เมื่อวานนี้ (16พ.ย.) นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงความเห็นของพรรคการเมือง เกี่ยวกับการเสนอบัญชีรายชื่อนายกรัฐมนตรี ว่า อาจเป็นความเข้าใจผิดว่า กรธ.หาช่องให้คนนอกมาเป็นนายกฯ ถือว่าเป็นการผิดไปจากข้อเท็จจริงอย่างรุนแรง เพราะที่กรธ.คิดแนวทางใหม่ๆ เพื่อนำเสนอก็เนื่องจากภารกิจที่กรธ.ได้รับจากการร่างรัฐธรรมนูญ เพราะไม่อาจปฏิเสธได้ว่าในอดีตที่ผ่านมา เวลาเลือกตั้งเสร็จ ตั้งรัฐบาลแล้ว จะเกิดข้อกังขาในหมู่ประชาชน 4 อย่าง คือ 1. ไม่มั่นใจว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมา ส.ส.ได้เป็นเพราะประชาชนนิยมชมชอบ หรือเพราะอามิสสินจ้าง 2. ประชาชนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแต่ละพรรค ทิศทางและแนวคิดของพรรคเพียงพอหรือไม่ 3. เกิดข้อกังขาว่า เสียงของประชาชนสิ้นความศักดิ์สิทธิ์ หลังหย่อนบัตรลงหีบหรือไม่ 4 . เมื่อสงสัยว่าเกิดอามิสสินจ้าง ก็สงสัยว่าจะถอนทุนคืน หากำไรเพิ่ม
เมื่อเกิดข้อกังขาเช่นนี้ ก็ทำให้รัฐบาลขาดเสถียรภาพ นำไปสู่การประท้วงต่อต้าน จนบ้านเมืองขาดความสุขสงบ กรธ.จึงต้องหาหนทางแก้ไข ปฏิรูป กำหนดกลไกแก้ปัญหาให้เป็นรูปธรรม จะใช้กฎเกณฑ์เดิมไม่ได้ เพราะต้นเหตุมาจากกฎเกณฑ์เหล่านั้น จึงไม่สามารถนำรัฐธรรมนูญปีหนึ่งปีใดมาใช้ได้ เพราะจะทำให้เกิดปัญหาเหมือนเดิม
สำหรับเรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรีนั้น กรธ.มีเจตนาเพียงให้พรรคการเมืองประกาศให้ประชาชนรู้ล่วงหน้าว่า เอาใครเป็นนายกฯ เราไม่ได้กำหนดตายตัวว่าจะต้องเอาคนนั้น คนนี้ จากที่นั่น ที่นี่ เพราะพรรคการเมืองเป็นกลไกหนึ่งในระบอบประชาธิป ไตย ต้องกำหนดกฎเกณฑ์ของตัวเอง จะเลือกใครมาก็เป็นเรื่องที่พรรคการเมืองจะคำนึงถึงความเหมาะสม ที่ประชาชนจะชื่นชอบ
แต่ที่พูดว่ากรธ.จะเอาคนนอกเป็นนายกฯนั้น เป็นความเข้าใจผิด เพราะคนเลือกคือพรรคการเมืองแต่ละพรรค ที่จะต้องมีมติเพื่อกำหนดตัวบุคคลประกาศให้ประชาชนทราบถือเป็นด่านที่หนึ่ง ส่วนด่านที่สอง ประชาชนทราบว่าพรรคการเมืองตั้งใจเอาใครเป็นนายกฯ ประชาชนรับได้หรือไม่ แม้เมื่อพรรคการเมืองได้รับเลือกตั้งกลับมาแล้ว เวลาตั้งนายกฯ สภาก็เป็นผู้เลือก
ดังนั้นกว่าจะเป็นนายกฯได้ ต้องผ่านถึง 3 ด่าน คือ ด่านที่หนึ่งพรรคการเมือง สองประชาชนได้เห็น และ สาม สภาเป็นผู้เลือก ซึ่งรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดให้ต้องเลือกใคร คนใดคนหนึ่ง
