การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ ถ้าตกลงกันได้จากศัตรูก็กลายเป็นมิตร ถ้าผลประโยชน์ขัดแย้งกันจากมิตรก็กลายเป็นศัตรูแต่ก็พร้อมจะกลับมาเป็นมิตรกันอีกในวันข้างหน้าถ้าผลประโยชน์ลงตัว โดยผลประโยชน์จะมาก่อนอุดมการณ์ ถ้าผลประโยชน์ตกลงกันได้อุดมการณ์ก็ไม่มีความหมาย
ไม่กี่วันมานี้มีการพูดกันมากเรื่องรัฐบาลแห่งชาติ
หลังจาก คสช.มีแนวคิดปิดประตูล็อกตายให้นักการเมืองที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิ์ห้ามเข้าสู่การเมืองตลอดชีวิต มาแก้ไขใหม่ล่าสุดให้คนที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิ์แต่พ้นระยะเวลามาแล้วเข้ามารับตำแหน่งทางการเมืองได้
สิ่งที่เกิดขึ้นสอดประสานกันในเวลาต่อมาก็คือ ข่าวการพูดคุยกันที่เขาใหญ่ระหว่างตัวแทน คสช.กับแกนนำพรรคเพื่อไทยบางส่วน
ตามข่าวระบุว่า มีการหารือกับนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แกนนำพรรคเพื่อไทย และพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รีสอร์ตแห่งหนึ่งที่เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา ซึ่งมีข้อตกลงว่า จะมีการร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลในอนาคต และมีการอ้างว่าทักษิณเห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว
จากนั้นมีการปล่อยข่าวว่าจะมีการปรับ ครม.โดยระบุว่า นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ซึ่งพ้นบ่วงจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะมาเป็นรองนายกฯ กำกับดูแลภาพรวมเศรษฐกิจทั้งหมด นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายพินิจ จารุสมบัติ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ในเวลาไล่เลี่ยกันพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.ก็กล่าวถึงคุณหญิงสุดารัตน์ บนเวทีงานแต่งงานลูกชายนายสมคิด และบอกว่า “วันนี้ต้องจับมือกันมากกว่าเดิม ลืมความบาดหมางเสียบ้าง หาอะไรที่เป็นตัวให้สถานการณ์ดีขึ้น ก็คือกฎหมายยุติธรรมก็ว่ามา ผมไม่สามารถไปยุ่งเกี่ยวได้ ขออนุญาตบอกคุณหญิง (สุดารัตน์) ด้วยนะ ให้คนที่อยู่ต่างประเทศ ผมมาผมก็พูดอย่างนี้ ผมมาด้วยหัวใจของผม”
แล้วมีข่าวตามมาว่า คสช.ต้องการให้คุณหญิงสุดารัตน์ขึ้นเป็นปาร์ตี้ลิสต์อันดับ 1 ของพรรคเพื่อไทย
ขณะที่ทักษิณก็ส่งสัญญาณมาว่า “บอกมา ถ้าอยากให้ไปช่วย”
เรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่วันมานี้ ล้วนแล้วแต่สอดประสานกันอย่างไม่น่าเชื่อ
แม้ว่าล่าสุดพล.อ.ประยุทธ์บอกแล้วว่าจะปรับ ครม.เมื่อครบ 1 ปี แต่นักการเมืองอย่าเพิ่งเข้ามา นั่นไม่อาจลดกระแสรัฐบาลแห่งชาติที่กำลังมาแรงได้ว่า มีการเดินสายเพื่อต่ออำนาจหลังมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นของคนใน คสช.บางคน เพื่อให้ขั้วการเมือง 2 ฝ่ายจับมือกันโดยมีคนกลางเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีตามที่รัฐธรรมนูญใหม่เปิดช่องเอาไว้ นั่นหมายความว่า เราจะไม่มีฝ่ายค้านในสภาฯ หรืออาจจะเหลือเพียงพรรคเล็กพรรคน้อยที่ไม่มีพลังต่อรองอะไร
