เมื่อวันที่ 22-23 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมมีโอกาสเดินทางไปดูงาน หรือทัศนศึกษากับบรรดาครูของโรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ถึงจังหวัดระยอง และจันทบุรี ในการเดินทางไปครั้งนี้มีเด็กชั้นอนุบาลและชั้นประถมหลายคนร่วมเดินทางไปกับพ่อแม่ด้วย เป้าหมายหนึ่งของเราได้แก่การเยี่ยมชมสวนของพันเอกแพทย์หญิงสุมล นาคเฉลิม ณ อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี หลังจากเสร็จการเยี่ยมชมสวนนั้นแล้ว คณะของเราเดินทางกลับผ่านจังหวัดสระแก้ว สำหรับผม การเยี่ยมชมให้ทั้งความรู้ ข้อคิดและความเพลิดเพลิน ยิ่งกว่านั้น ยังได้อะไรต่อมิอะไรจากการได้เห็นสิ่งอื่นที่มิใช่อยู่ในเป้าหมายของการเยี่ยมชมอีกด้วย
สวนของคุณหมอสุมลเกิดขึ้นบนพื้นที่แห้งแล้งจำนวน 30 ไร่ตรงริมทางระหว่างจันทบุรีและสระแก้ว คุณหมอพยายามแก้ความแห้งแล้งด้วยการขุดสระน้ำขนาดเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง จำนวนถึง 19 ลูกและปลูกพืชสารพัดอย่างรวมทั้งไม้ล้มลุกและไม้ยืนต้นเพื่อให้เกิดร่มเงา นอกจากนั้น คุณหมอยังเลี้ยงชันโรงไว้ในสวนอีกด้วย ผลปรากฏว่า หลังเวลาผ่านไปเพียงไม่กี่ปี พื้นที่ซึ่งครั้งหนึ่งแสนจะกันดารกลับมาร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่น้อยและพืชผักสารพัดชนิดที่ไม่มีสารเคมีปะปน แม้แต่ชันโรงซึ่งเป็นเสมือนผึ้งขนาดจิ๋วที่ไม่มีพิษแต่หนีเก่งมากก็ไม่หนีไปจากสวนของคุณหมอเพราะมีดอกไม้ที่ให้น้ำหวานไร้สารพิษสำหรับเป็นอาหารของมันอย่างเพียงพอ
สิ่งที่ผมสังเกตเห็นที่นั่นในช่วงเวลาสั้นๆ ที่เราหยุดพักการเยี่ยมชมคือ เด็กๆ สนใจในสิ่งต่างๆ รอบด้านไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ ผลไม้ ดอกไม้ กองทราย กองดิน หรือปลาตัวเล็กๆ ที่คุณหมอเลี้ยงไว้ในอ่างขนาดต่างๆ กัน เด็กๆ ลงเล่นทรายบ้าง เด็ดดอกไม้มาให้แม่บ้าง เก็บผลไม้บ้างและพยายามทำเบ็ดตกปลาในอ่างบ้าง พวกเขาสนุกสนานกันจนไม่มีใครสนใจเล่นกับเครื่องเล่นอิเล็กทรอนิกส์ที่มีติดมือไป สำหรับผม นั่นหมายความว่า ถ้าเด็กๆ มีโอกาสได้อยู่กับธรรมชาติจริงๆ ซึ่งประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตเป็นของเล่นมากมาย พวกเขาคงไม่สนใจที่จะจ้องอยู่หน้าจอชนิดต่างๆ วันละหลายต่อหลายชั่วโมง เรื่องนี้น่าจะชี้บ่งว่า การศึกษาที่เด็กได้จากหน้าจอเครื่องเล่นอิเล็กทรอนิกส์เทียบไม่ได้กับการศึกษาที่เกิดจากการได้อยู่กับธรรมชาติจริงๆ ประเด็นนี้มีการยืนยันจากผลของการวิจัยที่ได้ข้อสรุปอย่างแน่ชัดว่า การได้อยู่กับธรรมชาติเป็นปัจจัยสำคัญของการมีความสุขของคนทุกเพศทุกวัย
