วานนี้ (30พ.ย.) ที่ห้องพิจารณา 908 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษา คดีหมายเลขดำ อ.3597/2557 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 5 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา หรือ คุณหญิงเป็ด อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และ นายคัมภีร์ สมใจ อดีตผอ.สำนักงานบริหาร และพัฒนาทรัพยากรบุคคล สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าทีโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 83
ตามฟ้องโจทก์ เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 57 บรรยายพฤติการณ์ความผิดจำเลยสรุปว่า ระหว่างวันที่1ส.ค.-31ต.ค. 46 จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันสมรู้ร่วมคิดปฏิบัติหน้าที่มิชอบ และทุจริตด้วยการให้ นายคัมภีร์ จำเลยที่ 2 ที่ได้รับแต่งตั้งเป็น รองประธานกรรมการและคณะอนุกรรมการดำเนินการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน พ.ศ.2546 ตามคำสั่งของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ที่ 102/46 ลงวันที่1 ส.ค.46 รวมทั้งทำเรื่องเสนอ คุณหญิงจารุวรรณ จำเลยที่1 เพื่ออนุมัติโครงการสัมมนาเรื่อง "สตง.ในความคิดเห็นของสมาชิกวุฒิสภา" วันที่ 31 ต.ค. 46 ที่โรงแรมซิตี้ ปาร์ค อ.เมืองฯ จ.น่าน ทั้งที่จำเลยทั้งสองทราบดีว่า วันดังกล่าวสตง. มีการจัดถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดพญาภู และ วัดพระธาตุช้างดำวรวิหาร อ.เมืองฯ จ.น่าน แต่จำเลยทั้งสองกลับจัดสัมมนาในช่วงวันดังกล่าว และให้บุคคลที่จะถวายผ้าพระกฐิน รวมทั้งวางแผนนำรายชื่อเจ้าหน้าที่สตง. ที่เข้าร่วมถวายผ้าพระกฐิน มีรายชื่อเป็นผู้เข้าร่วมสัมมนารวมอยู่ด้วยโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายการเดินทางและค่าที่พัก ในการถวายผ้าพระกฐิน อันเป็นการใช้จ่ายเงินงบประมาณโดยไม่มีสิทธิเบิกจ่ายโดยชอบด้วยกฎหมาย ในส่วนของการจัดสัมมนา ก็ไม่มีการจัดสัมมนาอย่างแท้จริง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการอำพรางนำเงินงบประมาณจำนวน 294,440 บาท มาเพื่อประโยชน์ของตนเองและผู้อื่นโดยทุจริต เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ
ต่อมาปี2547 นายพีรไสว รัตนเอกวาปี รองผู้ว่าฯ น่าน ได้มีหนังสือกล่าวโทษจำเลยทั้งสอง ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งทำการไต่สวน และแจ้งข้อกล่าวหา จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ศาลพิจารณาจากคำไต่สวนแล้ว คำให้การของรองอธิบดีกรมบัญชีกลางแล้ว เห็นว่า ความหมายของการสัมมนา ตามระเบียบข้อบังคับของกระทรวงการคลัง ในการเบิกจ่ายเงินของส่วนราชการ ระบุไว้ว่าการสัมมนาต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ วัน-เวลา สถานที่แน่นอนในการจัดสัมมนา, บุคลากรที่เข้าร่วม และต้องเป็นการระดมความเห็นหรือการแลกเปลี่ยนความเห็น เพื่อเพิ่มประสิทธิในการพัฒนางาน