ขณะที่ “กรุงเทพโพลล์” ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “แนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ” ทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 1,117 คนทั่วประเทศ พบร้อยละ 56.3 เห็นด้วยกับแนวคิดการจัดตั้ง “รัฐบาลแห่งชาติ” เพื่อมาสานต่อรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อการปฏิรูปและสร้างความปรองดอง เพราะทุกอย่างยังไม่พร้อมความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นอีก ถ้าจัดให้มีการเลือกตั้งในทันที ขณะที่ร้อยละ 35.5 ตอบว่าไม่เห็นด้วย เพราะการเลือกตั้งเท่านั้นที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ ขณะที่ร้อยละ 8.2 ตอบว่า ไม่แน่ใจ
ดูเหมือนว่า แนวคิดที่บอกว่า บ้านเมืองมีปัญหาเพราะประชาชนขัดแย้งกันถูกนำกลับมาใช้อีกครั้ง แทนการมองที่เห็นผลและข้อเท็จจริงว่าฝ่ายไหนผิดหรือถูก ทั้งที่ประชาชนที่เขาออกมาชุมนุมเพราะมองเห็นการใช้อำนาจที่ไม่ชอบธรรมของรัฐบาล และเห็นว่าหมดความชอบธรรมที่จะบริหารประเทศต่อไป และต้องการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง
คำถามว่า ถ้ารัฐบาลแห่งชาติเกิดขึ้นจริงโดยให้คู่ขัดแย้งหันมาจับมือกันตั้งรัฐบาล มวลมหาประชาชนซึ่งออกมาชุมนุมนับล้านคน จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากและเวลานี้เป็นผู้สนับสนุน คสช.คิดอย่างไร
ถึงเวลาหรือยังที่ต้องย้อนกลับไปตั้งคำถามว่า ผลพวงการต่อสู้ที่เราเรียกร้องการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งนั้น เกิดอะไรเป็นมรรคผลขึ้นมาบ้าง นอกเหนือที่มีกระแสข่าวว่าจะผลักดันให้รัฐบาลแห่งชาติเกิดขึ้นมา
นี่ย่อมสะท้อนกลับไปยังจุดยืนเดิมของทหารที่ออกมายึดอำนาจแล้วเขียนไว้ในคำปรารภของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ทำนองว่า บ้านเมืองเกิดปัญหาเพราะประชาชนสองฝ่ายขัดแย้งกันจนรัฐบาลไม่สามารถใช้กฎหมายธรรมดาเพื่อยุติความวุ่นวายในบ้านเมืองได้ ไม่ได้ยืนข้างฝ่ายไหน แต่มองว่า ประชาชนทั้งสองฝ่ายล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาของบ้านเมือง
เขาจึงวกกลับมายังจุดยืนเดิมคือ ทำอย่างไรให้สองฝ่ายจับมือกัน และทำอย่างไรให้สามารถสืบทอดอำนาจต่อไปได้ แม้ว่าพล.อ.ประยุทธ์อาจจะพูดบ่อยๆ ว่าไม่เอาแล้ว แต่ก็มีข่าวมาตลอดเช่นเดียวกันว่า มีบางคนใน คสช.ต้องการเป็นนายกฯ ต่อ ความพยายามเรื่องต่อสายการเมืองของคนคนนี้จึงเกิดขึ้นตลอดเวลา
คสช.บางคนคงจะลืมไปว่า การเข้าสู่อำนาจด้วยปลายกระบอกปืนของทหาร ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนกลุ่มหนึ่งเพราะเขามองเห็นมหันตภัยจากการใช้อำนาจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และมองเห็นว่า นี่เป็นทางออกเดียวที่จะยุติความขัดแย้งของบ้านเมือง และเปิดโอกาสให้ทหารเข้ามาจัดการสะสางปัญหาของบ้านเมืองก่อนคืนกลับไปสู่วิถีทางประชาธิปไตย
