ASTVผู้จัดการรายวัน - ศอตช. เตรียมเรียกผู้บริหาร สสส.แจง 3 ประเด็นสัปดาห์หน้า “บิ๊กต๊อก” ขึงขังไล่สอบดะ ใครเอี่ยวทำรัฐเสียหายต้องรับผิดชอบ ปัดชี้ชัดเข้าข่ายทุจริตหรือไม่ ระบุยังแค่ใช้จ่ายงบประมาณผิดระเบียบฯ ยันรัฐสอบ สสส.ไม่เกี่ยว “อิศรา” ตรวจสอบรัฐ วอนอย่าเสี้ยมให้เป็นเรื่องขัดแย้งรัฐกับสื่อ “อ.นิด้า” เสนอ กม. 3 ฉบับปฏิรูป สสส.-องค์กรอิสระทั้งหมด สกัดการใช้งบอิสระ ด้านมูลนิธิผู้บริโภคยันรับงบประมาณ สสส.ทำเรื่องสุขภาพ
วานนี้ (19 ต.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น. ที่กระทรวงยุติธรรม พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ได้เป็นประธานการประชุม ศอตช. ที่มีผู้แทนจาก คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เพื่อพิจารณาตรวจสอบการใช้งบประมาณของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยการประชุมใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
** เรียก สสส.แจง 3 ปมสัปดาห์หน้า
ภายหลังการประชุม พล.อ.ไพบูลย์ เปิดเผยว่า ในที่ประชุมผู้แทนจาก คตร.และ สตง.ได้รายงานผลการตรวจสอบ สสส.สรุปได้เป็น 3 ประเด็น คือ 1.พบว่ามีการใช้จ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามระเบียบการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน 2. เมื่อใช้จ่ายไม่เป็นไปตามระเบียบ ก็ต้องมีคนรับผิดชอบ ซึ่งได้มีรายงานว่า กลุ่มใดบ้างที่เกี่ยวข้องและต้องรับผิดชอบ และ 3.แนวทางแก้ไข ซึ่งต้องมีการแก้ไขระบบระเบียบ และกฎหมาย ขั้นตอนต่อจากนี้ก็จะให้เลขา ป.ป.ท. ในฐานะ เลขา ศอตช.เชิญผู้บริหาร สสส. ที่มีอำนาจและสามารถจะตอบ 3 ประเด็นนี้ได้ชัดเจนมาชี้แจงต่อ ศอตช.ในสัปดาห์หน้า ซึ่งจะเป็นการลงละเอียดเป็นรายโครงการ
ทั้งนี้ พล.อ.ไพบูลย์ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดว่าการใช้จ่ายงบประมาณของ สสส.ไม่เป็นไปตามระเบียบเป็นลักษณะใด หรือเข้าข่ายทุจริตหรือไม่ โดยตอบเพียงว่า หากตนบอกไปก็จะรู้ถึงบุคคลที่ 3 ทันที ซึ่งในชั้นนี้ยังไม่อยากจะพูดถึง บุคคลที่ 3 จะทราบเมื่อ สสส.มาชี้แจงแล้ว
“หากผมบอกว่าทุจริตก็จะเป็นความผิดทันที ผมตอบแค่นี้ก่อนดีกว่าว่าเป็นการใช้จ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามระเบียบฯ เพราะไม่อยากให้กระทบกับองค์กร สสส.และต้องให้ความเป็นธรรมกับเขา เพราะองค์กรนี้ต้องถือว่าเป็นองค์กรที่ดี“ พล.อ.ไพบูลย์ ระบุ
** ตรวจเครือข่ายที่รับเงินสนับสนุนด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการตรวจสอบเครือข่ายที่รับเงินสนับสนุนจาก สสส.ทั้งหมดด้วยได้หรือไม่ พล.อ.ไพบูลย์กล่าวว่า ต้องลงไปตรวจอยู่แล้ว เพราะต้องตรวจสอบว่าอยู่กลุ่มไหน โครงการเริ่มที่ใครและจบโดยใคร เมื่อสอบแล้วได้ข้อมูลมาอย่างไรก็ต้องสอบต่อไปว่าการใช้จ่ายเงินงบประมาณเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ โดยจากที่มีการรายงานพบว่าโครงการที่ใช้จ่ายงบไม่เป็นไปตามระเบียบมีจำนวนมากพอสมควร ส่วนจะให้มีการเปิดเผยเครือข่ายที่รับเงินสนับสนุนว่ามีองค์กรใดบ้าง ก็คงต้องรอให้สอบ สสส.จบก่อน
เมื่อถามต่อว่า จะมีการตรวจสอบคณะกรรมการสสส.