“อาคม”แจง”สมคิด”เร่งแผนลงทุนรถไฟตะวันออก-ตะวันตกเชื่อมกัมพูชา-ไทย-ทวาย (เมียนมาร์) พร้อมปรับตารางแผนงาน( Time Frame) 19 โครงการมูลค่ากว่า 1.7 ลล.เร่งประมูลในปี 59 สร้างความมั่นใจนักลงทุนโดยเน้น PPP เพื่อลดหนี้สาธารณะและเร่งเติมเงินเข้าระบบศก.
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ในการประชุมร่วมกับ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีวันนี้ (12 ต.ค.) ได้รายงานความก้าวหน้าโครงการด้านระบบรางของกระทรวงคมนาคม โดยรองนายกฯ ต้องการทราบรายละเอียดของแผนงานการดำเนินงานในแต่ละโครงการที่ชัดเจน เช่น จะเริ่มต้นเมื่อใด ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 5 ต.ค.ที่ผ่านมา รองนายกฯ ได้มาติดตามความคืบหน้าแล้วและได้เร่งรัดการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Corridor) ด้านล่าง เส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพ, กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ, กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง ระยะทาง 574กม. ซึ่งมีความสำคัญในการขนส่งสินค้า เชื่อมจาก ประเทศกัมพูชา ไปยังท่าเรือแหลมฉบัง และเชื่อมไปถึงนิคมอุตสาหกรรมทวาย แประเทศเมียนมาร์และประเทศอินเดียได้ โดยตลอดเส้นทาง ผ่านแหล่งอุตสาหกรรมที่สำคัญจำนวนมาก
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมมีความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นในการพัฒนารถไฟ 3 เส้นทางประกอบด้วย 1. 1.รถไฟความเร็วสูง ระบบชินคันเซ็น (กรุงเทพฯ-เชียงใหม่) ระยะทาง 672 กิโลเมตร ความเร็ว 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง 2. รถไฟแนวตะวันออก-ตะวันตก ด้านล่าง เส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพ, กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ, กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง 3. การศึกษา รถไฟแนวตะวันออก-ตะวันตก ด้านบน เส้นทางมุกดาหาร-กาฬสินธุ์-ขอนแก่น-เพชรบูรณ์-พิษณุโลก-สุโขทัย-ตาก-แม่สอด ระยะทาง 815.82 กม. นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือไทย-จีน ในการพัฒนารถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร (Standard Gauge) เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย-โคราช-หนองคาย, แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 873 กม.
นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมยังได้ปรับปรุงแผนงานลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งในปี 2559 จากเดิม 17 โครงการเป็น 19 โครงการ มูลค่ากว่า 1.7 ล้านล้านบาท โดยเพิ่มโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 17,290.63 ล้านบาท และ รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ)ระยะทาง 23.6 กม. วงเงิน 104,116.61ล้านบาท โดยมีเป้าหมายจะต้องนำเสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรี (ครม.) และเปิดประกวดราคาภายในปี 2559 โดยจะมีการจัดทำแผนภาพระยะเวลาการดำเนินงานในช่วงเวลาต่างๆ (Time Frame) อย่างชัดเจน ทั้งนี้เพื่อทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจว่า โครงการต่างๆ ของรัฐบาลจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน และกล้าที่จะตัดสินใจเข้ามาลงทุนมากขึ้น เพื่อเติมเต็มเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ ในแต่ละโครงการจะเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในรูปแบบ การร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน หรือ Public Private Partnerships (PPP) เพื่อลดลงทุนหนี้สาธารณะลง
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ในการประชุมร่วมกับ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีวันนี้ (12 ต.ค.) ได้รายงานความก้าวหน้าโครงการด้านระบบรางของกระทรวงคมนาคม โดยรองนายกฯ ต้องการทราบรายละเอียดของแผนงานการดำเนินงานในแต่ละโครงการที่ชัดเจน เช่น จะเริ่มต้นเมื่อใด ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 5 ต.ค.ที่ผ่านมา รองนายกฯ ได้มาติดตามความคืบหน้าแล้วและได้เร่งรัดการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Corridor) ด้านล่าง เส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพ, กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ, กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง ระยะทาง 574กม. ซึ่งมีความสำคัญในการขนส่งสินค้า เชื่อมจาก ประเทศกัมพูชา ไปยังท่าเรือแหลมฉบัง และเชื่อมไปถึงนิคมอุตสาหกรรมทวาย แประเทศเมียนมาร์และประเทศอินเดียได้ โดยตลอดเส้นทาง ผ่านแหล่งอุตสาหกรรมที่สำคัญจำนวนมาก
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมมีความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นในการพัฒนารถไฟ 3 เส้นทางประกอบด้วย 1. 1.รถไฟความเร็วสูง ระบบชินคันเซ็น (กรุงเทพฯ-เชียงใหม่) ระยะทาง 672 กิโลเมตร ความเร็ว 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง 2. รถไฟแนวตะวันออก-ตะวันตก ด้านล่าง เส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพ, กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ, กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง 3. การศึกษา รถไฟแนวตะวันออก-ตะวันตก ด้านบน เส้นทางมุกดาหาร-กาฬสินธุ์-ขอนแก่น-เพชรบูรณ์-พิษณุโลก-สุโขทัย-ตาก-แม่สอด ระยะทาง 815.82 กม. นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือไทย-จีน ในการพัฒนารถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร (Standard Gauge) เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย-โคราช-หนองคาย, แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 873 กม.
นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมยังได้ปรับปรุงแผนงานลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งในปี 2559 จากเดิม 17 โครงการเป็น 19 โครงการ มูลค่ากว่า 1.7 ล้านล้านบาท โดยเพิ่มโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 17,290.63 ล้านบาท และ รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ)ระยะทาง 23.6 กม. วงเงิน 104,116.61ล้านบาท โดยมีเป้าหมายจะต้องนำเสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรี (ครม.) และเปิดประกวดราคาภายในปี 2559 โดยจะมีการจัดทำแผนภาพระยะเวลาการดำเนินงานในช่วงเวลาต่างๆ (Time Frame) อย่างชัดเจน ทั้งนี้เพื่อทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจว่า โครงการต่างๆ ของรัฐบาลจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน และกล้าที่จะตัดสินใจเข้ามาลงทุนมากขึ้น เพื่อเติมเต็มเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ ในแต่ละโครงการจะเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในรูปแบบ การร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน หรือ Public Private Partnerships (PPP) เพื่อลดลงทุนหนี้สาธารณะลง