ASTVผู้จัดการรายวัน - สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน เผยเตรียมยื่นขอมาตรการภาครัฐอีกรอบ หลังมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ที่ออกมาเอื้อต่อธุรกิจรับสร้างบ้านน้อย หวังรัฐเพิ่มเติมมาตรการช่วยเหลือปลุกธุรกิจรับสร้างบ้านฟื้นตัว ระบุหากปี59ยังไม่มีมาตรการสนับสนุนอาจจะส่งผบกระทบความเชื่อมั่นผู้บริโภคและผู้ประกอบการทั้งระบบ ทำตลาดซึมยาว ยอมรับสิ้นปียอดขายตลาดรับสร้างบ้านแตะเพียง 9,300-9,500 ล้านบาท หดตัวจากปีก่อนหน้า15% หรือขยายตัวต่ำสุดในรอบ5ปี
นายวิสิฐษ์ โมไนยพงศ์ นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน กล่าวว่า ภายหลังจากที่รัฐมีมติเห็นชอบมาตรการการเงินการคลัง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไปแล้วนั้น ทางสมาคมฯมองว่าธุรกิจรับสร้างบ้านได้รับอานิสงค์น้อยมากในเชิงปฏิบัติ เพราะมาตรการที่ออกมาโดยรวมมุ่งประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการบ้านจัดสรรและคอนโดมีเนียมมากกว่า
อย่างไรก็ดีทางสมาคมฯได้รวบรวมข้อเสนอเตรียมส่งให้กับทีมเศรษฐกิจ และกระทรวงการคลัง เพื่อให้ช่วยเพิ่มเติมในส่วนมาตรการกระตุ้นความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ต้องการปลูกสร้างบ้าน หรือตลาดบ้านสร้างเอง ทั้งในส่วนการขอลดหย่อนภาษีให้กับผู้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินของตนเอง และขอให้มีการจัดสรรที่ดินเปล่าของหน่วยงานรัฐที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้ผู้ต้องการมีบ้าน และที่ดินเป็นของตัวเอง
ทั้งนี้ สมาคมฯได้มีการเสนอให้ภาครัฐ เร่งออกมาตรการระยะสั้น โดยการลดหย่อนภาษีให้กับผู้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินของตนเอง ในอัตรา 5% ของราคาปลูกสร้าง ทยอยลดหย่อนปีละ 20% เป็นระยะเวลา 5 ปี เพื่อให้ผู้บริโภคที่มีที่ดินตัดสินใจปลูกสร้างบ้านได้ง่ายและเร็วขึ้น และยังเป็นการใช้ประโยชน์จากที่ดินว่างเปล่าได้อีกด้วย รวมทั้งการเสนอให้การเคหะแห่งชาติได้จัดสรรที่เปล่าสำหรับปลูกสร้างบ้านพร้อมสินเชื่อรองรับ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้สามารถปลูกสร้างบ้านได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ประกอบการรับสร้างบ้านทั้งระบบ
สำหรับการลดภาษีสำหรับผู้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินของตนเอง นอกจากจะช่วยกระตุ้นและสนับสนุนให้ประชาชนมีบ้านเป็นของตนเองง่ายขึ้น แล้วยังก่อให้เกิดการจ้างงานทันทีและกระจายตัวไปสู่ผู้ประกอบการ SME เกิดเงินหมุนเวียนในระบบมากกว่า 2.5 เท่า ยกตัวอย่าง หากมีผู้เข้าร่วมโครงการ 10,000 หลัง เฉลี่ยบ้านหลังละ 3,000,000 บาทจะก่อให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบทันที 75,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องยังได้รับอานิสงส์ด้วย คาดว่า 50% ของมูลค่าปลูกสร้างบ้าน เงินหมุนเวียนในระบบจะเพิ่มขึ้นอีก 37,500 