ASTVผู้จัดการรายวัน - "บิ๊กตู่"เหน็บ"ประชานิยม" ถ้าดีจะมีคดีหรือไม่ ลั่นใช้ มาตรา 44 ป้องคณะกรรมการดูแลเรื่องข้าว จากอำนาจมืด -ยันไม่มีการกลั่นแกล้ง เผย ครม.อนุมัติงบ 1.2 หมื่นล้าน ชดเชยต้นทุนการผลิตเกษตรกรชาวสวนยาง ฟุ้ง อียูชื่นชมไทยคืบหน้าแก้ปัญหาไอยูยู คลอดกฎหมาย 3 ฉบับ เพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุด เผย“ปธน.ศรีลังกา”สนใจร่วมมือประมง
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี เรื่อง การคําสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 39/2558 โดยใช้อำนาจ มาตรา 44 เพื่อให้ความคุ้มครองเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินคดี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้เกี่ยวข้อง ในคดีทุจริตจำนำข้าว ว่า “วันนี้ผมพยายามจะใช้กลไกที่มีอยู่แล้ว ทำให้มากที่สุด เว้นแต่บางอันที่มันติดขัดแต่ต้องไม่เป็นเรื่องผิดกฎหมาย อย่างเช่นการลดเวลาขั้นตอนต่างๆ หรือการทำประชาพิจารณ์กฎหมายเขาเขียนว่าต้องใช้เวลาสองปี แล้วเมื่อไหร่จะได้ทำ จะลดลงมาได้หรือไม่แต่ไม่ใช่ไม่ทำ แต่ก็มีบางคนไปสร้างความเข้าใจผิดว่า รัฐบาลจะบังคับโน่นนี่ ทำให้คนจนเดือดร้อน ถูกไล่ที่ดิน ใครเขาอยากจะไปทำ เว้นแต่คนที่มันบุกรุกอยู่ มันมีแผนงานที่ต้องเดินหน้า ไม่ใช่ทำคนเดียวพร้อมกันหมด มันไม่ได้”
นายกฯ กล่าวต่อว่า วันนี้กับดักเราติดอยู่ที่คำว่าประชาธิปไตย การเลือกตั้งก็กำหนดไว้แล้วว่าจะเลือกตั้งปี 60 ก็เลือกกันไปสิ แต่ถ้าเลือกตั้งแล้วกลับมาเป็นแบบเก่าใครจะเป็นคนสัญญากับตนว่าจะไม่เกิดขึ้นอีก นักการเมืองสัญญาหรือไม่ ตนยังไม่เห็นนักการเมืองคนใดออกมาพูดเลยว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไร มีแต่พูดถึงว่า จะเข้ามาอย่างไร พรรคใหญ่พรรคเล็กทำให้ไม่มีอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่เห็นจะพูดว่าจะแก้ปัญหาเกษตรกรอย่างไร หรือต้องเก็บไว้เป็นนโยบายหาเสียง
“เวลาหาเสียงก็ต้องพูดด้วยว่า จะทำอะไร ใช้เงินที่ไหน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเพราะการให้คำสัญญากับประชาชน ต้องทำตามนั้น และต้องไม่ทำให้เกิดผลเสียหายกับการเงินการคลังของประเทศ ผมจะไม่พูดว่าประชานิยมดีหรือไม่ดี พูดแล้วขัดแย้งเปล่าๆ แต่ถ้ามันดีก็ต้องไม่มีคดีเข้ากระบวนการยุติธรรม ไม่มีผลกระทบกับเรื่องอื่นๆ เพราะผมไม่ได้ไปขัดแย้งอะไรกับท่านอยู่แล้ว หลายอย่างที่รัฐบาลนี้ทำ ผมทำใหม่ การใช้เงินก็ต้องมีเหตุมีผล เอาไปทำอะไร เกิดอะไรขึ้นตามมา ไม่ใช่เอาไปบรรเทาความเดือดร้อนแล้วก็จบ แล้วก็ให้ใหม่อีก มันจะเอาเงินจากที่ไหนมาให้ ”พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า หากประเทศเรายังทำการค้าขาย ลงทุน เกษตรกรรม แบบเดิมคงอยู่ไม่ได้ วันหน้าต้องคิดว่าถ้ามีน้ำไม่พอในการทำการเกษตรจะทำอย่างไร รัฐบาลจะเอาเงินจากไหนให้ท่าน ท่านต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในช่วงนี้ไปทำอะไรอย่างอื่นที่เหมาะสมโยรัฐบาลเริ่มต้นให้
