รวมพลังแห่งความกตัญญู และร่วมใจสามัคคีทั่วประเทศ ปั่นจักรยานเฉลิมพระเกียรติ ร่วมกิจกรรมปั่นจักรยานบนเส้นทางสิริมงคลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 88 พรรษา 5 ธันวาคม 2558 วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม 2558 เวลา 15.00 น.
ร่วมปั่นเพื่อพ่อ
“ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก” มาร่วมกันร้องเพลง “ปั่นจักรยาน Bike For Dad” ปั่นเพื่อพ่อ” เพื่อก่อรักสามัคคีปลุกใจกันก่อนครับ...
“การเดินทางด้วยกัน มันเพิ่มมันเติมเรื่องราวในความสัมพันธ์
คืนและวันเปลี่ยนผัน ยิ่งทำให้เรา ยิ่งรักกันมากมาย
เพราะโลกนี้ช่างกว้างใหญ่ และรักของเราก็ใหญ่
สุขเพียงใด ที่เธอกับฉัน ฝ่าฟันทุกเส้นทาง
ฉันกับเธอ กับเธอบวกรวมหัวใจแบ่งปัน
วิ่งต่อกันราวกับนกที่ผกผิน บินเพื่อฝ่าลม และฝ่าฝนอยู่บนฟ้า
ปั่นๆ จักรยานไป ปั่นๆ จักรยานกัน
ทางจะใกล้หรือไกลไม่สำคัญ มันอยู่ที่หัวใจ
ปั่นๆ จักรยานไป ปั่นๆ จักรยานกัน
ปั่นด้วยใจ ที่แสนชื่นบาน
ให้โลกสวย สวยงามวิ่งผ่านความรักเรา
การเดินทาง สร้างเราให้เติบ และโตขึ้นมาในทุกคราว
การเดินทาง เปิดเราให้มีมุมมองขึ้นมาอีกมากมาย
เพราะรักในทางกว้างไกล เพราะรักในโลกกว้างใหญ่
พุ่งทะยานออกไป กับเจ้าสองล้อที่คู่ใจ
ฉันกับเธอ กับเธอบวกรวมหัวใจแบ่งปัน
วิ่งต่อกัน ราวกับนกที่ผกผิน บินเพื่อฝ่าลม และฝ่าฝนอยู่บนฟ้า
ปั่นๆ จักรยานไป ปั่นๆ จักรยานกัน
ทางจะใกล้หรือไกลไม่สำคัญ มันอยู่ที่หัวใจ
ปั่นๆ จักรยานไป ปั่นๆ จักรยานกัน
ปั่นด้วยใจ ที่แสนชื่นบาน
ให้โลกสวย สวยงามวิ่งผ่านความรักเรา
หนทางข้างหน้า ที่เราเห็น เป็นธรรมดา ที่ปัญหาขวางกั้น
ชีวิตต้องฝ่าฟันอุปสรรคนับพัน
จักรยานก็คงเหมือนกัน ขวากหนามเท่าไรไม่ยั่น
แม้ว่าเราลากปั่น ย่อมผ่านพ้นไป
ปั่นๆ จักรยานไป ปั่นๆ จักรยานกัน
ทางจะใกล้หรือไกลไม่สำคัญ มันอยู่ที่หัวใจ
ปั่นๆ จักรยานไป ปั่นๆ จักรยานกัน
ปั่นด้วยใจ ที่แสนชื่นบาน
ให้โลกสวย สวยงามวิ่งผ่าน ความรักเรา
ปั่นๆ จักรยานไป ปั่นๆ จักรยานกัน
ทางจะใกล้หรือไกลไม่สำคัญ มันอยู่ที่หัวใจ
ปั่นๆ จักรยานไป ปั่นๆ จักรยานกัน
ปั่นด้วยใจ ที่แสนชื่นบาน
ให้โลกสวย สวยงามวิ่งผ่าน ความรักเรา”
...(ประภาส ชลศรานนท์-ประพันธ์เนื้อร้องภาษาไทย, ก้อง-สหรัถ สังคปรีชา และเหล่าศิลปิน-ขับร้อง)
ฟังเพลงแล้วเป็นอย่างไร อยากให้ถึงวันที่ 11 ธันวาคม 2558 ไวๆ ไหม? จะได้ร่วมกันส่งใจถึงพระองค์ท่าน ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
ธ ก่อเกิดธรรม
“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” นี่คือพระปฐมบรมราชโองการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่คนไทย ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พูดภาษาง่ายๆ ก็คือ...พระองค์ทรงมีปฏิญญา คำมั่นสัญญายืนยันอย่างเป็นทางการ หรือทรงมีปณิธานความแน่วแน่ มั่นคง ที่จะทำหน้าที่ของพระราชาอย่างเป็นธรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ชาวสยามทั้งมวลให้ได้นั่นเอง
คำว่า “ธรรม” จะก่อเกิดแก่ผู้ใดได้นั้น มิใช่จะเกิดได้ปุ๊บปั๊บหรือเหตุบังเอิญ แต่เกิดได้เพราะถูกสั่งสมมานาน เกิดแล้วก็สืบต่อก่อธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป
เรามิอาจทราบได้ว่า พระองค์ทรงใช้หลักธรรมอะไรบ้างในการครองแผ่นดิน (เราทราบเพียงว่า พระองค์จะครองแผ่นดินโดยธรรม)
แต่หลักธรรมหลักหนึ่งที่พระองค์ทรงใช้ทรงปฏิบัติอย่างแน่นอนก็คือ... “ราชธรรม 10 หรือทศพิธราชธรรม” ซึ่งหมายถึงธรรมของพระราชา, กิจวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินควรประพฤติ, คุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง, ธรรมของนักปกครอง ได้แก่...
1. ทาน (การให้)
2. ศีล (ความประพฤติดีงาม)
3. ปริจจาคะ (การบริจาค)
4. อาชชวะ (ความซื่อตรง)
5. มัททวะ (ความอ่อนโยน)
6. ตปะ (ความทรงเดช)
7. อักโกธะ (ความไม่โกรธ)
8. อวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน)
9. ขันติ (ความอดทน)
10. อวิโรธนะ (ความไม่คลาดธรรม)
ราชธรรม 10 นี้พึงจดจำง่ายๆ โดยคาถาในบาลีดังนี้
ทานํ สีลํ ปริจฺจาคํอาชฺชวํ มทฺทวํ ตปํ
อกฺโกธํ อวิหึสญฺจขนฺติญฺจ อวิโรธนํ
ราชธรรม 10 นี้ แม้จะเป็นธรรมของพระราชา แต่ก็เป็นธรรมของเราทุกคนด้วย โดยเฉพาะผู้ปกครองบ้านเมือง หรือนักปกครองทั้งหลาย ถ้าเราทั้งหลายทั้งปวง น้อมนำหลักธรรมนี้ไปปฏิบัติปัญหาต่างๆ ของบ้านเมืองก็จะลดลงหรือหมดไป สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ สันติสุข และสันติภาพนั่นเอง
โครงการเลิศล้ำ
นับตั้งแต่วันขึ้นครองราชย์จนกระทั่งปัจจุบัน มีโครงการต่างๆ ในพระราชดำริของพระองค์ประมาณ 4,000 โครงการ แต่ละโครงการล้วนเลิศล้ำ เป็นประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั่วทั้งแผ่นดินทั้งสิ้น
โครงการหนึ่งในสี่พันโครงการที่คนไทยรู้จักกันดี และกำลังแผ่ขยายไปทั่วโลก เพื่อพลิกโลกกลับมาอยู่กับความจริง นั่นคือ... “เศรษฐกิจพอเพียง”
พระองค์ตรัสว่า... “คำว่า พอเพียง มีความหมายว่า พอกิน เศรษฐกิจแบบพอเพียง หมายความว่า ผลิตอะไร มีพอที่จะใช้ ไม่ต้องขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง แปลงจากภาษาฝรั่งได้ว่า ให้ยืนบนขาตัวเอง หมายความว่า สองขาของเรา ยืนอยู่บนพื้นได้ไม่หกล้ม ไม่ต้องขอยืมของคนอื่น เพื่อจะยืนอยู่...คำว่า พอ คนเราถ้าพอในความต้องการ มันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อยพอเพียง อาจมีมาก อาจมีของหรูก็ได้ แต่ต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น”
สรุป... “พอเพียงคืออยู่ได้ด้วยตนเอง ไม่เบียดเบียนใคร”
ถามว่า...พอเพียงดีอย่างนี้ เลิศล้ำอย่างนี้ ทำไมบางคนบางพวกไม่ชอบพอเพียง?
