ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติระบุบาทอ่อนช่วยผู้ส่งออกมีรายได้เพิ่มขึ้น บางรายสามารถลดราคาสินค้าเพื่อให้แข่งขันดีขึ้น แจงไม่ใช่ปัจจัยเฉพาะจากประเทศไทยหรือภูมิภาค แต่ผลการแข็งค่าเงินดอลลาร์ ด้าน "อภิศักดิ์" บินร่วมเวทีประชุม รมว.คลัง เอเปก ที่ฟิลิปปินส์ 10 -11 ก.ย. เรียกความเชื่อมั่นการลงทุนและโรดแม็ปรัฐบาล
นายจิรเทพ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนภาวะการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับคู่ค้าที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐที่มีความชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ จึงไม่ใช่เป็นปัจจัยเฉพาะเกี่ยวกับประเทศไทยหรือภูมิภาค ขณะที่ค่าความผันผวนของเงินบาทอยู่ในระดับกลางๆ ของภูมิภาค ฉะนั้นเชื่อว่าการอ่อนค่าเงินบาทจะช่วยเศรษฐกิจไทย
“การอ่อนค่าของเงินบาทจะช่วยเศรษฐกิจไทยผ่านสภาพคล่องของผู้ส่งออกและส่งผลให้ผู้ส่งออกบางรายสามารถปรับลดราคาสินค้าลง เพื่อให้ราคาที่เสนอขาย (quote) สามารถแข่งขันได้บ้าง อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของภาคการส่งออกคงต้องอาศัยทั้งการฟื้นตัวที่เข้มแข็งของเศรษฐกิจโลกและการปรับปรุงคุณภาพการผลิตและคุณภาพสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาดโลก ส่วนต้นทุนการนำเข้าสินค้าทุนที่เพิ่มขึ้นบ้างคาดว่าจะไม่ใช่ปัจจัยถ่วงหลักของการตัดสินใจว่าจะลงทุนหรือไม่ในช่วงนี้ เพราะขึ้นอยู่กับแนวโน้มเศรษฐกิจโดยรวมมากกว่า” นายจิรเทพกล่าว
อย่างไรก็ตาม การประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยทั้งหมดจะได้มีการพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 16 ก.ย.นี้ ดังนั้น ในช่วงระหว่างนี้จนถึงวันประชุม กนง.จะไม่มีการแสดงความเห็นในเรื่องเกี่ยวข้องกับการดำเนินนโยบายการเงิน เนื่องจากอยู่ระหว่าง silent period 1สัปดาห์ก่อนการประชุม กนง.
โดยวานนี้ (9 ก.ย.) ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ที่ 36.06 บาท/ดอลลาร์ เป็นไปตามสกุลภูมิภาค หลังเมื่อคืนก่อนหน้าขึ้นไปทำจุดอ่อนสุดที่ 36.23 แต่ไม่ผ่าน 36.25 ก่อนจะปรับตัวแข็งค่าลงมาจากแรงทำกำไร สำหรับปัจจัยยังคงอยู่ที่แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ว่าจะปรับขึ้นเร็วหรือช้า ทว่าล่าสุดเฟดเริ่มมีท่าทีในเรื่องดงักล่าว อ่อนลง
*"อภิศักดิ์" ร่วมประชุม รมว.คลังเอเปก
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง มีกำหนดจะเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปก (APEC Finance Ministers’ Meeting: APEC FMM) ครั้งที่ 22 ในระหว่างวันที่ 10 -11 กันยายน 2558 ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จากสมาชิกเอเปก จำนวน 21 เขตเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี จีน เขตบริหารพิเศษฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ จีน ไทเป ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม และผู้แทนจากองค์กรระหว่างประเทศเข้าร่วมการประชุมด้วย
แนวคิดหลัก (Theme) ของการประชุม APEC FMM ในครั้งนี้ คือ Building Inclusive Economies, Building a Better Worldโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปกจะหารือใน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโลกและทิศทางเศรษฐกิจในภูมิภาคและแผนงานสำหรับกรอบการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปก ซึ่งได้กำหนดกรอบความร่วมมือระหว่างสมาชิกเอเปกใน 4 เสาหลัก ได้แก่ (1) ส่งเสริมการรวมกลุ่มทางการเงิน (2) การเร่งรัดการปฏิรูปและเพิ่มความโปร่งใสทางการคลัง (3) การเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน และ (4) การเร่งรัดการลงทุนและการระดมทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
"รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะใช้โอกาสนี้นำเสนอแนวนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลจะมุ่งพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคตต่อสมาชิกเอเปก โดยรวมถึงเรื่องที่สำคัญและเร่งด่วน อาทิ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานการส่งเสริมการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศและการดำเนินการของรัฐบาลตาม Roadmap เป็นต้น" นายกฤษฎากล่าว.
นายจิรเทพ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนภาวะการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับคู่ค้าที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐที่มีความชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ จึงไม่ใช่เป็นปัจจัยเฉพาะเกี่ยวกับประเทศไทยหรือภูมิภาค ขณะที่ค่าความผันผวนของเงินบาทอยู่ในระดับกลางๆ ของภูมิภาค ฉะนั้นเชื่อว่าการอ่อนค่าเงินบาทจะช่วยเศรษฐกิจไทย
“การอ่อนค่าของเงินบาทจะช่วยเศรษฐกิจไทยผ่านสภาพคล่องของผู้ส่งออกและส่งผลให้ผู้ส่งออกบางรายสามารถปรับลดราคาสินค้าลง เพื่อให้ราคาที่เสนอขาย (quote) สามารถแข่งขันได้บ้าง อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของภาคการส่งออกคงต้องอาศัยทั้งการฟื้นตัวที่เข้มแข็งของเศรษฐกิจโลกและการปรับปรุงคุณภาพการผลิตและคุณภาพสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาดโลก ส่วนต้นทุนการนำเข้าสินค้าทุนที่เพิ่มขึ้นบ้างคาดว่าจะไม่ใช่ปัจจัยถ่วงหลักของการตัดสินใจว่าจะลงทุนหรือไม่ในช่วงนี้ เพราะขึ้นอยู่กับแนวโน้มเศรษฐกิจโดยรวมมากกว่า” นายจิรเทพกล่าว
อย่างไรก็ตาม การประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยทั้งหมดจะได้มีการพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 16 ก.ย.นี้ ดังนั้น ในช่วงระหว่างนี้จนถึงวันประชุม กนง.จะไม่มีการแสดงความเห็นในเรื่องเกี่ยวข้องกับการดำเนินนโยบายการเงิน เนื่องจากอยู่ระหว่าง silent period 1สัปดาห์ก่อนการประชุม กนง.
โดยวานนี้ (9 ก.ย.) ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ที่ 36.06 บาท/ดอลลาร์ เป็นไปตามสกุลภูมิภาค หลังเมื่อคืนก่อนหน้าขึ้นไปทำจุดอ่อนสุดที่ 36.23 แต่ไม่ผ่าน 36.25 ก่อนจะปรับตัวแข็งค่าลงมาจากแรงทำกำไร สำหรับปัจจัยยังคงอยู่ที่แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ว่าจะปรับขึ้นเร็วหรือช้า ทว่าล่าสุดเฟดเริ่มมีท่าทีในเรื่องดงักล่าว อ่อนลง
*"อภิศักดิ์" ร่วมประชุม รมว.คลังเอเปก
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง มีกำหนดจะเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปก (APEC Finance Ministers’ Meeting: APEC FMM) ครั้งที่ 22 ในระหว่างวันที่ 10 -11 กันยายน 2558 ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จากสมาชิกเอเปก จำนวน 21 เขตเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี จีน เขตบริหารพิเศษฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ จีน ไทเป ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม และผู้แทนจากองค์กรระหว่างประเทศเข้าร่วมการประชุมด้วย
แนวคิดหลัก (Theme) ของการประชุม APEC FMM ในครั้งนี้ คือ Building Inclusive Economies, Building a Better Worldโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปกจะหารือใน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโลกและทิศทางเศรษฐกิจในภูมิภาคและแผนงานสำหรับกรอบการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปก ซึ่งได้กำหนดกรอบความร่วมมือระหว่างสมาชิกเอเปกใน 4 เสาหลัก ได้แก่ (1) ส่งเสริมการรวมกลุ่มทางการเงิน (2) การเร่งรัดการปฏิรูปและเพิ่มความโปร่งใสทางการคลัง (3) การเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน และ (4) การเร่งรัดการลงทุนและการระดมทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
"รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะใช้โอกาสนี้นำเสนอแนวนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลจะมุ่งพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคตต่อสมาชิกเอเปก โดยรวมถึงเรื่องที่สำคัญและเร่งด่วน อาทิ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานการส่งเสริมการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศและการดำเนินการของรัฐบาลตาม Roadmap เป็นต้น" นายกฤษฎากล่าว.