ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -ความวัวยังไม่ทันหาย ความควายก็เข้ามาแทรกอีกแล้ว สำหรับสถานการณ์ทางด้านการบินของประเทศไทย เมื่อสำนักงานบริหารองค์กรการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal AviationAdministration : FAA) ได้แจ้งผลการตรวจสอบการกำกับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยด้านการขนส่งทางอากาศของประเทศไทย โดยลดอันดับไทยจาก Category 1 (CAT1) เป็น Category 2 (CAT 2) โดยFAA
ทั้งนี้ ระบุเหตุผลว่า มาตรฐานปัจจุบันของไทยยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศหรือ ICAO โดย FAA พร้อมที่จะร่วมในการแก้ไขข้อบกพร่องให้เป็นไปตามมาตรฐาน ICAO
ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ทำให้สายการบินที่จดทะเบียนโดยสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยไม่สามารถเพิ่มเที่ยวบินหรือเพิ่มจุดบินใหม่ในสหรัฐอเมริกาได้
แถลงการณ์ระบุว่า เจ้าหน้าที่การบินของสหรัฐฯ และไทยมีความร่วมมือระหว่างกันมาอย่างยาวนาน ทั้งสองฝ่ายได้ทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องเพื่อจัดการกับสิ่งที่ท้าทายที่ส่งผลกระทบกับความปลอดภัยทางการบิน ทั้งนี้การถูกลดลำดับอยู่ในประเภท 2 หมายความว่า ประเทศนั้นๆ บกพร่องในแง่ของกฎหมายหรือกฎระเบียบที่จำเป็นในการควบคุมตรวจสอบว่า เครื่องบินเป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ำของนานาชาติหรือมาตรฐานของหน่วยงานการบินด้านความปลอดภัยหรือไม่ รวมทั้งขาดความพร้อมในด้านหนึ่งด้านใดหรือมากกว่า อาทิ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกอบรม กระบวนการเก็บข้อมูลและกระบวนการตรวจสอบ
จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า FAA ได้เข้ามาติดตามการแก้ไขปัญหาของไทยเมื่อวันที่ 26-28 ต.ค.58 ติดตามการแก้ไขข้อบกพร่องใน 35 ข้อที่ FAA ท้วงติง ซึ่งมีส่วนหนึ่งที่เป็นข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (Significant Safety Concerns :SSC) ของ ICAO ซึ่งอยู่ระหว่างการแก้ไข โดยเฉพาะกระบวนการในการทบทวนการออกใบรับรองการเดินอากาศหรือAOC ใหม่ (Re-certification) จะดำเนินการตรวจสอบสายการบินต่างๆของไทยได้แล้วเสร็จในเดือนส.ค. 2559 ดังนั้นหากยังปลดล็อค SSC ไม่เสร็จ คงกระทบกับการประเมินของ FAA ซึ่งแม้จะมีการลดเกรดสายการบินของประเทศไทยซึ่งไม่มีผลกระทบ เนื่องจากปัจจุบัน ไม่มีสายการบินทำการบินไปยังสหรัฐอเมริกา แต่ต้องยอมรับว่า มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์การบินของประเทศเป็นอย่างมาก
ก่อนหน้านี้ ไทยเคยถูกลดอันดับอยู่ในประเภท 2 ครั้งหนึ่งในปี 2539 แต่ถูกปรับขึ้นมาอยู่ในกลุ่ม 1 ในปี 2540 ทว่า การดำเนินการของไทยไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลจึงทำให้ต้องถูกลดอันดับกลับไปอยู่ในจุดเดิมอีกครั้ง
นี่เป็นวิกฤตครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นกับการบินของประเทศไทย หลังจากก่อนหน้านี้ในช่วงเดือนมิถุนายน 2558 องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ได้ปักธงแดงหน้าชื่อประเทศไทยบนเว็บไซต์ของ ICAO ในหมวดการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยด้านการบินมาแล้ว
ในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2558 ICAO ได้เข้ามาตรวจสอบมาตรฐานระบบการบินพลเรือนของไทย เพื่อให้ไทยซึ่งเป็น 1 ใน 191 ภาคีสมาชิกจากทั่วโลกมีระบบการบินที่เป็นมาตรฐานสากลตรงตามข้อกำหนดของไอซีเอโอ แต่เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าไทยไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานของ ICAOหลายเรื่อง ทั้งมาตรฐานของบุคลากรในกรมการบินพลเรือนซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลความปลอดภัยและตรวจสายการบินโดยตรง การให้ใบอนุญาตที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และมาตรฐานของสายการบินแบบเช่าเหมาลำ จึงส่งผลให้ไทยถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลงมาที่ระดับบี และมีคำสั่งให้เสนอแผนแก้ไขปัญหาให้ได้ภายใน 90 วัน
ณ ขณะนั้น ผลที่เกิดขึ้นในฉับพลันทันทีก็คือ การที่ประเทศญี่ปุ่นไม่อนุญาตให้เที่ยวบินบางเที่ยวเข้าประเทศจนเป็นปัญหากับทัวร์ในไทยในช่วงนั้นมากมาย
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการแจ้งเตือนและมีการแก้ปัญหา แต่สุดท้ายก็ไม่ประสบความสำเร็จ โดยในเดือนมิถุนายน 2558 ICAO ก็มีคำสั่งติดธงแดงให้ประเทศไทยอย่างเป็นทางการ หลังจากแผนการแก้ไขปัญหาที่ทางไทยส่งให้ไอซีเอโอนั้นไม่ผ่านการอนุมัติ และแสดงให้เห็นถึงความบกพร่องในมาตรฐานการบินของไทยต่อสายตาของชาวโลกอย่างชัดเจน
ประเทศที่ถูกติดธงแดงพร้อมไทยประกอบไปด้วยอุรุกวัย, แองโกล่า, บอสวานา, จิบูตี, เอริเทรีย, จอร์เจีย, ไฮติ, คาซัคสถาน, เลบานอน, มาลาวี, เนปาล, และเซียร่าลีโอน
และต้องขีดเส้นใต้ว่า ไทยเป็นชาติเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ถูก ICAO ติดธงแดง
กล่าวสำหรับวิบากกรรมครั้งล่าสุดของการบินประเทศไทยนั้น ในเบื้องต้นมีการวิเคราะห์ว่า ไม่ส่งผลกับธุรกิจการบินเท่านั้น โดย บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุชัดเจนว่า ไม่กระทบกับ บมจ.เอเชีย เอวิเอชั่น (AAV), บมจ.สายการบินนกแอร์ (NOK), บมจ.การบินกรุงเทพ (BA) ซึ่งบริการเฉพาะเส้นทางระยะสั้น-กลาง และไม่มีการบินเข้าสหรัฐฯ และไม่กระทบ บมจ.การบินไทย (THAI) ซึ่งยกเลิกการบินตรงไปยังสหรัฐฯทั้งหมดแล้ว แต่จะมีความเสี่ยงหากสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหภาพยุโรป หรือ EASA ลดเกรดตาม ซึ่งจะประกาศผลในวันที่ 10 ธ.ค. เพราะมีรายได้จากเส้นทางยุโรปเกือบ 20% ในกลุ่มสายการบิน
เป็นความเห็นที่เหมือนกับนายประกิต สิริวัฒนเกตุ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย ที่เห็นว่า ถ้าหาก EASA ตัดสินตาม FAA จะเกิดผลกระทบอย่างรุนแรง เพราะไทยมีเส้นทางการบินไปยุโรปจำนวนมาก ซึ่งนั้นหมายความว่าจะกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย โดยเฉพาะหุ้นสายการบิน
ขณะที่นายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเชีย ให้ความเห็นว่า สิ่งสำคัญที่สุดคือผลกระทบต่อการท่องเที่ยวซึ่งถือเป็นรายได้หลักของประเทศขณะนี้ ทั้งปีหน้าและปีถัดไป พร้อมเรียกร้องให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ลงมาแก้ไขด้วยตัวเอง
“นายกฯคนเดียวเท่านั้นที่ต้องเข้ามาแก้ไขเรื่องนี้จริงจัง โดยเฉพาะการปลดล็อกธงแดงจากไอเคโอ ขอเสนอให้นายกฯเรียกประชุมร่วมกับผู้ประกอบการสายการบินเพื่อจะได้รับทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่แท้จริง การแก้ไขปัญหาด้านการบินในของไทยยังขาดผู้มีอำนาจในการตัดสินใจได้อย่างเด็ดขาด แม้จะตั้งศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน (ศบปพ.) ที่มีพล.อ.อ. ตรีทศ สนแจ้ง ผบ.ทอ. เป็นประธาน แต่ไม่ได้มีอำนาจเต็มอย่างแท้จริง เพราะอำนาจความรับผิดชอบโดยตรงอยู่ที่กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานด้านการบิน”ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทยแอร์เอเชียสรุปทิ้งท้าย
งานนี้ทำเอา “เฮียกวง-ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจหัวเสียไม่น้อย ไม่เช่นนั้นคงไม่ให้สัมภาษณ์ว่า “วันนี้จะมาทำงานแบบเรื่อยๆ ธรรมดาเหมือนเดิมไม่ได้ เพราะผลที่ออกมาส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศพอสมควร ทุกคนต้องทำงานแข่งกับเวลา เพื่อให้ทุกอย่างกลับคืนมาเหมือนเดิม จากนี้จะพลาดซ้ำอีกไม่ได้ ปัญหานี้ผมมองว่า เป็นเรื่องของขั้นตอนการทำงาน เรื่องคนทำงาน ไม่ใช่เรื่องโครงสร้างองค์กร”
คนที่หนาวๆ ร้อนๆ เห็นจะหนีไม่พ้น นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งรับผิดชอบเต็มๆ รวมทั้ง “นายจุฬา สุขมานพ” อธิบดีกรมท่าอากาศยาน(ทย.) และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย(กพท.)
ดังนั้น คงต้องติดตามว่า รัฐบาลจะมีมาตรการแก้ไขปัญหาวิกฤตการบินของประเทศที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าได้อย่างไร เพราะเวลากระชั้นเข้ามาทุกทีแล้ว
ทั้งนี้ ระบุเหตุผลว่า มาตรฐานปัจจุบันของไทยยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศหรือ ICAO โดย FAA พร้อมที่จะร่วมในการแก้ไขข้อบกพร่องให้เป็นไปตามมาตรฐาน ICAO
ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ทำให้สายการบินที่จดทะเบียนโดยสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยไม่สามารถเพิ่มเที่ยวบินหรือเพิ่มจุดบินใหม่ในสหรัฐอเมริกาได้
แถลงการณ์ระบุว่า เจ้าหน้าที่การบินของสหรัฐฯ และไทยมีความร่วมมือระหว่างกันมาอย่างยาวนาน ทั้งสองฝ่ายได้ทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องเพื่อจัดการกับสิ่งที่ท้าทายที่ส่งผลกระทบกับความปลอดภัยทางการบิน ทั้งนี้การถูกลดลำดับอยู่ในประเภท 2 หมายความว่า ประเทศนั้นๆ บกพร่องในแง่ของกฎหมายหรือกฎระเบียบที่จำเป็นในการควบคุมตรวจสอบว่า เครื่องบินเป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ำของนานาชาติหรือมาตรฐานของหน่วยงานการบินด้านความปลอดภัยหรือไม่ รวมทั้งขาดความพร้อมในด้านหนึ่งด้านใดหรือมากกว่า อาทิ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกอบรม กระบวนการเก็บข้อมูลและกระบวนการตรวจสอบ
จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า FAA ได้เข้ามาติดตามการแก้ไขปัญหาของไทยเมื่อวันที่ 26-28 ต.ค.58 ติดตามการแก้ไขข้อบกพร่องใน 35 ข้อที่ FAA ท้วงติง ซึ่งมีส่วนหนึ่งที่เป็นข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (Significant Safety Concerns :SSC) ของ ICAO ซึ่งอยู่ระหว่างการแก้ไข โดยเฉพาะกระบวนการในการทบทวนการออกใบรับรองการเดินอากาศหรือAOC ใหม่ (Re-certification) จะดำเนินการตรวจสอบสายการบินต่างๆของไทยได้แล้วเสร็จในเดือนส.ค. 2559 ดังนั้นหากยังปลดล็อค SSC ไม่เสร็จ คงกระทบกับการประเมินของ FAA ซึ่งแม้จะมีการลดเกรดสายการบินของประเทศไทยซึ่งไม่มีผลกระทบ เนื่องจากปัจจุบัน ไม่มีสายการบินทำการบินไปยังสหรัฐอเมริกา แต่ต้องยอมรับว่า มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์การบินของประเทศเป็นอย่างมาก
ก่อนหน้านี้ ไทยเคยถูกลดอันดับอยู่ในประเภท 2 ครั้งหนึ่งในปี 2539 แต่ถูกปรับขึ้นมาอยู่ในกลุ่ม 1 ในปี 2540 ทว่า การดำเนินการของไทยไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลจึงทำให้ต้องถูกลดอันดับกลับไปอยู่ในจุดเดิมอีกครั้ง
นี่เป็นวิกฤตครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นกับการบินของประเทศไทย หลังจากก่อนหน้านี้ในช่วงเดือนมิถุนายน 2558 องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ได้ปักธงแดงหน้าชื่อประเทศไทยบนเว็บไซต์ของ ICAO ในหมวดการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยด้านการบินมาแล้ว
ในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2558 ICAO ได้เข้ามาตรวจสอบมาตรฐานระบบการบินพลเรือนของไทย เพื่อให้ไทยซึ่งเป็น 1 ใน 191 ภาคีสมาชิกจากทั่วโลกมีระบบการบินที่เป็นมาตรฐานสากลตรงตามข้อกำหนดของไอซีเอโอ แต่เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าไทยไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานของ ICAOหลายเรื่อง ทั้งมาตรฐานของบุคลากรในกรมการบินพลเรือนซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลความปลอดภัยและตรวจสายการบินโดยตรง การให้ใบอนุญาตที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และมาตรฐานของสายการบินแบบเช่าเหมาลำ จึงส่งผลให้ไทยถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลงมาที่ระดับบี และมีคำสั่งให้เสนอแผนแก้ไขปัญหาให้ได้ภายใน 90 วัน
ณ ขณะนั้น ผลที่เกิดขึ้นในฉับพลันทันทีก็คือ การที่ประเทศญี่ปุ่นไม่อนุญาตให้เที่ยวบินบางเที่ยวเข้าประเทศจนเป็นปัญหากับทัวร์ในไทยในช่วงนั้นมากมาย
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการแจ้งเตือนและมีการแก้ปัญหา แต่สุดท้ายก็ไม่ประสบความสำเร็จ โดยในเดือนมิถุนายน 2558 ICAO ก็มีคำสั่งติดธงแดงให้ประเทศไทยอย่างเป็นทางการ หลังจากแผนการแก้ไขปัญหาที่ทางไทยส่งให้ไอซีเอโอนั้นไม่ผ่านการอนุมัติ และแสดงให้เห็นถึงความบกพร่องในมาตรฐานการบินของไทยต่อสายตาของชาวโลกอย่างชัดเจน
ประเทศที่ถูกติดธงแดงพร้อมไทยประกอบไปด้วยอุรุกวัย, แองโกล่า, บอสวานา, จิบูตี, เอริเทรีย, จอร์เจีย, ไฮติ, คาซัคสถาน, เลบานอน, มาลาวี, เนปาล, และเซียร่าลีโอน
และต้องขีดเส้นใต้ว่า ไทยเป็นชาติเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ถูก ICAO ติดธงแดง
กล่าวสำหรับวิบากกรรมครั้งล่าสุดของการบินประเทศไทยนั้น ในเบื้องต้นมีการวิเคราะห์ว่า ไม่ส่งผลกับธุรกิจการบินเท่านั้น โดย บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุชัดเจนว่า ไม่กระทบกับ บมจ.เอเชีย เอวิเอชั่น (AAV), บมจ.สายการบินนกแอร์ (NOK), บมจ.การบินกรุงเทพ (BA) ซึ่งบริการเฉพาะเส้นทางระยะสั้น-กลาง และไม่มีการบินเข้าสหรัฐฯ และไม่กระทบ บมจ.การบินไทย (THAI) ซึ่งยกเลิกการบินตรงไปยังสหรัฐฯทั้งหมดแล้ว แต่จะมีความเสี่ยงหากสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหภาพยุโรป หรือ EASA ลดเกรดตาม ซึ่งจะประกาศผลในวันที่ 10 ธ.ค. เพราะมีรายได้จากเส้นทางยุโรปเกือบ 20% ในกลุ่มสายการบิน
เป็นความเห็นที่เหมือนกับนายประกิต สิริวัฒนเกตุ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย ที่เห็นว่า ถ้าหาก EASA ตัดสินตาม FAA จะเกิดผลกระทบอย่างรุนแรง เพราะไทยมีเส้นทางการบินไปยุโรปจำนวนมาก ซึ่งนั้นหมายความว่าจะกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย โดยเฉพาะหุ้นสายการบิน
ขณะที่นายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเชีย ให้ความเห็นว่า สิ่งสำคัญที่สุดคือผลกระทบต่อการท่องเที่ยวซึ่งถือเป็นรายได้หลักของประเทศขณะนี้ ทั้งปีหน้าและปีถัดไป พร้อมเรียกร้องให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ลงมาแก้ไขด้วยตัวเอง
“นายกฯคนเดียวเท่านั้นที่ต้องเข้ามาแก้ไขเรื่องนี้จริงจัง โดยเฉพาะการปลดล็อกธงแดงจากไอเคโอ ขอเสนอให้นายกฯเรียกประชุมร่วมกับผู้ประกอบการสายการบินเพื่อจะได้รับทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่แท้จริง การแก้ไขปัญหาด้านการบินในของไทยยังขาดผู้มีอำนาจในการตัดสินใจได้อย่างเด็ดขาด แม้จะตั้งศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน (ศบปพ.) ที่มีพล.อ.อ. ตรีทศ สนแจ้ง ผบ.ทอ. เป็นประธาน แต่ไม่ได้มีอำนาจเต็มอย่างแท้จริง เพราะอำนาจความรับผิดชอบโดยตรงอยู่ที่กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานด้านการบิน”ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทยแอร์เอเชียสรุปทิ้งท้าย
งานนี้ทำเอา “เฮียกวง-ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจหัวเสียไม่น้อย ไม่เช่นนั้นคงไม่ให้สัมภาษณ์ว่า “วันนี้จะมาทำงานแบบเรื่อยๆ ธรรมดาเหมือนเดิมไม่ได้ เพราะผลที่ออกมาส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศพอสมควร ทุกคนต้องทำงานแข่งกับเวลา เพื่อให้ทุกอย่างกลับคืนมาเหมือนเดิม จากนี้จะพลาดซ้ำอีกไม่ได้ ปัญหานี้ผมมองว่า เป็นเรื่องของขั้นตอนการทำงาน เรื่องคนทำงาน ไม่ใช่เรื่องโครงสร้างองค์กร”
คนที่หนาวๆ ร้อนๆ เห็นจะหนีไม่พ้น นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งรับผิดชอบเต็มๆ รวมทั้ง “นายจุฬา สุขมานพ” อธิบดีกรมท่าอากาศยาน(ทย.) และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย(กพท.)
ดังนั้น คงต้องติดตามว่า รัฐบาลจะมีมาตรการแก้ไขปัญหาวิกฤตการบินของประเทศที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าได้อย่างไร เพราะเวลากระชั้นเข้ามาทุกทีแล้ว