เอเจนซีส์— จีนประกาศวันอังคาร (11 ส.ค.) ลดค่าเงินหยวนลงมาเกือบ 2% ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปี หลังข้อมูลเศรษฐกิจหลายส่วนแสดงให้เห็นอาการซวนเซ ด้านแบงก์ชาติเฝ้าระวังการลดค่าเงินหยวน หวั่นกระทบต่อค่าเงินบาทให้อ่อนค่าลง ขณะที่ขุนคลัง ระบุ ส่งออกทั่วโลกแย่
ธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (พีบีโอซี) ประกาศราคากลาง หรือ “อัตราอ้างอิง” ประจำวันสำหรับเงินหยวนของตนในวันอังคารให้อยู่ที่ 6.2298 หยวนต่อดอลลาร์ จากระดับ 6.1162 หยวนในวันจันทร์ (10) จึงเท่ากับลดค่าสกุลเงินตราของแดนมังกรลงมา 1.86% ซึ่งเป็นการอ่อนตัวลงในรอบหนึ่งวันที่สูงที่สุด นับตั้งแต่การลดค่าเงินครั้งมโหฬารในปี 1994
ซึ่งความเคลื่อนไหวนี้นับเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนที่สุดจากรัฐบาลจีน ที่อาจจะปล่อยเงินหยวนอ่อนค่าลง และช่วยเศรษฐกิจมังกรที่พึ่งพิงการส่งออกอยู่สูง ที่กำลังตกอยู่ในสภาพซวนเซ
อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้รัฐบาลจีนก็ยังคัดค้านกระแสเรียกร้องจากกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ ที่จะใช้มาตรการปล่อยค่าเงินหยวนอ่อนค่ากว่านี้ เป็นช่องทางช่วยอัดฉีดภาคเศรษฐกิจบางภาค แม้ภาคส่งออกจะย่ำแย่ ขณะที่ตลาดหุ้นตกต่ำไปร้อยละ 30 ทั้งนี้ ข้อมูลเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ระบุภาคส่งออกจีนระหว่างเดือนก.ค. ซบเซาลงไปร้อยละ 8.3 ปีต่อปี
ขณะนี้ธนาคารประชาชนจีน หรือธนาคารกลางเข้ามาคุมเข้มแถบเคลื่อนไหวขึ้นลงในตลาดค้าเงินหยวนภายในประเทศ โดยกำหนดค่ากลางประจำวันที่ราวร้อยละ 2 อันหมายถึงว่าค่าเงินหยวนจะขยับขึ้นลงในแต่ละวันที่ราวร้อยละ 2
กลุ่มนักวิเคราะห์ชี้ว่า รัฐบาลมังกรต้องการรักษาค่าเงินหยวนให้มีเสถียรภาพก่อนที่สกุลเงินจีนจะได้เข้าไปรวมอยู่ในระบบตะกร้าทุนสำรองเงินตราสกุลหลัก (reserve currency basket) ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ซึ่งขณะนี้ส่อเค้าความเป็นไปได้อยู่
***ธปท.รับหยวนฉุดค่าบาทอ่อน
นางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยอมรับว่า เงินบาทที่อ่อนค่าเป็นไปตามการลดค่าเงินหยวนของจีน ส่วนผลกระทบของเงินหยวนที่อ่อนค่า แม้จะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของตลาดในระยะสั้น แต่คงต้องประเมินผลในระยะยาวด้วยว่าเงินหยวนที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น น่าจะเป็นผลดีต่อการปฏิรูปเศรษฐกิจจีนอีกทั้งการอ่อนค่าของเงินหยวนน่าจะมีผลบวกที่ช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจจีนได้มากขึ้นซึ่งน่าจะเป็นผลดีต่อการค้าภายในภูมิภาคด้วย
ทั้งนี้ ตลาดการเงินโลกที่อาจเผชิญกับความผันผวนที่สูงขึ้นได้ในช่วงนี้ผู้ประกอบการจึงควรติดตามสถานการณ์และใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อลดทอนผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นได้โดย ธปท. จะติดตามการเคลื่อนไหวของค่าเงินและผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในระยะถัดไปอย่างใกล้ชิด
***ขุนคลังเมินเหตุส่งออกแย่ทั่วโลก
นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เชื่อว่า จะไม่กระทบกับประเทศไทย โดยเฉพาะการท่องเที่ยว แม้ว่านักท่องเที่ยวจีนเข้ามาในไทยต้องจ่ายแพงขึ้นประมาณ 2% ถือว่าไม่มาก เพราะหากต้องเคยเสียค่าพักคืนละ 2,000 บาท ก็ต้องจ่ายเป็น 2,040 บาท เท่านั้น อย่างไรก็ตาม การลดค่าเงินบาทของจีนเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกให้เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นปัญหาที่ทุกประเทศประสบและหาทางการแก้ไข ซึ่งการลดค่าเงินก็เป็นแนวทางหนึ่ง เพราะที่ผ่านมาหากดูปริมาณการส่งออกไม่ได้ลดลงมาก แต่ด้านราคาลดลงมากซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันลดลงมาก
ด้านมาตรการการเงินการคลังก็ไม่สามารถช่วยอะไรไปได้มากกว่านี้ การลดดอกเบี้ยให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ เพราะอัตราดอกเบี้ยไทยอยู่ระดับต่ำ 1.5% หากลดลงอีกจะกระทบกับคนที่พึ่งดอกเบี้ยในการดำรงชีพ และการลดดอกเบี้ยที่ผ่านมาก็ไม่ได้ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลงมาก แต่ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเกิดจากเงินสหรัฐแข็งค่าเพราะมีการคาดการณ์กันว่าธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในส่วนของการส่งออกของไทยทางกระทรวงพาณิชย์ก็เร่งหาทางแก้ไขอยู่
"การส่งออกแย่เป็นเรื่องที่ทุกประเทศประสบ ไม่ใช่ไทยมีปัญหาประเทศเดียว เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องทำความเข้าใจว่าจะหวังให้การส่งออกของไทยขยายตัวเป็น 10% เหมือนที่ผ่านมาไม่ได้แล้ว และการส่งออกของไทยที่ติดลบอยู่นี้ก็ไม่ได้มาก เมื่อเทียบกับหลายประเทศในโลก" นายสมหมายกล่าว
ธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (พีบีโอซี) ประกาศราคากลาง หรือ “อัตราอ้างอิง” ประจำวันสำหรับเงินหยวนของตนในวันอังคารให้อยู่ที่ 6.2298 หยวนต่อดอลลาร์ จากระดับ 6.1162 หยวนในวันจันทร์ (10) จึงเท่ากับลดค่าสกุลเงินตราของแดนมังกรลงมา 1.86% ซึ่งเป็นการอ่อนตัวลงในรอบหนึ่งวันที่สูงที่สุด นับตั้งแต่การลดค่าเงินครั้งมโหฬารในปี 1994
ซึ่งความเคลื่อนไหวนี้นับเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนที่สุดจากรัฐบาลจีน ที่อาจจะปล่อยเงินหยวนอ่อนค่าลง และช่วยเศรษฐกิจมังกรที่พึ่งพิงการส่งออกอยู่สูง ที่กำลังตกอยู่ในสภาพซวนเซ
อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้รัฐบาลจีนก็ยังคัดค้านกระแสเรียกร้องจากกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ ที่จะใช้มาตรการปล่อยค่าเงินหยวนอ่อนค่ากว่านี้ เป็นช่องทางช่วยอัดฉีดภาคเศรษฐกิจบางภาค แม้ภาคส่งออกจะย่ำแย่ ขณะที่ตลาดหุ้นตกต่ำไปร้อยละ 30 ทั้งนี้ ข้อมูลเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ระบุภาคส่งออกจีนระหว่างเดือนก.ค. ซบเซาลงไปร้อยละ 8.3 ปีต่อปี
ขณะนี้ธนาคารประชาชนจีน หรือธนาคารกลางเข้ามาคุมเข้มแถบเคลื่อนไหวขึ้นลงในตลาดค้าเงินหยวนภายในประเทศ โดยกำหนดค่ากลางประจำวันที่ราวร้อยละ 2 อันหมายถึงว่าค่าเงินหยวนจะขยับขึ้นลงในแต่ละวันที่ราวร้อยละ 2
