐอิสลามในเดือนมิถุนายน 2014 (The Islam State หรือ Islam State of Iraq and Syria) ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานราคาน้ำมันในตลาดโลกก็ได้ลดต่ำลงอย่างรวดเร็วจนใกล้ราคาต่ำสุดของปี 2009 คือ ต่ำกว่า $ 50/barrel และล่าสุดเมื่อวันที่ 15 ธ.ค.ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันก็ได้ลดลงมาที่ $ 36.31/barrel (http://www.oil-price.net/ : December, Tuesday 15 2015)

ในกรณีนี้ผู้เขียนเชื่อว่า กลุ่ม ISIS คงนำน้ำมันจากแหล่งผลิตต่างๆ ออกขายผ่านตลาดมืดทั้งในตุรกีและในที่อื่นๆ เพื่อหารายได้ไว้ใช้ในการสร้างรัฐอิสลามให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ซึ่งการกระทำดังกล่าวได้ซ้ำเติมภาวะความต้องการบริโภคน้ำมันในตลาดโลกที่ลดน้อยลงอยู่แล้ว จนทำให้เกิดภาวะน้ำมันส่วนเกินคือ อุปทาน (Supply) มากกว่าอุปสงค์ (Demand) จึงเป็นผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกลดต่ำลงอย่างรวดเร็วในขณะนี้

ภาพที่ 13 ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันต่อผลผลิตมวลรวมภายในประเทศรัสเซีย13

13http://defenceforumindia.com/forum/threads/saudi-arabia-cuts-oil-prices-could-spark-price-war.64169/ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย และดัดแปลงโดย วีระศักดิ์ นาทะสิริ

4. บทสรุป : ทำไมรัสเซียต้องส่งทหารมาช่วยรัฐบาล Bashar al - Assad

ผู้เขียนขอนำภาพที่ 13 มาอธิบายถึงเหตุผลสำคัญที่รัสเซียได้ตัดสินใจให้ความช่วยเหลือทางด้านการทหาร โดยได้ส่งกำลังทางอากาศมาช่วยทหารของรัฐบาลซีเรียเพื่อสู้รบกับกลุ่มก่อการร้ายโดยสรุปดังนี้
4.1 ในภาพที่ 13 ได้ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันที่มีต่อเศรษฐกิจของรัสเซีย เมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกลดต่ำลง ผลิตภัณฑ์น้ำมันส่งออกของรัสเซียก็จะมีราคาลดต่ำลงเช่นกัน ผลที่เกิดขึ้นก็คือ รัฐบาลรัสเซียจะมีรายได้จากสินค้าน้ำมันลดลง ซึ่งจะทำให้สถานะทางการเงินของรัสเซียฝืดเคืองไม่คล่องตัว และอาจจะต้องประสบปัญหางบประมาณขาดดุลในปี 2015 และในปีต่อๆ ไป

ถ้าในอนาคตราคาน้ำมันยังไม่มีแรงหนุนจากความต้องการบริโภคน้ำมัน (Demand) ที่เพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกไม่สามารถผ่านแนวต้านเส้นสีแดงในภาพที่ 13 ซึ่งเป็นเส้นแนวโน้มราคาน้ำมันตามความต้องการบริโภค (Oil Price Trend Line) ได้ซึ่งจะมีผลทำให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) ของรัสเซียมีแนวโน้มลดต่ำลงหรืออยู่ในภาวะที่ถดถอย

ผู้เขียนเชื่อว่า การที่รัสเซียต้องตกอยู่ในภาวะที่เศรษฐกิจไม่มีการเจริญเติบโตและยังอาจจะถดถอยลงอีกด้วย ก็เป็นเพราะรัสเซียมีผลิตภัณฑ์น้ำมันเป็นสินค้าหลักเพียงสินค้าเดียวที่สร้างรายได้มากถึง 2 ใน 3 ของรายได้จากสินค้าส่งออกทั้งหมด ดังนั้น อัตราการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศหรืออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของรัสเซีย จึงได้ผันแปรไปตามอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก ดังที่ปรากฏตามแผนภูมิกราฟในภาพที่ 13 นั่นเอง

