ASTVผู้จัดการรายวัน-สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานน้ำดื่มช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้ง "นายกฯ"นัดประชุม กนช. นัดแรก สั่งตั้งอนุกรรมการจัดหาน้ำ-ใช้น้ำ หวังแก้ปัญหาเบ็ดเสร็จ ย้ำเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ รัฐบาลเยียวยาแน่ แต่ต้องใช้สิทธิตามจริง พร้อมกำชับหน่วยงานราชการ ภาคอุตสาหกรรมลดการใช้น้ำ ปภ.เผยภัยแล้งเกือบทุกจังหวัดคลี่คลาย หลังฝนตก ชาวนาชัยนาทเฮ ได้สูบน้ำเข้านา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (22 ก.ค.) ที่ จ.ปทุมธานี นายประดิษฐ์ อารีย์โพธิ์ทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายและแผน สำนักราชเลขาธิการในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมด้วย ดร.จักรกฤษณ์ ทองทับ ผู้อำนวยการกลุ่มงานกิจกรรมพิเศษสำนักพระราชวัง นำน้ำดื่มพระราชทานมามอบให้แก่ราษฎร จำนวน 3 อำเภอ คือ อ.ธัญบุรี อ.ลำลูกกา และ อ.หนองเสือ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ และบรรเทาความเดือดร้อนจากภาวะฝนทิ้งช่วง โดยมีนายพงศธร สัจจชลพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี และข้าราชการเป็นตัวแทนรับมอบ มีประชาชนในชุมชนล็อคปฏิรูป 50 ไร่ และประชาชนในพื้นที่ อำเภอลำลูกกา กว่า 500 หลังคาเรือน มารอรับน้ำพระราชทานด้วยความปราบปลื้มปิติ
นายประดิษฐ์กล่าวว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเป็นห่วงประชาชนที่ขาดแคลนน้ำที่ใช้อุปโภคและบริโภค จึงพระราชทานน้ำดื่มให้กับชุมชน เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบปัญหาภัยแล้ง และบรรเทาทุกข์แก่ราษฎรที่ประสบภาวะขาดแคลนน้ำจากสถานการณ์ภัยแล้ง ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา พระราชทานน้ำดื่มตราภัทรพัฒน์ ของมูลนิธิชัยพัฒนา จำนวน 5,000 แพ็ค ให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรที่ขาดแคลนน้ำ
***สมเด็จพระบรมฯ พระราชทานน้ำดื่ม
วันเดียวกันนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้พล.อ.ท.ภักดี แสงชูโต รองหัวหน้าสำนักงานราชเลขาในพระองค์ เป็นผู้แทนพระองค์ อันเชิญน้ำดื่มพระราชทานแก่โครงการปันน้ำดื่มเพื่อพี่น้องไทยประสบภัยแล้ง "น้ำพระทัย Bike for Mom พระราชทานดับภัยแล้ง” แก่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เพื่อนำไปมอบให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัยแล้งในพื้นที่ต่างๆ จำนวน 2 แสนขวด
***นายกฯประชุมกรรมการน้ำนัดแรก
วันเดียวกันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 1/2558 โดยมี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมประชุม พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ เป็นการส่งมอบแผนบริหารจัดการน้ำให้ กนช. หลังจากที่ คสช. ได้จัดทำแผนมาตั้งแต่เดือนก.ค.2557 และแผนดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) มาแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นการส่งมอบงานให้รัฐบาลเต็ม 100% ซึ่งจากนี้ไป คสช. ก็จะช่วยติดตามว่าการทำตามแผนมีความคืบหน้าอย่างไร เพราะต้องบริหารจัดการตั้งแต่น้ำอุปโภคบริโภค น้ำประปา การแก้ปัญหาน้ำท่วม การระบายน้ำ ส่งน้ำ และการสร้างที่กักน้ำ
