ประสาท มีแต้ม
กรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน
คำว่า “Prosumer” เป็นคำที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยผู้เขียนหนังสือที่ขายดีมากเล่มหนึ่งของโลกเมื่อ 35 ปีก่อนที่ชื่อ “คลื่นลูกที่สาม (The Third Wave, 1980)” เขาผู้นั้นคือ Alvin Toffler ซึ่งเป็นผู้สนใจศึกษาเรื่องอนาคต
Prosumer มีความหมายว่า “ผลิตโดยผู้บริโภค (Production by Consumer)” Toffler ได้พยากรณ์ว่าในอนาคต (ไม่ได้บอกว่าในปีใด) บทบาทของผู้ผลิตสินค้ากับผู้บริโภคจะแยกออกจากกันได้อย่างไม่ชัดเจนหรือเรียกว่าพร่ามัวหรือเบลอๆ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่าในอนาคตผู้บริโภคจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตแม้ว่าการผลิตยังจะคงเป็นแบบผลิตจำนวนมาก (Mass Production) และยังคงรักษาระดับมาตรฐานอยู่ แต่จะต้องผลิตตามความต้องการเฉพาะกลุ่มของลูกค้าซึ่งมีความหลากหลายด้วย Toffler จึงได้ประดิษฐ์คำว่า “ผลิตโดยผู้บริโภค (Prosumer)” ขึ้นมาเมื่อ 35 ปีมาแล้ว
มาวันนี้ ผมเข้าใจว่า คำว่า Prosumer มีความชัดเจนและกำลังจะเป็นจริงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองจากหลังคาบ้านตนเองด้วยแผงโซลาร์เซลล์ หากมีเหลือก็สามารถแบ่งปันหรือจำหน่ายให้กับบ้านข้างเคียงผ่านระบบสายส่งของการไฟฟ้าได้ ดังนั้น ความเป็นผู้บริโภคกับผู้ผลิตจึงอยู่ในคนคนเดียวกัน บทบาทของผู้ใช้ไฟฟ้า (ผู้บริโภค) ซึ่งเคยมีหน้าที่แค่จ่ายเงินตามใบเรียกเก็บเงินเพียงอย่างเดียว ก็จะเปลี่ยนไปเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค (Prosumer)
เรื่องดังกล่าวไม่ใช่เป็นแค่ความภูมิใจหรือเรื่องศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (ที่รักความเป็นอิสระและร่วมรับผิดชอบต่อสังคม) เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่หมายถึงการลดรายจ่ายและการสร้างรายได้ให้กับครอบครัวด้วย
จากการสำรวจค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าของครอบครัวไทยทั่วประเทศ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ในปี 2553 ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยครอบครัวละ 491 บาทต่อเดือน โดยเพิ่มจากปีก่อนที่ 440 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 ผมนำข้อมูลค่าใช้จ่ายด้านพลังงานอื่นๆ มาลงให้ดูด้วยครับ (หมายเหตุ อัตราการเพิ่มมาจากอัตราค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นประมาณปีละ 4% และปริมาณไฟฟ้าที่ใช้มากขึ้นด้วย) ดังนั้น เราสามารถคำนวณได้ว่า ในปี 2558 ค่าใช้จ่ายเรื่องด้านไฟฟ้าของครอบครัวไทยโดยเฉลี่ยเดือนละประมาณ 850 บาท
