ผู้จัดการรายวัน360 - ครม.เห็นชอบกรอบการลงนามความร่วมมือรถไฟไทย-จีน "อาคม"เผยเตรียมพิธีเปิดตัวศูนย์สั่งการการเดินรถ (OCC) ที่เชียงรากน้อย 19 ธ.ค.นี้ คงเป้าเริ่มก่อสร้างพ.ค.59 ครม.ยังรับทราบผลแก้ปัญหาการบิน "เอียซ่า-ICAO" นายกฯ สั่ง ตั้งกองทุน โครงสร้างพื้นฐาน
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (17 พ.ย.) มีมติเห็นชอบการลงนามกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ หรือกรอบการทำงานร่วมกัน โครงการความร่วมมือระหว่างไทย-จีน เพื่อก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร
(Standard Gauge) เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทาง 873 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 4 แสนล้านบาท เริ่มก่อสร้างเดือนพ.ค. 2559
โดยวันที่ 19 ธ.ค.นี้ ทั้งสองฝ่ายจะร่วมทำพิธีเปิดตัวโครงการ ศูนย์สั่งการการเดินรถ (OCC) ที่สถานีเชียงรากน้อย จ.ปทุมธานี เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้เห็นภาพรวมของโครงการทั้งหมด ซึ่งฝ่ายจีนจะส่ง 2 หน่วยงานมารับผิดชอบการก่อสร้าง ประกอบด้วย 1.บริษัท ไชน่าเรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น จำกัด (CRCC) รับผิดชอบการก่อสร้างช่วงที่ 1-2 และ 2.บริษัท ไชน่าเรลเวย์ เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (CREC) รับผิดชอบช่วงที่ 3-4
สำหรับ สาระสำคัญใน Framework Of Operationแบ่งเป็น 5 ข้อหลัก คือ1.ก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน แบ่งเป็น 4 ช่วง โดยช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กิโลเมตร ช่วงที่ 2 แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 246.5 กิโลเมตร ช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 138.5 กิโลเมตร และช่วงที่ 4 นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กิโลเมตร ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างช่วงที่ 1 และ 3 ก่อน
2.จัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle : SPV) ระหว่างไทย-จีน ซึ่งฝ่ายไทยเบื้องต้นให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นหน่วยงานที่ร่วมทุนอยู่ใน SPV โดยช่วง 3 ปีแรกของการเปิดให้บริการฝ่ายจีนจะเป็นผู้รับผิดชอบงานเดินรถและซ่อมบำรุง ปีที่ 4-7 ฝ่ายไทยจะเข้าร่วมรับผิดชอบด้วยและตั้งแต่ปีที่ 7 เป็นต้นไปต้องถ่ายโอนงานดังกล่าวมายังฝ่ายไทย
3. การทำงานจะแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยฝ่ายจีนเป็นผู้รับผิดชอบการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ การศึกษาทางเศรษฐกิจ สำรวจและออกแบบ และงานก่อสร้างที่ต้องใช้เทคนิคขั้นสูง ขณะที่ฝ่ายไทยรับผิดชอบงานก่อสร้างพื้นราบ การศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และการเวนคืนที่ดิน
4.ยอมรับในหลักการว่าธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของจีน (CEXIM) จะพิจารณาอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับไทยในเงื่อนไขที่ดีที่สุดหากเปรียบเทียบกับแหล่งเงินอื่น และ 5. พัฒนาบุคลากรร่วมกันเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี
นอกจากนี้ที่ประชุมครม.ได้รับทราบรายงานความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการกำกับดูแลความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป (EASA) โดยเห็นชอบให้ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกัย EASA ภายใต้วงเงินดำเนินการไม่เกิน 100 ล้านบาท
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้สั่งการให้เร่งรัดจัดตั้งกองทุนเพื่อการลงทุน โครงสร้างพื้นฐาน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาล ซึ่งเราไม่ได้ต้องการผลประโยชน์อะไรทั้งสิ้น แต่ตรงนี้ต้องมีผลประโยชน์ตอบแทนให้ผู้ร่วมลงทุนที่เหมาะสม มิเช่นนั้นเขาก็จะไม่ร่วมลงทุน นอกจากนี้อาจจะต้องมีกองทุนสื่อสาร กองทุนสาธารณสุข หรือกองทุนอื่นๆ กองทุนนี้เป็นการลงทุนคู่ขนานกันไป