ส่วนที่มีคำถามว่า ทำไมไม่ระบุว่า ไม่ให้มีการเสนอชื่อคนนอก นายมีชัย กล่าวว่า ถ้าต้องการอย่างนั้น ก็กำหนดได้ แต่พรรคการเมืองจะลำบาก เพราะเท่ากับให้กรธ. ไปก้าวก่ายพรรคการเมือง กำหนดละเอียดยิบ ไม่คิดสงวนเรื่องเหล่านี้ไว้คิดเองหรือ ในระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ที่จะใช้คะแนนนิยมของประชาชนทั้งประเทศมาวัด ส.ส.ทั้งสองประเภท โอกาสที่พรรคการเมืองใหญ่ๆ จะไม่ได้มีส.ส.บัญชีรายชื่อเลยก็มีอยู่ เช่น พรรคการเมืองได้รับคะแนนเสียงทั้งประเทศรวมกัน 49 % แต่ผลการเลือกตั้งได้ ส.ส. เขต มา 51 % จาก 500 คือ เกินกว่า 250 ที่นั่ง พรรคนั้นจะไม่ได้รับ ส.ส.รายชื่อเพราะได้ ส.ส.เขตเกินจำนวนป๊อปปูล่าโหวต คือ คะแนนทั้งประเทศอยู่แล้ว
ดังนั้นบัญชีรายชื่อที่กำหนดไว้ จะไม่ได้เป็นส.ส.เลย ถ้าพรรคแน่ใจในสิ่งเหล่านี้ ก็ไม่มีอะไรห้ามที่พรรคจะกำหนดในข้อบังคับของพรรคว่า การเสนอรายชื่อนายกฯ ต้องเสนอเฉพาะ ส.ส.ของพรรคเท่านั้น
"ต้องเข้าใจว่าวันที่เสนอชื่อ ยังไม่มีใครเป็น ส.ส.เพราะเสนอก่อนเลือกตั้ง หรือจะเสนอรายชื่อนายกฯ เฉพาะคนที่เป็นสมาชิกพรรค ก็ไม่มีใครห้าม พรรคการเมืองบอกว่า ถ้าอย่างนั้นพรรคเล็กๆ นอมินี อาจจะแอบเอารายชื่อใครก็ไม่รู้มาใส่ไว้ใน 5 ชื่อ พรรคการเมืองใหญ่ ต้องถูกบังคับให้เอารายชื่อเหล่านั้นมาเป็นนายกฯ หรือไม่ เราจึงคิดกำหนดขั้นต่ำไว้ว่า พรรคที่จะเอารายชื่อมาเป็นนายกฯได้ ต้องมีส.ส.ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 คือ 25 คน จาก 500 คน เป็นการป้องกันอีกชั้นหนึ่ง หรือพรรคการเมืองอาจเขียนข้อบังคับไว้ว่า จะไม่ร่วมกับพรรคการเมืองที่เสนอบุคคลภายนอกเป็นนายกฯ แต่การ
เสนอชื่อนายกฯ เป็นประโยชน์ต่อประชาชน แม้พรรคการเมืองอาจกลัวไอ้โม่ง ประชาชนก็อาจกลัวไอ้โม่งคนละคน จึงประกาศเสียแต่ต้น จะได้รู้ว่าใคร
จะมา จะได้ตัดสินใจได้ถูก"
นายมีชัย กล่าวด้วยว่า ขอให้พรรคการเมืองคิดให้รอบคอบ มองประโยชน์ประชาชนประเทศเป็นหลัก ถ้าเห็นว่ามีช่องโหว่ ก็บอกมากรธ. พร้อมจะรับฟัง ไม่ใช่ค้านเฉย ๆ ไม่บอกว่า ดีกว่านี้จะทำอย่างไร หรือไม่บอกเหตุผลที่ชัดเจนก็ไม่ทราบจะปรับอย่างไร เพื่อให้พอรับกันได้ที่สุด สำหรับประเทศไทย
นายมีชัย กล่าวยืนยันว่า กรธ.ไม่ได้ทำงานภายใต้การครอบงำของ คสช. เพียงแต่ปฏิบัติตามกรอบกว้างๆ ที่คสช.ระบุมาให้เท่านั้น แต่ไม่เคยเข้ามากำหนดให้ต้องดำเนินการอย่างไร คสช. เพียงแต่รับทราบจากรายงานการประชุมเท่านั้น
"ถ้าถามว่า มีใครข่มขู่กรธ.ไหม ก็มีแต่ที่ประกาศว่าจะรณรงค์ให้ประชาชนคว่ำรัฐธรรมนูญ เพื่อไม่ให้ผ่านประชามติ โดยกรธ.ไม่ได้คิดว่าถ้าไม่ผ่านประชามติจริงๆ แล้วจะมีทางออกอย่างไร เพราะเป็นเรื่องที่คสช.ต้องไปคิด" นายมีชัย กล่าว
ส่วนกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. พูดว่าแม่น้ำ 5 สายต้องเดินไปด้วยกัน และคสช.เป็นผู้กำหนดกรอบในการร่างรัฐธรรมนูญนั้น เป็นเพียงการกำหนดกรอบ ไม่ใช่การลงในรายละเอียดว่าต้องการอย่างไร ตนยืนยันได้ว่า รัฐบาลหรือ คสช.ไม่เคยพูดให้ต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ มีแต่ข้อเสนอที่บอกให้เป็นประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ปฏิรูป ป้องกันการทุจริต และเขียนให้สั้น อย่ายาว