“แล้วก็เอาไปพ่วงกับคดีที่กำลังดำเนินการอยู่ ไปลากปนกันได้อย่างไร ถ้ทำไอ้นี่ ตรงโน้นผิด ตรงนี้ไม่ผิด การเชื่อมโยงแบบนี้ทำให้ประเทศเสียหาย ต้องไปสอนคนว่าอะไรคือสุจริตอะไรคือทุจริต ถ้าไม่รู้ตรงนี้ก็ไม่ต้องทำอย่างอื่น กะอีแค่เขียนว่าถ้าการกระทำโดยสุจริต กรรมการเขาก็ไปตรวจสอบโดยสุจริต ไม่ได้ไปเอนเอียง เข้าข้าง ให้ร้าย ทั้งหมดเป็นไปตามหลักฐานทั้งสิ้น ที่คุ้มครองเขาเพราะเขากลัวอำนาจมืด ผมก็เอาอำนาจสว่างไปช่วยเขาแค่นั้นเอง ไม่ใช้ว่าไปตรวจสอบให้มันผิดให้ได้ ถึงคณะกรรมการทำออกมาแล้ว เขาก็ยังมีสิทธิ์ไปสู้ในศาลปกครองอีก มีที่ไหนเขาให้บ้าง อำนาจแบบที่ผมมี ทำไมไม่เขียนแบบนี้ เขียนกันอยู่ได้จนประชาชนลุกขึ้นมาใหม่ หาว่าผมไปรังแกเขา ผมจะไปรังแกได้อย่างไร ถ้าไม่มีมูลก็ไม่ต้องถูกฟ้อง จะไปโทษใครก็ไม่ได้ แต่มันมีมูลก็ต้องไปสู้คดีเอา ถ้าสู้ชนะมันก็จบ เขาอยู่กันอย่างนี้ไม่ใช่หรือประเทศไทย” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
“ที่ใช้ ม.44 เพื่อให้มันง่ายขึ้น ลดเวลาให้เร็วขึ้น แต่ไม่ได้ยกเลิกกฎหมาย ไม่ใช่จะไปสั่ง เดี๋ยวผมก็โดนหาว่าเอื้อประโยชน์อีก ไม่ใช่คุ้มครองคนทุจริต แต่คุ้มครองกรรมการที่เขาไปตรวจสอบทั้ง 2 คณะ ซึ่งตามกฎหมายมันต้องตั้ง เมื่อตั้งเสร็จเขาก็รายงานกลับเข้ามา จากนั้นก็ไปหาวิธีว่าทำยังไงให้ไม่หมดอายุความ เพราะศาลแพ่งอายุความปีเดียวก็หมดแล้ว มันไม่ทัน แล้วคณะกรรมการเขาจะกล้ารายงานหรือไม่ ต้องเรียกฝ่ายถูกกล่าวหามาให้ข้อมูลเพิ่ม เอาพยานมา แล้วพยานแต่ละคนเป็นอดีตผู้บังคับบัญชาเขาทั้งนั้น ทางคณะกรรมการเขาจะได้สบายใจ ว่าทำหน้าที่ ถ้าเขาทำแล้วไม่สุจริตเขาก็ผิด แต่ถ้าทำด้วยเจตนาบริสุทธิ์ไปสู่กระบวนการ เนี่ยเขาเรียกว่าสุจริต” นายกรัฐมนตรี กล่าว
** อนุมัติ1.2 หมื่นล.ชดเชยต้นให้ชาวสวนยาง
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุม ครม. มีมติอนุมัติงบประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ชดเชยต้นทุนการผลิตเกษตรกรชาวสวนยาง โดยแบ่งให้เจ้าของสวนยาง 900 บาท คนกรีดยาง 600 บาทคิดเป็นสัดส่วน 60 ต่อ 40 โดยจะชดเชยให้เฉพาะเกษตรกรที่มีเอกสารสิทธิ์ ส่วนผู้ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ เข้าไปดูแลเพื่อหามาตรการช่วยเหลือต่อไป ขณะเดียวกันเกษตรกรปลูกข้าวโพด ที่มีการบุกรุกที่ดินโดยกลุ่มนายทุน และมีปัญหาผลผลิตล้นตลาด จะให้ลดพื้นที่การปลูกรวมถึงชาวนา ที่ขอความร่วมมือให้ปลูกพืชทดแทนชนิดอื่น เช่น ถั่วเหลือง แต่หากฝ่าฝืนรัฐบาลไม่สามารถช่วยเหลือได้ ทั้งนี้ควรชั่งน้ำหนักความสมดุลว่าควรปลูกพืชอะไรที่เหมาะสม
