วานนี้ (3ธ.ค.) นายสิระ เจนจาคะ อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ด้านสังคม และ ประธานเครือข่ายชาวบ้านริมคลอง กล่าวถึงกรณีที่ประชาชนในพื้นที่ ได้รับผลกระทบจากโครงการสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมของกทม. กว่า 40 ชุมชน ยืนยันพร้อมที่จะคืนคลองให้แก่ส่วนร่วม โดยการรื้อบ้านออกจากคลอง แล้วสร้างบ้านใหม่ตามโครงการบ้านมั่นคงของรัฐบาล แต่ยังไม่ชี้ชัดเรื่องแนวคลอง และการเช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์ จนทำให้มีผู้ออกมาคัดค้านจำนวนมาก ว่า ตนรู้สึกเห็นใจชาวบ้านที่ไม่ได้มีรายได้มากมายนัก แต่กลับต้องมาเผชิญปัญหาจากการทุจริตคอร์รัปชัน ของภาครัฐ โดยขณะนี้รัฐบาลได้มอบหมายให้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. รับผิดชอบเรื่องที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับชาวบ้านตามโครงการบ้านมั่นคง ซึ่งกรมธนารักษ์ ยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องแนวเขื่อนที่จะสร้าง ว่าจะมีความกว้างกี่เมตร โดยถือว่าในขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน พวกชวบ้านที่เห็นว่าโครงการดังกล่าวมีเงื่อนงำซ่อนอยู่มาก จึงต้องไปคัดค้านกับทางสำนักงานเขต แต่กลับมีการตอกเสาเข็มเพื่อที่จะก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง
นายสิระ กล่าวว่า ตนเชื่อว่าโครงการดังกล่าวมีเรื่องของผลประโยชน์ส่วนบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นคือ ความพยายามไล่รื้อบ้านเรือนทุกหลังให้ออกไปให้หมด แล้วค่อยกู้เงินสร้างกันขึ้นมาใหม่ โดยใช้เงินกู้หลังละ 1.5 แสนบาท โดยใช้แบบที่ทางราชการกำหนด ทั้งๆ ที่บ้านบางหลังเขาสร้างอาศัยในราคา 4-5 แสนบาท ซึ่งมั่นคงดีอยู่แล้ว แต่ต้องมาถูกสั่งให้รื้อถอน แล้วกลับไปกู้เงิน 1.5 แสนบาท มาสร้างขึ้นใหม่ ให้ไปเป็นหนี้ใหม่ ชาวบ้านจึงได้รับผลกระทบในวงกว้าง ถ้าไม่เป็นหนี้ตามที่เจ้าหน้าที่แนะนำ ก็จะไม่มีที่อยู่ สิ่งเหล่านี้ถือว่าไม่เป็นธรรมสำหรับชาวบ้าน
"ความเดือดร้อนของชาวบ้านกว่า 1,000 คน ในขณะนี้ ผมขอเรียกร้องให้พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องลงมาช่วยเหลือ คลี่คลายปัญหาให้ชาวบ้าน และหากท่านนายกฯต้องการที่จะปฏิรูปประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคง ก็ต้องหาบุคคลที่มีความโปร่งใสในการทำงาน มาทำหน้าที่แทนนายพลากร วงศ์กองแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ทันที เพราะตอนนี้ชาวบ้านไม่เหลือความไว้ใจในบุคคลคนนี้แล้ว" นายสิระกล่าว
นายสิระ กล่าวด้วยว่า การจัดทำโครงการบ้านมั่นคงเป็นช่องทางการหากินของคณะกรรมการชุมชน มีการดำเนินการไม่โปร่งใส มีการบุกรุกพื้นที่ เพื่อสร้างบ้านริมคลอง ข้อเท็จจริงตรงนี้น่าจะเพียงพอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาการทำหน้าที่ของ นายพลากร ว่ามีความโปร่งใสจริงหรือไม่ เพราะเรื่องนี้ต้องมีผู้มีอำนาจลงมาตรวจสอบ ไม่เช่นนั้นตนเชื่อว่าจะมีชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนออกมาต่อต้านมากกว่านี้ และถึงเวลานั้นจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ของรัฐบาลได้
นายสิระ กล่าวว่า ตนเชื่อว่าโครงการดังกล่าวมีเรื่องของผลประโยชน์ส่วนบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นคือ ความพยายามไล่รื้อบ้านเรือนทุกหลังให้ออกไปให้หมด แล้วค่อยกู้เงินสร้างกันขึ้นมาใหม่ โดยใช้เงินกู้หลังละ 1.5 แสนบาท โดยใช้แบบที่ทางราชการกำหนด ทั้งๆ ที่บ้านบางหลังเขาสร้างอาศัยในราคา 4-5 แสนบาท ซึ่งมั่นคงดีอยู่แล้ว แต่ต้องมาถูกสั่งให้รื้อถอน แล้วกลับไปกู้เงิน 1.5 แสนบาท มาสร้างขึ้นใหม่ ให้ไปเป็นหนี้ใหม่ ชาวบ้านจึงได้รับผลกระทบในวงกว้าง ถ้าไม่เป็นหนี้ตามที่เจ้าหน้าที่แนะนำ ก็จะไม่มีที่อยู่ สิ่งเหล่านี้ถือว่าไม่เป็นธรรมสำหรับชาวบ้าน
"ความเดือดร้อนของชาวบ้านกว่า 1,000 คน ในขณะนี้ ผมขอเรียกร้องให้พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องลงมาช่วยเหลือ คลี่คลายปัญหาให้ชาวบ้าน และหากท่านนายกฯต้องการที่จะปฏิรูปประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคง ก็ต้องหาบุคคลที่มีความโปร่งใสในการทำงาน มาทำหน้าที่แทนนายพลากร วงศ์กองแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ทันที เพราะตอนนี้ชาวบ้านไม่เหลือความไว้ใจในบุคคลคนนี้แล้ว" นายสิระกล่าว
นายสิระ กล่าวด้วยว่า การจัดทำโครงการบ้านมั่นคงเป็นช่องทางการหากินของคณะกรรมการชุมชน มีการดำเนินการไม่โปร่งใส มีการบุกรุกพื้นที่ เพื่อสร้างบ้านริมคลอง ข้อเท็จจริงตรงนี้น่าจะเพียงพอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาการทำหน้าที่ของ นายพลากร ว่ามีความโปร่งใสจริงหรือไม่ เพราะเรื่องนี้ต้องมีผู้มีอำนาจลงมาตรวจสอบ ไม่เช่นนั้นตนเชื่อว่าจะมีชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนออกมาต่อต้านมากกว่านี้ และถึงเวลานั้นจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ของรัฐบาลได้