ASTVผู้จัดการรายวัน - ศาลปกครองกลางพิพากษาให้ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาสั่งการกรณีบริษัท น้ำตาลไทยเอกลักษณ์ ขอย้ายโรงงานน้ำตาลจากจังหวัดอุตรดิตถ์ไปสุโขทัย และการขอขยายกำลังการผลิตจาก 18,000 เป็น 25,000 ตันอ้อยต่อวัน หลังจากรัฐมนตรีอุตสาหกรรมถ่วงเรื่องมานาน
วานนี้ (11 ส.ค.) ศาลปกครองกลางได้อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 589/2554 หมายเลขแดงที่ 1919/2558 ที่บริษัท น้ำตาลไทยเอกลักษณ์ จำกัด เป็นผู้ฟ้องคดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และบริษัทน้ำตาลทิพย์สุโขทัย จำกัด(บริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลอุตรดิตถ์ จำกัด เดิม) เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-3 ตามลำดับ เรื่องคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
คดีนี้ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอิบกิจการโรงงานประเภทที่ 3 ประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำตาลที่ทำจากอ้อย การทำน้ำตาลทรายดิบ หรือ น้ำตาลทรายขาว ในตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งแต่ปี 2517 โดยได้รับอนุญาตหีบอ้อย 18,000 ตันต่อวัน เป็นคู่สัญญากับเกษตรกรผลูกอ้อยในจังหวัดอุตรดิตถ์และสุโขทัยจำนวนกว่า 3,700 ราย
เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2532 คณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้มีมติห้ามตั้งโรงงานน้ำตาล เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก ครม. ต่อมาวันที่ 22 ก.ค.2546 ครม.ได้มีมติห้ามโรงงานน้ำตาลขยายกำลังการผลิต เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก ครม. อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่าในจังหวัดอุตรดิตถ์นั้น มีโรงงานน้ำตาลวังกะพี้ ตั้งอยู่ที่ตำบลวังกะพี้ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ห่างจากโรงงานของผู้ฟ้องคดี 22 กิโลเมตร ได้รับอนุญาตให้หีบอ้อยในอัตราไม่เกิน 3,000 ตันอ้อยต่อวัน มีชาวไร่อ้อยคู่สัญญาเป็นผู้ปลูกอ้อย จำนวนประมาณ 350,000 ตันอ้อยต่อปี เดิมโรงงานแห่งนี้เป็นรัฐวิสาหกิจ ต่อมา มติครม.วันที่ 10 ส.ค.2547 ขายโรงงานนี้ให้บริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลอุตรดิตถ์ จำกัด โดยมีเงื่อนไขให้โรงงานแห่งนี้หีบอ้อยในอัตราไม่เกิน 18,000 ตันอ้อยต่อวัน และสามารถย้ายโรงงานไปยังพื้นที่ที่มีปริมาณอ้อยเพียงพอกับการผลิตในระยะทางไม่เกิน 100 กิโลเมตร โดยไม่ต้องขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มและต้องไม่เข้าแย่งชาวไร่ที่เป็นคู่สัญญาของโรงงานอื่น ต่อมา บริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลอุตรดิตถ์ จำกัด ได้ขอย้ายโรงงานน้ำตาลไปอยู่ที่ตำบลดงคู่ และตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และขอขยายกำลังผลิตเป็น 18,000 ตันอ้อยต่อวัน โดยไม่มีชาวไร่อ้อยเป็นคู่สัญญาเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 2,000,000 ตันอ้อยแต่อย่างใด แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้อนุญาตให้มีการย้ายดรงงานและขยายกำลังการผลิตดังกล่าว โดยอ้างมติ ครม.วันที่ 10 ส.ค.2547 ทั้งที่ในขณะนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดหลักเกณฑ์การย้ายโรงงานไว้แล้วว่า ต้องมีระยะห่างระหว่างโรงงานเดิมกับโรงงานใหม่ไม่น้อยกว่า 80 กิโลเมตร ให้โรงงานที่จะย้ายมีการเตรียมอ้อยที่จะเข้าสู่โรงงานในปีแรกไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของกำลังการผลิตในฤดูหีบนั้นๆ และต้องไม่ใช่อ้อยของเกษตรกรที่เป็นคู่สัญญากับโรงงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดิม
เมื่อโรงงานน้ำตาลวังกะพี้ย้ายไปอยู่ที่ใหม่จะอยู่ห่างจากโรงงานของผู้ฟ้องคดีเพียง 39 กิโลเมตร และจะเข้าไปอยู่ในบริเวณกลางพื้นที่ปลูกอ้อยของชาวไร่อ้อยคู่สัญญาของผู้ฟ้องคดี และบริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลอุตรดิตถ์ จำกัด ไม่มีคู่สัญญาในพื้นที่ใหม่เพียงพอสำหรับกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น จึงไม่อาจหาอ้อยได้ในปริมาณที่เพียงพอ เว้นแต่จะเพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อย ซึ่งจะขัดกับมติ ครม.วันที่ 10 ส.ค.2547 ที่ห้ามโรงงานน้ำตาลวังกะพี้เพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อย ทำให้เกิดการแย้งอ้อยของผู้ฟ้องคดีโดยไม่เป็นธรรม ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคัดค้านการย้ายดรงงานน้ำตาลวังกะพี้ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ก็ไม่ได้แก้ไขปัญหาให้ผู้ฟ้องคดีแค่อย่างใด
ผู้ฟ้องคดีจึงได้จัดหาที่ดินในเขตตำบลในเมือง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย จำนวน 1,500 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่กลางกลุ่มชาวไร่อ้อยคู่สัญญาของผู้ฟ้องคดี เพื่อก่อสร้างโรงงาน และได้มีหนังสือวันที่ 9 ก.ค.2550 ขออนุญาตย้ายโรงงาน ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ดำเนินการขออนุมัติต่อ ครม. แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ไม่ได้ดำเนินการใดๆ จึงมีหนังสือขอไปอีกครั้ง ในวันที่ 29 สิงหาคม 2550 และวันที่ 1 ต.ค.มีหนังสือขอความเป็นธรรมในการย้ายโรงงาน แต่ผู้ถูกฟ้องทัี่ 2 มีหนังสือลงวันที่ 2 ต.ค.2550 แจ้งว่ายังไมมีเหตุผลเพียงพอในการขอย้ายโรงงาน เนื่องจากกำลังการผลิต 18,000 ตันอ้อยต่อวัน เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาตเดิม ไม่ใช่เป็นการขยายกำลังการผลิต และอ้างว่าไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่โรงงานต้องอยู่ห่างกันไม่น้อยกว่า 80 กิโลเมตร ทั้งที่โรงงานน้ำตาลวังกะพี้แห่งใหม่ที่ได้รับอนุญาต อยู่ห่างจากโรงงานของผู้ฟ้องคดีเพียง 37 กิโลเมตร ขณะที่โรงงานแห่งใหม่ของผู้ฟ้องคดีจะอยู่ห่างจากโรงงานน้ำตาลวังกะพี้ถึง 56 กิโลเมตร หลังจากนั้นผู้ฟ้องคดีได้ทำหนังสือถึงผูถูกฟ้องคดีที่ 1 เพื่อขอย้ายโรงงานหลายครั้ง แต่ไม่มีความคืบหน้า
จึงยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 นำเรื่องการขอย้ายโรงงานน้ำตาลไปตั้งที่อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย และขยายกำลังผลิตโรงงานน้ำตาลเป็น 25,000 ตันอ้อยต่อวัน ของผู้ฟ้องคดี เสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว และขอให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการของบริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลอุตรดิตถ์ จำกัด ที่ได้รับอนุญาตให้ไปตั้งโรงงานที่ตำบลดงคู่ และตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และได้ขยายกำลังผลิตเป็น 18,000 ตันอ้อยต่อวัน
ศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องบางข้อหาไว้พิจารณา ลงวันที่ 29 มีนาคม 2554 โดยไม่รับคำฟ้องในข้อหาที่ฟ้องขอให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการของบริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลอุตรดิตถ์ จำกัด ไว้พิจารณา
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ไม่นำเรื่องการขอย้ายโรงงานน้ำตาลไปตั้งที่อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย และขยายกำลังผลิตโรงงานน้ำตาลเป็น 25,000 ตันอ้อยต่อวัน ของผู้ฟ้องคดี เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา เป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ต้องปฏิบัติ