หรือผู้ทรงวุฒิอื่นด้วยหรือไม่ เพราะการลาออกของ ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ อดีตผู้จัดการ สสส.ถูกมองว่าเป็นการตัดตอนเรื่องนี้ พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า การตรวจสอบถ้าพบไปถึงใคร กลุ่มไหนก็ต้องดำเนินการ ซึ่งก็ต้องดูว่าโครงการมันเริ่มที่ใคร ใครเสนอ และเป็นผู้รับ ถ้าพบว่าผิดระเบียบว่าด้วยการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน แล้วเรื่องไปถึงป.ป.ช. มันก็ต้องเป็นเรื่องใหญ่
** ปัดพุ่งเป้าเล่นงาน “อิศรา”
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ระบุว่า สสส.ใช้งบไม่เป็นไปตามระเบียบฯหมายถึงการสนับสนุนงบให้องค์กรสื่อด้วยใช่หรือไม่ พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า คิดว่าสื่อเองก็ต้องเข้าใจ สิ่งที่ตรวจสอบคือต้องไปดูว่าการใช้งบประมาณมันสมเหตุสมผลต่อนโยบายการตั้งองค์กรนี้ขึ้นมาหรือไม่ ใครก็ตามใช้จ่ายงบไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ สื่อก็มองกันออก แต่เราก็ต้องฟังและให้ความเป็นธรรม โดยหลักตามระเบียบการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน ไม่มีใครมีสิทธิใช้จ่ายนอกระเบียบได้ ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม ไม่เกี่ยวว่าเป็นงบที่ผ่านการพิจารณาของสภา หรือไม่ต้องผ่านการพิจารณาของสภา แต่เมื่อเป็นเงินแผ่นดินก็ต้องเอาไปใช้ยึดตามระเบียบฯ ไม่ใช่เอาใช้ตามแต่องค์กรของตนไม่ได้
พล.อ.ไพบูลย์ ยังปฏิเสธด้วยว่า การตรวจสอบ สสส. เพราะไปให้งบสนับสนุนสำนักข่าวอิศรา ซึ่งมีบทบาทในการตรวจสอบภาครัฐในช่วงที่ผ่านมา ไม่อยากให้ไปผูกเป็นเรื่องสื่อขัดแย้งกับรัฐ แล้วจะโยงว่ารัฐกลั่นแกล้ง ขออย่าโยงกัน เพราะถ้าทำอย่างนั้นรัฐเองก็ขาดความน่าเชื่อถือ เราจะดูว่าใครผิด ใครถูกก็ว่ากันไปตามนั้น ซึ่งถ้าเรื่องนี้ได้ข้อยุติแล้ว ตนจะให้ทั้ง สตง.และ คตร.มาชี้แจงให้กับสื่อมวลชนทราบอย่างชัดเจน แต่ระหว่างนี้ขอให้ตนเป็นผู้ชี้แจงคนเดียว
** แย้มปรับใหญ่ระบบแต่งตั้งบิ๊ก สสส.
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการตรวจสอบการดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ สสส.ที่มีลักษณะผูกขาดหมุนเวียนกันเป็นอยู่ไม่กี่คนหรือไม่ ประธาน ศอตช. กล่าวว่า เป็นประเด็นในข้อเสนอที่ คตร.และ สตง. แนะว่าต้องมีการแก้ไข ทั้งหมดต้องรอให้ สสส.มาชี้แจงแล้วจึงจะทราบว่าจะมีรายละเอียดอะไรบ้างที่จะต้องมีการแก้ไข ซึ่งตนก็จะได้รวบรวมทำเป็นข้อสรุปเสนอต่อนายกรัฐมนตรี
เมื่อถามย้ำว่า กรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิใน สสส.ส่วนใหญ่มาจากเครือข่ายที่ได้รับการสนับสนุนงบจาก สสส.เอง พล.อ.ไพบูลย์ ย้อนถามกลับผู้สื่อข่าวว่า “สื่อคิดแบบนี้ สังคมก็คิด ผมก็ไม่ได้กินแกลบนะ“
เมื่อถามต่อไปว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่ารัฐตรวจสอบเรื่องนี้อาจเพียงต้องการปรามเท่านั้น พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวด้วยน้ำเสียงดุดันว่า “ผมเนี่ยนะแค่ปราม คุณเคยเห็นไพบูลย์ ไม่เอาจริงเรื่องอะไรบ้าง”