ตอบว่า...เพราะบางคนบางพวกชอบเบียดเบียนเป็นเจ้าเรือน ทำใจไม่ได้ที่จะไม่ให้เบียดเบียนใคร (ก็รากเหง้าของฉันมาจากอกุศลมูลเนี่ย)
ล้วนทำความดี
ทุกโครงการของพระองค์ ล้วนทรงทำความดีทั้งสิ้น ความดี ซึ่งมีรากเหง้าของกุศลมูล หรือต้นตอของความดี ได้แก่ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง
ด้วยเหตุนี้ พระองค์ทรง “ส่งเสริมให้คนดี ได้ปกครองบ้านเมือง”
“...ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้...”
ปัจจุบันกำลังหาคนดีให้มีอำนาจ จะได้ปกครองบ้านเมือง
แต่คนไม่ดี ก็โผล่มาให้เห็นเป็นตัวเลือกเสมอ
รู้ได้อย่างไรว่าเขาเป็นคนไม่ดี?
รู้ได้จากรากเหง้าอกุศล หรือต้นตอความชั่วของเขา ก็คือ...โลภ โกรธ หลง หรือ “กิเลสเหตุแห่งปัญหา” นั่นเอง
ใครๆ ก็มีกิเลสด้วยกันทั้งนั้นแหละ!
ใช่...ส่วนมาก ใครๆ ก็มีกิเลส แต่ก็มีมากน้อยต่างกัน
ไม่ใช่...คนส่วนน้อยเขาไม่มีกิเลส คนส่วนน้อยพวกนี้ ยังมีอยู่ ทั้งเปิดเผย และไม่เปิดเผย
หากเปรียบ...คนส่วนมากมีกิเลส เปรียบเหมือนขนควาย คนส่วนน้อยไม่มีกิเลส เปรียบเหมือนเขาควาย
ดังนั้น...โปรดอย่าเหมารวม ว่าใครๆ ก็มีกิเลสเหมือนกัน
เอาละ...แม้จะมีกิเลสด้วยกัน แต่ถ้าไม่โลภมาก ก็อยู่เป็นสุขได้
พระเจ้าอยู่หัว ทรงสอนว่า... “คนเราถ้าพอใจความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด คิดอันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่า ทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็เป็นสุข”
พึงดูตัวเองเนืองๆ จะเห็นอะไรบางอย่าง ขณะโลภจะเกิดเปรตและอสุรกาย ขณะโกรธจะเกิดนรก ขณะหลงจะเกิดเดรัจฉาน
เราทั้งหลายคงไม่อยากให้เกิดสิ่งเหล่านี้ วิธีแก้ก็หยุดมันซะ หรือเพลาๆ มันลง อย่าเข้าข้างตัวเองอยู่ประตูเดียว (ใครๆ ก็มีกิเลสทั้งนั้นแหละ)
ถ้าอยากเกิดเป็นมนุษย์หรือสวรรค์ ก็เปลี่ยนความคิด-ชีวิตเปลี่ยน คือไม่เบียดเบียนตน และคนอื่น รวมทั้งสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วย
สรุปง่ายๆ ก็คือ... “ละชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์” ด้วยตัวของตัวเอง
“ร่วมปั่นเพื่อพ่อ
ธ ก่อเกิดธรรม
โครงการเลิศล้ำ
ล้วนทำความดี”
ใครๆ ก็ชอบความสุขความเจริญด้วยกันทั้งนั้น “พระเจ้าอยู่หัว” หรือ “พ่อหลวง” ของเรา พระองค์ทรงสอนว่า...
“ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรม ทั้งในเจตนาและการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น”
สั้นๆ ง่ายๆ ก็คือ... “ความสุขความเจริญ พึงแสวงหามาด้วยความเป็นธรรม”
ร่วมปั่นเพื่อพ่อ
“ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก” มาร่วมกันร้องเพลง “ปั่นจักรยาน Bike For Dad” ปั่นเพื่อพ่อ” เพื่อก่อรักสามัคคีปลุกใจกันก่อนครับ...
“การเดินทางด้วยกัน มันเพิ่มมันเติมเรื่องราวในความสัมพันธ์
คืนและวันเปลี่ยนผัน ยิ่งทำให้เรา ยิ่งรักกันมากมาย
เพราะโลกนี้ช่างกว้างใหญ่ และรักของเราก็ใหญ่
สุขเพียงใด ที่เธอกับฉัน ฝ่าฟันทุกเส้นทาง
ฉันกับเธอ กับเธอบวกรวมหัวใจแบ่งปัน
วิ่งต่อกันราวกับนกที่ผกผิน บินเพื่อฝ่าลม และฝ่าฝนอยู่บนฟ้า
ปั่นๆ จักรยานไป ปั่นๆ จักรยานกัน
ทางจะใกล้หรือไกลไม่สำคัญ มันอยู่ที่หัวใจ
ปั่นๆ จักรยานไป ปั่นๆ จักรยานกัน
ปั่นด้วยใจ ที่แสนชื่นบาน
ให้โลกสวย สวยงามวิ่งผ่านความรักเรา
การเดินทาง สร้างเราให้เติบ และโตขึ้นมาในทุกคราว
การเดินทาง เปิดเราให้มีมุมมองขึ้นมาอีกมากมาย
เพราะรักในทางกว้างไกล เพราะรักในโลกกว้างใหญ่
พุ่งทะยานออกไป กับเจ้าสองล้อที่คู่ใจ
ฉันกับเธอ กับเธอบวกรวมหัวใจแบ่งปัน
วิ่งต่อกัน ราวกับนกที่ผกผิน บินเพื่อฝ่าลม และฝ่าฝนอยู่บนฟ้า
ปั่นๆ จักรยานไป ปั่นๆ จักรยานกัน
ทางจะใกล้หรือไกลไม่สำคัญ มันอยู่ที่หัวใจ
ปั่นๆ จักรยานไป ปั่นๆ จักรยานกัน
ปั่นด้วยใจ ที่แสนชื่นบาน
ให้โลกสวย สวยงามวิ่งผ่านความรักเรา
หนทางข้างหน้า ที่เราเห็น เป็นธรรมดา ที่ปัญหาขวางกั้น
ชีวิตต้องฝ่าฟันอุปสรรคนับพัน
จักรยานก็คงเหมือนกัน ขวากหนามเท่าไรไม่ยั่น
แม้ว่าเราลากปั่น ย่อมผ่านพ้นไป
ปั่นๆ จักรยานไป ปั่นๆ จักรยานกัน
ทางจะใกล้หรือไกลไม่สำคัญ มันอยู่ที่หัวใจ
ปั่นๆ จักรยานไป ปั่นๆ จักรยานกัน
ปั่นด้วยใจ ที่แสนชื่นบาน
ให้โลกสวย สวยงามวิ่งผ่าน ความรักเรา
ปั่นๆ จักรยานไป ปั่นๆ จักรยานกัน
ทางจะใกล้หรือไกลไม่สำคัญ มันอยู่ที่หัวใจ
ปั่นๆ จักรยานไป ปั่นๆ จักรยานกัน
ปั่นด้วยใจ ที่แสนชื่นบาน
ให้โลกสวย สวยงามวิ่งผ่าน ความรักเรา”
...(ประภาส ชลศรานนท์-ประพันธ์เนื้อร้องภาษาไทย, ก้อง-สหรัถ สังคปรีชา และเหล่าศิลปิน-ขับร้อง)
ฟังเพลงแล้วเป็นอย่างไร อยากให้ถึงวันที่ 11 ธันวาคม 2558 ไวๆ ไหม? จะได้ร่วมกันส่งใจถึงพระองค์ท่าน ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
ธ ก่อเกิดธรรม
“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” นี่คือพระปฐมบรมราชโองการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่คนไทย ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พูดภาษาง่ายๆ ก็คือ...พระองค์ทรงมีปฏิญญา คำมั่นสัญญายืนยันอย่างเป็นทางการ หรือทรงมีปณิธานความแน่วแน่ มั่นคง ที่จะทำหน้าที่ของพระราชาอย่างเป็นธรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ชาวสยามทั้งมวลให้ได้นั่นเอง