สำหรับผู้ถูกฟ้องคดีทัี่ 2 นั้น มาตรา 6 วรรค 1 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี 2548 กำหนดให้การเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 4 เป็นอำนาจหน้าที่ข่องผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงไม่ได้ละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม โดยข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในระหว่างกระบวนการพิจารณาคดีนี้ ครม.ได้มีมติเเมื่อวันที่ 20 เม.ย.2558 ให้ยกเลิกมติ ครม.วันที่ 30 ตุลาคม 2532 (เรื่องการย้ายสถานที่ตั้งและการตั้งโรงงานน้ำตาลทรายใหม่) และให้ยกเลิกมติ ครม.วันที่ 22 ก.ค.2546 (เรื่อง การแก้ไขปัญหาราคาอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ) ในส่วนของแนวทางการแก้ไขปัญหาระยะยาว ข้อ 1.2(5) ของหนังสือกระทรวงอุตสาหกรรม ด่วนที่สุด อก 0626/2740 ลงวันที่ 3 ก.ค.2546 แล้ว ทำให้ขั้นตอนการเสนอขอย้ายโรงงานน้ำตาลหรือขยายกำลังการผลิตโรงงานน้ำตาลของผู้ฟ้องคดีเพื่อให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติไม่มีอีกต่อไป ศาลจึงไม่จำเป็นต้องมีคำบังคับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ดำเนินการการตามคำขอของผู้ฟ้องคดี และมีผลทำให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ซึ่งเป็น “ผู้อนุญาต” ตาม พ.ร.บ.โรงงาน 2535 มีอำนาจพิจารณาว่าจะอออกใบอนุญาตย้ายหรือขยายกำลังการผลิตให้แก่โรงงานน้ำตาลของผู้ฟ้องคดีหรือไม่ โดยไม่ต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติก่อนอีกต่อไป ดังนั้นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงต้องรีบพิจารณาสั่งการเรื่องการออกใบอนุญาตย้ายหรือขยายกำลังการผลิตของโรงงานน้ำตาลของผู้ฟ้องคดี ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ ใน พ.ร.บ.โรงงาน 2535 ประกอบกับกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตและการขออนุญาตเกี่ยวกับโรงงานจำพวกที่ 3 พ.ศ.2549 และประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ให้แก่ผู้ฟ้องคดีต่อไป
พิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 พิจารณาสั่งการเรื่องการออกใบอนุญาตย้ายโรงงานน้ำตาลไทยเอกลักษณ์ของผู้ฟ้องคดีจากจังหวัดอุตรดิตถ์ไปจังหวัดสุโขทัย และการขอขยายกำลังการผลิตของโรงงานน้ำตาลดังกล่าวจากอัตราวันละ 18,000 ตันอ้อยต่อวัน เป็น 25,000 ตันอ้อยต่อวัน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ให้แก่ผู้ฟ้องคดีโดยเร็วต่อไป ส่วนคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
วานนี้ (11 ส.ค.) ศาลปกครองกลางได้อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 589/2554 หมายเลขแดงที่ 1919/2558 ที่บริษัท น้ำตาลไทยเอกลักษณ์ จำกัด เป็นผู้ฟ้องคดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และบริษัทน้ำตาลทิพย์สุโขทัย จำกัด(บริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลอุตรดิตถ์ จำกัด เดิม) เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-3 ตามลำดับ เรื่องคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
คดีนี้ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอิบกิจการโรงงานประเภทที่ 3 ประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำตาลที่ทำจากอ้อย การทำน้ำตาลทรายดิบ หรือ น้ำตาลทรายขาว ในตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งแต่ปี 2517 โดยได้รับอนุญาตหีบอ้อย 18,000 ตันต่อวัน เป็นคู่สัญญากับเกษตรกรผลูกอ้อยในจังหวัดอุตรดิตถ์และสุโขทัยจำนวนกว่า 3,700 ราย
เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2532 คณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้มีมติห้ามตั้งโรงงานน้ำตาล เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก ครม. ต่อมาวันที่ 22 ก.ค.2546 ครม.ได้มีมติห้ามโรงงานน้ำตาลขยายกำลังการผลิต เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก ครม. อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่าในจังหวัดอุตรดิตถ์นั้น มีโรงงานน้ำตาลวังกะพี้ ตั้งอยู่ที่ตำบลวังกะพี้ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ห่างจากโรงงานของผู้ฟ้องคดี 22 กิโลเมตร ได้รับอนุญาตให้หีบอ้อยในอัตราไม่เกิน 3,000 ตันอ้อยต่อวัน มีชาวไร่อ้อยคู่สัญญาเป็นผู้ปลูกอ้อย จำนวนประมาณ 350,000 ตันอ้อยต่อปี เดิมโรงงานแห่งนี้เป็นรัฐวิสาหกิจ ต่อมา มติครม.วันที่ 10 ส.ค.2547 ขายโรงงานนี้ให้บริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลอุตรดิตถ์ จำกัด โดยมีเงื่อนไขให้โรงงานแห่งนี้หีบอ้อยในอัตราไม่เกิน 18,000 ตันอ้อยต่อวัน และสามารถย้ายโรงงานไปยังพื้นที่ที่มีปริมาณอ้อยเพียงพอกับการผลิตในระยะทางไม่เกิน 100 กิโลเมตร โดยไม่ต้องขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มและต้องไม่เข้าแย่งชาวไร่ที่เป็นคู่สัญญาของโรงงานอื่น ต่อมา บริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลอุตรดิตถ์ จำกัด ได้ขอย้ายโรงงานน้ำตาลไปอยู่ที่ตำบลดงคู่ และตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และขอขยายกำลังผลิตเป็น 18,000 ตันอ้อยต่อวัน โดยไม่มีชาวไร่อ้อยเป็นคู่สัญญาเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 2,000,000 ตันอ้อยแต่อย่างใด แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้อนุญาตให้มีการย้ายดรงงานและขยายกำลังการผลิตดังกล่าว โดยอ้างมติ ครม.วันที่ 10 ส.ค.2547 ทั้งที่ในขณะนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดหลักเกณฑ์การย้ายโรงงานไว้แล้วว่า ต้องมีระยะห่างระหว่างโรงงานเดิมกับโรงงานใหม่ไม่น้อยกว่า 80 กิโลเมตร ให้โรงงานที่จะย้ายมีการเตรียมอ้อยที่จะเข้าสู่โรงงานในปีแรกไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของกำลังการผลิตในฤดูหีบนั้นๆ และต้องไม่ใช่อ้อยของเกษตรกรที่เป็นคู่สัญญากับโรงงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดิม
เมื่อโรงงานน้ำตาลวังกะพี้ย้ายไปอยู่ที่ใหม่จะอยู่ห่างจากโรงงานของผู้ฟ้องคดีเพียง 39 กิโลเมตร และจะเข้าไปอยู่ในบริเวณกลางพื้นที่ปลูกอ้อยของชาวไร่อ้อยคู่สัญญาของผู้ฟ้องคดี และบริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลอุตรดิตถ์ จำกัด ไม่มีคู่สัญญาในพื้นที่ใหม่เพียงพอสำหรับกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น จึงไม่อาจหาอ้อยได้ในปริมาณที่เพียงพอ เว้นแต่จะเพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อย ซึ่งจะขัดกับมติ ครม.วันที่ 10 ส.ค.2547 ที่ห้ามโรงงานน้ำตาลวังกะพี้เพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อย ทำให้เกิดการแย้งอ้อยของผู้ฟ้องคดีโดยไม่เป็นธรรม ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคัดค้านการย้ายดรงงานน้ำตาลวังกะพี้ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ก็ไม่ได้แก้ไขปัญหาให้ผู้ฟ้องคดีแค่อย่างใด
ผู้ฟ้องคดีจึงได้จัดหาที่ดินในเขตตำบลในเมือง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย จำนวน 1,500 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่กลางกลุ่มชาวไร่อ้อยคู่สัญญาของผู้ฟ้องคดี เพื่อก่อสร้างโรงงาน และได้มีหนังสือวันที่ 9 ก.ค.2550 ขออนุญาตย้ายโรงงาน ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ดำเนินการขออนุมัติต่อ ครม. แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ไม่ได้ดำเนินการใดๆ จึงมีหนังสือขอไปอีกครั้ง ในวันที่ 29 สิงหาคม 2550 และวันที่ 1 ต.ค.มีหนังสือขอความเป็นธรรมในการย้ายโรงงาน แต่ผู้ถูกฟ้องทัี่ 2 มีหนังสือลงวันที่ 2 ต.ค.2550 แจ้งว่ายังไมมีเหตุผลเพียงพอในการขอย้ายโรงงาน เนื่องจากกำลังการผลิต 18,000 ตันอ้อยต่อวัน เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาตเดิม ไม่ใช่เป็นการขยายกำลังการผลิต และอ้างว่าไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่โรงงานต้องอยู่ห่างกันไม่น้อยกว่า 80 กิโลเมตร ทั้งที่โรงงานน้ำตาลวังกะพี้แห่งใหม่ที่ได้รับอนุญาต อยู่ห่างจากโรงงานของผู้ฟ้องคดีเพียง 37 กิโลเมตร ขณะที่โรงงานแห่งใหม่ของผู้ฟ้องคดีจะอยู่ห่างจากโรงงานน้ำตาลวังกะพี้ถึง 56 กิโลเมตร หลังจากนั้นผู้ฟ้องคดีได้ทำหนังสือถึงผูถูกฟ้องคดีที่ 1 เพื่อขอย้ายโรงงานหลายครั้ง แต่ไม่มีความคืบหน้า
จึงยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 นำเรื่องการขอย้ายโรงงานน้ำตาลไปตั้งที่อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย และขยายกำลังผลิตโรงงานน้ำตาลเป็น 25,000 ตันอ้อยต่อวัน ของผู้ฟ้องคดี เสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว และขอให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการของบริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลอุตรดิตถ์ จำกัด ที่ได้รับอนุญาตให้ไปตั้งโรงงานที่ตำบลดงคู่ และตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และได้ขยายกำลังผลิตเป็น 18,000 ตันอ้อยต่อวัน
ศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องบางข้อหาไว้พิจารณา ลงวันที่ 29 มีนาคม 2554 โดยไม่รับคำฟ้องในข้อหาที่ฟ้องขอให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการของบริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลอุตรดิตถ์ จำกัด ไว้พิจารณา
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ไม่นำเรื่องการขอย้ายโรงงานน้ำตาลไปตั้งที่อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย และขยายกำลังผลิตโรงงานน้ำตาลเป็น 25,000 ตันอ้อยต่อวัน ของผู้ฟ้องคดี เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา เป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ต้องปฏิบัติ
สำหรับผู้ถูกฟ้องคดีทัี่ 2 นั้น มาตรา 6 วรรค 1 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี 2548 กำหนดให้การเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 4 เป็นอำนาจหน้าที่ข่องผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงไม่ได้ละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม โดยข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในระหว่างกระบวนการพิจารณาคดีนี้ ครม.ได้มีมติเเมื่อวันที่ 20 เม.ย.2558 ให้ยกเลิกมติ ครม.วันที่ 30 ตุลาคม 2532 (เรื่องการย้ายสถานที่ตั้งและการตั้งโรงงานน้ำตาลทรายใหม่) และให้ยกเลิกมติ ครม.วันที่ 22 ก.ค.2546 (เรื่อง การแก้ไขปัญหาราคาอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ) ในส่วนของแนวทางการแก้ไขปัญหาระยะยาว ข้อ 1.2(5) ของหนังสือกระทรวงอุตสาหกรรม ด่วนที่สุด อก 0626/2740 ลงวันที่ 3 ก.ค.2546 แล้ว ทำให้ขั้นตอนการเสนอขอย้ายโรงงานน้ำตาลหรือขยายกำลังการผลิตโรงงานน้ำตาลของผู้ฟ้องคดีเพื่อให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติไม่มีอีกต่อไป ศาลจึงไม่จำเป็นต้องมีคำบังคับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ดำเนินการการตามคำขอของผู้ฟ้องคดี และมีผลทำให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ซึ่งเป็น “ผู้อนุญาต” ตาม พ.ร.บ.โรงงาน 2535 มีอำนาจพิจารณาว่าจะอออกใบอนุญาตย้ายหรือขยายกำลังการผลิตให้แก่โรงงานน้ำตาลของผู้ฟ้องคดีหรือไม่ โดยไม่ต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติก่อนอีกต่อไป ดังนั้นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงต้องรีบพิจารณาสั่งการเรื่องการออกใบอนุญาตย้ายหรือขยายกำลังการผลิตของโรงงานน้ำตาลของผู้ฟ้องคดี ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ ใน พ.ร.บ.โรงงาน 2535 ประกอบกับกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตและการขออนุญาตเกี่ยวกับโรงงานจำพวกที่ 3 พ.ศ.2549 และประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ให้แก่ผู้ฟ้องคดีต่อไป
พิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 พิจารณาสั่งการเรื่องการออกใบอนุญาตย้ายโรงงานน้ำตาลไทยเอกลักษณ์ของผู้ฟ้องคดีจากจังหวัดอุตรดิตถ์ไปจังหวัดสุโขทัย และการขอขยายกำลังการผลิตของโรงงานน้ำตาลดังกล่าวจากอัตราวันละ 18,000 ตันอ้อยต่อวัน เป็น 25,000 ตันอ้อยต่อวัน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ให้แก่ผู้ฟ้องคดีโดยเร็วต่อไป ส่วนคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก