ASTV ผู้จัดการรายวัน - “มีชัย” ลั่นร่าง รธน.อย่างอิสระ-ไม่มีใครสั่งได้ ขู่เลิกเขียนหากถูกบังคับ อ้อมแอ้มตอบปม คปป. อ้างยังไม่ได้คิด พร้อมรับฟังทุกความเห็นเชื่อ รธน.จะแก้ปัญหาได้เมื่อทุกฝ่ายเห็นพ้อง รับอาจดึง “บวรศักดิ์” ช่วยงานแบบไร้ตำแหน่ง ด้านอดีตประธาน กมธ.ยกร่างฯอวย “มีชัย” เสียสละ เชื่อทำได้ดีกว่าตัวเอง ปัดรับที่ปรึกษา กรธ. เหตุเคยประกาศกับสื่อไว้ แต่ยินดีช่วยอย่างไม่เป็นทางการ ขณะที่ “สมคิด เลิศไพฑูรย์” พร้อมรับเป็นกุนซือ ด้าน “วิษณุ” ระบุยังไม่รีบแก้ รธน.ชั่วคราว หวั่นถูกมองส่งสัญญาณยื้ออำนาจ “พรเพชร” แนะแก้ปมประชามติไม่เคลียร์ หาทางออกร่าง รธน.ไม่ผ่านประชามติ
นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงแนวทางในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า ขณะนี้กำลังไล่ดูตามกรอบที่กำหนดไว้ในมาตรา35 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2557 และ 5 ข้อที่นายกรัฐมนตรีมอบให้ แต่ขณะนี้ยังไมได้ศึกษาจุดอ่อนของร่างรัฐธรรมนูญปี 2558ที่ไม่ผ่านความเห็นชอบของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จึงไม่ทราบว่าสาเหตุที่ไม่ผ่านเป็นเพราะอะไร และในการโหวตคว่ำรัฐธรรมนูญครั้งนั้นก็ไม่มีการให้เหตุผลว่าไม่รับเพราะอะไร
** ปัดตอบปม คปป.อ้างยังไม่คิด
นายมีชัย กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่อง คณะกรรมการยุทธศาสตร์ปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) ที่ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่า เป็นอำนาจรัฐซ้อนรัฐนั้น ตนยังยังตอบอะไรไม่ได้ เพราะกำลังดูกรอบรัฐธรรมนูญที่บังคับไว้ จากนั้นมาดูเนื้อในว่าจำเป็นต้องมีบทบัญญัติอะไรบ้าง ซึ่งต้องให้เวลา เพราะไม่ใช่ว่า2 วันจะคิดเสร็จ ถ้าเป็นอย่างนั้นระยะเวลา 180 วันก็ยาวเกินไป 7วันก็เสร็จ แต่ปัญหาคือคิดไม่ออกว่าที่จะให้วางกลไกในเรื่องต่างๆอย่างไร คิดยาก เพราะบางเรื่องใช้เวลาทั้งชั่วโมงก็ไมได้อะไร จึงต้องระดมมันสมองและรับฟังความคนอื่น ซึ่งตนก็รอฟังจากคนข้างนอกด้วยว่าจะมีข้อเสนออะไรบ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่มีการพูดว่าจำเป็นต้องมีช่วงเปลี่ยนผ่าน เช่น ภาค4 การปฏิรูปปรองดองและมีวาระพิเศษนั้น นายมีชัยกล่าวว่า ตนไม่มีธงเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งยังไมได้คิดว่าในสถานการณ์บ้านเมืองอย่างนี้จำเป็นต้องมีอำนาจพิเศษ 5ปีหรือไม่
** ไม่จำเป็นต้องลอกแบบสากล
ผู้สื่อข่าวถามว่าการเขียนรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะสร้างกลไกหรือกลายเป็นการสร้างอำนาจใหม่ นายมีชัยกล่าวยืนยันว่า ไม่ได้คิด เพราะเป็นคำถามที่ตอบยาก เนื่องจากสมมุติฐานที่อยู่บนความคลาดเคลื่อน เพราะไม่ว่าอย่างไรทุกองค์กรเป็นของรัฐ
เมื่อถามย้ำว่า แต่อำนาจรัฐธรรมนูญให้อำนาจ คปป.อยู่เหนือทุกอย่างแล้วหลักคิดของท่านคืออะไร นายมีชัยกล่าวเพียงว่า ยังไมได้คิด
เมื่อถามว่าในรัฐธรรมนูญควรมีผลบัญญัติที่ทำให้เกิดอำนาจรัฐซ้อนรัฐหรือไม่ นายมีชัยกล่าวว่า จะมีไปทำไม รัฐธรรมนูญที่จะได้รับการยอมรับจากสากลบางอย่าง เราอาจจะทำ แต่สากลไม่ทำ เช่น เราเขียนเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ต้องได้รับความคุ้มครอง ซึ่งสากลไม่เขียน แต่เขาก็ยอมรับ ดังนั้นการร่างรัฐธรรมนูญไมได้หมายความว่าต้องมีเหมือนสากลทั้งหมด หรือลอกมาแต่ต้องกำหนดแนวคิดเพื่อจะแก้ปัญหาบ้านเมืองได้ เช่นเกือบทุกประเทศไม่มีใครเขียนเรื่อง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ แต่เราก็เขียน ซึ่งคนก็ยอมรับ
** แย้ม “บวรศักดิ์” ช่วยงานไร้ตำแหน่ง
ส่วนการแต่งตั้งที่ปรึกษา กรธ.นั้น นายมีชัยกล่าวว่า จะเชิญเลขานุการที่ยกร่างรัฐธรรมนูญ3 ฉบับที่ผ่านมาเข้าร่วม แต่ยังไมได้คุยกับ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ จึงยังไม่ทราบว่า มีการปฏิเสธที่จะไม่รับตำแหน่งกับผู้สื่อข่าวไปแล้ว ซึ่งหากนายบวรศักดิ์บอกว่าพร้อมทำงานโดยไม่รับตำแหน่ง ตนก็อาจให้เป็นที่ปรึกษาโดยไม่มีตำแหน่งก็ได้ นอกจากนี้จะเชิญองค์กรอิสระมาให้ความเห็นเพื่อดูอุปสรรคและปัญหาว่าต้องเครื่องมืออะไรเพิ่มเติมเพื่อจะได้บรรลุเป้าหมาย
สำหรับกรณีที่ ป.ป.ช.ท้วงติงในร่างรัฐธรรมนูญปี 58 ตัดทอนอำนาจการไต่สวนของ ป.ป.ช. เหลือแค่ระดับปลัดกระทรวงและหน่วยงานควรมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่นั้น นายมีชัยกล่าวว่า ขณะนี้ในร่างรัฐธรรมนูญนั้นก็ไม่มีแล้ว ซึ่งตนจะหารือเรื่องเหล่านี้ด้วย เพราะแม้ว่าจะได้รับโจทย์ให้กำหนดมาตรการปราบปรามการทุจริต และคอร์รัปชั่น แต่ไม่ใช่ง่ายเหมือนหนึ่งบวกหนึ่งเท่ากับสอง ดังนั้นจึงขอว่าอย่าเพิ่งคาดคั้น เพราะถ้าตนตอบเองได้คนเดียว คงไม่ต้องตั้ง 21 คน ให้ตนร่าง3วันก็เสร็จ
