นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการโต้เถียงไปมา ระหว่าง นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กับนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีต รมว.ศึกษาธิการ เกี่ยวกับกรอบเวลาของโรดแมปว่า ตนเคยพูดหลายครั้งแล้วว่า ควรมุ่งไปที่สาระของรัฐธรรมนูญ เพราะเวลาหยิบเรื่องลอยๆ มาพูด ทำให้เกิดประเด็นความขัดแย้งโดยไม่จำเป็น ทุกอย่างอยู่ที่เนื้อหาสาระ ยังไม่ทราบเลยว่ากรรมการร่างรธน. 21 คนจะเป็นใครบ้าง มาพูดแทนได้อย่างไรว่า จะต้องเสร็จกี่เดือน พอคนเข้ามาทำงานมีการแสดงกระบวนการทำงานที่ชัดเจน ก็จะได้คำตอบที่เหมาะสมในตัวของมันเอง ส่วนสูตร 6 -4 , 6- 4 คือกรอบของกฎหมาย ว่าอย่าเกิน ส่วนจะเป็นไปตามนั้นหรือไม่ ก็อยู่ที่วิธีการทำงานในแต่ละขั้นตอน ตรงนี้ต้องมาดูกันตอนนั้น
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่าถ้าคณะทำงานชุดใหม่เข้ามา ร่างฉบับเดิมมีดีอยู่มากมาย ก็ไม่ต้องไปยุ่งเลย ภายใน 2 วัน ก็ได้ตั้งร้อยกว่ามาตรา ตรงนี้ก็เป็นเหตุผลว่า จำเป็นจะต้องทำกันถึง 6 เดือนหรือไม่ แต่ถ้าคณะทำงานเข้ามาแล้ว พูดว่าจะต้องเริ่มต้นกันใหม่หมด ก็อาจจะเป็น 6 เดือน ทุกอย่างต้องเอาเหตุ และผล มาว่ากันว่าอะไรเหมาะสม ดูจากเนื้อหาสาระ เช่น สิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน ก็นำข้อทักท้วงข้อติติง ประเด็นต่างๆ มาพิจารณา มีการระดมความเห็น หาข้อยุติ และดำเนินการเดินหน้าต่อไป ส่วนเรื่อง คปป. ยังเป็นเรื่องที่สำคัญ หากจะให้มีในรัฐธรรมนูญต้องดูว่า มีแบบไหน อย่างไร อำนาจหน้าที่เป็นอย่างไร
" ผมเป็นคนหนึ่งที่ค้าน คปป. แต่ไม่ปฏิเสธแนวคิดที่บอกว่า อาจจะต้องมีกลไกที่มา คือ สามารถระงับยับยั้ง หรือถ่วงดุลไม่ให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ใช้อำนาจในทางที่ผิด เหลวไหล แต่คนที่จะมาทำตรงนี้ จะต้องมีที่มาที่ไปที่รับกันได้ คือ มีความรับผิดชอบต่อประชาชน หรือมีกลไกที่ทำให้เกิดความมั่นใจว่า มีความเป็นกลางจนเป็นที่ยอมรับ และผมไม่ปฏิเสธว่า ในสถานการณ์คับขันอาจจะต้องมีการใช้อำนาจพิเศษบางอย่าง เพื่อระงับยับยั้ง ไม่ให้เกิดความเสียหาย แต่ต้องไม่ใช่การทำกลไกถาวรในลักษณะรัฐซ้อนรัฐ และหากจะใช้กลไกเหล่านี้ มาทำเรื่องการปฏิรูป ก็ต้องบอกให้ชัดว่าจะปฏิรูป อะไร ไม่ใช่พุดลอยๆ เพราะจนถึงขณะนี้ยังไม่รู้ว่า จะปฏิรูปในทิศทางไหน แต่สร้างกลไกบังคับให้รัฐบาลเดิน ซ้าย ขวา ทั้งที่ยังไม่รู้ว่า จะปฏิรูปอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม"