"วันนี้ทุกคนอาจไม่เข้าใจว่าน้ำทั้งหมดมาจากต้นทุนน้ำเดียวกัน แต่เป็นคนละพื้นที่ ถ้าวันนี้เราไม่สามารถบริหารจัดการน้ำได้ ก็จะเป็นปัญหาในอนาคต หากทุกคนไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้น้ำ วันนี้การเกษตรใช้น้ำมากสุด รองลงมาอุปโภคบริโภค ต่อไปน้ำอุตสาหกรรม ต้องวางแผนบริหารให้ได้"
***สั่งตั้งกลุ่มหาน้ำ-กลุ่มใช้น้ำ
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ได้สั่งการไปว่าให้จัดกลุ่มงานง่ายๆ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มจัดหาน้ำและกลุ่มใช้น้ำ และให้ไปแตกกลุ่มข้างล่างเอาเองว่าแต่ละพวกมีปัญหาอย่างไร ต้องใช้น้ำเท่าไร และทั้งหมดจะมาบูรณาการกัน และ กนช. จะสั่งการอนุมัติงบประมาณ แผนงานต่างๆ ลงไป ต้องจบข้างล่างมาเลย เพราะมีตั้งหลายส่วน ทั้งส่วนของทางประปา ส่วนของผู้บริโภค ในส่วนของการใช้น้ำอุตสาหกรรม น้ำการเกษตร
***รับประกันมีจ่ายเยียวยาแน่
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวอีกว่า สำหรับการบริหารจัดการน้ำในขณะนี้ ได้ให้ทหารไปทำ ทหารก็ไม่อยากจะใช้กฎหมายกับประชาชน เพราะรู้ว่าเดือดร้อน ก็ขอความร่วมมือ ท่านสามารถส่งน้ำตรงนี้ไปเฉพาะตรงนี้ได้หรือไม่ ไปที่นาตั้งท้องได้ไหม นาที่ไม่ตั้งท้องไม่ให้ มันก็ลำน้ำลำเดียวกัน ฉะนั้นทุกคนก็ตั้งท่อรอกันไว้หมด จึงต้องไปขอร้องกัน ช่วยขอตรงนี้ไว้ก่อน ตรงไหนถ้ามันเสียหาย เดี๋ยวรัฐบาลต้องดูแลเรื่องการเยียวยา ซึ่งการเยียวยา ก็ต้องใช้เงินงบประมาณสูง กำลังคิดอยู่ ยังไงก็ต้องให้แน่ เสียหายอะไรยังไง แต่ถ้ามันสูงมากนัก ก็ไม่ไหวเหมือนกัน เพราะฉะนั้นต้องดูแลทุกกลุ่ม
"ตอนนี้กำลังสำรวจข้อมูลอยู่ให้ชัดเจน ไม่ใช่ถามแล้วมาแจ้งๆ กัน ก็มีผลกระทบเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณ ความไม่โปร่งใส รัฐบาลก็เร่งเรื่องเหล่านี้หมด คสช. ทหาร ไปเดินทุกพื้นที่ ขอข้อมูลจริงๆ จากชาวไร่ ชาวนา อย่าไปเชื่อใคร สิทธิท่านมีเท่าไรเท่านั้น ไม่ต้องไปเซ็นรับรองให้ใครเหมือนที่ผ่านมา เคยมี เสียน้อยเป็นเสียมาก บางหมู่บ้านก็กลายเป็นทั้งอำเภอ ทั้งตำบล อะไรยังงี้ มันไม่ใช่ ท่านต้องรักษาสิทธิของท่าน ถ้ามันชัดเจนอย่างนี้ งบประมาณของรัฐบาลก็ใช้น้อย สำหรับจำนวนหมู่บ้าน จำนวนพื้นที่ เม็ดเงินจะได้มากขึ้นในส่วนที่เสียหายจริงๆ ถ้าเหมาจ่ายทั้งหมด มันก็เป็นแบบเดิม คนก็รักรัฐบาลหมดนั่นแหละ แต่วันนี้อย่าลืมคนอื่นเขาด้วย ผมไม่ได้รักใครมากกว่าใคร แต่มันเกิดวงจรชีวิต วงจรเศรษฐกิจ ทั้งหมด" นายกฯ กล่าว
