ASTVผู้จัดการรายวัน - "วิษณุ" แจง สนช.ปมฟ้องคดีแพ่งโครงการรับจำนำข้าว เผยรอ ก.ก.สอบข้อเท็จจริงได้ข้อสรุปสิ้นเดือนนี้ คาดสั่งฟ้องอย่างช้าต้นปี 59 เชื่อไม่ขาดอายุความ ด้าน ป.ป.ช.ปิดจ๊อบจีทูจีเก๊ มีมติชี้มูลปมระบายข้าวปลอมเพิ่ม ลงดาบเอกชนไทย-จีน 15 ราย ชง อสส.ส่งฟ้องอาญา ขณะที่ “พาณิชย์” นำลงพื้นที่ตรวจคัดแยกข้าวเสีย พร้อมดึง TDR-สวทช. ร่วมประเมินผล จ่อชง นบข.ขายยกคลัง ระบุประหยัดเวลา-ลดค่าจัดเก็บ
ที่รัฐสภา ในการประชุมสภานิติบัญญํติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช.คนที่ 1 เป็นประธาน ได้พิจารณากระทู้ถามของ นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิก สนช. ที่ได้ตั้งถามนายกรัฐมนตรีถึงความคืบหน้าการดำเนินคดีทางแพ่งต่อผู้กระทำความผิดโครงการรับจำนำข้าวว่า จากความเสียหายของโครงการรับจำนำข้าวมูลค่ามหาศาล ทำให้คนไทยต้องแบกรับภาระหนี้จำนวนมากนี้ มีชาวนาฆ่าตัวตายถึง 17 ราย จึงอยากถามว่ารัฐบาลมีแนวทางการดำเนินการทางแพ่งต่อผู้กระทำผู้กระทำความผิดทั้งในส่วนเอกชนและภาครัฐอย่างไร และคดีจะหมดอายุความเมื่อใด
** “วิษณุ” รอผลสอบก่อนส่งฟ้อง
ด้าน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า คดีโครงการทุจริตจำนำข้าวแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.คดีทางการเมืองคือเรื่องถอดถอน ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และสนช.ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว 2.คดีทางอาญาขณะนี้ได้ส่งเรื่องฟ้องไปยังศาลอาญาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว และ 3.การฟ้องทางแพ่งเพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับผิดชอบ ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องใช้หลักนิติธรรม สร้างความเป็นธรรมให้คู่กรณี ใช้หลักกฎหมายดำเนินการ ซึ่งมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2 ฉบับ คือพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับความผิดเกี่ยวข้อง
นายวิษณุ กล่าวต่อว่า สำหรับการฟ้องแพ่งนั้น ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบข้อเท็จจริง2 ชุด 1 กรรมการสอบเท็จจริงที่นายกรัฐมนตรีลงนามแต่งตั้งร่วมกับ รมว.คลัง โดยสอบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ โดยใกล้ปิดสำนวนแล้ว 2.กรรมการสอบข้อเท็จจริงที่นายกรัฐมนตรีลงนามแต่งตั้ง ร่วมกับ รมว.พาณิชย์ เพื่อสอบข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ 6 คน ส่วนเอกชนไม่ต้องตั้งกรรมการสอบ แต่แยกฟ้องต่างหาก และเมื่อกรรมการสอบข้อเท็จจริงทั้ง 2 ชุดดำเนินการเสร็จจะรายงานกลับไปนายกรัฐมนตรีรับทราบ โดยคณะกรรมการทั้ง 2 ชุดนี้จะต้องทำให้เสร็จภายในสิ้นเดือน ก.ย.นี้ จากนั้นส่งต่อไปยังคณะกรรมการความรับผิดทางแพ่งเพื่อเรียกสินไหมทดแทนจากผู้ที่ระบุชื่อใน 2 กลุ่ม โดยจะต้องออกดำเนินการภายใน 2 ปี คือตั้งแต่เดือน ก.พ.58 คือจะครบอายุความในเดือน ก.พ.60 แต่เชื่อว่าจะเสร็จสิ้นได้ภายในเดือน ธ.ค.58 หรืออย่างช้าต้นปี 59 ทั้งนี้หากพบว่ามีความผิด รัฐจะไม่ฟ้องแต่จะสั่งให้ชำระหนี้ เหมือนคำสั่งยึดทรัพย์ ซึ่งผู้ที่ทำผิดสามารถไปยื่นอุทธรณ์คำสั่งได้ ซึ่งทุกอย่างน่าจะจบได้ ไม่กระทบอายุความ