ข้อมูลค่าใช้จ่ายในสไลด์คือสิ่งที่สมาชิกในครัวเรือนในสังคมไทยปัจจุบันได้ถูกบังคับให้เป็นผู้บริโภคเพียงอย่างเดียว ทั้งๆ ที่บางอย่างในนั้นเราเคยเป็นผู้ผลิตเองมาก่อน เช่น ไม้ฟืน และไบโอดีเซล เป็นต้น
ด้วยทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างที่เราเป็นกันอยู่พบว่า หนี้ครัวเรือนของประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ หนังสือพิมพ์คมชัดลึก (19 กันยายน 58) ระบุว่า “ใน 2557 ที่ผ่านมา หนี้ครัวเรือนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นสูงถึงกว่า 84% ต่อจีดีพี เมื่อเทียบกับปี 2551 อยู่ที่ 55.6% และภายในไม่กี่ปีก็จะแตะระดับ 100% ของจีดีพี” (ภาคครัวเรือนมีรายได้ประมาณ 1 ใน 4 ของจีดีพี เท่านั้น ที่เหลือเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกของภาคธุรกิจ)
ผมไม่อยากแตกประเด็นออกไปจากชื่อบทความมากเกินไปครับแต่นำมาลงเพื่อจะบอกว่า ถ้าผู้บริโภคไม่คิดหาหนทางที่จะหลุดออกจากการเป็นผู้บริโภคเพียงอย่างเดียว โดยไม่คิดจะเป็น Prosumer แล้วไซร้ ครอบครัวไทยก็จะมีหนี้ท่วมหัวอย่างแน่นอน
สาระสำคัญของบทความนี้อยู่ที่ความเป็น Prosumer โดยการนำร่องด้วยการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองแต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้น ผมขออนุญาตพูดถึงคลื่นทั้ง 3 ลูกของ Toffler อย่างสั้นๆ เพื่อเป็นข้อคิดและเป็นเกียรติให้กับผู้คิดถึงอนาคตด้วยแผ่นสไลด์ข้างล่างนี้โปรดสังเกตว่าคลื่นลูกหลังจะใช้เวลาสั้นกว่าลูกแรกๆ นับสิบเท่าตัว ดังนั้นใครที่ตามโลกไม่ทันก็จะกลายเป็นผู้ล้าหลังนับสิบเท่าตัวเช่นกัน
กลับมาที่การผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์ของประเทศไทยครับ
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้นำรายงานการศึกษาจากสหรัฐอเมริกามาเล่าให้ฟังว่า การลงทุนติดโซลาร์เซลล์ใน 46 จาก50 เมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจะได้ผลตอบแทนมากกว่าการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และใน 42 เมืองดังกล่าวนี้ ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าบนหลังคาบ้านต่อหน่วยต่ำกว่าที่ซื้อจากบริษัทไฟฟ้า
ในวันนี้ ผมจะลองคิดผลตอบแทนการลงทุนติดโซลาร์เซลล์ในประเทศไทยเพื่อใช้เอง โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการอุดหนุนใดๆ จากรัฐบาล ผลตอบแทนขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย คือ