4.2 ดังนั้น การที่รัสเซียได้ส่งกำลังทางอากาศมาสนับสนุนการปฏิบัติการทางทหารของรัฐบาลซีเรีย จึงเป็นการช่วยเหลือพันธมิตรไปพร้อมๆ กับรักษาผลประโยชน์ของรัสเซียเองด้วยโดยรัสเซียไม่เพียงต้องการที่จะทำลายการค้าน้ำมันเถื่อนของกลุ่ม ISIS กับกลุ่มผู้ค้าน้ำมันบริเวณชายแดนซีเรียกับตุรกีเท่านั้น แต่รัสเซียยังต้องการทำลายกลุ่ม ISIS ให้หมดสิ้นไปอีกด้วย เพราะกลุ่ม ISIS เปรียบเสมือนเป็นแหล่งหรือโรงงานเพาะพันธุ์ต้นกล้าการก่อการร้ายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งสามารถผลิตผู้ก่อการร้ายรุ่นใหม่ที่มีความโหดเหี้ยมได้เป็นจำนวนมาก จนได้รับความนิยมเชื่อถือจากกลุ่มหัวรุนแรงจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวมทั้งจากรัสเซีย(ดังแสดงในภาพที่ 14) ที่มีความต้องการเดินทางมารับการฝึกเป็นนักรบของกลุ่ม ISIS เข้าทำการต่อสู้กับทหารของรัฐบาลอิรัก และซีเรียเพื่อขยายพื้นที่และสร้างรัฐอิสลาม ISIS (ตามที่คิดหรือที่ฝันไว้) ให้มีความเข้มแข็งสามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ในโลกใบนี้

ภาพที่ 14 ประชาชนจากรัสเซียที่เข้ามาเป็นนักรบของกลุ่ม ISIS ในซีเรียและอิรัก14

14 http://www.bbc.com/news/world-middle-east-27838034

จากข้อมูลทางสถิติในภาพที่ 14 ได้ระบุว่า มีผู้ก่อการร้ายรัสเซียจำนวนประมาณ 1,500 คนที่เป็นนักรบของกลุ่ม ISIS และด้วยประสบการณ์การทำงานการข่าวที่ต้องสัมผัสกับการสงครามที่ไร้รูปแบบ (Hybrid Warfare) มาอย่างยาวนาน จึงเชื่อว่า ประธานาธิบดีปูตินของรัสเซีย คงทราบดีว่า ผู้ก่อการร้ายที่ได้รับการฝึกมาอย่างดี 1 คน จะสามารถทำความเสียหายต่อประชาชน และผลประโยชน์ของรัสเซียได้ไม่ต่ำกว่าทหารประจำการ 1 กองร้อยหรือมากกว่า จึงอาจมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงต่างๆ ขึ้นในอนาคต ถ้ามีผู้ก่อการร้ายรัสเซียที่มีประสบการณ์ในการรบ 500 คน เดินทางกลับไปยังรัฐต่างๆ ในรัสเซีย หรือไปยังสถานที่ต่างๆ ที่ชาวรัสเซียนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวหรือไปทำธุรกิจ

ด้วยเหตุนี้ ประธานาธิบดีปูตินของรัสเซียจึงต้องตัดสินใจดำเนินการในทุกวิถีทางเพื่อกำจัดกลุ่มก่อการร้ายรัสเซีย (ซึ่งไม่ใช่ชนชาติรัสเซีย) ที่อยู่ในซีเรียให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก่อนที่กลุ่มก่อการร้ายรัสเซียจะเดินทางออกจากซีเรียไปก่อวินาศกรรมสร้างความเสียหายต่อประชาชน และผลประโยชน์ของรัสเซียทั้งในต่างประเทศ และในประเทศรัสเซียเอง ดังตัวอย่างเช่น การวางระเบิดเครื่องบินโดยสารที่มีผู้โดยสารชาวรัสเซียจำนวนมากตกในทะเลทราย Sinai ประเทศอียิปต์เมื่อวันที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมาเป็นต้น

5. ความคิดเห็นและข้อสงสัยของผู้เขียน

5.1 เรื่องการลักลอบค้าขายน้ำมันระหว่างตุรกีกับกลุ่ม ISIS

ผู้เขียนเชื่อว่า สหรัฐอเมริกา (ต่อไปนี้ขอเรียกย่อๆ ว่า สหรัฐฯ) เยอรมนี อังกฤษ และประเทศในกลุ่มนาโต้คงจะรู้เรื่องการลักลอบค้าขายน้ำมันของตุรกีเป็นอย่างดี แต่ทำไมประเทศเหล่านี้จึงไม่ออกมาประณามหรือไม่ดำเนินการใดๆ กับตุรกี หรือเป็นเพราะสหรัฐฯ ต้องการสนับสนุนกลุ่ม ISIS ในทางลับ โดยจัดส่งอาวุธและปัจจัยต่างๆ ผ่านตุรกี (ดูภาพที่ 8) เพื่อหวังใช้กลุ่ม ISIS ซึ่งส่วนใหญ่นับถืออิสลาม นิกายสุหนี่ไปต่อสู้กับรัฐบาลซีเรีย ที่นับถือศาสนาอิสลาม นิกาย Alawite (แยกมาจากนิกายชีอะห์) และอิหร่านซึ่งคนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม นิกายชีอะห์ (คือ ถ้าฆ่าฟันกันเองได้ สหรัฐฯ ก็จะได้ไม่ต้องเหนื่อย)