*** คุยโว อียูชื่นชมไทยแก้ปัญหาไอยูยู
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึง การปรับปรุงกฎหมายที่ทำให้การบริหารงานรัฐบาลเดินหน้าเร็วขึ้น รวมถึงการพูดเรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ว่ามีปัญหาอะไรบ้างเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เร็วขึ้น อาทิ เกณฑ์ของการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและขาดการควบคุม (ไอยูยู) จากการที่มีผู้แทนจากสหภาพยุโรป (อียู) เดินทางมาตรวจการทำงานของเราเมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วเขาก็ยอมรับว่าเราให้ความสำคัญและความสนใจในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ รวมถึงชื่นชมการทำงานของไทย แต่ตนขอว่าอย่าเอาประเด็นเหล่านี้มาเป็นประเด็นว่าจะได้ไปอะไรอย่างไร จะมีการยกเลิกอะไรหรือไม่ เพราะเขาจะให้หรือไม่ให้ก็เรื่องของเขา เราแค่ทำให้ดีที่สุดและยอมรับว่าเราต้องแก้ไขไม่ใช่แค่เพียงเรื่องไอยูยูอย่างเดียว แต่เพื่อชาวประมงที่ทำถูกกฎหมาย รวมถึงชาวประมงพื้นบ้านและทรัพยากรสัตว์น้ำต่างๆ ยังต้องมีอยู่ แต่มันก็ต้องมีคนเดือดร้อน รัฐบาลก็มีมาตรการในการให้เปลี่ยนเครื่องมือจับสัตว์น้ำจึงจะออกไปจับปลาได้ ซึ่งเราก็เน้นเรือขนาด 60 ตันกรอสขึ้นไปด้วยเนื่องจากเป็นการทำประมงน่านน้ำและประมงพาณิชย์ด้วย แต่หากต่ำว่า 60 ตันกรอส ก็ต้องไปดูว่าเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำถูกต้องหรือไม่ซึ่งเรากำลังดำเนินการอยู่
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า รัฐบาลไม่อยากให้ทุกคนเดือดร้อน แต่เราต้องยอมรับว่าประเด็นดังกล่าวเป็นปัญหามาโดยตลอด วันนี้สิ่งที่ต้องดำเนินการก็คือการอนุมัติกฎหมาย 3 ฉบับ คือ 1.พระราชกำหนดประมงเพื่อแก้ไขปัญหาตามที่ไอยูยูจับตาอยู่ในตรงจุดและมีประสิทธิภาพ 2.แผนพัฒนาจัดการประมงทางทะเล และ 3.แผนระดับชาติในการแก้ไขและป้องกันปัญหาไอยูยู ซึ่งเชื่อมโยงกับการค้ามนุษย์ด้วยในเรื่องแรงงานในเรือประมง อย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เราต้องแก้ไขทั้งระบบ ทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการ ตัวแรงงาน เจ้าหน้าที่ ผู้กระทำความผิด ขบวนการค้ามนุษย์ และเหยื่อการค้ามนุษย์วันนี้เราทำทุกวันตามที่แต่ละกระทรวงได้รับไป เช่น เหยื่อค้ามนุษย์กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ดูแล