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (17 พ.ย.) มีมติเห็นชอบการลงนามกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ หรือกรอบการทำงานร่วมกัน โครงการความร่วมมือระหว่างไทย-จีน เพื่อก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร
(Standard Gauge) เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทาง 873 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 4 แสนล้านบาท เริ่มก่อสร้างเดือนพ.ค. 2559
โดยวันที่ 19 ธ.ค.นี้ ทั้งสองฝ่ายจะร่วมทำพิธีเปิดตัวโครงการ ศูนย์สั่งการการเดินรถ (OCC) ที่สถานีเชียงรากน้อย จ.ปทุมธานี เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้เห็นภาพรวมของโครงการทั้งหมด ซึ่งฝ่ายจีนจะส่ง 2 หน่วยงานมารับผิดชอบการก่อสร้าง ประกอบด้วย 1.บริษัท ไชน่าเรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น จำกัด (CRCC) รับผิดชอบการก่อสร้างช่วงที่ 1-2 และ 2.บริษัท ไชน่าเรลเวย์ เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (CREC) รับผิดชอบช่วงที่ 3-4
สำหรับ สาระสำคัญใน Framework Of Operationแบ่งเป็น 5 ข้อหลัก คือ1.ก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน แบ่งเป็น 4 ช่วง โดยช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กิโลเมตร ช่วงที่ 2 แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 246.5 กิโลเมตร ช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 138.5 กิโลเมตร และช่วงที่ 4 นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กิโลเมตร ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างช่วงที่ 1 และ 3 ก่อน
2.จัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle : SPV) ระหว่างไทย-จีน ซึ่งฝ่ายไทยเบื้องต้นให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นหน่วยงานที่ร่วมทุนอยู่ใน SPV โดยช่วง 3 ปีแรกของการเปิดให้บริการฝ่ายจีนจะเป็นผู้รับผิดชอบงานเดินรถและซ่อมบำรุง ปีที่ 4-7 ฝ่ายไทยจะเข้าร่วมรับผิดชอบด้วยและตั้งแต่ปีที่ 7 เป็นต้นไปต้องถ่ายโอนงานดังกล่าวมายังฝ่ายไทย
3. การทำงานจะแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยฝ่ายจีนเป็นผู้รับผิดชอบการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ การศึกษาทางเศรษฐกิจ สำรวจและออกแบบ และงานก่อสร้างที่ต้องใช้เทคนิคขั้นสูง ขณะที่ฝ่ายไทยรับผิดชอบงานก่อสร้างพื้นราบ การศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และการเวนคืนที่ดิน
4.ยอมรับในหลักการว่าธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของจีน (CEXIM) จะพิจารณาอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับไทยในเงื่อนไขที่ดีที่สุดหากเปรียบเทียบกับแหล่งเงินอื่น และ 5. พัฒนาบุคลากรร่วมกันเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี
นอกจากนี้ที่ประชุมครม.ได้รับทราบรายงานความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการกำกับดูแลความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป (EASA) โดยเห็นชอบให้ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกัย EASA ภายใต้วงเงินดำเนินการไม่เกิน 100 ล้านบาท
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้สั่งการให้เร่งรัดจัดตั้งกองทุนเพื่อการลงทุน โครงสร้างพื้นฐาน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาล ซึ่งเราไม่ได้ต้องการผลประโยชน์อะไรทั้งสิ้น แต่ตรงนี้ต้องมีผลประโยชน์ตอบแทนให้ผู้ร่วมลงทุนที่เหมาะสม มิเช่นนั้นเขาก็จะไม่ร่วมลงทุน นอกจากนี้อาจจะต้องมีกองทุนสื่อสาร กองทุนสาธารณสุข หรือกองทุนอื่นๆ กองทุนนี้เป็นการลงทุนคู่ขนานกันไป