1. กล่าวนำ
เนื่องจากได้มีผู้ให้ข้อคิดเห็นว่า บทความ “แผ่นดินของไทย ปัญหาของคนไทย” ของผู้เขียน มีหลายเรื่องหลายตอน จึงควรนำตัวเลขมาใช้กำกับให้ชัดเจน จะได้ไม่สับสนต่อการติดตาม และเพื่อความสะดวกของการสืบค้นในอนาคต ซึ่งผู้เขียนก็เห็นด้วยกับความคิดเห็นดังกล่าว และจะขอเปลี่ยนแปลงการให้ตัวเลขกำกับบทความใหม่ของบทความแผ่นดินของไทย ปัญหาของไทย ดังนี้
1.1 ตัวเลขในวงเล็บหลังชื่อบทความ เช่น แผ่นดินของไทย ปัญหาของคนไทย “(9)” เลข 9 หมายความว่า จะอยู่ในหัวข้อเรื่องใหญ่ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
1.2 ตัวเลขหลังคำว่า ชุดที่ เช่น ชุดที่ 9.1 หมายความว่า เป็นหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดังเช่นในบทความนี้ 9.1 จะเป็นเรื่องเฉพาะกรณีการวางระเบิดที่ศาลพระพรหม สี่แยกราชประสงค์ กรุงเทพฯ เท่านั้น
1.3 ตัวเลขหลังคำว่า ตอนที่ เช่น ตอนที่ 1 หมายความว่า บทความนี้เป็นตอนที่ 1 ของบทความกรณีการวางระเบิดที่ศาลพระพรหมเท่านั้น และยังมีตอนต่อมาของบทความในเรื่องนี้อีก
ผู้เขียนหวังว่า การกำหนดตัวเลขของบทความ “แผ่นดินของไทย ปัญหาของคนไทย” ดังกล่าวข้างต้นคงจะช่วยให้ผู้ที่สนใจสามารถติดตามและค้นหาบทความต่างๆ ของผู้เขียนได้โดยสะดวกขึ้น และในโอกาสนี้ผู้เขียนต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ได้ให้คำแนะนำและความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ มา ณ ที่นี้ด้วย
2. การกำหนดคำที่ใช้เรียก การวางระเบิดศาลพระพรหม
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2558 ได้มีรายงานข่าวว่า กระทรวงมหาดไทย ได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัด โดยขอให้ทุกหน่วยงานใช้คำว่า “การก่อเหตุรุนแรง” เพื่อเรียกเหตุการณ์วางระเบิดที่ศาลพระพรหม สี่แยกราชประสงค์ กรุงเทพฯ โดยมีรายละเอียดจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ออนไลน์* ดังนี้
“เมื่อวันที่ 27 ส.ค. นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือวิทยุด่วนที่สุด ลงวันที่ 27 ส.ค.58 แจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดถือปฏิบัติ ดังนี้
1. การกำหนดคำเรียกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขอให้ทุกหน่วยงานใช้คำว่า “การก่อเหตุรุนแรง” เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว และให้ทุกหน่วยงานหลีกเลี่ยงข้อความที่อาจก่อให้เกิดปัญหา และผลกระทบในระดับนานาชาติได้
……………………………………………………………………………………………………….....
6. ขอให้เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเฝ้าระวัง และแจ้งเหตุผิดปกติแก่ทางราชการรวมทั้งการช่วยเหลือในการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง โดยขอให้ช่วยกันระมัดระวังในเรื่องนี้อย่างเต็มที่”
*รายงานข่าวจาก http://www.dailynews.co.th/politics/344424
ในเรื่องนี้คาดว่า ท่าน รมต.มหาดไทย คงกลัวว่า ถ้าใช้คำว่า “การก่อการร้าย” อาจมีผลกระทบต่อความรู้สึกของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ และอาจทำให้บริษัทประกันภัยต่างๆ เก็บเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นกว่าปกติ เนื่องจากมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากการก่อการร้ายเช่นในบางประเทศ
อย่างไรก็ดี ได้มีกลุ่มนิสิตนักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่า ถ้ารู้สึกกลัวเช่นนั้น ก็ขอเสนอให้ใช้คำว่า “การก่อความวิบัติ หรือการสร้างความวิบัติ” สำหรับเหตุการณ์รุนแรง และสำหรับผู้ก่อเหตุรุนแรงด้วยวิธีการใดๆ ก็ตาม ควรใช้คำว่า “ผู้ก่อความวิบัติ หรือผู้สร้างความวิบัติ” เพื่อให้สอดคล้องกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินของผู้เคราะห์ร้ายคนไทย แต่ก็มีผู้อ่านบางท่านได้เสนอให้ใช้คำเรียก เหตุการณ์วางระเบิดที่ศาลพระพรหมว่า “การก่อความหายนะ หรือการสร้างความหายนะ” และให้ใช้คำเรียกผู้ก่อเหตุรุนแรงว่า “ผู้ก่อความหายนะ หรือผู้สร้างความหายนะ”
เมื่อได้ไปหาความหมายในพจนานุกรมไทย-ไทย (จากพจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน) จะพบคำว่า “วิบัติ” มีความหมายว่า พิบัติ ความฉิบหาย ความหายนะ ความเป็นอัปมงคล ส่วนคำว่า “หายนะ” จะมีความหมายว่า ความเสื่อม ความเสียหาย ความฉิบหาย ซึ่งในความเห็นส่วนตัว ผู้เขียนพบว่า “หายนะ” เป็นคำที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าหมายถึง ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำจากธรรมชาติมากกว่ามาจากการกระทำของมนุษย์
ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทยที่ไม่ต้องการใช้คำว่า การก่อการร้าย ผู้เขียนจึงขอเสนอให้เรียกการก่อเหตุวางระเบิดในครั้งนี้ ว่า การก่อความวิบัติ และให้เรียกผู้ร่วมวางระเบิดว่า ผู้ก่อความวิบัติ ตามที่กลุ่มนิสิตนักศึกษาได้เสนอมา แต่สำหรับผู้เขียนจะขอใช้คำว่า การก่อการร้ายและผู้ก่อการร้าย เช่นเดิม เพราะเหตุการณ์นี้ไม่เพียงได้สร้างความเสียหายแก่สถานที่และชีวิตของบุคคลอื่นๆ เท่านั้น แต่ยังมุ่งหวังที่จะสร้างหวาดกลัวแก่สาธารณชนที่อยู่ในสังคมและยังมุ่งข่มขู่รัฐไทย อีกด้วย
3. ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับกลุ่มผู้ต้องสงสัยวางระเบิด และการถอนตัวหรือการหลบหนี
ภาพที่ 1 ผู้ต้องสงสัยที่นำกระเป๋าเป้สะพายที่คาดว่ามีระเบิด*
*จาก http://edition.cnn.com/2015/08/20/asia/thailand-bangkok-bombing/ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
ภาพที่ 2 ผู้ต้องสงสัยใส่เสื้อยืดสีเหลือง ได้นำระเบิดมาวางไว้ในศาลพระพรหม*
*ภาพจาก http://www.thairath.co.th/content/52026 ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
ภาพที่ 1 ผู้ต้องสงสัยในวงกลมสีแดงสะพายเป้เดินผ่านหน้าโรงแรมเอราวัณมาที่ศาลพระพรหม ต่อมาในภาพที่ 2 (ซ้ายมือบน-ล่าง) ผู้ต้องสงสัยพร้อมเป้มาถึงบริเวณศาลแล้วนั่งลงบนม้านั่งข้างรั่ว และภาพที่ 2 (ขวามือบน-ล่าง) หลังจากวางเป้ไว้บนม้านั่งแล้ว ผู้ต้องสงสัยก็เดินออกไปจากบริเวณศาล
ภาพที่ 3 ผู้ต้องสงสัยถือถุงด้วยมือซ้าย และคาดว่าถือโทรศัพท์ด้วยมือขวา
*http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1440000544 ขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
ภาพที่ 4 หลังจากวางระเบิดแล้ว ผู้ต้องสงสัยก็เดินออกจากศาลมาถึงหัวมุมสี่แยกราชประสงค์*
*ภาพจาก http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9580000093506ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
ภาพที่ 3 จะเห็นผู้ต้องสงสัยก้มหน้าดูโทรศัพท์ที่อยู่ในมือขวา ส่วนมือซ้ายกำลังถือถุงอยู่ ผู้เขียนคาดว่า อาจจะเป็นการส่งข้อความไปยัง หัวหน้าทีม หรือบุคคลที่ร่วมอยู่ในทีมวางระเบิดที่คอยให้ความช่วยเหลือหรือให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ เพื่อให้ได้รับรู้ว่า ผู้ต้องสงสัยได้วางระเบิดในจุดที่กำหนดแล้ว และกำลังจะออกไปจากพื้นที่เป้าหมาย(Killing Zone) และภาพที่ 4 กล้องได้จับภาพในขณะที่ผู้ต้องสงสัยถือถุงด้วยมือซ้ายและถือโทรศัพท์ด้วยมือขวา และเดินออกจากศาลพระพรหม มาถึงหัวมุมสี่แยกราชประสงค์ เพื่อที่จะเลี้ยวซ้ายผ่านหน้าโรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ อีกครั้งหนึ่ง