** “พิศิษฐ์” เล็งชงสังคายนางบฯ สสส.
วันเดียวกัน ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย พรรคเพื่อไทย และอดีตข้าราชการ สตง.ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึง นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อให้ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของ สสส.กรณีการให้เงินสนับสนุนแก่สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย
จากนั้น นายพิศิษฐ์ ให้สัมภาษณ์ว่า เอกสารที่นายเรืองไกรนำมายื่นเป็นประโยชน์ที่จะใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเรื่องการใช้งบประมาณของ สสส. โดยจะต้องเน้นเรื่องการตีความกฎหมายตาม พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ.2544 มาตรา 5 ให้มีขอบเขตที่ชัดเจน เนื่องจากหากตีความเกินขอบเขต เงินที่ใช้ในการสนับสนุนโครงการต่างๆ ของ สสส.จะเป็นงบประมาณจำนวนมาก หากได้ข้อสรุปที่ชัดเจนแล้ว สตง.จะมีหนังสือเพื่อชี้แจงถึงการใช้งบประมาณของ สสส. หากมีส่วนใดที่แก้ไขได้ ก็จะเสนอไปด้วย
“หน่วยงานต่างๆ ที่ได้รับงบประมาณจาก สสส.อยู่นั้นต้องเปิดใจกว้าง หากเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับสุขภาพก็ไม่น่าจะได้รับผลกระทบ ไม่ว่าอนาคตจะมีการปรับเปลี่ยนการให้งบประมาณอย่างไร เพียงแต่อาจจะต้องมีการกลั่นกรองตรวจสอบมากขึ้น” นายพิศิษฐ์ ระบุ
** เชื่อไม่กระทบเก็บภาษีบาป
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากมีการปรับวิธีการให้งบประมาณต่อ สสส.จะทำให้บริษัทสุรายาสูบได้รับผลประโยชน์หรือไม่ เพราะไม่ต้องจ่ายเพิ่มร้อยละ 2 ให้กับ สสส.อีกต่อไป นายพิศิษฐ์ กล่าวว่า เรื่องนี้อยู่ที่การออกแบบ อาจจะไม่ได้เปลี่ยนจุดนั้น เพียงแต่เปลี่ยนวิธีการ ซึ่งการเก็บภาษีบาปเป็นเรื่องเชิงนโยบาย ถ้าไม่ส่งเสริมสินค้าประเภทนี้ก็เก็บภาษีสูงๆ แล้วเก็บงบประมาณเข้าแผ่นดิน ให้มาบริหารจัดการเป็นกรณีๆ ไป คิดว่าการจะแก้ไขนั้น คนแก้ก็มีวิจารณญาณพอ ไม่ใช่แก้เพื่อให้ใครได้ประโยชน์ แต่ต้องการแก้เพื่อใช้เงินให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า มากที่สุด
** สับทำงานไม่คุ้มงบ 4 พันล้าน
ด้าน ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า ในฐานะประชาชนคนไทยมองว่า ถือเป็นเรื่องดีที่ คตร.เข้ามาตรวจสอบ สสส. เพราะ สสส.มีการทำงานที่ย้อนแย้งมานาน อีกทั้งคนมองว่าผลลัพธ์การทำงานไม่ชัดเจนและไม่คุ้มค่ากับงบประมาณที่ได้จากภาษีบาปกว่า 4 พันล้านบาท เนื่องจาก สสส.เป็นหน่วยงานสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค แต่บทบาทหน้าที่ กรอบการทำงานกลับไม่ชัด อย่างการบอกว่าลดปัญหาจากสุรา และบุหรี่ ทำให้คนตระหนักในสุขภาพมากขึ้น ก็ต้องมีตัวเลขและข้อมูลเป็นรูปธรรมในแต่ละโครงการที่สนับสนุนด้วย อาทิ การส่งเสริมป้องกันโรค ทั้งเรื่องวัคซีน การป้องกันโรคเชิงรุก แต่จุดสำคัญต้องสนับสนุนโครงการในพื้นที่ เพราะแต่ละแห่งปัญหาไม่เหมือนกัน อย่างภาคอีสาน จะมีปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับ ไม่ใช่สนับสนุนโครงการกระจายไปหมดแบบนี้
“หาก สสส.ทำงานบริหารดีๆ งบ 4 พันล้านบาทไม่พอด้วยซ้ำ ควรได้มากกว่านี้ หากบริหารอย่างเป็นระบบ มีความโปร่งใส ไม่อิสระจนตรวจสอบยาก” ดร.อานนท์ ระบุ
