พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่นักการเมือง ออกมาแสดงความเห็นให้สมาชิกสปช.โหวตไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า ถามเขาซิว่า เขาเดือดร้อนอะไรจากตรงนี้ เดือดร้อนเรื่องคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ ใช่หรือไม่ เขาบอกว่าไม่เป็นประชาธิปไตย แล้วที่ผ่านมา เป็นประชาธิปไตยเป็นแบบที่เขาทำหรือไม่ เขาสัญญาหรือไม่ว่า เขาจะทำ ถ้าเขาสัญญาว่าเขาจะทำ มันก็คงมีไม่ได้ แต่ถ้าเขาไม่สัญญาแล้วมาตีรวนอย่างนี้ ต้องไปดูหลายๆ หมวด จะมาบอกว่าไม่ดู ดูไม่รู้เรื่องไม่ได้ ท่านต้องมีอิสระในการตัดสินใจ ผ่านไม่ผ่านก็เรื่องของท่าน ถ้าไม่ผ่านก็ต้องร่างใหม่ ถ้าผ่านแล้วไม่มีอะไรเป็นหลักประกัน มันก็จะเกิดขึ้นอีก เลือกมาซิ จะเอาอย่างไร
เมื่อถามว่า จะเป็นการขยายความขัดแย้งหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ใครขัดแย้งกับใคร สื่อมวลชนจึงกล่าวว่า นักการเมืองกับ สปช. นายกรัฐมนตรีถามกลับว่า เขาขัดแย้งได้หรือ ตนเชิญเขามาร่างรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ต้นแล้ว เขาบอกว่าไม่มา เขาบอกเขามีส่วนได้ส่วนเสีย เขาให้เกียรติกมธ.ยกร่างฯ พอถึงเวลานี้ร่างออกมา ก็บอกว่าไม่ได้เชิญเขามาร่าง ไปค้นคำพูดของเขามาซิ ทุกคนที่พูดออกมา
เมื่อถามว่า มีความกังวลหรือไม่ในชั้นการโหวตของ สปช. นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ห่วง เป็นเรื่องชะตากรรม ท่านเป็นผู้กำหนดอนาคตเอง เพราะท่านเลือกชะตากรรมของท่านเอง ตนพร้อมจะไปนั่งดู และไม่มีใครทำอะไรให้ท่านอีกแล้ว พอแล้ว ก็ตีกันไม่เลิกแล้วกัน อย่างนี้มันจะเลิกกันหรือไม่เล่า เลิกหรือไม่ ขอถาม รัฐธรรมนูญยังไม่ออกมาเลย ยังไม่อะไรทั้งสิ้นเลย ก็เตรียมตีกันแล้ว ท่านอย่ามาลงโทษตน ไปลงโทษคนที่จะตีกันนู่น ถามว่าที่ผ่านมาได้ทำอย่างที่ตนทำหรือไม่ ทำหรือเปล่า ไม่ได้ทำ แล้วท่านอยากให้เขาทำหรือไม่ อยากให้เขาทำ แล้วถ้าเขาไม่ทำท่านจะทำอย่างไร ต้องมีใครไปกำกับเขาบ้างหรือเปล่า ก็แค่นั้นแหละ
เมื่อถามถึงการที่กลุ่มนปช. จะขอแถลงข่าวคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญบ้าง หลังจากที่มูลนิธิมวลมหาประชาชน ได้ออกมาแถลงข่าวก่อนหน้านี้ เรื่องร่างรัฐธรรมนูญ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่อง ไม่เกี่ยว เดี๋ยวตนดูอีกที ให้คสช.พิจารณา ตนไม่ได้เข้าข้างใครอยู่แล้ว ถามว่าจะทำอย่างไรให้บ้านเมืองมันสงบ ทุกคนพยายามจะขอนี่ ไอ้นี่ไม่ได้ สรุปว่ามันยังไม่จบ ใช่หรือไม่ มันยังรบกันไม่เลิกใช่หรือไม่ ไปดูตรงนั้น เพราะว่าถ้าท่านได้รัฐบาลใหม่ เรื่องเก่าจะตีกันอีกหรือเปล่า สัญญาหรือไม่ว่าจะเลิกตีกัน สัญญาหรือไม่ว่าจะยอมรับกติกาประชาธิปไตย จะยอมรับผลการเลือกตั้ง สัญญาหรือยัง อย่ามาดีแต่พูดกับตนตอนนี้
เมื่อถามว่านายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้ฝ่ายการเมืองออกมาให้สัญญา ใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า "ไม่เรียกร้อง จะเรียกทำไม ผมสั่ง ผมมีอำนาจนี่ บางอย่างมันต้องใช้อำนาจ ให้อำนาจมานานแล้ว เป็นรัฐบาลมาก็นานแล้ว ผมทำตามคำสั่งเขามานานแล้วด้วย วันนี้ผมเป็นกรรมการ "
เมื่อถามว่า แปลว่า นายกฯ จะสั่งให้ฝ่ายการเมืองออกมาสัญญากับประชาชน ใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า "ผมไม่สั่ง เขาบอกเขามาจากประชาชนใช่หรือไม่ เขาจะทำเพื่อประชาชน ใช่หรือไม่ เขาจะเลือกตั้งโดยประชาชน ใช่หรือไม่ ท่านไปถามเขาสิ ท่านเป็นผู้ใช้อำนาจไม่ใช่หรือ ท่านเป็นเจ้าของอำนาจไม่ใช่หรือ ใช่หรือเปล่า ใช้อำนาจให้ถูกสิ ไปใช้กับเขา มาไล่ผมทุกอย่างเลยหรืออย่างไร ทำอะไรกันไม่เป็นหรืออย่างไร คิดไม่เป็นหรืออย่างไร คิดกันบ้าง ไม่ได้โมโหอะไรเลยนะเนี่ย"