ภาพที่ 5 เส้นทางการถอนตัวหรือหลบหนีของผู้ต้องสงสัย*
*ภาพจาก http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1440000544 ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
ภาพที่ 5 แสดงเส้นทางการถอนตัวออกจากพื้นที่เป้าหมายโดยสรุป กล้องจับภาพขณะผู้ต้องสงสัยวางระเบิด เดินออกจากศาลพระพรหมผ่านหน้าโรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ มุ่งหน้าไปทางสวนลุมพินี ภาพต่อมาผู้ต้องสงสัยได้นั่งรถจักรยานยนต์มุ่งหน้าไปที่สี่แยกศาลาแดง ผ่านแยกศาลาแดงเข้าสู่ถนนสีลม และผ่านแยกสีลมที่ตัดกับถนนนราธิวาส หลังจากนั้นในภาพได้แสดงจุดที่เห็นผู้ต้องสงสัยเป็นครั้งสุดท้าย คือ บริเวณซอยสีลม 9
ข้อสังเกตและความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวผู้ต้องสงสัยวางระเบิด และการถอนตัว (การหลบหนี) ของผู้ต้องสงสัย หลังจากที่ได้ตรวจสอบภาพที่ 2 – 5 แล้ว มีดังนี้
1.1 ข้อสังเกตและความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้ต้องสงสัยวางระเบิด (ดูภาพที่ 2 – 5)
(1) จากภาพที่ 2 และ 3 คาดว่า ผู้ต้องสงสัยน่าจะเป็นคนถนัดมือขวา เพราะมักใช้มือขวาถือและใช้โทรศัพท์ในทุกครั้งที่มีโอกาส
(2) รูปร่างของผู้ต้องสงสัยไม่ได้สูงใหญ่ดังเช่นชาวยุโรปหรือชาวอเมริกัน ขนาดของรูปร่างมีความใกล้เคียงกับคนไทยและคนเอเชีย แต่ในภาพที่ 4 จะเห็นส่วนของจมูกของผู้ต้องสงสัยที่ค่อนข้างโด่งกว่าคนไทยหรือคนเอเชียโดยทั่วไป
(3) ผิวพรรณของผู้ต้องสงสัยที่ปรากฏในภาพที่ 2, 3 และ 4 ไม่ได้ขาวมากไปกว่าคนจีนและคนเอเชียโดยทั่วไป คาดว่า คงได้รับการคัดเลือกหรือกลั่นกรองมาแล้วเพื่อไม่ให้เป็นที่ผิดสังเกต หรือแตกต่างจากคนเอเชียโดยทั่วไป
(4) การที่ใส่ปลอกแขนสองข้างคงเป็นเพราะจะได้ไม่สับสนกับคนไทยและคนต่างชาติอื่นๆ ที่มักใส่เสื้อเหลืองเช่นกันในวันจันทร์ เพื่อที่กลุ่มบุคคลที่วางระเบิดจะสามารถแยกแยะและให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงที ในกรณีที่ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น
(5) ในภาพที่ 5 ได้ชี้ให้เห็นว่า ผู้ต้องสงสัยได้ลงจากรถสามล้อหน้าโรงแรมเอราวัณในเวลา 18:38:28 และได้เดินไปเข้าไปในบริเวณศาลเมื่อเวลา 18:51:00 จากนั้นได้เข้าไปนั่งและวางเป้ที่ม้านั่งข้างรั้วเสร็จแล้วจึงออกมาจากบริเวณศาลในเวลา 18:52:05 โดยใช้เวลาเดินจากจุดที่ลงจากรถสามล้อเข้าไปที่ศาลประมาณ 12 นาที 32 วินาที หลังจากนั้นได้นั่งเก้าอี้วางเป้ไว้บนเก้าอี้ และเดินออกจากศาลพระพรหมได้ใช้ประมาณ 1 นาที 5 วินาที รวมเป็นเวลา 13 นาที 37 วินาที
(6) ต่อมาในเวลา 18:55:18 ได้เกิดระเบิดขึ้นในบริเวณศาลพระพรหม (ดูภาพที่ 6) ขณะที่ผู้ต้องสงสัยได้เดินผ่านหน้าโรงแรมเพนนินซูล่าในเวลา 18:56:06 และจากนั้นในเวลา 18:57:17 กล้องของ กทม.หน้าซอยมหาดเล็กหลวง 2 ได้จับภาพผู้ต้องสงสัยในขณะนั่งซ้อนรถจักรยานยนต์มุ่งหน้าไปที่สี่แยกศาลาแดง ปรากฏว่าผู้ต้องสงสัยได้ใช้เวลาเดินเพียง 5 นาที 12 วินาที (ตั้งแต่ออกจากศาลพระพรหม จนมาถึงหน้าซอยมหาดเล็กหลวง 2 หลังจากนั้นจึงนั่งจักรยานยนต์เข้าสู่ถนนสีลม ผ่านแยกสีลม-นราธิวาส มาถึงซอยสีลม 9 หลังจากนั้นก็ไม่มีกล้องตัวไหนจับภาพผู้ต้องสงสัยได้อีกเลย
ภาพที่ 6 ช่วงเวลาที่เกิดระเบิดที่ศาลพระพรหม*
*ขอขอบคุณภาพจาก http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1440000544
ความคิดเห็นของผู้เขียน
1) การหลบหนีของโจร อาชญากร สายลับ จารชน และผู้ก่อการร้าย ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก นั่นก็คือ เมื่อปฏิบัติภารกิจเสร็จสิ้นแล้ว จะต้องถอนตัวหรือหลบหนีออกไปจากพื้นที่เป้าหมายให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ใช้เวลาเพียง 5 นาที 12 วินาทีในการถอนตัว)เพื่อความปลอดภัยของตนเองและทีมงานที่ให้การสนับสนุน
2) ผู้เขียนคาดว่า พื้นที่บริเวณซอยสีลม 9 น่าจะเป็นจุดนัดพบ โดยอาจมียานพาหนะของทีมงานที่ร่วมวางระเบิดจอดรอคอยอยู่ หรืออาจมีที่พักชั่วคราวอยู่ในบริเวณนี้ เพื่อให้ผู้ต้องสงสัยสามารถใช้เป็นที่ผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ และช่วยเหลือผู้ต้องสงสัยให้หลบหนีออกไปจากพื้นที่ที่มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดจากเจ้าหน้าที่ และอาจจะต้องเดินทางออกจากไทยในทันทีที่มีโอกาส
3) ทำไมจึงมีการวางระเบิดเพียงลูกเดียวในเหตุการณ์นี้ เพราะการวางระเบิดส่วนใหญ่มักจะเตรียมการวางระเบิดไว้ไม่น้อยกว่า 2 ลูก เพื่อป้องกันความผิดพลาด และเพื่อจะได้สร้างความสับสนต่อฝ่ายตรงกันข้าม (ฝ่ายรัฐ) และต่อมาภายหลังได้พบว่า ระเบิดลูกที่สองได้ถูกทิ้งลงน้ำที่สะพานสาทรในเวลาประมาณ 19.30 น.ของวันที่ 17 ส.ค. 58 (หลังจากเกิดระเบิดที่ศาลพระพรหมได้ประมาณ 30 กว่านาที)
4) จึงอาจอนุมานได้ว่า กลุ่มที่วางระเบิดคงได้รับรู้แล้วว่า การวางระเบิดลูกแรกได้ประสบความสำเร็จ จึงเลือกที่จะถอนตัวหรือหลบหนี มากกว่าที่จะเสี่ยงวางระเบิดลูกที่ 2 เพราะอาจถูกจับได้เนื่องจากเจ้าหน้าที่จะมีความระมัดระวังมากขึ้น
3.2 ข้อสังเกตและความคิดเห็นเกี่ยวกับกลุ่มบุคคลที่วางระเบิด (ทีมงานวางระเบิด) เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 58 ตำรวจ และทหาร ได้เข้าตรวจสอบห้องเลขที่ 411 412 413 และ414 ในอพาร์ตเมนต์ อยู่เลขที่ 134/5 ปากซอยเชื่อมสัมพันธ์ 11 แขวงกระทุ่มราย เขตหนองจอก กทม. หลังจากทราบว่า มีผู้ต้องสงสัยที่เกี่ยวข้องกับการวางระเบิดที่ศาลพระพรหม แยกราชประสงค์และสะพานสาทรได้มาเปิดห้องพักทั้ง 4 ห้องไว้นานกว่าหนึ่งปีแล้ว ตามภาพที่ 7
ภาพที่ 7 อพาร์ตเมนต์ที่ผู้ต้องสงสัยได้เช่าไว้*
*ขอขอบคุณภาพจาก http://m.matichon.co.th/readnews.php?newsid=1440898130
ตามข่าวรายงานว่า สามารถจับกุมตัวผู้ต้องสงสัยได้ที่ห้องเลขที่ 412 และได้พบอุปกรณ์และวัตถุที่ใช้สำหรับประกอบระเบิดจำนวนมากโดยเฉพาะลูกปรายแบบกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 ซม.ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่พบที่ศาลพระพรหม และที่สะพานสาทร รวมทั้ง ฝักแคหรือตัวจุดชนวนระเบิด และสารตั้งต้นที่สามารถนำมาทำระเบิดได้ซึ่งบางชนิดสามารถหาซื้อได้ในประเทศไทย แต่บางชนิดต้องนำเข้าจากต่างประเทศ รวมทั้งยังมี Passport หลายเล่ม โดยพบทั้งหมดภายในห้องเลขที่ 412 และ 413 ตามภาพที่ 8 และยังพบว่า ห้องเลขที่411 เเละ 414 นั้นเป็นห้องเปล่าที่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องสงสัยได้เช่าทิ้งไว้ (สรุปข่าวจาก )
ภาพที่ 8 อุปกรณ์และวัตถุที่ใช้สำหรับประกอบระเบิด*
*ขอขอบคุณภาพจาก http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000098659
สำหรับผู้ต้องสงสัยคนแรกเป็นชาย อายุประมาณ 28 ปี ไม่ทราบสัญชาติ (มีรายงานว่า ถือสัญชาติตุรกี แต่ยังไม่มีการยืนยัน) ทราบชื่อว่า นาย Adem Karadag (ดูภาพที่ 9) และได้ตรวจสอบพบว่าได้มีชาวตุรกี (ยังไม่ทราบชื่อ) เป็นผู้เช่าห้องทั้ง 4 ห้องไว้ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2557