**กำชับราชการ-อุตฯช่วยประหยัดน้ำ
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า มาตรการอื่นๆ ในการบริหารจัดการน้ำ ขอให้ทุกคนช่วยกันประหยัดน้ำ วันนี้สั่งการไปแล้ว ส่วนราชการต้องช่วยกันประหยัดน้ำอย่างน้อยให้ได้ 10% ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เช่น การรดน้ำต้นไม้ ยกเว้นสถานที่สำคัญที่มีความจำเป็น เป็นหน้าเป็นตา ก็ต้องใช้ ต้องพิจารณาและรายงาน เหมือนการใช้ไฟฟ้าของราชการที่ผ่านมา ต้องรายงานรัฐบาลทุกเดือนว่าลดลงได้กี่เปอร์เซ็นต์ อย่างกองทัพบก ตนสั่งให้ลด ก็ลดไปได้เยอะ เมื่อประหยัดไฟได้ ก็ต้องประหยัดน้ำได้ ส่วนภาคอื่นๆ ก็ต้องช่วยกัน ภาคอุตสาหกรรมก็ต้องช่วย
***เผยภัยแล้งเกือบทุกจังหวัดคลี่คลาย
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า ตามที่มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) 40 จังหวัด 265 อําเภอ 1,458 ตําบล 12,969 หมู่บ้าน ปัจจุบันคลี่คลายแล้วทุกจังหวัด เนื่องจากมีฝนตก แต่ยังมีพื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภาวะฝนแล้ง) 7 จังหวัด ได้แก่ แพร่ ชลบุรี สุโขทัย ปทุมธานี พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ รวม 31 อําเภอ 200 ตําบล 1,775 หมู่บ้าน มีผู้ได้รับผลกระทบ 199,393 ครัวเรือน 311,066 คน ขณะนี้ได้ประสานจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือแล้ว ทั้งการนำรถบรรทุกน้ำออกแจกจ่ายเพื่อการอุปโภค บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร
***สั่งลดน้ำหนักบรรทุกป้องกันถนนทรุด
นายประศักดิ์ บัณฑุนาค รองอธิบดีกรมทางหลวงชนบท เปิดเผยถึงสถานการณ์การทรุดตัวของถนนคันคลองที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท ว่า ได้ออกประกาศลดน้ำหนักรถบรรทุก 10 ล้อ ที่วิ่งผ่านคันคลองชลประทานจากเดิม 25 ตัน เหลือ 18 ตัน 56 สายทาง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 10 ก.ค. ที่ผ่านมา พร้อมเร่งเจาะสำรวจดินของถนนที่อยู่ในความเสี่ยงดังกล่าวข้างต้นทุกสาย เพื่อออกแบบปรับปรุงป้องกันการเคลื่อนตัวของคันทาง และทำแผนปรับปรุงถนนต่างๆ พร้อมขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล ซึ่งในเบื้องต้นกรมฯ ได้ของบประมาณ 700 ล้านบาท ในการซ่อมแซมถนนที่มีการทรุดตัว และได้ขอรับงบประมาณในส่วนของการป้องกันถนนที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดเหตุทรุดตัวได้ในอนาคต จำนวน 150 ล้านบาท เพื่อใช้ในการสำรวจวิเคราะห์ข้อมูลดิน และนำไปใช้ในการออกแบบถนนที่มีความเสี่ยง ระยะทาง 750 กิโลเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ทรุดตัว และขอความร่วมมือประชาชนที่อยู่อาศัยตามคันคลองชลประทาน ช่วยกันสอดส่องดูแลถนนว่ามีการแตกร้าวตามไหล่ทางหรือไม่ ซึ่งมีความเสี่ยงที่ถนนอาจจะทรุดตัว โดยให้แจ้งไปที่สายด่วนกรมทางหลวงชนบท 1146 ตลอด 24 ชั่วโมง