** ยันมีอิสระร่าง รธน.เต็มที่
ผู้สื่อข่าวถามว่าในฐานะที่ผ่านความยากลำบากสถานการณ์บ้านเมืองหลายครั้ง คิดว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะช่วยเปลี่ยนผ่านบ้านเมืองคืนคู่ความสงบได้หรือไม่ นายมีชัยกล่าวว่า เป็นเจตน์จำนงของ คสช. แต่สติปัญญาของ21คนจะคิดออกหรือไม่ยังไม่รู้ จึงอ้อนวอนให้คน65 ล้านคนมาช่วยคิด ส่วนที่นายกฯให้หลักมา5 ข้อก็อยู่ในมาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวอยู่แล้ว แต่ต้องไปดูในรายละเอียด โดยยืนยันว่าตนสามารถทำงานได้อย่างอิสระ และไม่มีใครสั่งตนได้
เมื่อถามว่าในร่างรัฐธรรมนูญจำเป็นต้องเขียนเรื่องการปฏิรูปและการปรองดองไว้หรือไม่ ประธานกรธ.กล่าวว่า เขาก็อยากให้มีกลไกการปฏิรูปและการปรองดอง ฉะนั้นถ้าจำเป็นต้องเขียนก็ต้องเขียน แต่อย่าเพิ่งถามว่าเขียนอย่างไร เพราะคิดไม่ออก แต่ถ้าคิดอะไรออกเราจะคิดหลายๆทางแล้วนำความคิดนั้นไปสำรวจความเห็น อาจแยกทำ2ส่วนคือส่วนหนึ่งถามความเห็นของสื่อมวลชนที่อยู่ในสภา อีกส่วนถามประชาชน เช่น ถ้าเรามีสองแบบก็เปิดให้มีการเสนอแบบที่สามได้ ซึ่งจะไม่มีการหมกเม็ดเนื้อหามาโผล่ในวันสุดท้าย แต่จะมีการถามสื่อมวลชนอยู่เรื่อยๆก็จะบันทึกว่า สื่อเห็นดีเห็นงามด้วยแล้ว
“หนักใจที่รับตำแหน่งนี้ เรียกว่าไม่ค่อยสบายใจ เพราะผมเที่ยวซะเคย ทำให้ไปเที่ยวไม่ได้และงานก็หนัก อีกทั้งมีข้อจำกัด เพราะจะทำที่บ้านก็ไม่ได้ จะหนีสื่อก็ไม่ได้ ส่วนอย่างอื่นไม่มีข้อจำกัดอะไร ที่สื่อนึกว่ามีคนสั่งอย่างโน้นอย่างนี้ จริงๆแล้วไม่มี ซึ่งในการเปิดรับฟังความเห็นมีเหตุมีผล ผมก็พร้อมปฏิบัติ ถ้าแนวคิดของผมไม่ตรงกับผู้มีอำนาจ ผู้มีอำนาจก็คงเป็นทุกข์ แต่ถ้าผมไม่เห็นด้วย ผมก็ไม่ยอม จะทำตามที่ผมเห็นสมควรและให้กรรมการทั้ง21 คนพิจารณาว่าดีจริง เพราะเป็นความรับผิดชอบ แต่ถ้ามาบังคับให้เขียน ทั้งที่ไม่เห็นด้วย ก็เลิกเขียน เพราะร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ” นายมีชัย ระบุ
** โฆษก กรธ.เผยวางกรอบ รธน.ใกล้เสร็จ
นายนรชิต สิงหเสนี โฆษก กรธ.เปิดเผยหลังการประชุม กรธ.ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาตามกรอบที่รัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนด โดยขณะนี้เข้าสู่หมวดที่ 3ถึงหมวดที่ 6 ตั้งแต่กลไกการปราบปรามการทุจริต บุคคลที่ต้องคำพิพากษาว่าทุจริตจะทำอย่างไรไม่ให้เข้าสู่การเมือง โดยประธาน กรธ.ได้ทำหนังสือเชิญองค์กรอิสระที่รับผิดชอบมาให้ความเห็นต่อ กรธ.ด้วย อาทิ ในวันที่ 13 ต.ค.จะเป็นสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) วันที่ 14 ต.ค. เชิญ ป.ป.ช. วันที่ 15 ต.ค.เชิญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และกำลังประสานทาง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และสำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน ด้วย
นายนรชิต กล่าวว่า ในวันนี้พิจารณากรอบตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวข้อ 7 และคาดว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้ โดยนายมีชัยให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่ไม่ต้องนับหนึ่งใหม่เพราะมีตัวอย่างที่ดีในหลายเรื่องจากรัฐธรรมนูญปี 17 ปี 40 และ 50 ซึ่งรวมทั้งร่างรัฐธรรมนูญปี 58 ด้วย ส่วนจะมีการเชิญพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองให้ข้อมูลหรือไม่นั้นยังไม่ได้ตัดสินใจ แต่จะมีการสื่อสารกับสังคมผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสารมวลชนทุกช่องทาง อย่างไรก็ตามส่วนตัวมองว่าหากต้องการให้เกิดการปรองดองก็ควรเปิดโอกาสให้ตัวแทนพรรคการเมืองได้แสดงความเห็นเพราะเป็นผู้ปฏิบัติและมีส่วนสำคัญในการสร้างความปรองดองแห่งชาติได้ ถ้าไม่มาร่วมการสร้างความปรองดองคงเกิดยาก
ผู้สื่อข่าวถามว่าการพิจารณากรอบของรัฐธรรมนูญจะย้อนหลังไปถึงนักการเมืองก่อนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประกาศใช้หรือไม่ นายนรชิต กล่าวว่า นายมีชัยเคยพูดไว้ว่า อย่างผู้ใหญ่บ้านหรือกำนัน เมื่อทุจริตก็ไม่สามารถกลับมาดำรงตำแหน่งได้ ดังนั้น ตำแหน่ง ส.ส. และนายกฯ ซึ่งสูงกว่าตำแหน่งดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมเข้มข้นมากกว่า แต่ในประเด็นนี้ไม่มีข้อสรุปอย่างเป็นทางการ
** “บวรศักดิ์” ชู “มีชัย” เสียสละเพื่อชาติ
วันเดียวกัน ที่ธนาคารกรุงไทย สาขารัฐสภา นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธาน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้เดินทางมาปิดบัญชีเงินเดือนในสมัยเป็น สปช. และ กมธ.ยกร่างฯ โดยได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีประธาน กรธ.จะทาบทามให้มาเป็นที่ปรึกษา กรธ.ว่า ขอบคุณนายมีชัยที่มีเมตตา ให้เกียรติเชิญมาร่วมเป็นที่ปรึกษา และได้เรียนตอนที่คุยกันแล้วว่า ตนให้สัมภาษณ์สื่อฯ ไปว่า ขอไม่เข้าร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งนายมีชัยบอกว่าไม่เป็นไร ทั้งนี้ตนยินดีที่จะช่วยนายมีชัยทำงานทุกประการ แต่เมื่อพูดกับสื่อไว้แบบนี้ ก็ต้องขออภัยนายมีชัยด้วย แต่ถ้าอยากให้ช่วยก็ยินดีช่วยเป็นการส่วนตัว โดยไม่มีตำแหน่ง เพราะนายมีชัยเป็นผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ จึงขอรับความเมตตานี้ไว้ และขออภัยด้วย แต่จะเอาใจช่วยและช่วยอยู่ข้างนอกโดยไม่มีตำแหน่งอะไร