ภาพที่ 9 รูปนาย Adem Karadag*
*ขอขอบคุณภาพจาก http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000098659
ต่อมาในวันที่ 1 ก.ย. 58 เวลา 11.00 น. กองกำลังบูรพา ทหารพรานและชุดปฏิบัติการร่วมลาดตระเวนมาตามถนนศรีเพ็ญ มาถึงบริเวณป่าละเมาะริมชายแดน เขตพื้นที่บ้านดงงู ต.ป่าไร่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ได้พบชายต้องสงสัยเดินสะพายกระเป๋าเป้สีดำ เดินผ่านป่าละเมาะมุ่งหน้าสู่เขตแดนกัมพูชา จึงนำกำลังเข้าสกัดจับไว้ได้ก่อนที่ผู้ต้องสงสัยจะข้ามตะเข็บชายแดน ทราบว่าชื่อ นายไมโรลี ยูซุฟู (ดูภาพที่ 10) และได้พบว่า มีลายนิ้วมือตรงกับลายนิ้วมือแฝงที่อยู่บนขวดบรรจุวัตถุระเบิดที่พบในห้องพักพูลอนันต์ อพาร์ทเมนท์ ย่านหนองจอก และตรงกับ DNA ที่พบในแปรงสีฟันและกรรไกรตัดเล็บ ในห้องพัก ไมมูณา การ์เด้นโฮม ย่านมีนบุรี
ภาพที่ 10 นายไมโรลี ยูซุฟู ผู้ต้องสงสัยวางระเบิดคนที่ 2 ที่ถูกจับได้*
*ภาพจาก http://mcot-web.mcot.net/9ent/view.php?id=55e94106be0470fdab8b460a
จากการสืบสวนต่อมา ทางตำรวจได้ออกหมายจับบุคคลที่คาดว่า มีความเกี่ยวข้องกับการวางระเบิดที่ศาลพระพรหมเพิ่มเติมอีก ตามที่ปรากฏในภาพที่ 11
ภาพที่ 11 ผู้ต้องสงสัยวางระเบิดศาลพระพรหมที่ถูกออกหมายจับ*
*ภาพจาก http://www.dailynews.co.th/article/34572
ความคิดเห็นของผู้เขียน
1) การเช่าห้องทั้ง 4 ห้องที่อพาร์ตเมนต์ ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 57 จนถึงวันที่เจ้าหน้าที่ได้บุกเข้าตรวจค้นและจับกุมเมื่อวันที่ 29 ส.ค. 58 ได้ชี้ให้เห็นว่า กลุ่มบุคคลที่วางระเบิดน่าจะเกี่ยวข้องกับหน่วยงานข่าวขององค์กรธุรกิจการเมืองต่างประเทศ โดยได้เข้ามาฝังตัวอยู่ในประเทศไทยในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อหาข่าวความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่อาจมีผลกระทบต่อองค์กรธุรกิจการเมืองของประเทศใดประเทศหนึ่งที่กลุ่มบุคคลที่วางระเบิดสังกัดอยู่
2) จากอุปกรณ์การประกอบระเบิดที่ยึดได้จากห้องเช่า ได้บ่งบอกว่า กลุ่มบุคคลที่วางระเบิดไม่เพียงที่จะทำหน้าที่ด้านข่าวกรองเท่านั้น แต่ยังได้รับการฝึกฝนการก่อวินาศกรรม และรวมทั้งการประกอบระเบิดในรูปแบบต่างๆ อีกด้วย โดยได้รับมอบหมายให้มาปฏิบัติหน้าที่ในการทำลายกลุ่มบุคคลฝ่ายตรงข้าม หรือเพื่อให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับองค์กรธุรกิจการเมืองของประเทศดังกล่าว
3.3 ข้อสังเกตและความคิดเห็นเกี่ยวกับการถอนตัว(หลบหนี) ของกลุ่มบุคคลที่วางระเบิด
ข้อสำคัญของการถอนตัวหรือการหลบหนีของกลุ่มวางระเบิดที่ควรพิจารณา มีดังนี้(1) ทางเลือกที่ 1 คือ หลบซ่อนและใช้ชีวิตอยู่ในบ้านปลอดภัย (Safe House ซึ่งอาจอยู่ในพื้นที่ กทม.หรือในต่างจังหวัดที่ห่างไกลในชนบท เช่นเดียวกับกรณีของ Bin Laden ที่หลบซ่อนตัวในบ้านที่ปากีสถาน) แต่ต้องอดทนรอจนคนส่วนใหญ่ลืมหรือมีเรื่องอื่นที่น่าสนใจเกิดขึ้น จึงจะออกมาจากที่ซ่อนได้ คือ จะต้องนิ่งสงบไม่เคลื่อนไหวจนกว่าจะมีโอกาส นั่นหมายความว่า ถ้าโอกาสเอื้ออำนวย ก็อาจลงมือวางระเบิดต่อเป้าหมายอื่นๆ ได้อีก
(2) ทางเลือกที่ 2 คือ หลบหนีออกจากประเทศไทยให้เร็วที่สุดทันทีที่ปฏิบัติภารกิจเสร็จสิ้น (วางระเบิดทำลายเป้าหมายและสร้างความเสียหายได้ตามที่มุ่งหวัง) คาดว่า คงจะหลบหนีในเวลาช่วงค่ำของวันที่ 17 ส.ค. 58 โดยสายการบินต่างๆ ออกไปจากประเทศไทย หรือโดยรถประจำทางหรือโดยรถไฟแล้วเปลี่ยนพาหนะการเดินทางตามความเหมาะสมเพื่อไปสู่ที่หมายที่ปลอดภัยกว่า เช่น ไปที่มาเลเซีย สิงคโปร์ กัมพูชา ฮ่องกง ไต้หวัน และเกาหลี เป็นต้น จากนั้นจึงต่อเครื่องบินไปประเทศที่กลุ่มวางระเบิดสังกัดอยู่ (ได้รับการสนับสนุน) ดังนั้นกลุ่มบุคคลที่วางระเบิดจะต้องเตรียมสิ่งของที่จำเป็น รถรับส่ง เส้นทางการหลบหนี เสื้อผ้าเครื่องแต่งตัว รวมทั้งตั๋วเครื่องบิน ตั๋วรถไฟ หรือตั๋วรถประจำทางไว้ให้เรียบร้อยก่อนที่จะลงมือปฏิบัติการวางระเบิดที่ศาลพระพรหม
(3) ทางเลือกที่ 3 คือ ไม่หลบหนีและใช้ชีวิตตามปกติตามฐานะและบทบาทที่เคยปฏิบัติมาตั้งแต่ได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทย เช่น ถ้าเข้ามาเป็นครูสอนภาษาหรือครูสอนศาสนาหรือเป็นผู้สื่อข่าวหรือเป็นพนักงานขององค์กรที่ไม่แสวงหากำไร (NGO) หรือเป็นพนักงานบริษัทต่างๆ ก็ยังคงทำหน้าที่ตามบทบาทนั้นๆ ต่อไปเพื่อไม่ให้เป็นที่ผิดสังเกต และถ้าไม่มีภารกิจในพื้นที่เป้าหมายหรือในประเทศไทยอีก ก็จะค่อยๆ ถอนตัวออกไปเมื่อเหตุการณ์วางระเบิดนั้นไม่เป็นที่สนใจของสาธารณชนอีกต่อไป (เพราะมีเรื่องร้ายแรงอื่นๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้น ซึ่งสาธารณชนให้ความสนใจมากกว่ามาแทนที่)
(4) นอกจากนี้เส้นทางและวิธีการการถอนตัวหรือหลบหนีของแต่ละคนในทีมไม่ควรจะซ้ำกันหรือใช้เส้นทางเดียวกัน และไม่ควรหลบหนีไปในเวลาเดียวกัน เพราะจะเป็นการผิดสังเกต เพื่อรักษาความปลอดภัยให้สมาชิกทุกคนของทีม กลุ่มบุคคลผู้ให้การสนับสนุน และรวมทั้งองค์กรธุรกิจการเมืองทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ให้การสนับสนุน
ในความคิดเห็นส่วนตัว ผู้เขียนคิดว่า บุคคลที่เป็นผู้วางระเบิดซึ่งมีภาพปรากฏใน CCTV ต้องถือว่าเป็นความเร่งด่วนสูงสุดที่ควรจะต้องถอนตัวหรือหลบหนีในทางเลือกที่ 2 มากกว่าทางเลือกอื่นๆ แต่ถ้าเหตุการณ์ไม่เอื้ออำนวยก็อาจจำเป็นต้องใช้ทางเลือกที่ 1 และ 3 ตามลำดับ ส่วนบุคคลที่เป็นหัวหน้าทีมและบุคคลที่ให้การสนับสนุนผู้วางระเบิด(Back up) จะถอนตัวตามไปภายหลังโดยทางเลือกอื่นๆ ตามความเหมาะสมของสถานการณ์ในขณะนั้นๆ สำหรับผู้ดูแลบ้านปลอดภัย (Safe House) คาดว่า น่าจะถอนตัวเป็นคนสุดท้ายของทีมเพราะไม่ได้ออกไปปฏิบัติการ ดังนั้นอาจไม่ถูกบันทึกภาพไว้โดย CCTV จึงต้องมีหน้าที่ในการจัดเก็บและทำลายหลักฐานต่างๆ ให้หมดสิ้นไปเสียก่อน ซึ่งในกรณีนี้น่าจะเป็นนาย Adem Karadag ที่ถูกจับได้ในห้องพักที่พูลอนันต์ อพาร์ทเมนท์ ย่านหนองจอก
4. บทสรุป
จากข้อมูลต่างๆ ที่ได้กล่าวมาในข้อ 2 และข้อ 3 จะพบว่า ผู้ต้องสงสัยและบุคคลในกลุ่มที่ร่วมวางระเบิดได้จัดหาอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการประกอบวัตถุระเบิดเป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถนำมาประกอบระเบิดประกอบเฉพาะกิจ (เป็นชื่อที่ผู้เขียนตั้งขึ้นเองมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Improvised Explosive Devices หรือมักเรียกย่อๆ ว่า IEDs) ได้เป็นจำนวนมากกว่า 2 ลูกขึ้นไป และอาจประกอบได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสมที่จะใช้ในแต่ละเป้าหมาย จึงขอให้ความเห็นไว้ดังนี้
4.1 กลุ่มบุคคลที่วางระเบิดศาลพระพรหม เดินทางเข้าฝังตัวในประเทศไทยมานานมากกว่า 1 ปี (ตั้งแต่ ม.ค. 57) คาดว่า คงได้รับมอบหมายภารกิจให้มาทำลายเป้าหมายต่างๆ ในประเทศไทยจากองค์กรธุรกิจการเมืองจากในประเทศหรือองค์กรธุรกิจการเมืองจากต่างประเทศอย่างแน่นอน