“ผมพูดให้คนไทยในประเทศเข้าใจเรามีการพัฒนาตามลำดับ แล้วก็ช่วยกันแก้ปัญหา แสดงให้อียูหรือต่างชาติที่ทำการค้าสัตว์น้ำกับเราอยู่เขาได้เห็นว่าเราไม่ได้ไปเอาสัตว์น้ำที่ได้มาจากการค้าแรงงานมนุษย์มาขายให้เขา มันเชื่อมโยงกันหมดในเรื่องใบเหลือง ใบแดงก็ต้องแล้วแต่เขา เราก็ทำเต็มที่ ต้นปีหน้าทางอียูจะส่งคณะมาดูความก้าวหน้าอีกในช่วงที่หลังที่เขามาครั้งที่แล้ว การแก้ไขปัญหาไอยูยูนั้นแก้เพื่อคนไทย เพื่อการทำประมงไทย” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงการหารือกับนายไมตรีปาละ สิริเสนารี ประธานาธิบดีศรีลังกาเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า ได้มีการหารือเรื่องประมงด้วยเพราะศรีลังกาเป็นประเทศหมู่เกาะกลางมหาสมุทรอินเดียจึงมีปลาจำนวนมาก ตนจึงได้ขอความร่วมมือในเรื่องการพัฒนาการประมงของศรีลังกาที่มีปลาเยอะ แต่การประมงเขาไม่เก่งเท่าเรา ตนจึงคิดว่าควรร่วมมือกัน ซึ่งนายไมตรีปาละก็ตอบรับในหลักการและจะไปหารือกันเพิ่มเติมในพื้นที่ของศรีลังกา เนื่องจากไทยมีเรือจำนวนมากแต่ไม่มีปลาให้จับ ก็ต้องไปจับที่อื่น แต่ไม่ใช่ไปจับของเขาหมด เพราะต้องมีการร่วมมือและร่วมทุนกันในการทำงานเรื่องประมงด้วย
พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึงกรณีความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอเคโอ) ว่า วันนี้เราได้ตั้งองค์กรและบุคคลกรที่มีคุณสมบัติในการที่จะเป็นกรรมการต่างๆ ในกรมการบินพลเรือนเพื่อให้เข้าไปกำกับดูแล ซึ่งเราต้องทำใหม่ทั้งหมดและอยู่ในวาระเร่งด่วน แต่ขณะนี้การยกเลิกเที่ยวบินต่างๆ ยังไม่มี แต่หากเราจะไปเพิ่มเที่ยวบินใหม่ต้องผ่านตรงนี้ก่อนนั่นคือปัญหาของเรา
ส่วนความมั่นคงปลอดภัยของสนามบินเราก็กำลังเข้าไปดูอยู่ว่าทำอย่างไรให้เกิดความปลอดภัยเพราะวันหน้าเราต้องเปิดประชาคมอาเซียนแล้ว เมื่อ 2 วันที่แล้วก็ยังคงมีปัญหาเรื่องความแออัดของสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งตนก็กำลังจะขยายสนามบินในระยะที่ 2 ก็มีคนมาบ่นว่าทำไม่ได้ติดโน่นติดนี่ แต่ก็บ่นว่าสนามบินแออัด เครื่องบินลงไม่ได้ แต่ก็ไม่ให้สร้างสนามบิน มันจะทำอย่างไร
“นี่แหละคือสิ่งที่เป็นปัญหาของประเทศไทยเพราะมีคนอยู่ไม่กี่คน ไม่กี่กลุ่มที่ไปสร้างการรับรู้ผิดๆ แล้วเราก็ไปขยายให้เป็นเรื่องใหญ่โต ก็เพราะมันทำอะไรไม่ได้สักอย่าง ถามหน่อยแล้วท่านจะเรียกร้องกับใคร ถ้าผมทำไม่ได้รัฐบาลเลือกตั้งก็ทำไม่ได้เอาแบบนี้ดีกว่า ง่ายๆ สนามบินวันนั้นก็แออัด เราก็ให้เจ้าหน้าที่มาชี้แจงว่าเขาทำอย่างไร ระบบคอมพิวเตอร์ก็เสีย ก็กำลังไปให้หาระบบสำรอง ทุกอย่างใช้เงินทั้งนั้น มันจะเอาเงินจากที่ไหน