ถ้ามีใครพูดว่า... “ฉันเป็นตะวันจันทรา”... “ตะวันจันทราเป็นฉัน”... “ฉันเป็นภูผามหาสมุทร” “ภูผามหาสมุทรเป็นฉัน”... “ฉันเป็นดอกไม้”... “ดอกไม้เป็นฉัน”...ฉันเป็น...ฯลฯ แล้วจะมีเสียงสะท้อนกลับมาว่า...หนึ่ง-ไม่บ้าก็เมา หรือสอง-มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
เสียงย้อนแย้งตามข้อหนึ่ง น่าจะเป็นคนประเภทไม่สนใจการเรียนรู้ อ่านหนังสือไม่ถึงปีละหนึ่งหน้า มีความคิดผิวเผิน ส่วนเสียงสะท้อนกลับตามข้อสอง น่าจะเป็นคนประเภทคิดลึกซึ้ง ได้แก่ นักอ่าน นักคิด นักเขียน นักดนตรี กวี ศิลปิน ฯลฯ
บุคคลตามข้อสองนี้ มีสายตายาวไกลลุ่มลึก มองเห็นสรรพสิ่งล้วนเป็นดั่งกันและกัน
ดั่งกันและกัน
ผมยังคงเป็นคนหัวโบราณ ยังใช้กระดาษและปากกาเขียนบทความ อยากจะทันสมัยเขียนในคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟน ในยุคโลกออนไลน์บ้าง ก็ขี้เกียจเรียนรู้ เอามันเก่าๆ เล่าเรื่องเก่าๆ นี้แหละ แม้จะไม่เริ่ดสรรทันสมัย แต่มันก็เป็นรากเหง้าเราเอง ดูแลมันบ้าง เอาใจกลับมาอยู่กับกายบ้าง
กระดาษขาวๆ แผ่นนี้ กำลังจะร่ำรวยฟลายฟ้อนด้วยอักษรศิลป์ ผมต้องหยุดชะงัก...
ผมมองกระดาษแผ่นนี้อย่างลึกซึ้ง มันไม่ใช่เป็นเพียงกระดาษว่างเปล่า แต่มันเต็มไปด้วยทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาล แสงอาทิตย์ ต้นไม้ ก้อนเมฆ ผืนโลก แร่ธาตุ ทุกๆ สิ่ง แม้กระทั่งคนดี คนชั่ว ก็ปรากฏ
กระดาษแผ่นนี้ไม่อาจเป็นกระดาษได้ด้วยตัวของมันเพียงลำพัง กระดาษจำเป็นต้องเป็นดั่งกันและกันกับสิ่งอื่นๆ ในโลกในจักรวาล
กระดาษแผ่นนี้ ไม่สามารถเป็นกระดาษได้โดยปราศจากแสงอาทิตย์ ไม่สามารถเป็นกระดาษได้โดยปราศจากป่าไม้
กระดาษแผ่นนี้ เป็นดั่งกันและกันกับแสงอาทิตย์ เป็นดั่งกันและกันกับป่าไม้
หากมีคำถามว่า...โลกนี้ดำรงอยู่ เป็นอยู่ได้อย่างไร?
พระพุทธเจ้าจะทรงตอบอย่างเรียบง่ายว่า...