4.2 การจัดหาวัสดุจำนวนมากได้บ่งบอกว่า กลุ่มบุคคลที่วางระเบิดนี้ต้องการประกอบระเบิดประกอบเฉพาะกิจ หรือ IEDs เป็นจำนวนมากกว่า 2 ลูกขึ้นไปอย่างแน่นอน จึงคาดว่า อาจมีเป้าหมายอื่นๆ อีกที่ต้องการวางระเบิดทำลาย เมื่อได้รับคำสั่งหรือได้รับมอบหมายมาอีกในอนาคต และเป้าหมายต่อไปจะเป็นใครหรือจะเป็นอะไร ผู้เขียนคาดว่า อาจจะเป็นบุคคลสำคัญทางราชการและทางการเมืองของไทย หรือบุคคลสำคัญของต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาสานสัมพันธ์ทางธุรกิจการค้า การเมือง และการทหารกับประเทศไทยในโอกาสต่างๆ
4.3 การจัดเตรียมการวางระเบิดที่ศาลพระพรหม โรงแรมแกรนด์ไฮเอท เอราวัณ เริ่มตั้งแต่การเช่าห้องพักที่พูลอนันต์ อพาร์ทเมนท์ เป็นเวลานานเพื่อใช้เป็นที่ประกอบและเก็บระเบิด การจัดหาวัสดุประกอบระเบิด และการจัดบุคคลเข้าร่วมเป็นทีมที่จะวางระเบิดที่ศาลพระพรหม ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นการเตรียมการล่วงหน้าที่ต้องใช้ทั้งเวลา งบประมาณ และอาจต้องฝึกบุคลากรให้มีความชำนาญในการวางระเบิดเพิ่มขึ้นอีกด้วย เหตุการณ์ที่กล่าวมานี้ไม่ใช่เกิดจากความแค้นส่วนตัว แต่เป็นการปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมาย คือ มีการวางแผน เตรียมการ และจัดส่งกลุ่มบุคคลให้เข้ามาวางระเบิดในไทย จึงขอสรุปว่า บัดนี้ได้มีกลุ่มบุคคลที่ไม่ยืนยันสัญชาติได้ทำสงครามไร้รูปแบบกับรัฐไทยและคนไทยแล้ว
5. ข้อเสนอแนะ
5.1 รัฐบาล หน่วยงานภาครัฐ และคนไทยทุกคน จะต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด โดยจะต้องขอความร่วมมือจากคนไทยทุกคน และอาจจะต้องกำหนดให้สถาบันการศึกษาต่างๆ จัดการอบรมให้คนไทยทุกคนได้รู้จักการสังเกต และแจ้งข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีลักษณะและพฤติกรรมที่ผิดปกติหรือผิดธรรมชาติหรือแตกต่างจากบุคคลโดยทั่วไปให้หน่วยงานราชการต่างๆ ได้รับทราบโดยเร็ว เมื่อได้พบหรือเห็นสิ่งผิดปกติต่างๆ โดยไม่ควรนิ่งเฉย หรือคิดว่าธุระไม่ใช่อีกต่อไป
5.2 รัฐบาลจะต้องจัดตั้งกระทรวงใหม่ขึ้นมารับผิดชอบต่อภารกิจการต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายที่มาจากกลุ่มการเมืองนอกกฎหมายในประเทศ และกลุ่มก่อการร้ายที่มาจากองค์กรการเมืองต่างประเทศ เพราะนี่เป็นการต่อสู้และการรบไร้รูปแบบ จึงควรจัดตั้งกระทรวงใหม่ขึ้นมารับผิดชอบภารกิจเป็นการเฉพาะ ไม่ควรใช้ให้ตำรวจมาทำการรบกับกลุ่มก่อการร้ายเหล่านี้ เพราะตำรวจไม่ได้รับการฝึกมาให้ทำการรบ แต่ตำรวจได้รับการฝึกให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะในเรื่องคดีอาญาตามประมวลฯวิธีพิจารณาความอาญาที่มีจำนวนมากขึ้นทุกวันเท่านั้น ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอเสนอให้จัดตั้งกระทรวงรักษาความมั่นคงภายในขึ้น โดยมีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้
(1) จัดตั้งกระทรวงรักษาความมั่นคงภายใน เพื่อทำหน้าที่เสมือนเป็นกระทรวงกลาโหมส่วนหน้า (รบในยามปกติ) โดยให้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการรักษาความมั่นคงภายในประเทศ ซึ่งมีภารกิจที่สำคัญต่างๆ เช่น การต่อต้านการก่อการร้ายในทุกรูปแบบทั้งจากในประเทศและจากต่างประเทศ ต่อต้านอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและไอที ต่อต้านอาชญากรรมที่เกี่ยวกับยาเสพติด ต่อต้านอาชญากรรมที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ต่อต้านการอพยพย้ายถิ่นฐานที่ผิดกฎหมาย เป็นต้น โดยจะต้องได้รับความร่วมมือในทุกๆด้านจากกระทรวงกลาโหม จากกองทัพ และจากหน่วยงานรักษากฎหมายของรัฐ และควรให้มีอำนาจในการจับกุมและดำเนินคดีผู้กระทำผิดในคดีต่างๆ ที่รับผิดชอบ โดยไม่ต้องส่งให้ตำรวจดำเนินคดี
(2) กระทรวงรักษาความมั่นคงภายใน (Ministry of Internal Security) ควรยุบหน่วยงานรัฐบางหน่วย รับโอนหน่วยงานราชการบางหน่วย และตั้งหน่วยงานในสังกัดขึ้นใหม่ ดังนี้
1) รับโอนหน่วยงานราชการต่างๆ (โดยสังเขป) เช่น หน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิด สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานสังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางทั้งหมด (โอนจากสำนักงานตำรวจฯ), ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (โอนจากกองทัพไทย), กรมสอบสวนคดีพิเศษ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (โอนจากกระทรวงยุติธรรม)
2) ยุบหน่วยงานบางหน่วย และรับโอนบางหน่วย เช่น ยุบและรับโอนหน่วยงานต่างๆ ที่สังกัดกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในทั้งหมด และยุบกองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ เพราะปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เป็นต้น
3) ตั้งหน่วยงานใหม่ (โดยสังเขป) เช่น หน่วยงานที่ติดตามและรวบรวมข่าวเกี่ยวกับกลุ่มก่อการร้ายทุกกลุ่มทั้งในประเทศ และต่างประเทศ, หน่วยต่อต้านการก่อการร้ายที่มีขีดความสามารถในการปฏิบัติทั้งในพื้นที่ประเทศไทยและในต่างประเทศ, หน่วยเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิดทุกรูปแบบ, หน่วยต่อต้านการข่าวกรอง, หน่วยต่อต้านการผลิตและการค้ายาเสพติด, หน่วยต่อต้านอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและไอที และหน่วยซักถามผู้ต้องหา (หรือเชลยศึก) เป็นต้น
4) กำหนดให้ข้าราชการที่สังกัดกระทรวงนี้เป็นข้าราชการทหารทุกคน แต่ไม่ต้องแต่งเครื่องแบบมาปฏิบัติงาน ยกเว้นการเข้าร่วมพิธีต่างๆ และจะต้องได้รับการฝึกอย่างทหารโดยเฉพาะหลักสูตรเหล่าทหารราบและหลักสูตรรบพิเศษของกองทัพบก เพื่อให้มีวินัย ยึดมั่นอุดมการณ์ความรักชาติ รู้และเข้าใจการรบแบบต่างๆ เป็นอย่างดี และมีขีดความสามารถที่จะปฏิบัติภารกิจต่างๆ ให้สำเร็จได้ตามเป้าหมาย
ท้ายบทความ
นับจากวันที่ 17 ส.ค. 58 ที่มีการวางระเบิดที่ศาลพระพรหม จนถึงวันนี้คือ วันอังคารที่ 7 ก.ย. 58 รวมเป็นเวลาได้ 22 วันแล้ว ตำรวจสามารถจับกุมผู้ต้องสงสัยได้ 2 คน อีกประมาณ 8 - 9 คนได้ถูกออกหมายจับแล้ว คาดว่าบางคนคงจะหลบหนีออกนอกประเทศไปแล้ว คนไทยส่วนใหญ่ก็คงต้องรอด้วยความอดทน และติดตามดูว่า สำนักงานตำรวจฯ จะทำงานนี้ไปได้แค่ไหน และจะทำอะไรต่อไปเพื่อจับกุมบุคคลที่ร่วมวางระเบิดมาดำเนินคดีให้ได้ เพราะถ้าสามารถจับกุมกลุ่มและขบวนการที่ร่วมวางระเบิดที่ศาลพระพรหมได้จะเป็นการเสริมสร้างเกียรติภูมิของไทยให้ได้รับการยอมรับไปทั่วโลกว่า ไทยมีบุคลากรที่มีขีดความสามารถสูงสามารถจับกุมกลุ่มก่อการร้ายได้ ไม่เพียงจะเป็นการเชือดคอไก่ให้ลิงดูเท่านั้น แต่ยังจะเป็นการปรามกลุ่มก่อการร้ายอื่นๆ ให้รู้สึกเกรงกลัวไม่กล้าเข้ามาปฏิบัติการก่อการร้ายในประเทศไทยอีกด้วย
สำหรับท่านที่สนใจ และผู้อ่านทุกท่านที่ต้องการติดตามความคิดเห็นของผู้เขียน หรือต้องการให้ข้อมูลต่างๆ หรือต้องการติดต่อผู้เขียนในเรื่องใดๆ กรุณาติดต่อได้ที่
(1) E-mail Address: udomdee@gmail.com หรือ weerasak.nathasiri@gmail.com
(2) FB: วีระศักดิ์ นาทะสิริ
(3) Page: พลตรีวีระศักดิ์ นาทะสิริ หรือ Page: แผ่นดินของไทย ปัญหาของคนไทย
ขอขอบคุณสื่อต่างๆ ที่ผู้เขียนได้นำภาพและข่าวบางตอนมาประกอบการเขียนบทความนี้ครับ
วีระศักดิ์ นาทะสิริ