เพราะมีเรื่องใช้เงินรออยู่ทุกอาทิตย์ ทุกวัน ของใหม่ก็ต้องทำ ของเก่าก็ต้องแก้ เรียกร้องก็จะเอา มันจะเอาเงินที่ไหนผมยังไม่รู้เลย ไม่บ่นแล้วขี้เกียจบ่น แค่ตอบคำถามนะไม่ได้บ่น" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี เรื่อง การคําสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 39/2558 โดยใช้อำนาจ มาตรา 44 เพื่อให้ความคุ้มครองเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินคดี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้เกี่ยวข้อง ในคดีทุจริตจำนำข้าว ว่า “วันนี้ผมพยายามจะใช้กลไกที่มีอยู่แล้ว ทำให้มากที่สุด เว้นแต่บางอันที่มันติดขัดแต่ต้องไม่เป็นเรื่องผิดกฎหมาย อย่างเช่นการลดเวลาขั้นตอนต่างๆ หรือการทำประชาพิจารณ์กฎหมายเขาเขียนว่าต้องใช้เวลาสองปี แล้วเมื่อไหร่จะได้ทำ จะลดลงมาได้หรือไม่แต่ไม่ใช่ไม่ทำ แต่ก็มีบางคนไปสร้างความเข้าใจผิดว่า รัฐบาลจะบังคับโน่นนี่ ทำให้คนจนเดือดร้อน ถูกไล่ที่ดิน ใครเขาอยากจะไปทำ เว้นแต่คนที่มันบุกรุกอยู่ มันมีแผนงานที่ต้องเดินหน้า ไม่ใช่ทำคนเดียวพร้อมกันหมด มันไม่ได้”
นายกฯ กล่าวต่อว่า วันนี้กับดักเราติดอยู่ที่คำว่าประชาธิปไตย การเลือกตั้งก็กำหนดไว้แล้วว่าจะเลือกตั้งปี 60 ก็เลือกกันไปสิ แต่ถ้าเลือกตั้งแล้วกลับมาเป็นแบบเก่าใครจะเป็นคนสัญญากับตนว่าจะไม่เกิดขึ้นอีก นักการเมืองสัญญาหรือไม่ ตนยังไม่เห็นนักการเมืองคนใดออกมาพูดเลยว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไร มีแต่พูดถึงว่า จะเข้ามาอย่างไร พรรคใหญ่พรรคเล็กทำให้ไม่มีอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่เห็นจะพูดว่าจะแก้ปัญหาเกษตรกรอย่างไร หรือต้องเก็บไว้เป็นนโยบายหาเสียง
“เวลาหาเสียงก็ต้องพูดด้วยว่า จะทำอะไร ใช้เงินที่ไหน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเพราะการให้คำสัญญากับประชาชน ต้องทำตามนั้น และต้องไม่ทำให้เกิดผลเสียหายกับการเงินการคลังของประเทศ ผมจะไม่พูดว่าประชานิยมดีหรือไม่ดี พูดแล้วขัดแย้งเปล่าๆ แต่ถ้ามันดีก็ต้องไม่มีคดีเข้ากระบวนการยุติธรรม ไม่มีผลกระทบกับเรื่องอื่นๆ เพราะผมไม่ได้ไปขัดแย้งอะไรกับท่านอยู่แล้ว หลายอย่างที่รัฐบาลนี้ทำ ผมทำใหม่ การใช้เงินก็ต้องมีเหตุมีผล เอาไปทำอะไร เกิดอะไรขึ้นตามมา ไม่ใช่เอาไปบรรเทาความเดือดร้อนแล้วก็จบ แล้วก็ให้ใหม่อีก มันจะเอาเงินจากที่ไหนมาให้ ”พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า หากประเทศเรายังทำการค้าขาย ลงทุน เกษตรกรรม แบบเดิมคงอยู่ไม่ได้ วันหน้าต้องคิดว่าถ้ามีน้ำไม่พอในการทำการเกษตรจะทำอย่างไร รัฐบาลจะเอาเงินจากไหนให้ท่าน ท่านต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในช่วงนี้ไปทำอะไรอย่างอื่นที่เหมาะสมโยรัฐบาลเริ่มต้นให้