5.2 เรื่องพฤติกรรมที่ไม่น่าไว้วางใจของสหรัฐอเมริกา

ได้มีเหตุการณ์หนึ่งที่หลายท่านอาจลืมไปแล้ว แต่สำหรับผู้เขียนยังจำได้ว่า สหรัฐอเมริกาโดย CIA ได้สร้าง Bin Laden ขึ้นมาเพื่อมุ่งหวังให้สู้รบกับรัสเซียในอัฟกานิสถาน แต่ภายหลังเมื่อ Bin Laden ไม่ยอมรับสหรัฐฯ และได้กลับกลายเป็นศัตรู สหรัฐฯ จึงต้องหาทางกำจัด Bin Laden ให้ได้เร็วที่สุด

นอกจากนี้ เรายังพบว่า ถ้าผู้นำประเทศใดมีความคิดเห็นหรือกระทำการที่ไม่สอดคล้องกับแนวคิดหรือผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ก็อาจถูกกล่าวหาหรือกลั่นแกล้งด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อขจัดผู้นำหรือกลุ่มผู้นำที่ขัดผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ให้พ้นไปจากการบริหารประเทศ โดยไม่คำนึงผลเสียหายร้ายแรงที่จะเกิดต่อประชาชนของประเทศนั้นแต่อย่างใด ตัวอย่างเช่น การสร้างเรื่องว่าอิรักมีอาวุธร้ายแรงเพื่อใช้เป็นเหตุผลทำสงครามกำจัดอดีตประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซน แห่งอิรัก ได้สร้างความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนอิรักเป็นอย่างมากและยังมีการสู้รบมาจนถึงปัจจุบันนี้ เป็นต้น

ภายหลังจากการถอนทหารจากอิรักในปี 2011 สหรัฐฯ ได้ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นต่อการกระทำของตุรกีที่ให้การสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธต่างๆ และลักลอบค้าขายน้ำมันกับกลุ่ม ISIS จนทำให้กลุ่ม ISIS มีความเข้มแข็งจนสามารถยึดครองพื้นที่ โดยเฉพาะแหล่งผลิตน้ำมันที่สำคัญทั้งในอิรักและซีเรีย ผู้เขียนจึงสงสัยว่า สหรัฐฯ และพันธมิตรได้ร่วมกันทิ้งระเบิดทั้งในอิรักและซีเรียมานานร่วมปีกว่า ทำไมยังไม่สามารถทำให้กลุ่ม ISIS อ่อนแอลงไปได้ แต่กลับทำให้กลุ่ม ISIS ไม่เพียงไม่สูญสลายไปเท่านั้น แต่ยังประกาศตั้งตนเป็นกาหลิบหรือผู้นำรัฐอิสลาม จนได้รับความนิยมจากกลุ่มหัวรุนแรงต่างๆ ทั่วโลกเดินทางเข้าไปช่วย ISIS เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย (ดูภาพที่ 14 และรายละเอียดเพิ่มเติมจาก http://www.bbc.com/news/world-middle-east-35026116)

ในเรื่องนี้ ผู้เขียนมีความเห็นว่า จากการกระทำต่างๆ ที่ผ่านมา ได้บ่งชี้ว่าสหรัฐฯ จะคิดถึงแต่ผลประโยชน์ของชาติตนเท่านั้น สหรัฐฯ ไม่เพียงมุ่งหวังที่จะกดดันให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกลดต่ำลงเพื่อหวังให้การบริโภคที่เพิ่มขึ้นไปช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ให้ขยายตัวขึ้นเท่านั้น (ล่าสุดธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 0.25% ซึ่งหมายความว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้เริ่มเข้าสู่ภาวะฟื้นตัวแล้ว จากรายงานข่าวของ CNBC:Dec 17, 2015) แต่สหรัฐฯ ยังมุ่งหวังที่จะให้ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่โดยเฉพาะรัสเซียต้องประสบกับปัญหาทางการเงิน เนื่องจากรายได้จากน้ำมันได้ลดต่ำลงอีกด้วย