“สิ่งนี้มีอยู่ เพราะสิ่งนั้นมีอยู่...สิ่งนี้ไม่มีอยู่ เพราะสิ่งนั้นไม่มีอยู่”
เพราะแสงอาทิตย์มีอยู่ กระดาษแผ่นนี้จึงมีอยู่ เพราะต้นไม้มีอยู่ กระดาษแผ่นนี้จึงมีอยู่
คนเราก็เช่นกัน ไม่ได้แตกต่างไปจากกระดาษแผ่นนี้เลย คนเราไม่สามารถดำรงอยู่ด้วยตัวของมันเองอย่างโดดเดี่ยว
คนเราต้องเป็นดั่งกันและกันกับทุกสิ่งในโลก ในจักรวาลนี้ นั่นคือธรรมชาติของการเป็นดั่งกันและกัน
การที่จะเข้าใจและเข้าถึงความเป็นดั่งกันและกันได้ ต้องไม่ใช่-คิดแบบผิวเผิน หากแต่ต้องคิดแบบลึกซึ้ง ตระหนักถึงความจริงทั้งสมมติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ
เมื่อรู้ชัดแจ้งในความจริงทั้งสอง ก็จัดการได้ถูกต้องและเป็นธรรมตามสภาวะนั้นๆ
รู้ทันเข้าถึง
“รู้ทัน” คือรู้เท่าถึงเล่ห์เหลี่ยมของผู้อื่น (พจนานุกรมว่าอย่างนั้น) หรือรู้กลโกงของคนขี้โกงนั่นเอง แต่ผมเห็นว่าน้อยไป รู้ทัน ต้องรู้ทั้งความชั่ว ความดีของผู้อื่น รู้ทันคนชั่ว จะได้ต่อต้าน ไม่เอาเยี่ยงอย่าง รู้ทันคนดี จะได้ส่งเสริม และเอามาเป็นแบบอย่าง
คนรู้ทัน จะมองอะไร คิดอะไรอย่างลึกซึ้ง ส่วนคนไม่รู้ทัน จะมองอะไร คิดอะไร อย่างผิวเผิน
คนรู้ทัน คนขี้โกงไม่ชอบ คนรู้ทันด้วยกันจะชอบ
คนไม่รู้ทัน คนขี้โกงชอบ จะได้หลอกง่ายๆ
คนรู้ทัน ไม่ชอบคนไม่รู้ทัน เพราะคนไม่รู้ทันพวกนี้ พูดความจริง พูดตรงๆ ไม่ชอบ ชอบให้เขาหลอก เลยตกเป็นทาสเขาแบบไม่รู้ตัว
เวลาเปลี่ยนรัฐบาลแต่ละครั้ง หรือเปลี่ยนผู้นำแต่ละแห่ง ถ้าผู้นำไม่เลือกใช้คนดี มีความซื่อสัตย์ รักบ้านรักเมือง มาร่วมงาน พึงตั้งข้อสังเกตได้เลยว่า ผู้นำอาจจะมีปัญหา ไม่กล้าส่งเสริมคนดี กลัวคนดีจะไปขวางทางทำมาหากินอันมิชอบของตน ในทำนองเดียวกัน ถ้าผู้นำเป็นคนดีจริง ก็จะเลือกใช้คนดีมาร่วมงาน ถ้าไปเลือกคนชั่วมาร่วมงาน ด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม แสดงว่า ผู้นำคนนั้น ไม่ใช่คนดีจริง หรือดีจะดีแตก
คนไม่รู้ทัน คือคนประเภทมองอะไรผิวเผิน ส่วนคนรู้ทัน จะมองอะไรลึกซึ้ง
คนรู้ทันเท่านั้น ที่จะเข้าถึงปัญหาต่างๆ และแก้ปัญหาต่างๆ ได้แบบถึงแก่นถึงรากถึงเหตุแห่งปัญหา ส่วนคนไม่รู้ทัน ก็แก้ปัญหาแบบ “ขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่ พอเหลาลงไปกลายเป็นบ้องกัญชา” แก้กันตรงปลายเหตุ นอกจากจะแก้ปัญหาไม่ได้แล้ว ยังจะนำภัยร้ายให้เกิดขึ้นอย่างไม่รู้จบสิ้น
การรู้ทันคนอื่นเป็นสิ่งดี แต่ที่ดียิ่งกว่า คือการรู้ทันตัวเอง ว่าดีว่าชั่วอย่างไร ดีจะได้เจริญ ชั่วจะได้ลดละ
ปัญหาต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวง ก็คือกิเลส มีโลภ โกรธ หลง เป็นตัวพ่อตัวแม่
ครั้งหนึ่ง...พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชปุจฉากับหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ว่า... “หลวงปู่ การละกิเลสนั้น ควรละกิเลสอะไรก่อน”
หลวงปู่ ถวายวิสัชนาว่า... “กิเลสทั้งหมด เกิดรวมอยู่ที่จิต ให้เพ่งมองดูที่จิต อันไหนเกิดก่อนให้ละอันนั้นก่อน”
มีนักปฏิบัติธรรมมากมาย เรียนถามหลวงปู่ดูลย์ อตุโล เกี่ยวกับ “หลักธรรมแท้” เป็นอย่างไร?