ตอนขากลับ เราแวะชมวัดถ้ำเขาฉกรรจ์ซึ่งเด็กๆ สนใจในลิงที่มีอยู่จำนวนมาก ลิงส่วนใหญ่กระจัดกระจายกันอยู่บนลานวัดแทนที่จะอยู่บนต้นไม้ใหญ่ๆ ที่มีอยู่ทั่ว ทั้งนี้คงเพราะนักท่องเที่ยวมักซื้ออาหารให้พวกมันกินโดยเฉพาะถั่วลิสงคั่วและกล้วยน้ำว้าสุก แต่เมื่อยามจำเป็นเช่นเมื่อถูกไล่ด้วยตัวที่ใหญ่กว่า พวกลิงจะวิ่งขึ้นต้นไม้และห้อยโหนไปตามกิ่งเล็กใหญ่ได้อย่างคล่องแคล่ว ความสามารถในการห้อยโหนโยนตัวไปตามกิ่งไม้ลิงได้มาตั้งแต่กำเนิดซึ่งต่างกับคนแม้ลิงและคนจะมีความเชื่อมโยงกันในด้านวิวัฒนาการของสายพันธุ์ก็ตาม หลังจบการชมวัดถ้ำเขาฉกรรจ์แล้ว ผมนั่งรถตู้ผ่านโรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม ผมได้ชมภาพคนซึ่งห้อยโหนคล้ายลิง มันเป็นภาพน่าเศร้า แต่ขอนำมาเล่าสู่กัน
ผมถ่ายภาพทั้งสองจากรถตู้ที่ผมโดยสารผ่านหน้าโรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม ขณะนั้นเป็นช่วงบ่ายซึ่งนักเรียนกำลังแยกย้ายกันกลับบ้าน นักเรียนจำนวนหนึ่งขับขี่มอเตอร์ไซค์ซึ่งมีเพื่อนซ้อนท้ายไปด้วย อีกส่วนหนึ่งโดยสารไปกับรถกระบะซึ่งถูกดัดแปลงให้เป็นรถโดยสาร ทุกคันมีนักเรียนนั่งกันอย่างแออัด นอกจากนั้น ยังมีห้อยท้ายไปอีกหลายคน
ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ บ่งชี้ว่า ภาพที่ผมเห็นมีให้ดูอยู่ทั่วเมืองไทย จึงทำให้เกิดคำถามตามมาว่าเพราะอะไรเด็กไทยจึงต้องเสี่ยงชีวิตถึงขนาดนั้น สำหรับผมคำถามนี้มีความกินใจสูงมากเนื่องจากเพียงสองวันก่อนการถ่ายภาพ มีเรื่องสลดใจเกิดขึ้นที่อำเภอบ้านนา นั่นคือ ในช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนผมเข้าประชุมกรรมการของมูลนิธินักอ่านบ้านนาที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอนั้น ผมได้รับข่าวการเสียชีวิตอย่างกะทันหันของนักเรียนชั้น ม. 2 คนหนึ่งซึ่งเป็นน้องชายของเด็กยากจนที่จะมารับทุนการศึกษาจากผม สาเหตุของการตายได้แก่การปะทะกันระหว่างมอเตอร์ไซค์ซึ่งเด็กคนนั้นยืมเพื่อนขับขี่ไปเอาของที่ตนลืมไว้ที่บ้านกับรถบรรทุกสิบล้อ