ประชาชนต้องการให้มีการปฏิรูปประเทศในทุกๆ ด้านไม่ใช่ให้รัฐบาลทหารเข้ามาสานต่อเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ได้ต้องการให้รัฐบาลเข้ามากู้เงิน 3 ล้านล้านบาทเพื่อทำเมกะโปรเจกต์ ไม่ได้ต้องการให้รัฐบาลนี้เข้ามาเพื่อผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูง หรือเปิดประมูลสัมปทานพลังงานรอบที่ 21 แต่ต้องการให้สะสางบ้านเมืองให้เข้ารูปเข้ารอย
ประชาชนส่วนหนึ่งเห็นด้วยว่า ไม่ต้องรีบเลือกตั้ง ถ้ายังแก้ปัญหาของประเทศชาติไม่ได้ แต่คำถามว่า รัฐบาลชุดนี้ได้แก้ปัญหาของประเทศชาติในเชิงรากฐานหรือยัง เพราะต้องไม่ลืมว่า แม้เราจะไม่รีบเลือกตั้ง แต่เราก็หนีไม่พ้นว่าวันหนึ่งรัฐบาลต้องคืนอำนาจมาสู่ประชาชนแล้วเราต้องกลับไปเลือกตั้งตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย
แต่กลายเป็นว่า สิ่งที่คนในรัฐบาลทหารบางคนกำลังทำอยู่ก็คือ การใช้อำนาจของ คสช.เพื่อสร้างเครือข่ายทางการเมืองไปสู่การสืบทอดอำนาจหลังการเลือกตั้ง ไม่มีรูปธรรมอะไรจากรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลชุดนี้ ไม่แปลกหรอกครับที่พล.อ.ประยุทธ์จะบ่นรำพึงรำพันตัดพ้อกับสื่อมวลชนเหมือนทำงานอยู่คนเดียว เพราะเรามองไม่เห็นเลยว่า รัฐมนตรีร่วมรัฐบาลมีผลงานอะไรบ้าง และคนทั่วไปก็แทบจะลืมรายชื่อรัฐมนตรีไปหมดแล้ว
พล.อ.ประยุทธ์น่าจะรู้นะครับว่า มีใครบ้างที่เดินสายต่อขั้วอำนาจโดยฝันว่าจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีในนามของรัฐบาลแห่งชาติ
ไม่กี่วันมานี้มีการพูดกันมากเรื่องรัฐบาลแห่งชาติ
หลังจาก คสช.มีแนวคิดปิดประตูล็อกตายให้นักการเมืองที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิ์ห้ามเข้าสู่การเมืองตลอดชีวิต มาแก้ไขใหม่ล่าสุดให้คนที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิ์แต่พ้นระยะเวลามาแล้วเข้ามารับตำแหน่งทางการเมืองได้
สิ่งที่เกิดขึ้นสอดประสานกันในเวลาต่อมาก็คือ ข่าวการพูดคุยกันที่เขาใหญ่ระหว่างตัวแทน คสช.กับแกนนำพรรคเพื่อไทยบางส่วน
ตามข่าวระบุว่า มีการหารือกับนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แกนนำพรรคเพื่อไทย และพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รีสอร์ตแห่งหนึ่งที่เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา ซึ่งมีข้อตกลงว่า จะมีการร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลในอนาคต และมีการอ้างว่าทักษิณเห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว
จากนั้นมีการปล่อยข่าวว่าจะมีการปรับ ครม.โดยระบุว่า นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ซึ่งพ้นบ่วงจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะมาเป็นรองนายกฯ กำกับดูแลภาพรวมเศรษฐกิจทั้งหมด นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายพินิจ จารุสมบัติ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ในเวลาไล่เลี่ยกันพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.ก็กล่าวถึงคุณหญิงสุดารัตน์ บนเวทีงานแต่งงานลูกชายนายสมคิด และบอกว่า “วันนี้ต้องจับมือกันมากกว่าเดิม ลืมความบาดหมางเสียบ้าง หาอะไรที่เป็นตัวให้สถานการณ์ดีขึ้น ก็คือกฎหมายยุติธรรมก็ว่ามา ผมไม่สามารถไปยุ่งเกี่ยวได้ ขออนุญาตบอกคุณหญิง (สุดารัตน์) ด้วยนะ ให้คนที่อยู่ต่างประเทศ ผมมาผมก็พูดอย่างนี้ ผมมาด้วยหัวใจของผม”
แล้วมีข่าวตามมาว่า คสช.ต้องการให้คุณหญิงสุดารัตน์ขึ้นเป็นปาร์ตี้ลิสต์อันดับ 1 ของพรรคเพื่อไทย
ขณะที่ทักษิณก็ส่งสัญญาณมาว่า “บอกมา ถ้าอยากให้ไปช่วย”
เรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่วันมานี้ ล้วนแล้วแต่สอดประสานกันอย่างไม่น่าเชื่อ
แม้ว่าล่าสุดพล.อ.ประยุทธ์บอกแล้วว่าจะปรับ ครม.เมื่อครบ 1 ปี แต่นักการเมืองอย่าเพิ่งเข้ามา นั่นไม่อาจลดกระแสรัฐบาลแห่งชาติที่กำลังมาแรงได้ว่า มีการเดินสายเพื่อต่ออำนาจหลังมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นของคนใน คสช.บางคน เพื่อให้ขั้วการเมือง 2 ฝ่ายจับมือกันโดยมีคนกลางเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีตามที่รัฐธรรมนูญใหม่เปิดช่องเอาไว้ นั่นหมายความว่า เราจะไม่มีฝ่ายค้านในสภาฯ หรืออาจจะเหลือเพียงพรรคเล็กพรรคน้อยที่ไม่มีพลังต่อรองอะไร
ขณะที่ “กรุงเทพโพลล์” ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “แนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ” ทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 1,117 คนทั่วประเทศ พบร้อยละ 56.3 เห็นด้วยกับแนวคิดการจัดตั้ง “รัฐบาลแห่งชาติ” เพื่อมาสานต่อรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อการปฏิรูปและสร้างความปรองดอง เพราะทุกอย่างยังไม่พร้อมความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นอีก ถ้าจัดให้มีการเลือกตั้งในทันที ขณะที่ร้อยละ 35.5 ตอบว่าไม่เห็นด้วย เพราะการเลือกตั้งเท่านั้นที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ ขณะที่ร้อยละ 8.2 ตอบว่า ไม่แน่ใจ
ดูเหมือนว่า แนวคิดที่บอกว่า บ้านเมืองมีปัญหาเพราะประชาชนขัดแย้งกันถูกนำกลับมาใช้อีกครั้ง แทนการมองที่เห็นผลและข้อเท็จจริงว่าฝ่ายไหนผิดหรือถูก ทั้งที่ประชาชนที่เขาออกมาชุมนุมเพราะมองเห็นการใช้อำนาจที่ไม่ชอบธรรมของรัฐบาล และเห็นว่าหมดความชอบธรรมที่จะบริหารประเทศต่อไป และต้องการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง
คำถามว่า ถ้ารัฐบาลแห่งชาติเกิดขึ้นจริงโดยให้คู่ขัดแย้งหันมาจับมือกันตั้งรัฐบาล มวลมหาประชาชนซึ่งออกมาชุมนุมนับล้านคน จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากและเวลานี้เป็นผู้สนับสนุน คสช.คิดอย่างไร