ล้าน รวม 112,500 ล้านบาท โดยที่ภาครัฐไม่ต้องลงทุนเป็นเม็ดเงินสามารถทำได้ทันที ซึ่งถือว่าเป็นการช่วยทั้งผู้ที่ต้องการปลูกสร้างบ้านและภาคผู้ประกอบการไปในคราวเดียวกัน และโครงการนี้จะไม่ก่อให้เกิดการสร้างเพื่อเก็งกำไร เพราะเป็นความต้องการที่แท้จริงในการปลูกสร้างบ้านเพื่ออยู่อาศัยในที่ดินของตนเองและกลุ่มนี้จะกู้แบงก์เพียง30% ซึ่งแนวความคิดดังกล่าวสมาคมฯอยากให้มีการศึกษาและนำมาใช้อย่างจริงจัง เพื่อประโยชน์ในวงกว้าง
อย่างไรก็ดีจากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวส่งผลต่อความเชื่อมั่นอย่างต่อเนื่อง กระทบต่อการตัดสินใจในการใช้จ่ายอย่างเห็นได้ชัด ดูได้จากผลการจัดงาน Home Builder Expo 2015 ที่ผ่านมา พบว่ายอดจองบ้านลดลงกว่า 30% เมื่อเทียบกับปี 2557 แม้จะกระตุ้นด้วยกิจกรรมและโปรโมชั่นอย่างเต็มกำลัง และจากที่รัฐออกมาตรการกระตุ้นอสังหาฯล่าสุดไม่เอื้อต่อธุรกิจรับสร้างบ้านนัก
“ที่ผ่านมาทางสมาคมได้มีการยื่นเรื่องไปเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาแต่ยังไม่มีความคืบหน้า ดังนั้นทางสมาคมฯจะยื่นเรื่องเข้าไปอีกครั้งในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้หากไม่มีมาตรการใดๆมารองรับก็อาจส่งผลกระทบยาวไปถึงปีหน้าเพราะในไตรมาส4นี้ชัดเจนแล้วว่าทรงตัว ยอดขายที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมโปรโมชั่นที่เกิดขึ้นจากผู้ประกอบการเอง ทั้งนี้ในรอบ 9 เดือนที่ผ่านตลาดรับสร้างบ้านมียอดขายได้เพียง 8,000 ล้านบาท และคาดว่าตลาดปีนี้จะมียอดขายเพียง 9,300-9,500 ล้านบาท หรือลดลง 15% จากเป้ายอดขายทั้งปีที่ตั้งไว้ 1.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งปีที่แล้วมียอดอยู่ที่ 10,500 ล้านบาท ถือว่าเป็นยอดต่ำสุดในรอบ5ปี โดยราคาบ้านระดับ2-5 ล้านบาทมีสัดส่วนมากสุดรองลงมาคือระดับราคา 10ล้านบาทขึ้นไป ส่วนที่เหลือเป็นกลุ่มระดับ 7-8 ล้านบาท ทั้งนี้ทุกระดับราคายอดลดลงทั้งหมด”
ด้านนายธีร์ บุญวาสนา อุปนายกสมาคมฝ่ายวิชาการ กล่าวว่า สำหรับแนวโน้ตลาดรับสร้างบ้านในปี2559 นั้นยังไม่มีมาตรการใดๆ เข้ามามาสนับสนุน ก็อาจจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และอาจทำให้เกิดการชะลอการตัดสินใจออกไปอีก ดังนั้น ผู้ประกอบการรับสร้างบ้านจะต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ให้มองเห็นถึงโอกาสดีในการสร้างบ้านในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างนี้ เพราะไม่ว่าจะเป็นราคาบ้านไม่มีการปรับขึ้นในขณะนี้แน่นอน เพราะส่วนใหญ่จะมีการส่งเสริมการขายโดยการหั่นราคากันอยู่แล้ว นอกจากนี้ในส่วนของผู้ประกอบการเองก็มีการปรับผลิตภัณฑ์หรือโปรดักส์ให้มีหลากหลายทั้งนี้เพื่อให้ตรงและสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค
สำหรับการแข่งขันนั้นยังคงมีรุนแรง ซึ่งก็ขึ้นกับแต่ละบริษัทจะมีจุดเด่นจุดแข็งอย่างไรเพื่อดึงกำลังซื้อที่มีอยู่ให้เกิดการตัดสินที่จะสร้างบ้านโดยเร็ว นอกจากนี้การขยายฐานไปยังต่างจังหวัดเพื่อขยายฐานรายได้ของบริษัทนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของบริษัทนั้นๆเช่นกันเนื่องจากต่างจังหวัดแม้จะมีกำลังซื้อสูงก็ตามแต่ต้นทุนในการบริหารจัดการก็สูงเช่นกันหากเป็นผู้ประกอบการในกรุงเทพฯ
นายวิสิฐษ์ โมไนยพงศ์ นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน กล่าวว่า ภายหลังจากที่รัฐมีมติเห็นชอบมาตรการการเงินการคลัง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไปแล้วนั้น ทางสมาคมฯมองว่าธุรกิจรับสร้างบ้านได้รับอานิสงค์น้อยมากในเชิงปฏิบัติ เพราะมาตรการที่ออกมาโดยรวมมุ่งประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการบ้านจัดสรรและคอนโดมีเนียมมากกว่า
อย่างไรก็ดีทางสมาคมฯได้รวบรวมข้อเสนอเตรียมส่งให้กับทีมเศรษฐกิจ และกระทรวงการคลัง เพื่อให้ช่วยเพิ่มเติมในส่วนมาตรการกระตุ้นความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ต้องการปลูกสร้างบ้าน หรือตลาดบ้านสร้างเอง ทั้งในส่วนการขอลดหย่อนภาษีให้กับผู้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินของตนเอง และขอให้มีการจัดสรรที่ดินเปล่าของหน่วยงานรัฐที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้ผู้ต้องการมีบ้าน และที่ดินเป็นของตัวเอง
ทั้งนี้ สมาคมฯได้มีการเสนอให้ภาครัฐ เร่งออกมาตรการระยะสั้น โดยการลดหย่อนภาษีให้กับผู้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินของตนเอง ในอัตรา 5% ของราคาปลูกสร้าง ทยอยลดหย่อนปีละ 20% เป็นระยะเวลา 5 ปี เพื่อให้ผู้บริโภคที่มีที่ดินตัดสินใจปลูกสร้างบ้านได้ง่ายและเร็วขึ้น และยังเป็นการใช้ประโยชน์จากที่ดินว่างเปล่าได้อีกด้วย รวมทั้งการเสนอให้การเคหะแห่งชาติได้จัดสรรที่เปล่าสำหรับปลูกสร้างบ้านพร้อมสินเชื่อรองรับ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้สามารถปลูกสร้างบ้านได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ประกอบการรับสร้างบ้านทั้งระบบ
สำหรับการลดภาษีสำหรับผู้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินของตนเอง นอกจากจะช่วยกระตุ้นและสนับสนุนให้ประชาชนมีบ้านเป็นของตนเองง่ายขึ้น แล้วยังก่อให้เกิดการจ้างงานทันทีและกระจายตัวไปสู่ผู้ประกอบการ SME เกิดเงินหมุนเวียนในระบบมากกว่า 2.5 เท่า ยกตัวอย่าง หากมีผู้เข้าร่วมโครงการ 10,000 หลัง เฉลี่ยบ้านหลังละ 3,000,000 บาทจะก่อให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบทันที 75,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องยังได้รับอานิสงส์ด้วย คาดว่า 50% ของมูลค่าปลูกสร้างบ้าน เงินหมุนเวียนในระบบจะเพิ่มขึ้นอีก 37,500 ล้าน รวม 112,500 ล้านบาท โดยที่ภาครัฐไม่ต้องลงทุนเป็นเม็ดเงินสามารถทำได้ทันที ซึ่งถือว่าเป็นการช่วยทั้งผู้ที่ต้องการปลูกสร้างบ้านและภาคผู้ประกอบการไปในคราวเดียวกัน และโครงการนี้จะไม่ก่อให้เกิดการสร้างเพื่อเก็งกำไร เพราะเป็นความต้องการที่แท้จริงในการปลูกสร้างบ้านเพื่ออยู่อาศัยในที่ดินของตนเองและกลุ่มนี้จะกู้แบงก์เพียง30% ซึ่งแนวความคิดดังกล่าวสมาคมฯอยากให้มีการศึกษาและนำมาใช้อย่างจริงจัง เพื่อประโยชน์ในวงกว้าง
อย่างไรก็ดีจากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวส่งผลต่อความเชื่อมั่นอย่างต่อเนื่อง กระทบต่อการตัดสินใจในการใช้จ่ายอย่างเห็นได้ชัด ดูได้จากผลการจัดงาน Home Builder Expo 2015 ที่ผ่านมา พบว่ายอดจองบ้านลดลงกว่า 30% เมื่อเทียบกับปี 2557 แม้จะกระตุ้นด้วยกิจกรรมและโปรโมชั่นอย่างเต็มกำลัง และจากที่รัฐออกมาตรการกระตุ้นอสังหาฯล่าสุดไม่เอื้อต่อธุรกิจรับสร้างบ้านนัก
“ที่ผ่านมาทางสมาคมได้มีการยื่นเรื่องไปเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาแต่ยังไม่มีความคืบหน้า ดังนั้นทางสมาคมฯจะยื่นเรื่องเข้าไปอีกครั้งในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้หากไม่มีมาตรการใดๆมารองรับก็อาจส่งผลกระทบยาวไปถึงปีหน้าเพราะในไตรมาส4นี้ชัดเจนแล้วว่าทรงตัว ยอดขายที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมโปรโมชั่นที่เกิดขึ้นจากผู้ประกอบการเอง ทั้งนี้ในรอบ 9 เดือนที่ผ่านตลาดรับสร้างบ้านมียอดขายได้เพียง 8,000 ล้านบาท และคาดว่าตลาดปีนี้จะมียอดขายเพียง 9,300-9,500 ล้านบาท หรือลดลง 15% จากเป้ายอดขายทั้งปีที่ตั้งไว้ 1.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งปีที่แล้วมียอดอยู่ที่ 10,500 ล้านบาท ถือว่าเป็นยอดต่ำสุดในรอบ5ปี โดยราคาบ้านระดับ2-5 ล้านบาทมีสัดส่วนมากสุดรองลงมาคือระดับราคา 10ล้านบาทขึ้นไป ส่วนที่เหลือเป็นกลุ่มระดับ 7-8 ล้านบาท ทั้งนี้ทุกระดับราคายอดลดลงทั้งหมด”
ด้านนายธีร์ บุญวาสนา อุปนายกสมาคมฝ่ายวิชาการ กล่าวว่า สำหรับแนวโน้ตลาดรับสร้างบ้านในปี2559 นั้นยังไม่มีมาตรการใดๆ เข้ามามาสนับสนุน ก็อาจจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และอาจทำให้เกิดการชะลอการตัดสินใจออกไปอีก ดังนั้น ผู้ประกอบการรับสร้างบ้านจะต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ให้มองเห็นถึงโอกาสดีในการสร้างบ้านในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างนี้ เพราะไม่ว่าจะเป็นราคาบ้านไม่มีการปรับขึ้นในขณะนี้แน่นอน เพราะส่วนใหญ่จะมีการส่งเสริมการขายโดยการหั่นราคากันอยู่แล้ว นอกจากนี้ในส่วนของผู้ประกอบการเองก็มีการปรับผลิตภัณฑ์หรือโปรดักส์ให้มีหลากหลายทั้งนี้เพื่อให้ตรงและสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค
สำหรับการแข่งขันนั้นยังคงมีรุนแรง ซึ่งก็ขึ้นกับแต่ละบริษัทจะมีจุดเด่นจุดแข็งอย่างไรเพื่อดึงกำลังซื้อที่มีอยู่ให้เกิดการตัดสินที่จะสร้างบ้านโดยเร็ว นอกจากนี้การขยายฐานไปยังต่างจังหวัดเพื่อขยายฐานรายได้ของบริษัทนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของบริษัทนั้นๆเช่นกันเนื่องจากต่างจังหวัดแม้จะมีกำลังซื้อสูงก็ตามแต่ต้นทุนในการบริหารจัดการก็สูงเช่นกันหากเป็นผู้ประกอบการในกรุงเทพฯ