กลุ่มนักวิเคราะห์ชี้ว่า รัฐบาลมังกรต้องการรักษาค่าเงินหยวนให้มีเสถียรภาพก่อนที่สกุลเงินจีนจะได้เข้าไปรวมอยู่ในระบบตะกร้าทุนสำรองเงินตราสกุลหลัก (reserve currency basket) ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ซึ่งขณะนี้ส่อเค้าความเป็นไปได้อยู่
***ธปท.รับหยวนฉุดค่าบาทอ่อน
นางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยอมรับว่า เงินบาทที่อ่อนค่าเป็นไปตามการลดค่าเงินหยวนของจีน ส่วนผลกระทบของเงินหยวนที่อ่อนค่า แม้จะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของตลาดในระยะสั้น แต่คงต้องประเมินผลในระยะยาวด้วยว่าเงินหยวนที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น น่าจะเป็นผลดีต่อการปฏิรูปเศรษฐกิจจีนอีกทั้งการอ่อนค่าของเงินหยวนน่าจะมีผลบวกที่ช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจจีนได้มากขึ้นซึ่งน่าจะเป็นผลดีต่อการค้าภายในภูมิภาคด้วย
ทั้งนี้ ตลาดการเงินโลกที่อาจเผชิญกับความผันผวนที่สูงขึ้นได้ในช่วงนี้ผู้ประกอบการจึงควรติดตามสถานการณ์และใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อลดทอนผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นได้โดย ธปท. จะติดตามการเคลื่อนไหวของค่าเงินและผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในระยะถัดไปอย่างใกล้ชิด
***ขุนคลังเมินเหตุส่งออกแย่ทั่วโลก
นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เชื่อว่า จะไม่กระทบกับประเทศไทย โดยเฉพาะการท่องเที่ยว แม้ว่านักท่องเที่ยวจีนเข้ามาในไทยต้องจ่ายแพงขึ้นประมาณ 2% ถือว่าไม่มาก เพราะหากต้องเคยเสียค่าพักคืนละ 2,000 บาท ก็ต้องจ่ายเป็น 2,040 บาท เท่านั้น อย่างไรก็ตาม การลดค่าเงินบาทของจีนเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกให้เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นปัญหาที่ทุกประเทศประสบและหาทางการแก้ไข ซึ่งการลดค่าเงินก็เป็นแนวทางหนึ่ง เพราะที่ผ่านมาหากดูปริมาณการส่งออกไม่ได้ลดลงมาก แต่ด้านราคาลดลงมากซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันลดลงมาก
ด้านมาตรการการเงินการคลังก็ไม่สามารถช่วยอะไรไปได้มากกว่านี้ การลดดอกเบี้ยให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ เพราะอัตราดอกเบี้ยไทยอยู่ระดับต่ำ 1.5% หากลดลงอีกจะกระทบกับคนที่พึ่งดอกเบี้ยในการดำรงชีพ และการลดดอกเบี้ยที่ผ่านมาก็ไม่ได้ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลงมาก แต่ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเกิดจากเงินสหรัฐแข็งค่าเพราะมีการคาดการณ์กันว่าธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในส่วนของการส่งออกของไทยทางกระทรวงพาณิชย์ก็เร่งหาทางแก้ไขอยู่
"การส่งออกแย่เป็นเรื่องที่ทุกประเทศประสบ ไม่ใช่ไทยมีปัญหาประเทศเดียว เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องทำความเข้าใจว่าจะหวังให้การส่งออกของไทยขยายตัวเป็น 10% เหมือนที่ผ่านมาไม่ได้แล้ว และการส่งออกของไทยที่ติดลบอยู่นี้ก็ไม่ได้มาก เมื่อเทียบกับหลายประเทศในโลก" นายสมหมายกล่าว