** กรธ.ต้องมีอิสระ ไม่เขียนตามใบสั่ง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนอยากให้ กรธ. มีความอิสระในการร่างรัฐธรรมนูญในระดับหนึ่ง ซึ่งที่ผ่านมาตน ย้ำว่า กรรมการจะทำงานอะไร ตามใจใคร ต้องให้ประชาชนเห็นชอบ ฉะนั้นการจะไปตามใจ หรือใครกำหนดธงอย่างไรไม่ได้ช่วยให้ กรธ.ทำงานได้ เพราะเขาต้องเป็นคนเอาร่างนี้ไปให้ประชาชนเห็นชอบ ที่ผ่านมา กมธ.ยกร่างฯ ชุดที่แล้ว ยังทำงานตามคำขอของทางครม. นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ผลที่ออกมามันสะท้อนว่าเกิดปัญหาขึ้น ฉะนั้นน่าจะเป็นบทเรียนสำหรับ กรธ.ชุดใหม่ ว่า ถ้าทำตามคำขอ และประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นชอบด้วย สิ่งที่ทำไปก็จะสูญเปล่า ส่วนจะเป็นบทเรียนสำหรับ กรธ.ชุดใหม่ หรือคสช. และ รัฐบาล หรือไม่ ตรงนี้เราไปห้ามคนคิดไม่ได้ แต่ว่าคนที่มีหน้าที่ที่จะเขียน ต้องรับผิดชอบตัวเอง
เมื่อถามต่อว่า แต่ถ้ารัฐธรรมนูญที่จะร่างไม่ผ่าน คนมีอำนาจก็ยังอยู่ในอำนาจ และร่าง รธน.ต่อไปเรื่อยๆ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าตรงนั้นเป็นการมองในมุมของกฎหมาย แต่ควรจะต้องมองสภาพความเป็นจริงของสังคม และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประเทศ อย่าไปมองแค่เพียงว่า เมื่อรธน.ไม่ผ่านแล้วเราก็อยู่ได้ ไม่ต้องตั้งใจให้มันผ่าน หรืออะไรอย่างนั้น ต้องมองว่า ถ้ามันไม่ผ่านอีก สภาพของสังคมจะเป็นอย่างไร ประชาคมโลกจะมองเราอย่างไร ปัญหาที่จะตามมาอย่างเรื่องเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชาชน จะเป็นอย่างไร
ส่วนถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่านใครจะต้องรับผิดชอบนอกจาก คสช.นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คงไม่ใช่ คสช. แต่คนรับผิดชอบคือ คนที่เขียนรธน. ซึ่งก็จะเหมือนในยุคก่อนๆ ที่เราเคยพูดว่า เวลาที่ฝ่ายเรื่องไปบอกให้ฝ่ายเจ้าหน้าที่หรือราชการทำในสิ่วงที่ไม่ถูกต้อง แล้วไปคิดว่าเขาขอมาเขาสั่งมา แล้วก้ไปทำตาม สุดท้ายคุณก็จะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่คุณทำตามอำนาจหน้าที่ ตรงนี้ก็เช่นกัน หากใครไปขออะไรแล้วคุณไปทำ คุณต้องรับผิดชอบการตัดสินใจตัวเอง 21 คนต้องคิดแบบนี้ ต้องดูความเจ็บปวดของนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯเป็นตัวอย่าง ดังนั้น 21 คนจะมีความหมายหรือไม่ขึ้นอยู่กับเจ้าตัวแม้จะมีการร้องขอ แต่ก็ขึ้นอยู่กับคนเขียนว่าจะเขียนอย่างไร
สำหรับกรณีที่ นายกฯ เองก็ตั้งสเปก และมีธงไว้ชัดเจนว่า จะทำอะไรจะต้องตรงตามเป้าหมายที่รัฐบาลต้องการ จะทำให้ กรธ. ขาดอิสระหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตรงนี้ตนไม่ทราบ แต่กลไกเหล่านี้เขาก็มีสิทธิ์ที่จะทำความเห็น และรัฐธรรมนูญชั่วคราวเองก็เปิดโอกาสให้หลายองค์กร ทำความเห็นไปได้แต่ก็เป็นแค่ความเห็น อำนาจหน้าที่อยู่ที่ผู้เขียน และผู้ร่าง ซึ่งคนที่ตัดสินใจมาทำงานตรงนี้ ก็จะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ทำ และหากจะไปเขียนตามคนนั้นคนนี้สั่ง ก็ให้คนสั่งมาเขียนเองเลย
ทั้งนี้ เห็นว่าที่ผ่านมาอาจจะมีกระบวนการเจรจาต่อรองกันอยู่ คนที่เป็นคนร่าง จะเป็นคนยืนยันข้อเท็จจริงได้ดีที่สุด แต่สุดท้าย คนอนุมัติก็คือ ประชาชน เพราะหากไม่ผ่านความเห็นชอบของประชาชน ทุกอย่างก็สูญเปล่า
**ร่างรธน.ไม่ถึง10ปี เหมือนยุค"สฤษดิ์"
ผู้สื่อข่าวถามว่าที่ผ่านมามีประวัติศาสตร์การเมืองมาแล้วว่าประเทศไทยใช้เวลาร่างรัฐธรรมนูญกว่า10 ปีแล้ว ในยุค จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายอภิสิทธิ์ ย้อนถามว่า แล้วตอนนี้มันยุคไหนแล้ว เราอยากจะกลับไปยาวนานขนาดนั้นหรือ เวลานี้มีแต่ทุกคนอยากให้ประเทศเดินหน้า แต่ประเทศ ถ้าจะเดินหน้าไม่ได้เดินอยู่ตัวคนเดียว จะต้องเดินไปกับสังคมโลก เราต้องรองรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ตนไม่เชื่อว่าใครอยากจะย้อนกลับไปแบบนั้น
"ผมคิดว่ายาก ที่จะเดินไปในเส้นทางแบบนั้น เพราะดูได้จากสภาพสังคม บ้านเมืองจะต้องเดินหน้าอย่างสงบ ประชาชนต้องมีความหวัง ได้รับการตอบสนอง ถ้าเราเดินวนเวียนไปมาไม่จบสิ้น จะไม่ตอบโจทย์ใครเลย แต่ผมไม่เชื่อและเชื่อความตั้งใจของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่บอกว่าอยากให้ประเทศชาติเดินหน้า ประเทศสงบ ก็ต้องคำนึงถึงความเป็นจริงของสังคม หากจะปฏิรูปพรรคการเมือง ควรทำ 1. อนุญาตให้พรรคการเมืองไปจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองกันตั้งแต่วันนี้ และ 2. เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองประชุมทำกิจกรรมเพื่อปฏิรูปพรรคตัวเอง ห้ามทำกิจกรรมที่กระทบกับความมั่นคง ถึงจะเรียกว่ามาช่วยกันปฏิรูปพรรคการเมือง เพื่อให้การเมืองเดินไปข้างหน้า" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวด้วยว่า แม้แต่รัฐธรรมนูญฉบับที่ถูกคว่ำไป ก็ยังมีการลดทอนอำนาจ ป.ป.ช. ในเรื่องการไต่สวนข้อเท็จจริง ทำให้มีการแยกส่วน จนอาจส่งผลต่อระบบการไต่สวนที่ทำให้อาจถูกตัดตอนจนหาผู้บงการไม่ได้ และยังมีการเปิดโอกาสให้นักการเมืองทุจริต มีช่องทางต่อสู้ที่ยืดเยื้อมากขึ้น ทั้งนี้ การจะเขียนกฎหมายต้องช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปราบปรามการทุจริต ซึ่งต้องใช้ความร่วมมือจากหลายฝ่าย แต่ถ้าไปแยกกันก็จะทำให้ไม่มีประสทิธิภาพในการเอาคนผิดมาลงโทษ
