ASTV ผู้จัดการรายวัน - ผู้บริหารตลาดทุนระบุดัชนีตลาดหุ้นไทยร่วง เพราะนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจไทย ย้ำชัดหากปรับคณะรัฐมนตรี ต้องสามารถเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมาได้ทั้งจากนักลงทุนไทยและต่างประเทศ “ก้องเกียรติ” คาดดัชนีสิ้นปีไม่หลุด 1,400 จุด
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ASP มองว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลดลงมา ณ ปัจจุบัน เป็นเพียงการปรับฐานหลังจากการประกาศผลกำไรบริษัทจดทะเบียนไตรมาส 2/58 ออกมาต่ำกว่าประมาณการณ์หลายกลุ่ม ส่งผลให้กำไรบริษัทจดทะเบียน หรือ บจ.ช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ยังอาจได้รับผลกระทบจากการส่งออกที่ติดลบ
อย่างไรก็ตามโดยส่วนตัวคาดว่าดัชนีปีนี้จะไม่ต่ำไปกว่า 1,400 จุด โดยอิง P/E ที่ 15 เท่า และตลาดหุ้นไทยยังน่าสนใจลงทุนอยู่ แต่ต้องเลือกจังหวะในการลงทุนและเลือกลงทุนในหุ้นรายตัวที่มีแนวโน้มผลประกอบการที่ดี ทั้งนี้ส่วนตัวคาดว่าจีดีพีปีนี้คงต่ำกว่า 3% ซึ่งต้องติดตามดูว่าหลังจากนี้หรือปีหน้าเศรษฐกิจไทยจะเป็นไปในทิศทางใด
“เศรษฐกิจในประเทศยังคงชะลอตัว แม้ว่ารัฐบาลอนุมัติงบประมาณการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ออกมาแล้วบางโครงการแต่กว่าเม็ดเงินจะไหลเข้าสู่ระบบจริงก็ประมาณไตรมาส 1 ปี 2559 ส่งผลให้การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์เติบโตน้อยลง ขณะที่ NPL มีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังนั้นภาพตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลงจึงยังไม่น่ากังวล เพราะยังคงเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้”
ส่วนที่มีกระแสข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.)เศรษฐกิจ นายก้องเกียตริ แสดงทรรศนะส่วนตัว ว่า การปรับคณะรัฐมนตรีไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญ ประเด็นสำคัญคือเมื่อปรับฯ แล้วต้องมีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน สามารถเรียกความเชื่อมั่นทั้งในภาคตลาดทุน สภาอุตสาหกรรม นักธุรกิจ และนักลงทุนต่างประเทศให้กลับมา
“คนไทยชอบให้โอกาส และมักมองว่าการปรับครม.จะทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจดีขึ้น แต่จริงๆแล้วเมื่อปรับครม.ปัญหาเดิมก็ยังคงอยู่ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการแก้ปัญหา ดังนั้นการปรับหรือไม่ปรับครม.นั้นไม่ใช่ประเด็น แต่ประเด็นคือปรับแล้วแนวทางแก้ปัญหาจะแตกต่างไปจากเดิมหรือไม่ ซึ่งหากการแก้ปัญหาได้เร็วเศรษฐกิจก็จะฟื้นตัวเร็ว และรัฐบาลจะต้องมีการจัดแพ็คเกจเรียกความเชื่อมั่นให้กลับมา" นายก้องเกียรติกล่าว
สอดคล้องกับนางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย กล่าวว่า ภาวะตลาดทุนปรับตัวลงตามศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ถูกปรับลดลงประมาณ 2-3% ส่งผลให้กำไรบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ลดลง 8-9% จากต้นปีซึ่งคาดการณ์ไว้ที่ 10-15% ทำให้ประเมินดัชนีในตลาดหลักทรัพย์ฯครึ่งปีหลังอยู่ในกรอบ 1,450-1,600 จุด
“ภาพรวมเศรษฐกิจไม่ใช่เพียงเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็นผลกระทบโดยรวมทั่วโลก ทำให้กระทบกับบริษัทจดทะเบียน อีกทั้งดัชนีผู้บริโภคหรือ GDP ไม่เติบโตตามเป้าที่วางไว้ แต่อย่างไรก็ตามการเติบโตของบริษัทจดทะเบียนยังคงดีอยู่ หากสถานการณ์ในระยะสั้นของการเมืองและเศรษฐกิจยังอยู่ในสภาวะทรงตัว ในขณะที่ตลาดหุ้นปรับตัวลง จะทำให้คนสนใจรอเข้ามาลงทุน”
ด้านนายพีรพงศ์ จีระเสวีจินดา กรรมการผู้จัดการกลุ่มจัดการกองทุน บลจ.บัวหลวง กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยช่วงนี้แกว่งในช่วงแคบ เพื่อรอรับรู้ผลประกอบการไตรมาส 2 ให้หมดในช่วงกลางเดือนสิงหาคมนี้ โดยช่วงนี้ บลจ.บัวหลวงจึงเน้นการถือเงินสดมากขึ้นถึง 10% จากช่วงปกติถือเงินสดประมาณ 5-6% เพื่อรอเข้าซื้อหุ้นที่มีโอกาสเติบโตสูง โดยคาดว่าหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว สุขภาพ โรงพยาบาล ที่มีอัตราการเติบโต ถึงแม้สภาวะหุ้นตกในช่วงนี้ แต่ยังเห็นนักลงทุนรายย่อยเข้าซื้อกองทุน LTF ,RMF และกองทุนหุ้น ซึ่งประครองตลาดหุ้นให้ไม่ต่ำลงไปมาก