***ชาวนาชัยนาทเฮ!ได้สูบน้ำเข้านา
นายสุชาติ เจริญศรี ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามโนรมย์ จ.ชัยนาท กล่าวว่า หลังจากประกาศให้เกษตรกรงดสูบน้ำเพื่อการเพาะปลูก ตั้งแต่วันที่ 14 ก.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากต้องส่งน้ำไปใช้ในการผลิตประปา แต่เมื่อมีน้ำเพิ่มขึ้น จึงอนุญาตให้ชาวนาใน อ.มโนรมย์ อ.เมือง จ.ชัยนาท และชาวนา อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ช่วงระยะคลองตั้งแต่ประตูระบายน้ำมโนรมย์ ต.วัดโคก อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท ถึงกิโลเมตรที่ 44 ให้สูบน้ำไปใช้เพาะปลูกได้ เป็นเวลา 2 วัน เริ่มตั้งแต่เวลา 12.00 น.วันที่ 23 ก.ค. ถึงเวลา 12.00 น.วันที่ 25 ก.ค. จากนั้นจะให้หยุดสูบ 4 วัน เพื่อแบ่งรอบเวรการสูบน้ำให้กับชาวนา จ.ลพบุรี และ จ.สระบุรี ได้สูบต่อสลับกันไป เพื่อจะได้ไม่ส่งผลกระทบกับการผลิตน้ำประปาอีก
** โบ้ยขรก.ตัวการปล่อยป่าต้นน้ำพินาศ
นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ ระบุว่ารัฐบาลประชาธิปไตย มีส่วนสำคัญทำให้พื้นที่ป่าต้นน้ำหายไปถึง 8.6 ล้านไร่ จนเป็นเหตุให้เกิดวิกฤตภัยแล้ง ว่า คำกล่าวของนายกฯ เสมือนว่ารัฐบาลประชาธิปไตยเป็นต้นเหตุให้ป่าต้นน้ำหายไป แต่ที่จริงแล้ว คือ ข้าราชการต่างหากที่เป็นสาเหตุสำคัญ เพราะพื้นที่ป่าต้นน้ำทั้งหมด 8.6 ล้านไร่ที่หายไป ล้วนอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของข้าราชการประจำทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมการปกครอง และพื้นที่ความมั่นคงตามแนวชายแดน ก็อยู่ในความรับผิดชอบของพล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะอดีต ผบ.ทบ. มาก่อน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (22 ก.ค.) ที่ จ.ปทุมธานี นายประดิษฐ์ อารีย์โพธิ์ทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายและแผน สำนักราชเลขาธิการในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมด้วย ดร.จักรกฤษณ์ ทองทับ ผู้อำนวยการกลุ่มงานกิจกรรมพิเศษสำนักพระราชวัง นำน้ำดื่มพระราชทานมามอบให้แก่ราษฎร จำนวน 3 อำเภอ คือ อ.ธัญบุรี อ.ลำลูกกา และ อ.หนองเสือ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ และบรรเทาความเดือดร้อนจากภาวะฝนทิ้งช่วง โดยมีนายพงศธร สัจจชลพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี และข้าราชการเป็นตัวแทนรับมอบ มีประชาชนในชุมชนล็อคปฏิรูป 50 ไร่ และประชาชนในพื้นที่ อำเภอลำลูกกา กว่า 500 หลังคาเรือน มารอรับน้ำพระราชทานด้วยความปราบปลื้มปิติ
นายประดิษฐ์กล่าวว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเป็นห่วงประชาชนที่ขาดแคลนน้ำที่ใช้อุปโภคและบริโภค จึงพระราชทานน้ำดื่มให้กับชุมชน เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบปัญหาภัยแล้ง และบรรเทาทุกข์แก่ราษฎรที่ประสบภาวะขาดแคลนน้ำจากสถานการณ์ภัยแล้ง ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา พระราชทานน้ำดื่มตราภัทรพัฒน์ ของมูลนิธิชัยพัฒนา จำนวน 5,000 แพ็ค ให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรที่ขาดแคลนน้ำ
