xs
xsm
sm
md
lg

นักวิเคราะห์ฯ ชี้ ไทยถูกดาวน์เกรดมาตรฐานการบิน เป็นปัจจัยกดดันในระยะสั้น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


นักวิเคราะห์ฯ บล.กสิกรฯ มองความกังวล FAA ดาวน์เกรดมาตรฐานการบินของไทย เป็นปัจจัยกดดันระยะสั้น โดยยังคงคำแนะนำ “น้ำหนักการลงทุนเท่าตลาด”

นายประกิต สิริวัฒนเกตุ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กสิกรไทย (KS) มองผลกระทบจากการที่สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ (FAA) ของกระทรวงคมนาคมสหรัฐฯ ประกาศลดระดับกลุ่มการบินของไทยจากประเภท 1 เป็นประเภท 2 หลังการเข้าประเมินของกรมการบินพลเรือนของประเทศไทยว่ากลุ่มการบินของไทยนั้น ไม่ได้ตามมาตรฐานความปลอดภัยของกรมการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) โดยระบุว่า จะไม่มีผลกระทบมากนักต่อสายการบินของไทย

ทั้งนี้ เนื่องจากไม่มีสายการบินของไทยบินไปยังสหรัฐฯ ในปัจจุบัน แต่จากข่าวที่ออกมาจะกดดันหุ้นสายการบินของไทยในระยะสั้นเนื่องจากสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหภาพยุโรป (EASA) ที่จะทำการตัดสินกลุ่ม การบินของไทยเช่นกันในวันที่ 10 ธ.ค. 2558 โดยมากแล้ว จะตัดสินตาม FAA

ในกรณี EASA ปรับลดระดับของประเทศไทยด้วย ผลกระทบต่อสายการบินของไทยที่เกิดขึ้นนั้นจะรุนแรงกว่าการปรับลดของ FAA เนื่องจากเส้นทางบินยุโรปคิดเป็น 30% และ 20% ของรายได้รวมของ THAI และ BA ตามลำดับ แม้ทั้งสองบริษัทจะได้ชี้ให้เห็นว่าได้ปฏิบัติตามมาตรฐาน IOSA (ซึ่งจะทำให้มีโอกาสน้อยลงที่จะถูกห้ามบินเข้าประเทศ) และมีแผนสำรองที่จะเปลี่ยนจากสัญญาเที่ยวบินร่วม (Code Share) เป็นสัญญาการส่งต่อผู้โดยสาร (Interline) ทั้งนี้ หาก EASA ปรับลดระดับประเทศไทยลง ภาพรวมที่ไม่แน่นอนน่าจะยังกดดันราคาหุ้น ของบริษัทในระยะสั้น

การถูกจัดระดับในประเภท 2 หมายความว่าประเทศไทยไม่มีกฎระเบียบที่จำเป็นในการกำกับดูแลสายการบินตามมาตรฐานการบินสากลขั้นต่ำ หรือกรมการบินพลเรือนบกพร่องในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือมากกว่า เช่น ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค, บุคลากรที่ได้รับการฝึกฝน, การเก็บประวัติ หรือกระบวนการตรวจสอบ จะส่งผลให้สายการบินของไทยยังคงให้บริการที่มีอยู่ในสหรัฐอเมริกาได้อย่างต่อเนื่อง แต่ไม่สามารถได้รับอนุญาตให้เพิ่มบริการใหม่ในสหรัฐอเมริกาได้

แม้จะคาดว่าผลกระทบจะจำกัดต่อ THAI, BA และ AAV แต่ความกังวลต่อภาพรวมอุตสาหกรรมก็น่าจะกดดันมูลค่าของสายการบินไทยทั้งหมด บล.กสิกรไทยคงคำแนะนำ “น้ำหนักการลงทุนเท่าตลาด”
กำลังโหลดความคิดเห็น