พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในส่วนของการรับทราบรายงานความคืบหน้าตามแผนปฏิบัติการงาช้างแห่งประเทศไทย ฉบับแก้ไข ว่า ครม. มีมติอนุมัติรายงานฉบับดังกล่าว โดยมีสาระสำคัญของความก้าวหน้าแผนปฏิบัติการงาช้างของประเทศไทย ประกอบด้วย การออกระเบียบและกฎหมาย ภายหลังได้ออกกฎหมายหลัก 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ปี 2557 และ พ.ร.บ.งาช้างปี 2558 ต่อมาได้มีการออกกฎหมายรอง 22 ฉบับ
นอกจากนั้นได้มีการจัดทำระบบทะเบียนข้อมูล3 ระบบ ได้แก่ 1. ทะเบียนครอบครองงาช้างบ้านและงาช้างแอฟริกา โดยมีผู้ครอบครองงาช้างบ้าน 30,727 ราย ผู้ครอบครองงาช้างแอฟริกาที่ถูกกฎหมาย 54 ราย 2. ระบบทะเบียนข้อมูลผู้ค้างาช้าง รายงานสินค้างาช้าง โดยมีผู้ค้างาช้างอยู่ในทะเบียนแล้ว 247 ราย และ 3. ระบบทะเบียนงาช้างของกลางที่อยู่ในการดูแลของกรมศุลกากร กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์พืชจำนวน17,234.5 กก.
สำหรับความคืบหน้าในการกำกับดูแล และบังคับใช้กฎหมาย แบ่งเป็น 3 เรื่อง คือ 1. การกำกับดูแลผู้ค้างาช้างบ้านให้ปฏิบัติตามกฎหมาย โดยเพิ่มจำนวนสายตรวจร้านที่ขายงาช้างจาก 22 สาย เป็น 79 สาย ซึ่งได้ออกปฏิบัติการในพื้นที่เป้าหมาย 8 พื้นที่ เฉลี่ย 3-4 ครั้ง ต่อสาย/เดือน พื้นที่เฝ้าระวัง 2 ครั้ง ต่อสาย/เดือน โดยได้จับกุมผู้กระทำผิดจำนวน 4 คดี
2. การจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมาย โดยมีการจับกุมผู้กระทำผิดตั้งแต่เดือน เม.ย.-ก.ย.จำนวน 5 คดี เป็นคดีรายใหญ่ที่มีน้ำหนักเกิน 500 ก.ก. จำนวน 2 คดี และมีการทำลายงาช้างของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินแล้วจำนวน 155 กก.
3. การประชาสัมพันธ์ ซึ่งได้มีการประชาสัมพันธ์ให้เหมาะสมกับ 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ผู้ประกอบการชาวต่างชาติ และประชาชน ซึ่งได้มีการติดตามประเมินผลจากคณะอนุกรรมการที่ตั้งขึ้น
นอกจากนั้นได้มีการจัดทำระบบทะเบียนข้อมูล3 ระบบ ได้แก่ 1. ทะเบียนครอบครองงาช้างบ้านและงาช้างแอฟริกา โดยมีผู้ครอบครองงาช้างบ้าน 30,727 ราย ผู้ครอบครองงาช้างแอฟริกาที่ถูกกฎหมาย 54 ราย 2. ระบบทะเบียนข้อมูลผู้ค้างาช้าง รายงานสินค้างาช้าง โดยมีผู้ค้างาช้างอยู่ในทะเบียนแล้ว 247 ราย และ 3. ระบบทะเบียนงาช้างของกลางที่อยู่ในการดูแลของกรมศุลกากร กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์พืชจำนวน17,234.5 กก.
สำหรับความคืบหน้าในการกำกับดูแล และบังคับใช้กฎหมาย แบ่งเป็น 3 เรื่อง คือ 1. การกำกับดูแลผู้ค้างาช้างบ้านให้ปฏิบัติตามกฎหมาย โดยเพิ่มจำนวนสายตรวจร้านที่ขายงาช้างจาก 22 สาย เป็น 79 สาย ซึ่งได้ออกปฏิบัติการในพื้นที่เป้าหมาย 8 พื้นที่ เฉลี่ย 3-4 ครั้ง ต่อสาย/เดือน พื้นที่เฝ้าระวัง 2 ครั้ง ต่อสาย/เดือน โดยได้จับกุมผู้กระทำผิดจำนวน 4 คดี
2. การจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมาย โดยมีการจับกุมผู้กระทำผิดตั้งแต่เดือน เม.ย.-ก.ย.จำนวน 5 คดี เป็นคดีรายใหญ่ที่มีน้ำหนักเกิน 500 ก.ก. จำนวน 2 คดี และมีการทำลายงาช้างของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินแล้วจำนวน 155 กก.
3. การประชาสัมพันธ์ ซึ่งได้มีการประชาสัมพันธ์ให้เหมาะสมกับ 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ผู้ประกอบการชาวต่างชาติ และประชาชน ซึ่งได้มีการติดตามประเมินผลจากคณะอนุกรรมการที่ตั้งขึ้น