ทันทีเกิดเหตุระเบิดที่ศาลพระพรหมแยกราชประสงค์ซึ่งเป็นสถานที่พลุกพล่านด้วยผู้คน สิ่งที่นึกถึงเป็นอันดับแรกก็คือ ความโหดเหี้ยมของผู้กระทำ เพราะคาดการณ์ได้ว่า หากระเบิดเกิดขึ้นจะต้องมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก และไม่คาดคิดว่าจะเกิดเหตุการณ์ระดับนี้ในประเทศไทย ก่อนหน้านี้เราเห็นเหตุการณ์แบบนี้ในซีเรีย ลิเบีย อัฟกานิสถาน อิรักหรือประเทศที่มีความขัดแย้งสูง
ระหว่างที่คิดว่าใครเป็นคนกระทำ นาทีแรกหลังเกิดเหตุระเบิด เราได้ยินพล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกรัฐบาลให้สัมภาษณ์ทางสื่อต่างๆ พูดอย่างชัดเจนว่า เป็นผู้เสียประโยชน์ทางการเมือง อดคิดต่อไม่ได้ว่า ความขัดแย้งทางการเมืองในบ้านเราก้าวมาถึงจุดที่ต่อรองกันด้วยชีวิตมนุษย์อย่างโหดเหี้ยมแล้วหรือ
แต่เมื่อย้อนกลับไปมองเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในรอบสิบปีที่ผ่านมา ก็พบว่ามีการใช้อาวุธสงครามหลายๆ ครั้งเพื่อทำลายฝ่ายตรงข้ามหรือคู่ขัดแย้งทางการเมือง โดยเฉพาะการชุมนุมต่อต้านระบอบทักษิณของพันธมิตรฯ และต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ของ กปปส. ที่ถูกกองกำลังติดอาวุธยิงด้วยปืนเอ็ม 79 และถูกขว้างระเบิดจนมีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่ง
รวมไปถึงการจับอาวุธขึ้นสู้การชุมนุมของคนเสื้อแดงที่สนับสนุนทักษิณปรากฏตัวครั้งแรกในวันที่ 10 เมษายน 2553 จนมีผู้เสียชีวิตทั้งทหารและผู้ชุมนุม จนนำไปสู่การเข้าสลายการชุมนุมของทหารจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก รวมไปถึงการจับกุมอาวุธจำนวนมากของฝ่ายเสื้อแดงหลังการรัฐประหาร
แถมก่อนระเบิดครั้งนี้ไม่กี่วันมีการโพสต์แจ้งเตือนล่วงหน้าจากเพจของคนเสื้อแดงด้วยว่า จะเกิดความรุนแรงในกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 14-18 สิงหาคม
ดังนั้น ถ้าจะถามว่าผู้สูญเสียประโยชน์ทางการเมืองในมุมมองของพล.ต.สรรเสริญชอบใช้ความรุนแรงทางการเมืองเพื่อตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามหรือไม่คำพูดของพล.ต.สรรเสริญก็มีเหตุผลรองรับพอสมควร เพียงแต่ว่าอาจจะเป็นการด่วนสรุปเกินไปเท่านั้นเอง
ขณะที่จักรภพ เพ็ญแข แกนนำเสื้อแดง ก็โพสต์เฟซบุ๊กในเวลาไม่นานหลังเกิดเหตุระเบิดเช่นเดียวกันว่า ใครในเมืองไทยที่มีอำนาจควบคุมดูแลระเบิดที่มีอำนาจทำลายล้างรุนแรงขนาดนี้ พูดง่ายๆ ก็คือ จักรภพชี้นิ้วไปยังกองทัพนั่นเอง
ระหว่างผู้เสียประโยชน์ทางการเมือง กับผู้มีอำนาจทางการเมืองต่างก็ชี้นิ้วใส่กันว่าเป็นผู้กระทำ
ความรู้สึกแรกๆ ของผมนอกจากสะท้อนถึงความโหดเหี้ยมของผู้กระทำแล้ว ก็ได้แต่ภาวนาว่า อย่าให้เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นการกระทำของคนไทยต่อคนไทยเลย เพราะรับไม่ได้ที่คนไทยจะมาฆ่ากันแบบนี้
