ASTVผู้จัดการรายวัน- "สนพ." เผยข่าวดีคนไทย 3-6 เดือนข้างหน้าทิศทางราคาน้ำมันและแอลพีจียังคงอ่อนตัวตามทิศทางน้ำมันโลก เตรียมเข็นแผนอนุรักษ์ พลังงานทดแทน ก๊าซ น้ำมัน ทยอยเข้ากพช. ยันไม่ยกเลิกโซฮอล์ 91 แต่ใช้ราคาให้ผู้บริโภคเลือกใช้เอง ส่งสัญญาณคมนาคมลดค่าขนส่งหลังดีเซลเริ่มลดต่ำ ปตท.รับดีเซลมีลุ้นแตะ 23 บ./ลิตร
นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) เปิดเผยว่า คาดการณ์ว่าในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้าระดับราคาน้ำมันและก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี) ตลาดโลกจะมีทิศทางอ่อนตัวลงจากปัจจัยภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวประกอบกับปริมาณน้ำมันตลาดโลกมีเพิ่มขึ้นจากปริมาณน้ำมันของอิหร่านหลังบรรลุข้อตกลงด้านนิวเคลียร์กับชาติมหาอำนาจ รวมถึงการผลิตน้ำมันและก๊าซจากชั้นหินดินดาน(Shale Oil -Shale Gas ) โดยเฉลี่ยปีนี้น้ำมันดิบดูไบจะอยู่ที่ 50 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลจากปีที่ผ่านมาเฉลี่ยที่ 80 เหรียญฯต่อบาร์เรลดังนั้นผู้บริโภคในประเทศจะได้รับประโยชน์ในการใช้พลังงานในระดับราคาที่ถูกลง
อย่างไรก็ตามทิศทางน้ำมันที่ลดลงจะส่งผลให้การขับเคลื่อนแผนการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนอาจได้รับผลกระทบบ้างซึ่งจำเป็นจะต้องปรับให้เข้มข้นมากขึ้นดังนั้นการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) เดือนส.ค.นี้จะเสนอแผนอนุรักษ์พลังงาน(2558-79) ที่จะปรับเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานจาก 25% เป็น 30 % และกพช.ในเดือนก.ย.58 จะมีการนำเสนอแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 20 ปี แผนพัฒนาก๊าซธรรมชาติและการจัดหาระยะยาว และแผนน้ำมัน โดยในแผนน้ำมันนั้นสนพ.จะเน้นส่งเสริมแก๊สโซฮอล์ E 20 โดยยืนยันจะไม่ยกเลิกการจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ 91 หรือ 95 ชนิดใดชนิดหนึ่งแต่จะกำหนดราคาน้ำมัน 2 ชนิดให้ไม่ต่างกันมากเพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจที่จะเลือกใช้และในที่สุดการตลาดจะทำให้ผู้ค้าน้ำมันเห็นทางเลือกและยกเลิกจำหน่ายน้ำมันไปเอง
" รัฐได้ปรับโครงสร้างราคาน้ำมันที่ให้สะท้อนกลไกตลาดโลกและภาษีสรรพสามิตเรียบร้อยแล้วเหลือเพียงในส่วนของก๊าซฯโดยแอลพีจีก็เหลือเรื่องภาษีสรรพสามิตโดยราคาขณะนี้ตลาดโลกมีทิศทางอ่อนตัวแอลพีจีเดือนส.ค.จะปรับลดหรือไม่คงจะต้องขอนโยบายจากรัฐมนตรีก่อนเพราะถ้าหากลงไม่มากก็อาจจะเก็บเงินสะสมเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงแทน ส่วน NGVยังไม่ได้ปรับราคาให้สะท้อนต้นทุนรวมถึงภาษีฯซึ่งจะติดตามราคาโลกใกล้ชิดเพราะหากอ่อนค่ามาก็อาจจะสามารถลอยตัวราคาได้ทันที"นายทวารัฐกล่าว
นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ รองผู้อำนวยการสนพ.กล่าวว่า ราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลงในช่วง 3-6 เดือนข้างหน้าจะส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันของไทยอยู่ในระดับไม่แพงและมีโอกาสที่ราคาขายปลีกดีเซลอาจจะลดลงได้อีกจากปัจจุบันอยู่ที่ 23.69 บาทต่อลิตรแต่ทั้งนี้จะต้องดูค่าเงินบาทว่าจะอ่อนค่ามากน้อยเพียงใดด้วย