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ASP มองว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลดลงมา ณ ปัจจุบัน เป็นเพียงการปรับฐานหลังจากการประกาศผลกำไรบริษัทจดทะเบียนไตรมาส 2/58 ออกมาต่ำกว่าประมาณการณ์หลายกลุ่ม ส่งผลให้กำไรบริษัทจดทะเบียน หรือ บจ.ช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ยังอาจได้รับผลกระทบจากการส่งออกที่ติดลบ
อย่างไรก็ตามโดยส่วนตัวคาดว่าดัชนีปีนี้จะไม่ต่ำไปกว่า 1,400 จุด โดยอิง P/E ที่ 15 เท่า และตลาดหุ้นไทยยังน่าสนใจลงทุนอยู่ แต่ต้องเลือกจังหวะในการลงทุนและเลือกลงทุนในหุ้นรายตัวที่มีแนวโน้มผลประกอบการที่ดี ทั้งนี้ส่วนตัวคาดว่าจีดีพีปีนี้คงต่ำกว่า 3% ซึ่งต้องติดตามดูว่าหลังจากนี้หรือปีหน้าเศรษฐกิจไทยจะเป็นไปในทิศทางใด
“เศรษฐกิจในประเทศยังคงชะลอตัว แม้ว่ารัฐบาลอนุมัติงบประมาณการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ออกมาแล้วบางโครงการแต่กว่าเม็ดเงินจะไหลเข้าสู่ระบบจริงก็ประมาณไตรมาส 1 ปี 2559 ส่งผลให้การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์เติบโตน้อยลง ขณะที่ NPL มีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังนั้นภาพตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลงจึงยังไม่น่ากังวล เพราะยังคงเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้”
ส่วนที่มีกระแสข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.)เศรษฐกิจ นายก้องเกียตริ แสดงทรรศนะส่วนตัว ว่า การปรับคณะรัฐมนตรีไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญ ประเด็นสำคัญคือเมื่อปรับฯ แล้วต้องมีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน สามารถเรียกความเชื่อมั่นทั้งในภาคตลาดทุน สภาอุตสาหกรรม นักธุรกิจ และนักลงทุนต่างประเทศให้กลับมา
“คนไทยชอบให้โอกาส และมักมองว่าการปรับครม.จะทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจดีขึ้น แต่จริงๆแล้วเมื่อปรับครม.ปัญหาเดิมก็ยังคงอยู่ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการแก้ปัญหา ดังนั้นการปรับหรือไม่ปรับครม.นั้นไม่ใช่ประเด็น แต่ประเด็นคือปรับแล้วแนวทางแก้ปัญหาจะแตกต่างไปจากเดิมหรือไม่ ซึ่งหากการแก้ปัญหาได้เร็วเศรษฐกิจก็จะฟื้นตัวเร็ว และรัฐบาลจะต้องมีการจัดแพ็คเกจเรียกความเชื่อมั่นให้กลับมา" นายก้องเกียรติกล่าว
สอดคล้องกับนางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย กล่าวว่า ภาวะตลาดทุนปรับตัวลงตามศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ถูกปรับลดลงประมาณ 2-3% ส่งผลให้กำไรบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ลดลง 8-9% จากต้นปีซึ่งคาดการณ์ไว้ที่ 10-15% ทำให้ประเมินดัชนีในตลาดหลักทรัพย์ฯครึ่งปีหลังอยู่ในกรอบ 1,450-1,600 จุด
“ภาพรวมเศรษฐกิจไม่ใช่เพียงเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็นผลกระทบโดยรวมทั่วโลก ทำให้กระทบกับบริษัทจดทะเบียน อีกทั้งดัชนีผู้บริโภคหรือ GDP ไม่เติบโตตามเป้าที่วางไว้ แต่อย่างไรก็ตามการเติบโตของบริษัทจดทะเบียนยังคงดีอยู่ หากสถานการณ์ในระยะสั้นของการเมืองและเศรษฐกิจยังอยู่ในสภาวะทรงตัว ในขณะที่ตลาดหุ้นปรับตัวลง จะทำให้คนสนใจรอเข้ามาลงทุน”
ด้านนายพีรพงศ์ จีระเสวีจินดา กรรมการผู้จัดการกลุ่มจัดการกองทุน บลจ.บัวหลวง กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยช่วงนี้แกว่งในช่วงแคบ เพื่อรอรับรู้ผลประกอบการไตรมาส 2 ให้หมดในช่วงกลางเดือนสิงหาคมนี้ โดยช่วงนี้ บลจ.บัวหลวงจึงเน้นการถือเงินสดมากขึ้นถึง 10% จากช่วงปกติถือเงินสดประมาณ 5-6% เพื่อรอเข้าซื้อหุ้นที่มีโอกาสเติบโตสูง โดยคาดว่าหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว สุขภาพ โรงพยาบาล ที่มีอัตราการเติบโต ถึงแม้สภาวะหุ้นตกในช่วงนี้ แต่ยังเห็นนักลงทุนรายย่อยเข้าซื้อกองทุน LTF ,RMF และกองทุนหุ้น ซึ่งประครองตลาดหุ้นให้ไม่ต่ำลงไปมาก