ทฤษฎีหลายทฤกษีถูกขุดขึ้นมาหลังเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศ ปัญหาชายแดนภาคใต้ ปัญหาระหว่างประเทศกรณีอุยกูร์ แต่ที่เห็นชัดคือ ระเบิดลูกนี้ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของไทย ซึ่งแทบจะเป็นความหวังเดียวของเศรษฐกิจไทยที่กำลังทรุดหนัก
กระทั่งมีการแพร่ภาพของชาวต่างชาติซึ่งเห็นชัดว่าเป็นผู้นำระเบิดไปวางไว้ในที่เกิดเหตุ มีลักษณะคล้ายแขกขาว จนทำให้ทฤษฎีผู้ก่อการร้ายอุยกูร์ที่ไม่พอใจรัฐบาลไทยส่งผู้อพยพชาวอุยกูร์จำนวนหนึ่งกลับไปประเทศจีนมีน้ำหนักมากขึ้น ในขณะที่มีชาวจีนเสียชีวิตและบาดเจ็บหลายคน
แต่ดูเหมือนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีน้ำเสียงไม่ใคร่พอใจนัก เมื่อนักข่าวถามว่านี่เป็นการก่อการร้ายระหว่างประเทศหรือไม่
นายแอนโธนี่ เดวิส นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงของไอเอชเอส เจนส์ ที่มีสำนักงานในกรุงเทพฯ ให้ความเห็นว่า ไม่ใช่ฝีมือของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่ภาคใต้ และเมื่อดูจากขนาดของการบาดเจ็บและเสียชีวิต ก็ยิ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ ถ้าจะโยงกับเรื่องการเมืองไทย ก็มักจะพุ่งเป้าไปที่การส่งสารและหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บล้มตาย ก็เหลือหนทางเดียว คือ เป็นฝีมือของกลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติ
ขณะที่นายโทนี่ คาตาลุซซี่ นักวิเคราะห์ชาวสหรัฐฯ บอกว่า ความป่าเถื่อนของสหรัฐฯ เข้าเยือนลิเบีย ซีเรีย ยูเครน ขณะนี้กำลังเข้ามาเยี่ยมชมกรุงเทพฯ โดยระบุว่า การรัฐประหารรัฐบาลยิ่งลักษณ์สร้างความไม่พอใจให้กับสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างยิ่ง
คาตาลุซซี่ระบุด้วยว่า การมาถึงของนายกลิน เดวีส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาคนใหม่ อาจจะเป็นเหมือนกรณีของนายโรเบิร์ต เอส.ฟอร์ด เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำซีเรีย ในปี 2011 ปีที่เกิดการปฏิวัติโลกอาหรับ(อาหรับสปริงส์) หรือการเรียกร้องประชาธิปไตยของสหรัฐฯ ในคราบของการก่อการร้าย
แต่สิ่งที่เราเชื่อมโยงกันได้ก็คือ การยึดอำนาจของทหารจากพรรคการเมืองของทักษิณนั้น ถูกชาติตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาประณามรัฐบาลทหารอย่างรุนแรง เช่นเดียวกับการที่รัฐบาลไทยส่งผู้อพยพชาวอุยกูร์กลับไปประเทศจีนก็ถูกประณามจากชาติตะวันตกและสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกัน
ขณะเดียวกันฝ่ายของทักษิณก็ชูธงประโคมว่า ตัวเองเป็นฝ่ายประชาธิปไตย สอดรับกับเสียงเรียกร้องของตะวันตกให้ทหารคืนอำนาจให้ประชาชนกลับไปสู่การเลือกตั้งโดยเร็ว โดยไม่ได้มองว่า เหตุผลที่ทหารต้องเข้ามายึดอำนาจก็เพราะรัฐบาลของทักษิณใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรม และใช้ความรุนแรงกระทำฝ่ายต่อต้านจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก
ความกดดันจากตะวันตกและสหรัฐอเมริกาต่อประเทศไทยทำให้รัฐบาลทหารหันไปกระชับความสัมพันธ์กับจีน นำมาสู่การติดต่อค้าขาย เช่น การสร้างรถไฟความเร็วสูง การซื้อเรือดำน้ำจากจีน รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยถึงกับบอกว่า ถ้าเป็นผู้หญิงคงตกหลุมรักรัฐมนตรีต่างประเทศของจีน เหมือนกับประกาศเลือกข้างระหว่างคู่ขัดแย้งที่กำลังคุกรุ่นในสมรภูมิโลกระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา
นอกจากรัฐบาลทหารไม่ตอบสนองข้อเรียกร้องของสหรัฐอเมริกาแล้ว เมื่อไม่กี่วันก่อนรัฐบาลทหารก็สะท้อนเป้าหมายของตัวเองผ่านรัฐธรรมนูญที่กำลังร่างอยู่ว่า ต้องการอยู่ในอำนาจต่อเพื่อควบคุมรัฐบาลหลังจากนี้อย่างน้อย 5 ปีถึง 10 ปี ภายใต้การออกแบบคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติขึ้นมาอยู่เหนืออำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ แล้วล็อกสเปกให้กองทัพเข้าไปควบคุมกรรมการชุดนี้ คอยกำกับการทำงานของรัฐบาลอีกชั้นหนึ่ง
ส่วนการเลือกตั้งถูกออกแบบให้ยากที่พรรคใดจะชนะเป็นเสียงข้างมากเป็นรัฐบาล แล้วยังให้นายกฯ มาจากคนนอก ซึ่งถูกมองว่า เป็นการล็อกสเปกให้กับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาหรือบุคคลที่คณะทหารเชิดขึ้นมามีอำนาจต่อไปหลังการเลือกตั้ง และทักษิณเพิ่งออกมาประณามว่า รัฐธรรมนูญนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่เลวร้ายที่สุด
สหรัฐฯ-อุยกูร์-ทักษิณจึงยืนอยู่บนฟากเดียวกันอย่างไม่ต้องสงสัย โดยมีอำนาจรัฐไทยเป็นคู่ขัดแย้ง
ใครบงการวางระเบิดราชประสงค์ยังต้องหาคำตอบ ขณะที่เรารู้อยู่แล้วว่า สหรัฐฯ ใช้รูปแบบการก่อการร้ายเพื่อโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการในหลายประเทศ
ระหว่างที่คิดว่าใครเป็นคนกระทำ นาทีแรกหลังเกิดเหตุระเบิด เราได้ยินพล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกรัฐบาลให้สัมภาษณ์ทางสื่อต่างๆ พูดอย่างชัดเจนว่า เป็นผู้เสียประโยชน์ทางการเมือง อดคิดต่อไม่ได้ว่า ความขัดแย้งทางการเมืองในบ้านเราก้าวมาถึงจุดที่ต่อรองกันด้วยชีวิตมนุษย์อย่างโหดเหี้ยมแล้วหรือ
แต่เมื่อย้อนกลับไปมองเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในรอบสิบปีที่ผ่านมา ก็พบว่ามีการใช้อาวุธสงครามหลายๆ ครั้งเพื่อทำลายฝ่ายตรงข้ามหรือคู่ขัดแย้งทางการเมือง โดยเฉพาะการชุมนุมต่อต้านระบอบทักษิณของพันธมิตรฯ และต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ของ กปปส. ที่ถูกกองกำลังติดอาวุธยิงด้วยปืนเอ็ม 79 และถูกขว้างระเบิดจนมีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่ง
รวมไปถึงการจับอาวุธขึ้นสู้การชุมนุมของคนเสื้อแดงที่สนับสนุนทักษิณปรากฏตัวครั้งแรกในวันที่ 10 เมษายน 2553 จนมีผู้เสียชีวิตทั้งทหารและผู้ชุมนุม จนนำไปสู่การเข้าสลายการชุมนุมของทหารจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก รวมไปถึงการจับกุมอาวุธจำนวนมากของฝ่ายเสื้อแดงหลังการรัฐประหาร
แถมก่อนระเบิดครั้งนี้ไม่กี่วันมีการโพสต์แจ้งเตือนล่วงหน้าจากเพจของคนเสื้อแดงด้วยว่า จะเกิดความรุนแรงในกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 14-18 สิงหาคม
ดังนั้น ถ้าจะถามว่าผู้สูญเสียประโยชน์ทางการเมืองในมุมมองของพล.ต.สรรเสริญชอบใช้ความรุนแรงทางการเมืองเพื่อตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามหรือไม่คำพูดของพล.ต.สรรเสริญก็มีเหตุผลรองรับพอสมควร เพียงแต่ว่าอาจจะเป็นการด่วนสรุปเกินไปเท่านั้นเอง
ขณะที่จักรภพ เพ็ญแข แกนนำเสื้อแดง ก็โพสต์เฟซบุ๊กในเวลาไม่นานหลังเกิดเหตุระเบิดเช่นเดียวกันว่า ใครในเมืองไทยที่มีอำนาจควบคุมดูแลระเบิดที่มีอำนาจทำลายล้างรุนแรงขนาดนี้ พูดง่ายๆ ก็คือ จักรภพชี้นิ้วไปยังกองทัพนั่นเอง
ระหว่างผู้เสียประโยชน์ทางการเมือง กับผู้มีอำนาจทางการเมืองต่างก็ชี้นิ้วใส่กันว่าเป็นผู้กระทำ
ความรู้สึกแรกๆ ของผมนอกจากสะท้อนถึงความโหดเหี้ยมของผู้กระทำแล้ว ก็ได้แต่ภาวนาว่า อย่าให้เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นการกระทำของคนไทยต่อคนไทยเลย เพราะรับไม่ได้ที่คนไทยจะมาฆ่ากันแบบนี้
ทฤษฎีหลายทฤกษีถูกขุดขึ้นมาหลังเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศ ปัญหาชายแดนภาคใต้ ปัญหาระหว่างประเทศกรณีอุยกูร์ แต่ที่เห็นชัดคือ ระเบิดลูกนี้ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของไทย ซึ่งแทบจะเป็นความหวังเดียวของเศรษฐกิจไทยที่กำลังทรุดหนัก
กระทั่งมีการแพร่ภาพของชาวต่างชาติซึ่งเห็นชัดว่าเป็นผู้นำระเบิดไปวางไว้ในที่เกิดเหตุ มีลักษณะคล้ายแขกขาว จนทำให้ทฤษฎีผู้ก่อการร้ายอุยกูร์ที่ไม่พอใจรัฐบาลไทยส่งผู้อพยพชาวอุยกูร์จำนวนหนึ่งกลับไปประเทศจีนมีน้ำหนักมากขึ้น ในขณะที่มีชาวจีนเสียชีวิตและบาดเจ็บหลายคน
แต่ดูเหมือนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีน้ำเสียงไม่ใคร่พอใจนัก เมื่อนักข่าวถามว่านี่เป็นการก่อการร้ายระหว่างประเทศหรือไม่
นายแอนโธนี่ เดวิส นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงของไอเอชเอส เจนส์ ที่มีสำนักงานในกรุงเทพฯ ให้ความเห็นว่า ไม่ใช่ฝีมือของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่ภาคใต้ และเมื่อดูจากขนาดของการบาดเจ็บและเสียชีวิต ก็ยิ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ ถ้าจะโยงกับเรื่องการเมืองไทย ก็มักจะพุ่งเป้าไปที่การส่งสารและหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บล้มตาย ก็เหลือหนทางเดียว คือ เป็นฝีมือของกลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติ
ขณะที่นายโทนี่ คาตาลุซซี่ นักวิเคราะห์ชาวสหรัฐฯ บอกว่า ความป่าเถื่อนของสหรัฐฯ เข้าเยือนลิเบีย ซีเรีย ยูเครน ขณะนี้กำลังเข้ามาเยี่ยมชมกรุงเทพฯ โดยระบุว่า การรัฐประหารรัฐบาลยิ่งลักษณ์สร้างความไม่พอใจให้กับสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างยิ่ง
