ผู้จัดการรายวัน360- สำนักงานกกต.ร่อนหนังสือเตือนพนักงาน หยุดวิพากษ์วิจารณ์กกต. ผ่านสังคมออนไลน์ ชี้เข้าข่ายผิดจริยธรรม-ผิดวินัย
จากกรณี คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติเลิกจ้าง นายภุชงค์ นุตราวงศ์ อดีตเลขากกต เนื่องไม่ผ่านการการประเมินผลงาน ทำให้ต่างฝ่ายต่างให้สัมภาษณ์โจมตี ตอบโต้กันไปมา ถึงการใช้งบประมาณอย่างฟุ่มเฟือย และความไร้ประสิทธิภาพขององค์กร
ต่อมาเมื่อวันที่ 11ธ.ค. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ด้านกิจการบริหารกลาง โดยนายบุญยเกียรติ รักชาติเจริญ รองเลขาธิการ รักษาราชการแทนเลขาธิการ กกต. จึงได้ออกหนังสือแจ้งถึงรองเลขาธิการทุกด้านกิจการ, ผู้อำนวยการสถาบัน , ผู้ทรงคุณวุฒิ, ผู้ตรวจการ , ผู้ตรวจสอบภายใน, ผู้อำนวยการสถาบันทุกสำนัก, ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ, ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ชำนาญการ เรื่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์ โดยระบุว่า ขณะนี้ได้มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เช่น Line และ Facebook ในการวิพากษ์วิจารณ์ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของกกต. และสำนักงานกกต.ซึ่งการแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าว บางส่วน หรือบางเรื่อง ยังไม่มีข้อมูลที่เป็นจริง หรือบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง และยังไม่มีการตรวจสอบให้ถูกต้อง
สำนักงานกกต. จึงขอให้ผู้บังคับบัญชาทุกส่วนงาน กำกับ ดูแล และชี้แจงต่อพนักงานให้ทราบถึงการที่พนักงานของสำนักงานฯ วิพากษ์วิจารณ์ หรือแสดงความคิดเห็นดังกล่าวข้างต้น อาจเป็นผลให้กกต.หรือสำนักงานกกต.เสียหาย หรือได้รับผลกระทบในภาพรวมขององค์กรอันอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำผิดต่อระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของคณะกรรมการการเลือกตั้ง กรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดและพนักงานของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2551 หรืออาจจะเป็นการกระทำผิดวินัยได้
ทั้งนี้ หนังสือแจ้งดังกล่าวเกิดขึ้นหลังกกต. มีมติเมื่อวันที่ 8 ธ.ค.เลิกจ้างนายภุชงค์ นุตราวงศ์ อดีตเลขาธิการกกต. และต่อมามีการตอบโต้กันระหว่างนายภุชงค์กับกกต. ถึงการทำงานร่วมกัน และทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ภายในสำนักงานกกต.
ด้านนายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง การเลิกจ้างนายภุชงค์ ทำให้มีการออกมาเปิดโปงเกี่ยวกับความไม่โปร่งใสของกกต.ว่า หลังจากได้รับข้อมูลดังกล่าว ตนก็ไปตรวจสอบองค์กรอิสระอื่นๆ พบว่ามีความเป็นอิสระมากเกินไป เพราะสามารถทำได้เกือบทุกอย่าง โดยอาศัยมติองค์กรอิสระ หรือตุลาการ เช่น ไปต่างประเทศบ่อยมาก และเอานักธุรกิจเอกชนไป ก็เพราะมีส่วนในการสนับสนุนในรายการที่เบิกจ่ายไม่ได้ เมื่อไปดูงานตามโปรแกรมดูงานแค่ครึ่งวัน ที่เหลือไปดูวัฒนธรรม อยากให้ดู พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. และนายกรัฐมนตรีเป็นตัวอย่างที่ทำงานต่างประเทศเสร็จก็เดินทางกลับมาปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย ดังนั้นสิ่งที่ทำจึงไม่ใช่การดูงานแต่เป็นการหาเรื่องไป เลือกไปประเทศที่กรรมการองค์กรอิสระ หรือตุลาการต้องการไป โดยมีการติดต่อให้ประเทศนั้นทำหนังสือเชิญมา โดยเริ่มต้นจากหน่วยงานรัฐเป็นคนเชิญ บางทีก็ติดต่อมหาวิทยาลัย ให้เชิญเพื่อจะได้เดินทางไปโดยไปทั้งคณะ แต่มีกรรมการบางท่านที่ไม่ยอมไปเลย อย่างไรก็ตาม บางคนไปทุกงานทั้งที่เชิญมาแค่สองคน และยังเอาผู้ติดตามไปด้วย
นอกจากนี้ กรณีที่องค์กรอิสระออกระเบียบตั้งที่ปรึกษาเฉพาะราย ทั้งที่ไม่ต้องตั้งเฉพาะราย อีกทั้งยังมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเฉพาะรายด้วย ถ้าทำเช่นนี้ อีกหน่อยศาลยุติธรรมก็จะขอมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำตัวด้วย นอกจากนี้มีการกำหนดอัตราเงินเดือนเอง ซึ่งที่ผ่านมา ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเคยตัดสินให้ ป.ป.ช. มีความผิดกรณีขึ้นเงินเดือนตัวเองมาแล้ว แต่กรณีนี้เป็นการให้เงินเดือนตามมติของตัวเอง และสามารถแปรญัตติงบประมาณได้ด้วยตัวเอง ใช้มติกรรมการโอนงบประมาณไปทำเรื่องอื่นได้โดยไม่ต้องจ่ายคืนคลัง จึงเสนอว่า เมื่อจะปฏิรูปก็ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปองค์กรอิสระ และการบริหารงานบุคคลไม่ควรให้องค์กรแต่ละองค์กรไปพิจารณาแต่งตั้งกันเอง ควรมีกรรมการบริหารกลางองค์กรอิสระเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ทั้งนี้ มีตัวเลขงบประมาณการอบรมบางองค์กร 4 ครั้ง ใช้งบประมาณถึง 11 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการสิ้นเปลือง เพราะมีการเดินทางไปต่างประเทศทุกครั้ง
จากกรณี คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติเลิกจ้าง นายภุชงค์ นุตราวงศ์ อดีตเลขากกต เนื่องไม่ผ่านการการประเมินผลงาน ทำให้ต่างฝ่ายต่างให้สัมภาษณ์โจมตี ตอบโต้กันไปมา ถึงการใช้งบประมาณอย่างฟุ่มเฟือย และความไร้ประสิทธิภาพขององค์กร
ต่อมาเมื่อวันที่ 11ธ.ค. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ด้านกิจการบริหารกลาง โดยนายบุญยเกียรติ รักชาติเจริญ รองเลขาธิการ รักษาราชการแทนเลขาธิการ กกต. จึงได้ออกหนังสือแจ้งถึงรองเลขาธิการทุกด้านกิจการ, ผู้อำนวยการสถาบัน , ผู้ทรงคุณวุฒิ, ผู้ตรวจการ , ผู้ตรวจสอบภายใน, ผู้อำนวยการสถาบันทุกสำนัก, ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ, ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ชำนาญการ เรื่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์ โดยระบุว่า ขณะนี้ได้มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เช่น Line และ Facebook ในการวิพากษ์วิจารณ์ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของกกต. และสำนักงานกกต.ซึ่งการแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าว บางส่วน หรือบางเรื่อง ยังไม่มีข้อมูลที่เป็นจริง หรือบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง และยังไม่มีการตรวจสอบให้ถูกต้อง
สำนักงานกกต. จึงขอให้ผู้บังคับบัญชาทุกส่วนงาน กำกับ ดูแล และชี้แจงต่อพนักงานให้ทราบถึงการที่พนักงานของสำนักงานฯ วิพากษ์วิจารณ์ หรือแสดงความคิดเห็นดังกล่าวข้างต้น อาจเป็นผลให้กกต.หรือสำนักงานกกต.เสียหาย หรือได้รับผลกระทบในภาพรวมขององค์กรอันอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำผิดต่อระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของคณะกรรมการการเลือกตั้ง กรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดและพนักงานของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2551 หรืออาจจะเป็นการกระทำผิดวินัยได้
ทั้งนี้ หนังสือแจ้งดังกล่าวเกิดขึ้นหลังกกต. มีมติเมื่อวันที่ 8 ธ.ค.เลิกจ้างนายภุชงค์ นุตราวงศ์ อดีตเลขาธิการกกต. และต่อมามีการตอบโต้กันระหว่างนายภุชงค์กับกกต. ถึงการทำงานร่วมกัน และทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ภายในสำนักงานกกต.
ด้านนายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง การเลิกจ้างนายภุชงค์ ทำให้มีการออกมาเปิดโปงเกี่ยวกับความไม่โปร่งใสของกกต.ว่า หลังจากได้รับข้อมูลดังกล่าว ตนก็ไปตรวจสอบองค์กรอิสระอื่นๆ พบว่ามีความเป็นอิสระมากเกินไป เพราะสามารถทำได้เกือบทุกอย่าง โดยอาศัยมติองค์กรอิสระ หรือตุลาการ เช่น ไปต่างประเทศบ่อยมาก และเอานักธุรกิจเอกชนไป ก็เพราะมีส่วนในการสนับสนุนในรายการที่เบิกจ่ายไม่ได้ เมื่อไปดูงานตามโปรแกรมดูงานแค่ครึ่งวัน ที่เหลือไปดูวัฒนธรรม อยากให้ดู พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. และนายกรัฐมนตรีเป็นตัวอย่างที่ทำงานต่างประเทศเสร็จก็เดินทางกลับมาปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย ดังนั้นสิ่งที่ทำจึงไม่ใช่การดูงานแต่เป็นการหาเรื่องไป เลือกไปประเทศที่กรรมการองค์กรอิสระ หรือตุลาการต้องการไป โดยมีการติดต่อให้ประเทศนั้นทำหนังสือเชิญมา โดยเริ่มต้นจากหน่วยงานรัฐเป็นคนเชิญ บางทีก็ติดต่อมหาวิทยาลัย ให้เชิญเพื่อจะได้เดินทางไปโดยไปทั้งคณะ แต่มีกรรมการบางท่านที่ไม่ยอมไปเลย อย่างไรก็ตาม บางคนไปทุกงานทั้งที่เชิญมาแค่สองคน และยังเอาผู้ติดตามไปด้วย
นอกจากนี้ กรณีที่องค์กรอิสระออกระเบียบตั้งที่ปรึกษาเฉพาะราย ทั้งที่ไม่ต้องตั้งเฉพาะราย อีกทั้งยังมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเฉพาะรายด้วย ถ้าทำเช่นนี้ อีกหน่อยศาลยุติธรรมก็จะขอมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำตัวด้วย นอกจากนี้มีการกำหนดอัตราเงินเดือนเอง ซึ่งที่ผ่านมา ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเคยตัดสินให้ ป.ป.ช. มีความผิดกรณีขึ้นเงินเดือนตัวเองมาแล้ว แต่กรณีนี้เป็นการให้เงินเดือนตามมติของตัวเอง และสามารถแปรญัตติงบประมาณได้ด้วยตัวเอง ใช้มติกรรมการโอนงบประมาณไปทำเรื่องอื่นได้โดยไม่ต้องจ่ายคืนคลัง จึงเสนอว่า เมื่อจะปฏิรูปก็ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปองค์กรอิสระ และการบริหารงานบุคคลไม่ควรให้องค์กรแต่ละองค์กรไปพิจารณาแต่งตั้งกันเอง ควรมีกรรมการบริหารกลางองค์กรอิสระเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ทั้งนี้ มีตัวเลขงบประมาณการอบรมบางองค์กร 4 ครั้ง ใช้งบประมาณถึง 11 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการสิ้นเปลือง เพราะมีการเดินทางไปต่างประเทศทุกครั้ง