ASTVผู้จัดการรายวัน- "ฟ็อกซ์"ลั่น ไม่ร่วมประมูล พรีเมียร์ลีกสู้คนไทย หลังได้บุนเดสลีกาแบบรีจีนอลในเอเชีย ฟันธงราคาEPLรอบนี้มีสิทธ์ถูกลงกว่าครั้งก่อนแน่ พร้อมกางแผนลุยซื้อคอนเทนต์กีฬาโลคอลเป็นหลัก มั่นใจต่อยอดขายโฆษณาได้หลายเท่าตัว ดันรายได้ฟ็อกซ์ไทยปีนี้โต 15%
ม.ร.ว รุจยารักษ์ อาภากร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ฟ็อกซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล แชนแนล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ฟ็อกซ์ถือเป็นคอนเทนต์โพไวเดอร์ที่มีจำนวนช่องมากมาย เข้าถึงผู้คนทั่วโลกกว่า 300 ล้านคน เฉพาะในเอเชียมีกว่า 27 ช่องที่ออกอากาศ และมีออฟฟิศเชียลในเอเชียถึง14 ประเทศ ซึ่งแผนการดำเนินงานของฟ็อกซ์จะเน้นสร้างและซื้อคอนเทนต์มากขึ้น โดยเฉพาะคอนเทนต์ท้องถิ่น เพื่อต่อยอดการหารายได้โฆษณาในรูปแบบรีจีนอลได้ง่ายขึ้น
ทั้งนี้ทางฟ็อกซ์พร้อมที่จะลงทุนในเอเชียมากขึ้น จากเดิมเป็นเอ็กซ์คลูซีฟแชนแนล จะเปลี่ยนเป็นนอนเอ็กซ์คลูซีฟ เข้าถึงผู้ชมในทุกแพลทฟอร์ม เนื่องจากมองว่าในภูมิภาคนี้ เพย์ทีวีเติบโตต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ว่าจะโตได้ 6-7% ส่วนสำคัญมาจาก 1.เทคโนโลยี คนดูผ่านทีวีน้อยลง แต่ดูในช่องทางอื่นมากขึ้นแทน เช่น ออนไลน์ เป็นต้น 2.ช่องทีวีเกิดขึ้นมาก และคอนเทนต์คือ หัวใจหลัก
"ปัจจุบันฟ็อกซ์ถือเป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่มีคอนเทนต์มากมาย ทั้งเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ข่าว และกีฬา ซึ่งมีทั้งผลิตเองและซื้อลิขสิทธ์มา โดยเฉพาะคอนเทนต์การแข่งขันรายการกีฬาดังระดับโลก ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ฟ็อกซ์เกือบหมด ไม่ว่าจะเป็น ฟอร์มูล่าวัน, GP, UFC, เทนนิส และกอล์ฟ รวมถึงล่าสุดกับบุนเดสลีกา รวมแล้วมีคอนเทนต์กีฬาไม่ต่ำกว่า 12รายการ และเพิ่มเข้ามาอีก 2-3รายการ เช่น ยูโรสปอร์ตเป็นต้น จึงพร้อมปรับแผนเป็นพันธมิตรกับทุกแพลทฟอร์ม
อย่างไรก็ตาม ฟ็อกซ์เพิ่งได้สิทธ์ในการเป็นเจ้าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลบุนเดสลีกา แบบ 5+5 เริ่มตั้งแต่ปี2558นี้เป็นต้นไป ซึ่งลิขสิทธ์ที่ได้มาจะเป็นแบบออลไรท์ และครอบคลุมในภูมิภาคนี้ทั้งหมด โดยในไทยได้ร่วมกับทางช่อง PPTV HD ร่วมถ่ายทอดสดครบ 102แมทช์ตลอดฤดูกาล
"การมีบุนเดสลีกาอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องประมูลพรีเมียร์ลีกเข้ามาเพิ่ม ซึ่งหากฟ็อกซ์สนใจอาจจะเป็นการบิทในรีเจนท์อื่นๆแทน ไม่ใช่ในไทยแน่นอน เพราะราคาที่ค่อนข้างสูง แต่ปีนี้เชื่อว่าราคาอาจจะลดลงจากครั้งก่อน เพราะเหลือผู้ที่สนใจเข้าร่วมประมูลไม่กี่ราย ซึ่งทางฟ็อกซ์ให้ความสนใจเข้าร่วมประมูลในกลุ่มโลคอลคอนเทนต์กีฬาในไทยมากกว่า เช่น ไทยพรีเมียร์ลีก เป็นต้น เพราะเป็นคอนเทนต์ที่มีศักยภาพต่อยอดรายได้ได้ดีกว่า"