คำว่า “ธรรม” จะก่อเกิดแก่ผู้ใดได้นั้น มิใช่จะเกิดได้ปุ๊บปั๊บหรือเหตุบังเอิญ แต่เกิดได้เพราะถูกสั่งสมมานาน เกิดแล้วก็สืบต่อก่อธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป
เรามิอาจทราบได้ว่า พระองค์ทรงใช้หลักธรรมอะไรบ้างในการครองแผ่นดิน (เราทราบเพียงว่า พระองค์จะครองแผ่นดินโดยธรรม)
แต่หลักธรรมหลักหนึ่งที่พระองค์ทรงใช้ทรงปฏิบัติอย่างแน่นอนก็คือ... “ราชธรรม 10 หรือทศพิธราชธรรม” ซึ่งหมายถึงธรรมของพระราชา, กิจวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินควรประพฤติ, คุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง, ธรรมของนักปกครอง ได้แก่...
1. ทาน (การให้)
2. ศีล (ความประพฤติดีงาม)
3. ปริจจาคะ (การบริจาค)
4. อาชชวะ (ความซื่อตรง)
5. มัททวะ (ความอ่อนโยน)
6. ตปะ (ความทรงเดช)
7. อักโกธะ (ความไม่โกรธ)
8. อวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน)
9. ขันติ (ความอดทน)
10. อวิโรธนะ (ความไม่คลาดธรรม)
ราชธรรม 10 นี้พึงจดจำง่ายๆ โดยคาถาในบาลีดังนี้
ทานํ สีลํ ปริจฺจาคํอาชฺชวํ มทฺทวํ ตปํ
อกฺโกธํ อวิหึสญฺจขนฺติญฺจ อวิโรธนํ
ราชธรรม 10 นี้ แม้จะเป็นธรรมของพระราชา แต่ก็เป็นธรรมของเราทุกคนด้วย โดยเฉพาะผู้ปกครองบ้านเมือง หรือนักปกครองทั้งหลาย ถ้าเราทั้งหลายทั้งปวง น้อมนำหลักธรรมนี้ไปปฏิบัติปัญหาต่างๆ ของบ้านเมืองก็จะลดลงหรือหมดไป สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ สันติสุข และสันติภาพนั่นเอง
โครงการเลิศล้ำ
นับตั้งแต่วันขึ้นครองราชย์จนกระทั่งปัจจุบัน มีโครงการต่างๆ ในพระราชดำริของพระองค์ประมาณ 4,000 โครงการ แต่ละโครงการล้วนเลิศล้ำ เป็นประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั่วทั้งแผ่นดินทั้งสิ้น
โครงการหนึ่งในสี่พันโครงการที่คนไทยรู้จักกันดี และกำลังแผ่ขยายไปทั่วโลก เพื่อพลิกโลกกลับมาอยู่กับความจริง นั่นคือ... “เศรษฐกิจพอเพียง”
พระองค์ตรัสว่า... “คำว่า พอเพียง มีความหมายว่า พอกิน เศรษฐกิจแบบพอเพียง หมายความว่า ผลิตอะไร มีพอที่จะใช้ ไม่ต้องขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง แปลงจากภาษาฝรั่งได้ว่า ให้ยืนบนขาตัวเอง หมายความว่า สองขาของเรา ยืนอยู่บนพื้นได้ไม่หกล้ม ไม่ต้องขอยืมของคนอื่น เพื่อจะยืนอยู่...คำว่า พอ คนเราถ้าพอในความต้องการ มันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อยพอเพียง อาจมีมาก อาจมีของหรูก็ได้ แต่ต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น”
สรุป... “พอเพียงคืออยู่ได้ด้วยตนเอง ไม่เบียดเบียนใคร”
ถามว่า...พอเพียงดีอย่างนี้ เลิศล้ำอย่างนี้ ทำไมบางคนบางพวกไม่ชอบพอเพียง?