หลวงปู่ บอกว่า... “หลักธรรมที่แท้จริงนั้น คือจิต ให้กำหนดดูจิต ให้เข้าใจจิตตัวเองให้ลึกซึ้ง เมื่อเข้าใจจิตตัวเองได้ลึกซึ้งแล้วนั่นแหละ ได้แล้วซึ่งหลักธรรม”
หลักธรรมแท้ ทำให้รู้จักตัวเองและคนอื่นได้อย่างลึกซึ้ง และทำให้รู้ทันและเข้าถึงทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างทะลุปรุโปร่ง
ทุกสิ่งลึกซึ้ง
อะไรจะลึกซึ้ง หรือไม่ลึกซึ้ง (ผิวเผิน) อยู่ที่การดูการมอง มีปัญญาน้อย ก็มองได้แค่ผิวเผิน มีปัญญามากก็มองได้ลึกซึ้ง
ดูกระดาษแผ่นนี้ซิ...ไม่เห็นมีอะไร ก็แค่กระดาษแผ่นหนึ่ง ขาวสะอาด ถ้าขีดเขียนอะไรลงไปก็สกปรก เป็นต้น นี่คือการมองแบบผิวเผิน (ไม่ลึกซึ้ง)
ดูกระดาษแผ่นนี้ซิ...มีอะไรมากมาย เห็นโลกเห็นจักรวาลอยู่ในกระดาษแผ่นนี้ เป็นต้น นี่คือการมองแบบลึกซึ้ง
การแก้ปัญหาต่างๆ ในโลกนี้ ถ้ามองแบบผิวเผิน ก็แก้ปัญหาได้แบบผิวเผิน คือแก้ได้แค่ปลายเหตุปัญหาไม่หมดไป ปัญหาจะยิ่งเพิ่มขึ้นๆ กลายเป็นดินพอกหางหมู
ถ้ามองแบบลึกซึ้ง ก็จะแก้ปัญหาได้แบบลึกซึ้ง คือแก้ที่ต้นเหตุ ปัญหาก็จะลดลง และหมดสิ้นไปในที่สุด
คำว่า “ธรรม” มีอยู่สองความหมาย หนึ่ง-คือคุณความดี หรือพระธรรม อีกหนึ่งคือ-ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก มีรูปหรือไม่มีรูป ทั้งหมดรวมเรียกว่าธรรม
ถ้ามีปัญญาลึกซึ้ง ก็จะมองเห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ล้วนเป็นธรรม
เป็นหนึ่งเดียวกัน
การดูหรือการมองที่สำคัญ สิ่งเดียวกัน ก็อาจจะเห็นแตกต่างกัน บางคนเห็นว่ามีสาระ อีกบางคนเห็น
ว่าไร้สาระ
สิ่งทั้งมวลล้วนสืบเนื่องกัน หรือเป็นหนึ่งเดียวกัน หรือเป็นดั่งกันและกัน
ก้อนเมฆ เราเห็นแต่มันลอยอยู่บนฟ้า (มองแบบผิวเผิน) แต่วันนี้ ขณะนี้ เราเห็นมันอยู่ในถ้วยน้ำชาที่เรากำลังจะดื่มกิน (มองแบบลึกซึ้ง)
ท่านติช นัท ฮันห์ กล่าวว่า...
