xs
xsm
sm
md
lg

รู้จัก “เอลนิญโญ” ให้มากขึ้นผ่านการอบรม “วิทยาศาสตร์ทันโลกและภัยพิบัติในไทย”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


รู้จัก “ เอลนิญโญ” ให้มากขึ้น ผ่านการอบรม “วิทยาศาสตร์ทันโลกและภัยพิบัติในไทย” จากการบรรยายโดยอาจารย์นิด้าระหว่าง 13-15 ก.ค.นี้ พร้อมรับใบประกาศจากองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ

รศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ประกาศเปิดรับสมัครผู้สนใจเข้ารับการอบรมในหัวข้อ “วิทยาศาสตร์ทันโลกและภัยพิบัติในไทย” ระหว่างวันที่ 13-15 ก.ค.นี้ ณ ห้องประชุม ดร.สมศักดิ์ และคุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ชั้น 2 อาคารสยามบรมราชกุมารี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

ทั้งนี้ หัวข้อการบรรยายเป็นเรื่องการจัดการภัยพิบัติและอุตสาหกรรมสีเขียว ซึ่งได้รับงบสนับสนุนจากองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับใบประกาศจากองค์การดังกล่าวด้วย

สำหรับกำหนดการอบรมมีดังนี้

13 ก.ค.58
ช่วงเวลาหัวข้อ
9.00-9.15 น.พิธีเปิดการฝึกอบรม
9.15-10.15 น.เริ่มการบรรยายโดย ดร. ไพโรจน์ ฉัตรอนันทเวช
กระบวนการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกและแผ่นดินไหวทั่วโลก
แผ่นดินไหวในไทยและในภูมิภาคอาเซียน
10.15-10.30 น.พักทานอาหารว่าง
10.30-11.50 น.เริ่มการบรรยายโดย ดร. ไพโรจน์ ฉัตรอนันทเวช
กรณีศึกษาแผ่นดินไหวที่เม๊กซิโกซิตี้ ปี 1985 ...... กทม. มีโอกาสจะเผชิญชะตากรรมเดียวกันหรือไม่ (ที่ตึกล้มระเนระนาด) เราควรวิจัยอะไรเพิ่มเติม
พักเที่ยง
ศาสตร์ของสึนามิและกระบวนการเกิด
สึนามิจากเกาะสุมาตราและผลกระทบต่อภาคใต้ไทย อดีต 600 ปีก่อน 10 ปีก่อน และอนาคต
วิธีเอาตัวรอดจากแผ่นดินไหวและสึนามิ ขณะเกิด
11.50-13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.15 น.เริ่มการบรรยายโดย ดร. ไพโรจน์ ฉัตรอนันทเวช
ความเข้าใจเรื่องพายุสุริยะ และภัยของมันต่อระบบสื่อสารและสาธารณูปโภค
การเปลี่ยนแปลงของแผ่นดินไทยในอดีต หมื่นปีก่อน 100 ปีก่อน จนถึงปัจจุบัน และการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในอ่าวไทย
14.15-14.30 น.พักทานอาหารว่าง
14.30 -16.00 น.เริ่มการบรรยายโดย ดร. ไพโรจน์ ฉัตรอนันทเวช
ปรากฏการณ์ เอลนิญโญ และ ลานิญญา และผลกระทบต่อไทยและการเกษตรกรรมไทยในอดีต
ปัญหาน้ำท่วมในไทย และกรุงเทพ โดยเฉพาะ
ประโยชน์และโทษของการสร้างเขื่อน บทเรียนจากสหรัฐอเมริกา
16.00-16.30 น.เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมได้ซักถามพร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น


14 ก.ค.58

ช่วงเวลาหัวข้อ
9.00-10.15 น.เริ่มการบรรยายโดย รศ. ดร. ศิวัช พงษ์เพียจันทร์
มลพิษทางอากาศในไทย
ศาสตร์แห่งภาวะโลกร้อนและ climate change ต่อโลกของเรา
10.15-10.30 น.พักทานอาหารว่าง
10.30-11.50 น.เริ่มการบรรยายโดย รศ. ดร. ศิวัช พงษ์เพียจันทร์
ผลกระทบของภาวะโลกร้อนและ climate change ต่อไทยและภูมิภาคอาเซี่ยน
ภัยเงียบจากการได้รับสารพิษ ไดออกซิน และกลุ่มของสารอินทรีย์ย่อยสลายยาก (POPs)
11.50-13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.15 น.เริ่มการบรรยายโดย รศ. ดร. ศิวัช พงษ์เพียจันทร์
บทบาทขององค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) ต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมสีเขียว
14.15-14.30 น.พักทานอาหารว่าง
14.30 -16.00 น.เริ่มการบรรยายโดย รศ. ดร. ศิวัช พงษ์เพียจันทร์
ต่อการช่วยลดปริมาณการปลดปล่อยสารไดออกซินจากภาคอุตสาหกรรม โดยการใช้ เทคโนโลยีที่ดีที่สุด (Best Available Technique: BAT) และแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (Best Environmental Practice: BEP)
16.00-16.30 น.เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมได้ซักถามพร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น


15 ก.ค.58

ช่วงเวลาหัวข้อ
9.00-10.15 น.เริ่มการบรรยายโดย ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท SGS
เทคนิคการเก็บตัวอย่าง ไดออกซิน ในสิ่งแวดล้อม
10.15-10.30 น.พักทานอาหารว่าง
10.30-11.50 น.เริ่มการบรรยายโดย ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท SGS
- เทคนิคการวิเคราะห์ ไดออกซิน ในตัวอย่างสิ่งแวดล้อม
11.50-13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.15 น.เริ่มการบรรยายโดย ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท Bara Scientific
เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในการวิเคราะห์สารพิษ ไดออกซิน และกลุ่มของสารอินทรีย์ย่อยสลายยาก โดยเครื่องมือ Gas- Chromatography Mass Spectrometry (High Resolution)
14.15-14.30 น.พักทานอาหารว่าง
14.30 -15.00 น.พิธีแจกใบประกาศนียบัตรการฝึกอบรม
15.00-15.15 น.ประธานกล่าวปิดการฝึกอบรม
  


สนใจเข้าร่วมอบรมติดต่อลงทะเบียนได้ที่ คุณณัฐ
Email: nattaporn.nat1408@gmail.com
Tel: 084-944-1432
(รับจำนวนจำกัด)







*******************************



กำลังโหลดความคิดเห็น