“แล้วก็เอาไปพ่วงกับคดีที่กำลังดำเนินการอยู่ ไปลากปนกันได้อย่างไร ถ้ทำไอ้นี่ ตรงโน้นผิด ตรงนี้ไม่ผิด การเชื่อมโยงแบบนี้ทำให้ประเทศเสียหาย ต้องไปสอนคนว่าอะไรคือสุจริตอะไรคือทุจริต ถ้าไม่รู้ตรงนี้ก็ไม่ต้องทำอย่างอื่น กะอีแค่เขียนว่าถ้าการกระทำโดยสุจริต กรรมการเขาก็ไปตรวจสอบโดยสุจริต ไม่ได้ไปเอนเอียง เข้าข้าง ให้ร้าย ทั้งหมดเป็นไปตามหลักฐานทั้งสิ้น ที่คุ้มครองเขาเพราะเขากลัวอำนาจมืด ผมก็เอาอำนาจสว่างไปช่วยเขาแค่นั้นเอง ไม่ใช้ว่าไปตรวจสอบให้มันผิดให้ได้ ถึงคณะกรรมการทำออกมาแล้ว เขาก็ยังมีสิทธิ์ไปสู้ในศาลปกครองอีก มีที่ไหนเขาให้บ้าง อำนาจแบบที่ผมมี ทำไมไม่เขียนแบบนี้ เขียนกันอยู่ได้จนประชาชนลุกขึ้นมาใหม่ หาว่าผมไปรังแกเขา ผมจะไปรังแกได้อย่างไร ถ้าไม่มีมูลก็ไม่ต้องถูกฟ้อง จะไปโทษใครก็ไม่ได้ แต่มันมีมูลก็ต้องไปสู้คดีเอา ถ้าสู้ชนะมันก็จบ เขาอยู่กันอย่างนี้ไม่ใช่หรือประเทศไทย” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
“ที่ใช้ ม.44 เพื่อให้มันง่ายขึ้น ลดเวลาให้เร็วขึ้น แต่ไม่ได้ยกเลิกกฎหมาย ไม่ใช่จะไปสั่ง เดี๋ยวผมก็โดนหาว่าเอื้อประโยชน์อีก ไม่ใช่คุ้มครองคนทุจริต แต่คุ้มครองกรรมการที่เขาไปตรวจสอบทั้ง 2 คณะ ซึ่งตามกฎหมายมันต้องตั้ง เมื่อตั้งเสร็จเขาก็รายงานกลับเข้ามา จากนั้นก็ไปหาวิธีว่าทำยังไงให้ไม่หมดอายุความ เพราะศาลแพ่งอายุความปีเดียวก็หมดแล้ว มันไม่ทัน แล้วคณะกรรมการเขาจะกล้ารายงานหรือไม่ ต้องเรียกฝ่ายถูกกล่าวหามาให้ข้อมูลเพิ่ม เอาพยานมา แล้วพยานแต่ละคนเป็นอดีตผู้บังคับบัญชาเขาทั้งนั้น ทางคณะกรรมการเขาจะได้สบายใจ ว่าทำหน้าที่ ถ้าเขาทำแล้วไม่สุจริตเขาก็ผิด แต่ถ้าทำด้วยเจตนาบริสุทธิ์ไปสู่กระบวนการ เนี่ยเขาเรียกว่าสุจริต” นายกรัฐมนตรี กล่าว
** อนุมัติ1.2 หมื่นล.ชดเชยต้นให้ชาวสวนยาง
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุม ครม. มีมติอนุมัติงบประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ชดเชยต้นทุนการผลิตเกษตรกรชาวสวนยาง โดยแบ่งให้เจ้าของสวนยาง 900 บาท คนกรีดยาง 600 บาทคิดเป็นสัดส่วน 60 ต่อ 40 โดยจะชดเชยให้เฉพาะเกษตรกรที่มีเอกสารสิทธิ์ ส่วนผู้ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ เข้าไปดูแลเพื่อหามาตรการช่วยเหลือต่อไป ขณะเดียวกันเกษตรกรปลูกข้าวโพด ที่มีการบุกรุกที่ดินโดยกลุ่มนายทุน และมีปัญหาผลผลิตล้นตลาด จะให้ลดพื้นที่การปลูกรวมถึงชาวนา ที่ขอความร่วมมือให้ปลูกพืชทดแทนชนิดอื่น เช่น ถั่วเหลือง แต่หากฝ่าฝืนรัฐบาลไม่สามารถช่วยเหลือได้ ทั้งนี้ควรชั่งน้ำหนักความสมดุลว่าควรปลูกพืชอะไรที่เหมาะสม