ถึงเวลาหรือยังที่ต้องย้อนกลับไปตั้งคำถามว่า ผลพวงการต่อสู้ที่เราเรียกร้องการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งนั้น เกิดอะไรเป็นมรรคผลขึ้นมาบ้าง นอกเหนือที่มีกระแสข่าวว่าจะผลักดันให้รัฐบาลแห่งชาติเกิดขึ้นมา
นี่ย่อมสะท้อนกลับไปยังจุดยืนเดิมของทหารที่ออกมายึดอำนาจแล้วเขียนไว้ในคำปรารภของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ทำนองว่า บ้านเมืองเกิดปัญหาเพราะประชาชนสองฝ่ายขัดแย้งกันจนรัฐบาลไม่สามารถใช้กฎหมายธรรมดาเพื่อยุติความวุ่นวายในบ้านเมืองได้ ไม่ได้ยืนข้างฝ่ายไหน แต่มองว่า ประชาชนทั้งสองฝ่ายล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาของบ้านเมือง
เขาจึงวกกลับมายังจุดยืนเดิมคือ ทำอย่างไรให้สองฝ่ายจับมือกัน และทำอย่างไรให้สามารถสืบทอดอำนาจต่อไปได้ แม้ว่าพล.อ.ประยุทธ์อาจจะพูดบ่อยๆ ว่าไม่เอาแล้ว แต่ก็มีข่าวมาตลอดเช่นเดียวกันว่า มีบางคนใน คสช.ต้องการเป็นนายกฯ ต่อ ความพยายามเรื่องต่อสายการเมืองของคนคนนี้จึงเกิดขึ้นตลอดเวลา
คสช.บางคนคงจะลืมไปว่า การเข้าสู่อำนาจด้วยปลายกระบอกปืนของทหาร ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนกลุ่มหนึ่งเพราะเขามองเห็นมหันตภัยจากการใช้อำนาจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และมองเห็นว่า นี่เป็นทางออกเดียวที่จะยุติความขัดแย้งของบ้านเมือง และเปิดโอกาสให้ทหารเข้ามาจัดการสะสางปัญหาของบ้านเมืองก่อนคืนกลับไปสู่วิถีทางประชาธิปไตย
ประชาชนต้องการให้มีการปฏิรูปประเทศในทุกๆ ด้านไม่ใช่ให้รัฐบาลทหารเข้ามาสานต่อเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ได้ต้องการให้รัฐบาลเข้ามากู้เงิน 3 ล้านล้านบาทเพื่อทำเมกะโปรเจกต์ ไม่ได้ต้องการให้รัฐบาลนี้เข้ามาเพื่อผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูง หรือเปิดประมูลสัมปทานพลังงานรอบที่ 21 แต่ต้องการให้สะสางบ้านเมืองให้เข้ารูปเข้ารอย
ประชาชนส่วนหนึ่งเห็นด้วยว่า ไม่ต้องรีบเลือกตั้ง ถ้ายังแก้ปัญหาของประเทศชาติไม่ได้ แต่คำถามว่า รัฐบาลชุดนี้ได้แก้ปัญหาของประเทศชาติในเชิงรากฐานหรือยัง เพราะต้องไม่ลืมว่า แม้เราจะไม่รีบเลือกตั้ง แต่เราก็หนีไม่พ้นว่าวันหนึ่งรัฐบาลต้องคืนอำนาจมาสู่ประชาชนแล้วเราต้องกลับไปเลือกตั้งตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย
แต่กลายเป็นว่า สิ่งที่คนในรัฐบาลทหารบางคนกำลังทำอยู่ก็คือ การใช้อำนาจของ คสช.เพื่อสร้างเครือข่ายทางการเมืองไปสู่การสืบทอดอำนาจหลังการเลือกตั้ง ไม่มีรูปธรรมอะไรจากรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลชุดนี้ ไม่แปลกหรอกครับที่พล.อ.ประยุทธ์จะบ่นรำพึงรำพันตัดพ้อกับสื่อมวลชนเหมือนทำงานอยู่คนเดียว เพราะเรามองไม่เห็นเลยว่า รัฐมนตรีร่วมรัฐบาลมีผลงานอะไรบ้าง และคนทั่วไปก็แทบจะลืมรายชื่อรัฐมนตรีไปหมดแล้ว
พล.อ.ประยุทธ์น่าจะรู้นะครับว่า มีใครบ้างที่เดินสายต่อขั้วอำนาจโดยฝันว่าจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีในนามของรัฐบาลแห่งชาติ