เมื่อวันที่ 4 กันยายนที่ผ่านมา ได้มีการเผยแพร่วิดีโอเพลงโดย Apple Music ที่ชื่อ “Love Song To The Earth (เพลงรักเพื่อโลก)” ซึ่งเป็นเพลงที่ใช้รณรงค์ก่อนการประชุมใหญ่ว่าด้วยการเปลี่ยนภูมิอากาศ (COP21) ครั้งสำคัญซึ่งจะมีขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในช่วงต้นเดือนธันวาคมปีนี้ที่ผมเรียกว่าเป็นครั้งสำคัญก็เพราะว่า ผลการประชุมตลอด 20 ครั้งที่ผ่านมา ไม่ได้มีอะไรคืบหน้าในทางปฏิบัติ นอกจากว่า “แล้วเราจะประชุมกันใหม่ในปีหน้า”
ผมพบเพลงนี้จากเว็บไซต์ของ Climate Reality Project ซึ่งมีคุณ Al Gore เป็นประธานโครงการ คุณAl Gore เคยเป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (สมัยประธานาธิบดีคลินตัน) และเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี 2007 ด้วยผลงานด้านโลกร้อน
ในเว็บไซต์ดังกล่าว ได้พูดถึงเพลง 5 เพลงที่มีส่วนกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก ผมขอลำดับชื่อเพลงดังต่อไปนี้
1. March of the Women เพื่อเรียกร้องสิทธิสตรี แต่งในปี 1910
2. Which Side Are You On? เพื่อการเคลื่อนไหวของกรรมกร แต่งในปี 1931
3. We Shall Overcomeเพื่อการเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิของพลเมือง แต่งในปี 1963 กล่าวกันว่าเพลงนี้ได้รับความนิยมสูงสุดในโลก ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 อาจารย์มหาวิทยาลัยท่านหนึ่งเขียนชื่อเพลงนี้ให้กับผู้ต้องหา 13 ขบถในประเทศไทยต่อมา น้าหงา คาราวาน ได้แปลเป็นเพลงภาคภาษาไทยว่า “เราจะบรรลุชัย”
4. Blowin’in the Wind เพื่อการเคลื่อนไหวต่อต้านสงคราม แต่งในปี 1963ยุคสงครามเวียดนาม ซึ่งวงคาราวานได้ดัดแปลงมาเป็นเพลง “คำตอบอยู่ในสายลม”
5. Same Love ใช้ในการเคลื่อนไหวของคนรักเพศเดียวกัน แต่งในปี 2012
ผู้เขียนในเว็บไซต์ดังกล่าวระบุว่า เพลงทั้ง 5 ที่กล่าวมาแล้ว มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกได้มากจริงๆ พร้อมกับออกตัวว่าอาจมีเพลงอื่นๆ ด้วยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคม แต่ด้วยเนื้อที่จำกัดจึงคัดมาเพียง 5 เพลงดังกล่าว
สำหรับเพลงที่ 6 เพิ่งเปิดตัวเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมานี้เอง ผมเองไม่แน่ใจว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้จริงหรือไม่ จึงเขียนว่า “6 เพลงที่เปลี่ยนแปลงโลก?”
เพลงนี้ชื่อว่า “Love Song To The Earth” ซึ่งผมขอแปลตรงๆ ว่า “เพลงรักเพื่อโลก” หากเป็นไปได้ขอรบกวนบรรณาธิการช่วยลิงค์ให้ผู้อ่าน ASTV ผู้จัดการฟังด้วยก็จะขอบคุณอย่างสูงครับ
(https://www.climaterealityproject.org/blog/sounds-change?utm_source=Facebook&utm_medium=Social&utm_campaign=RTP)
ผมได้พยายามค้นหาความเป็นมาของเพลงจากบทความเรื่อง “Paul McCartney, Fergie, Other Stars Record 'Love Song To The Earth', The song's funds will support climate change action.” เขียนโดยคุณ Kimberly Yam พบว่าผู้แต่งเพลงนี้คือ Toby Gad เป็นนักดนตรีวัย 47 ปีชาวเยอรมันที่อยู่สหรัฐอเมริกา
Toby Gad กล่าวว่า “เมื่อองค์การสหประชาชาติขอให้ผมช่วยแต่งเพลงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ผมรู้สึกเป็นเกียรติและเกิดแรงบันดาลใจมาก ดังนั้น เพื่อนๆของผมและผมเองได้เขียนเพลงนี้โดยการเน้นไปที่ข้อความเชิงบวกว่าโลกเพียงหนึ่งเดียวของเรามีความล้ำค่าอย่างไร ผมหวังว่าเพลงนี้จะทำให้มีผู้ฟังในวงกว้างขึ้นสำหรับสาระที่เร่งด่วน และทำให้นักการเมืองร่วมกันสนับสนุนเพื่อให้ข้อตกลงเรื่องภูมิอากาศที่กรุงปารีสมีความหมาย”
เขากล่าวต่อไปว่า “ผมหวังว่า เพลงนี้จะเปิดให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเราต้องการแต่งเพลงในลักษณะที่ว่าเมื่อคุณรักในสิ่งใดแล้ว คุณควรจะดูแลสิ่งนั้นอย่างไร”
Natasha Bedingfield หนึ่งในศิลปินคนหนึ่งได้ให้ความเห็นในตอนท้ายว่า “เมื่อเรารู้ในปัญหาของสิ่งแวดล้อม เราไม่แน่ใจว่าจะมีความหวังเหลืออยู่ไหม ในเพลงนี้ เราต้องการที่จะพูดถึงในแง่ที่ว่า ให้ประชาชนเกิดความรู้สึกที่มีพลัง มีความเข้มแข็งที่จะทำอะไรบางอย่าง แทนที่จะเกิดความกลัวจนไม่เคลื่อนไหวใดๆ เลย”
เราลองมาดูเนื้อเพลงนี้กันครับ ผมได้แปลเป็นไทยประกอบมาด้วย ด้วยสำนวนที่ไม่ใช่ศิลปิน
Love Song To The Earth เพลงรักเพื่อโลก
This is an open letterนี่คือจดหมายเปิดผนึก
From me and you togetherจากฉันและคุณ
Tomorrow's in our hands nowอนาคตอยู่ในมือของเรา
Find the words that matter ค้นหาถ้อยคำที่เป็นสาระ
Say them out loudกล่าวขึ้นด้วยเสียงอันดัง
And make it better somehowและทำให้มันดีขึ้น
Looking down from up on the moonมองลงมาจากดวงจันทร์เบื้องบน
It's a tiny blue marbleโลกเป็นเพียงลูกหินสีฟ้าเล็กๆ
Who would've thought the ground we stand on could be so fragile
ใครจะนึกว่าพื้นดินที่เราเหยียบอยู่นี้ช่างเปราะบางเหลือเกิน
This is a love song to the earthนี่คือเพลงรักแด่โลก
You're no ordinary worldเจ้าไม่ใช่โลกธรรมดา
A diamond in the universeแต่เป็นเพชรน้ำหนึ่งในจักรวาล
Heaven's poetry to usเป็นบทกวีแห่งสวรรค์
Keep it safe, keep it safe, keep it safeช่วยกันรักษาโลกนี้ให้รอดปลอดภัยเถิด
Cause it's our world, it's our worldเพราะมันคือโลกของเรา
It's not about religionนี่ไม่ใช่เป็นเรื่องของศาสนา
Money, or perceptionไม่ใช่เรื่องเงิน หรือ ความรับรู้
How many years we might liveอีกกี่ปีที่เราจะยังมีชีวิตอยู่
When the only real questions that matters is still a matter of perspective
เมื่อปัญหาที่สำคัญจริงๆ ยังคงเป็นเรื่องของมุมมอง
อ่านเนื้อเพลงนี้ ทำให้ผมคิดถึงศิลปินคนหนึ่งที่ชื่อ ศุ บุญเลี้ยง ผมเคยเชิญให้เขาไปบรรยายให้นักศึกษาที่เรียนวิชาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมชื่อ วิชา วิทยาเขตสีเขียว ในหัวข้อ “ศิลปะการสื่อสาร” ศุ บุญเลี้ยงเล่าว่า ทางราชการได้มาว่าจ้างเขาให้แต่งเพลงเพื่อส่งเสริมให้คนเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พี่สาวของศุ ซึ่งเป็นพยาบาลก็ช่วยหาตำรามาให้เยอะแยะไปหมด ว่านมแม่ดีอย่างโน้นดีอย่างนี้มีวิตามินเท่านั้นเท่านี้ แต่เพลงที่ออกมา คือ “อิ่มอุ่น” ซึ่งไม่มีเรื่องวิตามินเลยสักนิดเดียว แต่เป็นเพลงที่สะท้อนถึงคุณค่าของความสัมพันธ์อันอบอุ่นของแม่กับลูก จนกลายเป็นเพลงยอดนิยมของคนไทยอยู่นานเพลงรักเพื่อโลกก็เช่นกันครับ “มองจากดวงจันทร์ โลกเป็นก้อนหินขนาดเล็กๆ แต่ใครจะนึกว่าพื้นดินที่เราเหยียบอยู่นี้ช่างเปราะบางเหลือเกิน”
นี่แหละหนาที่เขาเรียกว่าศิลปินซึ่งแตกต่างจากนักวิทยาศาสตร์ที่ชอบว่ากันตรงๆ ด้วยขั้นบันไดของข้อมูล สารสนเทศ ความรู้
กลับมาที่ว่า ทำไมผมจึงคิดว่าการประชุม COP21 ที่กรุงปารีสครั้งนี้จึงมีความสำคัญ กว่าทุกๆ ครั้งที่ผ่านมา
ประการแรก ผมทราบว่าขณะนี้ประเทศต่างๆ กว่า 80% ของโลกได้เสนอแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “แผนพลังงานสะอาด” ของรัฐบาลโอบามา ความจริงผมตั้งใจนำแผนนี้มาเล่าในที่นี้หลายครั้งแล้ว แต่ยังไม่ได้จังหวะครับ การรณรงค์เพื่อคัดตัวแทนพรรคเดโมแครตครั้งนี้ คุณฮิลารี่ คลินตัน ก็ได้ชูประเด็นการติดตั้งโซลาร์เซลล์ไว้น่าสนใจมาก ผมเคยเขียนถึงแล้ว
สื่อบางช่องได้เชิญนักวิ่งเต้นด้านพลังงานฟอสซิลมาสัมภาษณ์สด พร้อมกับตั้งคำถามแรงๆ อย่างไม่เกรงใจว่า “ทำไมคุณจึงไม่ติดคุก เพราะคุณเป็นฆาตกรจากการทำให้คนตายจากการใช้พลังงานของคุณ”
ประการที่สอง ได้เกิดกลุ่มที่ไม่ไว้วางใจผู้นำอย่างเป็นทางการของโลก เพราะล้มเหลวและไม่มีความจริงใจที่จะแก้ปัญหาสำคัญและเร่งด่วนมาตลอด 20 ปี พวกเขาจึงได้ชูประเด็นให้ถอนการลงทุนจากพลังงานฟอสซิล ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างมากในประวัติศาสตร์ ดังที่ผมได้เขียนถึงเมื่อสัปดาห์ก่อนคำขวัญของเขาสั้นๆ 5 คำคือ “เก็บมันไว้ในดิน” เพราะมันเป็นฆาตกร และเรามีพลังงานตัวอื่นที่สะอาดแล้ว
ประการที่สาม ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัย North Carolina ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า การลงทุนติดโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจำนวน 46 เมืองจาก 50 เมือง จะได้รับผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และต้นทุนการผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์ใน 42 เมืองดังกล่าวจะต่ำกว่าการซื้อไฟฟ้าจากบริษัทไฟฟ้ามาใช้
ประการที่สี่ ผลการศึกษาของธนาคาร Deutsche Bank จากเยอรมนี พบว่า เมื่อ 4 ปีก่อน สัดส่วนระหว่างต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์กับโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็น 7 ต่อ 1 แต่เมื่อสิ้นปี 2014ได้ลดลงมาเหลือน้อยกว่า 2 ต่อ 1 และคาดว่าในอีก 12 ถึง 18 เดือน จากสิ้นปี 2014 สัดส่วนดังกล่าวจะลงมาเป็น 1 ต่อ 1 ซึ่งก็ยังเหลือเวลาอีกไม่ถึง 1 ปีเท่านั้น
ผลการศึกษาของผมเอง พบว่า ถ้าลงทุนติดโซลาร์เซลล์เพื่อใช้เอง (ไม่ต้องขาย แต่ต้องเชื่อมต่อกับระบบสายส่ง) จะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 12 ต่อปีครับ
คำถามก็คือ ถ้าผลตอบแทนสูงจริงแล้ว ทำไมคนอเมริกันและคนไทยจึงไม่สนใจ คำตอบก็คือเพราะคนไม่รู้ นอกจากจะไม่รู้แล้วยังถูกกีดกันจากรัฐบาลและพ่อค้าอีกต่างหาก
จงหลีกทางให้กับพระอาทิตย์เถิด พ่อค้าถ่านหิน! คุณไม่อาจขวางกั้นพลังอันมหาศาลของดวงอาทิตย์และพลังของประชาชนที่อาจจะตื่นช้าบ้าง แต่ถ้าตื่นแล้ว คุณอยู่ไม่ได้อย่างแน่นอน
Love Song To The Earth จงดังกระหึ่มๆ
ผมพบเพลงนี้จากเว็บไซต์ของ Climate Reality Project ซึ่งมีคุณ Al Gore เป็นประธานโครงการ คุณAl Gore เคยเป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (สมัยประธานาธิบดีคลินตัน) และเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี 2007 ด้วยผลงานด้านโลกร้อน
ในเว็บไซต์ดังกล่าว ได้พูดถึงเพลง 5 เพลงที่มีส่วนกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก ผมขอลำดับชื่อเพลงดังต่อไปนี้
1. March of the Women เพื่อเรียกร้องสิทธิสตรี แต่งในปี 1910
2. Which Side Are You On? เพื่อการเคลื่อนไหวของกรรมกร แต่งในปี 1931
3. We Shall Overcomeเพื่อการเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิของพลเมือง แต่งในปี 1963 กล่าวกันว่าเพลงนี้ได้รับความนิยมสูงสุดในโลก ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 อาจารย์มหาวิทยาลัยท่านหนึ่งเขียนชื่อเพลงนี้ให้กับผู้ต้องหา 13 ขบถในประเทศไทยต่อมา น้าหงา คาราวาน ได้แปลเป็นเพลงภาคภาษาไทยว่า “เราจะบรรลุชัย”
4. Blowin’in the Wind เพื่อการเคลื่อนไหวต่อต้านสงคราม แต่งในปี 1963ยุคสงครามเวียดนาม ซึ่งวงคาราวานได้ดัดแปลงมาเป็นเพลง “คำตอบอยู่ในสายลม”
5. Same Love ใช้ในการเคลื่อนไหวของคนรักเพศเดียวกัน แต่งในปี 2012
ผู้เขียนในเว็บไซต์ดังกล่าวระบุว่า เพลงทั้ง 5 ที่กล่าวมาแล้ว มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกได้มากจริงๆ พร้อมกับออกตัวว่าอาจมีเพลงอื่นๆ ด้วยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคม แต่ด้วยเนื้อที่จำกัดจึงคัดมาเพียง 5 เพลงดังกล่าว
สำหรับเพลงที่ 6 เพิ่งเปิดตัวเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมานี้เอง ผมเองไม่แน่ใจว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้จริงหรือไม่ จึงเขียนว่า “6 เพลงที่เปลี่ยนแปลงโลก?”
เพลงนี้ชื่อว่า “Love Song To The Earth” ซึ่งผมขอแปลตรงๆ ว่า “เพลงรักเพื่อโลก” หากเป็นไปได้ขอรบกวนบรรณาธิการช่วยลิงค์ให้ผู้อ่าน ASTV ผู้จัดการฟังด้วยก็จะขอบคุณอย่างสูงครับ
(https://www.climaterealityproject.org/blog/sounds-change?utm_source=Facebook&utm_medium=Social&utm_campaign=RTP)
ผมได้พยายามค้นหาความเป็นมาของเพลงจากบทความเรื่อง “Paul McCartney, Fergie, Other Stars Record 'Love Song To The Earth', The song's funds will support climate change action.” เขียนโดยคุณ Kimberly Yam พบว่าผู้แต่งเพลงนี้คือ Toby Gad เป็นนักดนตรีวัย 47 ปีชาวเยอรมันที่อยู่สหรัฐอเมริกา