“ดีใจที่ท่านมีชัยเสียสละเข้ามา เพราะการร่างรัฐธรรมนูญในยุคนี้ ไม่เหมือนกับปี 2540 และปี 2550 จะมีความยากลำบากหลายประการ การที่ท่านมีชัยยอมรับเป็นประธาน กรธ. ทั้งที่ไม่อยากจะรับตั้งแต่แรกก็เป็นความเสียสละ คือ ทำเพื่อทดแทนแผ่นดิน เพราะท่านเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ยาวนาน และมีมากกว่าผม จึงเชื่อว่ารัฐธรรมนูญน่าจะออกมาด้วยดี” นายบวรศักดิ์ กล่าว
** โนคอมเม้นต์ร่าง รธน.ใหม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นห่วงนายมีชัยหรือไม่ เพราะการร่างรัฐธรรมนูญจะทำให้ถูกใจทุกคนเป็นเรื่องยาก นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า นายมีชัยรู้ข้อจำกัดนี้เป็นอย่างดี ทั้งเรื่องเวลา สถานการณ์ และการถูกวิพากษ์วิจารณ์ แต่เมื่อเสียสละเข้ามาทำ ถือเป็นสิ่งที่น่ายกย่อง และเห็นว่าความสามารถอย่างนายมีชัย ไม่จำเป็นต้องมีกรรมการคนอื่นก็ยังได้เลย แต่ก็ทำไม่ได้ เพราะในสภาพสังคมต้องระดมความคิดเห็นกัน แต่ในสถานะส่วนตัว หากเป็นประโยชน์อะไรได้กับการร่างรัฐธรรมนูญ และเป็นประโยชน์กับงานบ้านเมืองในเรื่องอื่นได้โดยไม่มีตำแหน่ง ก็ไม่มีปัญหา
เมื่อถามย้ำว่า หากถูกนายมีชัยกล่อม จะทบทวนหรือไม่ นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า “ผมกับท่านมีชัยพบกันและรับประทานอาหารกันอยู่เรื่อยๆ เย็นนี้ (8 ต.ค.) ก็นัดรับประทานข้าวกัน หากโดนกล่อมอีก ผมก็จะไปกราบตักขอบพระคุณ และยินดีที่จะช่วยอย่างไม่เป็นทางการ”
เมื่อถามว่า การที่ไม่มีอดีต กมธ.ยกร่างฯ อยู่ใน กรธ. เป็นห่วงหรือไม่ ว่าร่างเดิมจะไม่ได้รับการพิจารณา นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า “จบไปแล้ว อดีตก็คืออดีต อย่าไปเที่ยวยึดติดกับอะไร ขอให้อยู่กับปัจจุบัน เพราะเมื่อร่างเดิมไม่ผ่านก็จบ เมื่อจบก็คือจบ และผมเห็นว่า สิ่งที่ตนทำมานั้นดีที่สุด ทำสุดความสามารถ และมีเหตุผลอธิบายได้ทุกเรื่อง แต่ กรธ. ก็มีสิทธิที่จะนำไปพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งเรื่องนี้เป็นอำนาจของนายมีชัย ผมไม่เสนอความเห็นอะไรทั้งสิ้น เพราะความเห็นของผมปรากฏอยู่ในร่างที่หนึ่ง เมื่อครั้งที่เสนอ สปช.ครั้งแรก และร่างสุดท้ายอยู่แล้ว เป็นตัวหนังสือชัดเจน ไม่ต้องพูดด้วยวาจา”
** โทษสื่อมุ่งโจมตี คปป.ตามนักการเมือง
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีเนื้อหาอะไรที่ยังไม่ได้ใส่ไปในร่างสุดท้ายที่ถูกคว่ำอีกหรือไม่ นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ตนบอกนายมีชัยแล้วว่า รัฐธรรมนูญที่ตนร่างก็ไม่ใช่รัฐธรรมนูญในฝันของตน เพราะต้องฟังเสียงกรรมาธิการอีก 35 คน ฟังเสียงคนนอก ฟัง ครม. คสช. ดังนั้นจึงต้องร่างภายใต้การรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น และเราก็ไปรับฟังความเห็นของประชาชนมาทั่วประเทศ ทั้งเสียงของ สปช.ด้วย ซึ่งมีหลายส่วน ถ้าตนเขียนได้เองก็จะไม่เขียนแบบนั้น แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนั้นจบไปแล้ว จึงไม่ควรรื้อฟื้น และการร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวครั้งที่แล้ว ไม่ได้ทำการสำรวจความเห็น โดยผ่านสำนักงานสำรวจความคิดเห็นปกติ แต่ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า จัดทำไปถามความเห็นประชาชนทั่วประเทศ ซึ่ง กรธ.สามารถขอดูได้จาก นางถวิลวดี บุรีกุล สมาชิก สปท. ซึ่งเป็นอดีต กมธ.ยกร่างฯ และความเห็นของประชาชนกว่า 85 เปอร์เซ็นต์อยู่ในร่างรัฐธรรมนูญ ชัดเจนที่ กมธ.ยกร่างฯ เห็นอย่างหนึ่ง ประชาชนเห็นอย่างหนึ่ง ซึ่ง กมธ.ยกร่างฯ เปลี่ยนไปตามประชาชน นั่นคือ เรื่องการไปเลือกตั้ง เพราะ กมธ.ยกร่างฯ อยากเห็นสิทธิ แต่ประชาชนอยากให้เป็นหน้าที่ ซึ่งที่สุด กมธ.ยกร่างฯ ก็เปลี่ยนตามที่ประชาชนต้องการ แต่เรื่องเหล่านี้ผ่านไปแล้วก็ควรให้ผ่านไป
“ส่วนประเด็นเรื่อง นายกฯ คนนอก หรือ คปป. ประชาชนก็ให้ความเห็นไว้ และมีการเผยแพร่แล้ว เพียงแต่สื่อไม่สนใจ สื่อสนใจแต่คำสัมภาษณ์ของนักการเมืองหน้าเดิมๆ คือ คนที่อยู่ในปัญหาทั้งนั้น ซึ่งมีผลประโยชน์ทางการเมืองเกี่ยวข้อง สื่อฯ ไม่สนใจงานวิชาการ ไม่สนใจเสียงของคนที่ไม่มีเสียง ก็เป็นเรื่องธรรมดา” นายบวรศักดิ์ กล่าว
** “สมคิด” พร้อมรับเป็นกุนซือ
นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะอดีตเลขานุการ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 กล่าวถึงกรณีที่ นายมีชัย จะเทียบเชิญอดีตเลขานุการ กมธ.ยกร่างฯ แต่ละชุดเข้ามาเป็นที่ปรึกษา กรธ.ว่า ตอนนี้ยังไม่ได้รับการทาบทาม และอยากทราบว่าหากไปเป็นที่ปรึกษาจะให้ทำงานอะไร เพราะดูแล้ว กรธ.ทั้ง 21 คน ก็มีความรู้ความสามารถ อย่างไรก็ตาม หากได้รับการทาบทามเข้ามาตนก็พร้อมที่จะเข้าไปทำงานเพื่อประเทศชาติ