5.3 เรื่องที่ตุรกียิงเครื่องบิน Su-24 ของรัสเซียตก

ภาพที่ 15 รมต.ต่างประเทศสหรัฐอเมริกากับประธานาธิบดีปูติน15

15ภาพจาก https://www.yahoo.com/news/syria-talks-ahead-friday-york-lavrov-kerry-192809143.html ขอขอบคุณ" CLASS="innerlink" TARGET="_blank">https://www.yahoo.com/news/syria-talks-ahead-friday-york-lavrov-kerry-192809143.html ขอขอบคุณ มา ณ ที่นี้ด้วย

เมื่อตุรกีไม่ยอมขอโทษ และไม่ยอมชดใช้ค่าเสียหายจากการยิงเครื่องบิน Su-24 ตก ผู้เขียนจึงเชื่อว่า รัสเซียก็คงจะต้องหาหนทางเอาคืนในรูปแบบต่างๆ ตามแต่เหตุการณ์ในขณะนั้นจะเอื้ออำนวย ดังนั้น ตุรกีจึงตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องระวังตัวในทุกฝีก้าว เพราะถ้าเกิดผิดพลาดในเรื่องใดก็ตาม รัสเซียซึ่งรอคอยจังหวะอยู่ ก็คงไม่ปล่อยให้โอกาสนั้นผ่านไปโดยไม่ทำอะไรเลย ด้วยเหตุนี้ประธานาธิบดี Obama ของสหรัฐอเมริกาจึงต้องรีบส่งรมต.ต่างประเทศ John Kerry ไปเจรจากับประธานาธิบดีปูตินของรัสเซียที่ Moscow เมื่อวันอังคารที่ 15 ธ.ค.ที่ผ่านมา (ในภาพที่ 15) เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างผู้นำของทั้งสองประเทศในเรื่องที่เกี่ยวกับซีเรียและกลุ่ม ISIS โดยหวังว่าจะช่วยลดความตึงเครียด และอาจช่วยป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ลุกลามบานปลายกลายเป็นการปะทะกันในอนาคต

(จากhttps://www.yahoo.com/news/kerry-moscow-talks-syria-ukraine-081842398.html" CLASS="innerlink" TARGET="_blank">https://www.yahoo.com/news/kerry-moscow-talks-syria-ukraine-081842398.html ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย)

ท้ายบทความ

(1) เนื่องในวาระปีใหม่ที่จะถึงนี้ ผู้เขียนขออวยพรให้ผู้อ่านทุกท่าน พนักงาน ASTV Manger ทุกแผนก เพื่อนๆ และพี่น้องคนไทยทุกท่านจงประสบแต่ความสุขความเจริญ และมีสุขภาพที่แข็งแรงตลอดปีใหม่ 2559 ด้วยครับ

(2) ในโอกาสนี้ ผู้เขียนขอให้กำลังใจไปยังเพื่อนๆ ทั้งที่อยู่ในประเทศไทย และในต่างประเทศ ดังนี้

My Friends

No matter how long time has passed,

No matter how poor you are,

No matter how hard you try,

No matter how lonely you feel,

Never give up and keep doing the right thing.

Hope you have a great happy New Year.

W. Nathasiri - Dec 17, 2015
‘ปูติน’กับ ‘แอร์โดอัน’ ทำความตกลงกันในเรื่อง ‘ซีเรีย’
หลังจากที่ประธานาธิบดีเรเจป ตัยยิบ แอร์โดอัน ของตุรี พบปะเจรจากับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ในเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเมื่อวันที่ 9 สิงหาคมแล้ว อีกเพียงวันสองวันต่อมา อังการาก็แถลงแสดงความเห็นว่าคณะบริหารชุดต่อไปในซีเรียควรที่จะรวมเอาทุกๆ ฝ่ายเข้าร่วมและเป็นรัฐฆราวาสซึ่งแยกออกมาจากฝ่ายศาสนา เพื่อที่ทุกๆ คนจะสามารถดำเนินชีวิตไปด้วยความเชื่อของพวกเขาได้ ท่าทีเช่นนี้ต้องถือว่าขยับเข้าใกล้มากที่สุดแล้วเท่าที่ตุรกีได้เคยกระทำมา ในการยอมรับว่า ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาดนั้น สามารถมีบทบาทอันถูกต้องชอบธรรมที่จะแสดงต่อไปในซีเรีย
กำลังโหลดความคิดเห็น