** ชู กม. 3 ฉบับปฏิรูป สสส.
ดร.อานนท์ กล่าวต่อว่า ถึงเวลาต้องปฏิรูปโครงสร้าง ไม่เพียงแค่ สสส. แต่หน่วยงานที่มีลักษณะเป็นองค์กรอิสระ ควรปฏิรูปหมด โดย 1.ต้องมีพ.ร.บ.งบประมาณขององค์กรอิสระขึ้น 2.ต้องมี พ.ร.บ.มาตรฐานบัญชีและการตรวจสอบบัญชีขององค์กรอิสระ และ 3.ต้องมี พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างขององค์กรอิสระ หากมีกฎหมายทั้ง 3 ฉบับนี้จะช่วยให้การทำงานตรวจสอบได้มากกว่านี้และเป็นไปตามระบบ เพราะทุกวันนี้องค์กรอิสระ มีกฎหมายของตัวเอง ประกอบกับมีระเบียบลูกมากมาย การทำงานจึงกว้างไปหมด อย่าง สสส.นิยามคำว่าสุขภาพกว้างมาก ทั้งที่เจตนารมณ์ พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 โฟกัสเรื่องสุขภาพกาย และใจ แต่ที่ผ่านมากลับกว้างเกินคำเหล่านี้ โยงงานต่างๆ ไปหมด
** ยันรับทุนทำงานด้านสุขภาพ
ขณะที่ น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า มูลนิธิฯขอรับทุนจาก สสส.เหมือนกับทุกแห่งที่ดำเนินการ ไม่มีสิทธิพิเศษอะไร ดำเนินการผ่านขั้นตอนที่ถูกต้อง โดยนำทุนมาทำงานด้านสุขภาพ สร้างความตื่นตัวให้ผู้บริโภคให้ลุกขึ้นมาคุ้มครองตนเอง แต่ละปีสามารถช่วยเหลือผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิให้ได้รับการเยียวยาไม่น้อยกว่า 1 หมื่นราย หากคิดเป็นเงินไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท และรณรงค์ยกระดับความปลอดภัยของผู้บริโภค รวมไปถึงหลักการของระบบการเงินการคลังเพื่อสังคม และหลักการการดูแลสุขภาพในมิติที่กว้างขึ้น
“หากการตรวจสอบ สสส.ปราศจากสิ่งซ่อนเร้นก็ถือเป็นเรื่องดี แต่ส่วนตัวมองว่า หากไม่ใช่พรรคพวกก็จะถูกตรวจสอบ หากใช่ก็ไม่ถูกตรวจสอบ เพราะการตรวจสอบข้อเท็จจริงควรต้องมีการเปิดเผยผลการสอบให้สาธารณะทราบด้วย” น.ส.สารี กล่าว
** บิ๊ก สสส.ส่อโดนเช็คแม้ ผจก.ลาออก
แหล่งข่าวจากที่ประชุม ศอตช.เปิดเผยว่า ในการประชุมวันนี้ได้มีการวางกรอบการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของ สสส.ที่ผ่านตลอดระยะเวลากว่า 13 ปี ที่มีมูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาทว่าเกี่ยวข้องกับองค์กรหรือเครือข่ายใดบ้าง รวมทั้งผู้อนุมัติโครงการต่างๆของ สสส.มีความเชื่อมโยงกับองค์กรหรือเครือข่ายนั้นๆหรือไม่ เพราะพบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิของ สสส.หลายรายเป็นผู้ที่ก่อตั้งหรือเคยดำรงตำแหน่งระดับสูงในองค์กรหรือเครือข่ายที่ได้รับการอนุมัติงบเป็นจำนวนมากทุกปี นอกจากนี้ยังจะพิจารณาในส่วนของบุคลากรที่เป็นคณะกรรมการหรือผู้ทรงคุณวุฒิของ สสส.ด้วย เพราะถือว่ามีส่วนรับผิดชอบเช่นเดียวกับ ทพ.กฤษฎาที่ลาออกไป ทั้งยังพบว่า มีลักษณะการสลับตำแหน่งในกลุ่มบุคคลในเครือข่าย โดยไม่เปิดโอกาสให้บุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับการบริหาร สสส.