** นายกฯไม่ขวาง “บวรศักดิ์" ช่วยงาน กรธ.
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการตั้งที่ปรึกษา 9 คนของ กรธ.ว่า การจะเชิญนายบวรศักดิ์หรือไม่ขึ้นอยู่กับ กรธ. หากมีคุณสมบัติก็เชิญเข้ามา ตนไม่ได้ห้าม ทุกคนมีคุณสมบัติ มีความสามารถทั้งนั้น อาจจะดีด้วยซ้ำเพราะ นายบวรศักดิ์ อยู่ใน กมธ.ยกร่างฯชุดเดิมที่ยกร่างมา รัฐธรรมนูญเป็นสิ่งสำคัญ เป็นกฎหมายหลักของชาติ แต่มันไม่ใช่แก้ไขทุกอย่างได้ อยู่ที่ใจคนทุกคน อยู่ที่ใจนักการเมืองทุกคน ข้าราชการทุกคน ประชาชนทุกคน ต้องช่วยทำให้บ้านเมืองนี้สงบ และเคลื่อนไปข้างหน้า กฎหมายอะไรก็เอาไม่อยู่ถ้ายังเป็นแบบเดิม มีกฎหมายเป็นร้อยข้อ ยังเดินขบวนกันมา 6 เดือน
** ยังไม่ต้องรีบแก้ รธน.ชั่วคราว
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การตั้งที่ปรึกษา กรธ.เป็นเรื่องของ กรธ. โดยคำสั่งหัวหน้า คสช.กำหนดให้ตั้งที่ปรึกษากรธ.ได้ไม่เกิน 9 คน และให้คำนึงถึงคนที่เคยเป็น กมธ.ยกร่างฯ ปี 40, 50 และ 58 เอามาเป็นที่ปรึกษาเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยง เพราะสังคมเรียกร้องอยากให้มีความยึดโยงกับรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับนี้ เพื่อจะได้เร็วขึ้น เมื่อคำสั่งเขียนแบบนี้ นายมีชัยจึงอยากจะได้คนที่เป็นเลขานุการ กมธ.ยกร่างฯ ในอดีต เช่น นายบวรศักดิ์ อดีตเลขานุการ กมธ.ยกร่างฯ ปี 40 นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อดีตเลขานุการ กมธ.ยกร่างฯ ปี 50 และนางกาญจนรัตน์ ลีวิโรจน์ อดีตเลขานุการ กมธ.ยกร่างฯ ปี 58 และสามารถเชิญบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นได้เช่นกัน แต่ตนคงไม่เข้าร่วมส่วนสังคมจะยี้หรือไม่ยี้ ตนไม่รู้ แต่ความจริงตัวคนไม่สำคัญเท่ากับเรื่องที่เขาจะมาเล่า
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ระบุต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เพื่อหาทางออกกรณีทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน นายวิษณุ กล่าวว่า หากจำเป็นก็ต้องแก้ เพราะก่อนหน้านี้สื่อสงสัยและถามตนทุกวันว่า ถ้า กรธ.ร่างรัฐธรรมนูญแล้วไม่ผ่านประชามติจะทำอย่างไร ตอนนี้ไม่มีคำตอบ แต่ต้องสร้างคำตอบขึ้นมาให้ได้ เพียงแต่ไม่จำเป็นต้องรีบทำ ถ้าทำเร็วจะหาว่าเป็นการส่งสัญญาณอีกว่าจะไม่ผ่านประชามติหรือไม่
เมื่อถามว่า หากแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว มีโอกาสที่จะขยายเวลาให้กับ กรธ. นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ได้คิด ไม่ควร ตนได้คุยกับนายมีชัยแล้ว โดยนายมีชัยไม่เคยบ่นว่าจะขอเวลาเพิ่ม เพียงแต่เล่าให้ฟังว่ามีระยะเวลา 180 วันก็จริง แต่หักวันหยุดไปแล้วจะเหลือ 120 วัน ไม่ได้มาบ่นว่าเวลาน้อยเลย
** “พรเพชร” เชื่อ รธน.ฉบับ “มีชัย” ผ่านแน่
นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว มี 2 จุดที่ต้องแก้ไข คือ 1.การทำประชามติ ซึ่งในภาษาที่เขียนไว้อาจไม่ชัดเจน โดยเจตนารมย์คือการนับคะแนนผู้มาใช้สิทธิ์ ไม่ใช่การนับคะแนนของผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง จึงต้องแก้ไขให้ชัดเจนไม่เช่นนั้นอาจตีความไขว้เขว่ และ2.กรณีร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับที่กำลังร่างอยู่ไม่ผ่านประชามติจะเดินหน้าอย่างไร ซึ่งเป็นกระบวนการกฎหมายที่จำเป็นต้องเขียนให้ชัดเจน ว่าถ้าผ่านหรือไม่ผ่านจะเป็นอย่างไร ทั้งนี้ ส่วนตัวมั่นใจว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่มีนายมีชัยเป็นประธาน จะผ่านประชามติ และเป็นที่ยอมรับของประชาชน เพราะการร่างจะต้องมีการรับฟังเสียงของประชาชนและเป็นไปตามหลักสากล
นายพรเพชร กล่าวต่อว่า ส่วนขั้นตอนการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 46 ที่ ครม.และ คสช.ให้ความเห็นชอบร่วมกัน จากนั้นเสนอให้ สนช.พิจารณา ซึ่ง สนช.จะมีมติให้ความชอบหรือไม่ภายใน 15 วัน ส่วนตัวคาดว่าการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวจะต้องเสร็จภายในกรอบเวลา 180 วันของ กรธ.
เมื่อถามว่า หากร่างรัฐธรรมนูญทำประชามติไม่ผ่าน ควรจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร นายพรเพชร กล่าวว่า เป็นหน้าที่ของ คสช.และ ครม.ในการดำเนินการ แต่ส่วนตัวเห็นว่าแนวทางการแก้ไขจะต้องทำให้ทุกอย่างเดินหน้าไปสู่ระบอบประชาธิปไตยในระยะเวลาที่เคยกำหนดไว้ ซึ่งสามารถนำรัฐธรรมนูญฉบับที่ไม่ผ่านประชามติหรือรัฐธรรมนูญอื่นๆมาแก้ไข
** “มาร์ค” แนะล้อมคอกประชานิยม
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การร่างรัฐธรรมนูญไม่ควรตั้งโจทย์ว่า จะมีหรือไม่มี คปป. แต่ควรมาตั้งโจทย์ว่า การทุจริตจะป้องกันอย่างไรแก้อย่างไร ประชานิยมจะป้องกัน และแก้ไขอย่างไร หรือทำอย่างไรให้ประชาชนมีส่วนร่วม ถ้าตั้งคำถามแบบนี้แล้วหาคำตอบ จะช่วยลดปัญหาในอดีตมากกว่า ส่วนที่ กรธ.จะเชิญนายบวรศักดิ์ มาเป็นที่ปรึกษาฯถือว่าเป็นประโยชน์ในการอธิบายการร่างรัฐธรรมนูญรอบที่แล้ว ถึงแนวคิดหลักคิดเบื้องหลังของแต่ละมาตราที่เขียนออกมา จะได้รู้ปัญหาว่าควรปรับปรุงตรงไหน ทั้งนี้การจะนำรัฐธรรมนูญในอดีตมาเป็นต้นแบบนั้น ต้องดูที่มาที่ไปและสภาพความเปลี่ยนแปลงของแต่ละฉบับด้วย อย่างรัฐธรรมนูญปี 2540 แม้ว่าจะมีลักษณะที่ทำให้มีความเข้มแข็งของฝ่ายเลือกตั้งก็จริง โดยมีองค์กรอิสระมาถ่วงดุล แต่ก็เกิดปัญหามีการแทรกแซง จนทำให้เสียหายไปหมด เพราะฉะนั้นจะเขียนแบบปี 2540 ก็คงไม่ได้อีก ดังนั้นควรต้องไปดูของเก่า และนำที่เป็นประโยชน์มาผสมผสานกัน และต้องเลือกสิ่งที่จะเป็นไปได้ในยุคนี้ และไม่ควรทิ้งพัฒนาการทางการเมืองที่ผ่านมา
นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงแนวทางในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า ขณะนี้กำลังไล่ดูตามกรอบที่กำหนดไว้ในมาตรา35 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2557 และ 5 ข้อที่นายกรัฐมนตรีมอบให้ แต่ขณะนี้ยังไมได้ศึกษาจุดอ่อนของร่างรัฐธรรมนูญปี 2558ที่ไม่ผ่านความเห็นชอบของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จึงไม่ทราบว่าสาเหตุที่ไม่ผ่านเป็นเพราะอะไร และในการโหวตคว่ำรัฐธรรมนูญครั้งนั้นก็ไม่มีการให้เหตุผลว่าไม่รับเพราะอะไร
** ปัดตอบปม คปป.อ้างยังไม่คิด
นายมีชัย กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่อง คณะกรรมการยุทธศาสตร์ปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) ที่ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่า เป็นอำนาจรัฐซ้อนรัฐนั้น ตนยังยังตอบอะไรไม่ได้ เพราะกำลังดูกรอบรัฐธรรมนูญที่บังคับไว้ จากนั้นมาดูเนื้อในว่าจำเป็นต้องมีบทบัญญัติอะไรบ้าง ซึ่งต้องให้เวลา เพราะไม่ใช่ว่า2 วันจะคิดเสร็จ ถ้าเป็นอย่างนั้นระยะเวลา 180 วันก็ยาวเกินไป 7วันก็เสร็จ แต่ปัญหาคือคิดไม่ออกว่าที่จะให้วางกลไกในเรื่องต่างๆอย่างไร คิดยาก เพราะบางเรื่องใช้เวลาทั้งชั่วโมงก็ไมได้อะไร จึงต้องระดมมันสมองและรับฟังความคนอื่น ซึ่งตนก็รอฟังจากคนข้างนอกด้วยว่าจะมีข้อเสนออะไรบ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่มีการพูดว่าจำเป็นต้องมีช่วงเปลี่ยนผ่าน เช่น ภาค4 การปฏิรูปปรองดองและมีวาระพิเศษนั้น นายมีชัยกล่าวว่า ตนไม่มีธงเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งยังไมได้คิดว่าในสถานการณ์บ้านเมืองอย่างนี้จำเป็นต้องมีอำนาจพิเศษ 5ปีหรือไม่
** ไม่จำเป็นต้องลอกแบบสากล
ผู้สื่อข่าวถามว่าการเขียนรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะสร้างกลไกหรือกลายเป็นการสร้างอำนาจใหม่ นายมีชัยกล่าวยืนยันว่า ไม่ได้คิด เพราะเป็นคำถามที่ตอบยาก เนื่องจากสมมุติฐานที่อยู่บนความคลาดเคลื่อน เพราะไม่ว่าอย่างไรทุกองค์กรเป็นของรัฐ
เมื่อถามย้ำว่า แต่อำนาจรัฐธรรมนูญให้อำนาจ คปป.อยู่เหนือทุกอย่างแล้วหลักคิดของท่านคืออะไร นายมีชัยกล่าวเพียงว่า ยังไมได้คิด
เมื่อถามว่าในรัฐธรรมนูญควรมีผลบัญญัติที่ทำให้เกิดอำนาจรัฐซ้อนรัฐหรือไม่ นายมีชัยกล่าวว่า จะมีไปทำไม รัฐธรรมนูญที่จะได้รับการยอมรับจากสากลบางอย่าง เราอาจจะทำ แต่สากลไม่ทำ เช่น เราเขียนเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ต้องได้รับความคุ้มครอง ซึ่งสากลไม่เขียน แต่เขาก็ยอมรับ ดังนั้นการร่างรัฐธรรมนูญไมได้หมายความว่าต้องมีเหมือนสากลทั้งหมด หรือลอกมาแต่ต้องกำหนดแนวคิดเพื่อจะแก้ปัญหาบ้านเมืองได้ เช่นเกือบทุกประเทศไม่มีใครเขียนเรื่อง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ แต่เราก็เขียน ซึ่งคนก็ยอมรับ
** แย้ม “บวรศักดิ์” ช่วยงานไร้ตำแหน่ง
ส่วนการแต่งตั้งที่ปรึกษา กรธ.นั้น นายมีชัยกล่าวว่า จะเชิญเลขานุการที่ยกร่างรัฐธรรมนูญ3 ฉบับที่ผ่านมาเข้าร่วม แต่ยังไมได้คุยกับ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ จึงยังไม่ทราบว่า มีการปฏิเสธที่จะไม่รับตำแหน่งกับผู้สื่อข่าวไปแล้ว ซึ่งหากนายบวรศักดิ์บอกว่าพร้อมทำงานโดยไม่รับตำแหน่ง ตนก็อาจให้เป็นที่ปรึกษาโดยไม่มีตำแหน่งก็ได้ นอกจากนี้จะเชิญองค์กรอิสระมาให้ความเห็นเพื่อดูอุปสรรคและปัญหาว่าต้องเครื่องมืออะไรเพิ่มเติมเพื่อจะได้บรรลุเป้าหมาย
สำหรับกรณีที่ ป.ป.ช.ท้วงติงในร่างรัฐธรรมนูญปี 58 ตัดทอนอำนาจการไต่สวนของ ป.ป.ช. เหลือแค่ระดับปลัดกระทรวงและหน่วยงานควรมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่นั้น นายมีชัยกล่าวว่า ขณะนี้ในร่างรัฐธรรมนูญนั้นก็ไม่มีแล้ว ซึ่งตนจะหารือเรื่องเหล่านี้ด้วย เพราะแม้ว่าจะได้รับโจทย์ให้กำหนดมาตรการปราบปรามการทุจริต และคอร์รัปชั่น แต่ไม่ใช่ง่ายเหมือนหนึ่งบวกหนึ่งเท่ากับสอง ดังนั้นจึงขอว่าอย่าเพิ่งคาดคั้น เพราะถ้าตนตอบเองได้คนเดียว คงไม่ต้องตั้ง 21 คน ให้ตนร่าง3วันก็เสร็จ
** ยันมีอิสระร่าง รธน.เต็มที่
ผู้สื่อข่าวถามว่าในฐานะที่ผ่านความยากลำบากสถานการณ์บ้านเมืองหลายครั้ง คิดว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะช่วยเปลี่ยนผ่านบ้านเมืองคืนคู่ความสงบได้หรือไม่ นายมีชัยกล่าวว่า เป็นเจตน์จำนงของ คสช. แต่สติปัญญาของ21คนจะคิดออกหรือไม่ยังไม่รู้ จึงอ้อนวอนให้คน65 ล้านคนมาช่วยคิด ส่วนที่นายกฯให้หลักมา5 ข้อก็อยู่ในมาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวอยู่แล้ว แต่ต้องไปดูในรายละเอียด โดยยืนยันว่าตนสามารถทำงานได้อย่างอิสระ และไม่มีใครสั่งตนได้
เมื่อถามว่าในร่างรัฐธรรมนูญจำเป็นต้องเขียนเรื่องการปฏิรูปและการปรองดองไว้หรือไม่ ประธานกรธ.กล่าวว่า เขาก็อยากให้มีกลไกการปฏิรูปและการปรองดอง ฉะนั้นถ้าจำเป็นต้องเขียนก็ต้องเขียน แต่อย่าเพิ่งถามว่าเขียนอย่างไร เพราะคิดไม่ออก แต่ถ้าคิดอะไรออกเราจะคิดหลายๆทางแล้วนำความคิดนั้นไปสำรวจความเห็น อาจแยกทำ2ส่วนคือส่วนหนึ่งถามความเห็นของสื่อมวลชนที่อยู่ในสภา อีกส่วนถามประชาชน เช่น ถ้าเรามีสองแบบก็เปิดให้มีการเสนอแบบที่สามได้ ซึ่งจะไม่มีการหมกเม็ดเนื้อหามาโผล่ในวันสุดท้าย แต่จะมีการถามสื่อมวลชนอยู่เรื่อยๆก็จะบันทึกว่า สื่อเห็นดีเห็นงามด้วยแล้ว
“หนักใจที่รับตำแหน่งนี้ เรียกว่าไม่ค่อยสบายใจ เพราะผมเที่ยวซะเคย ทำให้ไปเที่ยวไม่ได้และงานก็หนัก อีกทั้งมีข้อจำกัด เพราะจะทำที่บ้านก็ไม่ได้ จะหนีสื่อก็ไม่ได้ ส่วนอย่างอื่นไม่มีข้อจำกัดอะไร ที่สื่อนึกว่ามีคนสั่งอย่างโน้นอย่างนี้ จริงๆแล้วไม่มี ซึ่งในการเปิดรับฟังความเห็นมีเหตุมีผล ผมก็พร้อมปฏิบัติ ถ้าแนวคิดของผมไม่ตรงกับผู้มีอำนาจ ผู้มีอำนาจก็คงเป็นทุกข์ แต่ถ้าผมไม่เห็นด้วย ผมก็ไม่ยอม จะทำตามที่ผมเห็นสมควรและให้กรรมการทั้ง21 คนพิจารณาว่าดีจริง เพราะเป็นความรับผิดชอบ แต่ถ้ามาบังคับให้เขียน ทั้งที่ไม่เห็นด้วย ก็เลิกเขียน เพราะร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ” นายมีชัย ระบุ
** โฆษก กรธ.เผยวางกรอบ รธน.ใกล้เสร็จ
นายนรชิต สิงหเสนี โฆษก กรธ.เปิดเผยหลังการประชุม กรธ.ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาตามกรอบที่รัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนด โดยขณะนี้เข้าสู่หมวดที่ 3ถึงหมวดที่ 6 ตั้งแต่กลไกการปราบปรามการทุจริต บุคคลที่ต้องคำพิพากษาว่าทุจริตจะทำอย่างไรไม่ให้เข้าสู่การเมือง โดยประธาน กรธ.ได้ทำหนังสือเชิญองค์กรอิสระที่รับผิดชอบมาให้ความเห็นต่อ กรธ.ด้วย อาทิ ในวันที่ 13 ต.ค.จะเป็นสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) วันที่ 14 ต.ค. เชิญ ป.ป.ช. วันที่ 15 ต.ค.เชิญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และกำลังประสานทาง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และสำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน ด้วย
นายนรชิต กล่าวว่า ในวันนี้พิจารณากรอบตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวข้อ 7 และคาดว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้ โดยนายมีชัยให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่ไม่ต้องนับหนึ่งใหม่เพราะมีตัวอย่างที่ดีในหลายเรื่องจากรัฐธรรมนูญปี 17 ปี 40 และ 50 ซึ่งรวมทั้งร่างรัฐธรรมนูญปี 58 ด้วย ส่วนจะมีการเชิญพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองให้ข้อมูลหรือไม่นั้นยังไม่ได้ตัดสินใจ แต่จะมีการสื่อสารกับสังคมผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสารมวลชนทุกช่องทาง อย่างไรก็ตามส่วนตัวมองว่าหากต้องการให้เกิดการปรองดองก็ควรเปิดโอกาสให้ตัวแทนพรรคการเมืองได้แสดงความเห็นเพราะเป็นผู้ปฏิบัติและมีส่วนสำคัญในการสร้างความปรองดองแห่งชาติได้ ถ้าไม่มาร่วมการสร้างความปรองดองคงเกิดยาก
ผู้สื่อข่าวถามว่าการพิจารณากรอบของรัฐธรรมนูญจะย้อนหลังไปถึงนักการเมืองก่อนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประกาศใช้หรือไม่ นายนรชิต กล่าวว่า นายมีชัยเคยพูดไว้ว่า อย่างผู้ใหญ่บ้านหรือกำนัน เมื่อทุจริตก็ไม่สามารถกลับมาดำรงตำแหน่งได้ ดังนั้น ตำแหน่ง ส.ส. และนายกฯ ซึ่งสูงกว่าตำแหน่งดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมเข้มข้นมากกว่า แต่ในประเด็นนี้ไม่มีข้อสรุปอย่างเป็นทางการ
** “บวรศักดิ์” ชู “มีชัย” เสียสละเพื่อชาติ
วันเดียวกัน ที่ธนาคารกรุงไทย สาขารัฐสภา นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธาน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้เดินทางมาปิดบัญชีเงินเดือนในสมัยเป็น สปช. และ กมธ.ยกร่างฯ โดยได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีประธาน กรธ.จะทาบทามให้มาเป็นที่ปรึกษา กรธ.ว่า ขอบคุณนายมีชัยที่มีเมตตา ให้เกียรติเชิญมาร่วมเป็นที่ปรึกษา และได้เรียนตอนที่คุยกันแล้วว่า ตนให้สัมภาษณ์สื่อฯ ไปว่า ขอไม่เข้าร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งนายมีชัยบอกว่าไม่เป็นไร ทั้งนี้ตนยินดีที่จะช่วยนายมีชัยทำงานทุกประการ แต่เมื่อพูดกับสื่อไว้แบบนี้ ก็ต้องขออภัยนายมีชัยด้วย แต่ถ้าอยากให้ช่วยก็ยินดีช่วยเป็นการส่วนตัว โดยไม่มีตำแหน่ง เพราะนายมีชัยเป็นผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ จึงขอรับความเมตตานี้ไว้ และขออภัยด้วย แต่จะเอาใจช่วยและช่วยอยู่ข้างนอกโดยไม่มีตำแหน่งอะไร
“ดีใจที่ท่านมีชัยเสียสละเข้ามา เพราะการร่างรัฐธรรมนูญในยุคนี้ ไม่เหมือนกับปี 2540 และปี 2550 จะมีความยากลำบากหลายประการ การที่ท่านมีชัยยอมรับเป็นประธาน กรธ. ทั้งที่ไม่อยากจะรับตั้งแต่แรกก็เป็นความเสียสละ คือ ทำเพื่อทดแทนแผ่นดิน เพราะท่านเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ยาวนาน และมีมากกว่าผม จึงเชื่อว่ารัฐธรรมนูญน่าจะออกมาด้วยดี” นายบวรศักดิ์ กล่าว
** โนคอมเม้นต์ร่าง รธน.ใหม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นห่วงนายมีชัยหรือไม่ เพราะการร่างรัฐธรรมนูญจะทำให้ถูกใจทุกคนเป็นเรื่องยาก นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า นายมีชัยรู้ข้อจำกัดนี้เป็นอย่างดี ทั้งเรื่องเวลา สถานการณ์ และการถูกวิพากษ์วิจารณ์ แต่เมื่อเสียสละเข้ามาทำ ถือเป็นสิ่งที่น่ายกย่อง และเห็นว่าความสามารถอย่างนายมีชัย ไม่จำเป็นต้องมีกรรมการคนอื่นก็ยังได้เลย แต่ก็ทำไม่ได้ เพราะในสภาพสังคมต้องระดมความคิดเห็นกัน แต่ในสถานะส่วนตัว หากเป็นประโยชน์อะไรได้กับการร่างรัฐธรรมนูญ และเป็นประโยชน์กับงานบ้านเมืองในเรื่องอื่นได้โดยไม่มีตำแหน่ง ก็ไม่มีปัญหา
เมื่อถามย้ำว่า หากถูกนายมีชัยกล่อม จะทบทวนหรือไม่ นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า “ผมกับท่านมีชัยพบกันและรับประทานอาหารกันอยู่เรื่อยๆ เย็นนี้ (8 ต.ค.) ก็นัดรับประทานข้าวกัน หากโดนกล่อมอีก ผมก็จะไปกราบตักขอบพระคุณ และยินดีที่จะช่วยอย่างไม่เป็นทางการ”
เมื่อถามว่า การที่ไม่มีอดีต กมธ.ยกร่างฯ อยู่ใน กรธ. เป็นห่วงหรือไม่ ว่าร่างเดิมจะไม่ได้รับการพิจารณา นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า “จบไปแล้ว อดีตก็คืออดีต อย่าไปเที่ยวยึดติดกับอะไร ขอให้อยู่กับปัจจุบัน เพราะเมื่อร่างเดิมไม่ผ่านก็จบ เมื่อจบก็คือจบ และผมเห็นว่า สิ่งที่ตนทำมานั้นดีที่สุด ทำสุดความสามารถ และมีเหตุผลอธิบายได้ทุกเรื่อง แต่ กรธ. ก็มีสิทธิที่จะนำไปพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งเรื่องนี้เป็นอำนาจของนายมีชัย ผมไม่เสนอความเห็นอะไรทั้งสิ้น เพราะความเห็นของผมปรากฏอยู่ในร่างที่หนึ่ง เมื่อครั้งที่เสนอ สปช.ครั้งแรก และร่างสุดท้ายอยู่แล้ว เป็นตัวหนังสือชัดเจน ไม่ต้องพูดด้วยวาจา”
** โทษสื่อมุ่งโจมตี คปป.ตามนักการเมือง
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีเนื้อหาอะไรที่ยังไม่ได้ใส่ไปในร่างสุดท้ายที่ถูกคว่ำอีกหรือไม่ นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ตนบอกนายมีชัยแล้วว่า รัฐธรรมนูญที่ตนร่างก็ไม่ใช่รัฐธรรมนูญในฝันของตน เพราะต้องฟังเสียงกรรมาธิการอีก 35 คน ฟังเสียงคนนอก ฟัง ครม. คสช. ดังนั้นจึงต้องร่างภายใต้การรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น และเราก็ไปรับฟังความเห็นของประชาชนมาทั่วประเทศ ทั้งเสียงของ สปช.ด้วย ซึ่งมีหลายส่วน ถ้าตนเขียนได้เองก็จะไม่เขียนแบบนั้น แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนั้นจบไปแล้ว จึงไม่ควรรื้อฟื้น และการร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวครั้งที่แล้ว ไม่ได้ทำการสำรวจความเห็น โดยผ่านสำนักงานสำรวจความคิดเห็นปกติ แต่ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า จัดทำไปถามความเห็นประชาชนทั่วประเทศ ซึ่ง กรธ.สามารถขอดูได้จาก นางถวิลวดี บุรีกุล สมาชิก สปท. ซึ่งเป็นอดีต กมธ.ยกร่างฯ และความเห็นของประชาชนกว่า 85 เปอร์เซ็นต์อยู่ในร่างรัฐธรรมนูญ ชัดเจนที่ กมธ.ยกร่างฯ เห็นอย่างหนึ่ง ประชาชนเห็นอย่างหนึ่ง ซึ่ง กมธ.ยกร่างฯ เปลี่ยนไปตามประชาชน นั่นคือ เรื่องการไปเลือกตั้ง เพราะ กมธ.ยกร่างฯ อยากเห็นสิทธิ แต่ประชาชนอยากให้เป็นหน้าที่ ซึ่งที่สุด กมธ.ยกร่างฯ ก็เปลี่ยนตามที่ประชาชนต้องการ แต่เรื่องเหล่านี้ผ่านไปแล้วก็ควรให้ผ่านไป
“ส่วนประเด็นเรื่อง นายกฯ คนนอก หรือ คปป. ประชาชนก็ให้ความเห็นไว้ และมีการเผยแพร่แล้ว เพียงแต่สื่อไม่สนใจ สื่อสนใจแต่คำสัมภาษณ์ของนักการเมืองหน้าเดิมๆ คือ คนที่อยู่ในปัญหาทั้งนั้น ซึ่งมีผลประโยชน์ทางการเมืองเกี่ยวข้อง สื่อฯ ไม่สนใจงานวิชาการ ไม่สนใจเสียงของคนที่ไม่มีเสียง ก็เป็นเรื่องธรรมดา” นายบวรศักดิ์ กล่าว
** “สมคิด” พร้อมรับเป็นกุนซือ
นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะอดีตเลขานุการ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 กล่าวถึงกรณีที่ นายมีชัย จะเทียบเชิญอดีตเลขานุการ กมธ.ยกร่างฯ แต่ละชุดเข้ามาเป็นที่ปรึกษา กรธ.ว่า ตอนนี้ยังไม่ได้รับการทาบทาม และอยากทราบว่าหากไปเป็นที่ปรึกษาจะให้ทำงานอะไร เพราะดูแล้ว กรธ.ทั้ง 21 คน ก็มีความรู้ความสามารถ อย่างไรก็ตาม หากได้รับการทาบทามเข้ามาตนก็พร้อมที่จะเข้าไปทำงานเพื่อประเทศชาติ
** นายกฯไม่ขวาง “บวรศักดิ์" ช่วยงาน กรธ.
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการตั้งที่ปรึกษา 9 คนของ กรธ.ว่า การจะเชิญนายบวรศักดิ์หรือไม่ขึ้นอยู่กับ กรธ. หากมีคุณสมบัติก็เชิญเข้ามา ตนไม่ได้ห้าม ทุกคนมีคุณสมบัติ มีความสามารถทั้งนั้น อาจจะดีด้วยซ้ำเพราะ นายบวรศักดิ์ อยู่ใน กมธ.ยกร่างฯชุดเดิมที่ยกร่างมา รัฐธรรมนูญเป็นสิ่งสำคัญ เป็นกฎหมายหลักของชาติ แต่มันไม่ใช่แก้ไขทุกอย่างได้ อยู่ที่ใจคนทุกคน อยู่ที่ใจนักการเมืองทุกคน ข้าราชการทุกคน ประชาชนทุกคน ต้องช่วยทำให้บ้านเมืองนี้สงบ และเคลื่อนไปข้างหน้า กฎหมายอะไรก็เอาไม่อยู่ถ้ายังเป็นแบบเดิม มีกฎหมายเป็นร้อยข้อ ยังเดินขบวนกันมา 6 เดือน
** ยังไม่ต้องรีบแก้ รธน.ชั่วคราว
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การตั้งที่ปรึกษา กรธ.เป็นเรื่องของ กรธ. โดยคำสั่งหัวหน้า คสช.กำหนดให้ตั้งที่ปรึกษากรธ.ได้ไม่เกิน 9 คน และให้คำนึงถึงคนที่เคยเป็น กมธ.ยกร่างฯ ปี 40, 50 และ 58 เอามาเป็นที่ปรึกษาเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยง เพราะสังคมเรียกร้องอยากให้มีความยึดโยงกับรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับนี้ เพื่อจะได้เร็วขึ้น เมื่อคำสั่งเขียนแบบนี้ นายมีชัยจึงอยากจะได้คนที่เป็นเลขานุการ กมธ.ยกร่างฯ ในอดีต เช่น นายบวรศักดิ์ อดีตเลขานุการ กมธ.ยกร่างฯ ปี 40 นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อดีตเลขานุการ กมธ.ยกร่างฯ ปี 50 และนางกาญจนรัตน์ ลีวิโรจน์ อดีตเลขานุการ กมธ.ยกร่างฯ ปี 58 และสามารถเชิญบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นได้เช่นกัน แต่ตนคงไม่เข้าร่วมส่วนสังคมจะยี้หรือไม่ยี้ ตนไม่รู้ แต่ความจริงตัวคนไม่สำคัญเท่ากับเรื่องที่เขาจะมาเล่า
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ระบุต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เพื่อหาทางออกกรณีทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน นายวิษณุ กล่าวว่า หากจำเป็นก็ต้องแก้ เพราะก่อนหน้านี้สื่อสงสัยและถามตนทุกวันว่า ถ้า กรธ.ร่างรัฐธรรมนูญแล้วไม่ผ่านประชามติจะทำอย่างไร ตอนนี้ไม่มีคำตอบ แต่ต้องสร้างคำตอบขึ้นมาให้ได้ เพียงแต่ไม่จำเป็นต้องรีบทำ ถ้าทำเร็วจะหาว่าเป็นการส่งสัญญาณอีกว่าจะไม่ผ่านประชามติหรือไม่
เมื่อถามว่า หากแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว มีโอกาสที่จะขยายเวลาให้กับ กรธ. นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ได้คิด ไม่ควร ตนได้คุยกับนายมีชัยแล้ว โดยนายมีชัยไม่เคยบ่นว่าจะขอเวลาเพิ่ม เพียงแต่เล่าให้ฟังว่ามีระยะเวลา 180 วันก็จริง แต่หักวันหยุดไปแล้วจะเหลือ 120 วัน ไม่ได้มาบ่นว่าเวลาน้อยเลย
** “พรเพชร” เชื่อ รธน.ฉบับ “มีชัย” ผ่านแน่
นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว มี 2 จุดที่ต้องแก้ไข คือ 1.การทำประชามติ ซึ่งในภาษาที่เขียนไว้อาจไม่ชัดเจน โดยเจตนารมย์คือการนับคะแนนผู้มาใช้สิทธิ์ ไม่ใช่การนับคะแนนของผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง จึงต้องแก้ไขให้ชัดเจนไม่เช่นนั้นอาจตีความไขว้เขว่ และ2.กรณีร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับที่กำลังร่างอยู่ไม่ผ่านประชามติจะเดินหน้าอย่างไร ซึ่งเป็นกระบวนการกฎหมายที่จำเป็นต้องเขียนให้ชัดเจน ว่าถ้าผ่านหรือไม่ผ่านจะเป็นอย่างไร ทั้งนี้ ส่วนตัวมั่นใจว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่มีนายมีชัยเป็นประธาน จะผ่านประชามติ และเป็นที่ยอมรับของประชาชน เพราะการร่างจะต้องมีการรับฟังเสียงของประชาชนและเป็นไปตามหลักสากล
นายพรเพชร กล่าวต่อว่า ส่วนขั้นตอนการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 46 ที่ ครม.และ คสช.ให้ความเห็นชอบร่วมกัน จากนั้นเสนอให้ สนช.พิจารณา ซึ่ง สนช.จะมีมติให้ความชอบหรือไม่ภายใน 15 วัน ส่วนตัวคาดว่าการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวจะต้องเสร็จภายในกรอบเวลา 180 วันของ กรธ.
เมื่อถามว่า หากร่างรัฐธรรมนูญทำประชามติไม่ผ่าน ควรจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร นายพรเพชร กล่าวว่า เป็นหน้าที่ของ คสช.และ ครม.ในการดำเนินการ แต่ส่วนตัวเห็นว่าแนวทางการแก้ไขจะต้องทำให้ทุกอย่างเดินหน้าไปสู่ระบอบประชาธิปไตยในระยะเวลาที่เคยกำหนดไว้ ซึ่งสามารถนำรัฐธรรมนูญฉบับที่ไม่ผ่านประชามติหรือรัฐธรรมนูญอื่นๆมาแก้ไข
** “มาร์ค” แนะล้อมคอกประชานิยม
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การร่างรัฐธรรมนูญไม่ควรตั้งโจทย์ว่า จะมีหรือไม่มี คปป. แต่ควรมาตั้งโจทย์ว่า การทุจริตจะป้องกันอย่างไรแก้อย่างไร ประชานิยมจะป้องกัน และแก้ไขอย่างไร หรือทำอย่างไรให้ประชาชนมีส่วนร่วม ถ้าตั้งคำถามแบบนี้แล้วหาคำตอบ จะช่วยลดปัญหาในอดีตมากกว่า ส่วนที่ กรธ.จะเชิญนายบวรศักดิ์ มาเป็นที่ปรึกษาฯถือว่าเป็นประโยชน์ในการอธิบายการร่างรัฐธรรมนูญรอบที่แล้ว ถึงแนวคิดหลักคิดเบื้องหลังของแต่ละมาตราที่เขียนออกมา จะได้รู้ปัญหาว่าควรปรับปรุงตรงไหน ทั้งนี้การจะนำรัฐธรรมนูญในอดีตมาเป็นต้นแบบนั้น ต้องดูที่มาที่ไปและสภาพความเปลี่ยนแปลงของแต่ละฉบับด้วย อย่างรัฐธรรมนูญปี 2540 แม้ว่าจะมีลักษณะที่ทำให้มีความเข้มแข็งของฝ่ายเลือกตั้งก็จริง โดยมีองค์กรอิสระมาถ่วงดุล แต่ก็เกิดปัญหามีการแทรกแซง จนทำให้เสียหายไปหมด เพราะฉะนั้นจะเขียนแบบปี 2540 ก็คงไม่ได้อีก ดังนั้นควรต้องไปดูของเก่า และนำที่เป็นประโยชน์มาผสมผสานกัน และต้องเลือกสิ่งที่จะเป็นไปได้ในยุคนี้ และไม่ควรทิ้งพัฒนาการทางการเมืองที่ผ่านมา