แต่จากการคำให้การของพยาน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สตง.หลายปากในชั้นอนุฯไต่สวนของป.ป.ช. ที่เข้าร่วมสัมมนา ให้การสอดคล้องกันรับฟังได้ว่า ในช่วงของการสัมมนา ไม่ได้จัดที่โรงแรมซิตี้ปาร์ค และไม่มีหัวข้อการสัมมนา รวมทั้งไม่มีการแจกเอกสารประกอบการสัมมนา ขณะที่การมาบรรยายของส.ว.น่าน ขณะนั้นไม่ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตามหัวข้อที่จัดไว้ ซึ่งโต๊ะที่จัดไว้ก็เป็นโต๊ะกลมเก้าอี้หันหน้าเข้าหากัน มีลักษณะคล้ายโต๊ะจีน และระหว่างงานมีการรับประทานอาหาร ส่งเสียงดัง ไม่อาจจับใจความที่มีการบรรยายได้ ซึ่งข้อเท็จจริงก็พบว่าก่อนถึงวันจัดสัมมนา ในวันที่ 31 ต.ค. 46 ได้มีการเปลี่ยนสถานที่จัดสัมมนาไปเป็นที่ สโมสรสันติภาพ 2 ที่อยู่ในหมู่บ้านจัดสรร เป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นบนสำหรับผู้บริหาร ชั้นล่าง สำหรับผู้ร่วมสัมมนา โดยมีเพียงป้ายข้อความต้อนรับจำเลยที่ 1 แต่ไม่มีข้อความระบุหัวข้อหลักสูตร ซึ่งสอดคล้องกับคำให้การของเจ้าหน้าที่ โรงแรมซิติปาร์ค ที่ยืนยันว่า ก่อนถึงวันสัมมนา 3 วัน มีเจ้าหน้าที่สตง. แต่ไม่ทราบว่าเป็นใคร ได้โทรศัพท์มายกเลิกที่จัดงาน ขณะนั้นโรงแรมยังไม่ได้จัดเตรียมเรื่องอาหารและเครื่องดื่ม จึงได้คิดค่าใช้จ่ายเฉพาะป้ายที่ทำไว้แล้ว 300 บาท
ขณะที่ เดือนพ.ย.46 ก็พบว่า จำเลยที่ 2 ได้มีการเสนอโครงการสัมมนาลักษณะเดียวกันกับที่จัดไปแล้ว เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 46 จึงเชื่อได้ว่า จำเลยไม่ได้มีเจตนาจัดสัมมนาตั้งแต่ต้น แต่เกิดจากการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่จำเลยทั้งสองกลัวว่าจะมีผู้เข้าร่วมน้อย จึงได้จัดสัมมนาวันเดียวกัน ส่วนการที่ ส.ว.น่าน มาร่วมงานสัมมนา ก็เป็นการบรรยายพิเศษเพียงคนเดียว ไม่ใช่การระดมความเห็นตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริง และเวลาการสัมมนา ยังคลาดเคลื่อนจากที่ระบุไว้ในกำหนดการ จากเวลา 08.30-16.30 น. เป็นช่วงเวลา 15.45-19.00 น.
ส่วนที่จำเลยต่อสู้ว่า การเปลี่ยนสถานที่ เป็นการแก้ไขเฉพาะหน้า ซึ่งส.ว.น่าน เดินทางมาร่วมถวายกฐินล่าช้า และมีการแจกทุนการศึกษา โดยสถานที่ที่จัดเป็นความมีน้ำใจของส.ว.น่าน ช่วยจัดหา
ศาลเห็นว่า ในการเปลี่ยนแปลงสถานที่นั้น มีการแจ้งยกเลิกกับทางโรงแรมล่วงหน้าก่อนแล้ว 3 วัน และตามขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ และสถานที่การจัดสัมมนา ก็จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจ ดังนั้น จึงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองย่อมเล็งเห็นตั้งแต่ต้นว่า ไม่สามารถจัดงานถวายผ้าพระกฐิน ในวัน-เวลาเดียวกันได้ และจากคำให้การพยานบางปาก ทราบว่า ผู้ร่วมสัมมนาได้มีการจัดเตรียมชุดขาวไปร่วมงานถวายผ้ากฐินด้วย จึงเห็นได้ว่าการจัดสัมมนานั้นเป็นเท็จ เพราะมีวัตถุประสงค์ให้เดินทางไปร่วมงานถวายผ้ากฐินเป็นหลัก ทำให้ผู้ที่ร่วมงานกฐินบางส่วนที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเองได้สิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปร่วม เพราะมีชื่อเป็นผู้ร่วมงานสัมมนาด้วย ทั้งที่ไม่มีสิทธิเบิกจ่ายแต่ต้น ทำให้สตง.เสียหายเป็นเงิน 294,440 บาท การกระทำของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 จึงพิพากษาให้จำคุก คุณหญิงจารุวรรณ จำเลยที่ 1 และ นายคัมภีร์ จำเลยที่ 2 คนละ 2 ปี
ภายหลังฟังคำพิพากษา คุณหญิงจารุวรรณ และ นายคัมภีร์ ได้ยื่นสมุดบัญชีเงินฝากคนละ 2 แสน ขอปล่อยชั่วคราว ระหว่างอุทธรณ์คดี โดยคุณหญิงจารุวรรณ กล่าวว่า ตนได้ตั้งข้อสังเกตว่า ที่มีการมาร้องตนในคดีนี้ เพราะมีใครบางคนถูกสตง. เข้าไปตรวจสอบ จึงเป็นที่มาการร้องคดีนี้ เรื่องนี้ตนยังไม่อยากพูดมากในตอนนี้ ที่ผ่านมาตนหาเงินให้ประเทศเป็นแสนล้านบาท คิดว่าเงินแค่ 2 แสนกว่าบาท ตนจะโกงหรือไม่ ทั้งนี้ ได้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวเพื่อต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ ส่วนจะยื่นอุทธรณ์ต่อสู้คดีประเด็นไหนนั้น ขอปรึกษาทางทนายความ