อย่างไรก็ตามดีเซลที่ลดลงนั้นจะได้ส่งสัญญาณให้กระทรวงคมนาคมซึ่งมีตัวแทนอยู่ในคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.)ที่จะประชุม วันที่ 3 ส.ค. ได้พิจารณาถึงต้นทุนค่าขนส่งให้เหมาะสม
นอกจากนี้สนพ.ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาศึกษาปรับโครงสร้างราคาน้ำมันใหม่ทั้งหมด โดยจะพิจารณาถึงค่าสำรองน้ำมัน ค่าคลัง ค่าปรับคุณภาพน้ำมัน รวมถึงค่าการตลาดที่ปัจจุบันสนพ.ได้อ้างอิงที่ระดับ 1.50 บาทต่อลิตรแต่ที่ผ่านมามีการศึกษาจากสถาบันปิโตรเลียมที่ระบุว่าที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่ 1.80 บาทต่อลิตรโดยขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างTOR เพื่อจัดจ้างหลังจากนั้นคาดว่าจะใช้เวลาการศึกษา 6-9 เดือน
แหล่งข่าวจากบมจ.ปตท.กล่าวยอมรับว่า หากระดับราคาน้ำมันตลาดโลกมีราคาต่ำลงก็มีโอกาสเห็นราคาดีเซลแตะระดับ 23 บาทต่อลิตรได้ในช่วง1-2 เดือนนี้แต่ก็คงจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดในช่วงไตรมาส 4 ที่จะเข้าสู่ฤดูหนาวที่ปกติราคาดีเซลจะสูงขึ้นเพราะความต้องการเพิ่ม
***‘ประจิน’พิจารณาลดค่าโดยสาร หลังดีเซลลง
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงจะเร่งวิเคราะห์ แนวทางการปรับลดค่าโดยสารรถโดยสารสาธารณะ หลังราคาน้ำมันดีเซลปรับลดลงต่อเนื่อง ล่าสุดลดอีก 40 สตางค์ต่อลิตร โดยจะแจ้งผลการวิเคราะห์พร้อมสรุปให้รับทราบภายใน 15 วัน ว่าจะมีการปรับลดค่าโดยสารรถโดยสารของบริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.) และรถโดยสารระหว่างจังหวัดของบริษัทเอกชนหรือไม่.
นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) เปิดเผยว่า คาดการณ์ว่าในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้าระดับราคาน้ำมันและก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี) ตลาดโลกจะมีทิศทางอ่อนตัวลงจากปัจจัยภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวประกอบกับปริมาณน้ำมันตลาดโลกมีเพิ่มขึ้นจากปริมาณน้ำมันของอิหร่านหลังบรรลุข้อตกลงด้านนิวเคลียร์กับชาติมหาอำนาจ รวมถึงการผลิตน้ำมันและก๊าซจากชั้นหินดินดาน(Shale Oil -Shale Gas ) โดยเฉลี่ยปีนี้น้ำมันดิบดูไบจะอยู่ที่ 50 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลจากปีที่ผ่านมาเฉลี่ยที่ 80 เหรียญฯต่อบาร์เรลดังนั้นผู้บริโภคในประเทศจะได้รับประโยชน์ในการใช้พลังงานในระดับราคาที่ถูกลง
อย่างไรก็ตามทิศทางน้ำมันที่ลดลงจะส่งผลให้การขับเคลื่อนแผนการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนอาจได้รับผลกระทบบ้างซึ่งจำเป็นจะต้องปรับให้เข้มข้นมากขึ้นดังนั้นการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) เดือนส.ค.นี้จะเสนอแผนอนุรักษ์พลังงาน(2558-79) ที่จะปรับเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานจาก 25% เป็น 30 % และกพช.ในเดือนก.ย.58 จะมีการนำเสนอแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 20 ปี แผนพัฒนาก๊าซธรรมชาติและการจัดหาระยะยาว และแผนน้ำมัน โดยในแผนน้ำมันนั้นสนพ.