ASTVผู้จัดการรายวัน-มาตรา 44 เบรกโกงอยู่หมัด ทำนักธุรกิจ ข้าราชการ นักการเมืองแหยง ไม่กล้าเรียกใต้โต๊ะแบบโจ่งครึ่ม เผยยังคงต้องจ่ายไม่ต่ำกว่า 10% แต่ลดจาก 30% เมื่อ 2 ปีก่อน ช่วยป้องกันเงินรั่วไหลได้กว่า 1.8 แสนล้าน ช่วยดันจีดีพีเพิ่มได้ไม่ต่ำกว่า 1% นักธุรกิจระบุสถานการณ์คอร์รัปชั่นในไทยดีสุดในรอบ 6 ปี หวังรัฐบาลต่อไป สานต่อนโยบายปราบโกง
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทยว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจกับภาครัฐมีการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษแก่ข้าราชการ นักการเมืองที่ทุจริต เพื่อให้ได้สัญญาในอัตรา 1-15% หรือมีค่าเฉลี่ย 10% คิดเป็นวงเงินที่ต้องจ่าย 100,000 ล้านบาท ลดลงจากช่วง 2 ปีก่อนที่นักธุรกิจมีการจ่ายเงินใต้โต๊ะ 30% หรือคิดเป็น 282,558 ล้านบาท เนื่องไม่มีช่องทางในการจ่ายหรือช่องทางการรับเงิน และนักธุรกิจไม่กล้าจ่าย เพราะกลัวนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ใช้กฎหมายในการปราบปรามคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง
"ผลจากการที่รัฐบาลเข้มงวดในการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยได้มีการใช้มาตรา 44 ในการโยกย้ายข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตออกจากตำแหน่งหน้าที่เป็นจำนวนมาก ทำให้การทุจริตลดลง และการจ่ายใต้โต๊ะปีนี้เทียบกับ 2 ปีก่อน สามารถประหยัดเงินไม่ให้รั่วไหลได้กว่า 180,000 ล้านบาท ซึ่งเงินที่ไม่รั่วไหลตรงนี้ จะส่งผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 1% โดยจะเห็นผลในปี 2559ที่จีดีพีจะโตในระดับ 4% หากรัฐเดินหน้าโครงการต่างๆ ได้ตามแผน ส่วนปีนี้น่าจะโตระดับ 2.5-2.9% เพราะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา"
นอกจากนี้ ผลจากการเอาจริงเอาจังในการปราบปราม และการสร้างเครือข่ายในการต่อต้านคอร์รัปชั่น ทำให้นักธุรกิจที่อยู่ในวงการประมูลงานจากภาครัฐ ที่เดิมมีนักธุรกิจประมาณ 75% ที่เคยจ่ายเงินใต้โต๊ะเพื่อให้ได้งาน แต่ปัจจุบันกลับเหลือเพียง 6% เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกที่นักธุรกิจตอบว่าสถานการณ์การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นในไทยดีที่สุดเท่าที่มีการสำรวจมาในรอบ 6 ปี ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับอนาคตของประเทศไทย และอยากให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่เข้ามาบริหารประเทศต่อจาก คสช. สานต่อนโยบายดังกล่าวด้วย
สำหรับผลการสำรวจตั้งแต่ปี 2553-56 พบว่า เงินเพิ่มพิเศษของรายรับที่ผู้ประกอบการทำธุรกิจกับภาครัฐและจะต้องจ่ายเงินเพิ่มพิเศษแก่ข้าราชการ นักการเมืองที่ทุจริตเพื่อให้ได้สัญญาเฉลี่ยที่ 25-35% คิดเป็นเงิน 233,274-329,651 ล้านบาท
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทยในปี 2558 อยู่ในระดับ 55 แบ่งเป็นดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชั่นไทยในปัจจุบัน 52 และดัชนีแนวโน้มสถานการณ์คอร์รัปชั่นไทย อยู่ที่ 58 ซึ่งเป็นคะแนนที่สูงสุดตั้งแต่มีการสำรวจมา และเพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนเมื่อเดือน ธ.ค.2557 ที่อยู่ที่ 49 เนื่องจากประชาชน นักธุรกิจ และข้าราชการมีความเชื่อมั่นเรื่องความรุนแรงของสถานการณ์คอร์รัปชั่นในไทยที่ลดลงอย่างมาก
ส่วนความเชื่อมั่นต่อการสำนักงาน ป.ป.ช. และองค์กรอิสระอื่น ที่ทำหน้าที่ต่อต้านการทุจริต ได้รับคะแนน 5.71 คะแนนจากเต็ม 10 คะแนน , ความเชื่อมั่นต่อหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ต่อการช่วยต่อต้านการทุจริต ได้รับคะแนน 5.41 คะแนน , ความเชื่อมั่นต่อผู้ประกอบการกับการช่วยต่อต้านการทุจริตได้รับ 5.43 คะแนน , ความเชื่อมั่นต่อสื่อมวล ได้รับคะแนน 5.66 คะแนน และความเชื่อมั่นต่อภาคประชาชนได้ 5.81 คะแนน
โดยเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการ เพื่อต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ประกอบด้วย การบังคับใช้กฎหมายให้เข้มงวดและมีมาตรการลงโทษอย่างเด็ดขาด , สนับสนุนให้เครือข่าย ภาคธุรกิจ ประชาชนเข้ามามีส่วนในการตรวจสอบ , ทำให้การเมืองโปร่งใส , เสริมสร้างจิตสำนึกและค่านิยมความซื่อสัตย์ , ปรับปรุงระเบียบการประมูลงานและการจัดซื้อจัดจ้าง , การเพิ่มเงินเดือนให้ข้าราชการชั้นผู้น้อย เป็นต้น
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทยว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจกับภาครัฐมีการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษแก่ข้าราชการ นักการเมืองที่ทุจริต เพื่อให้ได้สัญญาในอัตรา 1-15% หรือมีค่าเฉลี่ย 10% คิดเป็นวงเงินที่ต้องจ่าย 100,000 ล้านบาท ลดลงจากช่วง 2 ปีก่อนที่นักธุรกิจมีการจ่ายเงินใต้โต๊ะ 30% หรือคิดเป็น 282,558 ล้านบาท เนื่องไม่มีช่องทางในการจ่ายหรือช่องทางการรับเงิน และนักธุรกิจไม่กล้าจ่าย เพราะกลัวนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ใช้กฎหมายในการปราบปรามคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง
"ผลจากการที่รัฐบาลเข้มงวดในการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยได้มีการใช้มาตรา 44 ในการโยกย้ายข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตออกจากตำแหน่งหน้าที่เป็นจำนวนมาก ทำให้การทุจริตลดลง และการจ่ายใต้โต๊ะปีนี้เทียบกับ 2 ปีก่อน สามารถประหยัดเงินไม่ให้รั่วไหลได้กว่า 180,000 ล้านบาท ซึ่งเงินที่ไม่รั่วไหลตรงนี้ จะส่งผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 1% โดยจะเห็นผลในปี 2559ที่จีดีพีจะโตในระดับ 4% หากรัฐเดินหน้าโครงการต่างๆ ได้ตามแผน ส่วนปีนี้น่าจะโตระดับ 2.5-2.9% เพราะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา"
นอกจากนี้ ผลจากการเอาจริงเอาจังในการปราบปราม และการสร้างเครือข่ายในการต่อต้านคอร์รัปชั่น ทำให้นักธุรกิจที่อยู่ในวงการประมูลงานจากภาครัฐ ที่เดิมมีนักธุรกิจประมาณ 75% ที่เคยจ่ายเงินใต้โต๊ะเพื่อให้ได้งาน แต่ปัจจุบันกลับเหลือเพียง 6% เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกที่นักธุรกิจตอบว่าสถานการณ์การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นในไทยดีที่สุดเท่าที่มีการสำรวจมาในรอบ 6 ปี ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับอนาคตของประเทศไทย และอยากให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่เข้ามาบริหารประเทศต่อจาก คสช. สานต่อนโยบายดังกล่าวด้วย
สำหรับผลการสำรวจตั้งแต่ปี 2553-56 พบว่า เงินเพิ่มพิเศษของรายรับที่ผู้ประกอบการทำธุรกิจกับภาครัฐและจะต้องจ่ายเงินเพิ่มพิเศษแก่ข้าราชการ นักการเมืองที่ทุจริตเพื่อให้ได้สัญญาเฉลี่ยที่ 25-35% คิดเป็นเงิน 233,274-329,651 ล้านบาท
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทยในปี 2558 อยู่ในระดับ 55 แบ่งเป็นดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชั่นไทยในปัจจุบัน 52 และดัชนีแนวโน้มสถานการณ์คอร์รัปชั่นไทย อยู่ที่ 58 ซึ่งเป็นคะแนนที่สูงสุดตั้งแต่มีการสำรวจมา และเพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนเมื่อเดือน ธ.ค.2557 ที่อยู่ที่ 49 เนื่องจากประชาชน นักธุรกิจ และข้าราชการมีความเชื่อมั่นเรื่องความรุนแรงของสถานการณ์คอร์รัปชั่นในไทยที่ลดลงอย่างมาก
ส่วนความเชื่อมั่นต่อการสำนักงาน ป.ป.ช. และองค์กรอิสระอื่น ที่ทำหน้าที่ต่อต้านการทุจริต ได้รับคะแนน 5.71 คะแนนจากเต็ม 10 คะแนน , ความเชื่อมั่นต่อหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ต่อการช่วยต่อต้านการทุจริต ได้รับคะแนน 5.41 คะแนน , ความเชื่อมั่นต่อผู้ประกอบการกับการช่วยต่อต้านการทุจริตได้รับ 5.43 คะแนน , ความเชื่อมั่นต่อสื่อมวล ได้รับคะแนน 5.66 คะแนน และความเชื่อมั่นต่อภาคประชาชนได้ 5.81 คะแนน
โดยเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการ เพื่อต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ประกอบด้วย การบังคับใช้กฎหมายให้เข้มงวดและมีมาตรการลงโทษอย่างเด็ดขาด , สนับสนุนให้เครือข่าย ภาคธุรกิจ ประชาชนเข้ามามีส่วนในการตรวจสอบ , ทำให้การเมืองโปร่งใส , เสริมสร้างจิตสำนึกและค่านิยมความซื่อสัตย์ , ปรับปรุงระเบียบการประมูลงานและการจัดซื้อจัดจ้าง , การเพิ่มเงินเดือนให้ข้าราชการชั้นผู้น้อย เป็นต้น