พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติว่า ขณะนี้เป็นช่วงเวลาการเพิ่มทุนให้แก่กองทุน กองทุนซึ่งมีอยู่ 79,000 แห่ง แห่งละ 1 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่ได้โอนเงินเพิ่มทุนไปแล้ว เมื่อพิจารณาว่ากองทุนเหล่านั้นมีผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจ ช่วยก่อให้เกิดการพัฒนาอาชีพ เพิ่มรายได้ให้แก่พี่น้องประชาชน จากการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในชุมชนของตนเอง
"ในขณะนี้ยังมีชุมชนที่ยังไม่ได้รับการโอนเงินเพิ่มทุนอีก 18,566 แห่ง เนื่องจากหลายแห่งมีปัญหาในเรื่องการบริหารจัดการเงินกองทุน ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีได้ให้แนวทางว่า แม้รัฐบาลต้องการเร่งรัดให้เร่งดำเนินการโอนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน แต่ท่านไม่ต้องการเห็นการใช้จ่ายเงินอย่างขาดความรอบคอบ กลายเป็นหนี้เสีย เป็นภาระทั้งต่อกองทุนและพี่น้องประชาชนเอง จึงต้องการให้มีการช่วยเหลือฟื้นฟู ให้คำแนะนำผู้บริหารกองทุนเหล่านั้น ทั้งเรื่องการทำบัญชี การพิจารณาปล่อยกู้ การระดมทุนให้เกิดการออมในระดับชุมชน เพื่อให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองมีความยั่งยืน เป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของพี่น้องประชาชน ขณะเดียวกันก็เป็นช่องทางการสร้างวินัยทางการใช้จ่ายการลงทุนและการออมให้แก่พี่น้องประชาชนด้วยในคราวเดียวกัน ทั้งนี้ ท่านนายกกำชับให้การดำเนินการฟื้นฟูและติดตามให้คำแนะนำ พร้อมทั้งโอนเงินเพิ่มทุนควรดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2-3 เดือนนับจากนี้"
สำหรับปัญหาหลักที่พบในการบริหารจัดการกองทุนขณะนี้คือ เรื่องระบบบัญชี และเรื่องการติดตามหนี้สิน จึงต้องมีคณะกรรมการกลั่นกรองในระดับจังหวัด มาช่วยพิจารณาว่ากองทุนหมู่บ้านแต่ละแห่งมีผลการดำเนินงานเป็นเช่นไร หากประเมินผลงานแล้วอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐาน จะต้องทำแผนฟื้นฟูให้กลับมาเข้มแข็งอีกครั้งก่อนรับโอนเงินเพิ่มทุน ส่วนกองทุนหมู่บ้าน ที่ประเมินแล้วอยู่ในระดับปานกลางจนถึงระดับท้าย ซึ่งยังต่ำกว่ามาตรฐาน ตามตัวชี้วัดของ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) จะต้องส่งแผนฟื้นฟูการดำเนินงานเข้ามา เพื่อแก้ปัญหาระบบบัญชี หรือมีเงินออมต่ำเกินไป หรือเป็นหนี้สินจำนวนมาก ก็จะมีเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือ ในเรื่องการจัดการความรู้และพัฒนาระบบให้เข้มแข็งก่อนเพิ่มทุนให้ ทั้งนี้กองทุน 18,566 แห่งที่ยังไม่ได้รับการเพิ่มทุนสามารถแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่
1.กองทุนที่ได้มีการยื่นเรื่องขอเพิ่มทุนระยะที่สามแล้ว แต่ยังมีข้อมูลที่ยังไม่สมบูรณ์ จำนวน 2,360 กองทุน
2.กองทุนในกลุ่มเอ และบี ที่ถือเป็นกองทุนในระดับดีมีศักยภาพสูง แต่ไม่ประสงค์ที่จะขอเพิ่มทุนระยะที่สาม เพราะมีเงินทุนเพียงพอต่อการดำเนินการแล้วจำนวน 5,524 กองทุน
3.กองทุนระดับซี หรือปานกลางที่ยังคงมีจุดอ่อนของบกพร่อง จากการที่สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ใช้ตัวชี้วัด แต่ยังได้คะแนนไม่ดี โดยพบว่า ยังมีปัญหาเรื่องระบบการเงิน เงินออม และระบบบัญชีที่ไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 4,594 กองทุน
4.กองทุนระดับดี มีหนี้ที่ค้างชำระ/ ไม่มีการดำเนินการ จำนวน 4,769 กองทุน ซึ่งคณะกรรมการฯ เห็นว่าจะต้องเข้าแผนฟื้นฟูฯ อย่างใกล้ชิดเป็นรายกองทุน
5.กองทุนที่มีปัญหาไม่สามารถขับเคลื่อน หรือเดินหน้าได้ ซึ่งต้องดูแลอย่างเข้มข้น ต้องบังคับใช้กฎหมาย และเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการจำนวน 581 กองทุน
6.กองทุนทหาร จำนวน 738 กองทุน ซึ่งถือเป็นกองทุนในรูปแบบพิเศษ เนื่องจากตั้งอยู่ในกรม กองทหาร ซึ่งคณะกรรมการฯ เห็นว่าจะต้องมีการจัดอนุกรรมการพิเศษเข้าไปดูแลเพิ่มเติม
"ในขณะนี้ยังมีชุมชนที่ยังไม่ได้รับการโอนเงินเพิ่มทุนอีก 18,566 แห่ง เนื่องจากหลายแห่งมีปัญหาในเรื่องการบริหารจัดการเงินกองทุน ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีได้ให้แนวทางว่า แม้รัฐบาลต้องการเร่งรัดให้เร่งดำเนินการโอนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน แต่ท่านไม่ต้องการเห็นการใช้จ่ายเงินอย่างขาดความรอบคอบ กลายเป็นหนี้เสีย เป็นภาระทั้งต่อกองทุนและพี่น้องประชาชนเอง จึงต้องการให้มีการช่วยเหลือฟื้นฟู ให้คำแนะนำผู้บริหารกองทุนเหล่านั้น ทั้งเรื่องการทำบัญชี การพิจารณาปล่อยกู้ การระดมทุนให้เกิดการออมในระดับชุมชน เพื่อให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองมีความยั่งยืน เป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของพี่น้องประชาชน ขณะเดียวกันก็เป็นช่องทางการสร้างวินัยทางการใช้จ่ายการลงทุนและการออมให้แก่พี่น้องประชาชนด้วยในคราวเดียวกัน ทั้งนี้ ท่านนายกกำชับให้การดำเนินการฟื้นฟูและติดตามให้คำแนะนำ พร้อมทั้งโอนเงินเพิ่มทุนควรดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2-3 เดือนนับจากนี้"
สำหรับปัญหาหลักที่พบในการบริหารจัดการกองทุนขณะนี้คือ เรื่องระบบบัญชี และเรื่องการติดตามหนี้สิน จึงต้องมีคณะกรรมการกลั่นกรองในระดับจังหวัด มาช่วยพิจารณาว่ากองทุนหมู่บ้านแต่ละแห่งมีผลการดำเนินงานเป็นเช่นไร หากประเมินผลงานแล้วอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐาน จะต้องทำแผนฟื้นฟูให้กลับมาเข้มแข็งอีกครั้งก่อนรับโอนเงินเพิ่มทุน ส่วนกองทุนหมู่บ้าน ที่ประเมินแล้วอยู่ในระดับปานกลางจนถึงระดับท้าย ซึ่งยังต่ำกว่ามาตรฐาน ตามตัวชี้วัดของ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) จะต้องส่งแผนฟื้นฟูการดำเนินงานเข้ามา เพื่อแก้ปัญหาระบบบัญชี หรือมีเงินออมต่ำเกินไป หรือเป็นหนี้สินจำนวนมาก ก็จะมีเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือ ในเรื่องการจัดการความรู้และพัฒนาระบบให้เข้มแข็งก่อนเพิ่มทุนให้ ทั้งนี้กองทุน 18,566 แห่งที่ยังไม่ได้รับการเพิ่มทุนสามารถแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่
1.กองทุนที่ได้มีการยื่นเรื่องขอเพิ่มทุนระยะที่สามแล้ว แต่ยังมีข้อมูลที่ยังไม่สมบูรณ์ จำนวน 2,360 กองทุน
2.กองทุนในกลุ่มเอ และบี ที่ถือเป็นกองทุนในระดับดีมีศักยภาพสูง แต่ไม่ประสงค์ที่จะขอเพิ่มทุนระยะที่สาม เพราะมีเงินทุนเพียงพอต่อการดำเนินการแล้วจำนวน 5,524 กองทุน
3.กองทุนระดับซี หรือปานกลางที่ยังคงมีจุดอ่อนของบกพร่อง จากการที่สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ใช้ตัวชี้วัด แต่ยังได้คะแนนไม่ดี โดยพบว่า ยังมีปัญหาเรื่องระบบการเงิน เงินออม และระบบบัญชีที่ไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 4,594 กองทุน
4.กองทุนระดับดี มีหนี้ที่ค้างชำระ/ ไม่มีการดำเนินการ จำนวน 4,769 กองทุน ซึ่งคณะกรรมการฯ เห็นว่าจะต้องเข้าแผนฟื้นฟูฯ อย่างใกล้ชิดเป็นรายกองทุน
5.กองทุนที่มีปัญหาไม่สามารถขับเคลื่อน หรือเดินหน้าได้ ซึ่งต้องดูแลอย่างเข้มข้น ต้องบังคับใช้กฎหมาย และเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการจำนวน 581 กองทุน
6.กองทุนทหาร จำนวน 738 กองทุน ซึ่งถือเป็นกองทุนในรูปแบบพิเศษ เนื่องจากตั้งอยู่ในกรม กองทหาร ซึ่งคณะกรรมการฯ เห็นว่าจะต้องมีการจัดอนุกรรมการพิเศษเข้าไปดูแลเพิ่มเติม