วานนี้ (19 ต.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น. ที่กระทรวงยุติธรรม พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ได้เป็นประธานการประชุม ศอตช. ที่มีผู้แทนจาก คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เพื่อพิจารณาตรวจสอบการใช้งบประมาณของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยการประชุมใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
** เรียก สสส.แจง 3 ปมสัปดาห์หน้า
ภายหลังการประชุม พล.อ.ไพบูลย์ เปิดเผยว่า ในที่ประชุมผู้แทนจาก คตร.และ สตง.ได้รายงานผลการตรวจสอบ สสส.สรุปได้เป็น 3 ประเด็น คือ 1.พบว่ามีการใช้จ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามระเบียบการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน 2. เมื่อใช้จ่ายไม่เป็นไปตามระเบียบ ก็ต้องมีคนรับผิดชอบ ซึ่งได้มีรายงานว่า กลุ่มใดบ้างที่เกี่ยวข้องและต้องรับผิดชอบ และ 3.แนวทางแก้ไข ซึ่งต้องมีการแก้ไขระบบระเบียบ และกฎหมาย ขั้นตอนต่อจากนี้ก็จะให้เลขา ป.ป.ท. ในฐานะ เลขา ศอตช.เชิญผู้บริหาร สสส. ที่มีอำนาจและสามารถจะตอบ 3 ประเด็นนี้ได้ชัดเจนมาชี้แจงต่อ ศอตช.ในสัปดาห์หน้า ซึ่งจะเป็นการลงละเอียดเป็นรายโครงการ
ทั้งนี้ พล.อ.ไพบูลย์ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดว่าการใช้จ่ายงบประมาณของ สสส.ไม่เป็นไปตามระเบียบเป็นลักษณะใด หรือเข้าข่ายทุจริตหรือไม่ โดยตอบเพียงว่า หากตนบอกไปก็จะรู้ถึงบุคคลที่ 3 ทันที ซึ่งในชั้นนี้ยังไม่อยากจะพูดถึง บุคคลที่ 3 จะทราบเมื่อ สสส.มาชี้แจงแล้ว
“หากผมบอกว่าทุจริตก็จะเป็นความผิดทันที ผมตอบแค่นี้ก่อนดีกว่าว่าเป็นการใช้จ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามระเบียบฯ เพราะไม่อยากให้กระทบกับองค์กร สสส.และต้องให้ความเป็นธรรมกับเขา เพราะองค์กรนี้ต้องถือว่าเป็นองค์กรที่ดี“ พล.อ.ไพบูลย์ ระบุ
** ตรวจเครือข่ายที่รับเงินสนับสนุนด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการตรวจสอบเครือข่ายที่รับเงินสนับสนุนจาก สสส.ทั้งหมดด้วยได้หรือไม่ พล.อ.ไพบูลย์กล่าวว่า ต้องลงไปตรวจอยู่แล้ว เพราะต้องตรวจสอบว่าอยู่กลุ่มไหน โครงการเริ่มที่ใครและจบโดยใคร เมื่อสอบแล้วได้ข้อมูลมาอย่างไรก็ต้องสอบต่อไปว่าการใช้จ่ายเงินงบประมาณเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ โดยจากที่มีการรายงานพบว่าโครงการที่ใช้จ่ายงบไม่เป็นไปตามระเบียบมีจำนวนมากพอสมควร ส่วนจะให้มีการเปิดเผยเครือข่ายที่รับเงินสนับสนุนว่ามีองค์กรใดบ้าง ก็คงต้องรอให้สอบ สสส.จบก่อน
เมื่อถามต่อว่า จะมีการตรวจสอบคณะกรรมการสสส.หรือผู้ทรงวุฒิอื่นด้วยหรือไม่ เพราะการลาออกของ ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ อดีตผู้จัดการ สสส.ถูกมองว่าเป็นการตัดตอนเรื่องนี้ พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า การตรวจสอบถ้าพบไปถึงใคร กลุ่มไหนก็ต้องดำเนินการ ซึ่งก็ต้องดูว่าโครงการมันเริ่มที่ใคร ใครเสนอ และเป็นผู้รับ ถ้าพบว่าผิดระเบียบว่าด้วยการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน แล้วเรื่องไปถึงป.ป.ช. มันก็ต้องเป็นเรื่องใหญ่
** ปัดพุ่งเป้าเล่นงาน “อิศรา”
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ระบุว่า สสส.ใช้งบไม่เป็นไปตามระเบียบฯหมายถึงการสนับสนุนงบให้องค์กรสื่อด้วยใช่หรือไม่ พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า คิดว่าสื่อเองก็ต้องเข้าใจ สิ่งที่ตรวจสอบคือต้องไปดูว่าการใช้งบประมาณมันสมเหตุสมผลต่อนโยบายการตั้งองค์กรนี้ขึ้นมาหรือไม่ ใครก็ตามใช้จ่ายงบไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ สื่อก็มองกันออก แต่เราก็ต้องฟังและให้ความเป็นธรรม โดยหลักตามระเบียบการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน ไม่มีใครมีสิทธิใช้จ่ายนอกระเบียบได้ ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม ไม่เกี่ยวว่าเป็นงบที่ผ่านการพิจารณาของสภา หรือไม่ต้องผ่านการพิจารณาของสภา แต่เมื่อเป็นเงินแผ่นดินก็ต้องเอาไปใช้ยึดตามระเบียบฯ ไม่ใช่เอาใช้ตามแต่องค์กรของตนไม่ได้
พล.อ.ไพบูลย์ ยังปฏิเสธด้วยว่า การตรวจสอบ สสส. เพราะไปให้งบสนับสนุนสำนักข่าวอิศรา ซึ่งมีบทบาทในการตรวจสอบภาครัฐในช่วงที่ผ่านมา ไม่อยากให้ไปผูกเป็นเรื่องสื่อขัดแย้งกับรัฐ แล้วจะโยงว่ารัฐกลั่นแกล้ง ขออย่าโยงกัน เพราะถ้าทำอย่างนั้นรัฐเองก็ขาดความน่าเชื่อถือ เราจะดูว่าใครผิด ใครถูกก็ว่ากันไปตามนั้น ซึ่งถ้าเรื่องนี้ได้ข้อยุติแล้ว ตนจะให้ทั้ง สตง.และ คตร.มาชี้แจงให้กับสื่อมวลชนทราบอย่างชัดเจน แต่ระหว่างนี้ขอให้ตนเป็นผู้ชี้แจงคนเดียว
** แย้มปรับใหญ่ระบบแต่งตั้งบิ๊ก สสส.
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการตรวจสอบการดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ สสส.ที่มีลักษณะผูกขาดหมุนเวียนกันเป็นอยู่ไม่กี่คนหรือไม่ ประธาน ศอตช. กล่าวว่า เป็นประเด็นในข้อเสนอที่ คตร.และ สตง. แนะว่าต้องมีการแก้ไข ทั้งหมดต้องรอให้ สสส.มาชี้แจงแล้วจึงจะทราบว่าจะมีรายละเอียดอะไรบ้างที่จะต้องมีการแก้ไข ซึ่งตนก็จะได้รวบรวมทำเป็นข้อสรุปเสนอต่อนายกรัฐมนตรี
เมื่อถามย้ำว่า กรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิใน สสส.ส่วนใหญ่มาจากเครือข่ายที่ได้รับการสนับสนุนงบจาก สสส.เอง พล.อ.ไพบูลย์ ย้อนถามกลับผู้สื่อข่าวว่า “สื่อคิดแบบนี้ สังคมก็คิด ผมก็ไม่ได้กินแกลบนะ“
เมื่อถามต่อไปว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่ารัฐตรวจสอบเรื่องนี้อาจเพียงต้องการปรามเท่านั้น พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวด้วยน้ำเสียงดุดันว่า “ผมเนี่ยนะแค่ปราม คุณเคยเห็นไพบูลย์ ไม่เอาจริงเรื่องอะไรบ้าง”
** “พิศิษฐ์” เล็งชงสังคายนางบฯ สสส.
วันเดียวกัน ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย พรรคเพื่อไทย และอดีตข้าราชการ สตง.ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึง นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อให้ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของ สสส.กรณีการให้เงินสนับสนุนแก่สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย
จากนั้น นายพิศิษฐ์ ให้สัมภาษณ์ว่า เอกสารที่นายเรืองไกรนำมายื่นเป็นประโยชน์ที่จะใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเรื่องการใช้งบประมาณของ สสส. โดยจะต้องเน้นเรื่องการตีความกฎหมายตาม พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ.2544 มาตรา 5 ให้มีขอบเขตที่ชัดเจน เนื่องจากหากตีความเกินขอบเขต เงินที่ใช้ในการสนับสนุนโครงการต่างๆ ของ สสส.จะเป็นงบประมาณจำนวนมาก หากได้ข้อสรุปที่ชัดเจนแล้ว สตง.จะมีหนังสือเพื่อชี้แจงถึงการใช้งบประมาณของ สสส. หากมีส่วนใดที่แก้ไขได้ ก็จะเสนอไปด้วย
“หน่วยงานต่างๆ ที่ได้รับงบประมาณจาก สสส.อยู่นั้นต้องเปิดใจกว้าง หากเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับสุขภาพก็ไม่น่าจะได้รับผลกระทบ ไม่ว่าอนาคตจะมีการปรับเปลี่ยนการให้งบประมาณอย่างไร เพียงแต่อาจจะต้องมีการกลั่นกรองตรวจสอบมากขึ้น” นายพิศิษฐ์ ระบุ
** เชื่อไม่กระทบเก็บภาษีบาป
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากมีการปรับวิธีการให้งบประมาณต่อ สสส.จะทำให้บริษัทสุรายาสูบได้รับผลประโยชน์หรือไม่ เพราะไม่ต้องจ่ายเพิ่มร้อยละ 2 ให้กับ สสส.อีกต่อไป นายพิศิษฐ์ กล่าวว่า เรื่องนี้อยู่ที่การออกแบบ อาจจะไม่ได้เปลี่ยนจุดนั้น เพียงแต่เปลี่ยนวิธีการ ซึ่งการเก็บภาษีบาปเป็นเรื่องเชิงนโยบาย ถ้าไม่ส่งเสริมสินค้าประเภทนี้ก็เก็บภาษีสูงๆ แล้วเก็บงบประมาณเข้าแผ่นดิน ให้มาบริหารจัดการเป็นกรณีๆ ไป คิดว่าการจะแก้ไขนั้น คนแก้ก็มีวิจารณญาณพอ ไม่ใช่แก้เพื่อให้ใครได้ประโยชน์ แต่ต้องการแก้เพื่อใช้เงินให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า มากที่สุด
** สับทำงานไม่คุ้มงบ 4 พันล้าน
ด้าน ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า ในฐานะประชาชนคนไทยมองว่า ถือเป็นเรื่องดีที่ คตร.เข้ามาตรวจสอบ สสส. เพราะ สสส.มีการทำงานที่ย้อนแย้งมานาน อีกทั้งคนมองว่าผลลัพธ์การทำงานไม่ชัดเจนและไม่คุ้มค่ากับงบประมาณที่ได้จากภาษีบาปกว่า 4 พันล้านบาท เนื่องจาก สสส.เป็นหน่วยงานสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค แต่บทบาทหน้าที่ กรอบการทำงานกลับไม่ชัด อย่างการบอกว่าลดปัญหาจากสุรา และบุหรี่ ทำให้คนตระหนักในสุขภาพมากขึ้น ก็ต้องมีตัวเลขและข้อมูลเป็นรูปธรรมในแต่ละโครงการที่สนับสนุนด้วย อาทิ การส่งเสริมป้องกันโรค ทั้งเรื่องวัคซีน การป้องกันโรคเชิงรุก แต่จุดสำคัญต้องสนับสนุนโครงการในพื้นที่ เพราะแต่ละแห่งปัญหาไม่เหมือนกัน อย่างภาคอีสาน จะมีปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับ ไม่ใช่สนับสนุนโครงการกระจายไปหมดแบบนี้
“หาก สสส.ทำงานบริหารดีๆ งบ 4 พันล้านบาทไม่พอด้วยซ้ำ ควรได้มากกว่านี้ หากบริหารอย่างเป็นระบบ มีความโปร่งใส ไม่อิสระจนตรวจสอบยาก” ดร.อานนท์ ระบุ
