นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ โฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึง การร่างรัฐธรรมนูญว่า กรธ.ได้พิจารณาประเด็นหลักๆไปได้หลายเรื่องแล้ว เหลืออีกเพียงไม่กี่เรื่อง เชื่อว่าจะเสร็จทันตามที่กำหนดแน่นอน ส่วนที่สังคมเป็นห่วงว่าจะมีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ ( คปป.) แบบร่างของ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ นั้น หลักการของเราคือ เราคิดไว้ว่าจะไม่มีองค์กรใหม่แบบนี้ขึ้นมา แต่จะใช้องค์กรที่มีอยู่แล้วทำหน้าที่ไป เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อมีเหตุการณ์ที่ถึงทางตัน มีข้อขัดแย้งทางการเมือง หรือทางรัฐธรรมนูญ ก็ให้ศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ไป หรืออาจเพิ่มเครื่องมือหรือช่องทางให้เขา นี่คือตัวอย่าง เราไม่อยากไปตั้งองค์กรอะไรใหม่ขึ้นมา ถ้ายังไม่มีปัญหาอะไร ก็ไม่ควรไปตั้งอะไร ก็ใช้องค์กรเดิมที่มีอยู่แล้ว เราคิดเบื้องต้นแบบนี้
ส่วนทางสปท. เราก็ให้เขาไปทำข้อเสนอในเรื่องปฏิรูปมาให้ดู โดยอาจจะเขียนเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หรืออาจจะเขียนไว้เป็นแค่หลักการ แต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป กรธ.พยายามเขียนรัฐธรรมนูญให้สั้น อ่านแล้วไม่ใช่เหมือนกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ มีรายละเอียดมากมายไปหมด ยืนยันว่า เรามีความตั้งใจเข้ามาทำงานเพื่อชาติ ไม่ได้เอื้อประโยชน์แก่ใคร มองความถูกต้องและเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อให้ลูกหลานได้ใช้ต่อไปด้วย ส่วนเมื่อร่างแรกเสร็จ เราก็มีหน้าที่อธิบายให้ประชาชนเข้าใจ ว่าต้องมองระยะยาว เราเขียนเพื่อไม่ให้สิ่งไม่ดีมาเกิดอีก เขียนเพื่อปูทางเพื่อความหลากหลาย สู้กับโลกได้ แน่นอนว่าคนเสียประโยชน์ก็ต้องด่า ที่ได้ไม่ค่อยพูดแต่ที่เสียกลับมาด่าเรา
** "วิรัตน์" หนุนส.ส.เป็นรัฐมนตรีได้
นายวิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีที่กรรมการร่างรัฐธรรมนุญ (กรธ.) ได้บัญญัติคุณสมบัติ ส.ส. ให้สามารถดำรงตำแหน่งควบเป็นรัฐมนตรีได้ โดยไม่ต้องพ้นจากตำแหน่งส.ส.ว่า เป็นเรื่องปกติในของประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นการที่กรธ.ได้บัญญัติแบบนี้ จึงเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะกว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งจะมาเป็นส.ส. กว่าจะมาเป็นประธานกรรมาธิการ(กมธ.) ต่างๆได้นั้น ก็ต้องผ่านการพบปะประชาชน เห็นปัญหาของประเทศชาติมามาก เมื่อมีประสบการณ์มากพอ ทางพรรคที่เป็นรัฐบาลขณะนั้นก็สามารถจะหยิบยกเอา ส.ส.ที่มาอาวุโสพอควร และมีความรู้ตรงกับเรื่องไปดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีได้ และแน่นอนว่ารัฐมนตรีที่มาจากส.ส.ย่อมเข้าใจปัญหาพี่น้องประชาชนได้ดีกว่ารัฐมนตรีที่มาจากวิธีอื่น
นายวิรัตน์ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่กรธ.ได้บัญญัติไว้ว่า หากส.ส.และ ส.ว. มีคดีทุจริตของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สามารถดำเนินคดีในสมัยประชุมได้เลยนั้น เรื่องนี้ตนคิดว่า ถ้าหากเราต้องการให้นักการเมืองมีคุณธรรม และจริยธรรม การบัญญัติว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มครองในกรณีที่เกี่ยวข้องกับคดีทุจริต เรื่องนี้ตนคิดว่าสามารถทำได้
" แต่ที่น่ากังวลก็คือ จะเป็นเรื่องผู้มีอำนาจรัฐในขณะนั้นกลั่นแกล้ง ส.ส.ฝ่ายค้านในขณะนั้นหรือไม่ เพราะว่าจะมีผลกับการโหวต และการลงมติทั้งหลาย มุมนี้ผมไม่ได้พูดเพื่อส.ส. แต่พูดไว้เพื่อที่จะป้องกันการที่รัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่งจะกลั่นแกล้ง" นายวิรัตน์กล่าว และว่า ดังนั้นตนคิดว่า กรธ. ควรจะคิดกลไกที่จะสามารถคุ้มครองการใช้สิทธิในสภาผู้แทน และป้องกันการกลั่นแกล้งในการโหวตให้เกิดขึ้น ตนขอย้ำว่า เอกสิทธิ์เหล่านี้ไม่ใช่เอกสิทธิ์ที่จะไม่ทำให้ส.ส.และ ส.ว. ต้องถูกดำเนินคดี เพียงแต่เป็นเอกสิทธิ์คุ้มครองการทำหน้าที่ในการโหวตลงคะแนนเสียง เพราะหากโหวตไปแล้ว ก็ไม่สามารถจะมาโหวตใหม่ได้
เมื่อถามถึงกรณี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ.บอกว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ สามารถจะเข้ามาสมัครรับเลือกตั้งส.ส.ได้ หากพ้นจากโทษตัดสิทธิทางการเมืองระยะเวลา 5 ปี นายวิรัตน์ กล่าวว่า ไม่ได้เกี่ยงเรื่องคุณสมบัติ ใครจะมีสิทธิ หรือไม่ ก็เป็นเรื่องของเขาเหล่านั้น ตนไม่ได้กังวลอะไร
** ห่วงกรธ.ริบอำนาจถอดถอนของปชช.
นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีฯ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวถึงกรณีที่ กรธ. ตัดอำนาจถอดถอนของวุฒิสภาออก โดยจะให้องค์กรอิสระอื่นทำหน้าที่แทนว่า ตนมีคำถามต่อกรธ.ว่า จะตัดสิทธิการเข้าชื่อของประชาชน เพื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกไปด้วยหรือไม่ ถ้ายังคงอยู่ จะมีกระบวนการอย่างไร และองค์กรใดจะทำหน้าที่รองรับสิทธิของประชาชนตรงนี้
แต่ถ้าตัดสิทธิส่วนนี้ของประชาชนทิ้งไปด้วย ก็จะเป็นการรอนสิทธิของประชาชนให้จองจำอยู่แค่การเลือกตั้ง สิทธิถอดถอน ที่เป็นเรื่องใหม่ และสะท้อนความก้าวหน้าของรัฐธรรมนูญไทย ที่มีมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 และ 2550 จะจบลง ซึ่งกลไกถอดถอนโดยประชาชน ถือเป็นการยกระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของประชาชนให้ไปไกลกว่าการเลือกตั้ง
เพราะที่ผ่านๆมา เมื่อเลือกตั้งแล้วก็แล้วกันไป ทำให้การเมืองยึดโยงกับประชาชนแค่ตอนเลือกตั้งเท่านั้น หลังเลือกตั้ง การเมืองก็เลยกลายเป็นเวทีเจรจาผลประโยชน์ของคนส่วนน้อย นอกจากนี้กลไกลถอดถอนโดยประชาชน ยังเป็นการสร้างสมดุลในระบบตรวจสอบและถ่วงดุล ประกันสิทธิประชาชนตลอดเวลา เมื่อมีสิทธิเลือกผู้แทนได้ก็ย่อมถอดถอนได้ ถ้าผู้แทนไม่รักษาสัญญาประชาคม ผมจึงอยากให้ กรธ.คงกลไกส่วนนี้ไว้ รวมทั้งกลไกการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชนด้วย
ทั้งกลไกถอดถอนและเสนอกฏหมายโดยประชาชถือเป็นสิทธิริเริ่มเท่านั้น แต่ที่ผ่านมาไม่มีประสิทธิภาพเพราะไม่มีกฎหมายลูกรองรับ และพอเข้าสู่กระบวนการในสภาฯ มักจะถูกดองหรือมีความพยายามทำให้เรื่องตกไป ฉะนั้น กรธ.ควรปรับปรุงให้กลไกส่วนนี้ทำงานได้จริงไม่ใช่คิดแต่จะตัดทิ้งท่าเดียว
การถ่ายโอนอำนาจถ่วงดุลตรวจสอบจากการเมืองไปให้ให้องค์กรอิสระอาจจะดูดีในระยะสั้น แต่ในระยะยาวถ้าองค์กรอิสระไม่อิสระจริงการเมืองเข้าไปครอบงำได้ก็จะล้มเหลวอีกตามเคยเหมือนตอนรัฐธรรมนูญ 2540 แต่ถ้าเพิ่มหลักการและกลไกถ่วงดุลตรวจสอบที่ยึดโยงกับประชาชนมากขึ้นจะทำให้ระบบการเมืองไทยในระยะยาวเกิดความสมดุลของระบบถ่วงดุลตรวจสอบได้มากกว่า
**รธน.ควรสกัดกั้นเผด็จการเสียงข้างมาก
นายประสาร มฤคพิทักษ์ อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึง กรณีที่ กรธ. ได้มีดำเนินการร่างรธน. ในเนื้อหาของรัฐสภาว่า คนไทยทั้งประเทศได้รับบทเรียนจากประวัติศาสตร์ระยะใกล้ด้วยกันว่า ก่อนเกิดการรัฐประหาร 22 พ.ค.57 คลื่นประชาชนหลายล้านคน ออกมาขับไล่รัฐบาลชุดเก่า โดยมีสาเหตุตั้งต้นมาจากเสียงข้างมากในรัฐสภาขณะนั้น ลงมติลักหลับ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับเหมาเข่ง ตอน 04.20 น. เป็นเหตุการณ์อัปยศ ที่คนไทยยอมรับไม่ได้ รวมไปถึงกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ที่มีการเสียบบัตรแทนกัน มีการปลอมแปลงเอกสารร่างรัฐธรรมนูญที่เอามาใช้ในการประชุมสภา นั่นเป็นปรากฏการณ์ฉ้อฉลของเสียงข้างมากที่นำไปสู่ปัญหาวิกฤตครั้งประวัติศาสตร์เพราะพรรคแกนนำ และพรรคร่วมรัฐบาลเวลานั้นยอมตามความต้องการของคนเพียงคนเดียว ฉะนั้น นอกเหนือจากการเลือกตั้งด้วยระบบแบ่งสรรปันส่วนเพื่อเปิดทางให้พรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็ก ได้มีพื้นที่ในสภา และมีการวางมาตรการสกัดกั้นคนโกง ไม่ให้เข้ามาสู่วงจรอำนาจด้วยเงื่อนไขคุมเข้มต่างๆแล้ว รัฐธรรมนูญควรมีมาตรการจะโดยตรง หรือโดยอ้อมก็ตาม ที่สามารถสะกัดกั้นเผด็จการรัฐสภาเสียงข้างมาก หรือเสียงข้างมากที่ฉ้อฉล หรืออีกทางหนึ่งนั้น รัฐธรรมนูญควรวางแนวทางให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย ให้สมาชิกพรรคเป็นเจ้าของพรรคและร่วมกันกำหนดชะตากรรมของพรรคอย่างเป็นจริงได้ ไม่ใช่ปล่อยให้ใครมาสั่งการพรรคให้ซ้ายหันขวาหันตามอำเภอใจของคนสั่ง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาประวัติศาสตร์ซ้ำรอยได้
ส่วนทางสปท. เราก็ให้เขาไปทำข้อเสนอในเรื่องปฏิรูปมาให้ดู โดยอาจจะเขียนเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หรืออาจจะเขียนไว้เป็นแค่หลักการ แต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป กรธ.พยายามเขียนรัฐธรรมนูญให้สั้น อ่านแล้วไม่ใช่เหมือนกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ มีรายละเอียดมากมายไปหมด ยืนยันว่า เรามีความตั้งใจเข้ามาทำงานเพื่อชาติ ไม่ได้เอื้อประโยชน์แก่ใคร มองความถูกต้องและเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อให้ลูกหลานได้ใช้ต่อไปด้วย ส่วนเมื่อร่างแรกเสร็จ เราก็มีหน้าที่อธิบายให้ประชาชนเข้าใจ ว่าต้องมองระยะยาว เราเขียนเพื่อไม่ให้สิ่งไม่ดีมาเกิดอีก เขียนเพื่อปูทางเพื่อความหลากหลาย สู้กับโลกได้ แน่นอนว่าคนเสียประโยชน์ก็ต้องด่า ที่ได้ไม่ค่อยพูดแต่ที่เสียกลับมาด่าเรา
** "วิรัตน์" หนุนส.ส.เป็นรัฐมนตรีได้
นายวิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีที่กรรมการร่างรัฐธรรมนุญ (กรธ.) ได้บัญญัติคุณสมบัติ ส.ส. ให้สามารถดำรงตำแหน่งควบเป็นรัฐมนตรีได้ โดยไม่ต้องพ้นจากตำแหน่งส.ส.ว่า เป็นเรื่องปกติในของประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นการที่กรธ.ได้บัญญัติแบบนี้ จึงเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะกว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งจะมาเป็นส.ส. กว่าจะมาเป็นประธานกรรมาธิการ(กมธ.) ต่างๆได้นั้น ก็ต้องผ่านการพบปะประชาชน เห็นปัญหาของประเทศชาติมามาก เมื่อมีประสบการณ์มากพอ ทางพรรคที่เป็นรัฐบาลขณะนั้นก็สามารถจะหยิบยกเอา ส.ส.ที่มาอาวุโสพอควร และมีความรู้ตรงกับเรื่องไปดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีได้ และแน่นอนว่ารัฐมนตรีที่มาจากส.ส.ย่อมเข้าใจปัญหาพี่น้องประชาชนได้ดีกว่ารัฐมนตรีที่มาจากวิธีอื่น
นายวิรัตน์ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่กรธ.ได้บัญญัติไว้ว่า หากส.ส.และ ส.ว. มีคดีทุจริตของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สามารถดำเนินคดีในสมัยประชุมได้เลยนั้น เรื่องนี้ตนคิดว่า ถ้าหากเราต้องการให้นักการเมืองมีคุณธรรม และจริยธรรม การบัญญัติว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มครองในกรณีที่เกี่ยวข้องกับคดีทุจริต เรื่องนี้ตนคิดว่าสามารถทำได้
" แต่ที่น่ากังวลก็คือ จะเป็นเรื่องผู้มีอำนาจรัฐในขณะนั้นกลั่นแกล้ง ส.ส.ฝ่ายค้านในขณะนั้นหรือไม่ เพราะว่าจะมีผลกับการโหวต และการลงมติทั้งหลาย มุมนี้ผมไม่ได้พูดเพื่อส.ส. แต่พูดไว้เพื่อที่จะป้องกันการที่รัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่งจะกลั่นแกล้ง" นายวิรัตน์กล่าว และว่า ดังนั้นตนคิดว่า กรธ. ควรจะคิดกลไกที่จะสามารถคุ้มครองการใช้สิทธิในสภาผู้แทน และป้องกันการกลั่นแกล้งในการโหวตให้เกิดขึ้น ตนขอย้ำว่า เอกสิทธิ์เหล่านี้ไม่ใช่เอกสิทธิ์ที่จะไม่ทำให้ส.ส.และ ส.ว. ต้องถูกดำเนินคดี เพียงแต่เป็นเอกสิทธิ์คุ้มครองการทำหน้าที่ในการโหวตลงคะแนนเสียง เพราะหากโหวตไปแล้ว ก็ไม่สามารถจะมาโหวตใหม่ได้
เมื่อถามถึงกรณี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ.บอกว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ สามารถจะเข้ามาสมัครรับเลือกตั้งส.ส.ได้ หากพ้นจากโทษตัดสิทธิทางการเมืองระยะเวลา 5 ปี นายวิรัตน์ กล่าวว่า ไม่ได้เกี่ยงเรื่องคุณสมบัติ ใครจะมีสิทธิ หรือไม่ ก็เป็นเรื่องของเขาเหล่านั้น ตนไม่ได้กังวลอะไร
** ห่วงกรธ.ริบอำนาจถอดถอนของปชช.
นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีฯ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวถึงกรณีที่ กรธ. ตัดอำนาจถอดถอนของวุฒิสภาออก โดยจะให้องค์กรอิสระอื่นทำหน้าที่แทนว่า ตนมีคำถามต่อกรธ.ว่า จะตัดสิทธิการเข้าชื่อของประชาชน เพื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกไปด้วยหรือไม่ ถ้ายังคงอยู่ จะมีกระบวนการอย่างไร และองค์กรใดจะทำหน้าที่รองรับสิทธิของประชาชนตรงนี้
แต่ถ้าตัดสิทธิส่วนนี้ของประชาชนทิ้งไปด้วย ก็จะเป็นการรอนสิทธิของประชาชนให้จองจำอยู่แค่การเลือกตั้ง สิทธิถอดถอน ที่เป็นเรื่องใหม่ และสะท้อนความก้าวหน้าของรัฐธรรมนูญไทย ที่มีมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 และ 2550 จะจบลง ซึ่งกลไกถอดถอนโดยประชาชน ถือเป็นการยกระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของประชาชนให้ไปไกลกว่าการเลือกตั้ง
เพราะที่ผ่านๆมา เมื่อเลือกตั้งแล้วก็แล้วกันไป ทำให้การเมืองยึดโยงกับประชาชนแค่ตอนเลือกตั้งเท่านั้น หลังเลือกตั้ง การเมืองก็เลยกลายเป็นเวทีเจรจาผลประโยชน์ของคนส่วนน้อย นอกจากนี้กลไกลถอดถอนโดยประชาชน ยังเป็นการสร้างสมดุลในระบบตรวจสอบและถ่วงดุล ประกันสิทธิประชาชนตลอดเวลา เมื่อมีสิทธิเลือกผู้แทนได้ก็ย่อมถอดถอนได้ ถ้าผู้แทนไม่รักษาสัญญาประชาคม ผมจึงอยากให้ กรธ.คงกลไกส่วนนี้ไว้ รวมทั้งกลไกการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชนด้วย
ทั้งกลไกถอดถอนและเสนอกฏหมายโดยประชาชถือเป็นสิทธิริเริ่มเท่านั้น แต่ที่ผ่านมาไม่มีประสิทธิภาพเพราะไม่มีกฎหมายลูกรองรับ และพอเข้าสู่กระบวนการในสภาฯ มักจะถูกดองหรือมีความพยายามทำให้เรื่องตกไป ฉะนั้น กรธ.ควรปรับปรุงให้กลไกส่วนนี้ทำงานได้จริงไม่ใช่คิดแต่จะตัดทิ้งท่าเดียว
การถ่ายโอนอำนาจถ่วงดุลตรวจสอบจากการเมืองไปให้ให้องค์กรอิสระอาจจะดูดีในระยะสั้น แต่ในระยะยาวถ้าองค์กรอิสระไม่อิสระจริงการเมืองเข้าไปครอบงำได้ก็จะล้มเหลวอีกตามเคยเหมือนตอนรัฐธรรมนูญ 2540 แต่ถ้าเพิ่มหลักการและกลไกถ่วงดุลตรวจสอบที่ยึดโยงกับประชาชนมากขึ้นจะทำให้ระบบการเมืองไทยในระยะยาวเกิดความสมดุลของระบบถ่วงดุลตรวจสอบได้มากกว่า
**รธน.ควรสกัดกั้นเผด็จการเสียงข้างมาก
นายประสาร มฤคพิทักษ์ อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึง กรณีที่ กรธ. ได้มีดำเนินการร่างรธน. ในเนื้อหาของรัฐสภาว่า คนไทยทั้งประเทศได้รับบทเรียนจากประวัติศาสตร์ระยะใกล้ด้วยกันว่า ก่อนเกิดการรัฐประหาร 22 พ.ค.57 คลื่นประชาชนหลายล้านคน ออกมาขับไล่รัฐบาลชุดเก่า โดยมีสาเหตุตั้งต้นมาจากเสียงข้างมากในรัฐสภาขณะนั้น ลงมติลักหลับ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับเหมาเข่ง ตอน 04.20 น. เป็นเหตุการณ์อัปยศ ที่คนไทยยอมรับไม่ได้ รวมไปถึงกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ที่มีการเสียบบัตรแทนกัน มีการปลอมแปลงเอกสารร่างรัฐธรรมนูญที่เอามาใช้ในการประชุมสภา นั่นเป็นปรากฏการณ์ฉ้อฉลของเสียงข้างมากที่นำไปสู่ปัญหาวิกฤตครั้งประวัติศาสตร์เพราะพรรคแกนนำ และพรรคร่วมรัฐบาลเวลานั้นยอมตามความต้องการของคนเพียงคนเดียว ฉะนั้น นอกเหนือจากการเลือกตั้งด้วยระบบแบ่งสรรปันส่วนเพื่อเปิดทางให้พรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็ก ได้มีพื้นที่ในสภา และมีการวางมาตรการสกัดกั้นคนโกง ไม่ให้เข้ามาสู่วงจรอำนาจด้วยเงื่อนไขคุมเข้มต่างๆแล้ว รัฐธรรมนูญควรมีมาตรการจะโดยตรง หรือโดยอ้อมก็ตาม ที่สามารถสะกัดกั้นเผด็จการรัฐสภาเสียงข้างมาก หรือเสียงข้างมากที่ฉ้อฉล หรืออีกทางหนึ่งนั้น รัฐธรรมนูญควรวางแนวทางให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย ให้สมาชิกพรรคเป็นเจ้าของพรรคและร่วมกันกำหนดชะตากรรมของพรรคอย่างเป็นจริงได้ ไม่ใช่ปล่อยให้ใครมาสั่งการพรรคให้ซ้ายหันขวาหันตามอำเภอใจของคนสั่ง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาประวัติศาสตร์ซ้ำรอยได้