ทั้งนี้ คุณหญิงจารุวรรณ ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ระหว่างสู้คดีในชั้นอุทธรณ์แล้วโดยใช้หลักทรัพย์มูลค่า 2 แสนบาท ในการประกันตัว
ตามฟ้องโจทก์ เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 57 บรรยายพฤติการณ์ความผิดจำเลยสรุปว่า ระหว่างวันที่1ส.ค.-31ต.ค. 46 จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันสมรู้ร่วมคิดปฏิบัติหน้าที่มิชอบ และทุจริตด้วยการให้ นายคัมภีร์ จำเลยที่ 2 ที่ได้รับแต่งตั้งเป็น รองประธานกรรมการและคณะอนุกรรมการดำเนินการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน พ.ศ.2546 ตามคำสั่งของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ที่ 102/46 ลงวันที่1 ส.ค.46 รวมทั้งทำเรื่องเสนอ คุณหญิงจารุวรรณ จำเลยที่1 เพื่ออนุมัติโครงการสัมมนาเรื่อง "สตง.ในความคิดเห็นของสมาชิกวุฒิสภา" วันที่ 31 ต.ค. 46 ที่โรงแรมซิตี้ ปาร์ค อ.เมืองฯ จ.น่าน ทั้งที่จำเลยทั้งสองทราบดีว่า วันดังกล่าวสตง. มีการจัดถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดพญาภู และ วัดพระธาตุช้างดำวรวิหาร อ.เมืองฯ จ.น่าน แต่จำเลยทั้งสองกลับจัดสัมมนาในช่วงวันดังกล่าว และให้บุคคลที่จะถวายผ้าพระกฐิน รวมทั้งวางแผนนำรายชื่อเจ้าหน้าที่สตง. ที่เข้าร่วมถวายผ้าพระกฐิน มีรายชื่อเป็นผู้เข้าร่วมสัมมนารวมอยู่ด้วยโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายการเดินทางและค่าที่พัก ในการถวายผ้าพระกฐิน อันเป็นการใช้จ่ายเงินงบประมาณโดยไม่มีสิทธิเบิกจ่ายโดยชอบด้วยกฎหมาย ในส่วนของการจัดสัมมนา ก็ไม่มีการจัดสัมมนาอย่างแท้จริง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการอำพรางนำเงินงบประมาณจำนวน 294,440 บาท มาเพื่อประโยชน์ของตนเองและผู้อื่นโดยทุจริต เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ
ต่อมาปี2547 นายพีรไสว รัตนเอกวาปี รองผู้ว่าฯ น่าน ได้มีหนังสือกล่าวโทษจำเลยทั้งสอง ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งทำการไต่สวน และแจ้งข้อกล่าวหา จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ศาลพิจารณาจากคำไต่สวนแล้ว คำให้การของรองอธิบดีกรมบัญชีกลางแล้ว เห็นว่า ความหมายของการสัมมนา ตามระเบียบข้อบังคับของกระทรวงการคลัง ในการเบิกจ่ายเงินของส่วนราชการ ระบุไว้ว่าการสัมมนาต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ วัน-เวลา สถานที่แน่นอนในการจัดสัมมนา, บุคลากรที่เข้าร่วม และต้องเป็นการระดมความเห็นหรือการแลกเปลี่ยนความเห็น เพื่อเพิ่มประสิทธิในการพัฒนางาน
แต่จากการคำให้การของพยาน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สตง.หลายปากในชั้นอนุฯไต่สวนของป.ป.ช. ที่เข้าร่วมสัมมนา ให้การสอดคล้องกันรับฟังได้ว่า ในช่วงของการสัมมนา ไม่ได้จัดที่โรงแรมซิตี้ปาร์ค และไม่มีหัวข้อการสัมมนา รวมทั้งไม่มีการแจกเอกสารประกอบการสัมมนา ขณะที่การมาบรรยายของส.ว.น่าน ขณะนั้นไม่ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตามหัวข้อที่จัดไว้ ซึ่งโต๊ะที่จัดไว้ก็เป็นโต๊ะกลมเก้าอี้หันหน้าเข้าหากัน มีลักษณะคล้ายโต๊ะจีน และระหว่างงานมีการรับประทานอาหาร ส่งเสียงดัง ไม่อาจจับใจความที่มีการบรรยายได้ ซึ่งข้อเท็จจริงก็พบว่าก่อนถึงวันจัดสัมมนา ในวันที่ 31 ต.ค. 46 ได้มีการเปลี่ยนสถานที่จัดสัมมนาไปเป็นที่ สโมสรสันติภาพ 2 ที่อยู่ในหมู่บ้านจัดสรร เป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นบนสำหรับผู้บริหาร ชั้นล่าง สำหรับผู้ร่วมสัมมนา โดยมีเพียงป้ายข้อความต้อนรับจำเลยที่ 1 แต่ไม่มีข้อความระบุหัวข้อหลักสูตร ซึ่งสอดคล้องกับคำให้การของเจ้าหน้าที่ โรงแรมซิติปาร์ค ที่ยืนยันว่า ก่อนถึงวันสัมมนา 3 วัน มีเจ้าหน้าที่สตง. แต่ไม่ทราบว่าเป็นใคร ได้โทรศัพท์มายกเลิกที่จัดงาน ขณะนั้นโรงแรมยังไม่ได้จัดเตรียมเรื่องอาหารและเครื่องดื่ม จึงได้คิดค่าใช้จ่ายเฉพาะป้ายที่ทำไว้แล้ว 300 บาท
ขณะที่ เดือนพ.ย.46 ก็พบว่า จำเลยที่ 2 ได้มีการเสนอโครงการสัมมนาลักษณะเดียวกันกับที่จัดไปแล้ว เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 46 จึงเชื่อได้ว่า จำเลยไม่ได้มีเจตนาจัดสัมมนาตั้งแต่ต้น แต่เกิดจากการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่จำเลยทั้งสองกลัวว่าจะมีผู้เข้าร่วมน้อย จึงได้จัดสัมมนาวันเดียวกัน ส่วนการที่ ส.ว.น่าน มาร่วมงานสัมมนา ก็เป็นการบรรยายพิเศษเพียงคนเดียว ไม่ใช่การระดมความเห็นตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริง และเวลาการสัมมนา ยังคลาดเคลื่อนจากที่ระบุไว้ในกำหนดการ จากเวลา 08.30-16.30 น. เป็นช่วงเวลา 15.45-19.00 น.
ส่วนที่จำเลยต่อสู้ว่า การเปลี่ยนสถานที่ เป็นการแก้ไขเฉพาะหน้า ซึ่งส.ว.น่าน เดินทางมาร่วมถวายกฐินล่าช้า และมีการแจกทุนการศึกษา โดยสถานที่ที่จัดเป็นความมีน้ำใจของส.ว.น่าน ช่วยจัดหา
ศาลเห็นว่า ในการเปลี่ยนแปลงสถานที่นั้น มีการแจ้งยกเลิกกับทางโรงแรมล่วงหน้าก่อนแล้ว 3 วัน และตามขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ และสถานที่การจัดสัมมนา ก็จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจ ดังนั้น จึงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองย่อมเล็งเห็นตั้งแต่ต้นว่า ไม่สามารถจัดงานถวายผ้าพระกฐิน ในวัน-เวลาเดียวกันได้ และจากคำให้การพยานบางปาก ทราบว่า ผู้ร่วมสัมมนาได้มีการจัดเตรียมชุดขาวไปร่วมงานถวายผ้ากฐินด้วย จึงเห็นได้ว่าการจัดสัมมนานั้นเป็นเท็จ เพราะมีวัตถุประสงค์ให้เดินทางไปร่วมงานถวายผ้ากฐินเป็นหลัก ทำให้ผู้ที่ร่วมงานกฐินบางส่วนที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเองได้สิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปร่วม เพราะมีชื่อเป็นผู้ร่วมงานสัมมนาด้วย ทั้งที่ไม่มีสิทธิเบิกจ่ายแต่ต้น ทำให้สตง.เสียหายเป็นเงิน 294,440 บาท การกระทำของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 จึงพิพากษาให้จำคุก คุณหญิงจารุวรรณ จำเลยที่ 1 และ นายคัมภีร์ จำเลยที่ 2 คนละ 2 ปี
ภายหลังฟังคำพิพากษา คุณหญิงจารุวรรณ และ นายคัมภีร์ ได้ยื่นสมุดบัญชีเงินฝากคนละ 2 แสน ขอปล่อยชั่วคราว ระหว่างอุทธรณ์คดี โดยคุณหญิงจารุวรรณ กล่าวว่า ตนได้ตั้งข้อสังเกตว่า ที่มีการมาร้องตนในคดีนี้ เพราะมีใครบางคนถูกสตง. เข้าไปตรวจสอบ จึงเป็นที่มาการร้องคดีนี้ เรื่องนี้ตนยังไม่อยากพูดมากในตอนนี้ ที่ผ่านมาตนหาเงินให้ประเทศเป็นแสนล้านบาท คิดว่าเงินแค่ 2 แสนกว่าบาท ตนจะโกงหรือไม่ ทั้งนี้ ได้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวเพื่อต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ ส่วนจะยื่นอุทธรณ์ต่อสู้คดีประเด็นไหนนั้น ขอปรึกษาทางทนายความ
ทั้งนี้ คุณหญิงจารุวรรณ ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ระหว่างสู้คดีในชั้นอุทธรณ์แล้วโดยใช้หลักทรัพย์มูลค่า 2 แสนบาท ในการประกันตัว