เนื่องจากได้มีผู้ให้ข้อคิดเห็นว่า บทความ “แผ่นดินของไทย ปัญหาของคนไทย” ของผู้เขียน มีหลายเรื่องหลายตอน จึงควรนำตัวเลขมาใช้กำกับให้ชัดเจน จะได้ไม่สับสนต่อการติดตาม และเพื่อความสะดวกของการสืบค้นในอนาคต ซึ่งผู้เขียนก็เห็นด้วยกับความคิดเห็นดังกล่าว และจะขอเปลี่ยนแปลงการให้ตัวเลขกำกับบทความใหม่ของบทความแผ่นดินของไทย ปัญหาของไทย ดังนี้
1.1 ตัวเลขในวงเล็บหลังชื่อบทความ เช่น แผ่นดินของไทย ปัญหาของคนไทย “(9)” เลข 9 หมายความว่า จะอยู่ในหัวข้อเรื่องใหญ่ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
1.2 ตัวเลขหลังคำว่า ชุดที่ เช่น ชุดที่ 9.1 หมายความว่า เป็นหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดังเช่นในบทความนี้ 9.1 จะเป็นเรื่องเฉพาะกรณีการวางระเบิดที่ศาลพระพรหม สี่แยกราชประสงค์ กรุงเทพฯ เท่านั้น
1.3 ตัวเลขหลังคำว่า ตอนที่ เช่น ตอนที่ 1 หมายความว่า บทความนี้เป็นตอนที่ 1 ของบทความกรณีการวางระเบิดที่ศาลพระพรหมเท่านั้น และยังมีตอนต่อมาของบทความในเรื่องนี้อีก
ผู้เขียนหวังว่า การกำหนดตัวเลขของบทความ “แผ่นดินของไทย ปัญหาของคนไทย” ดังกล่าวข้างต้นคงจะช่วยให้ผู้ที่สนใจสามารถติดตามและค้นหาบทความต่างๆ ของผู้เขียนได้โดยสะดวกขึ้น และในโอกาสนี้ผู้เขียนต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ได้ให้คำแนะนำและความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ มา ณ ที่นี้ด้วย
2. การกำหนดคำที่ใช้เรียก การวางระเบิดศาลพระพรหม
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2558 ได้มีรายงานข่าวว่า กระทรวงมหาดไทย ได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัด โดยขอให้ทุกหน่วยงานใช้คำว่า “การก่อเหตุรุนแรง” เพื่อเรียกเหตุการณ์วางระเบิดที่ศาลพระพรหม สี่แยกราชประสงค์ กรุงเทพฯ โดยมีรายละเอียดจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ออนไลน์* ดังนี้
“เมื่อวันที่ 27 ส.ค. นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือวิทยุด่วนที่สุด ลงวันที่ 27 ส.ค.58 แจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดถือปฏิบัติ ดังนี้
1. การกำหนดคำเรียกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขอให้ทุกหน่วยงานใช้คำว่า “การก่อเหตุรุนแรง” เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว และให้ทุกหน่วยงานหลีกเลี่ยงข้อความที่อาจก่อให้เกิดปัญหา และผลกระทบในระดับนานาชาติได้
……………………………………………………………………………………………………….....
6. ขอให้เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเฝ้าระวัง และแจ้งเหตุผิดปกติแก่ทางราชการรวมทั้งการช่วยเหลือในการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง โดยขอให้ช่วยกันระมัดระวังในเรื่องนี้อย่างเต็มที่”
*รายงานข่าวจาก http://www.dailynews.co.th/politics/344424
ในเรื่องนี้คาดว่า ท่าน รมต.มหาดไทย คงกลัวว่า ถ้าใช้คำว่า “การก่อการร้าย” อาจมีผลกระทบต่อความรู้สึกของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ และอาจทำให้บริษัทประกันภัยต่างๆ เก็บเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นกว่าปกติ เนื่องจากมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากการก่อการร้ายเช่นในบางประเทศ
อย่างไรก็ดี ได้มีกลุ่มนิสิตนักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่า ถ้ารู้สึกกลัวเช่นนั้น ก็ขอเสนอให้ใช้คำว่า “การก่อความวิบัติ หรือการสร้างความวิบัติ” สำหรับเหตุการณ์รุนแรง และสำหรับผู้ก่อเหตุรุนแรงด้วยวิธีการใดๆ ก็ตาม ควรใช้คำว่า “ผู้ก่อความวิบัติ หรือผู้สร้างความวิบัติ” เพื่อให้สอดคล้องกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินของผู้เคราะห์ร้ายคนไทย แต่ก็มีผู้อ่านบางท่านได้เสนอให้ใช้คำเรียก เหตุการณ์วางระเบิดที่ศาลพระพรหมว่า “การก่อความหายนะ หรือการสร้างความหายนะ” และให้ใช้คำเรียกผู้ก่อเหตุรุนแรงว่า “ผู้ก่อความหายนะ หรือผู้สร้างความหายนะ”
เมื่อได้ไปหาความหมายในพจนานุกรมไทย-ไทย (จากพจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน) จะพบคำว่า “วิบัติ” มีความหมายว่า พิบัติ ความฉิบหาย ความหายนะ ความเป็นอัปมงคล ส่วนคำว่า “หายนะ” จะมีความหมายว่า ความเสื่อม ความเสียหาย ความฉิบหาย ซึ่งในความเห็นส่วนตัว ผู้เขียนพบว่า “หายนะ” เป็นคำที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าหมายถึง ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำจากธรรมชาติมากกว่ามาจากการกระทำของมนุษย์
ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทยที่ไม่ต้องการใช้คำว่า การก่อการร้าย ผู้เขียนจึงขอเสนอให้เรียกการก่อเหตุวางระเบิดในครั้งนี้ ว่า การก่อความวิบัติ และให้เรียกผู้ร่วมวางระเบิดว่า ผู้ก่อความวิบัติ ตามที่กลุ่มนิสิตนักศึกษาได้เสนอมา แต่สำหรับผู้เขียนจะขอใช้คำว่า การก่อการร้ายและผู้ก่อการร้าย เช่นเดิม เพราะเหตุการณ์นี้ไม่เพียงได้สร้างความเสียหายแก่สถานที่และชีวิตของบุคคลอื่นๆ เท่านั้น แต่ยังมุ่งหวังที่จะสร้างหวาดกลัวแก่สาธารณชนที่อยู่ในสังคมและยังมุ่งข่มขู่รัฐไทย อีกด้วย
3. ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับกลุ่มผู้ต้องสงสัยวางระเบิด และการถอนตัวหรือการหลบหนี
ภาพที่ 1 ผู้ต้องสงสัยที่นำกระเป๋าเป้สะพายที่คาดว่ามีระเบิด*
*จาก http://edition.cnn.com/2015/08/20/asia/thailand-bangkok-bombing/ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
ภาพที่ 2 ผู้ต้องสงสัยใส่เสื้อยืดสีเหลือง ได้นำระเบิดมาวางไว้ในศาลพระพรหม*
*ภาพจาก http://www.thairath.co.th/content/52026 ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
ภาพที่ 1 ผู้ต้องสงสัยในวงกลมสีแดงสะพายเป้เดินผ่านหน้าโรงแรมเอราวัณมาที่ศาลพระพรหม ต่อมาในภาพที่ 2 (ซ้ายมือบน-ล่าง) ผู้ต้องสงสัยพร้อมเป้มาถึงบริเวณศาลแล้วนั่งลงบนม้านั่งข้างรั่ว และภาพที่ 2 (ขวามือบน-ล่าง) หลังจากวางเป้ไว้บนม้านั่งแล้ว ผู้ต้องสงสัยก็เดินออกไปจากบริเวณศาล
ภาพที่ 3 ผู้ต้องสงสัยถือถุงด้วยมือซ้าย และคาดว่าถือโทรศัพท์ด้วยมือขวา
*http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1440000544 ขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
ภาพที่ 4 หลังจากวางระเบิดแล้ว ผู้ต้องสงสัยก็เดินออกจากศาลมาถึงหัวมุมสี่แยกราชประสงค์*
*ภาพจาก http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9580000093506ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
ภาพที่ 3 จะเห็นผู้ต้องสงสัยก้มหน้าดูโทรศัพท์ที่อยู่ในมือขวา ส่วนมือซ้ายกำลังถือถุงอยู่ ผู้เขียนคาดว่า อาจจะเป็นการส่งข้อความไปยัง หัวหน้าทีม หรือบุคคลที่ร่วมอยู่ในทีมวางระเบิดที่คอยให้ความช่วยเหลือหรือให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ เพื่อให้ได้รับรู้ว่า ผู้ต้องสงสัยได้วางระเบิดในจุดที่กำหนดแล้ว และกำลังจะออกไปจากพื้นที่เป้าหมาย(Killing Zone) และภาพที่ 4 กล้องได้จับภาพในขณะที่ผู้ต้องสงสัยถือถุงด้วยมือซ้ายและถือโทรศัพท์ด้วยมือขวา และเดินออกจากศาลพระพรหม มาถึงหัวมุมสี่แยกราชประสงค์ เพื่อที่จะเลี้ยวซ้ายผ่านหน้าโรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ อีกครั้งหนึ่ง