หนึ่ง ราคาค่าไฟฟ้าต่อหน่วยในปัจจุบันและในอนาคต ผมได้ลองค้นข้อมูลย้อนหลัง 4 ปี พบว่าค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3-4% ต่อปี โดยที่อัตราต่อหน่วยจะเพิ่มขึ้นแบบขั้นบันไดคือยิ่งใช้ไฟฟ้ามากค่าไฟฟ้าต่อหน่วยจะเพิ่มขึ้น ปี 2558 อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าเดือนละ 621 หน่วยเมื่อรวมค่าเอฟทีและภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วเท่ากับ 4.37 บาทต่อหน่วย (ไม่คิดค่าบริการ 38.22 บาท-ซึ่งไม่ทราบว่าบริการอะไร) จึงประมาณได้ว่าในอีก 25 ปีข้างหน้า ค่าไฟฟ้าจะอยู่ที่ประมาณ 9 ถึง 12 บาทต่อหน่วย
สอง จำนวนไฟฟ้าที่ผลิตได้ในหนึ่งปี ข้อมูลจากบ้านหลังหนึ่งในกรุงเทพมหานครจะได้ 1,490 หน่วยต่อกิโลวัตต์ต่อปี (คิดจากการผลิตจริง 7 เดือน) ในขณะที่ข้อมูลการผลิตจริงทั้งปีในจังหวัดอุบลราชธานี ขนาด 1,021 กิโลวัตต์ โดย EGAT ได้ไฟฟ้า 1.760 ล้านหน่วย หรือเฉลี่ย 1,723 หน่วยต่อกิโลวัตต์ (จาก Thailand PV Status Report 2011) แต่ในการคำนวณในที่นี้ผมใช้ตัวเลขที่ 1,490 หน่วย ผลการคำนวณ ผมได้สรุปไว้ในแผ่นสไลด์ข้างล่างครับ
โดยสรุป ผลตอบแทนจากการลงทุนจะอยู่ระหว่าง 13.5% ต่อปี (สำหรับผู้ลงทุนที่ค่อนข้างแพงและค่าไฟฟ้าค่อนข้างต่ำ) จนถึง 17.9% ต่อปี (ดูตาราง) มันดีกว่าการนำเงินไปฝากธนาคารถึง 4 ถึง 5 เท่าตัว
ถ้าลงทุนติดขนาด 0.72 กิโลวัตต์ ลงทุนประมาณ 3.2 ถึง 3.7 หมื่นบาท (ผลิตไฟฟ้าได้ประมาณเดือนละ 89 หน่วย) จะได้ผลตอบแทนร้อยละ 13.8 ถึง 19.6 ต่อปี ปัจจุบันผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือน (ประเภท 1.1 มิเตอร์ 5 แอมป์) จะได้ใช้ไฟฟ้าฟรี แต่ถ้าเกิน 50 หน่วยจะต้องจ่ายทั้งหมด ความจริงการติดตั้งในบ้านที่มีพื้นที่มากในชนบท ต้นทุนจะถูกกว่านี้และง่ายเหมือนกับการตากปลาแห้ง หากไม่มีเงินจริงๆ ก็อาจใช้วิธีการของชาวบ้านคือการเล่นแชร์
ถ้าเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ค่าไฟฟ้าจะถูกลงมาหน่อยหากลงทุนติดตั้งขนาด 30 กิโลวัตต์ ประมาณ 1.5 ถึง 1.7 ล้านบาท จะได้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 11.4 ถึง 17.3%
แต่ขอย้ำว่านี่เป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น ราคาที่แท้จริงขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ยี่ห้อของอุปกรณ์และความยากง่ายของการติดตั้ง ผมเคยถามช่างคนหนึ่งได้ความว่า ค่าแรงในการติดตั้งอยู่ระหว่าง 5,000 ถึง 20,000 บาทต่อกิโลวัตต์ ถ้าเป็นดาดฟ้าเรียบๆ ค่าแรง 5 พันบาทก็หวานแล้ว
คุณหมอท่านหนึ่งที่จังหวัดเชียงใหม่ เพิ่งส่งข้อความมาให้ผมว่า ท่านเลือกใช้ Inverter ยี่ห้อแพงๆ แต่ใช้ได้ไม่นานก็เสีย ตอนแรกๆ บริษัทไม่สนใจ แต่เมื่อคุณหมอบอกว่า ในเครือข่ายจะติดตั้งอีก 3 ชุด จะไม่ใช้ยี่ห้อนี้อีกต่อไปแล้ว ปรากฏว่าทางบริษัทต้องส่งตัวใหม่มาให้ พร้อมกับขอให้ส่งตัวเดิมคืนไป
ที่ผมเล่านี้เพื่อจะบอกว่า ของจริงมันมีอะไรที่ซับซ้อนอยู่มากครับ การศึกษาของผมก็ยังเป็นเบื้องต้นแต่นี่ก็ไม่ใช่เหตุผลที่ “Prosumer” จะอยู่เฉยๆ ใช่ไหมครับ?