** ชง อสส.ฟันเอกชนเอี่ยวโกงจำนำข้าว
ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ จ.นนทบุรี นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกคณะกรรมการ ป.ป.ช. แถลงผลการประชุมคณะกรรมการป.ป.ช.ว่า ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนเรื่องกล่าวหา นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.พาณิชย์ กับพวก รวม 111 ราย ว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น กรณีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวและการระบายข้าว โดยมีตนเป็นประธานอนุกรรมการไต่สวน และต่อมาเมื่อวันที่ 20 ม.ค.58 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติชี้มูลความผิดนายบุญทรง กับพวก รวม 22 ราย กรณีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวและการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ป.ป.ช.) ซึ่งอัยการสูงสุด (อสส.) ได้ยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ประทับฟ้องคดีดังกล่าวไว้พิจารณาแล้วนั้น
นายวิชากล่าวว่า วันนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาและมีมติเกี่ยวกับผู้ถูกกล่าวหาที่เหลือ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 จำนวน 7 ราย ประกอบด้วย Guangdong stationery & sporting goods imp. & exp. Corp., Ms. Luo Wensui General Manager, Mr. Chen Li Purchase Manager, Mr. Lam Win Coordinator, Hainan grain and oil industrial trading company, Mr. Lin Haihui Deputy General Manager และ Mrs. Zhou Jing Coordinator ได้ร่วมกับผู้ถูกกล่าวหารายอื่นที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติชี้มูลความผิดไปแล้วในฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 และพ.ร.บ.ป.ป.ช.ให้ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังอสส. เพื่อดำเนินคดีอาญากับผู้ถูกกล่าวหาตามฐานความผิดดังกล่าวข้างต้น ตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช. มาตรา 97 ต่อไป
** ชี้มูลเพิ่มรวม 15 ราย
นายวิชา กล่าวอีกว่า กลุ่มที่ 2 จำนวน 8 ราย ประกอบด้วย ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงสีกิจทวียโสธร, นายทวี อาจสมรรถ หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงสีกิจทวียโสธร, บริษัทกิจทวียโสธรไรซ์ จำกัด, นายทวี อาจสมรรถ กรรมการบริษัทกิจทวียโสธรไรซ์ จำกัด, บริษัทเค.เอ็ม.ซี.อินเตอร์ไรซ์ (2002) จำกัด, นายปกรณ์ ลีศิริกุล กรรมการบริษัท เค.เอ็ม.ซี. อินเตอร์ไรซ์ (2002) จำกัด, บริษัทเจียเม้ง จำกัด และนางประพิศ มานะธัญญา กรรมการบริษัทเจียเม้ง จำกัด ได้สนับสนุนการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ อันมีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 และ พ.ร.บ.ป.ป.ช.ให้ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยัง อสส.เพื่อดําเนินคดีอาญากับผู้ถูกกล่าวหาตามฐานความผิดดังกล่าวข้างต้น ตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช.มาตรา 97 ต่อไป และ 3.สำหรับผู้ถูกกล่าวหาที่เหลือในชั้นนี้ยังไม่ปรากฏพยานหลักฐานที่จะรับฟังได้ว่ามีการกระทำความผิดตามข้อกล่าวหา จึงเห็นควรให้ข้อกล่าวหาตกไป อย่างไรก็ตาม ถือว่าคดีนี้สิ้นสุดการพิจารณาของ ป.ป.ช.แล้ว
** พณ.ลงพื้นที่ตรวจคัดแยกข้าวเสีย
วันเดียวกัน นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯได้เชิญหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ จ.นครปฐม เพื่อร่วมสังเกตการณ์การคัดแยกข้าวเกรดซี และข้าวเสีย ที่คลังสินค้าอรุณศิลป์ หลัง 2 ปริมาณ 25,000 ตัน และคลังมหาทรัพย์ฟีด รวม 6 หลัง ปริมาณ 80,000 ตัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนถึงความคุ้มค่าทั้งค่าใช้จ่ายและเวลาที่ต้องเสียไปในการคัดแยกข้าว ก่อนที่จะประมวลข้อดีข้อเสียร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำผลการทดสอบจากการลงพื้นทั้งหมดมาศึกษาและคำนวณความคุ้มค่าในมิติทางเศรษฐศาสตร์ เสนอให้คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) พิจารณาในวันที่ 9 ก.ย.นี้
นางดวงพรกล่าวว่า ในการแยกคุณภาพข้าวในแต่ละกองเป็นรายกระสอบจะใช้เวลาในการคัดแยกเป็นเดือนหรือกว่าจะหมดทุกโกดังต้องใช้เวลาเป็นปีและต้องใช้งบประมาณ แต่ที่ต้องมาตรวจสอบและทดลองการคัดแยก เพราะมีหลายฝ่ายแสดงความกังวลว่าการระบายแบบยกคลังจะทำให้รัฐเสียหาย จึงต้องมาทำให้เห็นว่าการขายแบบไหนจะคุ้มค่ากว่าและรัฐได้ประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดแนวทางการระบายข้าวเกรดซี และข้าวเสีย ปริมาณ 5.89 ล้านตัน ซึ่งแยกเป็นข้าวเกรดซี 4.6 ล้านตัน และข้าวเสีย 1.29 ล้านตัน ไว้ 2 แนวทาง คือ ขายแบบยกคลัง หรือแยกขาย ซึ่งทั้ง 2 วิธีมีข้อดีข้อเสียต่างกัน คือ ถ้าขายแบบยกคลัง จะทำให้ขายข้าวได้ราคาถูกกว่าปกติ แต่สามารถระบายได้หมดในทีเดียว ช่วยรัฐประหยัดค่าใช้จ่ายและลดค่าจัดเก็บ แต่ถ้าคัดแยกก่อนแล้วขาย จะขายได้ราคาดีขึ้น แต่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการคัดแยก ซึ่งอาจจะไม่คุ้มค่า
ที่รัฐสภา ในการประชุมสภานิติบัญญํติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช.คนที่ 1 เป็นประธาน ได้พิจารณากระทู้ถามของ นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิก สนช. ที่ได้ตั้งถามนายกรัฐมนตรีถึงความคืบหน้าการดำเนินคดีทางแพ่งต่อผู้กระทำความผิดโครงการรับจำนำข้าวว่า จากความเสียหายของโครงการรับจำนำข้าวมูลค่ามหาศาล ทำให้คนไทยต้องแบกรับภาระหนี้จำนวนมากนี้ มีชาวนาฆ่าตัวตายถึง 17 ราย จึงอยากถามว่ารัฐบาลมีแนวทางการดำเนินการทางแพ่งต่อผู้กระทำผู้กระทำความผิดทั้งในส่วนเอกชนและภาครัฐอย่างไร และคดีจะหมดอายุความเมื่อใด
** “วิษณุ” รอผลสอบก่อนส่งฟ้อง
ด้าน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า คดีโครงการทุจริตจำนำข้าวแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.คดีทางการเมืองคือเรื่องถอดถอน ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และสนช.ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว 2.คดีทางอาญาขณะนี้ได้ส่งเรื่องฟ้องไปยังศาลอาญาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว และ 3.การฟ้องทางแพ่งเพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับผิดชอบ ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องใช้หลักนิติธรรม สร้างความเป็นธรรมให้คู่กรณี ใช้หลักกฎหมายดำเนินการ ซึ่งมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2 ฉบับ คือพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับความผิดเกี่ยวข้อง
นายวิษณุ กล่าวต่อว่า สำหรับการฟ้องแพ่งนั้น ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบข้อเท็จจริง2 ชุด 1 กรรมการสอบเท็จจริงที่นายกรัฐมนตรีลงนามแต่งตั้งร่วมกับ รมว.คลัง โดยสอบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ โดยใกล้ปิดสำนวนแล้ว 2.กรรมการสอบข้อเท็จจริงที่นายกรัฐมนตรีลงนามแต่งตั้ง ร่วมกับ รมว.พาณิชย์ เพื่อสอบข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ 6 คน ส่วนเอกชนไม่ต้องตั้งกรรมการสอบ แต่แยกฟ้องต่างหาก และเมื่อกรรมการสอบข้อเท็จจริงทั้ง 2 ชุดดำเนินการเสร็จจะรายงานกลับไปนายกรัฐมนตรีรับทราบ โดยคณะกรรมการทั้ง 2 ชุดนี้จะต้องทำให้เสร็จภายในสิ้นเดือน ก.ย.นี้ จากนั้นส่งต่อไปยังคณะกรรมการความรับผิดทางแพ่งเพื่อเรียกสินไหมทดแทนจากผู้ที่ระบุชื่อใน 2 กลุ่ม โดยจะต้องออกดำเนินการภายใน 2 ปี คือตั้งแต่เดือน ก.พ.58 คือจะครบอายุความในเดือน ก.พ.60 แต่เชื่อว่าจะเสร็จสิ้นได้ภายในเดือน ธ.ค.58 หรืออย่างช้าต้นปี 59 ทั้งนี้หากพบว่ามีความผิด รัฐจะไม่ฟ้องแต่จะสั่งให้ชำระหนี้ เหมือนคำสั่งยึดทรัพย์ ซึ่งผู้ที่ทำผิดสามารถไปยื่นอุทธรณ์คำสั่งได้ ซึ่งทุกอย่างน่าจะจบได้ ไม่กระทบอายุความ
** ชง อสส.ฟันเอกชนเอี่ยวโกงจำนำข้าว
ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ จ.นนทบุรี นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกคณะกรรมการ ป.ป.ช. แถลงผลการประชุมคณะกรรมการป.ป.ช.ว่า ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนเรื่องกล่าวหา นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.พาณิชย์ กับพวก รวม 111 ราย ว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น กรณีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวและการระบายข้าว โดยมีตนเป็นประธานอนุกรรมการไต่สวน และต่อมาเมื่อวันที่ 20 ม.ค.58 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติชี้มูลความผิดนายบุญทรง กับพวก รวม 22 ราย กรณีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวและการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ป.ป.ช.) ซึ่งอัยการสูงสุด (อสส.) ได้ยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ประทับฟ้องคดีดังกล่าวไว้พิจารณาแล้วนั้น
นายวิชากล่าวว่า วันนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาและมีมติเกี่ยวกับผู้ถูกกล่าวหาที่เหลือ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 จำนวน 7 ราย ประกอบด้วย Guangdong stationery & sporting goods imp. & exp. Corp., Ms. Luo Wensui General Manager, Mr. Chen Li Purchase Manager, Mr. Lam Win Coordinator, Hainan grain and oil industrial trading company, Mr. Lin Haihui Deputy General Manager และ Mrs. Zhou Jing Coordinator ได้ร่วมกับผู้ถูกกล่าวหารายอื่นที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติชี้มูลความผิดไปแล้วในฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 และพ.ร.บ.ป.ป.ช.ให้ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังอสส. เพื่อดำเนินคดีอาญากับผู้ถูกกล่าวหาตามฐานความผิดดังกล่าวข้างต้น ตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช. มาตรา 97 ต่อไป
** ชี้มูลเพิ่มรวม 15 ราย
นายวิชา กล่าวอีกว่า กลุ่มที่ 2 จำนวน 8 ราย ประกอบด้วย ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงสีกิจทวียโสธร, นายทวี อาจสมรรถ หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงสีกิจทวียโสธร, บริษัทกิจทวียโสธรไรซ์ จำกัด, นายทวี อาจสมรรถ กรรมการบริษัทกิจทวียโสธรไรซ์ จำกัด, บริษัทเค.เอ็ม.ซี.อินเตอร์ไรซ์ (2002) จำกัด, นายปกรณ์ ลีศิริกุล กรรมการบริษัท เค.เอ็ม.ซี. อินเตอร์ไรซ์ (2002) จำกัด, บริษัทเจียเม้ง จำกัด และนางประพิศ มานะธัญญา กรรมการบริษัทเจียเม้ง จำกัด ได้สนับสนุนการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ อันมีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 และ พ.ร.บ.ป.ป.ช.ให้ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยัง อสส.เพื่อดําเนินคดีอาญากับผู้ถูกกล่าวหาตามฐานความผิดดังกล่าวข้างต้น ตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช.มาตรา 97 ต่อไป และ 3.สำหรับผู้ถูกกล่าวหาที่เหลือในชั้นนี้ยังไม่ปรากฏพยานหลักฐานที่จะรับฟังได้ว่ามีการกระทำความผิดตามข้อกล่าวหา จึงเห็นควรให้ข้อกล่าวหาตกไป อย่างไรก็ตาม ถือว่าคดีนี้สิ้นสุดการพิจารณาของ ป.ป.ช.แล้ว
** พณ.ลงพื้นที่ตรวจคัดแยกข้าวเสีย
วันเดียวกัน นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯได้เชิญหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ จ.นครปฐม เพื่อร่วมสังเกตการณ์การคัดแยกข้าวเกรดซี และข้าวเสีย ที่คลังสินค้าอรุณศิลป์ หลัง 2 ปริมาณ 25,000 ตัน และคลังมหาทรัพย์ฟีด รวม 6 หลัง ปริมาณ 80,000 ตัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนถึงความคุ้มค่าทั้งค่าใช้จ่ายและเวลาที่ต้องเสียไปในการคัดแยกข้าว ก่อนที่จะประมวลข้อดีข้อเสียร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำผลการทดสอบจากการลงพื้นทั้งหมดมาศึกษาและคำนวณความคุ้มค่าในมิติทางเศรษฐศาสตร์ เสนอให้คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) พิจารณาในวันที่ 9 ก.ย.นี้
นางดวงพรกล่าวว่า ในการแยกคุณภาพข้าวในแต่ละกองเป็นรายกระสอบจะใช้เวลาในการคัดแยกเป็นเดือนหรือกว่าจะหมดทุกโกดังต้องใช้เวลาเป็นปีและต้องใช้งบประมาณ แต่ที่ต้องมาตรวจสอบและทดลองการคัดแยก เพราะมีหลายฝ่ายแสดงความกังวลว่าการระบายแบบยกคลังจะทำให้รัฐเสียหาย จึงต้องมาทำให้เห็นว่าการขายแบบไหนจะคุ้มค่ากว่าและรัฐได้ประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดแนวทางการระบายข้าวเกรดซี และข้าวเสีย ปริมาณ 5.89 ล้านตัน ซึ่งแยกเป็นข้าวเกรดซี 4.6 ล้านตัน และข้าวเสีย 1.29 ล้านตัน ไว้ 2 แนวทาง คือ ขายแบบยกคลัง หรือแยกขาย ซึ่งทั้ง 2 วิธีมีข้อดีข้อเสียต่างกัน คือ ถ้าขายแบบยกคลัง จะทำให้ขายข้าวได้ราคาถูกกว่าปกติ แต่สามารถระบายได้หมดในทีเดียว ช่วยรัฐประหยัดค่าใช้จ่ายและลดค่าจัดเก็บ แต่ถ้าคัดแยกก่อนแล้วขาย จะขายได้ราคาดีขึ้น แต่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการคัดแยก ซึ่งอาจจะไม่คุ้มค่า