ภาพที่ 5 เส้นทางการถอนตัวหรือหลบหนีของผู้ต้องสงสัย*
*ภาพจาก http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1440000544 ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
ภาพที่ 5 แสดงเส้นทางการถอนตัวออกจากพื้นที่เป้าหมายโดยสรุป กล้องจับภาพขณะผู้ต้องสงสัยวางระเบิด เดินออกจากศาลพระพรหมผ่านหน้าโรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ มุ่งหน้าไปทางสวนลุมพินี ภาพต่อมาผู้ต้องสงสัยได้นั่งรถจักรยานยนต์มุ่งหน้าไปที่สี่แยกศาลาแดง ผ่านแยกศาลาแดงเข้าสู่ถนนสีลม และผ่านแยกสีลมที่ตัดกับถนนนราธิวาส หลังจากนั้นในภาพได้แสดงจุดที่เห็นผู้ต้องสงสัยเป็นครั้งสุดท้าย คือ บริเวณซอยสีลม 9
ข้อสังเกตและความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวผู้ต้องสงสัยวางระเบิด และการถอนตัว (การหลบหนี) ของผู้ต้องสงสัย หลังจากที่ได้ตรวจสอบภาพที่ 2 – 5 แล้ว มีดังนี้
1.1 ข้อสังเกตและความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้ต้องสงสัยวางระเบิด (ดูภาพที่ 2 – 5)
(1) จากภาพที่ 2 และ 3 คาดว่า ผู้ต้องสงสัยน่าจะเป็นคนถนัดมือขวา เพราะมักใช้มือขวาถือและใช้โทรศัพท์ในทุกครั้งที่มีโอกาส
(2) รูปร่างของผู้ต้องสงสัยไม่ได้สูงใหญ่ดังเช่นชาวยุโรปหรือชาวอเมริกัน ขนาดของรูปร่างมีความใกล้เคียงกับคนไทยและคนเอเชีย แต่ในภาพที่ 4 จะเห็นส่วนของจมูกของผู้ต้องสงสัยที่ค่อนข้างโด่งกว่าคนไทยหรือคนเอเชียโดยทั่วไป
(3) ผิวพรรณของผู้ต้องสงสัยที่ปรากฏในภาพที่ 2, 3 และ 4 ไม่ได้ขาวมากไปกว่าคนจีนและคนเอเชียโดยทั่วไป คาดว่า คงได้รับการคัดเลือกหรือกลั่นกรองมาแล้วเพื่อไม่ให้เป็นที่ผิดสังเกต หรือแตกต่างจากคนเอเชียโดยทั่วไป
(4) การที่ใส่ปลอกแขนสองข้างคงเป็นเพราะจะได้ไม่สับสนกับคนไทยและคนต่างชาติอื่นๆ ที่มักใส่เสื้อเหลืองเช่นกันในวันจันทร์ เพื่อที่กลุ่มบุคคลที่วางระเบิดจะสามารถแยกแยะและให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงที ในกรณีที่ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น
(5) ในภาพที่ 5 ได้ชี้ให้เห็นว่า ผู้ต้องสงสัยได้ลงจากรถสามล้อหน้าโรงแรมเอราวัณในเวลา 18:38:28 และได้เดินไปเข้าไปในบริเวณศาลเมื่อเวลา 18:51:00 จากนั้นได้เข้าไปนั่งและวางเป้ที่ม้านั่งข้างรั้วเสร็จแล้วจึงออกมาจากบริเวณศาลในเวลา 18:52:05 โดยใช้เวลาเดินจากจุดที่ลงจากรถสามล้อเข้าไปที่ศาลประมาณ 12 นาที 32 วินาที หลังจากนั้นได้นั่งเก้าอี้วางเป้ไว้บนเก้าอี้ และเดินออกจากศาลพระพรหมได้ใช้ประมาณ 1 นาที 5 วินาที รวมเป็นเวลา 13 นาที 37 วินาที
(6) ต่อมาในเวลา 18:55:18 ได้เกิดระเบิดขึ้นในบริเวณศาลพระพรหม (ดูภาพที่ 6) ขณะที่ผู้ต้องสงสัยได้เดินผ่านหน้าโรงแรมเพนนินซูล่าในเวลา 18:56:06 และจากนั้นในเวลา 18:57:17 กล้องของ กทม.หน้าซอยมหาดเล็กหลวง 2 ได้จับภาพผู้ต้องสงสัยในขณะนั่งซ้อนรถจักรยานยนต์มุ่งหน้าไปที่สี่แยกศาลาแดง ปรากฏว่าผู้ต้องสงสัยได้ใช้เวลาเดินเพียง 5 นาที 12 วินาที (ตั้งแต่ออกจากศาลพระพรหม จนมาถึงหน้าซอยมหาดเล็กหลวง 2 หลังจากนั้นจึงนั่งจักรยานยนต์เข้าสู่ถนนสีลม ผ่านแยกสีลม-นราธิวาส มาถึงซอยสีลม 9 หลังจากนั้นก็ไม่มีกล้องตัวไหนจับภาพผู้ต้องสงสัยได้อีกเลย
ภาพที่ 6 ช่วงเวลาที่เกิดระเบิดที่ศาลพระพรหม*
*ขอขอบคุณภาพจาก http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1440000544
ความคิดเห็นของผู้เขียน
1) การหลบหนีของโจร อาชญากร สายลับ จารชน และผู้ก่อการร้าย ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก นั่นก็คือ เมื่อปฏิบัติภารกิจเสร็จสิ้นแล้ว จะต้องถอนตัวหรือหลบหนีออกไปจากพื้นที่เป้าหมายให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ใช้เวลาเพียง 5 นาที 12 วินาทีในการถอนตัว)เพื่อความปลอดภัยของตนเองและทีมงานที่ให้การสนับสนุน
2) ผู้เขียนคาดว่า พื้นที่บริเวณซอยสีลม 9 น่าจะเป็นจุดนัดพบ โดยอาจมียานพาหนะของทีมงานที่ร่วมวางระเบิดจอดรอคอยอยู่ หรืออาจมีที่พักชั่วคราวอยู่ในบริเวณนี้ เพื่อให้ผู้ต้องสงสัยสามารถใช้เป็นที่ผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ และช่วยเหลือผู้ต้องสงสัยให้หลบหนีออกไปจากพื้นที่ที่มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดจากเจ้าหน้าที่ และอาจจะต้องเดินทางออกจากไทยในทันทีที่มีโอกาส
3) ทำไมจึงมีการวางระเบิดเพียงลูกเดียวในเหตุการณ์นี้ เพราะการวางระเบิดส่วนใหญ่มักจะเตรียมการวางระเบิดไว้ไม่น้อยกว่า 2 ลูก เพื่อป้องกันความผิดพลาด และเพื่อจะได้สร้างความสับสนต่อฝ่ายตรงกันข้าม (ฝ่ายรัฐ) และต่อมาภายหลังได้พบว่า ระเบิดลูกที่สองได้ถูกทิ้งลงน้ำที่สะพานสาทรในเวลาประมาณ 19.30 น.ของวันที่ 17 ส.ค. 58 (หลังจากเกิดระเบิดที่ศาลพระพรหมได้ประมาณ 30 กว่านาที)
4) จึงอาจอนุมานได้ว่า กลุ่มที่วางระเบิดคงได้รับรู้แล้วว่า การวางระเบิดลูกแรกได้ประสบความสำเร็จ จึงเลือกที่จะถอนตัวหรือหลบหนี มากกว่าที่จะเสี่ยงวางระเบิดลูกที่ 2 เพราะอาจถูกจับได้เนื่องจากเจ้าหน้าที่จะมีความระมัดระวังมากขึ้น
3.2 ข้อสังเกตและความคิดเห็นเกี่ยวกับกลุ่มบุคคลที่วางระเบิด (ทีมงานวางระเบิด) เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 58 ตำรวจ และทหาร ได้เข้าตรวจสอบห้องเลขที่ 411 412 413 และ414 ในอพาร์ตเมนต์ อยู่เลขที่ 134/5 ปากซอยเชื่อมสัมพันธ์ 11 แขวงกระทุ่มราย เขตหนองจอก กทม. หลังจากทราบว่า มีผู้ต้องสงสัยที่เกี่ยวข้องกับการวางระเบิดที่ศาลพระพรหม แยกราชประสงค์และสะพานสาทรได้มาเปิดห้องพักทั้ง 4 ห้องไว้นานกว่าหนึ่งปีแล้ว ตามภาพที่ 7
ภาพที่ 7 อพาร์ตเมนต์ที่ผู้ต้องสงสัยได้เช่าไว้*
*ขอขอบคุณภาพจาก http://m.matichon.co.th/readnews.php?newsid=1440898130
ตามข่าวรายงานว่า สามารถจับกุมตัวผู้ต้องสงสัยได้ที่ห้องเลขที่ 412 และได้พบอุปกรณ์และวัตถุที่ใช้สำหรับประกอบระเบิดจำนวนมากโดยเฉพาะลูกปรายแบบกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 ซม.ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่พบที่ศาลพระพรหม และที่สะพานสาทร รวมทั้ง ฝักแคหรือตัวจุดชนวนระเบิด และสารตั้งต้นที่สามารถนำมาทำระเบิดได้ซึ่งบางชนิดสามารถหาซื้อได้ในประเทศไทย แต่บางชนิดต้องนำเข้าจากต่างประเทศ รวมทั้งยังมี Passport หลายเล่ม โดยพบทั้งหมดภายในห้องเลขที่ 412 และ 413 ตามภาพที่ 8 และยังพบว่า ห้องเลขที่411 เเละ 414 นั้นเป็นห้องเปล่าที่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องสงสัยได้เช่าทิ้งไว้ (สรุปข่าวจาก )
ภาพที่ 8 อุปกรณ์และวัตถุที่ใช้สำหรับประกอบระเบิด*
*ขอขอบคุณภาพจาก http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000098659
สำหรับผู้ต้องสงสัยคนแรกเป็นชาย อายุประมาณ 28 ปี ไม่ทราบสัญชาติ (มีรายงานว่า ถือสัญชาติตุรกี แต่ยังไม่มีการยืนยัน) ทราบชื่อว่า นาย Adem Karadag (ดูภาพที่ 9) และได้ตรวจสอบพบว่าได้มีชาวตุรกี (ยังไม่ทราบชื่อ) เป็นผู้เช่าห้องทั้ง 4 ห้องไว้ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2557