Toby Gad กล่าวว่า “เมื่อองค์การสหประชาชาติขอให้ผมช่วยแต่งเพลงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ผมรู้สึกเป็นเกียรติและเกิดแรงบันดาลใจมาก ดังนั้น เพื่อนๆของผมและผมเองได้เขียนเพลงนี้โดยการเน้นไปที่ข้อความเชิงบวกว่าโลกเพียงหนึ่งเดียวของเรามีความล้ำค่าอย่างไร ผมหวังว่าเพลงนี้จะทำให้มีผู้ฟังในวงกว้างขึ้นสำหรับสาระที่เร่งด่วน และทำให้นักการเมืองร่วมกันสนับสนุนเพื่อให้ข้อตกลงเรื่องภูมิอากาศที่กรุงปารีสมีความหมาย”
เขากล่าวต่อไปว่า “ผมหวังว่า เพลงนี้จะเปิดให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเราต้องการแต่งเพลงในลักษณะที่ว่าเมื่อคุณรักในสิ่งใดแล้ว คุณควรจะดูแลสิ่งนั้นอย่างไร”
Natasha Bedingfield หนึ่งในศิลปินคนหนึ่งได้ให้ความเห็นในตอนท้ายว่า “เมื่อเรารู้ในปัญหาของสิ่งแวดล้อม เราไม่แน่ใจว่าจะมีความหวังเหลืออยู่ไหม ในเพลงนี้ เราต้องการที่จะพูดถึงในแง่ที่ว่า ให้ประชาชนเกิดความรู้สึกที่มีพลัง มีความเข้มแข็งที่จะทำอะไรบางอย่าง แทนที่จะเกิดความกลัวจนไม่เคลื่อนไหวใดๆ เลย”
เราลองมาดูเนื้อเพลงนี้กันครับ ผมได้แปลเป็นไทยประกอบมาด้วย ด้วยสำนวนที่ไม่ใช่ศิลปิน
Love Song To The Earth เพลงรักเพื่อโลก
This is an open letterนี่คือจดหมายเปิดผนึก
From me and you togetherจากฉันและคุณ
Tomorrow's in our hands nowอนาคตอยู่ในมือของเรา
Find the words that matter ค้นหาถ้อยคำที่เป็นสาระ
Say them out loudกล่าวขึ้นด้วยเสียงอันดัง
And make it better somehowและทำให้มันดีขึ้น
Looking down from up on the moonมองลงมาจากดวงจันทร์เบื้องบน
It's a tiny blue marbleโลกเป็นเพียงลูกหินสีฟ้าเล็กๆ
Who would've thought the ground we stand on could be so fragile
ใครจะนึกว่าพื้นดินที่เราเหยียบอยู่นี้ช่างเปราะบางเหลือเกิน
This is a love song to the earthนี่คือเพลงรักแด่โลก
You're no ordinary worldเจ้าไม่ใช่โลกธรรมดา
A diamond in the universeแต่เป็นเพชรน้ำหนึ่งในจักรวาล
Heaven's poetry to usเป็นบทกวีแห่งสวรรค์
Keep it safe, keep it safe, keep it safeช่วยกันรักษาโลกนี้ให้รอดปลอดภัยเถิด
Cause it's our world, it's our worldเพราะมันคือโลกของเรา
It's not about religionนี่ไม่ใช่เป็นเรื่องของศาสนา
Money, or perceptionไม่ใช่เรื่องเงิน หรือ ความรับรู้
How many years we might liveอีกกี่ปีที่เราจะยังมีชีวิตอยู่
When the only real questions that matters is still a matter of perspective
เมื่อปัญหาที่สำคัญจริงๆ ยังคงเป็นเรื่องของมุมมอง
อ่านเนื้อเพลงนี้ ทำให้ผมคิดถึงศิลปินคนหนึ่งที่ชื่อ ศุ บุญเลี้ยง ผมเคยเชิญให้เขาไปบรรยายให้นักศึกษาที่เรียนวิชาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมชื่อ วิชา วิทยาเขตสีเขียว ในหัวข้อ “ศิลปะการสื่อสาร” ศุ บุญเลี้ยงเล่าว่า ทางราชการได้มาว่าจ้างเขาให้แต่งเพลงเพื่อส่งเสริมให้คนเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พี่สาวของศุ ซึ่งเป็นพยาบาลก็ช่วยหาตำรามาให้เยอะแยะไปหมด ว่านมแม่ดีอย่างโน้นดีอย่างนี้มีวิตามินเท่านั้นเท่านี้ แต่เพลงที่ออกมา คือ “อิ่มอุ่น” ซึ่งไม่มีเรื่องวิตามินเลยสักนิดเดียว แต่เป็นเพลงที่สะท้อนถึงคุณค่าของความสัมพันธ์อันอบอุ่นของแม่กับลูก จนกลายเป็นเพลงยอดนิยมของคนไทยอยู่นานเพลงรักเพื่อโลกก็เช่นกันครับ “มองจากดวงจันทร์ โลกเป็นก้อนหินขนาดเล็กๆ แต่ใครจะนึกว่าพื้นดินที่เราเหยียบอยู่นี้ช่างเปราะบางเหลือเกิน”
นี่แหละหนาที่เขาเรียกว่าศิลปินซึ่งแตกต่างจากนักวิทยาศาสตร์ที่ชอบว่ากันตรงๆ ด้วยขั้นบันไดของข้อมูล สารสนเทศ ความรู้
กลับมาที่ว่า ทำไมผมจึงคิดว่าการประชุม COP21 ที่กรุงปารีสครั้งนี้จึงมีความสำคัญ กว่าทุกๆ ครั้งที่ผ่านมา
ประการแรก ผมทราบว่าขณะนี้ประเทศต่างๆ กว่า 80% ของโลกได้เสนอแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “แผนพลังงานสะอาด” ของรัฐบาลโอบามา ความจริงผมตั้งใจนำแผนนี้มาเล่าในที่นี้หลายครั้งแล้ว แต่ยังไม่ได้จังหวะครับ การรณรงค์เพื่อคัดตัวแทนพรรคเดโมแครตครั้งนี้ คุณฮิลารี่ คลินตัน ก็ได้ชูประเด็นการติดตั้งโซลาร์เซลล์ไว้น่าสนใจมาก ผมเคยเขียนถึงแล้ว
สื่อบางช่องได้เชิญนักวิ่งเต้นด้านพลังงานฟอสซิลมาสัมภาษณ์สด พร้อมกับตั้งคำถามแรงๆ อย่างไม่เกรงใจว่า “ทำไมคุณจึงไม่ติดคุก เพราะคุณเป็นฆาตกรจากการทำให้คนตายจากการใช้พลังงานของคุณ”
ประการที่สอง ได้เกิดกลุ่มที่ไม่ไว้วางใจผู้นำอย่างเป็นทางการของโลก เพราะล้มเหลวและไม่มีความจริงใจที่จะแก้ปัญหาสำคัญและเร่งด่วนมาตลอด 20 ปี พวกเขาจึงได้ชูประเด็นให้ถอนการลงทุนจากพลังงานฟอสซิล ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างมากในประวัติศาสตร์ ดังที่ผมได้เขียนถึงเมื่อสัปดาห์ก่อนคำขวัญของเขาสั้นๆ 5 คำคือ “เก็บมันไว้ในดิน” เพราะมันเป็นฆาตกร และเรามีพลังงานตัวอื่นที่สะอาดแล้ว
ประการที่สาม ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัย North Carolina ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า การลงทุนติดโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจำนวน 46 เมืองจาก 50 เมือง จะได้รับผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และต้นทุนการผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์ใน 42 เมืองดังกล่าวจะต่ำกว่าการซื้อไฟฟ้าจากบริษัทไฟฟ้ามาใช้
ประการที่สี่ ผลการศึกษาของธนาคาร Deutsche Bank จากเยอรมนี พบว่า เมื่อ 4 ปีก่อน สัดส่วนระหว่างต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์กับโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็น 7 ต่อ 1 แต่เมื่อสิ้นปี 2014ได้ลดลงมาเหลือน้อยกว่า 2 ต่อ 1 และคาดว่าในอีก 12 ถึง 18 เดือน จากสิ้นปี 2014 สัดส่วนดังกล่าวจะลงมาเป็น 1 ต่อ 1 ซึ่งก็ยังเหลือเวลาอีกไม่ถึง 1 ปีเท่านั้น
ผลการศึกษาของผมเอง พบว่า ถ้าลงทุนติดโซลาร์เซลล์เพื่อใช้เอง (ไม่ต้องขาย แต่ต้องเชื่อมต่อกับระบบสายส่ง) จะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 12 ต่อปีครับ
คำถามก็คือ ถ้าผลตอบแทนสูงจริงแล้ว ทำไมคนอเมริกันและคนไทยจึงไม่สนใจ คำตอบก็คือเพราะคนไม่รู้ นอกจากจะไม่รู้แล้วยังถูกกีดกันจากรัฐบาลและพ่อค้าอีกต่างหาก
จงหลีกทางให้กับพระอาทิตย์เถิด พ่อค้าถ่านหิน! คุณไม่อาจขวางกั้นพลังอันมหาศาลของดวงอาทิตย์และพลังของประชาชนที่อาจจะตื่นช้าบ้าง แต่ถ้าตื่นแล้ว คุณอยู่ไม่ได้อย่างแน่นอน
Love Song To The Earth จงดังกระหึ่มๆ