พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากกรณีที่สื่อบางฉบับได้นำเสนอข่าวพาดพิงถึงอดีตนายกรัฐมนตรี โดยเชื่อมโยงกับรัฐมนตรีบางคนในรัฐบาลชุดปัจจุบัน และเคยดำรงตำแหน่งในรัฐบาลชุดของอดีตนายกรัฐมนตรีท่านนั้น ในลักษณะของความโกรธแค้นเพราะถูกเล่นงานตลบหลัง ซึ่งสะท้อนให้เห็นภาพของความขัดแย้งนั้น ขอเรียนว่า รัฐบาลไม่ต้องการให้ทุกฝ่ายเปิดประเด็นความขัดแย้งขึ้นในสังคม เพราะขณะนี้สถานการณ์ในประเทศเริ่มดีขึ้น และกำลังเดินหน้าไปสู่การสร้างความปรองดองและการปฏิรูปตามโรดแมปที่วางไว้ อย่างไรก็ดี การอ้างถึงคดีความที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐบาล กับบริษัทเอกชนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ตลอดจนบุคคลต่างๆ เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงจะพบว่า ทุกคดีไม่ได้เกิดจากการมุ่งทำลายใคร แต่เป็นการดำเนินการตามกฎหมาย ผิดหรือถูกเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม
** รื้อ 12 คดีดังไม่เลือกหฏิบัติ
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวต่อว่า คดีหลายเรื่องทั้งคดีเล็กคดีใหญ่ โดยเฉพาะคดีที่รัฐเป็นโจทก์และจำเลยรวม 12 คดี มูลค่าความเสียหายหลายแสนล้านบาทนั้น เกิดขึ้นและมีการฟ้องร้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมกันตั้งแต่ในอดีต ก่อนที่ คสช.และรัฐบาลชุดนี้จะเข้ามา ทุกคดีล้วนมีกำหนดเวลาของสัญญาหรืออายุความ ดังนั้น คสช. และรัฐบาลปัจจุบันจึงจำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนของ กม.ให้เกิดความชัดเจน ไม่เลือกปฏิบัติ โปร่งใส ยุติธรรมเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
“นายกรัฐมนตรีไม่ต้องการให้เกิดความแตกแยกในสังคม โดยทุกคนทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน และที่สำคัญสื่อมวลชนก็ควรจะได้ร่วมกันพิจารณาว่าแนวทางการนำเสนอข่าวแบบใดที่จะสร้างบรรยากาศของความสามัคคีปรองดองภายในประเทศ และไม่ต้องการให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหยิบประเด็นขึ้นมาบิดเบือนให้เกิดความเข้าใจผิดในสังคม" พล.ต.สรรเสริญ ระบุ
** “จตุพร” ข้องใจไร้ ปรส.-โรงพัก
ด้าน นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวว่า เหตุใด พล.อ.ประยุทธ์ ไม่สนใจให้รื้อและตรวจสอบคดีองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) และโครงการก่อสร้างโรงพักทดแทนทั้ง 396 แห่งทั่วประเทศบ้าง เพราะทั้ง 2 คดี สะท้อนถึงการทุจริตครั้งมโหฬารของประเทศไทย โครงการ ปรส.เกิดขึ้นในช่วงเดียวกับโครงการโฮปเวลล์ และทำให้รัฐเสียหายมากกว่า 6.5 แสนล้านบาท พร้อมกับมี ดอกเบี้ยด้วย โดยเงินจำนวนนี้นำมาจ่ายให้นักธุรกิจที่สมคบกับต่างชาติแล้วโกง และล้มบนฟูก ซึ่งเป็นการปล้นประเทศไทย ส่วนโครงการสร้างโรงพักทดแทน ก็มีการประมูลงานเพียงแค่รายเดียว ถือเป็นการทุจริตสำเร็จรูปมาตั้งแต่ต้นหรือไม่
** ชี้ “วิษณุ” รู้เห็นคดีคลองด่าน
นายจตุพร กล่าวอีกว่า คดีเก่าที่อยู่ในความสนใจของรัฐบาล และมอบหมายให้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย รื้อมาตรวจสอบกันใหม่ถึง 12 คดีนั้น ต้องการปราบการทุจริตจริงจังหรือไม่ เพราะการเลือกฟื้นคดีเก่าบางคดีขึ้นมา แต่ละเว้นบางคดีนั้นสะท้อนถึงวิธีคิดที่ไม่สุจริตแล้ว โดยเฉพาะคดีก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นคดีที่หลอกให้รัฐกลายเป็นผู้เสียหายแล้วต้องจ่ายเงินชดเชยให้เอกชน ซึ่งนายวิษณุ ย่อมรู้เรื่องดี เพราะเป็นเลขาธิการ ครม.ช่วงปี 2536-2545 น่าจะรับรู้โครงการดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นหรือไม่ ส่วนวันยกเลิกสัญญา ช่วงปี 2545-2549 ก็ยังเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร ดังนั้นถ้าการยกเลิกสัญญาเป็นความผิด และต้องชดใช้ความเสียหาย แล้วนายวิษณุต้องร่วมชดใช้ด้วยหรือไม่
** ซัดรีดค่าเจ๊งจำนำข้าวแค่สะใจ
ส่วนกรณีรัฐบาลจะออกคำสั่งทางปกครอง เรียกค่าเสียหายโครงการจำนำข้าวจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีนั้น นายจตุพร กล่าวว่า เชื่อว่าเป็นการทำด้วยสะใจในการเห็นความทุกข์ของคนอื่นเป็นความสุขของตัวเอง เพราะคดีนี้ไม่เกี่ยวกับการทุจริต และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ยังไม่ได้พิพากษา ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจพยานเท่านั้น แต่คำสั่งทางปกครองกลับเป็นการพิพากษาถึงขั้นต้องยึดทรัพย์กันแล้ว การกำหนดยุทธศาสตร์ทำลายคนเก่า เพื่อให้จำคนใหม่ โดยที่คนใหม่ไม่ต้องทำความดีอะไรเลย ประชาชนรักความเป็นธรรมจะเกิดความรู้สึกว่าถูกท้าทาย ดังนั้นรัฐบาลควรทำในสิ่งที่ถูกต้อง อย่าเร่งรีบจนไม่สนใจความรู้สึกของคนรักความเป็นธรรม
** รื้อ 12 คดีดังไม่เลือกหฏิบัติ
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวต่อว่า คดีหลายเรื่องทั้งคดีเล็กคดีใหญ่ โดยเฉพาะคดีที่รัฐเป็นโจทก์และจำเลยรวม 12 คดี มูลค่าความเสียหายหลายแสนล้านบาทนั้น เกิดขึ้นและมีการฟ้องร้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมกันตั้งแต่ในอดีต ก่อนที่ คสช.และรัฐบาลชุดนี้จะเข้ามา ทุกคดีล้วนมีกำหนดเวลาของสัญญาหรืออายุความ ดังนั้น คสช. และรัฐบาลปัจจุบันจึงจำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนของ กม.ให้เกิดความชัดเจน ไม่เลือกปฏิบัติ โปร่งใส ยุติธรรมเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
“นายกรัฐมนตรีไม่ต้องการให้เกิดความแตกแยกในสังคม โดยทุกคนทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน และที่สำคัญสื่อมวลชนก็ควรจะได้ร่วมกันพิจารณาว่าแนวทางการนำเสนอข่าวแบบใดที่จะสร้างบรรยากาศของความสามัคคีปรองดองภายในประเทศ และไม่ต้องการให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหยิบประเด็นขึ้นมาบิดเบือนให้เกิดความเข้าใจผิดในสังคม" พล.ต.สรรเสริญ ระบุ
** “จตุพร” ข้องใจไร้ ปรส.-โรงพัก
ด้าน นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวว่า เหตุใด พล.อ.ประยุทธ์ ไม่สนใจให้รื้อและตรวจสอบคดีองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) และโครงการก่อสร้างโรงพักทดแทนทั้ง 396 แห่งทั่วประเทศบ้าง เพราะทั้ง 2 คดี สะท้อนถึงการทุจริตครั้งมโหฬารของประเทศไทย โครงการ ปรส.เกิดขึ้นในช่วงเดียวกับโครงการโฮปเวลล์ และทำให้รัฐเสียหายมากกว่า 6.5 แสนล้านบาท พร้อมกับมี ดอกเบี้ยด้วย โดยเงินจำนวนนี้นำมาจ่ายให้นักธุรกิจที่สมคบกับต่างชาติแล้วโกง และล้มบนฟูก ซึ่งเป็นการปล้นประเทศไทย ส่วนโครงการสร้างโรงพักทดแทน ก็มีการประมูลงานเพียงแค่รายเดียว ถือเป็นการทุจริตสำเร็จรูปมาตั้งแต่ต้นหรือไม่
** ชี้ “วิษณุ” รู้เห็นคดีคลองด่าน
นายจตุพร กล่าวอีกว่า คดีเก่าที่อยู่ในความสนใจของรัฐบาล และมอบหมายให้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย รื้อมาตรวจสอบกันใหม่ถึง 12 คดีนั้น ต้องการปราบการทุจริตจริงจังหรือไม่ เพราะการเลือกฟื้นคดีเก่าบางคดีขึ้นมา แต่ละเว้นบางคดีนั้นสะท้อนถึงวิธีคิดที่ไม่สุจริตแล้ว โดยเฉพาะคดีก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นคดีที่หลอกให้รัฐกลายเป็นผู้เสียหายแล้วต้องจ่ายเงินชดเชยให้เอกชน ซึ่งนายวิษณุ ย่อมรู้เรื่องดี เพราะเป็นเลขาธิการ ครม.ช่วงปี 2536-2545 น่าจะรับรู้โครงการดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นหรือไม่ ส่วนวันยกเลิกสัญญา ช่วงปี 2545-2549 ก็ยังเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร ดังนั้นถ้าการยกเลิกสัญญาเป็นความผิด และต้องชดใช้ความเสียหาย แล้วนายวิษณุต้องร่วมชดใช้ด้วยหรือไม่
** ซัดรีดค่าเจ๊งจำนำข้าวแค่สะใจ
ส่วนกรณีรัฐบาลจะออกคำสั่งทางปกครอง เรียกค่าเสียหายโครงการจำนำข้าวจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีนั้น นายจตุพร กล่าวว่า เชื่อว่าเป็นการทำด้วยสะใจในการเห็นความทุกข์ของคนอื่นเป็นความสุขของตัวเอง เพราะคดีนี้ไม่เกี่ยวกับการทุจริต และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ยังไม่ได้พิพากษา ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจพยานเท่านั้น แต่คำสั่งทางปกครองกลับเป็นการพิพากษาถึงขั้นต้องยึดทรัพย์กันแล้ว การกำหนดยุทธศาสตร์ทำลายคนเก่า เพื่อให้จำคนใหม่ โดยที่คนใหม่ไม่ต้องทำความดีอะไรเลย ประชาชนรักความเป็นธรรมจะเกิดความรู้สึกว่าถูกท้าทาย ดังนั้นรัฐบาลควรทำในสิ่งที่ถูกต้อง อย่าเร่งรีบจนไม่สนใจความรู้สึกของคนรักความเป็นธรรม