**ติง"วิษณุ"ใช้คำพูดไม่เหมาะสม
นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี นายวิษณุ เครืองาม พูดถึงสูตรพิสดาร ที่อาจให้พรรคการเมืองต้องจดทะเบียนใหม่ แล้วกล่าวว่าไม่ได้ชี้ช่อง หรือชี้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น และกล่าวด้วยว่า ช่วยกันคิดด้วยสติปัญญา เอาฝ่าเท้ายกขึ้นมา นวดฝ่าเท้าสักทีแล้วตรองหน่อยนั้น ตนคิดว่า นายวิษณุ จะพูดอย่างไรก็ได้ แต่ข้อเท็จจริงนักวิชาการผู้ใกล้ชิดทหารบอกตนนานแล้วว่า เขาต้องการทำพรรคการเมืองให้เล็กลง ต่อไปพรรคขนาดใหญ่ ไม่มีแล้ว ธงในการร่างรัฐธรรมนูญ ก็ออกมาแบบนั้น แล้วนายวิษณุ จะปฏิเสธว่าไม่ได้ชี้ช่องได้อย่างไร ท่านรู้ทั้งหมดว่าอะไรจะเกิดขึ้น เพียงแต่จะพูดหรือไม่เท่านั้น ถ้าท่านยังยืนยัน ท่านกล้าสาบานเรื่องนี้กลางสายฝนหรือไม่
"ไม่คาดคิดว่านายวิษณุ ซึ่งมีตำแหน่งเป็นถึงรองนายกรัฐมนตรี เป็นอาจารย์กฎหมายอาวุโสหลายมหาวิทยาลัย จะพูดถึงขนาดเอาฝาเท้ายกขึ้นมา ถือว่าพิสดารมาก ไม่เคยปรากฏมาก่อนในสังคมไทย เพราะเคยมีแต่คนบอกว่าให้ใช้สมองตรองหน่อย นี่ท่านถึงขนาดเอาฝาเท้ายกขึ้นมาแล้วตรองหน่อย เป็นที่สุดของความพิสดารจริงๆ แต่ถ้าเยาวชนเอาเป็นแบบอย่าง ก็ถือว่าขัดค่านิยม 12 ประการของคสช.ทันที เพราะขัดต่อประเพณี
วัฒนธรรมของคนไทย ท่านเป็นถึงครูบาอาจารย์ ควรควบคุมโมหะจริตในจิตใจก่อนที่จะแสดงวาจาออกมา และที่สำคัญคือ ท่านเป็นผู้มีอำนาจที่ให้คำแนะนำในข้อกฎหมายกับคสช. และรัฐบาลยามหน้าสิ่วหน้าขวาน ท่านจึงต้องยิ่งมีนิติคุณธรรมเหนืออคติทั้งปวง ในอดีต ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี เคยยกเท้าขึ้นมาแล้วกล่าวว่า กูไม่กลัวมึง ผมก็อยากจะบอกท่านว่า สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เกือบ 3 ล้านคน ก็ไม่กลัวท่าน" นายวัชระ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่าถ้าคณะทำงานชุดใหม่เข้ามา ร่างฉบับเดิมมีดีอยู่มากมาย ก็ไม่ต้องไปยุ่งเลย ภายใน 2 วัน ก็ได้ตั้งร้อยกว่ามาตรา ตรงนี้ก็เป็นเหตุผลว่า จำเป็นจะต้องทำกันถึง 6 เดือนหรือไม่ แต่ถ้าคณะทำงานเข้ามาแล้ว พูดว่าจะต้องเริ่มต้นกันใหม่หมด ก็อาจจะเป็น 6 เดือน ทุกอย่างต้องเอาเหตุ และผล มาว่ากันว่าอะไรเหมาะสม ดูจากเนื้อหาสาระ เช่น สิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน ก็นำข้อทักท้วงข้อติติง ประเด็นต่างๆ มาพิจารณา มีการระดมความเห็น หาข้อยุติ และดำเนินการเดินหน้าต่อไป ส่วนเรื่อง คปป. ยังเป็นเรื่องที่สำคัญ หากจะให้มีในรัฐธรรมนูญต้องดูว่า มีแบบไหน อย่างไร อำนาจหน้าที่เป็นอย่างไร
