เมื่อเวลา 14.00 น. วานนี้ (1 ต.ค.) นายอะกิระ มูราโคชิ ประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ และคณะผู้บริหารหอการค้าเข้าเยี่ยมคารวะ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ที่ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล
ทั้งนี้ภายหลังการเข้าพบ นายสมคิด กล่าวว่า ประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ และคณะผู้บริหารหอการค้า มาเข้าพบเพื่อฟังนโยบายของรัฐบาล โดยตนได้เล่าสถานการณ์และนโยบาย ที่รัฐบาลดำเนินการ โดยยืนยันไปว่า สถานการณ์ของไทยไม่มีอะไรหนักหนาที่น่าเป็นห่วง ตนได้เข้ามาทำงานร่วมรัฐบาลเป็นเวลา 1 เดือน สิ่งที่ได้ทำในช่วงแรก คือ การพยายามทำให้มีเงินหมุนเวียน ช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร ซึ่งออกนโยบายไปได้ประมาณ 2 สัปดาห์ ดังนั้นคงต้องใช้เวลาอีกซักระยะหนึ่ง ถึงจะมีเงินหมุนเวียนในตลาดมากขึ้น และก่อให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจมากขึ้น
ขณะเดียวกันรัฐบาลได้เข้าไปเพิ่มแรงจูงใจในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ซึ่งประเด็นนี้หอการค้าญี่ปุ่นมีความพอใจอย่างยิ่ง เพระญี่ปุ่นได้ลงทุนในเมืองไทยจำนวนมาก
นายสมคิด กล่าวอีกว่า ทางหอการค้าญี่ปุ่นต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเอสเอ็มอีของญี่ปุ่น ที่จะมาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งเอสเอ็มอี ของญี่ปุ่น ถือว่ามี เทคโนโลยี contentสูงมาก ตรงกับความต้องการของประเทศไทย พร้อมกันนี้ยังได้คุยกันถึงเรื่องเส้นทางรถไฟ ซึ่งทางหอการค้าญี่ปุ่นเห็นด้วยกับตน และแสดงความสนใจสูงมาก โดยเฉพาะเส้นตะวันออกสู่ตะวันตก มาบตาพุด ผ่านกรุงเทพ เพชรบุรี ราชบุรี ไปกาญจนบุรี และ ออกสู่พม่า ซึ่งระหว่างเส้นทางดังกล่าว มีโรงงานของนักธุรกิจญี่ปุ่นมาลงทุนอยู่จำนวนมาก โดยญี่ปุ่นได้มีการลงทุนในเขมร เวียดนาม พม่า และไทย ซึ่งแต่ละแห่งแยกออกจากกัน แต่ถ้าเมื่อไหร่ มีจุดเชื่อมตรงนี้ ก็จะสามารถมองเห็นกระบวนการผลิต ไปสู่ประเทศต่างๆได้ ซึ่งตนจะนำเรื่องนี้ไปแจ้ง นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เร่งดำเนินการโดยเร็ว
ทั้งนี้ ได้พูดกันถึงการมีส่วนร่วมกันจะทำอย่างไร ซึ่งทางญี่ปุ่นเองมีหลายบริษัทให้ความสนใจ โดยตนได้แนะนำไปว่า ถ้าสามารถหา partner เป็นกลุ่ม และยื่นข้อเสนอมายังกระทรวงคมนาคมได้ และจากความสำเร็จ ของนายกรัฐมนตรีที่เดินทางไปร่วมประชุมยูเอ็นครั้งนี้ ได้รับสัญญาณที่ดี โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาไอยูยู และไอเคโอ และเชื่อว่าจะเป็นผลดีต่อไทยในสายตานานาประเทศ ซึ่งจะทำให้แรงกดดันต่างๆ ต่อจากนี้ไปลดน้อยลง และถ้าภายในประเทศสงบขึ้น แรงกดดันจากต่างประเทศลดน้อยลง และรัฐบาลทำงานหนักอย่างนี้ เชื่อว่าสถานการณ์ต่างๆ น่าจะดีขึ้น หากถามว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายจะเป็นอย่างไร ตนบอกไปว่า ถ้าปริมาณเงินหมุนเวียน ขยายลงพื้นที่ต่างๆ และกระทรวงพาณิชย์สามารถขับเคลื่อนการส่งออกได้ดีพอ เศรษฐกิจโลกที่กำลังจะดีขึ้น จากต่างประเทศ ในไตรมาส 1 ปีหน้า สถานการณ์น่าจะ ดีขึ้น โดยเฉพาะการที่ ยูเอ็น และสหรัฐอเมริกา มีท่าทีเป็นมิตรกับไทยมากขึ้น เชื่อว่าตรงนี้เป็นสิ่งที่ดีมาก ทำให้นักลงทุนญี่ปุ่นมีความมั่นใจที่จะมาลงทุนในไทย และหวังว่าคงจะไม่มีอะไร ที่ไม่ดีเกิดขึ้นกับเมืองไทยอีก หลังจากเสียเวลามาแล้วเป็น 10 ปี โดยกลางเดือนพฤศจิกายน หรือต้นเดือนต้นธันวาคม ตนอาจจะเดินทางไปที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งอยากให้มีการประชุมในหลายกระทรวงร่วมกัน ระหว่างอุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว วิทยาศาสตร์ ในลักษณะการเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันทั้งทางเศรษฐกิจ และสังคม
ทั้งนี้ภายหลังการเข้าพบ นายสมคิด กล่าวว่า ประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ และคณะผู้บริหารหอการค้า มาเข้าพบเพื่อฟังนโยบายของรัฐบาล โดยตนได้เล่าสถานการณ์และนโยบาย ที่รัฐบาลดำเนินการ โดยยืนยันไปว่า สถานการณ์ของไทยไม่มีอะไรหนักหนาที่น่าเป็นห่วง ตนได้เข้ามาทำงานร่วมรัฐบาลเป็นเวลา 1 เดือน สิ่งที่ได้ทำในช่วงแรก คือ การพยายามทำให้มีเงินหมุนเวียน ช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร ซึ่งออกนโยบายไปได้ประมาณ 2 สัปดาห์ ดังนั้นคงต้องใช้เวลาอีกซักระยะหนึ่ง ถึงจะมีเงินหมุนเวียนในตลาดมากขึ้น และก่อให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจมากขึ้น
ขณะเดียวกันรัฐบาลได้เข้าไปเพิ่มแรงจูงใจในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ซึ่งประเด็นนี้หอการค้าญี่ปุ่นมีความพอใจอย่างยิ่ง เพระญี่ปุ่นได้ลงทุนในเมืองไทยจำนวนมาก
นายสมคิด กล่าวอีกว่า ทางหอการค้าญี่ปุ่นต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเอสเอ็มอีของญี่ปุ่น ที่จะมาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งเอสเอ็มอี ของญี่ปุ่น ถือว่ามี เทคโนโลยี contentสูงมาก ตรงกับความต้องการของประเทศไทย พร้อมกันนี้ยังได้คุยกันถึงเรื่องเส้นทางรถไฟ ซึ่งทางหอการค้าญี่ปุ่นเห็นด้วยกับตน และแสดงความสนใจสูงมาก โดยเฉพาะเส้นตะวันออกสู่ตะวันตก มาบตาพุด ผ่านกรุงเทพ เพชรบุรี ราชบุรี ไปกาญจนบุรี และ ออกสู่พม่า ซึ่งระหว่างเส้นทางดังกล่าว มีโรงงานของนักธุรกิจญี่ปุ่นมาลงทุนอยู่จำนวนมาก โดยญี่ปุ่นได้มีการลงทุนในเขมร เวียดนาม พม่า และไทย ซึ่งแต่ละแห่งแยกออกจากกัน แต่ถ้าเมื่อไหร่ มีจุดเชื่อมตรงนี้ ก็จะสามารถมองเห็นกระบวนการผลิต ไปสู่ประเทศต่างๆได้ ซึ่งตนจะนำเรื่องนี้ไปแจ้ง นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เร่งดำเนินการโดยเร็ว
ทั้งนี้ ได้พูดกันถึงการมีส่วนร่วมกันจะทำอย่างไร ซึ่งทางญี่ปุ่นเองมีหลายบริษัทให้ความสนใจ โดยตนได้แนะนำไปว่า ถ้าสามารถหา partner เป็นกลุ่ม และยื่นข้อเสนอมายังกระทรวงคมนาคมได้ และจากความสำเร็จ ของนายกรัฐมนตรีที่เดินทางไปร่วมประชุมยูเอ็นครั้งนี้ ได้รับสัญญาณที่ดี โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาไอยูยู และไอเคโอ และเชื่อว่าจะเป็นผลดีต่อไทยในสายตานานาประเทศ ซึ่งจะทำให้แรงกดดันต่างๆ ต่อจากนี้ไปลดน้อยลง และถ้าภายในประเทศสงบขึ้น แรงกดดันจากต่างประเทศลดน้อยลง และรัฐบาลทำงานหนักอย่างนี้ เชื่อว่าสถานการณ์ต่างๆ น่าจะดีขึ้น หากถามว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายจะเป็นอย่างไร ตนบอกไปว่า ถ้าปริมาณเงินหมุนเวียน ขยายลงพื้นที่ต่างๆ และกระทรวงพาณิชย์สามารถขับเคลื่อนการส่งออกได้ดีพอ เศรษฐกิจโลกที่กำลังจะดีขึ้น จากต่างประเทศ ในไตรมาส 1 ปีหน้า สถานการณ์น่าจะ ดีขึ้น โดยเฉพาะการที่ ยูเอ็น และสหรัฐอเมริกา มีท่าทีเป็นมิตรกับไทยมากขึ้น เชื่อว่าตรงนี้เป็นสิ่งที่ดีมาก ทำให้นักลงทุนญี่ปุ่นมีความมั่นใจที่จะมาลงทุนในไทย และหวังว่าคงจะไม่มีอะไร ที่ไม่ดีเกิดขึ้นกับเมืองไทยอีก หลังจากเสียเวลามาแล้วเป็น 10 ปี โดยกลางเดือนพฤศจิกายน หรือต้นเดือนต้นธันวาคม ตนอาจจะเดินทางไปที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งอยากให้มีการประชุมในหลายกระทรวงร่วมกัน ระหว่างอุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว วิทยาศาสตร์ ในลักษณะการเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันทั้งทางเศรษฐกิจ และสังคม