ม.ร.ว รุจยารักษ์ กล่าวต่อว่า สำหรับฟ็อกซ์ในประเทศไทย มีอยู่ 6-7 ช่องที่ออกอากาศและสามารถรับชมได้ในแพลทฟอร์มต่างๆ ได้แก่ ช่องฟ็อกซ์ไทย, ฟ็อกซ์มูฟวี่ พรีเมียม, สตาร์เวิล์ด, ฟ็อกซ์ สปอรต์3 และแชนแนลวี เป็นต้น รวมถึงอีก 2 ช่อง คือ ฟ็อกซ์สปอร์ต1 และ VHD ที่ขายโฆษณาในลักษณะรีจีนอล ทั้งจากไทยไปทั่วเอเชีย หรือจากเอเชียมาไทย
โดยแผนการดำเนินงานของฟ็อกซ์ไทยจะเน้นจับมือกับพันธมิตรทุกแพลทฟอร์ม ในการนำเสนอคอนเทนต์ที่แตกต่างกันออกไป ทั้งฟรีทีวี ทีวีดิจิตอล เช่น ช่อง3SD ช่อง3แฟมิลี่ และเพย์ทีวีทั้ง ทรูวิชั่นส์ และซีทีเอช และจีเอ็มเอ็มแซท ต่างเป็นพันธมิตรที่มีการเจรจาพูดคุยกันอยู่ตลอด
ส่งผลให้มั่นใจว่าถึงสิ้นปีนี้ฟ็อกซ์ไทยจะมีอัตราการเติบโตได้ถึง 10-15% มาจาก 3 ส่วนหลักคือ 1.เพย์ทีวี 60-70% 2.ซินดิเคท ซับไลเซ่น ให้แพลทฟอร์มอื่น 20% และ 3.การหารายได้จากโฆษณาทั้งแบบรีจีนอลและโลคอลรวมกัน 10% ซึ่งเฉพาะในส่วนการขายโฆษณานั้นปีนี้พบว่าเติบโตขึ้นกว่า 70-80% เมื่อเทียบกับปีก่อน
อย่างไรก็ตามฟ็อกซ์ไทย ถือเป็นกลุ่มท็อป10ที่ทำรายได้สูงสุดในเอเชีย ขณะที่ท็อป 4 ประกอบด้วย ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน และญี่ปุ่น ซึ่งหลังจากนี้ทางฟ็อกซ์ไทยตั้งเป้าที่จะติดท็อป5ให้ได้
ม.ร.ว รุจยารักษ์ อาภากร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ฟ็อกซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล แชนแนล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ฟ็อกซ์ถือเป็นคอนเทนต์โพไวเดอร์ที่มีจำนวนช่องมากมาย เข้าถึงผู้คนทั่วโลกกว่า 300 ล้านคน เฉพาะในเอเชียมีกว่า 27 ช่องที่ออกอากาศ และมีออฟฟิศเชียลในเอเชียถึง14 ประเทศ ซึ่งแผนการดำเนินงานของฟ็อกซ์จะเน้นสร้างและซื้อคอนเทนต์มากขึ้น โดยเฉพาะคอนเทนต์ท้องถิ่น เพื่อต่อยอดการหารายได้โฆษณาในรูปแบบรีจีนอลได้ง่ายขึ้น
ทั้งนี้ทางฟ็อกซ์พร้อมที่จะลงทุนในเอเชียมากขึ้น จากเดิมเป็นเอ็กซ์คลูซีฟแชนแนล จะเปลี่ยนเป็นนอนเอ็กซ์คลูซีฟ เข้าถึงผู้ชมในทุกแพลทฟอร์ม เนื่องจากมองว่าในภูมิภาคนี้ เพย์ทีวีเติบโตต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ว่าจะโตได้ 6-7% ส่วนสำคัญมาจาก 1.เทคโนโลยี คนดูผ่านทีวีน้อยลง แต่ดูในช่องทางอื่นมากขึ้นแทน เช่น ออนไลน์ เป็นต้น 2.ช่องทีวีเกิดขึ้นมาก และคอนเทนต์คือ หัวใจหลัก
"ปัจจุบันฟ็อกซ์ถือเป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่มีคอนเทนต์มากมาย ทั้งเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ข่าว และกีฬา ซึ่งมีทั้งผลิตเองและซื้อลิขสิทธ์มา โดยเฉพาะคอนเทนต์การแข่งขันรายการกีฬาดังระดับโลก ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ฟ็อกซ์เกือบหมด ไม่ว่าจะเป็น ฟอร์มูล่าวัน, GP, UFC, เทนนิส และกอล์ฟ รวมถึงล่าสุดกับบุนเดสลีกา รวมแล้วมีคอนเทนต์กีฬาไม่ต่ำกว่า 12รายการ และเพิ่มเข้ามาอีก 2-3รายการ เช่น ยูโรสปอร์ตเป็นต้น จึงพร้อมปรับแผนเป็นพันธมิตรกับทุกแพลทฟอร์ม
อย่างไรก็ตาม ฟ็อกซ์เพิ่งได้สิทธ์ในการเป็นเจ้าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลบุนเดสลีกา แบบ 5+5 เริ่มตั้งแต่ปี2558นี้เป็นต้นไป ซึ่งลิขสิทธ์ที่ได้มาจะเป็นแบบออลไรท์ และครอบคลุมในภูมิภาคนี้ทั้งหมด โดยในไทยได้ร่วมกับทางช่อง PPTV HD ร่วมถ่ายทอดสดครบ 102แมทช์ตลอดฤดูกาล
"การมีบุนเดสลีกาอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องประมูลพรีเมียร์ลีกเข้ามาเพิ่ม ซึ่งหากฟ็อกซ์สนใจอาจจะเป็นการบิทในรีเจนท์อื่นๆแทน ไม่ใช่ในไทยแน่นอน เพราะราคาที่ค่อนข้างสูง แต่ปีนี้เชื่อว่าราคาอาจจะลดลงจากครั้งก่อน เพราะเหลือผู้ที่สนใจเข้าร่วมประมูลไม่กี่ราย ซึ่งทางฟ็อกซ์ให้ความสนใจเข้าร่วมประมูลในกลุ่มโลคอลคอนเทนต์กีฬาในไทยมากกว่า เช่น ไทยพรีเมียร์ลีก เป็นต้น เพราะเป็นคอนเทนต์ที่มีศักยภาพต่อยอดรายได้ได้ดีกว่า"
ม.ร.ว รุจยารักษ์ กล่าวต่อว่า สำหรับฟ็อกซ์ในประเทศไทย มีอยู่ 6-7 ช่องที่ออกอากาศและสามารถรับชมได้ในแพลทฟอร์มต่างๆ ได้แก่ ช่องฟ็อกซ์ไทย, ฟ็อกซ์มูฟวี่ พรีเมียม, สตาร์เวิล์ด, ฟ็อกซ์ สปอรต์3 และแชนแนลวี เป็นต้น รวมถึงอีก 2 ช่อง คือ ฟ็อกซ์สปอร์ต1 และ VHD ที่ขายโฆษณาในลักษณะรีจีนอล ทั้งจากไทยไปทั่วเอเชีย หรือจากเอเชียมาไทย
โดยแผนการดำเนินงานของฟ็อกซ์ไทยจะเน้นจับมือกับพันธมิตรทุกแพลทฟอร์ม ในการนำเสนอคอนเทนต์ที่แตกต่างกันออกไป ทั้งฟรีทีวี ทีวีดิจิตอล เช่น ช่อง3SD ช่อง3แฟมิลี่ และเพย์ทีวีทั้ง ทรูวิชั่นส์ และซีทีเอช และจีเอ็มเอ็มแซท ต่างเป็นพันธมิตรที่มีการเจรจาพูดคุยกันอยู่ตลอด
ส่งผลให้มั่นใจว่าถึงสิ้นปีนี้ฟ็อกซ์ไทยจะมีอัตราการเติบโตได้ถึง 10-15% มาจาก 3 ส่วนหลักคือ 1.เพย์ทีวี 60-70% 2.ซินดิเคท ซับไลเซ่น ให้แพลทฟอร์มอื่น 20% และ 3.การหารายได้จากโฆษณาทั้งแบบรีจีนอลและโลคอลรวมกัน 10% ซึ่งเฉพาะในส่วนการขายโฆษณานั้นปีนี้พบว่าเติบโตขึ้นกว่า 70-80% เมื่อเทียบกับปีก่อน
อย่างไรก็ตามฟ็อกซ์ไทย ถือเป็นกลุ่มท็อป10ที่ทำรายได้สูงสุดในเอเชีย ขณะที่ท็อป 4 ประกอบด้วย ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน และญี่ปุ่น ซึ่งหลังจากนี้ทางฟ็อกซ์ไทยตั้งเป้าที่จะติดท็อป5ให้ได้