เมื่อวันที่ 6 พ.ค. นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เปิดเผยว่า เมื่อปี 2554 เกิดน้ำท่วมใหญ่ทำให้โรงงานผลิตน้ำเกลือของ อภ.ได้รับความเสียหาย จำเป็นต้องนำเข้าน้ำเกลือจากต่างประเทศจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือน้ำเกลือจากประเทศอินเดีย กว่า 1.2 ล้านขวด ซึ่งหลังจากกระจายไปยังโรงพยาบาลต่างๆ แล้วพบว่าการร้องเรียนเข้ามาว่าน้ำเกลือไม่ได้มาตรฐาน เมื่อตรวจสอบก็พบว่าไม่ได้มาตรฐานจริง รวมถึงแพคเกจไม่คุ้นเคย มีการเปลี่ยนสี และตกตะกอนดังนั้นบอร์ด อภ.จึงมีมติไม่ให้ใช้น้ำเกลือล็อตดังกล่าวตั้งแต่ปลายปี 2554 เป็นต้นมา แต่ต้องรอเอกสารทางกฎหมายยืนยันว่าสามารถทำได้ให้เกิดความชัดเจน ทั้งนี้จะต้องว่าจ้างบริษัทให้มาทำลายต่อไป เบื้องต้นทุนค่าทำลายน่าจะอยู่ที่ประมาณขวดละ 75 สตางค์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการต่อรอง
ผู้สื่อข่าวถามว่าเมื่อทราบว่าน้ำเกลือไม่ได้มาตรฐาน ทำไมไม่ทำลายทิ้งตั้งแต่ตอนที่ทราบ เพราะเก็บไว้ทำให้เสียค่าเช่าสถานที่จัดเก็บอีก และเหตุใดจึงไม่เรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทผู้ผลิตเนื่องจากจัดส่งสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ นพ.นพพร กล่าวว่า เหตุที่ยังไม่สามารถทำลายทิ้งตั้งแต่ตอนนั้นได้ เป็นเพราะต้องตรวจสอบเอกสารหลักฐานว่าสามารถทำได้หรือไม่ สามารถที่จะเอาผิดหรือเรียกร้องค่าเสียหายไปยังบริษัทผู้ผลิตที่อินเดียได้หรือไม่ แต่เนื่องจากการสั่งซื้อสินค้าช่วยนั้นถือว่าเร่งด่วน จึงไม่มีเอกสารหลักฐาน ทำให้ไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้ ตรงนี้ถือเป็นข้อด้อยที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบการสั่งซื้อทุกอย่างต่อจากนี้จะยึดระบบราชการคือต้องมีเอกสารรับรองทุกอย่างเท่านั้น
“การสำรองเวชภัณฑ์ถือเป็นหน้าที่ของ อภ. เหมือนกับการซื้อถังดับเพลิงไว้ในบ้านก็คงไม่มีใครอยากให้บ้านของตัวเองไหม้เพื่อที่จะได้ใช้ถังดับเพลิง เช่นเดียวกับ อภ.ที่จำเป็นต้องสำรองเวชภัณฑ์ต่างๆเพื่อใช้ในยามจำเป็น เช่น ยาโอเซลทามิเวียร์ ที่มีการสำรองไว้ใช้และกำลังจะหมดอายุลงเช่นกัน ซึ่งถือเป็นความมั่นคงของประเทศอย่างหนึ่ง หากไม่สำรองเมื่อเกิดการะบาด ก็ไม่สามารถหาใช้ในวิกฤติฉุกเฉินได้”นพ.นพพร กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าเมื่อทราบว่าน้ำเกลือไม่ได้มาตรฐาน ทำไมไม่ทำลายทิ้งตั้งแต่ตอนที่ทราบ เพราะเก็บไว้ทำให้เสียค่าเช่าสถานที่จัดเก็บอีก และเหตุใดจึงไม่เรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทผู้ผลิตเนื่องจากจัดส่งสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ นพ.นพพร กล่าวว่า เหตุที่ยังไม่สามารถทำลายทิ้งตั้งแต่ตอนนั้นได้ เป็นเพราะต้องตรวจสอบเอกสารหลักฐานว่าสามารถทำได้หรือไม่ สามารถที่จะเอาผิดหรือเรียกร้องค่าเสียหายไปยังบริษัทผู้ผลิตที่อินเดียได้หรือไม่ แต่เนื่องจากการสั่งซื้อสินค้าช่วยนั้นถือว่าเร่งด่วน จึงไม่มีเอกสารหลักฐาน ทำให้ไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้ ตรงนี้ถือเป็นข้อด้อยที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบการสั่งซื้อทุกอย่างต่อจากนี้จะยึดระบบราชการคือต้องมีเอกสารรับรองทุกอย่างเท่านั้น
“การสำรองเวชภัณฑ์ถือเป็นหน้าที่ของ อภ. เหมือนกับการซื้อถังดับเพลิงไว้ในบ้านก็คงไม่มีใครอยากให้บ้านของตัวเองไหม้เพื่อที่จะได้ใช้ถังดับเพลิง เช่นเดียวกับ อภ.ที่จำเป็นต้องสำรองเวชภัณฑ์ต่างๆเพื่อใช้ในยามจำเป็น เช่น ยาโอเซลทามิเวียร์ ที่มีการสำรองไว้ใช้และกำลังจะหมดอายุลงเช่นกัน ซึ่งถือเป็นความมั่นคงของประเทศอย่างหนึ่ง หากไม่สำรองเมื่อเกิดการะบาด ก็ไม่สามารถหาใช้ในวิกฤติฉุกเฉินได้”นพ.นพพร กล่าว