นัก เท่านั้น
อย่างไรก็ตามกรณีที่พล.อ.ประยุทธ์ ยืนยันว่าต้องมี คปป. เป็นกลไกเปลี่ยนผ่านนั้น ตนยังไม่ได้คิดว่าจะทำตามหรือไม่ เพราะยังไม่ถึงเวลาที่จะพิจารณาเรื่องนี้
นายมีชัย กล่าวด้วยว่า กำลังจะทำการสำรวจความคิดเห็นประชาชน ซึ่งจะนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจในการร่างรัฐธรรมนูญด้วย โดยในขณะนี้ ติดตามผลสำรวจของดุสิตโพล และนิด้าโพลอยู่ ก็พบว่าประชาชนเห็นด้วยกับการกาบัตรเดียว และไม่ได้คัดค้านเรื่องนายกฯคนนอก ทั้งนี้กรธ. ต้องการทราบว่าประชาชนมองอย่างไร โดยไม่คิดที่จะบิดเบือน เพราะไม่ได้มีส่วนได้เสียจนอยากบันดาลให้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ และกรธ. ก็ไม่ได้เป็นผู้ให้
ดุสิตโพลสำรวจความเห็นในเรื่องนี้ด้วย
ส่วนที่มีความเป็นห่วงว่า การเสนอบัญชีรายชื่อนายกฯ จะเปิดช่องให้นายทุนซื้อพรรคการเมือง เพื่อเข้ามาบริหารประเทศง่ายขึ้นนั้น นายมีชัย กล่าวว่า ระบบนี้ไม่ได้เปิดช่องอะไรมากกว่าที่เป็นอยู่ แต่อย่างน้อยประชาชนจะทราบล่วงหน้าว่า ใครจะเป็นนายกฯ ดังนั้นระบบที่กรธ.คิด จึงไม่ถือว่าผิดธรรมชาติ ที่กำหนดว่าถ้าพรรคการเมืองได้คะแนนส.ส.เขตเกินคะแนนป๊อปปูล่าโหวต แล้วจะไม่ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อนั้นไม่จริง เพราะต่างประเทศก็ทำแบบนี้ ซึ่งระบบเยอรมันก็คิดเช่นนี้ แต่เราไม่ได้ลอกเลียนแบบใคร เพราะต้องการแก้ปัญหาของประเทศ ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่น อีกทั้งคุณสมบัติของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกฯ จะต้องใช้มาตรฐานเดียวกับผู้สมัครส.ส. หรืออาจจะมีมากกว่านั้นก็ได้
เมื่อเกิดข้อกังขาเช่นนี้ ก็ทำให้รัฐบาลขาดเสถียรภาพ นำไปสู่การประท้วงต่อต้าน จนบ้านเมืองขาดความสุขสงบ กรธ.จึงต้องหาหนทางแก้ไข ปฏิรูป กำหนดกลไกแก้ปัญหาให้เป็นรูปธรรม จะใช้กฎเกณฑ์เดิมไม่ได้ เพราะต้นเหตุมาจากกฎเกณฑ์เหล่านั้น จึงไม่สามารถนำรัฐธรรมนูญปีหนึ่งปีใดมาใช้ได้ เพราะจะทำให้เกิดปัญหาเหมือนเดิม
สำหรับเรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรีนั้น กรธ.มีเจตนาเพียงให้พรรคการเมืองประกาศให้ประชาชนรู้ล่วงหน้าว่า เอาใครเป็นนายกฯ เราไม่ได้กำหนดตายตัวว่าจะต้องเอาคนนั้น คนนี้ จากที่นั่น ที่นี่ เพราะพรรคการเมืองเป็นกลไกหนึ่งในระบอบประชาธิป ไตย ต้องกำหนดกฎเกณฑ์ของตัวเอง จะเลือกใครมาก็เป็นเรื่องที่พรรคการเมืองจะคำนึงถึงความเหมาะสม ที่ประชาชนจะชื่นชอบ
