กพท.ขีดเส้นใน มี.ค.59 สายการบิน 41 สายต้องยื่นเอกสารคู่มือ เพื่อเข้าคิวเริ่มตรวจมาตรฐานและออกAOC ใหม่ พร้อมเร่งจ้างผู้เชี่ยวชาญจากอังกฤษเสริมทีมตรวจสอบตามมาตรฐาน ICAO คาดเริ่มงานได้ปลายม.ค.59 อธิบดีมั่นใจ ส.ค.59 จะเริ่มทยอยออก AOC ได้
นายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมท่าอากาศยาน และรักษาการผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เปิดเผยว่า ในการแก้ไขข้อบกพร่องมีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (Significant Safety Concerns - SSC) ตามข้อสังเกตขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) นั้น กพท. จะต้องดำเนินการหลายเรื่องคู่ขนานกัน โดย ขณะนี้อยู่ระหว่างเปิดให้สายการบินทั้งหมด ยื่นเอกสารคู่มือ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ซึ่งขณะนี้ยื่นมาแล้ว 3 สาย สำหรับการเข้าสู่กระบวนการ ทบทวนการออกใบรับรองการเดินอากาศ (Re-certification) เพื่อออกในรับรองการเดินอากาศ (AOC) ใหม่ โดยในระหว่างนี้จะเริ่มตรวจสอบเอกสารต่างๆ ของสายการบิน ในขณะเดียวกันสายการบินที่เหลือจะต้องเร่งยื่นเอกสารคู่มือต่างๆ เข้ามาเพื่อทยอยตรวจสอบเอกสารก่อน ซึ่งอยู่ในขั้นที่3 ของกระบวนการ Re-certification ที่มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน
ทั้งนี้ ประเมินว่าภายใน 3 เดือน หรือในเดือนมี.ค.2559 สายการบินทั้งหมดจะยื่นเอกสารครบและเข้าสู่การตรวจสอบ ในขั้นตอนที่ 4 ซึ่งจะเป็นการตรวจสอบในเรื่องการ Operation ทั้งตัวเครื่องบิน อุปกรณ์ต่างๆ ศูนย์ซ่อม โดยการตรวจสอบในขั้นที่4 และ 5 คือสามารถออก AOC ใหม่ได้นั้นคาดว่า จะใช้เวลาสายการบินละประมาณ 4-6 เดือน ดังนั้นจะต้องมีการจัดกลุ่มและทีมตรวจสอบให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่กำหนด โดยเชื่อว่าภายในเดือนส.ค.2559 จะเริ่มมีสายการบินได้รับ AOC ใหม่ แล้ว ซึ่งจะประสานกับ ICAO เพื่อให้เข้ามาตรวจซ้ำ และนำไปสู่การพิจารณาปลดSSC และธงแดงต่อไป
ในส่วนของบุคลากรด้านการตรวจสอบและการออกใบอนุญาตนซึ่ง เดิมมีจำนวนที่ไม่เพียงพอ และไม่ครบตามแบบและรุ่นของเครื่องบิน นั้น ขณะนี้ ได้สรรหาเข้ามาเพิ่มเป็น 69 คน แบ่งเป็นฝ่ายช่าง 37 คน และฝ่ายบิน 49 คน โดยบางส่วนคุณสมบัติยังไม่ครบตามกำหนด 100% ซึ่ง อยู่ระหว่างการอบรมเพิ่มเติม ทำให้ยังทำหน้าที่ไม่ได้ทั้งหมด
ในขณะที่เป้าหมายต้องการจำนวน 86 คน ดังนั้นส่วนที่ยังขาดอีก 17 คนนั้น ในระหว่างที่สรรหาอยู่ จะต้องพิจารณาจ้างผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานการบินพลเรือนประเทศอังกฤษเข้ามาช่วยชั่วคราว โดยระหว่างนี้ อยู่ระหว่างประเมินจำนวนที่จะว่าจ้างและงบประมาณเพื่อเสนอของบกลางต่อไป ซึ่งได้ประสานกับทางอังกฤษในการส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาเริ่มงานได้ประมาณปลายเดือนม.ค.2559
"ตอนนี้สายการบินทั้งหมด 41 สาย ต้องเร่งยื่นเอกสารเข้าระบบ เพื่อจัดกลุ่มการตรวจสอบ เพราะมีทั้งสายการบินขนาดใหญ่ กลาง เล็ก และประเภทเข่าเหมาลำ ซึ่งเชื่อว่า สายการบินขนาดเล็กที่มีเครื่องบินไม่กี่ลำ หรือมีแค่ลำเดียวกับสายการบินเช่าเหมาลำ อาจจะต้องมีการแก้ไขมาก และหากสุดท้ายแก้ไขไม่ได้ต้องยกเลิกใบอนุญาตไปก่อน เพื่อไม่ให้เป็นข้อด้อย เพราะสายที่ผ่านได้AOC ใหม่ เชื่อว่าจะเป็นสายการบินหลักที่มีเส้นทางบินประจำ เส้นทางระหว่างต่างประเทศ ถือว่าได้มาตรฐานตามคู่มือที่ปรับปรุงใหม่ตามมาตรฐาน ICAO จะเป็นการยกระดับการบินและปลดล็อคSSC ได้" นายจุฬากล่าว
สำหรับการปรับโครงสร้างหน่วยงานด้านการบิน ซึ่งปัจจุบันได้ตั้งกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ทำหน้าที่บริหารท่าอากาศยานภูมิภาค 28 แห่ง และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ทำหน้าที่กำกับดูแล มาตรฐานการบิน การออกใบอนุญาตต่างๆ ขณะนี้กำลังจัดสรรบุคลากรจากกรมการบินพลเรือน (บพ.) เดิมไปยัง 2 หน่วยงาน เพื่อทำงานตามโครงสร้างใหม่อย่างเป็นทางการในวันที่ 1ม.ค.2559.
นายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมท่าอากาศยาน และรักษาการผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เปิดเผยว่า ในการแก้ไขข้อบกพร่องมีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (Significant Safety Concerns - SSC) ตามข้อสังเกตขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) นั้น กพท. จะต้องดำเนินการหลายเรื่องคู่ขนานกัน โดย ขณะนี้อยู่ระหว่างเปิดให้สายการบินทั้งหมด ยื่นเอกสารคู่มือ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ซึ่งขณะนี้ยื่นมาแล้ว 3 สาย สำหรับการเข้าสู่กระบวนการ ทบทวนการออกใบรับรองการเดินอากาศ (Re-certification) เพื่อออกในรับรองการเดินอากาศ (AOC) ใหม่ โดยในระหว่างนี้จะเริ่มตรวจสอบเอกสารต่างๆ ของสายการบิน ในขณะเดียวกันสายการบินที่เหลือจะต้องเร่งยื่นเอกสารคู่มือต่างๆ เข้ามาเพื่อทยอยตรวจสอบเอกสารก่อน ซึ่งอยู่ในขั้นที่3 ของกระบวนการ Re-certification ที่มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน
ทั้งนี้ ประเมินว่าภายใน 3 เดือน หรือในเดือนมี.ค.2559 สายการบินทั้งหมดจะยื่นเอกสารครบและเข้าสู่การตรวจสอบ ในขั้นตอนที่ 4 ซึ่งจะเป็นการตรวจสอบในเรื่องการ Operation ทั้งตัวเครื่องบิน อุปกรณ์ต่างๆ ศูนย์ซ่อม โดยการตรวจสอบในขั้นที่4 และ 5 คือสามารถออก AOC ใหม่ได้นั้นคาดว่า จะใช้เวลาสายการบินละประมาณ 4-6 เดือน ดังนั้นจะต้องมีการจัดกลุ่มและทีมตรวจสอบให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่กำหนด โดยเชื่อว่าภายในเดือนส.ค.2559 จะเริ่มมีสายการบินได้รับ AOC ใหม่ แล้ว ซึ่งจะประสานกับ ICAO เพื่อให้เข้ามาตรวจซ้ำ และนำไปสู่การพิจารณาปลดSSC และธงแดงต่อไป
ในส่วนของบุคลากรด้านการตรวจสอบและการออกใบอนุญาตนซึ่ง เดิมมีจำนวนที่ไม่เพียงพอ และไม่ครบตามแบบและรุ่นของเครื่องบิน นั้น ขณะนี้ ได้สรรหาเข้ามาเพิ่มเป็น 69 คน แบ่งเป็นฝ่ายช่าง 37 คน และฝ่ายบิน 49 คน โดยบางส่วนคุณสมบัติยังไม่ครบตามกำหนด 100% ซึ่ง อยู่ระหว่างการอบรมเพิ่มเติม ทำให้ยังทำหน้าที่ไม่ได้ทั้งหมด
ในขณะที่เป้าหมายต้องการจำนวน 86 คน ดังนั้นส่วนที่ยังขาดอีก 17 คนนั้น ในระหว่างที่สรรหาอยู่ จะต้องพิจารณาจ้างผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานการบินพลเรือนประเทศอังกฤษเข้ามาช่วยชั่วคราว โดยระหว่างนี้ อยู่ระหว่างประเมินจำนวนที่จะว่าจ้างและงบประมาณเพื่อเสนอของบกลางต่อไป ซึ่งได้ประสานกับทางอังกฤษในการส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาเริ่มงานได้ประมาณปลายเดือนม.ค.2559
"ตอนนี้สายการบินทั้งหมด 41 สาย ต้องเร่งยื่นเอกสารเข้าระบบ เพื่อจัดกลุ่มการตรวจสอบ เพราะมีทั้งสายการบินขนาดใหญ่ กลาง เล็ก และประเภทเข่าเหมาลำ ซึ่งเชื่อว่า สายการบินขนาดเล็กที่มีเครื่องบินไม่กี่ลำ หรือมีแค่ลำเดียวกับสายการบินเช่าเหมาลำ อาจจะต้องมีการแก้ไขมาก และหากสุดท้ายแก้ไขไม่ได้ต้องยกเลิกใบอนุญาตไปก่อน เพื่อไม่ให้เป็นข้อด้อย เพราะสายที่ผ่านได้AOC ใหม่ เชื่อว่าจะเป็นสายการบินหลักที่มีเส้นทางบินประจำ เส้นทางระหว่างต่างประเทศ ถือว่าได้มาตรฐานตามคู่มือที่ปรับปรุงใหม่ตามมาตรฐาน ICAO จะเป็นการยกระดับการบินและปลดล็อคSSC ได้" นายจุฬากล่าว
สำหรับการปรับโครงสร้างหน่วยงานด้านการบิน ซึ่งปัจจุบันได้ตั้งกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ทำหน้าที่บริหารท่าอากาศยานภูมิภาค 28 แห่ง และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ทำหน้าที่กำกับดูแล มาตรฐานการบิน การออกใบอนุญาตต่างๆ ขณะนี้กำลังจัดสรรบุคลากรจากกรมการบินพลเรือน (บพ.) เดิมไปยัง 2 หน่วยงาน เพื่อทำงานตามโครงสร้างใหม่อย่างเป็นทางการในวันที่ 1ม.ค.2559.