สาเหตุที่เด็กไทยต้องเสี่ยงชีวิตไปโรงเรียนถึงขนาดนั้นมีด้วยกันหลายอย่าง ในเบื้องแรก โรงเรียนนอกกรุงเทพฯ มักตั้งอยู่ห่างจากบ้านของนักเรียนซึ่งในสมัยนี้แทบไม่มีการเดินหรือปั่นจักรยานไปโรงเรียนกันอีกแล้ว ครอบครัวที่พอมีฐานะมักซื้อมอเตอร์ไซค์ให้ลูกขับขี่ไปเอง หรือไม่ก็ขับขี่รถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ไปส่ง อีกส่วนหนึ่งให้นั่งรถโดยสารไป หรือไม่ก็จ้างมอเตอร์ไซค์ให้รับส่งเป็นประจำ สำหรับโรงเรียนชั้นมัธยมซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในตัวเมือง หรือย่านชานเมือง เรื่องเดินทางดังกล่าวจึงพอเข้าใจได้ อย่างไรก็ดี สิ่งที่เข้าใจยากที่สุดคือ เพราะอะไรผู้ใหญ่ที่ขับขี่รถโดยสารและทางราชการจึงปล่อยให้เด็กเสี่ยงตายโดยห้อยโหนท้ายรถยนต์ไปเช่นนั้นทั้งที่ทุกคนควรจะรู้ดีว่าเด็กมิใช่ลิง
ปรากฏการณ์ที่น่าสลดใจกว่านั้นได้แก่เด็กเล็กๆ ในระดับอนุบาลและชั้นประถมต้องเดินทางไกลๆ เพื่อไปเรียนยังโรงเรียนที่พ่อแม่คิดว่าดีกว่าโรงเรียนที่มีอยู่ในชุมชนของตนเอง เด็กเล็กอาจจะไม่ต้องห้อยโหนไปดังที่เห็นในภาพ แต่ก็เสี่ยงต่ออันตรายและความเหนื่อยล้า อีกทั้งยังขาดเวลาของความเป็นเด็กอีกด้วย การเสี่ยงตายไปเรียนไกลๆ ของเด็กเล็กจะส่งผลเสียต่อการศึกษาโดยทั่วไปอย่างไรคงไม่ยากที่จะอนุมาน ความเหนื่อยล้าและการขาดเวลาเป็นเด็กย่อมไม่มีผลดีต่อเด็กแน่นอน ยิ่งกว่านั้น การออกไปเรียนนอกชุมชนตั้งแต่อายุยังน้อยจะส่งผลให้เด็กขาดความเข้าใจในชุมชนของตนเองและขาดความผูกพันกับชุมชนเมื่อตนโตขึ้น การขาดความเข้าใจและผูกพันกับชุมชนไม่น่าจะมีผลดีต่อประเทศชาติในระยะยาว
การที่พ่อแม่ส่งลูกไปเรียนนอกชุมชนยังผลให้เกิดวงจรอุบาทว์อย่างหนึ่งในวงการศึกษา นั่นคือ เมื่อโรงเรียนในชุมชนมีเด็กน้อย ทางราชการก็ส่งครูไปให้ไม่ครบชั้น เมื่อผู้ปกครองเห็นเช่นนั้นก็ยิ่งไม่ต้องการส่งลูกเข้าเรียนทำให้โรงเรียนชุมชนมีนักเรียนลดลงส่งผลให้ทางราชการลดครูลงอีกรอบ ทางด้านผู้นำในชุมชนเอง แทนที่จะหาทางหยุดยั้งวงจรอุบาทว์ดังกล่าว พวกเขามักกลับทำให้มันเลวร้ายยิ่งขึ้น นั่นคือ สนับสนุนให้เด็กออกไปเรียนนอกชุมชนเพราะพวกตนประกอบกิจการด้านการขนส่งนักเรียน
กระบวนการดังกล่าวนี้ในหลายๆ กรณีนำไปสู่การประเมินไม่ผ่านและการปิดโรงเรียนชุมชน เมื่อพูดถึงการประเมิน เราคงต่างได้ยินว่ามีปัญหามากมายจนถึงขนาดเกิดการเสนอให้ยุบองค์กรทางด้านนี้ ผมไม่มีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกระบวนการประเมินมากนักนอกจากได้สังเกตความแปลกประหลาดของการประเมินเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนชั้นประถมที่ผมมีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งที่โรงเรียนแห่งนั้นมีสวนครัวอินทรีย์ขนาดใหญ่ซึ่งปลูกข่า ตะไคร้ สมุนไพรและพืชผักหลากหลายชนิด ผู้ประเมินบอกว่าใช้ไม่ได้ โรงเรียนต้องนำท่อปูนมาใส่ดินปลูกสมุนไพรจำพวกตะไคร้ตั้งไว้หน้าอาคารเรียนจึงผ่านการประเมิน การประเมินเช่นนั้นแสดงถึงความด้อยปัญญาซึ่งทำให้เสียทั้งเวลาและงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์