“ฉันกำลังดื่มชาอย่างมีสติ ฉันมีสมาธิกับการดื่มชา
ฉันเห็นได้ว่า การดื่มชานั้น ก็ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าที่ฉันได้ดื่มก้อนเมฆ
ด้วยปัญญา ความเข้าใจที่เกิดขึ้นตรงนี้ ก็คือการตรัสรู้
ถ้าไม่มีสติ ไม่มีสมาธิ ไม่มีปัญญา ฉันก็ไม่สามารถที่จะเห็นก้อนเมฆในน้ำชาของฉัน
เมื่อก่อนนั้น ฉันอาจจะคิดว่าก้อนเมฆได้หายไปแล้ว ตายไปแล้ว
แต่เมื่อฝึกเจริญสติ สมาธิ มีปัญญาเกิดขึ้น
ฉันสามารถที่จะเห็นได้ว่า ก้อนเมฆนั้นก็ยังมีชีวิตอยู่ในน้ำชาของฉัน
และการดื่มเช่นนี้จะนำมาซึ่งความสุขเป็นอย่างยิ่ง”
นั่นคือ...การตระหนักรู้ หรือตื่นรู้ หรือความเป็นดั่งกันและกัน เส้นทางแห่งความไม่แตกแยกมองอย่างลึกซึ้ง ด้วยสายตาของสติ และสมาธิ เห็นโลกเห็นจักรวาลในฝุ่นผง เห็นสรรพสิ่งในตัวเรา เห็นหนึ่งคือทั้งหมด เห็นทั้งหมดคือหนึ่ง เห็นทุกสิ่งเป็นหนึ่งเดียวกัน
“ดั่งกันและกัน
รู้ทันเข้าถึง
ทุกสิ่งลึกซึ้ง
เป็นหนึ่งเดียวกัน”
ดอกไม้เอ๋ย เจ้าเติบโตมาจากปุ๋ย และขยะกลิ่นเหม็นฉุน ขยะเอ๋ย เจ้าจะแปรเปลี่ยนเป็นดอกไม้งดงาม ส่งกลิ่นหอมขจรไกล สรรพสิ่งล้วนเป็นดั่งกันและกัน
เสียงย้อนแย้งตามข้อหนึ่ง น่าจะเป็นคนประเภทไม่สนใจการเรียนรู้ อ่านหนังสือไม่ถึงปีละหนึ่งหน้า มีความคิดผิวเผิน ส่วนเสียงสะท้อนกลับตามข้อสอง น่าจะเป็นคนประเภทคิดลึกซึ้ง ได้แก่ นักอ่าน นักคิด นักเขียน นักดนตรี กวี ศิลปิน ฯลฯ
บุคคลตามข้อสองนี้ มีสายตายาวไกลลุ่มลึก มองเห็นสรรพสิ่งล้วนเป็นดั่งกันและกัน
ดั่งกันและกัน
ผมยังคงเป็นคนหัวโบราณ ยังใช้กระดาษและปากกาเขียนบทความ อยากจะทันสมัยเขียนในคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟน ในยุคโลกออนไลน์บ้าง ก็ขี้เกียจเรียนรู้ เอามันเก่าๆ เล่าเรื่องเก่าๆ นี้แหละ แม้จะไม่เริ่ดสรรทันสมัย แต่มันก็เป็นรากเหง้าเราเอง ดูแลมันบ้าง เอาใจกลับมาอยู่กับกายบ้าง
กระดาษขาวๆ แผ่นนี้ กำลังจะร่ำรวยฟลายฟ้อนด้วยอักษรศิลป์ ผมต้องหยุดชะงัก...