ตอบว่า...เพราะบางคนบางพวกชอบเบียดเบียนเป็นเจ้าเรือน ทำใจไม่ได้ที่จะไม่ให้เบียดเบียนใคร (ก็รากเหง้าของฉันมาจากอกุศลมูลเนี่ย)
ล้วนทำความดี
ทุกโครงการของพระองค์ ล้วนทรงทำความดีทั้งสิ้น ความดี ซึ่งมีรากเหง้าของกุศลมูล หรือต้นตอของความดี ได้แก่ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง
ด้วยเหตุนี้ พระองค์ทรง “ส่งเสริมให้คนดี ได้ปกครองบ้านเมือง”
“...ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้...”
ปัจจุบันกำลังหาคนดีให้มีอำนาจ จะได้ปกครองบ้านเมือง
แต่คนไม่ดี ก็โผล่มาให้เห็นเป็นตัวเลือกเสมอ
รู้ได้อย่างไรว่าเขาเป็นคนไม่ดี?
รู้ได้จากรากเหง้าอกุศล หรือต้นตอความชั่วของเขา ก็คือ...โลภ โกรธ หลง หรือ “กิเลสเหตุแห่งปัญหา” นั่นเอง
ใครๆ ก็มีกิเลสด้วยกันทั้งนั้นแหละ!
ใช่...ส่วนมาก ใครๆ ก็มีกิเลส แต่ก็มีมากน้อยต่างกัน
ไม่ใช่...คนส่วนน้อยเขาไม่มีกิเลส คนส่วนน้อยพวกนี้ ยังมีอยู่ ทั้งเปิดเผย และไม่เปิดเผย
หากเปรียบ...คนส่วนมากมีกิเลส เปรียบเหมือนขนควาย คนส่วนน้อยไม่มีกิเลส เปรียบเหมือนเขาควาย
ดังนั้น...โปรดอย่าเหมารวม ว่าใครๆ ก็มีกิเลสเหมือนกัน
เอาละ...แม้จะมีกิเลสด้วยกัน แต่ถ้าไม่โลภมาก ก็อยู่เป็นสุขได้
พระเจ้าอยู่หัว ทรงสอนว่า... “คนเราถ้าพอใจความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด คิดอันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่า ทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็เป็นสุข”
พึงดูตัวเองเนืองๆ จะเห็นอะไรบางอย่าง ขณะโลภจะเกิดเปรตและอสุรกาย ขณะโกรธจะเกิดนรก ขณะหลงจะเกิดเดรัจฉาน
เราทั้งหลายคงไม่อยากให้เกิดสิ่งเหล่านี้ วิธีแก้ก็หยุดมันซะ หรือเพลาๆ มันลง อย่าเข้าข้างตัวเองอยู่ประตูเดียว (ใครๆ ก็มีกิเลสทั้งนั้นแหละ)
ถ้าอยากเกิดเป็นมนุษย์หรือสวรรค์ ก็เปลี่ยนความคิด-ชีวิตเปลี่ยน คือไม่เบียดเบียนตน และคนอื่น รวมทั้งสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วย
สรุปง่ายๆ ก็คือ... “ละชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์” ด้วยตัวของตัวเอง
“ร่วมปั่นเพื่อพ่อ
ธ ก่อเกิดธรรม
โครงการเลิศล้ำ
ล้วนทำความดี”
ใครๆ ก็ชอบความสุขความเจริญด้วยกันทั้งนั้น “พระเจ้าอยู่หัว” หรือ “พ่อหลวง” ของเรา พระองค์ทรงสอนว่า...
“ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรม ทั้งในเจตนาและการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น”
สั้นๆ ง่ายๆ ก็คือ... “ความสุขความเจริญ พึงแสวงหามาด้วยความเป็นธรรม”