ผมขอจบบทความนี้ด้วยการนำบทความวิชาการในประเทศสิงคโปร์มาสรุปให้ดูครับ เขาพาดหัวข่าวว่า “Singapore: From Centralised to Distributed Electricity Generation” ซึ่งก็เป็นหลักคิดเดียวกับที่ผมนำเสนอ คือการกระจายศูนย์ ภาพซ้ายมือเป็นการผลิตแบบรวมศูนย์ด้วยโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ส่วนภาพขวามือเป็นการกระจายการผลิตด้วยโซลาร์เซลล์บนหลังคา ที่เห็นเป็นจุดๆ สีแดงๆ จำนวนมากกว่า 640 จุดทั่วประเทศซึ่งได้ทำไปแล้วเมื่อปี 2014 สำหรับพื้นที่สีฟ้าเป็นโครงการที่ค้างอยู่ครับ
แต่ภายในอีก 10 ปีข้างหน้า สิงคโปร์จะมีการติดโซลาร์เซลล์อีกประมาณ 50,000 หลังคา รวมสะสมทั้งหมด 2,000 เมกะวัตต์ คาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 3% ของความต้องการทั้งปี (เยอรมนีประมาณ 6%) ในขณะที่ประเทศไทยเราซึ่งใหญ่กว่าสิงคโปร์กว่า 10 เท่าตัว ได้กำหนดไว้ในแผนพีดีพี 2015 ว่าอีก 20 ปีจะเพิ่มโซลาร์เซลล์เป็น 6,000 เมกะวัตต์ (และเป็นแผนที่ไม่มีวันเกิดขึ้นได้จริง เพราะโรงไฟฟ้าจากพลังงานฟอสซิลได้ยึดครองหมดแล้ว-ผมวิเคราะห์เอง)
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการจัดอันดับคุณภาพมหาวิทยาลัยของโลก พบว่าสิงคโปร์ติดอันดับ 11 ในขณะที่ของประเทศไทยได้อันดับเกือบ 600 ผมยังไม่รู้สึกอะไรมากเท่าไหร่ เพราะเรื่องมหาวิทยาลัยเป็นเรื่องที่ยากกว่าจะพัฒนาได้แต่เรื่องการติดตั้งโซลาร์เซลล์เป็นเรื่องง่ายๆ แต่สังคมไทยกลับปล่อยให้เราล้าหลังเละเทะได้ถึงเพียงนี้ เรียนตามตรงว่า ผมรู้สึกอับอายมาก ๆ ครับ
กรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน
คำว่า “Prosumer” เป็นคำที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยผู้เขียนหนังสือที่ขายดีมากเล่มหนึ่งของโลกเมื่อ 35 ปีก่อนที่ชื่อ “คลื่นลูกที่สาม (The Third Wave, 1980)” เขาผู้นั้นคือ Alvin Toffler ซึ่งเป็นผู้สนใจศึกษาเรื่องอนาคต
Prosumer มีความหมายว่า “ผลิตโดยผู้บริโภค (Production by Consumer)” Toffler ได้พยากรณ์ว่าในอนาคต (ไม่ได้บอกว่าในปีใด) บทบาทของผู้ผลิตสินค้ากับผู้บริโภคจะแยกออกจากกันได้อย่างไม่ชัดเจนหรือเรียกว่าพร่ามัวหรือเบลอๆ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่าในอนาคตผู้บริโภคจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตแม้ว่าการผลิตยังจะคงเป็นแบบผลิตจำนวนมาก (Mass Production) และยังคงรักษาระดับมาตรฐานอยู่ แต่จะต้องผลิตตามความต้องการเฉพาะกลุ่มของลูกค้าซึ่งมีความหลากหลายด้วย Toffler จึงได้ประดิษฐ์คำว่า “ผลิตโดยผู้บริโภค (Prosumer)” ขึ้นมาเมื่อ 35 ปีมาแล้ว
มาวันนี้ ผมเข้าใจว่า คำว่า Prosumer มีความชัดเจนและกำลังจะเป็นจริงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองจากหลังคาบ้านตนเองด้วยแผงโซลาร์เซลล์ หากมีเหลือก็สามารถแบ่งปันหรือจำหน่ายให้กับบ้านข้างเคียงผ่านระบบสายส่งของการไฟฟ้าได้ ดังนั้น ความเป็นผู้บริโภคกับผู้ผลิตจึงอยู่ในคนคนเดียวกัน บทบาทของผู้ใช้ไฟฟ้า (ผู้บริโภค) ซึ่งเคยมีหน้าที่แค่จ่ายเงินตามใบเรียกเก็บเงินเพียงอย่างเดียว ก็จะเปลี่ยนไปเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค (Prosumer)
เรื่องดังกล่าวไม่ใช่เป็นแค่ความภูมิใจหรือเรื่องศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (ที่รักความเป็นอิสระและร่วมรับผิดชอบต่อสังคม) เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่หมายถึงการลดรายจ่ายและการสร้างรายได้ให้กับครอบครัวด้วย
จากการสำรวจค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าของครอบครัวไทยทั่วประเทศ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ในปี 2553 ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยครอบครัวละ 491 บาทต่อเดือน โดยเพิ่มจากปีก่อนที่ 440 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 ผมนำข้อมูลค่าใช้จ่ายด้านพลังงานอื่นๆ มาลงให้ดูด้วยครับ (หมายเหตุ อัตราการเพิ่มมาจากอัตราค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นประมาณปีละ 4% และปริมาณไฟฟ้าที่ใช้มากขึ้นด้วย) ดังนั้น เราสามารถคำนวณได้ว่า ในปี 2558 ค่าใช้จ่ายเรื่องด้านไฟฟ้าของครอบครัวไทยโดยเฉลี่ยเดือนละประมาณ 850 บาท
ข้อมูลค่าใช้จ่ายในสไลด์คือสิ่งที่สมาชิกในครัวเรือนในสังคมไทยปัจจุบันได้ถูกบังคับให้เป็นผู้บริโภคเพียงอย่างเดียว ทั้งๆ ที่บางอย่างในนั้นเราเคยเป็นผู้ผลิตเองมาก่อน เช่น ไม้ฟืน และไบโอดีเซล เป็นต้น
ด้วยทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างที่เราเป็นกันอยู่พบว่า หนี้ครัวเรือนของประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ หนังสือพิมพ์คมชัดลึก (19 กันยายน 58) ระบุว่า “ใน 2557 ที่ผ่านมา หนี้ครัวเรือนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นสูงถึงกว่า 84% ต่อจีดีพี เมื่อเทียบกับปี 2551 อยู่ที่ 55.6% และภายในไม่กี่ปีก็จะแตะระดับ 100% ของจีดีพี” (ภาคครัวเรือนมีรายได้ประมาณ 1 ใน 4 ของจีดีพี เท่านั้น ที่เหลือเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกของภาคธุรกิจ)
ผมไม่อยากแตกประเด็นออกไปจากชื่อบทความมากเกินไปครับแต่นำมาลงเพื่อจะบอกว่า ถ้าผู้บริโภคไม่คิดหาหนทางที่จะหลุดออกจากการเป็นผู้บริโภคเพียงอย่างเดียว โดยไม่คิดจะเป็น Prosumer แล้วไซร้ ครอบครัวไทยก็จะมีหนี้ท่วมหัวอย่างแน่นอน
สาระสำคัญของบทความนี้อยู่ที่ความเป็น Prosumer โดยการนำร่องด้วยการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองแต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้น ผมขออนุญาตพูดถึงคลื่นทั้ง 3 ลูกของ Toffler อย่างสั้นๆ เพื่อเป็นข้อคิดและเป็นเกียรติให้กับผู้คิดถึงอนาคตด้วยแผ่นสไลด์ข้างล่างนี้โปรดสังเกตว่าคลื่นลูกหลังจะใช้เวลาสั้นกว่าลูกแรกๆ นับสิบเท่าตัว ดังนั้นใครที่ตามโลกไม่ทันก็จะกลายเป็นผู้ล้าหลังนับสิบเท่าตัวเช่นกัน