ผมมองกระดาษแผ่นนี้อย่างลึกซึ้ง มันไม่ใช่เป็นเพียงกระดาษว่างเปล่า แต่มันเต็มไปด้วยทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาล แสงอาทิตย์ ต้นไม้ ก้อนเมฆ ผืนโลก แร่ธาตุ ทุกๆ สิ่ง แม้กระทั่งคนดี คนชั่ว ก็ปรากฏ
กระดาษแผ่นนี้ไม่อาจเป็นกระดาษได้ด้วยตัวของมันเพียงลำพัง กระดาษจำเป็นต้องเป็นดั่งกันและกันกับสิ่งอื่นๆ ในโลกในจักรวาล
กระดาษแผ่นนี้ ไม่สามารถเป็นกระดาษได้โดยปราศจากแสงอาทิตย์ ไม่สามารถเป็นกระดาษได้โดยปราศจากป่าไม้
กระดาษแผ่นนี้ เป็นดั่งกันและกันกับแสงอาทิตย์ เป็นดั่งกันและกันกับป่าไม้
หากมีคำถามว่า...โลกนี้ดำรงอยู่ เป็นอยู่ได้อย่างไร?
พระพุทธเจ้าจะทรงตอบอย่างเรียบง่ายว่า...
“สิ่งนี้มีอยู่ เพราะสิ่งนั้นมีอยู่...สิ่งนี้ไม่มีอยู่ เพราะสิ่งนั้นไม่มีอยู่”
เพราะแสงอาทิตย์มีอยู่ กระดาษแผ่นนี้จึงมีอยู่ เพราะต้นไม้มีอยู่ กระดาษแผ่นนี้จึงมีอยู่
คนเราก็เช่นกัน ไม่ได้แตกต่างไปจากกระดาษแผ่นนี้เลย คนเราไม่สามารถดำรงอยู่ด้วยตัวของมันเองอย่างโดดเดี่ยว
คนเราต้องเป็นดั่งกันและกันกับทุกสิ่งในโลก ในจักรวาลนี้ นั่นคือธรรมชาติของการเป็นดั่งกันและกัน
การที่จะเข้าใจและเข้าถึงความเป็นดั่งกันและกันได้ ต้องไม่ใช่-คิดแบบผิวเผิน หากแต่ต้องคิดแบบลึกซึ้ง ตระหนักถึงความจริงทั้งสมมติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ
เมื่อรู้ชัดแจ้งในความจริงทั้งสอง ก็จัดการได้ถูกต้องและเป็นธรรมตามสภาวะนั้นๆ
รู้ทันเข้าถึง
“รู้ทัน” คือรู้เท่าถึงเล่ห์เหลี่ยมของผู้อื่น (พจนานุกรมว่าอย่างนั้น) หรือรู้กลโกงของคนขี้โกงนั่นเอง แต่ผมเห็นว่าน้อยไป รู้ทัน ต้องรู้ทั้งความชั่ว ความดีของผู้อื่น รู้ทันคนชั่ว จะได้ต่อต้าน ไม่เอาเยี่ยงอย่าง รู้ทันคนดี จะได้ส่งเสริม และเอามาเป็นแบบอย่าง
คนรู้ทัน จะมองอะไร คิดอะไรอย่างลึกซึ้ง ส่วนคนไม่รู้ทัน จะมองอะไร คิดอะไร อย่างผิวเผิน
คนรู้ทัน คนขี้โกงไม่ชอบ คนรู้ทันด้วยกันจะชอบ
คนไม่รู้ทัน คนขี้โกงชอบ จะได้หลอกง่ายๆ
คนรู้ทัน ไม่ชอบคนไม่รู้ทัน เพราะคนไม่รู้ทันพวกนี้ พูดความจริง พูดตรงๆ ไม่ชอบ ชอบให้เขาหลอก เลยตกเป็นทาสเขาแบบไม่รู้ตัว
เวลาเปลี่ยนรัฐบาลแต่ละครั้ง หรือเปลี่ยนผู้นำแต่ละแห่ง ถ้าผู้นำไม่เลือกใช้คนดี มีความซื่อสัตย์ รักบ้านรักเมือง มาร่วมงาน พึงตั้งข้อสังเกตได้เลยว่า ผู้นำอาจจะมีปัญหา ไม่กล้าส่งเสริมคนดี กลัวคนดีจะไปขวางทางทำมาหากินอันมิชอบของตน ในทำนองเดียวกัน ถ้าผู้นำเป็นคนดีจริง ก็จะเลือกใช้คนดีมาร่วมงาน ถ้าไปเลือกคนชั่วมาร่วมงาน ด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม แสดงว่า ผู้นำคนนั้น ไม่ใช่คนดีจริง หรือดีจะดีแตก
คนไม่รู้ทัน คือคนประเภทมองอะไรผิวเผิน ส่วนคนรู้ทัน จะมองอะไรลึกซึ้ง
คนรู้ทันเท่านั้น ที่จะเข้าถึงปัญหาต่างๆ และแก้ปัญหาต่างๆ ได้แบบถึงแก่นถึงรากถึงเหตุแห่งปัญหา ส่วนคนไม่รู้ทัน ก็แก้ปัญหาแบบ “ขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่ พอเหลาลงไปกลายเป็นบ้องกัญชา” แก้กันตรงปลายเหตุ นอกจากจะแก้ปัญหาไม่ได้แล้ว ยังจะนำภัยร้ายให้เกิดขึ้นอย่างไม่รู้จบสิ้น
การรู้ทันคนอื่นเป็นสิ่งดี แต่ที่ดียิ่งกว่า คือการรู้ทันตัวเอง ว่าดีว่าชั่วอย่างไร ดีจะได้เจริญ ชั่วจะได้ลดละ
ปัญหาต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวง ก็คือกิเลส มีโลภ โกรธ หลง เป็นตัวพ่อตัวแม่
ครั้งหนึ่ง...พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชปุจฉากับหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ว่า... “หลวงปู่ การละกิเลสนั้น ควรละกิเลสอะไรก่อน”
หลวงปู่ ถวายวิสัชนาว่า... “กิเลสทั้งหมด เกิดรวมอยู่ที่จิต ให้เพ่งมองดูที่จิต อันไหนเกิดก่อนให้ละอันนั้นก่อน”
มีนักปฏิบัติธรรมมากมาย เรียนถามหลวงปู่ดูลย์ อตุโล เกี่ยวกับ “หลักธรรมแท้” เป็นอย่างไร?
หลวงปู่ บอกว่า... “หลักธรรมที่แท้จริงนั้น คือจิต ให้กำหนดดูจิต ให้เข้าใจจิตตัวเองให้ลึกซึ้ง เมื่อเข้าใจจิตตัวเองได้ลึกซึ้งแล้วนั่นแหละ ได้แล้วซึ่งหลักธรรม”
หลักธรรมแท้ ทำให้รู้จักตัวเองและคนอื่นได้อย่างลึกซึ้ง และทำให้รู้ทันและเข้าถึงทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างทะลุปรุโปร่ง
ทุกสิ่งลึกซึ้ง
อะไรจะลึกซึ้ง หรือไม่ลึกซึ้ง (ผิวเผิน) อยู่ที่การดูการมอง มีปัญญาน้อย ก็มองได้แค่ผิวเผิน มีปัญญามากก็มองได้ลึกซึ้ง
ดูกระดาษแผ่นนี้ซิ...ไม่เห็นมีอะไร ก็แค่กระดาษแผ่นหนึ่ง ขาวสะอาด ถ้าขีดเขียนอะไรลงไปก็สกปรก เป็นต้น นี่คือการมองแบบผิวเผิน (ไม่ลึกซึ้ง)