*** คุยโว อียูชื่นชมไทยแก้ปัญหาไอยูยู
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึง การปรับปรุงกฎหมายที่ทำให้การบริหารงานรัฐบาลเดินหน้าเร็วขึ้น รวมถึงการพูดเรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ว่ามีปัญหาอะไรบ้างเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เร็วขึ้น อาทิ เกณฑ์ของการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและขาดการควบคุม (ไอยูยู) จากการที่มีผู้แทนจากสหภาพยุโรป (อียู) เดินทางมาตรวจการทำงานของเราเมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วเขาก็ยอมรับว่าเราให้ความสำคัญและความสนใจในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ รวมถึงชื่นชมการทำงานของไทย แต่ตนขอว่าอย่าเอาประเด็นเหล่านี้มาเป็นประเด็นว่าจะได้ไปอะไรอย่างไร จะมีการยกเลิกอะไรหรือไม่ เพราะเขาจะให้หรือไม่ให้ก็เรื่องของเขา เราแค่ทำให้ดีที่สุดและยอมรับว่าเราต้องแก้ไขไม่ใช่แค่เพียงเรื่องไอยูยูอย่างเดียว แต่เพื่อชาวประมงที่ทำถูกกฎหมาย รวมถึงชาวประมงพื้นบ้านและทรัพยากรสัตว์น้ำต่างๆ ยังต้องมีอยู่ แต่มันก็ต้องมีคนเดือดร้อน รัฐบาลก็มีมาตรการในการให้เปลี่ยนเครื่องมือจับสัตว์น้ำจึงจะออกไปจับปลาได้ ซึ่งเราก็เน้นเรือขนาด 60 ตันกรอสขึ้นไปด้วยเนื่องจากเป็นการทำประมงน่านน้ำและประมงพาณิชย์ด้วย แต่หากต่ำว่า 60 ตันกรอส ก็ต้องไปดูว่าเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำถูกต้องหรือไม่ซึ่งเรากำลังดำเนินการอยู่
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า รัฐบาลไม่อยากให้ทุกคนเดือดร้อน แต่เราต้องยอมรับว่าประเด็นดังกล่าวเป็นปัญหามาโดยตลอด วันนี้สิ่งที่ต้องดำเนินการก็คือการอนุมัติกฎหมาย 3 ฉบับ คือ 1.พระราชกำหนดประมงเพื่อแก้ไขปัญหาตามที่ไอยูยูจับตาอยู่ในตรงจุดและมีประสิทธิภาพ 2.แผนพัฒนาจัดการประมงทางทะเล และ 3.แผนระดับชาติในการแก้ไขและป้องกันปัญหาไอยูยู ซึ่งเชื่อมโยงกับการค้ามนุษย์ด้วยในเรื่องแรงงานในเรือประมง อย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เราต้องแก้ไขทั้งระบบ ทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการ ตัวแรงงาน เจ้าหน้าที่ ผู้กระทำความผิด ขบวนการค้ามนุษย์ และเหยื่อการค้ามนุษย์วันนี้เราทำทุกวันตามที่แต่ละกระทรวงได้รับไป เช่น เหยื่อค้ามนุษย์กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ดูแล
“ผมพูดให้คนไทยในประเทศเข้าใจเรามีการพัฒนาตามลำดับ แล้วก็ช่วยกันแก้ปัญหา แสดงให้อียูหรือต่างชาติที่ทำการค้าสัตว์น้ำกับเราอยู่เขาได้เห็นว่าเราไม่ได้ไปเอาสัตว์น้ำที่ได้มาจากการค้าแรงงานมนุษย์มาขายให้เขา มันเชื่อมโยงกันหมดในเรื่องใบเหลือง ใบแดงก็ต้องแล้วแต่เขา เราก็ทำเต็มที่ ต้นปีหน้าทางอียูจะส่งคณะมาดูความก้าวหน้าอีกในช่วงที่หลังที่เขามาครั้งที่แล้ว การแก้ไขปัญหาไอยูยูนั้นแก้เพื่อคนไทย เพื่อการทำประมงไทย” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงการหารือกับนายไมตรีปาละ สิริเสนารี ประธานาธิบดีศรีลังกาเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า ได้มีการหารือเรื่องประมงด้วยเพราะศรีลังกาเป็นประเทศหมู่เกาะกลางมหาสมุทรอินเดียจึงมีปลาจำนวนมาก ตนจึงได้ขอความร่วมมือในเรื่องการพัฒนาการประมงของศรีลังกาที่มีปลาเยอะ แต่การประมงเขาไม่เก่งเท่าเรา ตนจึงคิดว่าควรร่วมมือกัน ซึ่งนายไมตรีปาละก็ตอบรับในหลักการและจะไปหารือกันเพิ่มเติมในพื้นที่ของศรีลังกา เนื่องจากไทยมีเรือจำนวนมากแต่ไม่มีปลาให้จับ ก็ต้องไปจับที่อื่น แต่ไม่ใช่ไปจับของเขาหมด เพราะต้องมีการร่วมมือและร่วมทุนกันในการทำงานเรื่องประมงด้วย
พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึงกรณีความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอเคโอ) ว่า วันนี้เราได้ตั้งองค์กรและบุคคลกรที่มีคุณสมบัติในการที่จะเป็นกรรมการต่างๆ ในกรมการบินพลเรือนเพื่อให้เข้าไปกำกับดูแล ซึ่งเราต้องทำใหม่ทั้งหมดและอยู่ในวาระเร่งด่วน แต่ขณะนี้การยกเลิกเที่ยวบินต่างๆ ยังไม่มี แต่หากเราจะไปเพิ่มเที่ยวบินใหม่ต้องผ่านตรงนี้ก่อนนั่นคือปัญหาของเรา
ส่วนความมั่นคงปลอดภัยของสนามบินเราก็กำลังเข้าไปดูอยู่ว่าทำอย่างไรให้เกิดความปลอดภัยเพราะวันหน้าเราต้องเปิดประชาคมอาเซียนแล้ว เมื่อ 2 วันที่แล้วก็ยังคงมีปัญหาเรื่องความแออัดของสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งตนก็กำลังจะขยายสนามบินในระยะที่ 2 ก็มีคนมาบ่นว่าทำไม่ได้ติดโน่นติดนี่ แต่ก็บ่นว่าสนามบินแออัด เครื่องบินลงไม่ได้ แต่ก็ไม่ให้สร้างสนามบิน มันจะทำอย่างไร
“นี่แหละคือสิ่งที่เป็นปัญหาของประเทศไทยเพราะมีคนอยู่ไม่กี่คน ไม่กี่กลุ่มที่ไปสร้างการรับรู้ผิดๆ แล้วเราก็ไปขยายให้เป็นเรื่องใหญ่โต ก็เพราะมันทำอะไรไม่ได้สักอย่าง ถามหน่อยแล้วท่านจะเรียกร้องกับใคร ถ้าผมทำไม่ได้รัฐบาลเลือกตั้งก็ทำไม่ได้เอาแบบนี้ดีกว่า ง่ายๆ สนามบินวันนั้นก็แออัด เราก็ให้เจ้าหน้าที่มาชี้แจงว่าเขาทำอย่างไร ระบบคอมพิวเตอร์ก็เสีย ก็กำลังไปให้หาระบบสำรอง ทุกอย่างใช้เงินทั้งนั้น มันจะเอาเงินจากที่ไหน เพราะมีเรื่องใช้เงินรออยู่ทุกอาทิตย์ ทุกวัน ของใหม่ก็ต้องทำ ของเก่าก็ต้องแก้ เรียกร้องก็จะเอา มันจะเอาเงินที่ไหนผมยังไม่รู้เลย ไม่บ่นแล้วขี้เกียจบ่น แค่ตอบคำถามนะไม่ได้บ่น" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว