วานนี้ (10พ.ย.) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ สร.กสท. โดยนายสังวรณ์ พุ่มเทียน ประธานสหภาพฯ เข้ายื่นฟ้องสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และคณะกรรมการ กสทช. เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-3 ต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้มีคำสั่งระงับการประมูลคลื่นความถี่ ย่านความถี่วิทยุ1710-1785/1805-1800 1 เมกะเฮิรตซ์ ตามประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม ย่าน1800 เมกะเฮิรตซ์ ทั้งหมด รวมทั้งให้เพิกถอนประกาศ กสทช. ดังกล่าวทั้งฉบับ และหากมีการประมูลคลื่นความถี่ตามประกาศ กสทช. ดังกล่าวแล้ว ก็ขอให้ศาลสั่งให้เป็นโมฆะทั้งหมด พร้อมทั้งขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉิน เพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว โดยสั่งระงับการประมูล
4 จี คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 11 พ.ย.ไว้ก่อน จนกว่าจะมีคำพิพากษา
นายสังวรณ์ กล่าวว่า การยื่นฟ้องไม่ได้มีเจตนาคัดค้านการประมูล 4 จี แต่เห็นว่า ขณะนี้ศาลปกครองยังไม่ได้มีคำพิพากษาในคดีที่บริษัท กสท. ฟ้องขอให้เพิกถอนประกาศ กสทช.เรื่องมาตรการการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราว ในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทานคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เมื่อปี 56 ซึ่งตามประกาศ กสทช.ดังกล่าว กำหนดให้ บริษัท กสท. เป็นเพียงผู้ให้บริการโครงข่าย แก่ บ.ทรูมูฟ จำกัด และ บ.ดิจิตอล โฟน เพื่อให้บริการลูกค้า 2 จี หลังที่สัมปทานสิ้นสุด ในปี 2556
โดย บริษัทกสท เห็นว่า เมื่อสิ้นสุดสัมปทานแล้วคลื่นดังกล่าวต้องกลับมาเป็นของกสท. แต่ กสทช.กลับมีการไปออกประกาศดังกล่าว แล้วนำคลื่นไปให้เอกชน กสท.จึงมองว่า ประกาศดังกล่าวไม่ชอบ ทำให้ บริษัท กสท.ได้รับความเสียหาย เพราะไม่ได้รับค่าใช้โครงข่าย และ ต้องโอนย้ายลูกค้าให้เอกชน
ดังนั้น หากปล่อยให้มีการประมูล 4 จีไปก่อนในวันที่ 11 พ.ย. แล้วถ้าศาลปกครองมีคำพิพากษาคดีเก่าออกมาว่า
คลื่นความถี่ดังกล่าว ยังเป็นของบริษัท กสท. ก็จะทำให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน ผู้ได้รับสัมปทาน และประเทศชาติได้ อีกทั้งเห็นว่าขณะนี้ผู้ให้บริการ 3 จี ยังพัฒนาระบบไม่ครอบคลุมตามที่ได้มีการเสนอแผนไว้ และทำให้ประชาชนไม่ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง จากการเปลี่ยนระบบเป็น 3 จี ทำให้เกิดคำถามว่า การประมูล 4 จี ครั้งนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของใครกันแน่
ส่วนกรณี กทค. มีมติเห็นชอบให้ บริษัทกสท. สามารถใช้ และปรับปรุงคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ขนาดความกว้าง 20 เมกะเฮิรตซ์ ไปให้บริการได้ นายสังวรณ์ กล่าวว่า จริงๆ แล้วบริษัท กสท. มีสิทธิในการปรับปรุงเทคโนโลยี ถ้าไม่มีหน่วยงานของรัฐให้บริการเทคโนโลยีเลย
แล้วจะแข่งขันกับเอกชนได้อย่างไร
ต่อมา ในช่วงค่ำ นายสังวรณ์ เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจากศาลปกครองว่า มีคำสั่งรับคำร้องขอกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพาษาที่สหภาพขอให้ศาลฯสั่งระงับการประมูล 4 จีไว้ก่อน โดยจะมีการพิจารณาต่อไป แต่ที่สหภาพ กสท.ขอให้ไต่สวนฉุกเฉิน เพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวนั้น ศาลไม่รับ โดยเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องไต่สวนผู้ฟ้องฝ่ายเดียว
4 จี คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 11 พ.ย.ไว้ก่อน จนกว่าจะมีคำพิพากษา
นายสังวรณ์ กล่าวว่า การยื่นฟ้องไม่ได้มีเจตนาคัดค้านการประมูล 4 จี แต่เห็นว่า ขณะนี้ศาลปกครองยังไม่ได้มีคำพิพากษาในคดีที่บริษัท กสท. ฟ้องขอให้เพิกถอนประกาศ กสทช.เรื่องมาตรการการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราว ในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทานคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เมื่อปี 56 ซึ่งตามประกาศ กสทช.ดังกล่าว กำหนดให้ บริษัท กสท. เป็นเพียงผู้ให้บริการโครงข่าย แก่ บ.ทรูมูฟ จำกัด และ บ.ดิจิตอล โฟน เพื่อให้บริการลูกค้า 2 จี หลังที่สัมปทานสิ้นสุด ในปี 2556
โดย บริษัทกสท เห็นว่า เมื่อสิ้นสุดสัมปทานแล้วคลื่นดังกล่าวต้องกลับมาเป็นของกสท. แต่ กสทช.กลับมีการไปออกประกาศดังกล่าว แล้วนำคลื่นไปให้เอกชน กสท.จึงมองว่า ประกาศดังกล่าวไม่ชอบ ทำให้ บริษัท กสท.ได้รับความเสียหาย เพราะไม่ได้รับค่าใช้โครงข่าย และ ต้องโอนย้ายลูกค้าให้เอกชน
ดังนั้น หากปล่อยให้มีการประมูล 4 จีไปก่อนในวันที่ 11 พ.ย. แล้วถ้าศาลปกครองมีคำพิพากษาคดีเก่าออกมาว่า
คลื่นความถี่ดังกล่าว ยังเป็นของบริษัท กสท. ก็จะทำให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน ผู้ได้รับสัมปทาน และประเทศชาติได้ อีกทั้งเห็นว่าขณะนี้ผู้ให้บริการ 3 จี ยังพัฒนาระบบไม่ครอบคลุมตามที่ได้มีการเสนอแผนไว้ และทำให้ประชาชนไม่ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง จากการเปลี่ยนระบบเป็น 3 จี ทำให้เกิดคำถามว่า การประมูล 4 จี ครั้งนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของใครกันแน่
ส่วนกรณี กทค. มีมติเห็นชอบให้ บริษัทกสท. สามารถใช้ และปรับปรุงคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ขนาดความกว้าง 20 เมกะเฮิรตซ์ ไปให้บริการได้ นายสังวรณ์ กล่าวว่า จริงๆ แล้วบริษัท กสท. มีสิทธิในการปรับปรุงเทคโนโลยี ถ้าไม่มีหน่วยงานของรัฐให้บริการเทคโนโลยีเลย
แล้วจะแข่งขันกับเอกชนได้อย่างไร
ต่อมา ในช่วงค่ำ นายสังวรณ์ เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจากศาลปกครองว่า มีคำสั่งรับคำร้องขอกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพาษาที่สหภาพขอให้ศาลฯสั่งระงับการประมูล 4 จีไว้ก่อน โดยจะมีการพิจารณาต่อไป แต่ที่สหภาพ กสท.ขอให้ไต่สวนฉุกเฉิน เพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวนั้น ศาลไม่รับ โดยเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องไต่สวนผู้ฟ้องฝ่ายเดียว