จะเน้นส่งเสริมแก๊สโซฮอล์ E 20 โดยยืนยันจะไม่ยกเลิกการจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ 91 หรือ 95 ชนิดใดชนิดหนึ่งแต่จะกำหนดราคาน้ำมัน 2 ชนิดให้ไม่ต่างกันมากเพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจที่จะเลือกใช้และในที่สุดการตลาดจะทำให้ผู้ค้าน้ำมันเห็นทางเลือกและยกเลิกจำหน่ายน้ำมันไปเอง
" รัฐได้ปรับโครงสร้างราคาน้ำมันที่ให้สะท้อนกลไกตลาดโลกและภาษีสรรพสามิตเรียบร้อยแล้วเหลือเพียงในส่วนของก๊าซฯโดยแอลพีจีก็เหลือเรื่องภาษีสรรพสามิตโดยราคาขณะนี้ตลาดโลกมีทิศทางอ่อนตัวแอลพีจีเดือนส.ค.จะปรับลดหรือไม่คงจะต้องขอนโยบายจากรัฐมนตรีก่อนเพราะถ้าหากลงไม่มากก็อาจจะเก็บเงินสะสมเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงแทน ส่วน NGVยังไม่ได้ปรับราคาให้สะท้อนต้นทุนรวมถึงภาษีฯซึ่งจะติดตามราคาโลกใกล้ชิดเพราะหากอ่อนค่ามาก็อาจจะสามารถลอยตัวราคาได้ทันที"นายทวารัฐกล่าว
นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ รองผู้อำนวยการสนพ.กล่าวว่า ราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลงในช่วง 3-6 เดือนข้างหน้าจะส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันของไทยอยู่ในระดับไม่แพงและมีโอกาสที่ราคาขายปลีกดีเซลอาจจะลดลงได้อีกจากปัจจุบันอยู่ที่ 23.69 บาทต่อลิตรแต่ทั้งนี้จะต้องดูค่าเงินบาทว่าจะอ่อนค่ามากน้อยเพียงใดด้วย
อย่างไรก็ตามดีเซลที่ลดลงนั้นจะได้ส่งสัญญาณให้กระทรวงคมนาคมซึ่งมีตัวแทนอยู่ในคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.)ที่จะประชุม วันที่ 3 ส.ค. ได้พิจารณาถึงต้นทุนค่าขนส่งให้เหมาะสม
นอกจากนี้สนพ.ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาศึกษาปรับโครงสร้างราคาน้ำมันใหม่ทั้งหมด โดยจะพิจารณาถึงค่าสำรองน้ำมัน ค่าคลัง ค่าปรับคุณภาพน้ำมัน รวมถึงค่าการตลาดที่ปัจจุบันสนพ.ได้อ้างอิงที่ระดับ 1.50 บาทต่อลิตรแต่ที่ผ่านมามีการศึกษาจากสถาบันปิโตรเลียมที่ระบุว่าที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่ 1.80 บาทต่อลิตรโดยขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างTOR เพื่อจัดจ้างหลังจากนั้นคาดว่าจะใช้เวลาการศึกษา 6-9 เดือน
แหล่งข่าวจากบมจ.ปตท.กล่าวยอมรับว่า หากระดับราคาน้ำมันตลาดโลกมีราคาต่ำลงก็มีโอกาสเห็นราคาดีเซลแตะระดับ 23 บาทต่อลิตรได้ในช่วง1-2 เดือนนี้แต่ก็คงจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดในช่วงไตรมาส 4 ที่จะเข้าสู่ฤดูหนาวที่ปกติราคาดีเซลจะสูงขึ้นเพราะความต้องการเพิ่ม
***‘ประจิน’พิจารณาลดค่าโดยสาร หลังดีเซลลง
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงจะเร่งวิเคราะห์ แนวทางการปรับลดค่าโดยสารรถโดยสารสาธารณะ หลังราคาน้ำมันดีเซลปรับลดลงต่อเนื่อง ล่าสุดลดอีก 40 สตางค์ต่อลิตร โดยจะแจ้งผลการวิเคราะห์พร้อมสรุปให้รับทราบภายใน 15 วัน ว่าจะมีการปรับลดค่าโดยสารรถโดยสารของบริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.) และรถโดยสารระหว่างจังหวัดของบริษัทเอกชนหรือไม่.