ASTVผู้จัดการรายวัน- “กกร.”วิตกกรณีหลายประเทศเริ่มทำข้อตกลง TPP โดยเฉพาะเวียดนามหวั่นจะกระทบการค้าไทยในอนาคตได้แม้ระยะสั้นไร้ปัญหาตั้งคณะทำงานศึกษาลงลึกภายใน 2 เดือนหรือภายในสิ้นปีแล้วเสร็จเพื่อเตรียมเสนอให้รัฐบาลแสดงจุดยืนที่ชัดเจนต่อไป พร้อมหั่นคาดการณ์GDP ปีนี้โตเหลือ 2.5-3% ส่งออกติดลบ 5%“พาณิชย์”เผยไทยพร้อมศึกษารายละเอียดข้อตกลง TPP ก่อนตัดสินใจเข้าร่วมหรือไม่ หลังสมาชิก 12 ประเทศบรรลุข้อตกลงกันได้แล้ว
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) เปิดเผยว่า กกร.มีความเป็นห่วงในระยะกลางและยาวเกี่ยวกับกรณีที่หลายประเทศได้มีเซ็นลงนามทำข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นเอเชีย -แปซิฟิกหรือ TPPกับสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะเวียดนามขณะที่ไทยเองยังไม่มีจุดยืนในเรื่องดังกล่าวที่ชัดเจนนักซึ่งกกร.เห็นว่าไทยจำเป็นจะต้องพิจารณาในประเด็นดังกล่าวแต่จำเป็นจะต้องศึกษาในรายละเอียดจึงได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อศึกษาเรื่องนี้โดยคาดว่าจะสรุปเพื่อนำเสนอให้รัฐบาลกำหนดท่าทีต่อไปภายในสิ้นปีนี้
“ ระยะสั้นคงไม่มีปัญหาอะไรแต่เราก็กังวลว่าระยะยาวอาจมีปัญหาได้ จึงตั้งคณะทำงานเพื่อดูรายละเอียดทั้งหมดซึ่งคณะทำงานนี้จะมีตัวแทนจากสภาหอฯ สมาคมธนาคารไทยและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)ฝ่ายละ 5 คนการศึกษาจะลงรายละเอียดต่างๆใช้เวลาประมาณ 2 เดือนหรือสิ้นปีซึ่งจะรวมถึงกรณีการเจรจาทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีหรือFTA ไทยอียูและกับประเทศอื่นๆ เช่น ปากีสถาน อิหร่าน ตุรกี ฯลฯ “นายอิสระกล่าว
นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้มีการพิจารณาภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมซึ่งพบว่ายังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐโลกโดยเฉพาะการส่งออกจึงได้ปรับประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจใหม่โดยคาดว่าจีดีพีปี 2558จะเติบโตที่ระดับ 2.5-3% จากเดิมที่คาดไว้จะเติบโตที่ 3-3.5% ส่วนการส่งออกจะติดลบ 5%(รูปเงินเหรียญสหรัฐ)จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ว่าจะโตไม่เกิน 1% อย่างไรก็ตามการที่อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าทำให้การติดลบในแง่ของเงินบาทไม่มากนัก
นายอิสระกล่าวว่า กกร.ยังพิจารณาเสนอปรับปรุงแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้วยการแต่งตั้งคณะทำงานชุดเล็กระหว่างภาครัฐและเอกชนขึ้นมาในการขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ และลดอุปสรรคทางการค้าให้น้อยลงเช่นใบอนุญาตต่างๆ ฯลฯ เนื่องจากแม้ว่ารัฐจะจัดตั้งศูนย์บริการครบวงจร(One Stop Service)แต่การปฏิบัติยังไม่เห็นผลนัก รวมถึงกรณีระดับจังหวัดที่รัฐบาลผลักดันกระจายเม็ดเงินสู่ระดับฐานรากด้วยการขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมร่วมรัฐและเอกชน(กรอ.)จังหวัด จึงได้เสนอให้มีการจัดตั้งทีมเศรษฐกิจจังหวัดซึ่งเป็นโครงสร้างกระชับและเน้นด้านเศรษฐกิจอย่างแท้จริงโดยมีหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง 5-6 หน่วยงานโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานเพื่อวางยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนและพัฒนาจังหวัดให้เข้มแข็งทั้งระยะสั้น กลาง ยาว
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานส.อ.ท.กล่าวว่า กรณีที่เวียดนามได้ทำข้อตกลงTPP กับสหรัฐฯนั้นต้องยอมรับว่าเวียดนามต้องการเม็ดเงินการลงทุนค่อนข้างมากเข้าประเทศแต่สำหรับไทยนั้นเม็ดเงินการลงทุนค่อนข้างมากอยู่แล้วจึงจำเป็นที่จะต้องประเมินสถานการณ์ก่อนที่จะดำเนินการใดๆเพื่อความรอบคอบตัวอย่างยังมีบางประเด็นที่ค่อนข้างกังวลเช่น สิทธิบัตรยาเพราะหากตกลงจะกระทบต่อราคายาที่แพงขึ้น
“ยังมีหลายประเทศยังไม่ได้ตกลง เราเองก็ต้องดูว่าเพราะอะไร ส่วนประเทศที่เขายอมตกลงเพราะอะไรด้วยจึงต้องรอบคอบในแต่ละประเด็น และหากต้องเจรจาควรจะคำนึงประเด็นใดและมีเงื่อนไขอย่างไรที่จะไม่กระทบ”นายสุพันธุ์กล่าว
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า การที่กกร.ประเมินเศรษฐกิจไทยหรือ GDP ที่ยังขยายตัว 2.5-3% นั้นเนื่องจากคนไทยย่อมมองเห็นถึงการจัดการบริหารเศรษฐกิจได้ดีกว่าที่จะให้คนอื่นประเมินโดยเฉพาะไทยจะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AECประกอบกับรัฐบาลเองได้พยายามขับเคลื่อนเม็ดเงินต่างๆ ทั้งกองทุนหมู่บ้าน การยกระดับวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(SMEs) ฯลฯ เหล่านี้จะทำให้ภาพเศรษฐกิจภายในจะมีโอกาสเข้มแข็งขึ้นได้
***“พาณิชย์”ศึกษาข้อตกลงTPPก่อนตัดสินใจ
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ไทยพร้อมศึกษารายละเอียดของความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) หลังจากที่ประเทศสมาชิกทั้ง 12 ประเทศ ได้สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้แล้ว โดยต้องวิเคราะห์เชิงลึกว่าประเทศไทยพร้อมจะเข้าร่วมเจรจาต่อไปหรือไม่
เพราะขณะนี้ข้อตกลง ยังไม่มีผลบังคับใช้ ทั้ง 12 ประเทศต้องไปผ่านขั้นตอนผ่านในประเทศของตนเองก่อน และต้องใช้เวลาอีกซักพักถึงจะเปิดรับสมาชิกใหม่
ทั้งนี้ ข้อตกลง TPP เป็นความตกลงการเปิดเสรีทางการค้าขนาดใหญ่ มีข้อบทซับซ้อนหลายเรื่อง ซึ่งสมาชิก 12 ประเทศ ประกอบด้วยสหรัฐฯ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี เปรู บรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม แคนาดา เม็กซิโก และญี่ปุ่น ซึ่งในจำนวน 12 ประเทศนี้ ไทยยังไม่มี FTA กับ 3 ประเทศ คือ สหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโก
น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร รองโฆษกกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา ไทยได้แสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมเจรจาข้อตกลง TPP และได้มีการศึกษาผลดี ผลเสียของข้อตกลง โดยได้มีการเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาแล้ว และเมื่อทั้ง 12 ประเทศ ได้บรรลุข้อตกลงกันได้ ก็ต้องมีการศึกษาในรายละเอียดของข้อตกลงอีกครั้งว่าเป็นอย่างไร เพราะเท่าที่ติดตามในรายละเอียด พบว่า สหรัฐฯ ก็ไม่ได้ลดภาษีรถยนต์ให้กับญี่ปุ่น รวมถึงเรื่องอ่อนไหวอย่างสิทธิบัตรยา จะมีการเปิดเสรีอย่างไร ซึ่งต้องมีการศึกษาให้ดี และต้องรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนด้วย
ส่วนกรณีที่มีการห่วงว่าไทยมีรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง อาจเป็นอุปสรรคในการเจรจาเข้าร่วมข้อตกลง TPP นั้น ขณะนี้ไม่มีประเทศสมาชิกใดๆ ออกมาตั้งแง่ถึงที่มาของรัฐบาลไทย
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ TPP จะมีการรับสมาชิกใหม่เพิ่ม ต้องมีการขอความเห็นชอบจากสมาชิกเดิมก่อน ซึ่งกว่าข้อตกลงจะมีผลบังคับใช้ก็ปี 2559 ทำให้ไทยยังมีเวลาศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าว
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) เปิดเผยว่า กกร.มีความเป็นห่วงในระยะกลางและยาวเกี่ยวกับกรณีที่หลายประเทศได้มีเซ็นลงนามทำข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นเอเชีย -แปซิฟิกหรือ TPPกับสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะเวียดนามขณะที่ไทยเองยังไม่มีจุดยืนในเรื่องดังกล่าวที่ชัดเจนนักซึ่งกกร.เห็นว่าไทยจำเป็นจะต้องพิจารณาในประเด็นดังกล่าวแต่จำเป็นจะต้องศึกษาในรายละเอียดจึงได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อศึกษาเรื่องนี้โดยคาดว่าจะสรุปเพื่อนำเสนอให้รัฐบาลกำหนดท่าทีต่อไปภายในสิ้นปีนี้
“ ระยะสั้นคงไม่มีปัญหาอะไรแต่เราก็กังวลว่าระยะยาวอาจมีปัญหาได้ จึงตั้งคณะทำงานเพื่อดูรายละเอียดทั้งหมดซึ่งคณะทำงานนี้จะมีตัวแทนจากสภาหอฯ สมาคมธนาคารไทยและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)ฝ่ายละ 5 คนการศึกษาจะลงรายละเอียดต่างๆใช้เวลาประมาณ 2 เดือนหรือสิ้นปีซึ่งจะรวมถึงกรณีการเจรจาทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีหรือFTA ไทยอียูและกับประเทศอื่นๆ เช่น ปากีสถาน อิหร่าน ตุรกี ฯลฯ “นายอิสระกล่าว
นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้มีการพิจารณาภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมซึ่งพบว่ายังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐโลกโดยเฉพาะการส่งออกจึงได้ปรับประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจใหม่โดยคาดว่าจีดีพีปี 2558จะเติบโตที่ระดับ 2.5-3% จากเดิมที่คาดไว้จะเติบโตที่ 3-3.5% ส่วนการส่งออกจะติดลบ 5%(รูปเงินเหรียญสหรัฐ)จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ว่าจะโตไม่เกิน 1% อย่างไรก็ตามการที่อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าทำให้การติดลบในแง่ของเงินบาทไม่มากนัก
นายอิสระกล่าวว่า กกร.ยังพิจารณาเสนอปรับปรุงแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้วยการแต่งตั้งคณะทำงานชุดเล็กระหว่างภาครัฐและเอกชนขึ้นมาในการขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ และลดอุปสรรคทางการค้าให้น้อยลงเช่นใบอนุญาตต่างๆ ฯลฯ เนื่องจากแม้ว่ารัฐจะจัดตั้งศูนย์บริการครบวงจร(One Stop Service)แต่การปฏิบัติยังไม่เห็นผลนัก รวมถึงกรณีระดับจังหวัดที่รัฐบาลผลักดันกระจายเม็ดเงินสู่ระดับฐานรากด้วยการขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมร่วมรัฐและเอกชน(กรอ.)จังหวัด จึงได้เสนอให้มีการจัดตั้งทีมเศรษฐกิจจังหวัดซึ่งเป็นโครงสร้างกระชับและเน้นด้านเศรษฐกิจอย่างแท้จริงโดยมีหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง 5-6 หน่วยงานโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานเพื่อวางยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนและพัฒนาจังหวัดให้เข้มแข็งทั้งระยะสั้น กลาง ยาว
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานส.อ.ท.กล่าวว่า กรณีที่เวียดนามได้ทำข้อตกลงTPP กับสหรัฐฯนั้นต้องยอมรับว่าเวียดนามต้องการเม็ดเงินการลงทุนค่อนข้างมากเข้าประเทศแต่สำหรับไทยนั้นเม็ดเงินการลงทุนค่อนข้างมากอยู่แล้วจึงจำเป็นที่จะต้องประเมินสถานการณ์ก่อนที่จะดำเนินการใดๆเพื่อความรอบคอบตัวอย่างยังมีบางประเด็นที่ค่อนข้างกังวลเช่น สิทธิบัตรยาเพราะหากตกลงจะกระทบต่อราคายาที่แพงขึ้น
“ยังมีหลายประเทศยังไม่ได้ตกลง เราเองก็ต้องดูว่าเพราะอะไร ส่วนประเทศที่เขายอมตกลงเพราะอะไรด้วยจึงต้องรอบคอบในแต่ละประเด็น และหากต้องเจรจาควรจะคำนึงประเด็นใดและมีเงื่อนไขอย่างไรที่จะไม่กระทบ”นายสุพันธุ์กล่าว
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า การที่กกร.ประเมินเศรษฐกิจไทยหรือ GDP ที่ยังขยายตัว 2.5-3% นั้นเนื่องจากคนไทยย่อมมองเห็นถึงการจัดการบริหารเศรษฐกิจได้ดีกว่าที่จะให้คนอื่นประเมินโดยเฉพาะไทยจะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AECประกอบกับรัฐบาลเองได้พยายามขับเคลื่อนเม็ดเงินต่างๆ ทั้งกองทุนหมู่บ้าน การยกระดับวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(SMEs) ฯลฯ เหล่านี้จะทำให้ภาพเศรษฐกิจภายในจะมีโอกาสเข้มแข็งขึ้นได้
***“พาณิชย์”ศึกษาข้อตกลงTPPก่อนตัดสินใจ
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ไทยพร้อมศึกษารายละเอียดของความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) หลังจากที่ประเทศสมาชิกทั้ง 12 ประเทศ ได้สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้แล้ว โดยต้องวิเคราะห์เชิงลึกว่าประเทศไทยพร้อมจะเข้าร่วมเจรจาต่อไปหรือไม่
เพราะขณะนี้ข้อตกลง ยังไม่มีผลบังคับใช้ ทั้ง 12 ประเทศต้องไปผ่านขั้นตอนผ่านในประเทศของตนเองก่อน และต้องใช้เวลาอีกซักพักถึงจะเปิดรับสมาชิกใหม่
ทั้งนี้ ข้อตกลง TPP เป็นความตกลงการเปิดเสรีทางการค้าขนาดใหญ่ มีข้อบทซับซ้อนหลายเรื่อง ซึ่งสมาชิก 12 ประเทศ ประกอบด้วยสหรัฐฯ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี เปรู บรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม แคนาดา เม็กซิโก และญี่ปุ่น ซึ่งในจำนวน 12 ประเทศนี้ ไทยยังไม่มี FTA กับ 3 ประเทศ คือ สหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโก
น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร รองโฆษกกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา ไทยได้แสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมเจรจาข้อตกลง TPP และได้มีการศึกษาผลดี ผลเสียของข้อตกลง โดยได้มีการเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาแล้ว และเมื่อทั้ง 12 ประเทศ ได้บรรลุข้อตกลงกันได้ ก็ต้องมีการศึกษาในรายละเอียดของข้อตกลงอีกครั้งว่าเป็นอย่างไร เพราะเท่าที่ติดตามในรายละเอียด พบว่า สหรัฐฯ ก็ไม่ได้ลดภาษีรถยนต์ให้กับญี่ปุ่น รวมถึงเรื่องอ่อนไหวอย่างสิทธิบัตรยา จะมีการเปิดเสรีอย่างไร ซึ่งต้องมีการศึกษาให้ดี และต้องรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนด้วย
ส่วนกรณีที่มีการห่วงว่าไทยมีรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง อาจเป็นอุปสรรคในการเจรจาเข้าร่วมข้อตกลง TPP นั้น ขณะนี้ไม่มีประเทศสมาชิกใดๆ ออกมาตั้งแง่ถึงที่มาของรัฐบาลไทย
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ TPP จะมีการรับสมาชิกใหม่เพิ่ม ต้องมีการขอความเห็นชอบจากสมาชิกเดิมก่อน ซึ่งกว่าข้อตกลงจะมีผลบังคับใช้ก็ปี 2559 ทำให้ไทยยังมีเวลาศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าว