**ตามตารางเวลาที่แย้มออกมาคร่าวๆ ก่อนหน้านี้ ทำให้มองเห็นว่า รายชื่อของคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จำนวน 21 คน ที่แต่งตั้งโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จะเสร็จเรียบร้อยก่อนเดินทางไปกล่าวสุนทรพจน์ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่วันที่ 23ก.ย. -1 ต.ค. พิจารณาตามนี้ ก็เหลือเวลาอีกไม่กี่วันก็จะได้รู้กันแล้วว่าเป็นใครบ้าง โดยไม่ต้องเสียเวลาคาดเดา
ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ ก็บอกใบ้มาอีกว่า ไม่มีพวกนักการเมืองเข้าร่วม ส่วนจะมีคณะกรรมาธิการชุดเก่า รวมทั้งพวกอดีตสภาปฏิรูปแห่งชาติร่วมด้วยหรือไม่ ก็ยังพูดไม่ชัด ซึ่งก็มีความเป็นไปได้ เพราะจะว่าไปแล้วระดับมือร่างรัฐธรรมนูญในประเทศไทย ก็วนเวียนอยู่ไม่กี่คน และระดับเซียนแบบยกร่างตามใจนึก ก็ดันอยู่ในช่วงสังขารร่วงโรยไปตามกาลเวลา ก็ยิ่งทำให้ตัวเลือกเหลือไม่มาก เอาเป็นว่าเที่ยวนี้ คณะกรรมาการยกร่างฯ ทั้งหมดก็ต้องเป็นคนที่ "ไว้ใจได้" ไม่มีพวกชอบขัดใจแปลกปลอมมาก็แล้วกัน เพราะมันมีผลต่ออนาคตในวันข้างหน้า โดยเฉพาะอนาคตของหัวหน้าคสช. และ คสช.โดยรวมนั่นเอง มันถึงต้อง"คัดเฉพาะคนรู้ใจ" จริงๆ
ที่ต้องพิจารณากันแบบนี้เพราะมันซีเรียส สถานการณ์นับจากนี้ไปมันจะตรงข้ามกับในช่วงกว่าหนึ่งปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นในแบบ นายกรัฐมนตรี หรือหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ สามารถ "ลอยตัว" ให้เหนือความขัดแย้งได้ อ้างว่าทุกอย่างยังอยู่ใน "โรดแมป" แม้ว่าร่างรัฐธรรมนูญที่ถูกคว่ำโดยสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่ตั้งมากับมือก็ตาม
**แต่เส้นทางในวันหน้ามันต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทุกอย่างออกมาจากมือของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติล้วนๆ โดยเฉพาะคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 21 คน เมื่อยกร่างเสร็จสิ้น ก็ต้องส่งให้ชาวบ้านลงประชามติว่า "เอาหรือ ไม่เอา" ปัญหามันจะอยู่ตรงนี้แหละ เพราะในความหมายก็คือ นี่เป็น "รัฐธรรมนูญของประยุทธ์" เป็นรัฐธรรมนูญที่เขาเป็น "ผู้อำนวยการใหญ่"
แม้ว่าในความเป็นจริงอาจให้อิสระในการยกร่างอย่างเต็มที่ก็ได้ และผลออกมาอาจจะได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่"กลมกล่อม" กว่าเดิมก็ได้ เพราะมีการสรุปบทเรียนและประเด็นอ่อนไหวก่อนหน้านี้เอาไว้อย่างครอบคลุมแล้วก็ได้
แต่ขณะเดียวกันมันก็เลี่ยงที่จะทำให้เกิดความเข้าใจแบบอย่างแรกได้ยากเหมือนกัน และที่สำคัญการยกร่างฯคราวนี้ จะไม่มีสภาปฏิรูปแห่งชาติคอย "ตัดเกม" เหมือนเมื่อก่อน
ดังนั้นความกดดันก็ย่อมมาตกอยู่ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทั้งในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และในฐานะนายกรัฐมนตรีเต็มๆ และจะด้วยเหตุนี้หรือเปล่า ที่ระยะหลังดูเหมือนว่าเขาเริ่มมีอารมณ์เคร่งเครียด ผิดไปจากเดิม
ก่อนหน้านี้ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย ที่ถือว่าเป็น"กุนซือ" ขับเคลื่อนด้านการยกร่างฯคนสำคัญแย้มออกมาให้เห็นล่วงหน้าว่าหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังจะยกร่างกันในอีกไม่กี่วันข้างหน้าไม่ผ่านการลงประชามติ ก็อาจนำรัฐธรรมนูญฉบับปี 40 ปี 50 รวมทั้งร่างล่าสุด ที่เพิ่งถูกคว่ำใน สปช.โดยนำมาผสมรวม เอาข้อดีมาเขียนเป็นฉบับใหม่ประกาศใช้ ซึ่งล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ให้สัมภาษณ์ไปในทางเดียวกันว่าอาจจะนำมา "ยำรวมกัน" ฟังดูเผินๆ มันก็น่าจะเป็นอย่างนั้น ตามขั้นตอนก็เป็นแบบนั้น
**แต่ในความเป็นจริงก็คือ มันคงมีโอกาสไปต่อได้ยาก เพราะว่าคราวนี้หากร่างรัฐธรรมนูญถูกคว่ำโดยการลงประชามติ จะดัวยสาเหตุที่พรรคการเมืองใหญ่ส่งสัญญาณให้คว่ำ หรือคว่ำโดยความต้องการของประชาชนทั่วประเทศจริงๆ ความหมายมันก็จะแปรเปลี่ยนไปทันทีว่า ประชาชนปฏิเสธรัฐธรรมนูญ ที่อำนวยการโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อถูกคว่ำ มันก็มองได้ว่าชาวบ้านเขา "ไม่เอา"
อย่างไรก็ดีหากพิจารณากันอีกมุมหนึ่งมองไปในอนาคตมันก็ไม่น่าจะมีผลออกมาเลวร้ายแบบนี้ เพราะเชื่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา น่าจะสรุปบทเรียนคง"เดาทาง"ออกว่ามีเรื่องใดบ้างในรัฐธรรมนูญฉบับเก่าๆที่เป็นประเด็นอ่อนไหว มีประเด็นใดบ้างที่ชาวบ้านต้องการโดยเฉพาะการควบคุมตรวจสอบนักการเมืองทุจริต แม้ว่าบางเรื่องจะอ่อนไหวแต่ก็อ่อนไหวสำหรับนักการเมือง แต่กลับได้ใจชาวบ้าน ซึ่งหากวัดกันในนาทีนี้สำหรับเขาก็ยังทำได้ดี แต่ในอนาคตมันก็ไม่แน่เพราะบทจะพลาดบางครั้งก็มาแบบตั้งตั้งตัวไม่ทัน
** แต่ถึงอย่างไรสำหรับเขา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เชื่อว่าคง "อ่านเกมขาด" แล้วว่าต้องทำอย่างไร เมื่อพิจารณาจากการเคลื่อนไหวก่อนหน้านี้จนสามารถสยบพวกนักการเมืองได้อยู่หมัด แต่ที่เป็นห่วงก็คืออุบัติเหตุที่อาจเกิดจากคนรอบข้างจนทำให้"รวน" ขึ้นมาก็ได้ !!
ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ ก็บอกใบ้มาอีกว่า ไม่มีพวกนักการเมืองเข้าร่วม ส่วนจะมีคณะกรรมาธิการชุดเก่า รวมทั้งพวกอดีตสภาปฏิรูปแห่งชาติร่วมด้วยหรือไม่ ก็ยังพูดไม่ชัด ซึ่งก็มีความเป็นไปได้ เพราะจะว่าไปแล้วระดับมือร่างรัฐธรรมนูญในประเทศไทย ก็วนเวียนอยู่ไม่กี่คน และระดับเซียนแบบยกร่างตามใจนึก ก็ดันอยู่ในช่วงสังขารร่วงโรยไปตามกาลเวลา ก็ยิ่งทำให้ตัวเลือกเหลือไม่มาก เอาเป็นว่าเที่ยวนี้ คณะกรรมาการยกร่างฯ ทั้งหมดก็ต้องเป็นคนที่ "ไว้ใจได้" ไม่มีพวกชอบขัดใจแปลกปลอมมาก็แล้วกัน เพราะมันมีผลต่ออนาคตในวันข้างหน้า โดยเฉพาะอนาคตของหัวหน้าคสช. และ คสช.โดยรวมนั่นเอง มันถึงต้อง"คัดเฉพาะคนรู้ใจ" จริงๆ
ที่ต้องพิจารณากันแบบนี้เพราะมันซีเรียส สถานการณ์นับจากนี้ไปมันจะตรงข้ามกับในช่วงกว่าหนึ่งปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นในแบบ นายกรัฐมนตรี หรือหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ สามารถ "ลอยตัว" ให้เหนือความขัดแย้งได้ อ้างว่าทุกอย่างยังอยู่ใน "โรดแมป" แม้ว่าร่างรัฐธรรมนูญที่ถูกคว่ำโดยสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่ตั้งมากับมือก็ตาม