** ชู กม. 3 ฉบับปฏิรูป สสส.
ดร.อานนท์ กล่าวต่อว่า ถึงเวลาต้องปฏิรูปโครงสร้าง ไม่เพียงแค่ สสส. แต่หน่วยงานที่มีลักษณะเป็นองค์กรอิสระ ควรปฏิรูปหมด โดย 1.ต้องมีพ.ร.บ.งบประมาณขององค์กรอิสระขึ้น 2.ต้องมี พ.ร.บ.มาตรฐานบัญชีและการตรวจสอบบัญชีขององค์กรอิสระ และ 3.ต้องมี พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างขององค์กรอิสระ หากมีกฎหมายทั้ง 3 ฉบับนี้จะช่วยให้การทำงานตรวจสอบได้มากกว่านี้และเป็นไปตามระบบ เพราะทุกวันนี้องค์กรอิสระ มีกฎหมายของตัวเอง ประกอบกับมีระเบียบลูกมากมาย การทำงานจึงกว้างไปหมด อย่าง สสส.นิยามคำว่าสุขภาพกว้างมาก ทั้งที่เจตนารมณ์ พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 โฟกัสเรื่องสุขภาพกาย และใจ แต่ที่ผ่านมากลับกว้างเกินคำเหล่านี้ โยงงานต่างๆ ไปหมด
** ยันรับทุนทำงานด้านสุขภาพ
ขณะที่ น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า มูลนิธิฯขอรับทุนจาก สสส.เหมือนกับทุกแห่งที่ดำเนินการ ไม่มีสิทธิพิเศษอะไร ดำเนินการผ่านขั้นตอนที่ถูกต้อง โดยนำทุนมาทำงานด้านสุขภาพ สร้างความตื่นตัวให้ผู้บริโภคให้ลุกขึ้นมาคุ้มครองตนเอง แต่ละปีสามารถช่วยเหลือผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิให้ได้รับการเยียวยาไม่น้อยกว่า 1 หมื่นราย หากคิดเป็นเงินไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท และรณรงค์ยกระดับความปลอดภัยของผู้บริโภค รวมไปถึงหลักการของระบบการเงินการคลังเพื่อสังคม และหลักการการดูแลสุขภาพในมิติที่กว้างขึ้น
“หากการตรวจสอบ สสส.ปราศจากสิ่งซ่อนเร้นก็ถือเป็นเรื่องดี แต่ส่วนตัวมองว่า หากไม่ใช่พรรคพวกก็จะถูกตรวจสอบ หากใช่ก็ไม่ถูกตรวจสอบ เพราะการตรวจสอบข้อเท็จจริงควรต้องมีการเปิดเผยผลการสอบให้สาธารณะทราบด้วย” น.ส.สารี กล่าว
** บิ๊ก สสส.ส่อโดนเช็คแม้ ผจก.ลาออก
แหล่งข่าวจากที่ประชุม ศอตช.เปิดเผยว่า ในการประชุมวันนี้ได้มีการวางกรอบการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของ สสส.ที่ผ่านตลอดระยะเวลากว่า 13 ปี ที่มีมูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาทว่าเกี่ยวข้องกับองค์กรหรือเครือข่ายใดบ้าง รวมทั้งผู้อนุมัติโครงการต่างๆของ สสส.มีความเชื่อมโยงกับองค์กรหรือเครือข่ายนั้นๆหรือไม่ เพราะพบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิของ สสส.หลายรายเป็นผู้ที่ก่อตั้งหรือเคยดำรงตำแหน่งระดับสูงในองค์กรหรือเครือข่ายที่ได้รับการอนุมัติงบเป็นจำนวนมากทุกปี นอกจากนี้ยังจะพิจารณาในส่วนของบุคลากรที่เป็นคณะกรรมการหรือผู้ทรงคุณวุฒิของ สสส.ด้วย เพราะถือว่ามีส่วนรับผิดชอบเช่นเดียวกับ ทพ.กฤษฎาที่ลาออกไป ทั้งยังพบว่า มีลักษณะการสลับตำแหน่งในกลุ่มบุคคลในเครือข่าย โดยไม่เปิดโอกาสให้บุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับการบริหาร สสส.