" ผมเป็นคนหนึ่งที่ค้าน คปป. แต่ไม่ปฏิเสธแนวคิดที่บอกว่า อาจจะต้องมีกลไกที่มา คือ สามารถระงับยับยั้ง หรือถ่วงดุลไม่ให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ใช้อำนาจในทางที่ผิด เหลวไหล แต่คนที่จะมาทำตรงนี้ จะต้องมีที่มาที่ไปที่รับกันได้ คือ มีความรับผิดชอบต่อประชาชน หรือมีกลไกที่ทำให้เกิดความมั่นใจว่า มีความเป็นกลางจนเป็นที่ยอมรับ และผมไม่ปฏิเสธว่า ในสถานการณ์คับขันอาจจะต้องมีการใช้อำนาจพิเศษบางอย่าง เพื่อระงับยับยั้ง ไม่ให้เกิดความเสียหาย แต่ต้องไม่ใช่การทำกลไกถาวรในลักษณะรัฐซ้อนรัฐ และหากจะใช้กลไกเหล่านี้ มาทำเรื่องการปฏิรูป ก็ต้องบอกให้ชัดว่าจะปฏิรูป อะไร ไม่ใช่พุดลอยๆ เพราะจนถึงขณะนี้ยังไม่รู้ว่า จะปฏิรูปในทิศทางไหน แต่สร้างกลไกบังคับให้รัฐบาลเดิน ซ้าย ขวา ทั้งที่ยังไม่รู้ว่า จะปฏิรูปอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม"
** กรธ.ต้องมีอิสระ ไม่เขียนตามใบสั่ง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนอยากให้ กรธ. มีความอิสระในการร่างรัฐธรรมนูญในระดับหนึ่ง ซึ่งที่ผ่านมาตน ย้ำว่า กรรมการจะทำงานอะไร ตามใจใคร ต้องให้ประชาชนเห็นชอบ ฉะนั้นการจะไปตามใจ หรือใครกำหนดธงอย่างไรไม่ได้ช่วยให้ กรธ.ทำงานได้ เพราะเขาต้องเป็นคนเอาร่างนี้ไปให้ประชาชนเห็นชอบ ที่ผ่านมา กมธ.ยกร่างฯ ชุดที่แล้ว ยังทำงานตามคำขอของทางครม. นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ผลที่ออกมามันสะท้อนว่าเกิดปัญหาขึ้น ฉะนั้นน่าจะเป็นบทเรียนสำหรับ กรธ.ชุดใหม่ ว่า ถ้าทำตามคำขอ และประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นชอบด้วย สิ่งที่ทำไปก็จะสูญเปล่า ส่วนจะเป็นบทเรียนสำหรับ กรธ.ชุดใหม่ หรือคสช. และ รัฐบาล หรือไม่ ตรงนี้เราไปห้ามคนคิดไม่ได้ แต่ว่าคนที่มีหน้าที่ที่จะเขียน ต้องรับผิดชอบตัวเอง
เมื่อถามต่อว่า แต่ถ้ารัฐธรรมนูญที่จะร่างไม่ผ่าน คนมีอำนาจก็ยังอยู่ในอำนาจ และร่าง รธน.ต่อไปเรื่อยๆ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าตรงนั้นเป็นการมองในมุมของกฎหมาย แต่ควรจะต้องมองสภาพความเป็นจริงของสังคม และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประเทศ อย่าไปมองแค่เพียงว่า เมื่อรธน.ไม่ผ่านแล้วเราก็อยู่ได้ ไม่ต้องตั้งใจให้มันผ่าน หรืออะไรอย่างนั้น ต้องมองว่า ถ้ามันไม่ผ่านอีก สภาพของสังคมจะเป็นอย่างไร ประชาคมโลกจะมองเราอย่างไร ปัญหาที่จะตามมาอย่างเรื่องเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชาชน จะเป็นอย่างไร