ดูกระดาษแผ่นนี้ซิ...มีอะไรมากมาย เห็นโลกเห็นจักรวาลอยู่ในกระดาษแผ่นนี้ เป็นต้น นี่คือการมองแบบลึกซึ้ง
การแก้ปัญหาต่างๆ ในโลกนี้ ถ้ามองแบบผิวเผิน ก็แก้ปัญหาได้แบบผิวเผิน คือแก้ได้แค่ปลายเหตุปัญหาไม่หมดไป ปัญหาจะยิ่งเพิ่มขึ้นๆ กลายเป็นดินพอกหางหมู
ถ้ามองแบบลึกซึ้ง ก็จะแก้ปัญหาได้แบบลึกซึ้ง คือแก้ที่ต้นเหตุ ปัญหาก็จะลดลง และหมดสิ้นไปในที่สุด
คำว่า “ธรรม” มีอยู่สองความหมาย หนึ่ง-คือคุณความดี หรือพระธรรม อีกหนึ่งคือ-ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก มีรูปหรือไม่มีรูป ทั้งหมดรวมเรียกว่าธรรม
ถ้ามีปัญญาลึกซึ้ง ก็จะมองเห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ล้วนเป็นธรรม
เป็นหนึ่งเดียวกัน
การดูหรือการมองที่สำคัญ สิ่งเดียวกัน ก็อาจจะเห็นแตกต่างกัน บางคนเห็นว่ามีสาระ อีกบางคนเห็น
ว่าไร้สาระ
สิ่งทั้งมวลล้วนสืบเนื่องกัน หรือเป็นหนึ่งเดียวกัน หรือเป็นดั่งกันและกัน
ก้อนเมฆ เราเห็นแต่มันลอยอยู่บนฟ้า (มองแบบผิวเผิน) แต่วันนี้ ขณะนี้ เราเห็นมันอยู่ในถ้วยน้ำชาที่เรากำลังจะดื่มกิน (มองแบบลึกซึ้ง)
ท่านติช นัท ฮันห์ กล่าวว่า...
“ฉันกำลังดื่มชาอย่างมีสติ ฉันมีสมาธิกับการดื่มชา
ฉันเห็นได้ว่า การดื่มชานั้น ก็ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าที่ฉันได้ดื่มก้อนเมฆ
ด้วยปัญญา ความเข้าใจที่เกิดขึ้นตรงนี้ ก็คือการตรัสรู้
ถ้าไม่มีสติ ไม่มีสมาธิ ไม่มีปัญญา ฉันก็ไม่สามารถที่จะเห็นก้อนเมฆในน้ำชาของฉัน
เมื่อก่อนนั้น ฉันอาจจะคิดว่าก้อนเมฆได้หายไปแล้ว ตายไปแล้ว
แต่เมื่อฝึกเจริญสติ สมาธิ มีปัญญาเกิดขึ้น
ฉันสามารถที่จะเห็นได้ว่า ก้อนเมฆนั้นก็ยังมีชีวิตอยู่ในน้ำชาของฉัน
และการดื่มเช่นนี้จะนำมาซึ่งความสุขเป็นอย่างยิ่ง”
นั่นคือ...การตระหนักรู้ หรือตื่นรู้ หรือความเป็นดั่งกันและกัน เส้นทางแห่งความไม่แตกแยกมองอย่างลึกซึ้ง ด้วยสายตาของสติ และสมาธิ เห็นโลกเห็นจักรวาลในฝุ่นผง เห็นสรรพสิ่งในตัวเรา เห็นหนึ่งคือทั้งหมด เห็นทั้งหมดคือหนึ่ง เห็นทุกสิ่งเป็นหนึ่งเดียวกัน
“ดั่งกันและกัน
รู้ทันเข้าถึง
ทุกสิ่งลึกซึ้ง
เป็นหนึ่งเดียวกัน”
ดอกไม้เอ๋ย เจ้าเติบโตมาจากปุ๋ย และขยะกลิ่นเหม็นฉุน ขยะเอ๋ย เจ้าจะแปรเปลี่ยนเป็นดอกไม้งดงาม ส่งกลิ่นหอมขจรไกล สรรพสิ่งล้วนเป็นดั่งกันและกัน