***สมเด็จพระบรมฯ พระราชทานน้ำดื่ม
วันเดียวกันนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้พล.อ.ท.ภักดี แสงชูโต รองหัวหน้าสำนักงานราชเลขาในพระองค์ เป็นผู้แทนพระองค์ อันเชิญน้ำดื่มพระราชทานแก่โครงการปันน้ำดื่มเพื่อพี่น้องไทยประสบภัยแล้ง "น้ำพระทัย Bike for Mom พระราชทานดับภัยแล้ง” แก่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เพื่อนำไปมอบให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัยแล้งในพื้นที่ต่างๆ จำนวน 2 แสนขวด
***นายกฯประชุมกรรมการน้ำนัดแรก
วันเดียวกันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 1/2558 โดยมี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมประชุม พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ เป็นการส่งมอบแผนบริหารจัดการน้ำให้ กนช. หลังจากที่ คสช. ได้จัดทำแผนมาตั้งแต่เดือนก.ค.2557 และแผนดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) มาแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นการส่งมอบงานให้รัฐบาลเต็ม 100% ซึ่งจากนี้ไป คสช. ก็จะช่วยติดตามว่าการทำตามแผนมีความคืบหน้าอย่างไร เพราะต้องบริหารจัดการตั้งแต่น้ำอุปโภคบริโภค น้ำประปา การแก้ปัญหาน้ำท่วม การระบายน้ำ ส่งน้ำ และการสร้างที่กักน้ำ
"วันนี้ทุกคนอาจไม่เข้าใจว่าน้ำทั้งหมดมาจากต้นทุนน้ำเดียวกัน แต่เป็นคนละพื้นที่ ถ้าวันนี้เราไม่สามารถบริหารจัดการน้ำได้ ก็จะเป็นปัญหาในอนาคต หากทุกคนไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้น้ำ วันนี้การเกษตรใช้น้ำมากสุด รองลงมาอุปโภคบริโภค ต่อไปน้ำอุตสาหกรรม ต้องวางแผนบริหารให้ได้"
***สั่งตั้งกลุ่มหาน้ำ-กลุ่มใช้น้ำ
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ได้สั่งการไปว่าให้จัดกลุ่มงานง่ายๆ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มจัดหาน้ำและกลุ่มใช้น้ำ และให้ไปแตกกลุ่มข้างล่างเอาเองว่าแต่ละพวกมีปัญหาอย่างไร ต้องใช้น้ำเท่าไร และทั้งหมดจะมาบูรณาการกัน และ กนช. จะสั่งการอนุมัติงบประมาณ แผนงานต่างๆ ลงไป ต้องจบข้างล่างมาเลย เพราะมีตั้งหลายส่วน ทั้งส่วนของทางประปา ส่วนของผู้บริโภค ในส่วนของการใช้น้ำอุตสาหกรรม น้ำการเกษตร
***รับประกันมีจ่ายเยียวยาแน่
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวอีกว่า สำหรับการบริหารจัดการน้ำในขณะนี้ ได้ให้ทหารไปทำ ทหารก็ไม่อยากจะใช้กฎหมายกับประชาชน เพราะรู้ว่าเดือดร้อน ก็ขอความร่วมมือ ท่านสามารถส่งน้ำตรงนี้ไปเฉพาะตรงนี้ได้หรือไม่ ไปที่นาตั้งท้องได้ไหม นาที่ไม่ตั้งท้องไม่ให้ มันก็ลำน้ำลำเดียวกัน ฉะนั้นทุกคนก็ตั้งท่อรอกันไว้หมด จึงต้องไปขอร้องกัน ช่วยขอตรงนี้ไว้ก่อน ตรงไหนถ้ามันเสียหาย เดี๋ยวรัฐบาลต้องดูแลเรื่องการเยียวยา ซึ่งการเยียวยา ก็ต้องใช้เงินงบประมาณสูง กำลังคิดอยู่ ยังไงก็ต้องให้แน่ เสียหายอะไรยังไง แต่ถ้ามันสูงมากนัก ก็ไม่ไหวเหมือนกัน เพราะฉะนั้นต้องดูแลทุกกลุ่ม
"ตอนนี้กำลังสำรวจข้อมูลอยู่ให้ชัดเจน ไม่ใช่ถามแล้วมาแจ้งๆ กัน ก็มีผลกระทบเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณ ความไม่โปร่งใส รัฐบาลก็เร่งเรื่องเหล่านี้หมด คสช. ทหาร ไปเดินทุกพื้นที่ ขอข้อมูลจริงๆ จากชาวไร่ ชาวนา อย่าไปเชื่อใคร สิทธิท่านมีเท่าไรเท่านั้น ไม่ต้องไปเซ็นรับรองให้ใครเหมือนที่ผ่านมา เคยมี เสียน้อยเป็นเสียมาก บางหมู่บ้านก็กลายเป็นทั้งอำเภอ ทั้งตำบล อะไรยังงี้ มันไม่ใช่ ท่านต้องรักษาสิทธิของท่าน ถ้ามันชัดเจนอย่างนี้ งบประมาณของรัฐบาลก็ใช้น้อย สำหรับจำนวนหมู่บ้าน จำนวนพื้นที่ เม็ดเงินจะได้มากขึ้นในส่วนที่เสียหายจริงๆ ถ้าเหมาจ่ายทั้งหมด มันก็เป็นแบบเดิม คนก็รักรัฐบาลหมดนั่นแหละ แต่วันนี้อย่าลืมคนอื่นเขาด้วย ผมไม่ได้รักใครมากกว่าใคร แต่มันเกิดวงจรชีวิต วงจรเศรษฐกิจ ทั้งหมด" นายกฯ กล่าว
**กำชับราชการ-อุตฯช่วยประหยัดน้ำ
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า มาตรการอื่นๆ ในการบริหารจัดการน้ำ ขอให้ทุกคนช่วยกันประหยัดน้ำ วันนี้สั่งการไปแล้ว ส่วนราชการต้องช่วยกันประหยัดน้ำอย่างน้อยให้ได้ 10% ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เช่น การรดน้ำต้นไม้ ยกเว้นสถานที่สำคัญที่มีความจำเป็น เป็นหน้าเป็นตา ก็ต้องใช้ ต้องพิจารณาและรายงาน เหมือนการใช้ไฟฟ้าของราชการที่ผ่านมา ต้องรายงานรัฐบาลทุกเดือนว่าลดลงได้กี่เปอร์เซ็นต์ อย่างกองทัพบก ตนสั่งให้ลด ก็ลดไปได้เยอะ เมื่อประหยัดไฟได้ ก็ต้องประหยัดน้ำได้ ส่วนภาคอื่นๆ ก็ต้องช่วยกัน ภาคอุตสาหกรรมก็ต้องช่วย
***เผยภัยแล้งเกือบทุกจังหวัดคลี่คลาย
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า ตามที่มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) 40 จังหวัด 265 อําเภอ 1,458 ตําบล 12,969 หมู่บ้าน ปัจจุบันคลี่คลายแล้วทุกจังหวัด เนื่องจากมีฝนตก แต่ยังมีพื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภาวะฝนแล้ง) 7 จังหวัด ได้แก่ แพร่ ชลบุรี สุโขทัย ปทุมธานี พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ รวม 31 อําเภอ 200 ตําบล 1,775 หมู่บ้าน มีผู้ได้รับผลกระทบ 199,393 ครัวเรือน 311,066 คน ขณะนี้ได้ประสานจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือแล้ว ทั้งการนำรถบรรทุกน้ำออกแจกจ่ายเพื่อการอุปโภค บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร
***สั่งลดน้ำหนักบรรทุกป้องกันถนนทรุด
นายประศักดิ์ บัณฑุนาค รองอธิบดีกรมทางหลวงชนบท เปิดเผยถึงสถานการณ์การทรุดตัวของถนนคันคลองที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท ว่า ได้ออกประกาศลดน้ำหนักรถบรรทุก 10 ล้อ ที่วิ่งผ่านคันคลองชลประทานจากเดิม 25 ตัน เหลือ 18 ตัน 56 สายทาง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 10 ก.ค. ที่ผ่านมา พร้อมเร่งเจาะสำรวจดินของถนนที่อยู่ในความเสี่ยงดังกล่าวข้างต้นทุกสาย เพื่อออกแบบปรับปรุงป้องกันการเคลื่อนตัวของคันทาง และทำแผนปรับปรุงถนนต่างๆ พร้อมขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล ซึ่งในเบื้องต้นกรมฯ ได้ของบประมาณ 700 ล้านบาท ในการซ่อมแซมถนนที่มีการทรุดตัว และได้ขอรับงบประมาณในส่วนของการป้องกันถนนที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดเหตุทรุดตัวได้ในอนาคต จำนวน 150 ล้านบาท เพื่อใช้ในการสำรวจวิเคราะห์ข้อมูลดิน และนำไปใช้ในการออกแบบถนนที่มีความเสี่ยง ระยะทาง 750 กิโลเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ทรุดตัว และขอความร่วมมือประชาชนที่อยู่อาศัยตามคันคลองชลประทาน ช่วยกันสอดส่องดูแลถนนว่ามีการแตกร้าวตามไหล่ทางหรือไม่ ซึ่งมีความเสี่ยงที่ถนนอาจจะทรุดตัว โดยให้แจ้งไปที่สายด่วนกรมทางหลวงชนบท 1146 ตลอด 24 ชั่วโมง
***ชาวนาชัยนาทเฮ!ได้สูบน้ำเข้านา
นายสุชาติ เจริญศรี ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามโนรมย์ จ.ชัยนาท กล่าวว่า หลังจากประกาศให้เกษตรกรงดสูบน้ำเพื่อการเพาะปลูก ตั้งแต่วันที่ 14 ก.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากต้องส่งน้ำไปใช้ในการผลิตประปา แต่เมื่อมีน้ำเพิ่มขึ้น จึงอนุญาตให้ชาวนาใน อ.มโนรมย์ อ.เมือง จ.ชัยนาท และชาวนา อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ช่วงระยะคลองตั้งแต่ประตูระบายน้ำมโนรมย์ ต.วัดโคก อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท ถึงกิโลเมตรที่ 44 ให้สูบน้ำไปใช้เพาะปลูกได้ เป็นเวลา 2 วัน เริ่มตั้งแต่เวลา 12.00 น.วันที่ 23 ก.ค. ถึงเวลา 12.00 น.วันที่ 25 ก.ค. จากนั้นจะให้หยุดสูบ 4 วัน เพื่อแบ่งรอบเวรการสูบน้ำให้กับชาวนา จ.ลพบุรี และ จ.สระบุรี ได้สูบต่อสลับกันไป เพื่อจะได้ไม่ส่งผลกระทบกับการผลิตน้ำประปาอีก
** โบ้ยขรก.ตัวการปล่อยป่าต้นน้ำพินาศ
นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ ระบุว่ารัฐบาลประชาธิปไตย มีส่วนสำคัญทำให้พื้นที่ป่าต้นน้ำหายไปถึง 8.6 ล้านไร่ จนเป็นเหตุให้เกิดวิกฤตภัยแล้ง ว่า คำกล่าวของนายกฯ เสมือนว่ารัฐบาลประชาธิปไตยเป็นต้นเหตุให้ป่าต้นน้ำหายไป แต่ที่จริงแล้ว คือ ข้าราชการต่างหากที่เป็นสาเหตุสำคัญ เพราะพื้นที่ป่าต้นน้ำทั้งหมด 8.6 ล้านไร่ที่หายไป ล้วนอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของข้าราชการประจำทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมการปกครอง และพื้นที่ความมั่นคงตามแนวชายแดน ก็อยู่ในความรับผิดชอบของพล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะอดีต ผบ.ทบ. มาก่อน