ภาพที่ 9 รูปนาย Adem Karadag*
*ขอขอบคุณภาพจาก http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000098659
ต่อมาในวันที่ 1 ก.ย. 58 เวลา 11.00 น. กองกำลังบูรพา ทหารพรานและชุดปฏิบัติการร่วมลาดตระเวนมาตามถนนศรีเพ็ญ มาถึงบริเวณป่าละเมาะริมชายแดน เขตพื้นที่บ้านดงงู ต.ป่าไร่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ได้พบชายต้องสงสัยเดินสะพายกระเป๋าเป้สีดำ เดินผ่านป่าละเมาะมุ่งหน้าสู่เขตแดนกัมพูชา จึงนำกำลังเข้าสกัดจับไว้ได้ก่อนที่ผู้ต้องสงสัยจะข้ามตะเข็บชายแดน ทราบว่าชื่อ นายไมโรลี ยูซุฟู (ดูภาพที่ 10) และได้พบว่า มีลายนิ้วมือตรงกับลายนิ้วมือแฝงที่อยู่บนขวดบรรจุวัตถุระเบิดที่พบในห้องพักพูลอนันต์ อพาร์ทเมนท์ ย่านหนองจอก และตรงกับ DNA ที่พบในแปรงสีฟันและกรรไกรตัดเล็บ ในห้องพัก ไมมูณา การ์เด้นโฮม ย่านมีนบุรี
ภาพที่ 10 นายไมโรลี ยูซุฟู ผู้ต้องสงสัยวางระเบิดคนที่ 2 ที่ถูกจับได้*
*ภาพจาก http://mcot-web.mcot.net/9ent/view.php?id=55e94106be0470fdab8b460a
จากการสืบสวนต่อมา ทางตำรวจได้ออกหมายจับบุคคลที่คาดว่า มีความเกี่ยวข้องกับการวางระเบิดที่ศาลพระพรหมเพิ่มเติมอีก ตามที่ปรากฏในภาพที่ 11
ภาพที่ 11 ผู้ต้องสงสัยวางระเบิดศาลพระพรหมที่ถูกออกหมายจับ*
*ภาพจาก http://www.dailynews.co.th/article/34572
ความคิดเห็นของผู้เขียน
1) การเช่าห้องทั้ง 4 ห้องที่อพาร์ตเมนต์ ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 57 จนถึงวันที่เจ้าหน้าที่ได้บุกเข้าตรวจค้นและจับกุมเมื่อวันที่ 29 ส.ค. 58 ได้ชี้ให้เห็นว่า กลุ่มบุคคลที่วางระเบิดน่าจะเกี่ยวข้องกับหน่วยงานข่าวขององค์กรธุรกิจการเมืองต่างประเทศ โดยได้เข้ามาฝังตัวอยู่ในประเทศไทยในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อหาข่าวความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่อาจมีผลกระทบต่อองค์กรธุรกิจการเมืองของประเทศใดประเทศหนึ่งที่กลุ่มบุคคลที่วางระเบิดสังกัดอยู่
2) จากอุปกรณ์การประกอบระเบิดที่ยึดได้จากห้องเช่า ได้บ่งบอกว่า กลุ่มบุคคลที่วางระเบิดไม่เพียงที่จะทำหน้าที่ด้านข่าวกรองเท่านั้น แต่ยังได้รับการฝึกฝนการก่อวินาศกรรม และรวมทั้งการประกอบระเบิดในรูปแบบต่างๆ อีกด้วย โดยได้รับมอบหมายให้มาปฏิบัติหน้าที่ในการทำลายกลุ่มบุคคลฝ่ายตรงข้าม หรือเพื่อให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับองค์กรธุรกิจการเมืองของประเทศดังกล่าว
3.3 ข้อสังเกตและความคิดเห็นเกี่ยวกับการถอนตัว(หลบหนี) ของกลุ่มบุคคลที่วางระเบิด
ข้อสำคัญของการถอนตัวหรือการหลบหนีของกลุ่มวางระเบิดที่ควรพิจารณา มีดังนี้(1) ทางเลือกที่ 1 คือ หลบซ่อนและใช้ชีวิตอยู่ในบ้านปลอดภัย (Safe House ซึ่งอาจอยู่ในพื้นที่ กทม.หรือในต่างจังหวัดที่ห่างไกลในชนบท เช่นเดียวกับกรณีของ Bin Laden ที่หลบซ่อนตัวในบ้านที่ปากีสถาน) แต่ต้องอดทนรอจนคนส่วนใหญ่ลืมหรือมีเรื่องอื่นที่น่าสนใจเกิดขึ้น จึงจะออกมาจากที่ซ่อนได้ คือ จะต้องนิ่งสงบไม่เคลื่อนไหวจนกว่าจะมีโอกาส นั่นหมายความว่า ถ้าโอกาสเอื้ออำนวย ก็อาจลงมือวางระเบิดต่อเป้าหมายอื่นๆ ได้อีก
(2) ทางเลือกที่ 2 คือ หลบหนีออกจากประเทศไทยให้เร็วที่สุดทันทีที่ปฏิบัติภารกิจเสร็จสิ้น (วางระเบิดทำลายเป้าหมายและสร้างความเสียหายได้ตามที่มุ่งหวัง) คาดว่า คงจะหลบหนีในเวลาช่วงค่ำของวันที่ 17 ส.ค. 58 โดยสายการบินต่างๆ ออกไปจากประเทศไทย หรือโดยรถประจำทางหรือโดยรถไฟแล้วเปลี่ยนพาหนะการเดินทางตามความเหมาะสมเพื่อไปสู่ที่หมายที่ปลอดภัยกว่า เช่น ไปที่มาเลเซีย สิงคโปร์ กัมพูชา ฮ่องกง ไต้หวัน และเกาหลี เป็นต้น จากนั้นจึงต่อเครื่องบินไปประเทศที่กลุ่มวางระเบิดสังกัดอยู่ (ได้รับการสนับสนุน) ดังนั้นกลุ่มบุคคลที่วางระเบิดจะต้องเตรียมสิ่งของที่จำเป็น รถรับส่ง เส้นทางการหลบหนี เสื้อผ้าเครื่องแต่งตัว รวมทั้งตั๋วเครื่องบิน ตั๋วรถไฟ หรือตั๋วรถประจำทางไว้ให้เรียบร้อยก่อนที่จะลงมือปฏิบัติการวางระเบิดที่ศาลพระพรหม
(3) ทางเลือกที่ 3 คือ ไม่หลบหนีและใช้ชีวิตตามปกติตามฐานะและบทบาทที่เคยปฏิบัติมาตั้งแต่ได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทย เช่น ถ้าเข้ามาเป็นครูสอนภาษาหรือครูสอนศาสนาหรือเป็นผู้สื่อข่าวหรือเป็นพนักงานขององค์กรที่ไม่แสวงหากำไร (NGO) หรือเป็นพนักงานบริษัทต่างๆ ก็ยังคงทำหน้าที่ตามบทบาทนั้นๆ ต่อไปเพื่อไม่ให้เป็นที่ผิดสังเกต และถ้าไม่มีภารกิจในพื้นที่เป้าหมายหรือในประเทศไทยอีก ก็จะค่อยๆ ถอนตัวออกไปเมื่อเหตุการณ์วางระเบิดนั้นไม่เป็นที่สนใจของสาธารณชนอีกต่อไป (เพราะมีเรื่องร้ายแรงอื่นๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้น ซึ่งสาธารณชนให้ความสนใจมากกว่ามาแทนที่)
(4) นอกจากนี้เส้นทางและวิธีการการถอนตัวหรือหลบหนีของแต่ละคนในทีมไม่ควรจะซ้ำกันหรือใช้เส้นทางเดียวกัน และไม่ควรหลบหนีไปในเวลาเดียวกัน เพราะจะเป็นการผิดสังเกต เพื่อรักษาความปลอดภัยให้สมาชิกทุกคนของทีม กลุ่มบุคคลผู้ให้การสนับสนุน และรวมทั้งองค์กรธุรกิจการเมืองทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ให้การสนับสนุน
ในความคิดเห็นส่วนตัว ผู้เขียนคิดว่า บุคคลที่เป็นผู้วางระเบิดซึ่งมีภาพปรากฏใน CCTV ต้องถือว่าเป็นความเร่งด่วนสูงสุดที่ควรจะต้องถอนตัวหรือหลบหนีในทางเลือกที่ 2 มากกว่าทางเลือกอื่นๆ แต่ถ้าเหตุการณ์ไม่เอื้ออำนวยก็อาจจำเป็นต้องใช้ทางเลือกที่ 1 และ 3 ตามลำดับ ส่วนบุคคลที่เป็นหัวหน้าทีมและบุคคลที่ให้การสนับสนุนผู้วางระเบิด(Back up) จะถอนตัวตามไปภายหลังโดยทางเลือกอื่นๆ ตามความเหมาะสมของสถานการณ์ในขณะนั้นๆ สำหรับผู้ดูแลบ้านปลอดภัย (Safe House) คาดว่า น่าจะถอนตัวเป็นคนสุดท้ายของทีมเพราะไม่ได้ออกไปปฏิบัติการ ดังนั้นอาจไม่ถูกบันทึกภาพไว้โดย CCTV จึงต้องมีหน้าที่ในการจัดเก็บและทำลายหลักฐานต่างๆ ให้หมดสิ้นไปเสียก่อน ซึ่งในกรณีนี้น่าจะเป็นนาย Adem Karadag ที่ถูกจับได้ในห้องพักที่พูลอนันต์ อพาร์ทเมนท์ ย่านหนองจอก
4. บทสรุป
จากข้อมูลต่างๆ ที่ได้กล่าวมาในข้อ 2 และข้อ 3 จะพบว่า ผู้ต้องสงสัยและบุคคลในกลุ่มที่ร่วมวางระเบิดได้จัดหาอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการประกอบวัตถุระเบิดเป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถนำมาประกอบระเบิดประกอบเฉพาะกิจ (เป็นชื่อที่ผู้เขียนตั้งขึ้นเองมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Improvised Explosive Devices หรือมักเรียกย่อๆ ว่า IEDs) ได้เป็นจำนวนมากกว่า 2 ลูกขึ้นไป และอาจประกอบได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสมที่จะใช้ในแต่ละเป้าหมาย จึงขอให้ความเห็นไว้ดังนี้
4.1 กลุ่มบุคคลที่วางระเบิดศาลพระพรหม เดินทางเข้าฝังตัวในประเทศไทยมานานมากกว่า 1 ปี (ตั้งแต่ ม.ค. 57) คาดว่า คงได้รับมอบหมายภารกิจให้มาทำลายเป้าหมายต่างๆ ในประเทศไทยจากองค์กรธุรกิจการเมืองจากในประเทศหรือองค์กรธุรกิจการเมืองจากต่างประเทศอย่างแน่นอน
4.2 การจัดหาวัสดุจำนวนมากได้บ่งบอกว่า กลุ่มบุคคลที่วางระเบิดนี้ต้องการประกอบระเบิดประกอบเฉพาะกิจ หรือ IEDs เป็นจำนวนมากกว่า 2 ลูกขึ้นไปอย่างแน่นอน จึงคาดว่า อาจมีเป้าหมายอื่นๆ อีกที่ต้องการวางระเบิดทำลาย เมื่อได้รับคำสั่งหรือได้รับมอบหมายมาอีกในอนาคต และเป้าหมายต่อไปจะเป็นใครหรือจะเป็นอะไร ผู้เขียนคาดว่า อาจจะเป็นบุคคลสำคัญทางราชการและทางการเมืองของไทย หรือบุคคลสำคัญของต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาสานสัมพันธ์ทางธุรกิจการค้า การเมือง และการทหารกับประเทศไทยในโอกาสต่างๆ
4.3 การจัดเตรียมการวางระเบิดที่ศาลพระพรหม โรงแรมแกรนด์ไฮเอท เอราวัณ เริ่มตั้งแต่การเช่าห้องพักที่พูลอนันต์ อพาร์ทเมนท์ เป็นเวลานานเพื่อใช้เป็นที่ประกอบและเก็บระเบิด การจัดหาวัสดุประกอบระเบิด และการจัดบุคคลเข้าร่วมเป็นทีมที่จะวางระเบิดที่ศาลพระพรหม ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นการเตรียมการล่วงหน้าที่ต้องใช้ทั้งเวลา งบประมาณ และอาจต้องฝึกบุคลากรให้มีความชำนาญในการวางระเบิดเพิ่มขึ้นอีกด้วย เหตุการณ์ที่กล่าวมานี้ไม่ใช่เกิดจากความแค้นส่วนตัว แต่เป็นการปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมาย คือ มีการวางแผน เตรียมการ และจัดส่งกลุ่มบุคคลให้เข้ามาวางระเบิดในไทย จึงขอสรุปว่า บัดนี้ได้มีกลุ่มบุคคลที่ไม่ยืนยันสัญชาติได้ทำสงครามไร้รูปแบบกับรัฐไทยและคนไทยแล้ว
5. ข้อเสนอแนะ
5.1 รัฐบาล หน่วยงานภาครัฐ และคนไทยทุกคน จะต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด โดยจะต้องขอความร่วมมือจากคนไทยทุกคน และอาจจะต้องกำหนดให้สถาบันการศึกษาต่างๆ จัดการอบรมให้คนไทยทุกคนได้รู้จักการสังเกต และแจ้งข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีลักษณะและพฤติกรรมที่ผิดปกติหรือผิดธรรมชาติหรือแตกต่างจากบุคคลโดยทั่วไปให้หน่วยงานราชการต่างๆ ได้รับทราบโดยเร็ว เมื่อได้พบหรือเห็นสิ่งผิดปกติต่างๆ โดยไม่ควรนิ่งเฉย หรือคิดว่าธุระไม่ใช่อีกต่อไป
5.2 รัฐบาลจะต้องจัดตั้งกระทรวงใหม่ขึ้นมารับผิดชอบต่อภารกิจการต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายที่มาจากกลุ่มการเมืองนอกกฎหมายในประเทศ และกลุ่มก่อการร้ายที่มาจากองค์กรการเมืองต่างประเทศ เพราะนี่เป็นการต่อสู้และการรบไร้รูปแบบ จึงควรจัดตั้งกระทรวงใหม่ขึ้นมารับผิดชอบภารกิจเป็นการเฉพาะ ไม่ควรใช้ให้ตำรวจมาทำการรบกับกลุ่มก่อการร้ายเหล่านี้ เพราะตำรวจไม่ได้รับการฝึกมาให้ทำการรบ แต่ตำรวจได้รับการฝึกให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะในเรื่องคดีอาญาตามประมวลฯวิธีพิจารณาความอาญาที่มีจำนวนมากขึ้นทุกวันเท่านั้น ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอเสนอให้จัดตั้งกระทรวงรักษาความมั่นคงภายในขึ้น โดยมีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้
(1) จัดตั้งกระทรวงรักษาความมั่นคงภายใน เพื่อทำหน้าที่เสมือนเป็นกระทรวงกลาโหมส่วนหน้า (รบในยามปกติ) โดยให้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการรักษาความมั่นคงภายในประเทศ ซึ่งมีภารกิจที่สำคัญต่างๆ เช่น การต่อต้านการก่อการร้ายในทุกรูปแบบทั้งจากในประเทศและจากต่างประเทศ ต่อต้านอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและไอที ต่อต้านอาชญากรรมที่เกี่ยวกับยาเสพติด ต่อต้านอาชญากรรมที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ต่อต้านการอพยพย้ายถิ่นฐานที่ผิดกฎหมาย เป็นต้น โดยจะต้องได้รับความร่วมมือในทุกๆด้านจากกระทรวงกลาโหม จากกองทัพ และจากหน่วยงานรักษากฎหมายของรัฐ และควรให้มีอำนาจในการจับกุมและดำเนินคดีผู้กระทำผิดในคดีต่างๆ ที่รับผิดชอบ โดยไม่ต้องส่งให้ตำรวจดำเนินคดี
(2) กระทรวงรักษาความมั่นคงภายใน (Ministry of Internal Security) ควรยุบหน่วยงานรัฐบางหน่วย รับโอนหน่วยงานราชการบางหน่วย และตั้งหน่วยงานในสังกัดขึ้นใหม่ ดังนี้
1) รับโอนหน่วยงานราชการต่างๆ (โดยสังเขป) เช่น หน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิด สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานสังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางทั้งหมด (โอนจากสำนักงานตำรวจฯ), ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (โอนจากกองทัพไทย), กรมสอบสวนคดีพิเศษ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (โอนจากกระทรวงยุติธรรม)
2) ยุบหน่วยงานบางหน่วย และรับโอนบางหน่วย เช่น ยุบและรับโอนหน่วยงานต่างๆ ที่สังกัดกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในทั้งหมด และยุบกองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ เพราะปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เป็นต้น
3) ตั้งหน่วยงานใหม่ (โดยสังเขป) เช่น หน่วยงานที่ติดตามและรวบรวมข่าวเกี่ยวกับกลุ่มก่อการร้ายทุกกลุ่มทั้งในประเทศ และต่างประเทศ, หน่วยต่อต้านการก่อการร้ายที่มีขีดความสามารถในการปฏิบัติทั้งในพื้นที่ประเทศไทยและในต่างประเทศ, หน่วยเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิดทุกรูปแบบ, หน่วยต่อต้านการข่าวกรอง, หน่วยต่อต้านการผลิตและการค้ายาเสพติด, หน่วยต่อต้านอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและไอที และหน่วยซักถามผู้ต้องหา (หรือเชลยศึก) เป็นต้น
4) กำหนดให้ข้าราชการที่สังกัดกระทรวงนี้เป็นข้าราชการทหารทุกคน แต่ไม่ต้องแต่งเครื่องแบบมาปฏิบัติงาน ยกเว้นการเข้าร่วมพิธีต่างๆ และจะต้องได้รับการฝึกอย่างทหารโดยเฉพาะหลักสูตรเหล่าทหารราบและหลักสูตรรบพิเศษของกองทัพบก เพื่อให้มีวินัย ยึดมั่นอุดมการณ์ความรักชาติ รู้และเข้าใจการรบแบบต่างๆ เป็นอย่างดี และมีขีดความสามารถที่จะปฏิบัติภารกิจต่างๆ ให้สำเร็จได้ตามเป้าหมาย
ท้ายบทความ
นับจากวันที่ 17 ส.ค. 58 ที่มีการวางระเบิดที่ศาลพระพรหม จนถึงวันนี้คือ วันอังคารที่ 7 ก.ย. 58 รวมเป็นเวลาได้ 22 วันแล้ว ตำรวจสามารถจับกุมผู้ต้องสงสัยได้ 2 คน อีกประมาณ 8 - 9 คนได้ถูกออกหมายจับแล้ว คาดว่าบางคนคงจะหลบหนีออกนอกประเทศไปแล้ว คนไทยส่วนใหญ่ก็คงต้องรอด้วยความอดทน และติดตามดูว่า สำนักงานตำรวจฯ จะทำงานนี้ไปได้แค่ไหน และจะทำอะไรต่อไปเพื่อจับกุมบุคคลที่ร่วมวางระเบิดมาดำเนินคดีให้ได้ เพราะถ้าสามารถจับกุมกลุ่มและขบวนการที่ร่วมวางระเบิดที่ศาลพระพรหมได้จะเป็นการเสริมสร้างเกียรติภูมิของไทยให้ได้รับการยอมรับไปทั่วโลกว่า ไทยมีบุคลากรที่มีขีดความสามารถสูงสามารถจับกุมกลุ่มก่อการร้ายได้ ไม่เพียงจะเป็นการเชือดคอไก่ให้ลิงดูเท่านั้น แต่ยังจะเป็นการปรามกลุ่มก่อการร้ายอื่นๆ ให้รู้สึกเกรงกลัวไม่กล้าเข้ามาปฏิบัติการก่อการร้ายในประเทศไทยอีกด้วย
สำหรับท่านที่สนใจ และผู้อ่านทุกท่านที่ต้องการติดตามความคิดเห็นของผู้เขียน หรือต้องการให้ข้อมูลต่างๆ หรือต้องการติดต่อผู้เขียนในเรื่องใดๆ กรุณาติดต่อได้ที่
(1) E-mail Address: udomdee@gmail.com หรือ weerasak.nathasiri@gmail.com
(2) FB: วีระศักดิ์ นาทะสิริ
(3) Page: พลตรีวีระศักดิ์ นาทะสิริ หรือ Page: แผ่นดินของไทย ปัญหาของคนไทย
ขอขอบคุณสื่อต่างๆ ที่ผู้เขียนได้นำภาพและข่าวบางตอนมาประกอบการเขียนบทความนี้ครับ
วีระศักดิ์ นาทะสิริ