ส่วนถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่านใครจะต้องรับผิดชอบนอกจาก คสช.นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คงไม่ใช่ คสช. แต่คนรับผิดชอบคือ คนที่เขียนรธน. ซึ่งก็จะเหมือนในยุคก่อนๆ ที่เราเคยพูดว่า เวลาที่ฝ่ายเรื่องไปบอกให้ฝ่ายเจ้าหน้าที่หรือราชการทำในสิ่วงที่ไม่ถูกต้อง แล้วไปคิดว่าเขาขอมาเขาสั่งมา แล้วก้ไปทำตาม สุดท้ายคุณก็จะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่คุณทำตามอำนาจหน้าที่ ตรงนี้ก็เช่นกัน หากใครไปขออะไรแล้วคุณไปทำ คุณต้องรับผิดชอบการตัดสินใจตัวเอง 21 คนต้องคิดแบบนี้ ต้องดูความเจ็บปวดของนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯเป็นตัวอย่าง ดังนั้น 21 คนจะมีความหมายหรือไม่ขึ้นอยู่กับเจ้าตัวแม้จะมีการร้องขอ แต่ก็ขึ้นอยู่กับคนเขียนว่าจะเขียนอย่างไร
สำหรับกรณีที่ นายกฯ เองก็ตั้งสเปก และมีธงไว้ชัดเจนว่า จะทำอะไรจะต้องตรงตามเป้าหมายที่รัฐบาลต้องการ จะทำให้ กรธ. ขาดอิสระหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตรงนี้ตนไม่ทราบ แต่กลไกเหล่านี้เขาก็มีสิทธิ์ที่จะทำความเห็น และรัฐธรรมนูญชั่วคราวเองก็เปิดโอกาสให้หลายองค์กร ทำความเห็นไปได้แต่ก็เป็นแค่ความเห็น อำนาจหน้าที่อยู่ที่ผู้เขียน และผู้ร่าง ซึ่งคนที่ตัดสินใจมาทำงานตรงนี้ ก็จะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ทำ และหากจะไปเขียนตามคนนั้นคนนี้สั่ง ก็ให้คนสั่งมาเขียนเองเลย
ทั้งนี้ เห็นว่าที่ผ่านมาอาจจะมีกระบวนการเจรจาต่อรองกันอยู่ คนที่เป็นคนร่าง จะเป็นคนยืนยันข้อเท็จจริงได้ดีที่สุด แต่สุดท้าย คนอนุมัติก็คือ ประชาชน เพราะหากไม่ผ่านความเห็นชอบของประชาชน ทุกอย่างก็สูญเปล่า
**ร่างรธน.ไม่ถึง10ปี เหมือนยุค"สฤษดิ์"
ผู้สื่อข่าวถามว่าที่ผ่านมามีประวัติศาสตร์การเมืองมาแล้วว่าประเทศไทยใช้เวลาร่างรัฐธรรมนูญกว่า10 ปีแล้ว ในยุค จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายอภิสิทธิ์ ย้อนถามว่า แล้วตอนนี้มันยุคไหนแล้ว เราอยากจะกลับไปยาวนานขนาดนั้นหรือ เวลานี้มีแต่ทุกคนอยากให้ประเทศเดินหน้า แต่ประเทศ ถ้าจะเดินหน้าไม่ได้เดินอยู่ตัวคนเดียว จะต้องเดินไปกับสังคมโลก เราต้องรองรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ตนไม่เชื่อว่าใครอยากจะย้อนกลับไปแบบนั้น
"ผมคิดว่ายาก ที่จะเดินไปในเส้นทางแบบนั้น เพราะดูได้จากสภาพสังคม บ้านเมืองจะต้องเดินหน้าอย่างสงบ ประชาชนต้องมีความหวัง ได้รับการตอบสนอง ถ้าเราเดินวนเวียนไปมาไม่จบสิ้น จะไม่ตอบโจทย์ใครเลย แต่ผมไม่เชื่อและเชื่อความตั้งใจของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่บอกว่าอยากให้ประเทศชาติเดินหน้า ประเทศสงบ ก็ต้องคำนึงถึงความเป็นจริงของสังคม หากจะปฏิรูปพรรคการเมือง ควรทำ 1. อนุญาตให้พรรคการเมืองไปจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองกันตั้งแต่วันนี้ และ 2. เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองประชุมทำกิจกรรมเพื่อปฏิรูปพรรคตัวเอง ห้ามทำกิจกรรมที่กระทบกับความมั่นคง ถึงจะเรียกว่ามาช่วยกันปฏิรูปพรรคการเมือง เพื่อให้การเมืองเดินไปข้างหน้า" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวด้วยว่า แม้แต่รัฐธรรมนูญฉบับที่ถูกคว่ำไป ก็ยังมีการลดทอนอำนาจ ป.ป.ช. ในเรื่องการไต่สวนข้อเท็จจริง ทำให้มีการแยกส่วน จนอาจส่งผลต่อระบบการไต่สวนที่ทำให้อาจถูกตัดตอนจนหาผู้บงการไม่ได้ และยังมีการเปิดโอกาสให้นักการเมืองทุจริต มีช่องทางต่อสู้ที่ยืดเยื้อมากขึ้น ทั้งนี้ การจะเขียนกฎหมายต้องช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปราบปรามการทุจริต ซึ่งต้องใช้ความร่วมมือจากหลายฝ่าย แต่ถ้าไปแยกกันก็จะทำให้ไม่มีประสทิธิภาพในการเอาคนผิดมาลงโทษ
**ติง"วิษณุ"ใช้คำพูดไม่เหมาะสม
นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี นายวิษณุ เครืองาม พูดถึงสูตรพิสดาร ที่อาจให้พรรคการเมืองต้องจดทะเบียนใหม่ แล้วกล่าวว่าไม่ได้ชี้ช่อง หรือชี้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น และกล่าวด้วยว่า ช่วยกันคิดด้วยสติปัญญา เอาฝ่าเท้ายกขึ้นมา นวดฝ่าเท้าสักทีแล้วตรองหน่อยนั้น ตนคิดว่า นายวิษณุ จะพูดอย่างไรก็ได้ แต่ข้อเท็จจริงนักวิชาการผู้ใกล้ชิดทหารบอกตนนานแล้วว่า เขาต้องการทำพรรคการเมืองให้เล็กลง ต่อไปพรรคขนาดใหญ่ ไม่มีแล้ว ธงในการร่างรัฐธรรมนูญ ก็ออกมาแบบนั้น แล้วนายวิษณุ จะปฏิเสธว่าไม่ได้ชี้ช่องได้อย่างไร ท่านรู้ทั้งหมดว่าอะไรจะเกิดขึ้น เพียงแต่จะพูดหรือไม่เท่านั้น ถ้าท่านยังยืนยัน ท่านกล้าสาบานเรื่องนี้กลางสายฝนหรือไม่
"ไม่คาดคิดว่านายวิษณุ ซึ่งมีตำแหน่งเป็นถึงรองนายกรัฐมนตรี เป็นอาจารย์กฎหมายอาวุโสหลายมหาวิทยาลัย จะพูดถึงขนาดเอาฝาเท้ายกขึ้นมา ถือว่าพิสดารมาก ไม่เคยปรากฏมาก่อนในสังคมไทย เพราะเคยมีแต่คนบอกว่าให้ใช้สมองตรองหน่อย นี่ท่านถึงขนาดเอาฝาเท้ายกขึ้นมาแล้วตรองหน่อย เป็นที่สุดของความพิสดารจริงๆ แต่ถ้าเยาวชนเอาเป็นแบบอย่าง ก็ถือว่าขัดค่านิยม 12 ประการของคสช.ทันที เพราะขัดต่อประเพณี
วัฒนธรรมของคนไทย ท่านเป็นถึงครูบาอาจารย์ ควรควบคุมโมหะจริตในจิตใจก่อนที่จะแสดงวาจาออกมา และที่สำคัญคือ ท่านเป็นผู้มีอำนาจที่ให้คำแนะนำในข้อกฎหมายกับคสช. และรัฐบาลยามหน้าสิ่วหน้าขวาน ท่านจึงต้องยิ่งมีนิติคุณธรรมเหนืออคติทั้งปวง ในอดีต ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี เคยยกเท้าขึ้นมาแล้วกล่าวว่า กูไม่กลัวมึง ผมก็อยากจะบอกท่านว่า สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เกือบ 3 ล้านคน ก็ไม่กลัวท่าน" นายวัชระ กล่าว