เมื่อถามว่า มีความเป็นห่วงเรื่องการทำประชามติ หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ก็ไม่ได้ห่วงหรอก ไม่ผ่านก็ทำใหม่
**ไม่ห้ามนักการเมืองวิจารณ์ร่างรธน.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (มปท.) ออกมาแถลงสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญ ว่า แล้วแต่ท่าน เพราะประเทศไทยมีหลายฝ่าย สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ใครก็ทำได้ ไม่ถือเป็นการชี้นำและต่อไปในการลงประชามติ หากคนจะพูดอย่างนี้ สามารถพูดได้ ไม่ได้ว่าอะไร ไม่ได้ปิดปากอย่างที่วิจารณ์กัน
ส่วนนายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานนปช. ที่จะขอแถลงข่าวบ้างนั้น ก็ทำได้ ส่วนการที่พรรคเพื่อไทย ออกมาแถลงจุดยืนรับไม่ได้กับร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนตัวคิดว่าคงไม่ขัดคำสั่งคสช. เพราะไม่ได้ห้ามแถลง แต่ห้ามเรื่องการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งการแถลงประเด็นร่างรัฐธรรมนูญ ไม่น่าจะเป็นปัญหา
ส่วนที่ สปช.ระบุว่า การให้สัมภาษณ์ของตน ว่าจะเกิดความวุ่นวาย เป็นการส่งสัญญาณให้คว่ำร่างรัฐธรรมนูญนั้น ไม่เป็นความจริง ไม่ได้ส่งสัญญาณอะไรทั้งนั้น หากจะส่งตนพูดตรงๆไม่ดีกว่าหรือ ขณะที่นายกฯเอง ก็ต้องการให้ทุกอย่างเป็นไปตามโรดแมป และตามกรอบของมัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเผยแพร่ว่า จะคว่ำหรือไม่คว่ำ ร่างรัฐธรรมนูญ จะเข้าข่ายไม่เหมาะสมหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ถ้ายังไม่ได้ทำไม่เป็นไร มาถึงในจุดที่จะทำค่อยว่ากัน ส่วนเรื่องมาตรการต่างๆ เป็นหน้าที่ของหน่วยงานด้านความมั่นคง เมื่อถามถึงบทลงโทษของผู้ที่รณรงค์รับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่มี เพราะรัฐธรรมนูญเขียนว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ไปกำหนดโทษไม่ได้ แต่โทษให้นำ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการทำประชามติ พ.ศ.2552 ตั้งแต่ มาตรา 38 มาใช้ ซึ่งตนได้ไปเปิดอ่านดู พบว่าห้ามเรื่องทั่วไป อาทิ ห้ามฉีกบัตร ห้ามทำบัตรเสีย ห้ามขัดขวางการทำประชามติ ห้ามสัญญาจะว่าจะให้ แต่เรื่องรณรงค์ไม่มี
เมื่อถามว่า กังวลหรือไม่หากมีการรณรงค์ให้คว่ำร่างรัฐธรรมนูญ นายวิษณุ กล่าวว่า หากพูดว่าไม่กังวล ดูจะใจเย็นไป ซึ่งในแง่ของรัฐบาลที่ดูแลรักษาความสงบ กังวลว่าอย่าให้มันเลยเถิดไปจนถึงขั้นเกิดความไม่เรียบร้อย แตกแยกความสามัคคี ถ้าแสดงความเห็น และหยุดแค่ตรงนั้นไม่มีใครเขาทำอะไร พูดไป ไม่ว่าอะไร รัฐธรรมนูญมีเสรีภาพให้อยู่
ทั้งนี้ สำหรับประชามติร่างรัฐธรรมนูญ จะต้องมีคะแนนเห็นชอบเกินครึ่งหนึ่งของผู้ที่มาออกเสียง ส่วน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการทำประชามติ พ.ศ.2552 นั้นกำหนดว่า ต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์ออกเสียงลงประชามติเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ทั่วประเทศ ซึ่งเขาใช้สำหรับการลงประชามติในประเด็นประโยชน์สาธารณะ อย่างการทำโครงการต่างๆ ซึ่งยังสามารถลงประชามติเฉพาะพื้นที่ก็ได้ แต่ไม่ใช่ประเด็นรัฐธรรมนูญ
ด้านพ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่แกนนำกลุ่ม นปช. จะมายื่นหนังสือถึง คสช. เพื่ออนุญาตใช้สิทธิแถลงข่าว แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 6 ก.ย.นี้ เช่นเดียวกับที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนฯ ว่า คสช.ต้องพิจารณาตัวหนังสือที่จะมายื่น ว่ามีในรายละเอียดอย่างไร ซึ่งปกติการยื่นหนังสือ ก็สามารถมายื่นได้ตามช่องทางของ คสช. แต่จะอนุญาตให้จัดกิจกรรมต่างๆ หรือไม่ ต้องพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง โดยต้องนำเรียนผู้บังคับบัญชาต่อไป
**ซัด"เต้น" ปลุกเสื้อแดงก่อม็อบระวังคุก
นายสิระ เจนจาคะ สมาชิกสปช. กล่าวถึงกรณี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย ได้แถลงจุดยืนของมูลนิธิฯว่าจะสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญนั้น ตนอยากฝากไปถึงนายสุเทพ และอดีตแกนนำ กปปส. ทุกท่านว่า ขอขอบคุณที่ยังยืนหยัดในจุดที่เราเคยต่อสู้ร่วมกันมา และยังคิดถึงผลประโยช์ของประเทศชาติ และประชาชนเป็นสำคัญ
นายสิระ กล่าวว่า นายสุเทพและคณะ ครั้งหนึ่งก็เคยเป็นนักการเมือง แต่เมื่อวันนี้เลือกที่จะเดินหน้าไปกับประชาชน ก็ต้องสนับสนุนรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะถือว่า ประชาชนได้ประโยชน์ที่สุด หากนายสุเทพไม่สนับสนุน จะกลายเป็นคำถามขึ้นในใจของประชาชนที่ร่วมกันต่อสู้ข้างถนนทันที ว่า นายสุเทพ กลับไปสนับสนุนฝั่งนักการเมืองอีกแล้ว ใช่หรือไม่ เพราะฉะนั้น ตนจึงขอชื่นชมนายสุเทพ และคณะอย่างจริงใจ
นายสิระ ยังกล่าวถึงกรณี นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการนปช. ประกาศจะนำคนเสื้อแดงเคลื่อนไหว หากร่างรัฐธรรมนูญผ่านการลงมติของ สปช.นั้น ตนอยากจะถามไปถึงนายณัฐวุฒิว่า ที่ออกมาเคลื่อนไหวเช่นนี้ ลืมคดีที่ตัวเองมีติดตัวไปหรือไม่ หากนายณัฐวุฒิไม่ไตร่ตรองให้ดี ยังหวังที่จะนำมวลชนมาเคลื่อนไหวอีก ระวังจะได้ย้ายบ้านไปนอนคุก หรือหากคิดถึงเพื่อนที่อยู่ในเรือนจำ ก็ไปขอเยี่ยมได้ ไม่ต้องทำวิธีนี้ ทั้งนี้ ตนขอให้นายณัฐวุฒิ หยุดคิดเพื่อตัวเองได้แล้ว ที่ผ่านมาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทำให้ประเทศของเราถอยหลังลงไปมาก ขอให้หยุดก่อนที่สถานการณ์จะเลวร้ายไปมากกว่านี้
ส่วนการออกเสียงลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญนั้น นายสิระ กล่าวว่า ขณะนี้จากที่ตนได้พูดคุยกับ สปช. หลายท่าน เชื่อว่าจะมี สปช. โหวตรับร่างนี้กว่า 190 คน โดยคนที่ไม่รับร่าง ก็เป็นพวกมีธงไว้ตั้งแต่ก่อนเห็นร่างรัฐธรรมนูญแล้ว
** "บุญเลิศ"ชี้ 4 เหตุผล คว่ำร่างรธน.
นายบุญเลิศ คชายุทธเดช สมาชิกสปช. แถลงว่า ร่างรัฐธรรมนูญนั้น แม้จะมีเนื้อหาที่ดีอยู่มาก แต่ส่วนน้อยที่เป็นข้อบกพร่องนั้น หากผ่านมติจาก สปช.ไปสู่การทำประชามติ จนกระทั่งมีผลบังคับใช้ อาจจะสร้างปัญหาจนเกิดวิกฤติ และผลกระทบต่อร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อหยุดร่างรัฐธรรมนูญนี้ไว้ก่อน แล้วทบทวนให้รอบคอบ ปรับแก้ให้สมบูรณ์จนทุกฝ่ายยอมรับ จะเกิดประโยชน์มากกว่า ซึ่งตนมีข้อสังเกต 4 ประการ ที่จะลงมติ ไม่เห็นชอบ ร่างรัฐธรรมนูญนี้ คือ
1. ร่างรัฐธรรมนูญนี้ไม่เป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะกับนักการเมือง 2 พรรคใหญ่ ทั้งพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่ม นปช. นักวิชาการ และ สื่อมวลชน
2. ร่างรัฐธรรมนูญนี้ถูกตั้งฉายาสารพัดในทางลบ ทำให้ร่างรัฐธรรมนูญถูกลดคุณค่า ไม่สง่างาม ไม่สมศักดิ์ศรีของกฎหมายสูงสุด
3. การผ่านมติของสปช. ควรจะผ่านแบบเอกฉันท์ หรือค่อนข้างเอกฉันท์ แต่เท่าที่ประเมินดูแล้ว คะแนนจะออกมาไม่ต่างกันมาก ทำให้เกิดคำถามว่า ถ้าร่างรัฐธรรมนูญดีจริง เหตุใด สปช. จึงไม่เห็นชอบเป็นจำนวนมาก ซึ่งเท่าที่ตนประเมินดูแล้ว เสียง สปช. 21 คน ที่เป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะเป็นเสียงชี้ขาด และเป็นตัวแปรสำคัญในการลงมติรับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้
4. ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจหลักการ และเนื้อหาสาระในร่างรัฐธรรมนูญ และการไปลงประชามติ จะไม่ได้อยู่แค่ที่เนื้อหาสาระ แต่จะรวมไปถึงเรื่องอื่นๆ เช่น ความพอใจ หรือไม่พอใจต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หรือรัฐบาลด้วย ดังนั้นจึงเกินกว่าจะคาดการณ์ได้ว่า ผลของการลงประชามติที่ออกมา จะมีความชอบธรรมที่เป็นมติที่สร้างความแตกแยก จนเกิดความไม่ปรองดองรอบใหม่ ตนจึงเห็นว่าไม่ควรเอาประเทศไปเสี่ยงให้เกิดวิกฤต จึงควรหยุดไว้ก่อน ปรับแก้ใหม่
ด้านนายนิมิต สิทธิไตร สมาชิก สปช. กล่าวว่า ขณะนี้เสี่ยงเกินไปต่อการนำประเทศไปสู่วิกฤตครั้งใหม่ เกิดผลกระทบต่อการปฏิรูปและการปรองดอง ดังนั้นทางออกมีทางเดียว คือ หยุดร่างรัฐธรรมนูญนี้ไว้ ด้วยการลงมติไม่เห็นชอบ เพื่อให้เกิดการทบทวนแก้ไข เพราะการผ่าน สปช.ไปสู่ขั้นลงประชามติ น่าจะไม่ใช่เรื่องที่ดี เนื่องจากยังสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดวิกฤตรัฐธรรมนูญ และวิกฤตประเทศ และขอวิงวอนให้ สปช. ทุกคนไต่ตรองให้รอบคอบ ตัดสินใจโดยเอาประเทศเป็นตัวตั้ง
**ประเมิน130 เสียงจ่อคว่ำ ร่าง รธน.
นายอมร วาณิชวิวัฒน์ สมาชิก สปช. กล่าวถึง กรณีมีกระแสข่าวว่า สปช.สายนักวิชาการ สายกฎหมาย เคลื่อนไหวไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ส่วนตัวมองเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญไม่มีปัญหา ดีพอจะรับได้ แต่เงื่อนไขเมื่อผ่าน สปช. จะต้องไปทำประชามติ ซึ่งล่าสุด นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชน ออกมาหนุนร่างรัฐธรรมนูญ แต่ฝ่ายนักพรรคการเมือง ออกมาค้าน จึงเกรงว่า เมื่อรัฐธรรมนูญ ผ่านชั้น สปช. ไปทำประชามติ จะเกิดภาพการรณรงค์สวนทางของสองฝ่าย เหมือนการทำประชามติในปี 50 ถ้ายกมือผ่าน ต้องเสียเงินหลายพันล้าน และอาจเสี่ยงเกิดความขัดแย้ง ตรงนี้เป็นประเด็นที่นักวิชาการกังวล ซึ่งบางคนไม่พอใจ ไม่สบายใจเรื่อง คปป. ที่มานายกฯ ที่มา ส.ว. แต่ส่วนตัวมองว่า เนื้อหาเรื่อง คปป.ไม่น่ามีปัญหา หากไม่มีการนำไปตีความเพื่อหาผลประโยชน์ส่วนตน
ส่วนกรณีมีบางคนออกมาระบุ เสียงโหวตผ่านรัฐธรรมนูญถึง 200 เสียง คงเป็นแค่เรื่องโจ๊ก วันนี้นี้ไม่มีทางเป็นไปได้แล้ว เพราะจากนัดพบปะรับประทานอาหารเวียดนาม กับ สปช. ได้พูดคุยปัญหาบ้านเมืองกันที่โรงแรมดุสิตธานี เมื่อวันที่ 1 ก.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งไม่ใช่การนัดเพื่อนับเสียง หรือล็อบบี้เเต่อย่างใด แต่ประเมินกันว่า เสียงโหวตน่าจะสูสี คู่คี่ เสียงไม่รับร่าง อาจจะเกือบ 130 เสียงด้วยซ้ำไป เพราะล่าสุด สปช. สายปกครอง สายต่างจังหวัดบางส่วน เริ่มหันมาเทคะแนนทางไม่รับร่างมากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว
**สายท้องถิ่นเชื่อร่างรธน.ผ่านแบบสูสี
นายธีรศักดิ์ พานิชวิทย์ สปช.ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น กล่าวถึง กระแสะการลงมติร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ส่วนใหญ่ สปช.ในกลุ่มพอใจในเรื่องท้องถิ่น และการกระจายอำนาจที่เสนอให้กมธ.ยกร่างฯ แก้ไข ซึ่งกมธ.ยกร่างฯ ก็ได้แก้ไขให้ตามคำขอ แต่ยังมีบางคนที่ยังกังวลเรื่องคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) แต่ทางกลุ่มไม่ได้มีมติให้ สปช.โหวตรับ หรือไม่รับร่างฯ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแต่ละคน ส่วนตัวกังวลว่า หากร่างรัฐธรรมนูญนี้ไม่ผ่านสปช. และต้องตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 21 คน ขึ้นมาใหม่หน้าตาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะเป็นประชาธิปไตยแบบเต็มใบหรือไม่ และจะมีความเหมาะสมกว่าร่างนี้หรือไม่ แต่เชื่อว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีความเหมาะสมกับประเทศในภาวะที่ต้องการการปฏิรูป และกระจายอำนาจไปสู้ท้องถิ่นมากขึ้น ดังนั้น น่าจะผ่าน สปช.ได้แต่คะแนนอาจจะสูสี ไม่ได้ทิ้งขาดเหมือนกระแสข่าวในตอนแรก
เมื่อถามว่า จะเป็นการขยายความขัดแย้งหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ใครขัดแย้งกับใคร สื่อมวลชนจึงกล่าวว่า นักการเมืองกับ สปช. นายกรัฐมนตรีถามกลับว่า เขาขัดแย้งได้หรือ ตนเชิญเขามาร่างรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ต้นแล้ว เขาบอกว่าไม่มา เขาบอกเขามีส่วนได้ส่วนเสีย เขาให้เกียรติกมธ.ยกร่างฯ พอถึงเวลานี้ร่างออกมา ก็บอกว่าไม่ได้เชิญเขามาร่าง ไปค้นคำพูดของเขามาซิ ทุกคนที่พูดออกมา
เมื่อถามว่า มีความกังวลหรือไม่ในชั้นการโหวตของ สปช. นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ห่วง เป็นเรื่องชะตากรรม ท่านเป็นผู้กำหนดอนาคตเอง เพราะท่านเลือกชะตากรรมของท่านเอง ตนพร้อมจะไปนั่งดู และไม่มีใครทำอะไรให้ท่านอีกแล้ว พอแล้ว ก็ตีกันไม่เลิกแล้วกัน อย่างนี้มันจะเลิกกันหรือไม่เล่า เลิกหรือไม่ ขอถาม รัฐธรรมนูญยังไม่ออกมาเลย ยังไม่อะไรทั้งสิ้นเลย ก็เตรียมตีกันแล้ว ท่านอย่ามาลงโทษตน ไปลงโทษคนที่จะตีกันนู่น ถามว่าที่ผ่านมาได้ทำอย่างที่ตนทำหรือไม่ ทำหรือเปล่า ไม่ได้ทำ แล้วท่านอยากให้เขาทำหรือไม่ อยากให้เขาทำ แล้วถ้าเขาไม่ทำท่านจะทำอย่างไร ต้องมีใครไปกำกับเขาบ้างหรือเปล่า ก็แค่นั้นแหละ
เมื่อถามถึงการที่กลุ่มนปช. จะขอแถลงข่าวคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญบ้าง หลังจากที่มูลนิธิมวลมหาประชาชน ได้ออกมาแถลงข่าวก่อนหน้านี้ เรื่องร่างรัฐธรรมนูญ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่อง ไม่เกี่ยว เดี๋ยวตนดูอีกที ให้คสช.พิจารณา ตนไม่ได้เข้าข้างใครอยู่แล้ว ถามว่าจะทำอย่างไรให้บ้านเมืองมันสงบ ทุกคนพยายามจะขอนี่ ไอ้นี่ไม่ได้ สรุปว่ามันยังไม่จบ ใช่หรือไม่ มันยังรบกันไม่เลิกใช่หรือไม่ ไปดูตรงนั้น เพราะว่าถ้าท่านได้รัฐบาลใหม่ เรื่องเก่าจะตีกันอีกหรือเปล่า สัญญาหรือไม่ว่าจะเลิกตีกัน สัญญาหรือไม่ว่าจะยอมรับกติกาประชาธิปไตย จะยอมรับผลการเลือกตั้ง สัญญาหรือยัง อย่ามาดีแต่พูดกับตนตอนนี้
เมื่อถามว่านายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้ฝ่ายการเมืองออกมาให้สัญญา ใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า "ไม่เรียกร้อง จะเรียกทำไม ผมสั่ง ผมมีอำนาจนี่ บางอย่างมันต้องใช้อำนาจ ให้อำนาจมานานแล้ว เป็นรัฐบาลมาก็นานแล้ว ผมทำตามคำสั่งเขามานานแล้วด้วย วันนี้ผมเป็นกรรมการ "
เมื่อถามว่า แปลว่า นายกฯ จะสั่งให้ฝ่ายการเมืองออกมาสัญญากับประชาชน ใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า "ผมไม่สั่ง เขาบอกเขามาจากประชาชนใช่หรือไม่ เขาจะทำเพื่อประชาชน ใช่หรือไม่ เขาจะเลือกตั้งโดยประชาชน ใช่หรือไม่ ท่านไปถามเขาสิ ท่านเป็นผู้ใช้อำนาจไม่ใช่หรือ ท่านเป็นเจ้าของอำนาจไม่ใช่หรือ ใช่หรือเปล่า ใช้อำนาจให้ถูกสิ ไปใช้กับเขา มาไล่ผมทุกอย่างเลยหรืออย่างไร ทำอะไรกันไม่เป็นหรืออย่างไร คิดไม่เป็นหรืออย่างไร คิดกันบ้าง ไม่ได้โมโหอะไรเลยนะเนี่ย"
เมื่อถามว่า มีความเป็นห่วงเรื่องการทำประชามติ หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ก็ไม่ได้ห่วงหรอก ไม่ผ่านก็ทำใหม่
**ไม่ห้ามนักการเมืองวิจารณ์ร่างรธน.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (มปท.) ออกมาแถลงสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญ ว่า แล้วแต่ท่าน เพราะประเทศไทยมีหลายฝ่าย สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ใครก็ทำได้ ไม่ถือเป็นการชี้นำและต่อไปในการลงประชามติ หากคนจะพูดอย่างนี้ สามารถพูดได้ ไม่ได้ว่าอะไร ไม่ได้ปิดปากอย่างที่วิจารณ์กัน
ส่วนนายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานนปช. ที่จะขอแถลงข่าวบ้างนั้น ก็ทำได้ ส่วนการที่พรรคเพื่อไทย ออกมาแถลงจุดยืนรับไม่ได้กับร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนตัวคิดว่าคงไม่ขัดคำสั่งคสช. เพราะไม่ได้ห้ามแถลง แต่ห้ามเรื่องการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งการแถลงประเด็นร่างรัฐธรรมนูญ ไม่น่าจะเป็นปัญหา
ส่วนที่ สปช.ระบุว่า การให้สัมภาษณ์ของตน ว่าจะเกิดความวุ่นวาย เป็นการส่งสัญญาณให้คว่ำร่างรัฐธรรมนูญนั้น ไม่เป็นความจริง ไม่ได้ส่งสัญญาณอะไรทั้งนั้น หากจะส่งตนพูดตรงๆไม่ดีกว่าหรือ ขณะที่นายกฯเอง ก็ต้องการให้ทุกอย่างเป็นไปตามโรดแมป และตามกรอบของมัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเผยแพร่ว่า จะคว่ำหรือไม่คว่ำ ร่างรัฐธรรมนูญ จะเข้าข่ายไม่เหมาะสมหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ถ้ายังไม่ได้ทำไม่เป็นไร มาถึงในจุดที่จะทำค่อยว่ากัน ส่วนเรื่องมาตรการต่างๆ เป็นหน้าที่ของหน่วยงานด้านความมั่นคง เมื่อถามถึงบทลงโทษของผู้ที่รณรงค์รับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่มี เพราะรัฐธรรมนูญเขียนว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ไปกำหนดโทษไม่ได้ แต่โทษให้นำ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการทำประชามติ พ.ศ.2552 ตั้งแต่ มาตรา 38 มาใช้ ซึ่งตนได้ไปเปิดอ่านดู พบว่าห้ามเรื่องทั่วไป อาทิ ห้ามฉีกบัตร ห้ามทำบัตรเสีย ห้ามขัดขวางการทำประชามติ ห้ามสัญญาจะว่าจะให้ แต่เรื่องรณรงค์ไม่มี
เมื่อถามว่า กังวลหรือไม่หากมีการรณรงค์ให้คว่ำร่างรัฐธรรมนูญ นายวิษณุ กล่าวว่า หากพูดว่าไม่กังวล ดูจะใจเย็นไป ซึ่งในแง่ของรัฐบาลที่ดูแลรักษาความสงบ กังวลว่าอย่าให้มันเลยเถิดไปจนถึงขั้นเกิดความไม่เรียบร้อย แตกแยกความสามัคคี ถ้าแสดงความเห็น และหยุดแค่ตรงนั้นไม่มีใครเขาทำอะไร พูดไป ไม่ว่าอะไร รัฐธรรมนูญมีเสรีภาพให้อยู่
ทั้งนี้ สำหรับประชามติร่างรัฐธรรมนูญ จะต้องมีคะแนนเห็นชอบเกินครึ่งหนึ่งของผู้ที่มาออกเสียง ส่วน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการทำประชามติ พ.ศ.2552 นั้นกำหนดว่า ต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์ออกเสียงลงประชามติเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ทั่วประเทศ ซึ่งเขาใช้สำหรับการลงประชามติในประเด็นประโยชน์สาธารณะ อย่างการทำโครงการต่างๆ ซึ่งยังสามารถลงประชามติเฉพาะพื้นที่ก็ได้ แต่ไม่ใช่ประเด็นรัฐธรรมนูญ
ด้านพ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่แกนนำกลุ่ม นปช. จะมายื่นหนังสือถึง คสช. เพื่ออนุญาตใช้สิทธิแถลงข่าว แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 6 ก.ย.นี้ เช่นเดียวกับที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนฯ ว่า คสช.ต้องพิจารณาตัวหนังสือที่จะมายื่น ว่ามีในรายละเอียดอย่างไร ซึ่งปกติการยื่นหนังสือ ก็สามารถมายื่นได้ตามช่องทางของ คสช. แต่จะอนุญาตให้จัดกิจกรรมต่างๆ หรือไม่ ต้องพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง โดยต้องนำเรียนผู้บังคับบัญชาต่อไป
**ซัด"เต้น" ปลุกเสื้อแดงก่อม็อบระวังคุก
นายสิระ เจนจาคะ สมาชิกสปช. กล่าวถึงกรณี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย ได้แถลงจุดยืนของมูลนิธิฯว่าจะสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญนั้น ตนอยากฝากไปถึงนายสุเทพ และอดีตแกนนำ กปปส. ทุกท่านว่า ขอขอบคุณที่ยังยืนหยัดในจุดที่เราเคยต่อสู้ร่วมกันมา และยังคิดถึงผลประโยช์ของประเทศชาติ และประชาชนเป็นสำคัญ
นายสิระ กล่าวว่า นายสุเทพและคณะ ครั้งหนึ่งก็เคยเป็นนักการเมือง แต่เมื่อวันนี้เลือกที่จะเดินหน้าไปกับประชาชน ก็ต้องสนับสนุนรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะถือว่า ประชาชนได้ประโยชน์ที่สุด หากนายสุเทพไม่สนับสนุน จะกลายเป็นคำถามขึ้นในใจของประชาชนที่ร่วมกันต่อสู้ข้างถนนทันที ว่า นายสุเทพ กลับไปสนับสนุนฝั่งนักการเมืองอีกแล้ว ใช่หรือไม่ เพราะฉะนั้น ตนจึงขอชื่นชมนายสุเทพ และคณะอย่างจริงใจ
นายสิระ ยังกล่าวถึงกรณี นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการนปช. ประกาศจะนำคนเสื้อแดงเคลื่อนไหว หากร่างรัฐธรรมนูญผ่านการลงมติของ สปช.นั้น ตนอยากจะถามไปถึงนายณัฐวุฒิว่า ที่ออกมาเคลื่อนไหวเช่นนี้ ลืมคดีที่ตัวเองมีติดตัวไปหรือไม่ หากนายณัฐวุฒิไม่ไตร่ตรองให้ดี ยังหวังที่จะนำมวลชนมาเคลื่อนไหวอีก ระวังจะได้ย้ายบ้านไปนอนคุก หรือหากคิดถึงเพื่อนที่อยู่ในเรือนจำ ก็ไปขอเยี่ยมได้ ไม่ต้องทำวิธีนี้ ทั้งนี้ ตนขอให้นายณัฐวุฒิ หยุดคิดเพื่อตัวเองได้แล้ว ที่ผ่านมาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทำให้ประเทศของเราถอยหลังลงไปมาก ขอให้หยุดก่อนที่สถานการณ์จะเลวร้ายไปมากกว่านี้
ส่วนการออกเสียงลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญนั้น นายสิระ กล่าวว่า ขณะนี้จากที่ตนได้พูดคุยกับ สปช. หลายท่าน เชื่อว่าจะมี สปช. โหวตรับร่างนี้กว่า 190 คน โดยคนที่ไม่รับร่าง ก็เป็นพวกมีธงไว้ตั้งแต่ก่อนเห็นร่างรัฐธรรมนูญแล้ว
** "บุญเลิศ"ชี้ 4 เหตุผล คว่ำร่างรธน.
นายบุญเลิศ คชายุทธเดช สมาชิกสปช. แถลงว่า ร่างรัฐธรรมนูญนั้น แม้จะมีเนื้อหาที่ดีอยู่มาก แต่ส่วนน้อยที่เป็นข้อบกพร่องนั้น หากผ่านมติจาก สปช.ไปสู่การทำประชามติ จนกระทั่งมีผลบังคับใช้ อาจจะสร้างปัญหาจนเกิดวิกฤติ และผลกระทบต่อร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อหยุดร่างรัฐธรรมนูญนี้ไว้ก่อน แล้วทบทวนให้รอบคอบ ปรับแก้ให้สมบูรณ์จนทุกฝ่ายยอมรับ จะเกิดประโยชน์มากกว่า ซึ่งตนมีข้อสังเกต 4 ประการ ที่จะลงมติ ไม่เห็นชอบ ร่างรัฐธรรมนูญนี้ คือ
1. ร่างรัฐธรรมนูญนี้ไม่เป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะกับนักการเมือง 2 พรรคใหญ่ ทั้งพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่ม นปช. นักวิชาการ และ สื่อมวลชน
2. ร่างรัฐธรรมนูญนี้ถูกตั้งฉายาสารพัดในทางลบ ทำให้ร่างรัฐธรรมนูญถูกลดคุณค่า ไม่สง่างาม ไม่สมศักดิ์ศรีของกฎหมายสูงสุด
3. การผ่านมติของสปช. ควรจะผ่านแบบเอกฉันท์ หรือค่อนข้างเอกฉันท์ แต่เท่าที่ประเมินดูแล้ว คะแนนจะออกมาไม่ต่างกันมาก ทำให้เกิดคำถามว่า ถ้าร่างรัฐธรรมนูญดีจริง เหตุใด สปช. จึงไม่เห็นชอบเป็นจำนวนมาก ซึ่งเท่าที่ตนประเมินดูแล้ว เสียง สปช. 21 คน ที่เป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะเป็นเสียงชี้ขาด และเป็นตัวแปรสำคัญในการลงมติรับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้
4. ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจหลักการ และเนื้อหาสาระในร่างรัฐธรรมนูญ และการไปลงประชามติ จะไม่ได้อยู่แค่ที่เนื้อหาสาระ แต่จะรวมไปถึงเรื่องอื่นๆ เช่น ความพอใจ หรือไม่พอใจต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หรือรัฐบาลด้วย ดังนั้นจึงเกินกว่าจะคาดการณ์ได้ว่า ผลของการลงประชามติที่ออกมา จะมีความชอบธรรมที่เป็นมติที่สร้างความแตกแยก จนเกิดความไม่ปรองดองรอบใหม่ ตนจึงเห็นว่าไม่ควรเอาประเทศไปเสี่ยงให้เกิดวิกฤต จึงควรหยุดไว้ก่อน ปรับแก้ใหม่
ด้านนายนิมิต สิทธิไตร สมาชิก สปช. กล่าวว่า ขณะนี้เสี่ยงเกินไปต่อการนำประเทศไปสู่วิกฤตครั้งใหม่ เกิดผลกระทบต่อการปฏิรูปและการปรองดอง ดังนั้นทางออกมีทางเดียว คือ หยุดร่างรัฐธรรมนูญนี้ไว้ ด้วยการลงมติไม่เห็นชอบ เพื่อให้เกิดการทบทวนแก้ไข เพราะการผ่าน สปช.ไปสู่ขั้นลงประชามติ น่าจะไม่ใช่เรื่องที่ดี เนื่องจากยังสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดวิกฤตรัฐธรรมนูญ และวิกฤตประเทศ และขอวิงวอนให้ สปช. ทุกคนไต่ตรองให้รอบคอบ ตัดสินใจโดยเอาประเทศเป็นตัวตั้ง
**ประเมิน130 เสียงจ่อคว่ำ ร่าง รธน.
นายอมร วาณิชวิวัฒน์ สมาชิก สปช. กล่าวถึง กรณีมีกระแสข่าวว่า สปช.สายนักวิชาการ สายกฎหมาย เคลื่อนไหวไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ส่วนตัวมองเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญไม่มีปัญหา ดีพอจะรับได้ แต่เงื่อนไขเมื่อผ่าน สปช. จะต้องไปทำประชามติ ซึ่งล่าสุด นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชน ออกมาหนุนร่างรัฐธรรมนูญ แต่ฝ่ายนักพรรคการเมือง ออกมาค้าน จึงเกรงว่า เมื่อรัฐธรรมนูญ ผ่านชั้น สปช. ไปทำประชามติ จะเกิดภาพการรณรงค์สวนทางของสองฝ่าย เหมือนการทำประชามติในปี 50 ถ้ายกมือผ่าน ต้องเสียเงินหลายพันล้าน และอาจเสี่ยงเกิดความขัดแย้ง ตรงนี้เป็นประเด็นที่นักวิชาการกังวล ซึ่งบางคนไม่พอใจ ไม่สบายใจเรื่อง คปป. ที่มานายกฯ ที่มา ส.ว. แต่ส่วนตัวมองว่า เนื้อหาเรื่อง คปป.ไม่น่ามีปัญหา หากไม่มีการนำไปตีความเพื่อหาผลประโยชน์ส่วนตน
ส่วนกรณีมีบางคนออกมาระบุ เสียงโหวตผ่านรัฐธรรมนูญถึง 200 เสียง คงเป็นแค่เรื่องโจ๊ก วันนี้นี้ไม่มีทางเป็นไปได้แล้ว เพราะจากนัดพบปะรับประทานอาหารเวียดนาม กับ สปช. ได้พูดคุยปัญหาบ้านเมืองกันที่โรงแรมดุสิตธานี เมื่อวันที่ 1 ก.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งไม่ใช่การนัดเพื่อนับเสียง หรือล็อบบี้เเต่อย่างใด แต่ประเมินกันว่า เสียงโหวตน่าจะสูสี คู่คี่ เสียงไม่รับร่าง อาจจะเกือบ 130 เสียงด้วยซ้ำไป เพราะล่าสุด สปช. สายปกครอง สายต่างจังหวัดบางส่วน เริ่มหันมาเทคะแนนทางไม่รับร่างมากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว
**สายท้องถิ่นเชื่อร่างรธน.ผ่านแบบสูสี
นายธีรศักดิ์ พานิชวิทย์ สปช.ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น กล่าวถึง กระแสะการลงมติร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ส่วนใหญ่ สปช.ในกลุ่มพอใจในเรื่องท้องถิ่น และการกระจายอำนาจที่เสนอให้กมธ.ยกร่างฯ แก้ไข ซึ่งกมธ.ยกร่างฯ ก็ได้แก้ไขให้ตามคำขอ แต่ยังมีบางคนที่ยังกังวลเรื่องคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) แต่ทางกลุ่มไม่ได้มีมติให้ สปช.โหวตรับ หรือไม่รับร่างฯ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแต่ละคน ส่วนตัวกังวลว่า หากร่างรัฐธรรมนูญนี้ไม่ผ่านสปช. และต้องตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 21 คน ขึ้นมาใหม่หน้าตาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะเป็นประชาธิปไตยแบบเต็มใบหรือไม่ และจะมีความเหมาะสมกว่าร่างนี้หรือไม่ แต่เชื่อว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีความเหมาะสมกับประเทศในภาวะที่ต้องการการปฏิรูป และกระจายอำนาจไปสู้ท้องถิ่นมากขึ้น ดังนั้น น่าจะผ่าน สปช.ได้แต่คะแนนอาจจะสูสี ไม่ได้ทิ้งขาดเหมือนกระแสข่าวในตอนแรก