นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆนี้ ได้หารือกับนพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ถึงเรื่องการจ่ายเงินค่ายาและเวชภัณฑ์ต่างๆ เนื่องจากที่ผ่านมาโรงพยาบาลในสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.) บางแห่งยังมีการค้างจ่ายเงินให้กับอภ. อย่างไรก็ตาม ปัญหาเรื่องนี้ก็ต้องไปพิจารณาว่าค้างจ่ายเพราะอะไร โดยอภ.หารือว่าอยากให้มีการจ่ายเงินงวดย้อนหลังก่อน คือตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556-2558 และจากนี้ไปหากจะค้างจ่ายก็ควรเป็นปีต่อปี โดยได้มอบหมายผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ และสาธารณสุขนิเทศ ไปดูเรื่องนี้แล้วว่า มีกี่แห่ง งบประมาณเท่าใด เพราะบางแห่งที่ค้างจ่ายให้เหตุผลว่างบไม่เพียงพอ ก็ต้องไปดูว่าจะหาทางช่วยเหลืออย่างไร แต่หลายแห่งค้างจ่ายเพราะอาจนำเงินไปดำเนินการอย่างอื่น ก็ต้องไปดูเหตุผล
นพ.นพพร กล่าวว่า การบริหารจัดการหนี้สินระหว่างโรงพยาบาลสังกัดสธ. กับอภ. ต้องมีการปรับเกลี่ยหนี้ใหม่ในขณะนี้พบว่ามีหนี้สินคงค้างกว่า 1 พันล้านบาท โดยมียอดค้างชำระมาตั้งแต่ปี 2554 ทำให้จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการ เพื่อชำระหนี้ให้ได้ปีต่อปี นอกจากนี้อาจมีการขยายระยะเวลาการจ่ายค่าวัตถุดิบต่างๆกับบริษัทคู่ค้า จากระยะเวลาเครดิต 60 วัน เป็น 120 วัน เพื่อทำให้เกิดความสมดุลของหนี้ ถึงแม้ว่า อภ.จะทำกำไรได้ แต่ครึ่งหนึ่งของภารกิจที่ทำไม่ได้กำไรแต่อย่างใดเพราะเป็นผลิตยาจำเป็น ยากำพร้า ที่ไม่มีบริษัทเอกชนผลิต หรือ เป็นการผลิตเพื่อตรึงไม่ให้ยาในตลาดปรับตัวสูงเกินไปจนประชาชนไม่สามารถเข้าถึงได้
นพ.นพพร กล่าวว่า อภ.วางแผนในการเพิ่มศักยภาพในการผลิต โดยจะมีการขยายกำลังการผลิตเฟส 2 ที่รังสิต เบื้องต้นมีการประเมินว่าจะใช้งบประมาณ 4,000 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำแผนแม่บท จะแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2559 โดยการลงทุนของ อภ. ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้เงินลงทุนด้วยตัวเองไม่ได้มีการของบเพิ่ม แต่ปกติที่จะต้องส่งเงินคืนกระทรวงการคลังเฉลี่ยปีละ 300-500 ล้านบาท และปีนี้ส่งเงินคืน 600 ล้านบาท หากมีแผนการลงทุนเพิ่มก็จะมี 2 แนวทาง คือ การทำเรื่องเพื่อขอชลอการส่งเงินคืนคลัง หรือ การทำเรื่องกู้ยืมเพื่อนำมาลงทุน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อยุติว่าจะใช้แนวทางใดในการขยายกำลังการผลิตดังกล่าว ทั้งนี้ ก็ต้องพิจารณาอีกครั้งภายหลังจากแผนแม่บทเสร็จแล้ว
นพ.นพพร กล่าวว่า การบริหารจัดการหนี้สินระหว่างโรงพยาบาลสังกัดสธ. กับอภ. ต้องมีการปรับเกลี่ยหนี้ใหม่ในขณะนี้พบว่ามีหนี้สินคงค้างกว่า 1 พันล้านบาท โดยมียอดค้างชำระมาตั้งแต่ปี 2554 ทำให้จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการ เพื่อชำระหนี้ให้ได้ปีต่อปี นอกจากนี้อาจมีการขยายระยะเวลาการจ่ายค่าวัตถุดิบต่างๆกับบริษัทคู่ค้า จากระยะเวลาเครดิต 60 วัน เป็น 120 วัน เพื่อทำให้เกิดความสมดุลของหนี้ ถึงแม้ว่า อภ.จะทำกำไรได้ แต่ครึ่งหนึ่งของภารกิจที่ทำไม่ได้กำไรแต่อย่างใดเพราะเป็นผลิตยาจำเป็น ยากำพร้า ที่ไม่มีบริษัทเอกชนผลิต หรือ เป็นการผลิตเพื่อตรึงไม่ให้ยาในตลาดปรับตัวสูงเกินไปจนประชาชนไม่สามารถเข้าถึงได้
นพ.นพพร กล่าวว่า อภ.วางแผนในการเพิ่มศักยภาพในการผลิต โดยจะมีการขยายกำลังการผลิตเฟส 2 ที่รังสิต เบื้องต้นมีการประเมินว่าจะใช้งบประมาณ 4,000 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำแผนแม่บท จะแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2559 โดยการลงทุนของ อภ. ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้เงินลงทุนด้วยตัวเองไม่ได้มีการของบเพิ่ม แต่ปกติที่จะต้องส่งเงินคืนกระทรวงการคลังเฉลี่ยปีละ 300-500 ล้านบาท และปีนี้ส่งเงินคืน 600 ล้านบาท หากมีแผนการลงทุนเพิ่มก็จะมี 2 แนวทาง คือ การทำเรื่องเพื่อขอชลอการส่งเงินคืนคลัง หรือ การทำเรื่องกู้ยืมเพื่อนำมาลงทุน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อยุติว่าจะใช้แนวทางใดในการขยายกำลังการผลิตดังกล่าว ทั้งนี้ ก็ต้องพิจารณาอีกครั้งภายหลังจากแผนแม่บทเสร็จแล้ว