**แต่เส้นทางในวันหน้ามันต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทุกอย่างออกมาจากมือของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติล้วนๆ โดยเฉพาะคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 21 คน เมื่อยกร่างเสร็จสิ้น ก็ต้องส่งให้ชาวบ้านลงประชามติว่า "เอาหรือ ไม่เอา" ปัญหามันจะอยู่ตรงนี้แหละ เพราะในความหมายก็คือ นี่เป็น "รัฐธรรมนูญของประยุทธ์" เป็นรัฐธรรมนูญที่เขาเป็น "ผู้อำนวยการใหญ่"
แม้ว่าในความเป็นจริงอาจให้อิสระในการยกร่างอย่างเต็มที่ก็ได้ และผลออกมาอาจจะได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่"กลมกล่อม" กว่าเดิมก็ได้ เพราะมีการสรุปบทเรียนและประเด็นอ่อนไหวก่อนหน้านี้เอาไว้อย่างครอบคลุมแล้วก็ได้
แต่ขณะเดียวกันมันก็เลี่ยงที่จะทำให้เกิดความเข้าใจแบบอย่างแรกได้ยากเหมือนกัน และที่สำคัญการยกร่างฯคราวนี้ จะไม่มีสภาปฏิรูปแห่งชาติคอย "ตัดเกม" เหมือนเมื่อก่อน
ดังนั้นความกดดันก็ย่อมมาตกอยู่ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทั้งในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และในฐานะนายกรัฐมนตรีเต็มๆ และจะด้วยเหตุนี้หรือเปล่า ที่ระยะหลังดูเหมือนว่าเขาเริ่มมีอารมณ์เคร่งเครียด ผิดไปจากเดิม
ก่อนหน้านี้ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย ที่ถือว่าเป็น"กุนซือ" ขับเคลื่อนด้านการยกร่างฯคนสำคัญแย้มออกมาให้เห็นล่วงหน้าว่าหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังจะยกร่างกันในอีกไม่กี่วันข้างหน้าไม่ผ่านการลงประชามติ ก็อาจนำรัฐธรรมนูญฉบับปี 40 ปี 50 รวมทั้งร่างล่าสุด ที่เพิ่งถูกคว่ำใน สปช.โดยนำมาผสมรวม เอาข้อดีมาเขียนเป็นฉบับใหม่ประกาศใช้ ซึ่งล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ให้สัมภาษณ์ไปในทางเดียวกันว่าอาจจะนำมา "ยำรวมกัน" ฟังดูเผินๆ มันก็น่าจะเป็นอย่างนั้น ตามขั้นตอนก็เป็นแบบนั้น
**แต่ในความเป็นจริงก็คือ มันคงมีโอกาสไปต่อได้ยาก เพราะว่าคราวนี้หากร่างรัฐธรรมนูญถูกคว่ำโดยการลงประชามติ จะดัวยสาเหตุที่พรรคการเมืองใหญ่ส่งสัญญาณให้คว่ำ หรือคว่ำโดยความต้องการของประชาชนทั่วประเทศจริงๆ ความหมายมันก็จะแปรเปลี่ยนไปทันทีว่า ประชาชนปฏิเสธรัฐธรรมนูญ ที่อำนวยการโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อถูกคว่ำ มันก็มองได้ว่าชาวบ้านเขา "ไม่เอา"
อย่างไรก็ดีหากพิจารณากันอีกมุมหนึ่งมองไปในอนาคตมันก็ไม่น่าจะมีผลออกมาเลวร้ายแบบนี้ เพราะเชื่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา น่าจะสรุปบทเรียนคง"เดาทาง"ออกว่ามีเรื่องใดบ้างในรัฐธรรมนูญฉบับเก่าๆที่เป็นประเด็นอ่อนไหว มีประเด็นใดบ้างที่ชาวบ้านต้องการโดยเฉพาะการควบคุมตรวจสอบนักการเมืองทุจริต แม้ว่าบางเรื่องจะอ่อนไหวแต่ก็อ่อนไหวสำหรับนักการเมือง แต่กลับได้ใจชาวบ้าน ซึ่งหากวัดกันในนาทีนี้สำหรับเขาก็ยังทำได้ดี แต่ในอนาคตมันก็ไม่แน่เพราะบทจะพลาดบางครั้งก็มาแบบตั้งตั้งตัวไม่ทัน
** แต่ถึงอย่างไรสำหรับเขา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เชื่อว่าคง "อ่านเกมขาด" แล้วว่าต้องทำอย่างไร เมื่อพิจารณาจากการเคลื่อนไหวก่อนหน้านี้จนสามารถสยบพวกนักการเมืองได้อยู่หมัด แต่ที่เป็นห่วงก็คืออุบัติเหตุที่อาจเกิดจากคนรอบข้างจนทำให้"รวน" ขึ้นมาก็ได้ !!