กลับมาที่การผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์ของประเทศไทยครับ
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้นำรายงานการศึกษาจากสหรัฐอเมริกามาเล่าให้ฟังว่า การลงทุนติดโซลาร์เซลล์ใน 46 จาก50 เมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจะได้ผลตอบแทนมากกว่าการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และใน 42 เมืองดังกล่าวนี้ ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าบนหลังคาบ้านต่อหน่วยต่ำกว่าที่ซื้อจากบริษัทไฟฟ้า
ในวันนี้ ผมจะลองคิดผลตอบแทนการลงทุนติดโซลาร์เซลล์ในประเทศไทยเพื่อใช้เอง โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการอุดหนุนใดๆ จากรัฐบาล ผลตอบแทนขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย คือ
หนึ่ง ราคาค่าไฟฟ้าต่อหน่วยในปัจจุบันและในอนาคต ผมได้ลองค้นข้อมูลย้อนหลัง 4 ปี พบว่าค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3-4% ต่อปี โดยที่อัตราต่อหน่วยจะเพิ่มขึ้นแบบขั้นบันไดคือยิ่งใช้ไฟฟ้ามากค่าไฟฟ้าต่อหน่วยจะเพิ่มขึ้น ปี 2558 อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าเดือนละ 621 หน่วยเมื่อรวมค่าเอฟทีและภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วเท่ากับ 4.37 บาทต่อหน่วย (ไม่คิดค่าบริการ 38.22 บาท-ซึ่งไม่ทราบว่าบริการอะไร) จึงประมาณได้ว่าในอีก 25 ปีข้างหน้า ค่าไฟฟ้าจะอยู่ที่ประมาณ 9 ถึง 12 บาทต่อหน่วย
สอง จำนวนไฟฟ้าที่ผลิตได้ในหนึ่งปี ข้อมูลจากบ้านหลังหนึ่งในกรุงเทพมหานครจะได้ 1,490 หน่วยต่อกิโลวัตต์ต่อปี (คิดจากการผลิตจริง 7 เดือน) ในขณะที่ข้อมูลการผลิตจริงทั้งปีในจังหวัดอุบลราชธานี ขนาด 1,021 กิโลวัตต์ โดย EGAT ได้ไฟฟ้า 1.760 ล้านหน่วย หรือเฉลี่ย 1,723 หน่วยต่อกิโลวัตต์ (จาก Thailand PV Status Report 2011) แต่ในการคำนวณในที่นี้ผมใช้ตัวเลขที่ 1,490 หน่วย ผลการคำนวณ ผมได้สรุปไว้ในแผ่นสไลด์ข้างล่างครับ
โดยสรุป ผลตอบแทนจากการลงทุนจะอยู่ระหว่าง 13.5% ต่อปี (สำหรับผู้ลงทุนที่ค่อนข้างแพงและค่าไฟฟ้าค่อนข้างต่ำ) จนถึง 17.9% ต่อปี (ดูตาราง) มันดีกว่าการนำเงินไปฝากธนาคารถึง 4 ถึง 5 เท่าตัว
ถ้าลงทุนติดขนาด 0.72 กิโลวัตต์ ลงทุนประมาณ 3.2 ถึง 3.7 หมื่นบาท (ผลิตไฟฟ้าได้ประมาณเดือนละ 89 หน่วย) จะได้ผลตอบแทนร้อยละ 13.8 ถึง 19.6 ต่อปี ปัจจุบันผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือน (ประเภท 1.1 มิเตอร์ 5 แอมป์) จะได้ใช้ไฟฟ้าฟรี แต่ถ้าเกิน 50 หน่วยจะต้องจ่ายทั้งหมด ความจริงการติดตั้งในบ้านที่มีพื้นที่มากในชนบท ต้นทุนจะถูกกว่านี้และง่ายเหมือนกับการตากปลาแห้ง หากไม่มีเงินจริงๆ ก็อาจใช้วิธีการของชาวบ้านคือการเล่นแชร์
ถ้าเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ค่าไฟฟ้าจะถูกลงมาหน่อยหากลงทุนติดตั้งขนาด 30 กิโลวัตต์ ประมาณ 1.5 ถึง 1.7 ล้านบาท จะได้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 11.4 ถึง 17.3%
แต่ขอย้ำว่านี่เป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น ราคาที่แท้จริงขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ยี่ห้อของอุปกรณ์และความยากง่ายของการติดตั้ง ผมเคยถามช่างคนหนึ่งได้ความว่า ค่าแรงในการติดตั้งอยู่ระหว่าง 5,000 ถึง 20,000 บาทต่อกิโลวัตต์ ถ้าเป็นดาดฟ้าเรียบๆ ค่าแรง 5 พันบาทก็หวานแล้ว
คุณหมอท่านหนึ่งที่จังหวัดเชียงใหม่ เพิ่งส่งข้อความมาให้ผมว่า ท่านเลือกใช้ Inverter ยี่ห้อแพงๆ แต่ใช้ได้ไม่นานก็เสีย ตอนแรกๆ บริษัทไม่สนใจ แต่เมื่อคุณหมอบอกว่า ในเครือข่ายจะติดตั้งอีก 3 ชุด จะไม่ใช้ยี่ห้อนี้อีกต่อไปแล้ว ปรากฏว่าทางบริษัทต้องส่งตัวใหม่มาให้ พร้อมกับขอให้ส่งตัวเดิมคืนไป
ที่ผมเล่านี้เพื่อจะบอกว่า ของจริงมันมีอะไรที่ซับซ้อนอยู่มากครับ การศึกษาของผมก็ยังเป็นเบื้องต้นแต่นี่ก็ไม่ใช่เหตุผลที่ “Prosumer” จะอยู่เฉยๆ ใช่ไหมครับ?
ผมขอจบบทความนี้ด้วยการนำบทความวิชาการในประเทศสิงคโปร์มาสรุปให้ดูครับ เขาพาดหัวข่าวว่า “Singapore: From Centralised to Distributed Electricity Generation” ซึ่งก็เป็นหลักคิดเดียวกับที่ผมนำเสนอ คือการกระจายศูนย์ ภาพซ้ายมือเป็นการผลิตแบบรวมศูนย์ด้วยโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ส่วนภาพขวามือเป็นการกระจายการผลิตด้วยโซลาร์เซลล์บนหลังคา ที่เห็นเป็นจุดๆ สีแดงๆ จำนวนมากกว่า 640 จุดทั่วประเทศซึ่งได้ทำไปแล้วเมื่อปี 2014 สำหรับพื้นที่สีฟ้าเป็นโครงการที่ค้างอยู่ครับ
แต่ภายในอีก 10 ปีข้างหน้า สิงคโปร์จะมีการติดโซลาร์เซลล์อีกประมาณ 50,000 หลังคา รวมสะสมทั้งหมด 2,000 เมกะวัตต์ คาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 3% ของความต้องการทั้งปี (เยอรมนีประมาณ 6%) ในขณะที่ประเทศไทยเราซึ่งใหญ่กว่าสิงคโปร์กว่า 10 เท่าตัว ได้กำหนดไว้ในแผนพีดีพี 2015 ว่าอีก 20 ปีจะเพิ่มโซลาร์เซลล์เป็น 6,000 เมกะวัตต์ (และเป็นแผนที่ไม่มีวันเกิดขึ้นได้จริง เพราะโรงไฟฟ้าจากพลังงานฟอสซิลได้ยึดครองหมดแล้ว-ผมวิเคราะห์เอง)
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการจัดอันดับคุณภาพมหาวิทยาลัยของโลก พบว่าสิงคโปร์ติดอันดับ 11 ในขณะที่ของประเทศไทยได้อันดับเกือบ 600 ผมยังไม่รู้สึกอะไรมากเท่าไหร่ เพราะเรื่องมหาวิทยาลัยเป็นเรื่องที่ยากกว่าจะพัฒนาได้แต่เรื่องการติดตั้งโซลาร์เซลล์เป็นเรื่องง่ายๆ แต่สังคมไทยกลับปล่อยให้เราล้าหลังเละเทะได้ถึงเพียงนี้ เรียนตามตรงว่า ผมรู้สึกอับอายมาก ๆ ครับ