คาตาลุซซี่ระบุด้วยว่า การมาถึงของนายกลิน เดวีส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาคนใหม่ อาจจะเป็นเหมือนกรณีของนายโรเบิร์ต เอส.ฟอร์ด เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำซีเรีย ในปี 2011 ปีที่เกิดการปฏิวัติโลกอาหรับ(อาหรับสปริงส์) หรือการเรียกร้องประชาธิปไตยของสหรัฐฯ ในคราบของการก่อการร้าย
แต่สิ่งที่เราเชื่อมโยงกันได้ก็คือ การยึดอำนาจของทหารจากพรรคการเมืองของทักษิณนั้น ถูกชาติตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาประณามรัฐบาลทหารอย่างรุนแรง เช่นเดียวกับการที่รัฐบาลไทยส่งผู้อพยพชาวอุยกูร์กลับไปประเทศจีนก็ถูกประณามจากชาติตะวันตกและสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกัน
ขณะเดียวกันฝ่ายของทักษิณก็ชูธงประโคมว่า ตัวเองเป็นฝ่ายประชาธิปไตย สอดรับกับเสียงเรียกร้องของตะวันตกให้ทหารคืนอำนาจให้ประชาชนกลับไปสู่การเลือกตั้งโดยเร็ว โดยไม่ได้มองว่า เหตุผลที่ทหารต้องเข้ามายึดอำนาจก็เพราะรัฐบาลของทักษิณใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรม และใช้ความรุนแรงกระทำฝ่ายต่อต้านจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก
ความกดดันจากตะวันตกและสหรัฐอเมริกาต่อประเทศไทยทำให้รัฐบาลทหารหันไปกระชับความสัมพันธ์กับจีน นำมาสู่การติดต่อค้าขาย เช่น การสร้างรถไฟความเร็วสูง การซื้อเรือดำน้ำจากจีน รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยถึงกับบอกว่า ถ้าเป็นผู้หญิงคงตกหลุมรักรัฐมนตรีต่างประเทศของจีน เหมือนกับประกาศเลือกข้างระหว่างคู่ขัดแย้งที่กำลังคุกรุ่นในสมรภูมิโลกระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา
นอกจากรัฐบาลทหารไม่ตอบสนองข้อเรียกร้องของสหรัฐอเมริกาแล้ว เมื่อไม่กี่วันก่อนรัฐบาลทหารก็สะท้อนเป้าหมายของตัวเองผ่านรัฐธรรมนูญที่กำลังร่างอยู่ว่า ต้องการอยู่ในอำนาจต่อเพื่อควบคุมรัฐบาลหลังจากนี้อย่างน้อย 5 ปีถึง 10 ปี ภายใต้การออกแบบคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติขึ้นมาอยู่เหนืออำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ แล้วล็อกสเปกให้กองทัพเข้าไปควบคุมกรรมการชุดนี้ คอยกำกับการทำงานของรัฐบาลอีกชั้นหนึ่ง
ส่วนการเลือกตั้งถูกออกแบบให้ยากที่พรรคใดจะชนะเป็นเสียงข้างมากเป็นรัฐบาล แล้วยังให้นายกฯ มาจากคนนอก ซึ่งถูกมองว่า เป็นการล็อกสเปกให้กับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาหรือบุคคลที่คณะทหารเชิดขึ้นมามีอำนาจต่อไปหลังการเลือกตั้ง และทักษิณเพิ่งออกมาประณามว่า รัฐธรรมนูญนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่เลวร้ายที่สุด
สหรัฐฯ-อุยกูร์-ทักษิณจึงยืนอยู่บนฟากเดียวกันอย่างไม่ต้องสงสัย โดยมีอำนาจรัฐไทยเป็นคู่ขัดแย้ง
ใครบงการวางระเบิดราชประสงค์ยังต้องหาคำตอบ ขณะที่เรารู้อยู่แล้วว่า สหรัฐฯ ใช้รูปแบบการก่อการร้ายเพื่อโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการในหลายประเทศ