ซัดสื่อมะกันก่อน “บิ๊กตู่” บินประชุมยูเอ็น “พิศาล มาณวพัฒน์” เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน เขียนจดหมายเปิดผนึกตอบโต้หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ตีพิมพ์บทความ “คุมขังเพราะทัศนคติไม่ดี” มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์การข่มขู่และจับกุมคุมขังผู้ที่แสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ยันไทยกำลังเดินหน้าสู่ความเป็นประชาธิปไตย ส่วนทูตคนใหม่สหรัฐฯ บินถึงเมืองไทยแล้ว สถานทูตเผยประวัติยาวเหยียด
วันนี้ (23 ก.ย.) มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา นายพิศาล มาณวพัฒน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกตอบโต้ส่งถึงหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ เพื่อชี้แจงตอบโต้กรณีที่วอชิงตันโพสต์ตีพิมพ์บทบรรณาธิการเมื่อวันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา ชื่อเรื่อง “คุมขังเพราะทัศนคติไม่ดี” มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์การข่มขู่และจับกุมคุมขังผู้ที่แสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล
http://thaiembdc.org/2015/09/21/ambassador-pisans-letter-to-the-editor-of-the-washington-post/
โดยข้อความในจดหมายของนายพิศาล ที่มีหัวเรื่องว่า “ไทยกำลังเดินหน้าสู่ความเป็นประชาธิปไตย” ระบุว่า “คนไทยส่วนมากเบื่อหน่ายการชุมนุมประท้วงบนท้องถนน สถานการณ์ตีบตันทางการเมืองและการคอร์รัปชันอย่างบ้าคลั่ง ก่อนที่รัฐบาลชุดปัจจุบันจะก้าวขึ้นสู่อำนาจ ประเทศไทยถูกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายและต้องประสบกับความรุนแรงทางการเมืองถึงขั้นสูญเสียชีวิตที่ทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจหดตัว รัฐบาลไม่ต้องการให้ประเทศกลับไปสู่สถานสถานการณ์ที่เป็นอยู่ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 โดยหวังว่าจะออกแบบประชาธิปไตยที่ยั่งยืนและเคารพในหลักนิติธรรม
ขณะที่ประชาธิปไตยกำลังอยู่ระหว่างขั้นตอนการพัฒนาในไทย รัฐบาลได้ผลักดันการปฏิรูปที่สำคัญหลายอย่างที่รัฐบาลชุดก่อนหน้านี้ไม่ได้ให้ความสนใจ ซึ่งรวมถึงการออกและบังคับใช้กฎหมายและกำหนดนโยบายในการปฏิบัติเพื่อต่อสู้กับปัญหาการค้ามนุษย์และสัตว์ป่ารวมถึงการทำประมงผิดกฎหมาย ไทยยังได้ร่วมมือในพันธสัญญาเป็นพันธมิตรอย่างสร้างสรรค์กับสหรัฐและสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ในหัวข้อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ลดความไม่เท่าเทียม สร้างสันติภาพ และต่อสู้กับโลกร้อน โดยการเข้าร่วมการประชุมยูเอ็นที่กำลังจะจัดขึ้นของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะแสดงให้เห็นถึงพันธสัญญานี้”
จดหมายที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ
“Letters to the Editor
Thailand is heading toward democracy
September 20
Regarding the Sept. 16 editorial “Jailed for a bad attitude ”:
Most Thai people have had enough of street unrest, political paralysis and rampant corruption. Before the current government came to power, the country was polarized and suffering from deadly political violence that sent the economy into contraction. The government does not want the country to slide back to where it was before May 2014. It hopes to craft a democracy that will be sustainable and have a respect for the rule of law. Inciting lawlessness and divisiveness now won’t help us resolve problems or find a consensus on the best way to move forward.
The no vote on the draft constitution by the National Reform Council was a response by the majority of members to views expressed by major political parties and elements of civil society that opposed a draft they thought was not democratic enough.
While democracy is a work in progress in Thailand, the government is pushing a significant number of reforms that previous governments did not attend to, including legislative and executive actions to combat trafficking of people and wildlife as well as illegal fishing.
Thailand is also committed to constructive partnerships with the United States and United Nations for sustainable development, reducing inequality, building peace and fighting climate change. Prime Minister Prayuth Chan-ocha’s participation in the upcoming U.N. meetings will demonstrate that commitment.
Pisan Manawapat, Washington
The writer is Thailand’s ambassador to the United States.”
โดยบทความเมื่อวันที่ 16 ก.ย.อ่านได้ที่ลิงก์ของวอชิงตันโพตส์
https://www.washingtonpost.com/opinions/thailand-is-heading-toward-democracy/2015/09/20/06e89bfe-5e0e-11e5-8e9e-dce8a2a2a679_story.html
วันเดียวกัน เว็บไซต์สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยได้ออกประกาศถึงการเดินทางมาถึงประเทศไทยของว่าที่เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยคนใหม่ มีใจความว่า
“สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยมีความยินดีที่จะแจ้งกำหนดเดินทางถึงประเทศไทยของนายกลิน เดวีส์ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มของสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยคนใหม่
นายกลิน เดวีส์ ว่าที่เอกอัครราชทูตประจำรัฐผู้รับจะเดินทางถึงประเทศไทยในวันที่ 22 กันยายน 2558
นายกลิน เดวีส์ เป็นข้าราชการการทูตอาวุโสที่มีประสบการณ์กว่า 35 ปี โดยก่อนหน้านี้ได้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโสของสำนักงานกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก กระทรวงการต่างประเทสหรัฐอเมริกาซึ่งท่านได้ดำรงตำแหน่งนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 และก่อนหน้านั้น ท่านปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนพิเศษด้านนโยบายเกาหลีเหนือ และผู้แทนสหรัฐอเมริกาประจำสหประชาชาติ ณ กรุงเวียนนา และทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ รวมทั้งดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มรองผู้ช่วยรัฐมนตรีและรองผู้ช่วยรัฐมนตรีในสำนักงานกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก เอกอัครราชทูตเดวีส์ยังเคยดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงในสำนักต่างๆ ของกระทรวงการต่างประเทศ อาทิ สำนักงานประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและแรงงาน สำนักงานสารนิเทศ สำนักงานกิจการยุโรป ตลอดจนสำนักเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำหรับตำแหน่งการทูตประจำต่างประเทศนั้น เอกอัครราชทูตเดวีส์เคยไปปฏิบัติราชการในประเทศสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ฝรั่งเศสและซาอีร์ (Zaire)
เอกอัครราชทูตเดวีส์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขา Foreign Service จากมหาวิทยาลัย Georgetown และปริญญาโทสาขายุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติจาก National War College ที่ Fort McNair กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ท่านสมรสกับนางแจ็กเกอลีน เอ็ม. เดวีส์ และมีบุตรสาวสองคนและหลานสาวสองคน
เอกอัครราชทูตเดวีส์กล่าวถึงการเดินทางมาประเทศไทยว่า “ผมตั้งใจรอที่จะได้รู้จัก รับฟังและเรียนรู้ความคิดเห็นของคนไทยในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อที่ผมจะได้เข้าใจประเพณีและวัฒนธรรมที่น่าสนใจยิ่งของไทย เป้าหมายของผมคือ ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนของประเทศเราทั้งสองให้ดียิ่งขึ้น พร้อมทั้งร่วมมือกันทำงานเพื่อส่งเสริมความมั่นคงและความรุ่งเรืองของเราร่วมกัน”
กลิน ที. เดวีส์
เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย วาระการดำรงตำแหน่ง : 5 สิงหาคม 2558 - ปัจจุบัน
เอกอัครราชทูตกลิน ที. เดวีส์ ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยโดยประธานาธิบดีโอบามาเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2558 ได้รับการรับรองจากวุฒิสภาสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม และเข้าสาบานตนเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558
ก่อนหน้านี้ เอกอัครราชทูตเดวีส์ปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาด้านนโยบายเกาหลีเหนือระหว่างเดือนมกราคม 2555 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2557 โดยมีหน้าที่รับผิดชอบการประสานบทบาทของสหรัฐอเมริกาในกระบวนการเจรจาหกฝ่าย (Six-Party Talks) รวมถึงนโยบายสหรัฐอเมริกาในด้านอื่นๆ ได้แก่ ความมั่นคง การเมือง เศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน และความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเกาหลีเหนือ
นายกลิน ทาวน์เซนด์ เดวีส์ เป็นข้าราชการระดับอาวุโสของกระทรวงการต่างประเทศ ท่านเคยดำรงตำแหน่งผู้แทนถาวรของสหรัฐอเมริกาประจำทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศและสำนักงานองค์การสหประชาชาติ ณ กรุงเวียนนา ระหว่างเดือนมิถุนายน 2552 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2554 โดยมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาในการต่อต้านการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ การก่อการร้าย อาชญากรรมองค์กร และการทุจริตฉ้อฉล พร้อมทั้งส่งเสริมการใช้พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตเดวีส์เคยปฏิบัติงานการทูตระดับสูงในตำแหน่งอื่นๆ อีก ได้แก่ หัวหน้ากลุ่มรองผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2550 ถึงเดือนมิถุนายน 2552 รักษาการผู้ช่วยรัฐมนตรีฝ่ายประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและแรงงานเมื่อปี พ.ศ. 2548 รองผู้ช่วยรัฐมนตรีฝ่ายกิจการยุโรประหว่างปี พ.ศ. 2547-2548 ผู้อำนวยการฝ่ายการเมืองในวาระที่สหรัฐอเมริกาเป็นประธานกลุ่ม G-8 (ลำดับชั้นเอกอัครราชทูต) ระหว่างปี พ.ศ. 2546-2547 อัครราชทูตที่ปรึกษา (ลำดับชั้นอัครราชทูต) ของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ระหว่างพ.ศ. 2542-2546 เลขานุการบริหารของสำนักเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว (White House National Security Council Staff) ระหว่างปี พ.ศ. 2540 - 2542 รองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศและรองผู้ช่วยรัฐมนตรีฝ่ายกิจการสาธารณะระหว่างปี พ.ศ. 2538-2540 และผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการ (Operations Center) กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างปี พ.ศ. 2535-2537
เอกอัครราชทูตเดวีส์เคยดำรงตำแหน่งรองที่ปรึกษาฝ่ายการเมืองประจำสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศฝรั่งเศส และประจำสำนักงานความมั่นคงและกิจการการเมืองยุโรป (Office of European Security and Political Affairs) ของสำนักกิจการยุโรป กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ โดยมีหน้าที่รับผิดชอบประเด็นที่เกี่ยวกับนิวเคลียร์และการลดอาวุธภายใต้การดำเนินการของ NATO เป็นหลัก อีกทั้ง เป็นผู้ช่วยพิเศษของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ George Shultz เอกอัครราชทูตเดวีส์เริ่มอาชีพนักการทูตในช่วงห้าปีแรกที่สถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ ประจำกรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย และสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำกรุงกินชาซาประเทศซาอีร์ (ปัจจุบันคือ คองโก)
เอกอัครราชทูตเดวีส์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขา Foreign Service จากมหาวิทยาลัย Georgetown เมื่อปี พ.ศ. 2522 และปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตเกียรตินิยมสาขายุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติจาก National War College ที่ Fort McNair กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ท่านสมรสกับนางแจ็กเกอลีน เอ็ม. เดวีส์ อาชีพนักกฎหมาย ทั้งสองมีบุตรสาวสองคนและหลานสาวสองคน