ผมมองว่า เมื่อชุมชนไม่มีโรงเรียนในชุมชนและเยาวชนต้องห้อยโหนรถยนต์ไปเรียนในสถานที่ห่างไกล การศึกษาของไทยย่อมตกอยู่ในสภาพฝึกฝนให้คนเป็นลิง
สวนของคุณหมอสุมลเกิดขึ้นบนพื้นที่แห้งแล้งจำนวน 30 ไร่ตรงริมทางระหว่างจันทบุรีและสระแก้ว คุณหมอพยายามแก้ความแห้งแล้งด้วยการขุดสระน้ำขนาดเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง จำนวนถึง 19 ลูกและปลูกพืชสารพัดอย่างรวมทั้งไม้ล้มลุกและไม้ยืนต้นเพื่อให้เกิดร่มเงา นอกจากนั้น คุณหมอยังเลี้ยงชันโรงไว้ในสวนอีกด้วย ผลปรากฏว่า หลังเวลาผ่านไปเพียงไม่กี่ปี พื้นที่ซึ่งครั้งหนึ่งแสนจะกันดารกลับมาร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่น้อยและพืชผักสารพัดชนิดที่ไม่มีสารเคมีปะปน แม้แต่ชันโรงซึ่งเป็นเสมือนผึ้งขนาดจิ๋วที่ไม่มีพิษแต่หนีเก่งมากก็ไม่หนีไปจากสวนของคุณหมอเพราะมีดอกไม้ที่ให้น้ำหวานไร้สารพิษสำหรับเป็นอาหารของมันอย่างเพียงพอ
สิ่งที่ผมสังเกตเห็นที่นั่นในช่วงเวลาสั้นๆ ที่เราหยุดพักการเยี่ยมชมคือ เด็กๆ สนใจในสิ่งต่างๆ รอบด้านไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ ผลไม้ ดอกไม้ กองทราย กองดิน หรือปลาตัวเล็กๆ ที่คุณหมอเลี้ยงไว้ในอ่างขนาดต่างๆ กัน เด็กๆ ลงเล่นทรายบ้าง เด็ดดอกไม้มาให้แม่บ้าง เก็บผลไม้บ้างและพยายามทำเบ็ดตกปลาในอ่างบ้าง พวกเขาสนุกสนานกันจนไม่มีใครสนใจเล่นกับเครื่องเล่นอิเล็กทรอนิกส์ที่มีติดมือไป สำหรับผม นั่นหมายความว่า ถ้าเด็กๆ มีโอกาสได้อยู่กับธรรมชาติจริงๆ ซึ่งประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตเป็นของเล่นมากมาย พวกเขาคงไม่สนใจที่จะจ้องอยู่หน้าจอชนิดต่างๆ วันละหลายต่อหลายชั่วโมง เรื่องนี้น่าจะชี้บ่งว่า การศึกษาที่เด็กได้จากหน้าจอเครื่องเล่นอิเล็กทรอนิกส์เทียบไม่ได้กับการศึกษาที่เกิดจากการได้อยู่กับธรรมชาติจริงๆ ประเด็นนี้มีการยืนยันจากผลของการวิจัยที่ได้ข้อสรุปอย่างแน่ชัดว่า การได้อยู่กับธรรมชาติเป็นปัจจัยสำคัญของการมีความสุขของคนทุกเพศทุกวัย
ตอนขากลับ เราแวะชมวัดถ้ำเขาฉกรรจ์ซึ่งเด็กๆ สนใจในลิงที่มีอยู่จำนวนมาก ลิงส่วนใหญ่กระจัดกระจายกันอยู่บนลานวัดแทนที่จะอยู่บนต้นไม้ใหญ่ๆ ที่มีอยู่ทั่ว ทั้งนี้คงเพราะนักท่องเที่ยวมักซื้ออาหารให้พวกมันกินโดยเฉพาะถั่วลิสงคั่วและกล้วยน้ำว้าสุก แต่เมื่อยามจำเป็นเช่นเมื่อถูกไล่ด้วยตัวที่ใหญ่กว่า พวกลิงจะวิ่งขึ้นต้นไม้และห้อยโหนไปตามกิ่งเล็กใหญ่ได้อย่างคล่องแคล่ว ความสามารถในการห้อยโหนโยนตัวไปตามกิ่งไม้ลิงได้มาตั้งแต่กำเนิดซึ่งต่างกับคนแม้ลิงและคนจะมีความเชื่อมโยงกันในด้านวิวัฒนาการของสายพันธุ์ก็ตาม หลังจบการชมวัดถ้ำเขาฉกรรจ์แล้ว ผมนั่งรถตู้ผ่านโรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม ผมได้ชมภาพคนซึ่งห้อยโหนคล้ายลิง มันเป็นภาพน่าเศร้า แต่ขอนำมาเล่าสู่กัน
ผมถ่ายภาพทั้งสองจากรถตู้ที่ผมโดยสารผ่านหน้าโรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม ขณะนั้นเป็นช่วงบ่ายซึ่งนักเรียนกำลังแยกย้ายกันกลับบ้าน นักเรียนจำนวนหนึ่งขับขี่มอเตอร์ไซค์ซึ่งมีเพื่อนซ้อนท้ายไปด้วย อีกส่วนหนึ่งโดยสารไปกับรถกระบะซึ่งถูกดัดแปลงให้เป็นรถโดยสาร ทุกคันมีนักเรียนนั่งกันอย่างแออัด นอกจากนั้น ยังมีห้อยท้ายไปอีกหลายคน
ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ บ่งชี้ว่า ภาพที่ผมเห็นมีให้ดูอยู่ทั่วเมืองไทย จึงทำให้เกิดคำถามตามมาว่าเพราะอะไรเด็กไทยจึงต้องเสี่ยงชีวิตถึงขนาดนั้น สำหรับผมคำถามนี้มีความกินใจสูงมากเนื่องจากเพียงสองวันก่อนการถ่ายภาพ มีเรื่องสลดใจเกิดขึ้นที่อำเภอบ้านนา นั่นคือ ในช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนผมเข้าประชุมกรรมการของมูลนิธินักอ่านบ้านนาที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอนั้น ผมได้รับข่าวการเสียชีวิตอย่างกะทันหันของนักเรียนชั้น ม. 2 คนหนึ่งซึ่งเป็นน้องชายของเด็กยากจนที่จะมารับทุนการศึกษาจากผม สาเหตุของการตายได้แก่การปะทะกันระหว่างมอเตอร์ไซค์ซึ่งเด็กคนนั้นยืมเพื่อนขับขี่ไปเอาของที่ตนลืมไว้ที่บ้านกับรถบรรทุกสิบล้อ
สาเหตุที่เด็กไทยต้องเสี่ยงชีวิตไปโรงเรียนถึงขนาดนั้นมีด้วยกันหลายอย่าง ในเบื้องแรก โรงเรียนนอกกรุงเทพฯ มักตั้งอยู่ห่างจากบ้านของนักเรียนซึ่งในสมัยนี้แทบไม่มีการเดินหรือปั่นจักรยานไปโรงเรียนกันอีกแล้ว ครอบครัวที่พอมีฐานะมักซื้อมอเตอร์ไซค์ให้ลูกขับขี่ไปเอง หรือไม่ก็ขับขี่รถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ไปส่ง อีกส่วนหนึ่งให้นั่งรถโดยสารไป หรือไม่ก็จ้างมอเตอร์ไซค์ให้รับส่งเป็นประจำ สำหรับโรงเรียนชั้นมัธยมซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในตัวเมือง หรือย่านชานเมือง เรื่องเดินทางดังกล่าวจึงพอเข้าใจได้ อย่างไรก็ดี สิ่งที่เข้าใจยากที่สุดคือ เพราะอะไรผู้ใหญ่ที่ขับขี่รถโดยสารและทางราชการจึงปล่อยให้เด็กเสี่ยงตายโดยห้อยโหนท้ายรถยนต์ไปเช่นนั้นทั้งที่ทุกคนควรจะรู้ดีว่าเด็กมิใช่ลิง
ปรากฏการณ์ที่น่าสลดใจกว่านั้นได้แก่เด็กเล็กๆ ในระดับอนุบาลและชั้นประถมต้องเดินทางไกลๆ เพื่อไปเรียนยังโรงเรียนที่พ่อแม่คิดว่าดีกว่าโรงเรียนที่มีอยู่ในชุมชนของตนเอง เด็กเล็กอาจจะไม่ต้องห้อยโหนไปดังที่เห็นในภาพ แต่ก็เสี่ยงต่ออันตรายและความเหนื่อยล้า อีกทั้งยังขาดเวลาของความเป็นเด็กอีกด้วย การเสี่ยงตายไปเรียนไกลๆ ของเด็กเล็กจะส่งผลเสียต่อการศึกษาโดยทั่วไปอย่างไรคงไม่ยากที่จะอนุมาน ความเหนื่อยล้าและการขาดเวลาเป็นเด็กย่อมไม่มีผลดีต่อเด็กแน่นอน ยิ่งกว่านั้น การออกไปเรียนนอกชุมชนตั้งแต่อายุยังน้อยจะส่งผลให้เด็กขาดความเข้าใจในชุมชนของตนเองและขาดความผูกพันกับชุมชนเมื่อตนโตขึ้น การขาดความเข้าใจและผูกพันกับชุมชนไม่น่าจะมีผลดีต่อประเทศชาติในระยะยาว
การที่พ่อแม่ส่งลูกไปเรียนนอกชุมชนยังผลให้เกิดวงจรอุบาทว์อย่างหนึ่งในวงการศึกษา นั่นคือ เมื่อโรงเรียนในชุมชนมีเด็กน้อย ทางราชการก็ส่งครูไปให้ไม่ครบชั้น เมื่อผู้ปกครองเห็นเช่นนั้นก็ยิ่งไม่ต้องการส่งลูกเข้าเรียนทำให้โรงเรียนชุมชนมีนักเรียนลดลงส่งผลให้ทางราชการลดครูลงอีกรอบ ทางด้านผู้นำในชุมชนเอง แทนที่จะหาทางหยุดยั้งวงจรอุบาทว์ดังกล่าว พวกเขามักกลับทำให้มันเลวร้ายยิ่งขึ้น นั่นคือ สนับสนุนให้เด็กออกไปเรียนนอกชุมชนเพราะพวกตนประกอบกิจการด้านการขนส่งนักเรียน
กระบวนการดังกล่าวนี้ในหลายๆ กรณีนำไปสู่การประเมินไม่ผ่านและการปิดโรงเรียนชุมชน เมื่อพูดถึงการประเมิน เราคงต่างได้ยินว่ามีปัญหามากมายจนถึงขนาดเกิดการเสนอให้ยุบองค์กรทางด้านนี้ ผมไม่มีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกระบวนการประเมินมากนักนอกจากได้สังเกตความแปลกประหลาดของการประเมินเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนชั้นประถมที่ผมมีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งที่โรงเรียนแห่งนั้นมีสวนครัวอินทรีย์ขนาดใหญ่ซึ่งปลูกข่า ตะไคร้ สมุนไพรและพืชผักหลากหลายชนิด ผู้ประเมินบอกว่าใช้ไม่ได้ โรงเรียนต้องนำท่อปูนมาใส่ดินปลูกสมุนไพรจำพวกตะไคร้ตั้งไว้หน้าอาคารเรียนจึงผ่านการประเมิน การประเมินเช่นนั้นแสดงถึงความด้อยปัญญาซึ่งทำให้เสียทั้งเวลาและงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์
ผมมองว่า เมื่อชุมชนไม่มีโรงเรียนในชุมชนและเยาวชนต้องห้อยโหนรถยนต์ไปเรียนในสถานที่ห่างไกล การศึกษาของไทยย่อมตกอยู่ในสภาพฝึกฝนให้คนเป็นลิง