แต่ที่พูดว่ากรธ.จะเอาคนนอกเป็นนายกฯนั้น เป็นความเข้าใจผิด เพราะคนเลือกคือพรรคการเมืองแต่ละพรรค ที่จะต้องมีมติเพื่อกำหนดตัวบุคคลประกาศให้ประชาชนทราบถือเป็นด่านที่หนึ่ง ส่วนด่านที่สอง ประชาชนทราบว่าพรรคการเมืองตั้งใจเอาใครเป็นนายกฯ ประชาชนรับได้หรือไม่ แม้เมื่อพรรคการเมืองได้รับเลือกตั้งกลับมาแล้ว เวลาตั้งนายกฯ สภาก็เป็นผู้เลือก
ดังนั้นกว่าจะเป็นนายกฯได้ ต้องผ่านถึง 3 ด่าน คือ ด่านที่หนึ่งพรรคการเมือง สองประชาชนได้เห็น และ สาม สภาเป็นผู้เลือก ซึ่งรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดให้ต้องเลือกใคร คนใดคนหนึ่ง
ส่วนที่มีคำถามว่า ทำไมไม่ระบุว่า ไม่ให้มีการเสนอชื่อคนนอก นายมีชัย กล่าวว่า ถ้าต้องการอย่างนั้น ก็กำหนดได้ แต่พรรคการเมืองจะลำบาก เพราะเท่ากับให้กรธ. ไปก้าวก่ายพรรคการเมือง กำหนดละเอียดยิบ ไม่คิดสงวนเรื่องเหล่านี้ไว้คิดเองหรือ ในระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ที่จะใช้คะแนนนิยมของประชาชนทั้งประเทศมาวัด ส.ส.ทั้งสองประเภท โอกาสที่พรรคการเมืองใหญ่ๆ จะไม่ได้มีส.ส.บัญชีรายชื่อเลยก็มีอยู่ เช่น พรรคการเมืองได้รับคะแนนเสียงทั้งประเทศรวมกัน 49 % แต่ผลการเลือกตั้งได้ ส.ส. เขต มา 51 % จาก 500 คือ เกินกว่า 250 ที่นั่ง พรรคนั้นจะไม่ได้รับ ส.ส.รายชื่อเพราะได้ ส.ส.เขตเกินจำนวนป๊อปปูล่าโหวต คือ คะแนนทั้งประเทศอยู่แล้ว
ดังนั้นบัญชีรายชื่อที่กำหนดไว้ จะไม่ได้เป็นส.ส.เลย ถ้าพรรคแน่ใจในสิ่งเหล่านี้ ก็ไม่มีอะไรห้ามที่พรรคจะกำหนดในข้อบังคับของพรรคว่า การเสนอรายชื่อนายกฯ ต้องเสนอเฉพาะ ส.ส.ของพรรคเท่านั้น
"ต้องเข้าใจว่าวันที่เสนอชื่อ ยังไม่มีใครเป็น ส.ส.เพราะเสนอก่อนเลือกตั้ง หรือจะเสนอรายชื่อนายกฯ เฉพาะคนที่เป็นสมาชิกพรรค ก็ไม่มีใครห้าม พรรคการเมืองบอกว่า ถ้าอย่างนั้นพรรคเล็กๆ นอมินี อาจจะแอบเอารายชื่อใครก็ไม่รู้มาใส่ไว้ใน 5 ชื่อ พรรคการเมืองใหญ่ ต้องถูกบังคับให้เอารายชื่อเหล่านั้นมาเป็นนายกฯ หรือไม่ เราจึงคิดกำหนดขั้นต่ำไว้ว่า พรรคที่จะเอารายชื่อมาเป็นนายกฯได้ ต้องมีส.ส.ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 คือ 25 คน จาก 500 คน เป็นการป้องกันอีกชั้นหนึ่ง หรือพรรคการเมืองอาจเขียนข้อบังคับไว้ว่า จะไม่ร่วมกับพรรคการเมืองที่เสนอบุคคลภายนอกเป็นนายกฯ แต่การ
เสนอชื่อนายกฯ เป็นประโยชน์ต่อประชาชน แม้พรรคการเมืองอาจกลัวไอ้โม่ง ประชาชนก็อาจกลัวไอ้โม่งคนละคน จึงประกาศเสียแต่ต้น จะได้รู้ว่าใคร
จะมา จะได้ตัดสินใจได้ถูก"
นายมีชัย กล่าวด้วยว่า ขอให้พรรคการเมืองคิดให้รอบคอบ มองประโยชน์ประชาชนประเทศเป็นหลัก ถ้าเห็นว่ามีช่องโหว่ ก็บอกมากรธ. พร้อมจะรับฟัง ไม่ใช่ค้านเฉย ๆ ไม่บอกว่า ดีกว่านี้จะทำอย่างไร หรือไม่บอกเหตุผลที่ชัดเจนก็ไม่ทราบจะปรับอย่างไร เพื่อให้พอรับกันได้ที่สุด สำหรับประเทศไทย
