วานนี้ (23ก.ค.) ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ได้พิจารณา ร่าง พ.ร.บ.การบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ... ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญได้พิจารณาแล้วเสร็จในวาระ 2 โดยมีสาระสำคัญคือ การกำหนดหลักเกณฑ์การบริหารทุนหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยง เสริมสร้างความโปร่งใสและธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังของรัฐ และกำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน โดยมีรมว.คลัง เป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนการบริหารทุนหมุนเวียนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาการกลั่นกรองการขอจัดตั้งทุนหมุนเวียน
ทั้งนี้ สมาชิกได้มีการเสนอให้มีการปรับปรุงเนื้อหาใน มาตรา 11(5) ว่าด้วยการให้คณะกรรมการนโยบายฯ มีอำนาจเสนอแนะต่อครม. ในการนำทุน หรือผลกำไรของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน เนื่องจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้ฝ่ายการเมืองแทรกแซงเงินของกองทุนต่างๆ ตามอำเภอใจ โดยนายสมชาย แสวงการ สมาชิก สนช. กล่าวว่า การกำหนดในลักษณะดังกล่าว จะเท่ากับเป็นการให้กองทุนที่จัดตั้งขึ้นต่างๆ ขาดหลักประกันในเรื่องความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ เนื่องจากหากวันดีวันคืนดี ครม. คณะหนึ่งอยากย้ายเงินกองทุนที่เกี่ยวข้อง เช่น กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กองทุนประกันสังคม ไทยพีบีเอส กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะของ กสทช. ตามใจชอบขึ้นมา จะทำให้กองทุนเหล่านี้ทำงานไม่ได้ จึงอยากขอให้มีการปรับแก้เนื้อหา ด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการโยกเงินจากกองทุนที่ยังไม่ถูกยุบมาเป็นรายได้แผ่นดินให้ชัดเจน
ขณะที่ พล.อ.อ.ชนะ อยู่สถาพร ประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ กล่าวว่าวัตถุประสงค์ของร่างกฎหมายนี้ ต้องการมองภาพรวมของกองทุนหมุนเวียนทั้งหมด และมีอำนาจเข้าไปดูแลและประเมินว่า กองทุนหมุนเวียนใดไม่มีประโยชน์ก็จะเสนอให้ครม.ยกเลิก เพราะต้องการให้การบริหารทุนหมุนเวียนเป็นไปอย่างรอบคอบและเกิดประโยชน์สูงสุดของประเทศ ไม่ให้ผู้มีอำนาจใช้อำนาจหน้าที่ไปในทางที่มิชอบ
อย่างไรก็ตาม ที่กรรมาธิการวิสามัญฯ ได้ยอมแก้ไขเนื้อหาใน มาตรา 11 (5) ใหม่ว่า "ให้คณะกรรมการนโยบายฯ มีอำนาจเสนอแนะต่อครม. ในการนำทุน หรือกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา" จากนั้นได้มติเอกฉันท์ 183 เสียง เห็นชอบให้ ร่าง พ.ร.บ.การบริหารทุนหมุนเวียน ประกาศใช้เป็นกฎหมาย
ทั้งนี้ สมาชิกได้มีการเสนอให้มีการปรับปรุงเนื้อหาใน มาตรา 11(5) ว่าด้วยการให้คณะกรรมการนโยบายฯ มีอำนาจเสนอแนะต่อครม. ในการนำทุน หรือผลกำไรของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน เนื่องจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้ฝ่ายการเมืองแทรกแซงเงินของกองทุนต่างๆ ตามอำเภอใจ โดยนายสมชาย แสวงการ สมาชิก สนช. กล่าวว่า การกำหนดในลักษณะดังกล่าว จะเท่ากับเป็นการให้กองทุนที่จัดตั้งขึ้นต่างๆ ขาดหลักประกันในเรื่องความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ เนื่องจากหากวันดีวันคืนดี ครม. คณะหนึ่งอยากย้ายเงินกองทุนที่เกี่ยวข้อง เช่น กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กองทุนประกันสังคม ไทยพีบีเอส กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะของ กสทช. ตามใจชอบขึ้นมา จะทำให้กองทุนเหล่านี้ทำงานไม่ได้ จึงอยากขอให้มีการปรับแก้เนื้อหา ด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการโยกเงินจากกองทุนที่ยังไม่ถูกยุบมาเป็นรายได้แผ่นดินให้ชัดเจน
ขณะที่ พล.อ.อ.ชนะ อยู่สถาพร ประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ กล่าวว่าวัตถุประสงค์ของร่างกฎหมายนี้ ต้องการมองภาพรวมของกองทุนหมุนเวียนทั้งหมด และมีอำนาจเข้าไปดูแลและประเมินว่า กองทุนหมุนเวียนใดไม่มีประโยชน์ก็จะเสนอให้ครม.ยกเลิก เพราะต้องการให้การบริหารทุนหมุนเวียนเป็นไปอย่างรอบคอบและเกิดประโยชน์สูงสุดของประเทศ ไม่ให้ผู้มีอำนาจใช้อำนาจหน้าที่ไปในทางที่มิชอบ
อย่างไรก็ตาม ที่กรรมาธิการวิสามัญฯ ได้ยอมแก้ไขเนื้อหาใน มาตรา 11 (5) ใหม่ว่า "ให้คณะกรรมการนโยบายฯ มีอำนาจเสนอแนะต่อครม. ในการนำทุน หรือกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา" จากนั้นได้มติเอกฉันท์ 183 เสียง เห็นชอบให้ ร่าง พ.ร.บ.การบริหารทุนหมุนเวียน ประกาศใช้เป็นกฎหมาย