รัฐบาลคือนิติบุคคลซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่บริหารประเทศ ภายใต้รัฐธรรมนูญการปกครองในกรณีของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย และประกาศคณะปฏิวัติในกรณีของรัฐบาลเผด็จการ
นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีรัฐบาลทั้ง 2 รูปแบบนี้สลับสับเปลี่ยนกันเข้ามาบริหารประเทศ
ดังนั้น คนไทยจึงมีความรู้และมีความเข้าใจถึงความมีความเป็นของรัฐบาลทั้งสองรูปแบบนี้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อดีและข้อเสียของระบบการปกครองประเทศ อันเกิดจากการมีรัฐบาลทั้งสองรูปแบบดังกล่าว ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
1. รัฐบาลเผด็จการมีข้อดีในประเด็นที่ว่ามีความเด็ดขาดและรวดเร็วในการแก้ปัญหา เนื่องจากใช้กฎหมายพิเศษ ดังเช่นมาตรา 17 ในสมัยของรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และมาตรา 44 ในรัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วนได้
ส่วนข้อเสียของรัฐบาลเผด็จการเกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลเผด็จการไม่มีฝ่ายค้านคอยถ่วงดุล และสามารถใช้ความเด็ดขาดแก้ปัญหา ถ้าผู้ใช้อำนาจขาดคุณธรรมคอยกำกับการใช้อำนาจโอกาสที่จะมีการแสวงหาประโยชน์แก่ตนเอง และพรรคพวกเกิดขึ้นได้ง่ายกว่ารัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยด้วยซ้ำ
2. รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยมีข้อดีในประเด็นที่ว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการเลือกรัฐบาลผ่านทางการเลือกผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. เข้าไปทำหน้าที่บริหารประเทศแทนตัวเอง ถ้าประชาชนมีการศึกษา มีความรู้ และมีความเข้าใจโอกาสที่ผู้ได้รับเลือกเป็นคนดีมีอยู่สูง
ในทางกลับกัน ข้อดีในประเด็นนี้จะกลายเป็นข้อเสีย ถ้าประชาชนไม่รู้ ไม่เข้าใจในระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระบวนการเลือกตั้งโอกาสที่จะเลือกคนเลวเพื่อแลกกับการได้รับผลประโยชน์มีความเป็นไปได้มาก ดังเช่นกรณีซื้อเสียงซึ่งเกิดขึ้นมาในทุกยุคทุกสมัยที่มีการเลือกตั้ง และมากที่สุดในยุคที่ระบอบทักษิณเรืองอำนาจจนเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองจนกลายเป็นเหตุอ้างให้กองทัพยึดอำนาจเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ซึ่ง คสช. ได้ทำการปฏิวัติรัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และจัดตั้งรัฐบาลภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และบริหารประเทศมาจนบัดนี้
ในขณะนี้ได้มีผู้เสนอแนวคิดจะให้มีรัฐบาลแห่งชาติ เพื่อดำเนินการให้เกิดการปรองดองต่อจากรัฐบาลชุดนี้
ส่วนรัฐบาลแห่งชาติหรือรัฐบาลปรองดองจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ จนบัดนี้เชื่อว่ายังหาข้อยุติไม่ได้ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. รัฐปรองดองก็มีลักษณะเดียวกันกับรัฐบาลแห่งชาติคือ ไม่มีฝ่ายค้านเข้าทำนองมีการรวบรวมบรรดาผู้ได้รับเลือกตั้งจากทุกพรรคเข้าเป็นรัฐบาล โดยการแบ่งปันอำนาจรัฐและช่วยกันทำหน้าที่ปกครองประเทศ โดยมีภารกิจหลักคือ การทำให้เกิดความปรองดองระหว่างคนในชาติ เพื่อละลายขั้วการเมืองที่เคยเป็นมาหวังให้เกิดความประนีประนอม
แต่การจะทำเช่นนี้จะต้องไม่ลืมว่าจะต้องได้รับการยอมรับจากพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรคคือ พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นพรรคการเมืองต่างขั้วอย่างเห็นได้ชัดเป็นรูปธรรม และการทำให้สองพรรคนี้รวมกันเชื่อได้ 100 เปอร์เซ็นต์ว่าเกิดขึ้นไม่ได้
2. การปรองดองถ้ายึดตามแนวทางแห่งคำสอนของพระพุทธศาสนาแล้ว จะเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายที่จะปรองดองกันมีหลักธรรม 3 ประการเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว 3 ประการที่ว่านี้ก็คือ
2.1 ทิฏฐิสามัญญตา คือ มีความคิดเห็นในสิ่งเดียวกันตรงกัน
2.2 สีลสามัญญตาคือ การมีศีลหรือข้อวัตรปฏิบัติรวมไปถึงแนวทางดำเนินการในสิ่งเดียวกันตรงกัน
2.3 ปรโตโฆสะ คือ การฟังซึ่งกันและกัน
เท่าที่ผ่านมาและเป็นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งสองพรรคการเมืองไม่มีคุณธรรม 3 ประการนี้อยู่จึงยากที่จะปรองดองจัดตั้งรัฐบาลร่วมกัน
เมื่อรัฐบาลเองปรองดองกันไม่ได้แล้ว ไหนเลยจะทำให้ประชาชนปรองดองกันได้
ด้วยเหตุ 2 ประการนี้ ผู้เขียนเชื่อว่ารัฐบาลปรองดองซึ่งมาจากการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นไม่ได้ โดยที่สองขั้วการเมืองจับมือกัน
เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้อเสนอเรื่องนี้เป็นไปแค่โยนหินถามทางเท่านั้น จะเกิดขึ้นจริงไม่ได้
แต่ถึงจะไม่เกิดขึ้นจริง ก็ทำให้มองเห็นบางอย่างที่ซ่อนเร้นอยู่ในข้อเสนอ ซึ่งอาจอนุมานในเชิงตรรกะได้ดังนี้
1. เกิดความไม่แน่ใจว่า เมื่อเลือกตั้งแล้วกลุ่มอำนาจเดิมจะกลับมามีอำนาจทางการเมืองอีกหรือไม่ ดังที่เคยเกิดขึ้นในปี 2551 และถ้ากลับมามวลชน กปปส. จะออกมาชุมนุมขับไล่เหมือนกับ พธม. ออกมาขับไล่รัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ หรือไม่ จึงได้มีแนวทางป้องกันโดยให้มีรัฐบาลปรองดองในลักษณะแบ่งเป็นอำนาจรัฐรองรับเอาไว้
2. อาจมีวาระซ่อนเร้นในการเสนอแนวคิดนี้ เพื่อเอื้ออำนวยให้กลุ่มอำนาจเก่ามีที่ยืนในสังคม และป้องกันมิให้รัฐบาลจากขั้วตรงกันข้ามรุกไล่จนไม่มีที่ยืนในสังคม
จากเหตุปัจจัย 2 ประการนี้ แม้เป็นเพียงข้ออนุมานในเชิงตรรกะอาจเป็นจริงหรือไม่เป็นก็ได้ แต่ถ้าบรรยากาศการปรองดองยังคงอยู่ ก็มีโอกาสที่จะเป็นจริงได้
นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีรัฐบาลทั้ง 2 รูปแบบนี้สลับสับเปลี่ยนกันเข้ามาบริหารประเทศ
ดังนั้น คนไทยจึงมีความรู้และมีความเข้าใจถึงความมีความเป็นของรัฐบาลทั้งสองรูปแบบนี้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อดีและข้อเสียของระบบการปกครองประเทศ อันเกิดจากการมีรัฐบาลทั้งสองรูปแบบดังกล่าว ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
1. รัฐบาลเผด็จการมีข้อดีในประเด็นที่ว่ามีความเด็ดขาดและรวดเร็วในการแก้ปัญหา เนื่องจากใช้กฎหมายพิเศษ ดังเช่นมาตรา 17 ในสมัยของรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และมาตรา 44 ในรัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วนได้
ส่วนข้อเสียของรัฐบาลเผด็จการเกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลเผด็จการไม่มีฝ่ายค้านคอยถ่วงดุล และสามารถใช้ความเด็ดขาดแก้ปัญหา ถ้าผู้ใช้อำนาจขาดคุณธรรมคอยกำกับการใช้อำนาจโอกาสที่จะมีการแสวงหาประโยชน์แก่ตนเอง และพรรคพวกเกิดขึ้นได้ง่ายกว่ารัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยด้วยซ้ำ
2. รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยมีข้อดีในประเด็นที่ว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการเลือกรัฐบาลผ่านทางการเลือกผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. เข้าไปทำหน้าที่บริหารประเทศแทนตัวเอง ถ้าประชาชนมีการศึกษา มีความรู้ และมีความเข้าใจโอกาสที่ผู้ได้รับเลือกเป็นคนดีมีอยู่สูง
ในทางกลับกัน ข้อดีในประเด็นนี้จะกลายเป็นข้อเสีย ถ้าประชาชนไม่รู้ ไม่เข้าใจในระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระบวนการเลือกตั้งโอกาสที่จะเลือกคนเลวเพื่อแลกกับการได้รับผลประโยชน์มีความเป็นไปได้มาก ดังเช่นกรณีซื้อเสียงซึ่งเกิดขึ้นมาในทุกยุคทุกสมัยที่มีการเลือกตั้ง และมากที่สุดในยุคที่ระบอบทักษิณเรืองอำนาจจนเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองจนกลายเป็นเหตุอ้างให้กองทัพยึดอำนาจเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ซึ่ง คสช. ได้ทำการปฏิวัติรัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และจัดตั้งรัฐบาลภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และบริหารประเทศมาจนบัดนี้
ในขณะนี้ได้มีผู้เสนอแนวคิดจะให้มีรัฐบาลแห่งชาติ เพื่อดำเนินการให้เกิดการปรองดองต่อจากรัฐบาลชุดนี้
ส่วนรัฐบาลแห่งชาติหรือรัฐบาลปรองดองจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ จนบัดนี้เชื่อว่ายังหาข้อยุติไม่ได้ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. รัฐปรองดองก็มีลักษณะเดียวกันกับรัฐบาลแห่งชาติคือ ไม่มีฝ่ายค้านเข้าทำนองมีการรวบรวมบรรดาผู้ได้รับเลือกตั้งจากทุกพรรคเข้าเป็นรัฐบาล โดยการแบ่งปันอำนาจรัฐและช่วยกันทำหน้าที่ปกครองประเทศ โดยมีภารกิจหลักคือ การทำให้เกิดความปรองดองระหว่างคนในชาติ เพื่อละลายขั้วการเมืองที่เคยเป็นมาหวังให้เกิดความประนีประนอม
แต่การจะทำเช่นนี้จะต้องไม่ลืมว่าจะต้องได้รับการยอมรับจากพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรคคือ พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นพรรคการเมืองต่างขั้วอย่างเห็นได้ชัดเป็นรูปธรรม และการทำให้สองพรรคนี้รวมกันเชื่อได้ 100 เปอร์เซ็นต์ว่าเกิดขึ้นไม่ได้
2. การปรองดองถ้ายึดตามแนวทางแห่งคำสอนของพระพุทธศาสนาแล้ว จะเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายที่จะปรองดองกันมีหลักธรรม 3 ประการเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว 3 ประการที่ว่านี้ก็คือ
2.1 ทิฏฐิสามัญญตา คือ มีความคิดเห็นในสิ่งเดียวกันตรงกัน
2.2 สีลสามัญญตาคือ การมีศีลหรือข้อวัตรปฏิบัติรวมไปถึงแนวทางดำเนินการในสิ่งเดียวกันตรงกัน
2.3 ปรโตโฆสะ คือ การฟังซึ่งกันและกัน
เท่าที่ผ่านมาและเป็นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งสองพรรคการเมืองไม่มีคุณธรรม 3 ประการนี้อยู่จึงยากที่จะปรองดองจัดตั้งรัฐบาลร่วมกัน
เมื่อรัฐบาลเองปรองดองกันไม่ได้แล้ว ไหนเลยจะทำให้ประชาชนปรองดองกันได้
ด้วยเหตุ 2 ประการนี้ ผู้เขียนเชื่อว่ารัฐบาลปรองดองซึ่งมาจากการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นไม่ได้ โดยที่สองขั้วการเมืองจับมือกัน
เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้อเสนอเรื่องนี้เป็นไปแค่โยนหินถามทางเท่านั้น จะเกิดขึ้นจริงไม่ได้
แต่ถึงจะไม่เกิดขึ้นจริง ก็ทำให้มองเห็นบางอย่างที่ซ่อนเร้นอยู่ในข้อเสนอ ซึ่งอาจอนุมานในเชิงตรรกะได้ดังนี้
1. เกิดความไม่แน่ใจว่า เมื่อเลือกตั้งแล้วกลุ่มอำนาจเดิมจะกลับมามีอำนาจทางการเมืองอีกหรือไม่ ดังที่เคยเกิดขึ้นในปี 2551 และถ้ากลับมามวลชน กปปส. จะออกมาชุมนุมขับไล่เหมือนกับ พธม. ออกมาขับไล่รัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ หรือไม่ จึงได้มีแนวทางป้องกันโดยให้มีรัฐบาลปรองดองในลักษณะแบ่งเป็นอำนาจรัฐรองรับเอาไว้
2. อาจมีวาระซ่อนเร้นในการเสนอแนวคิดนี้ เพื่อเอื้ออำนวยให้กลุ่มอำนาจเก่ามีที่ยืนในสังคม และป้องกันมิให้รัฐบาลจากขั้วตรงกันข้ามรุกไล่จนไม่มีที่ยืนในสังคม
จากเหตุปัจจัย 2 ประการนี้ แม้เป็นเพียงข้ออนุมานในเชิงตรรกะอาจเป็นจริงหรือไม่เป็นก็ได้ แต่ถ้าบรรยากาศการปรองดองยังคงอยู่ ก็มีโอกาสที่จะเป็นจริงได้