นายมีชัย กล่าวยืนยันว่า กรธ.ไม่ได้ทำงานภายใต้การครอบงำของ คสช. เพียงแต่ปฏิบัติตามกรอบกว้างๆ ที่คสช.ระบุมาให้เท่านั้น แต่ไม่เคยเข้ามากำหนดให้ต้องดำเนินการอย่างไร คสช. เพียงแต่รับทราบจากรายงานการประชุมเท่านั้น
"ถ้าถามว่า มีใครข่มขู่กรธ.ไหม ก็มีแต่ที่ประกาศว่าจะรณรงค์ให้ประชาชนคว่ำรัฐธรรมนูญ เพื่อไม่ให้ผ่านประชามติ โดยกรธ.ไม่ได้คิดว่าถ้าไม่ผ่านประชามติจริงๆ แล้วจะมีทางออกอย่างไร เพราะเป็นเรื่องที่คสช.ต้องไปคิด" นายมีชัย กล่าว
ส่วนกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. พูดว่าแม่น้ำ 5 สายต้องเดินไปด้วยกัน และคสช.เป็นผู้กำหนดกรอบในการร่างรัฐธรรมนูญนั้น เป็นเพียงการกำหนดกรอบ ไม่ใช่การลงในรายละเอียดว่าต้องการอย่างไร ตนยืนยันได้ว่า รัฐบาลหรือ คสช.ไม่เคยพูดให้ต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ มีแต่ข้อเสนอที่บอกให้เป็นประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ปฏิรูป ป้องกันการทุจริต และเขียนให้สั้น อย่ายาว
นัก เท่านั้น
อย่างไรก็ตามกรณีที่พล.อ.ประยุทธ์ ยืนยันว่าต้องมี คปป. เป็นกลไกเปลี่ยนผ่านนั้น ตนยังไม่ได้คิดว่าจะทำตามหรือไม่ เพราะยังไม่ถึงเวลาที่จะพิจารณาเรื่องนี้
นายมีชัย กล่าวด้วยว่า กำลังจะทำการสำรวจความคิดเห็นประชาชน ซึ่งจะนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจในการร่างรัฐธรรมนูญด้วย โดยในขณะนี้ ติดตามผลสำรวจของดุสิตโพล และนิด้าโพลอยู่ ก็พบว่าประชาชนเห็นด้วยกับการกาบัตรเดียว และไม่ได้คัดค้านเรื่องนายกฯคนนอก ทั้งนี้กรธ. ต้องการทราบว่าประชาชนมองอย่างไร โดยไม่คิดที่จะบิดเบือน เพราะไม่ได้มีส่วนได้เสียจนอยากบันดาลให้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ และกรธ. ก็ไม่ได้เป็นผู้ให้
ดุสิตโพลสำรวจความเห็นในเรื่องนี้ด้วย
ส่วนที่มีความเป็นห่วงว่า การเสนอบัญชีรายชื่อนายกฯ จะเปิดช่องให้นายทุนซื้อพรรคการเมือง เพื่อเข้ามาบริหารประเทศง่ายขึ้นนั้น นายมีชัย กล่าวว่า ระบบนี้ไม่ได้เปิดช่องอะไรมากกว่าที่เป็นอยู่ แต่อย่างน้อยประชาชนจะทราบล่วงหน้าว่า ใครจะเป็นนายกฯ ดังนั้นระบบที่กรธ.คิด จึงไม่ถือว่าผิดธรรมชาติ ที่กำหนดว่าถ้าพรรคการเมืองได้คะแนนส.ส.เขตเกินคะแนนป๊อปปูล่าโหวต แล้วจะไม่ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อนั้นไม่จริง เพราะต่างประเทศก็ทำแบบนี้ ซึ่งระบบเยอรมันก็คิดเช่นนี้ แต่เราไม่ได้ลอกเลียนแบบใคร เพราะต้องการแก้ปัญหาของประเทศ ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่น อีกทั้งคุณสมบัติของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกฯ จะต้องใช้มาตรฐานเดียวกับผู้สมัครส.ส. หรืออาจจะมีมากกว่านั้นก็ได้